thaiall logomy background
ศูนย์สอบ online
my town
การศึกษา | นักศึกษา | Admission | GAT/PAT | ONET | 9 วิชาสามัญ | ครูคืนถิ่น | คาฮูท | Top10 | My top10 | มหาวิทยาลัย | การสร้างข้อสอบ |
ประเภทของข้อสอบ ข้อสอบ (Quiz) แบ่งเป็น 2 ประเภท
1. ข้อสอบแบบปรนัย (Objective Test) คือ ข้อสอบที่กำหนดขอบเขตชัดเจนการตอบอย่างชัดเจน ซึ่งมีหลายประเภท
1) แบบทดสอบถูกผิด (True-false Test) คือ ข้อสอบที่ถามให้พิจารณาว่า ถูกหรือผิด จริงหรือเท็จ ใช่หรือไม่
ข้อดี คือ สร้างข้อสอบได้เร็ว วัดความจำในเบื้องต้นได้ดี
ข้อเสีย คือ วัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนได้ไม่ชัดเจน
2) แบบทดสอบจับคู่ (Matching Test) คือ ข้อสอบแบ่งเป็น 2 ส่วน ให้เลือกจับคู่คำ ความสัมพันธ์ ความหมาย เหตุผล หรือข้อความที่มีเชื่อมโยงกันได้
ข้อดี คือ ใช้วัดความจำ การคิดวิเคราะห์ วัดความจำได้ดีกว่าแบบทดสอบถูกผิด
ข้อเสีย คือ วัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนได้ไม่ชัดเจน แต่ดีกว่าแบบทดสอบถูกผิด
3) แบบทดสอบหลายตัวเลือก (Multiple Choices Test) คือ ข้อสอบที่ให้เลือกคำตอบที่ถูก จากตัวลวงที่มีหลายตัวเลือก
ข้อดี คือ ใช้วัดความจำได้ดี มีจำนวนคำถามที่ครอบคลุมเป้าประสงค์ได้ เชื่อถือได้ เป็นที่นิยม รองรับผู้ตอบจำนวนมากได้
ข้อเสีย คือ สร้างข้อสอบได้ยาก วัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนได้ระดับหนึ่ง วัดทักษะ และการความคิดเห็นไม่ได้
4) แบบทดสอบเติมคำ (Completion Test) คือ ข้อสอบต้องการคำตอบเป็นคำ ข้อความ หรือประโยคสั้น เติมลงในช่องว่าง
ข้อดี คือ สร้างข้อสอบที่คลอบคลุมเนื้อหาได้ ใช้วัดความจำได้ดี ไม่มีตัวเลือกให้คาดเดา
ข้อเสีย คือ สร้างข้อสอบได้ยาก วัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนได้ ไม่สามารถรองรับผู้ตอบจำนวนมาก
2. ข้อสอบแบบอัตนัย (Subjective Test) คือ ข้อสอบที่ให้เขียนตอบตามความรู้ความเข้าใจความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ของผู้ตอบ สามารถสะท้อนทักษะของผู้ตอบได้หลายมิติ
มีข้อดี คือ เปิดรับความรู้ความคิดเห็นของผู้ตอบได้ รับทักษะ และการวิพากษ์วิจารณ์ได้ดี
ข้อเสีย คือ ตรวจประเมินเพื่อให้คะแนนได้ยาก ไม่น่าเชื่อถือหากคำถามเปิดรับคำตอบได้หลายแนวทาง และไม่เหมาะกับผู้ตอบจำนวนมาก

ตัวอย่างและวิธีการตอบข้อสอบอัตนัย
1. มุ่งให้อธิบาย
คำถาม ภาษาพูดมีลักษณะแตกต่างจากภาษาเขียนอย่างไร
คำตอบ ภาษาพูดมีลักษณะแตกต่างจากภาษาเขียนดังนี้ (ตอบเป็นข้อ ๆ )
1. ภาษาพูดมีการใช้ภาษาท่าทางและสถานการณ์แวดล้อมประกอบ เพื่อช่วยขยายความให้ผู้ฟังเข้าใจความหมายของคำพูดได้ดีขึ้น ซึ่งในการเขียนจะไม่มีส่วนดังกล่าว และอาจทำให้ผู้อ่านเข้าใจได้ไม่ชัดเจนเท่ากับภาษาพูด
2. ภาษาพูดมักออกเสียงไม่ตรงตามรูปเขียน มีการย่อคำหรือกร่อนคำ ซึ่งถ้าเป็นภาษาเขียนจะเขียนตรงตามรูปและเขียนคำเต็ม
3. ภาษาพูดเป็นภาษาที่ใช้คำเฉพาะกลุ่ม คำภาษาปาก คำที่ต่ำกว่าภาษามาตรฐานได้ ในขณะที่ภาษาเขียน
2. มุ่งให้แสดงความคิดเห็น
คำถาม ท่านเห็นด้วยหรือไม่ว่า “มนุษย์คือสาเหตุสำคัญที่ทำให้โลกร้อนขึ้นทุกวัน” จงเขียนแสดงความคิดเห็นโดยให้เหตุผลอย่างน้อย 2 ประการ พร้อมยกตัวอย่างประกอบให้ชัดเจน
- ย่อหน้าที่ 1 เกริ่นนำ ตอบให้ชัดเจนว่าเห็นด้วยหรือไม่เห็นด้วย
- ย่อหน้าที่ 2 เหตุผลประการที่ 1 ที่เห็นด้วยหรือไม่เห็นด้วย (มักเขียนเป็นประโยคใจความสำคัญ) + ส่วนขยาย (อธิบายเหตุผล / ตัวอย่างประกอบ ฯลฯ)
- ย่อหน้าที่ 3 เหตุผลประการที่ 2 .. เช่น มนุษย์ตัดไม้ทำลายป่าเพราะความเห็นแก่ตัว ทำให้โลกขาดสมดุล หรือ ความเจริญก้าวหน้าทางเทคโนโลยี ทำให้มีการใช้สารเคมีทั้งในครัวเรือนและภาคอุตสาหกรรม
- ย่อหน้าสุดท้าย สรุปประเด็นที่กล่าวไปแล้วข้างต้น และแสดงความคิดเห็นใหม่ ๆ เพิ่มเติม
3. มุ่งให้อภิปราย
คำถาม จงอภิปรายเรื่อง “ปัญหาโภชนาการของคนไทยในปัจจุบัน” ตามที่ท่านได้ศึกษามา
- ย่อหน้าที่ 1 ความเป็นมาของปัญหา
- ย่อหน้าที่ 2 .. สาเหตุของปัญหา ..
- ย่อหน้าสุดท้าย วิธีแก้ปัญหา
ข้อพึงปฏิบัติ
1. ตอบให้ตรงประเด็นคำถาม
2. ตอบให้ครบทุกประเด็น
3. อ้างอิงความรู้ และทฤษฎีที่เกี่ยวข้อง ต้องชัดเจน มีลำดับเป็นขั้นตอน กระชับ เรียบง่าย และตรวจทาน
stou.ac.th
หน่วยที่ 9 การสร้างและตรวจสอบคุณภาพเครื่องมือวัดด้านพุทธิพิสัย โดย มสธ.
การสร้างข้อสอบวัดพฤติกรรมด้านพุทธิพิสัย
การออกข้อสอบที่วัดการนำไปใช้ หรือการประยุกต์ ารออกข้อสอบที่วัดการนำไปใช้ หรือการประยุกต์ คือ การวัดความสามารถในการนำความรู้ความเข้าใจในเรื่องใดที่มีอยู่ไปใช้แก้ปัญหาที่แปลกใหม่ได้ ซึ่งต้องอาศัยความรู้ ความจำ รวมทั้งความสามรถในการวิเคราะห์ สังเคราะห์ หากการใช้ความจำตรง ๆ ไปแก้ปัญหา ไม่ถือว่าเป็นการนำไปใช้ มีวิธีเขียนคำถาม 4 แบบ
แบบที่ 1 วินิจฉัยการปฏิบัติที่สอดคล้องกับทฤษฎี (ตีความตัวเลือก ที่สอดคล้องกับคำถาม)
แบบที่ 2 ตีความตามทฤษฏี (ตีความคำถามแล้ว ไปตรงกับตัวเลือกใด)
แบบที่ 3 ปรากฎการณ์อิงตามทฤษฎี (ตีความทั้งคำถาม และตัวเลือก ข้อใดตรงกัน)
แบบที่ 4 แก้ปัญหาสมมติที่ใช้หลักทฤษฎี (ตีความทั้งคำถาม และตัวเลือก ที่เป็นสถานการณ์สมมติ)
1. ถามให้วินิจฉัยที่มีสอดคล้องระหว่างหลักวิชากับการปฏิบัติ ที่ต้องเปรียบเทียบกับทฤษฎี
เช่น 1.1 ข้อใดเป็นประโยคคำถาม
ก. มึงรู้ไหม พ่อกูเป็นใคร
ข. ช้าจัง นี่กี่โมงแล้วเนี่ย รู้ไหม
ค. แล้วจะไปไหนกันต่อเนี่ย
หรือ 1.2 ในปัจจุบัน ผู้บริหารสถานศึกษาส่วนใหญ่ มีนโยบายให้คุณครูสอนตามแนวใด
ก. การสอนแบบโดยใช้ปัญหาเป็นฐาน
ข. การสอนแบบสร้างสรรค์เป็นฐาน
ค. การสอนตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาพื้นฐาน
ง. การสอนตามหลักสูตรฐานสมรรถนะ
หรือ 1.3 จงอภิปราย คุณครูควรเน้นกิจกรรมใด เพื่อให้นักเรียนเด่นด้านใด
ก. เพื่อการประกอบอาชีพ
ข. เพื่อการศึกษาต่อ
2. ถามตามขอบเขตของหลักวิชา ต้องตีความตามที่อยู่ในขอบเขตทฤษฎี
เช่น 2.1 พฤติกรรมใดที่เราจะผิดศีลข้อ สุราเมรยะมัชชะปมาทัฏฐานา เวรมณี
ก. หาสุราให้พ่อกับแม่ดื่มสุราอยู่ที่บ้าน
ข. เมื่อคืนเมา เช้านี้จะไปถอน
ค. เปิดร้านขายสุรา ขายดีทั้งวัน
หรือ 2.2 การจัดการความรู้ตามโมเดลเซกิ มีแนวคิดแบบใด
ก. หลอมรวมความรู้ชัดแจ้งและความรู้ฝังลึก หมุนวนเป็นวัฏจักร
ข. มีกระบวนการตามแบบ PDCA
ค. มีการไหลจากนำข้อมูลเข้า ประมวลผล และรายงานผลลัพธ์
หรือ 2.3 จงอภิปราย คุณครูควรเน้นสอนเพื่อให้เด็กมีทักษะใดเป็นฐาน
ก. พุทธิพิสัย
ข. จิตพิสัย
ค. ทักษะพิสัย
3. ถามให้อธิบายหลักวิชา ต้องเข้าใจปรากฎการณ์ตามหลักทฤษฎีนั้น
เช่น 3.1 เข้าเมืองตาหลิ่วให้หลิ่วตาตาม อะไร คือ ตาหลิ่ว
ก. ตาหลิ่วเป็นแฟนของยายอยู่ในเมือง
ข. มีคนเข้าเมืองไปหาตาหลิ่ง
ค. ตาหลิ่วคือการหลี่ตาลงข้างหนึ่ง
หรือ 3.2 มีนโยบายให้เลือกระบบอีเลินนิ่งที่เป็นโอเพนท์ซอร์ท ตัวใดน่าใช้
ก. Classroom ของ google.com
ข. Classstart.org ที่เป็น flipped classroom
ค. Moodle ที่เป็นระบบ CMS
ง. Thaimooc ที่เป็นความร่วมมือของหลายภาคส่วน
หรือ 3.3 จงอภิปราย ถ้าท่านเป็นผู้บริหารสถานศึกษา จะบริหารแบบใด เพื่อให้มีประสิทธิภาพ
ก. อัตตาธิปไตย
ข. ประชาธิปไตย
4. ถามให้แก้ปัญหา ต้องเลือกที่เหมาะสมกับสถานการณ์สมมติ
เช่น 4.1 เติมคำในช่องว่าง "ประธานต้อง .. เปิดงานการกุศล ตอน 9.00น."
ก. กล่าว
ข. วิ่ง
ค. ตื่น
ง. พัก
หรือ 4.2 กดปุ่มเปิดเครื่องคอมพิวเตอร์ แล้วไม่ตอบสนอง ควรเริ่มต้นอย่างไร
ก. ตรวจสอบปลั๊กไฟฟ้า ว่ามีไฟฟ้าเข้าเครื่องหรือไม่
ข. โทรตามช่างจากร้านค้าที่รับประกันซ่อมฟรี 3 ปี
ค. ยกคอมพิวเตอร์ไปที่ร้านค้า เพราะต้องรีบใช้งาน
ง. ไปปรึกษาเพื่อนร่วมงานที่อยู่อีกแผนกหนึ่ง
หรือ 4.3 จงอภิปราย สมมติว่า คุณครูมีลูก จะสอนลูกอย่างไร
ก. สอนให้ลูกเติบโตเป็นเหมือนคุณครู
ข. สอนให้ลูกเรียนให้สูงที่สุด
ค. สอนให้ลูกเรียนอย่างมีความสุข
ง. สอนให้ลูกประกอบอาชีพในวัยเรียน
อ่านเพิ่มที่ เทคนิคการสร้างข้อสอบ โดย ดร.ศจี จิระโร
ลักษณะของข้อสอบที่ดี
1. ความตรง (Validity)
2. ความเที่ยง (Reliability)
3. ความเป็นปรนัย (Objectivity)
4. ความมีอํานาจจําแนก (Discrimination)
5. ความยากพอเหมาะ (Difficulty)
6. ความยุติธรรม (Fairness)
7. ความลึกซึ้ง (Searching)
8. ยัวยุ กระตุ้น (Exemplary)
9. มีประสิทธิภาพ (Efficiency)
เกณฑ์การวิพากษ์ข้อสอบ
1. คําถามสอดคล้องกับระดับพฤติกรรมที่มุ่งวัด
2. คําถามกระชับ ชัดเจน เข้าใจได้ตรงกัน มุ่งถามประเด็นเดียว
3. คําถามท้าทายการแสดงความสามารถผู้ตอบ
4. เฉลยมีความถูกต้อง
5. คำถามมี 2 แบบ
คําถามแบบเลือกตอบ
- ตัวเลือกมีความเป็นเอกพันธ์
- ตัวลวงมีความเป็นไปได้ในการถูกเลือก
คําถามแบบความเรียง
- เฉลยเป็นที่ยอมรับทางวิชาการ
- เกณฑ์การให้คะแนนชัดเจน
หลากคำถามว่าด้วยร่างหลักสูตรฐานสมรรถนะ ส่งถึง ศ.บัณฑิต-ดร.อัมพร
ารเรียนรู้ที่ใช้ปัญหาเป็นฐาน (PBL - Problem Based Learning) เป็นรูปแบบหนึ่งที่น่าสนใจ พบว่า ปัญหาในกระทรวงต่าง ๆ ก็มีความเกี่ยวข้องกับความเป็นอยู่แตกต่างกันไป และมีมากถึง 20 กระทรวง ซึ่งในแวดวงการศึกษาจะสนใจ กระทรวงศึกษาธิการ และสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน แล้วเมื่อวันที่ 4 กุมภาพันธ์ 2565 มีบทความเชิงข่าว ชื่อ หลากคำถาม/ครหาว่าด้วยร่างหลักสูตรสมรรถนะ ส่งถึง “ศ.บัณฑิต-ดร.อัมพร” ที่น่าชวนนิสิตพูดคุยแลกเปลี่ยน สืบค้น วิเคราะห์ สังเคราะห์ และจัดการความรู้ ซึ่งเกี่ยวข้องกับหลักสูตรที่กำลังจะนำมาใช้ในประเทศไทย เป็นตัวอย่างคำถามที่น่าชวนกันมาอภิปรายแบบสร้างสรรค์กันได้
คำถามที่ 1. ถามประธาน การเสนอหลักสูตรฐานสมรรถนะเข้ามาถึง 2 ครั้งนี้ ต้องส่งให้ฝ่ายกฎหมายตีความหรือไม่?
เพราะ การรับเรื่องมาพิจารณาโดย คณะกรรมการ กพฐ. ที่ไม่ได้ริเริ่มเอง และไม่ได้เป็นเจ้าภาพร่างหลักสูตร จะเป็นการกระทำผิดต่อ พ.ร.บ.การศึกษาแห่งชาติ พศ.2542 มาตรา 27 หรือไม่? เพื่อป้องกันการมีผู้ยื่นฟ้องร้องศาลปกครองในภายหลัง
คำถามที่ 2. อะไรคือเรื่องจริง อะไรคือเรื่องไม่จริง
ร่างหลักสูตรฐานสมรรถนะถูกทดลองในโรงเรียนเขตพื้นที่นวัตกรรมการศึกษา 8 จังหวัด ได้แก่ จ.กาญจนบุรี เชียงใหม่ ศรีสะเกษ ระยอง สตูล ยะลา ปัตตานี และนราธิวาส ซึ่งมีเข้าร่วม 224 แห่ง หรือ 265 แห่ง หรือ 247 แห่ง หรือ 242 แห่ง หรือ 5 แห่ง
คำถามที่ 3. ในพื้นที่นวัตกรรมใช้หลักสูตรอะไรแน่ มีกี่โรงเรียน กี่จังหวัด
ครอบคลุมตัวแปรระดับการศึกษาและพื้นที่ที่เป็นตัวแทนทุกกลุ่มทุกระดับทุกพื้นที่ ในการหาคำตอบที่ดีในการพัฒนาหลักสูตรระดับชาติหรือไม่ แล้วเป็นเพียง หลักสูตรระดับชั้นเรียน หรือหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน แล้วเป็นเพียง การจัดการเรียนรู้ หรือหลักสูตร
มีรายละเอียดที่หาอ่านเพิ่มใน edunewssiam.com ได้ครับ
rspsocial
Thaiall.com