thaiall logomy background
ภาษาไทยเพื่อการสื่อสาร
my town
การสื่อสาร | ภาษาไทยเพื่อการสื่อสาร | ข่าว | จักรวาลนฤมิต | เฟสบุ๊ก | สื่อและเทคโนโลยีสารสนเทศ |
ภาษาไทยเพื่อการสื่อสาร
สุจริต = ความประพฤติชอบ
าษาไทยเพื่อการสื่อสาร มีประเด็นที่น่าสนใจประกอบด้วย 1) การใช้ภาษาไทยเพื่อการสื่อสาร 2) กระบวนการคิดเชิงตรรกะกับการใช้ภาษาไทย 3) การฝึกการอ่านและการฟัง โดยเน้นการเก็บใจความสำคัญ 4) ฝึกการพูด และ 5) การเขียนเชิงวิชาการและธุรกิจ 6) นำเสนอข้อมูลและวิจารณ์อย่างมีเหตุผล 7) การพูดในโอกาสต่าง ๆ 8) การเขียน 9) ตลอดจนการนำเสนอรายงานและโครงการ
พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน
คำศัพท์ไอทีเหล่านี้ไม่ได้บัญญัติ
113-108 การใช้ภาษาไทยเพื่อการสื่อสาร : สุภารัตน์ ศุภภัคว์รุจา
ทักษะ ทักษะ คือ ความชำนาญที่เกิดขึ้นเมื่อทำบ่อย ซึ่งการใช้ภาษาไทยเพื่อการสื่อสารนั้น บางคนมีพรสวรรค์ในบางทักษะที่ดีมาตั้งแต่เกิด แล้วใช้ทักษะนั้นได้เป็นอย่างดีจนสามารถประกอบอาชีพได้ แต่ละคนมีพรสวรรค์แตกต่างกันไป ซึ่งการใช้ภาษาไทยเพื่อการสื่อสาร มีทักษะที่เกี่ยวข้อง ดังนี้ 1) ทักษะการอ่าน เช่น คุณสรยุทธ 2) ทักษะการฟัง เช่น เสก โลโซ 3) ทักษะการพูด เช่น คุณโน๊ตอุดม 4) ทักษะการเขียน เช่น เจ. เค. โรว์ลิง แล้วทักษะแต่ละด้านท่านอยู่ระดับใด ตามเกณฑ์ 5 ระดับ ในมาตรวัดของลิเคิร์ท
หัวข้อที่น่าสนใจ
เตรียมความพร้อม
1. ปฐมนิเทศ การเตรียมตัว กติกาในชั้นเรียน
2. แนะนำรายวิชา ขอบเขต และประเมินผล
3. ชี้แจงการทำรายงานจากการศึกษาค้นคว้า
1 การสื่อสารยุคโลกาภิวัตน์
- ความหมาย ความสำคัญ
- องค์ประกอบของการสื่อสาร
- ประเภทของการสื่อสาร
#C1 คลิป เล่าประสบการณ์การใช้เครื่องมือสื่อสารกับที่บ้าน เพื่อน ครู เปรียบเทียบอดีตกับปัจจุบันไม่น้อยกว่า 3 นาที
2 การรับสารอย่างสร้างสรรค์
- การเลือกสรร
- การระดมสมอง (Mindmap)
- การจัดกลุ่มข้อมูล
- การประมวลผลข้อมูล (Infographic)
#C2 คลิป จับคู่ 3 คนเล่าข่าว จากการค้นข่าวสร้างสรรค์ตามสายอาชีพ ไม่น้อยกว่า 3 นาที มี title และ credit
3 การอ่านสารประเภทต่าง ๆ
1. การอ่านเอกสารวิชาการ
2. การอ่านหนังสือพิมพ์ (ชุดคำถามเพื่อรวบรวมข้อมูล ด้วย 5W1H)
3. การอ่านสารคดี
4. การอ่านบันเทิง (บทบิดลิ้น)
#C3 คลิป อ่านบทคัดย่อจากบทความวิจัยในวารสารวิชาการ ที่สืบค้นตามสายอาชีพ ระบุ ผู้เขียน ชื่อบทความ วารสาร ปีที่ ฉบับที่ เลขหน้า และ TCI1 หรือ TCI2
4 ความหมายและความสำคัญของการฟัง
- กระบวนการฟัง
- ขั้นตอนในการฟัง
#C4 เขียนบล็อก สรุปเรื่องย่อ ที่ได้จากการดูหนัง ฟังเพลง มาจำนวน 300 คำ
5 การฟังสารประเภทต่าง ๆ
1. การฟังบรรยาย
2. การฟังอภิปราย
3. การฟังคำสั่ง
4. การฟังเพลง
5. การฟังข่าว (หมวก 6 ใบ)
#C5 เขียนบล็อก สรุปเรื่องย่อจากการฟังบรรยายด้านรักษาสุขภาพ มาจำนวน 300 คำ
6 ข้อบกพร่องในการฟัง
- การสำรวจการฟัง
- วิธีการปลูกฝังทักษะการฟัง (BreakingNewsEnglish.com)
#C6 เขียนบล็อก สรุปเรื่องย่อจากการฟังบรรยายด้านปัญหาสุขภาพ มาจำนวน 300 คำ
7 ทักษะการพูด
- ความหมายของการพูด
- ความสำคัญของการพูด
- องค์ประกอบของการพูด
- การฝึกทักษะการพูด
#C7 คลิป แถลงนโยบาย แก้ปัญหาของประเทศ ตามสายอาชีพ ไม่น้อยกว่า 3 นาที
8 เทคนิค 14 ประการในการเตรียมพูด
- จุดประสงค์ของการพูด
- ประเภทและความหมายของการพูด
#C8 คลิป แนะนำตัวเองเมื่อต้องสมัครงานหลังเรียนจบ ไม่น้อยกว่า 3 นาที
10,11 ฝึกทักษะการพูดเชิงสถานการณ์
1. เพื่อเสนอข้อมูล
2. การกล่าวรายงาน
3. การกล่าวเปิดงาน
4. การแนะนำตัว
5. การพูดเพื่อสาระบันเทิง
6. การพูดเพื่อกิจธุระ
12 ทักษะการเขียน
- ความหมายของการเขียน
- ความสำคัญของการเขียน
- กระบวนการเขียน
1. การเลือกคำ
2. ระดับคำ ระดับภาษา
3. การใช้โวหาร
4. ประโยค
13 หลักการใช้ภาษาไทยเพื่อการสื่อสารในอินเตอร์เน็ต
- ข้อบกพร่องในการเรียงลำดับคำ
- ภาษาสนทนาที่มักใช้ผิด
- การสอบพูดเป็นกลุ่ม 1
14 ภาษากับการใช้เหตุผลในการสื่อสาร
- โครงสร้างการแสดงเหตุผล
- วิธีการแสดงเหตุผลโดยการอนุมาน
- การแสดงทรรศนะ : โครงสร้าง และวิธีการ
- การสอบพูดเป็นกลุ่ม 2
15 การใช้ภาษาในการโน้มน้าวใจ
- วัตถุประสงค์การโน้มน้าวใจ
- หลักจิตวิทยาการโน้มน้าวใจ
- แบบทดสอบการพูดโน้มน้าวใจ
- การสอบพูดเป็นกลุ่ม 3 และ 4
16 การถ่ายทอดความคิด
- การถ่ายทอดความคิดจากสุภาษิต
- คำพังเพยในภาษาไทยจากภาพ
- การสอบพูดเป็นกลุ่ม 5 และ 6
- สรุป-ปิดคอร์ส
อ่านเพิ่มเติม
อักษรไทย ใน wikipedia.org
อักษรไทย เป็นอักษรที่ใช้เขียนภาษาไทยและภาษาของกลุ่มชาติพันธุ์ต่างๆ เช่น คำเมือง, อีสาน, ภาษาไทยใต้, มลายูปัตตานี เป็นต้น ในประเทศไทย มีพยัญชนะ 44 รูป สระ 21 รูป วรรณยุกต์ 4 รูป และเครื่องหมายอื่น ๆ อีกจำนวนหนึ่ง พยัญชนะไทยจะเรียงตัวไปตามแนวนอน จากซ้ายไปขวา ส่วนสระจะอยู่หน้า บน ล่าง และหลังพยัญชนะประกอบคำแล้วแต่ชนิดของสระ
ดยเสียงวรรณยุกต์ไทยตามหลักภาษาศาสตร์ แบ่งได้ดังนี้ เสียงสามัญ (ระดับเสียงกึ่งสูง-กลาง) เสียงเอก (ระดับเสียงกึ่งต่ำ-ต่ำ) เสียงโท (ระดับเสียงสูง-ต่ำ) เสียงตรี (ระดับเสียงกึ่งสูง-สูง) เสียงจัตวา (ระดับเสียงต่ำ-กึ่งสูง)
1-1 โลกาภิวัตน์ (Globalization)
โลกาภิวัตน์คืออะไร
ลกาภิวัตน์ คือ ผลจากการพัฒนาการติดต่อสื่อสาร การคมนาคมขนส่ง และเทคโนโลยีสารสนเทศ อันแสดงให้เห็นถึงการเจริญเติบโตของความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจ การเมือง เทคโนโลยี และวัฒนธรรม ที่เชื่อมโยงระหว่างปัจเจกบุคคล ชุมชน หน่วยธุรกิจ และรัฐบาล ทั่วทั้งโลก [wiki]
ลกาภิวัตน์ คือ การบูรณาการที่เพิ่มขึ้นของเศรษฐกิจทั่วโลก รวมถึงการเคลื่อนย้ายของผลิตภัณฑ์ บริการ เทคโนโลยี และข้อมูลข้ามพรมแดน แม้ว่า การขยายระดับโลกจะมีข้อได้เปรียบเชิงกลยุทธ์มากมาย เช่น การเข้าถึงที่ครอบคลุมขึ้น ซัพพลายเออร์รายใหม่ และแหล่งรายได้ที่มากขึ้น แต่ ก็ยังทำให้เกิดความซับซ้อนที่สำคัญในการจัดการกฎหมายและข้อบังคับระดับท้องถิ่นและระดับโลก เพื่อให้สอดคล้องกับกฎระเบียบ คุณจะแข่งขันทางออนไลน์ในตลาดต่างประเทศหรือเปิดสำนักงานใหม่ในต่างประเทศที่มีความซับซ้อน ซึ่งรวมถึง
1) ภาษา เราเริ่มผสมภาษาเพื่อการสื่อสารในชีวิตประจำวัน
2) สกุลเงิน คริปโต ดอลลาร์ บาท เยน เริ่มแลกเปลี่ยนง่ายขึ้น
3) รูปแบบวันที่ UTC - Universal Time Co-ordinated หรือ GMT - Greenwich Mean Time
4) โซนเวลา UTC +0700 หรือ GMT +7000
5) ข้อบังคับ Visa / Passport
6) กฎหมาย Copyright
7) ภาษี สินค้าข้ามประเทศ เช่น รถยนต์ มีภาษีสูงมาก
8) ข้อกำหนดของธนาคาร การโอนเงินระหว่างประเทศ มีเงื่อนไขระหว่างธนาคาร
ากต้องการประสบความสำเร็จ คุณจะต้องใช้กลยุทธ์การปรับตัวที่เหมาะสมเพื่อคว้าโอกาสจากการดำเนินงานระดับโลกที่มีประสิทธิภาพ ซึ่งความคิดริเริ่มในยุคโลกาภิวัตน์มักเริ่มต้นในแผนกการเงินของคุณ เนื่องจากทีมฝ่ายบัญชีต้องการจัดตั้งบริษัท หน่วยงาน หรือผังบัญชีใหม่ เพื่อรองรับการขยายทางธุรกิจ สิ่งนี้ต้องการระบบการจัดการทางการเงินเพื่อรองรับหลายมิติ สกุลเงิน ธุรกรรมระหว่างบริษัท และการรวมบัญชี นอกจากนี้ยังต้องใช้กลยุทธ์ในการสนับสนุนการกำกับดูแลระดับโลกและการกำหนดมาตรฐาน เพื่อให้แน่ใจว่าการรายงานทางการเงินของคุณได้รับการปรับให้เหมาะสม
เช่น การมองโอกาสนำเข้าส่งออกกับต่างประเทศ ชวนมอง ttpcargo.com
กิจกรรม : เพื่อนในยุคโลกาภิวัฒน์
จงรวมกลุ่มกับเพื่อนของท่าน
แล้วแยกไปพูดคุยแลกเปลี่ยนกันในกลุ่ม
เรื่อง "ประสบการณ์ที่มีเพื่อน หรือมีญาติ ที่สื่อสารด้วยภาษาอื่นที่ไม่ใช่ภาษาไทย หรืออยู่นอกประเทศไทย"
แล้วเลือกตัวแทนที่มีเรื่องเล่าที่น่าสนใจหนึ่งคน ให้เป็นผู้เล่าเรื่อง
สมาชิกแต่ละคนในกลุ่มจับประเด็นให้ได้คนละ 1 บรรทัดรวมทั้งตัวผู้เล่าเรื่อง
แล้วจัดลำดับการเล่าเรื่องของสมาชิกแต่ละคน
ดังนั้น เรื่องเล่าจะมีจำนวนบรรทัดเท่าจำนวนสมาชิกในกลุ่ม
แล้วแต่ละคนใช้อุปกรณ์ของตน พูดใส่อุปกรณ์แล้วแปลงออกมาเป็นตัวอักษร
ส่งตัวอักษรเขียนลงใต้โพสต์ที่กำหนด
เมื่อสมาชิกทุกคนดำเนินการแล้วเสร็จ
ให้ผู้เล่าเรื่องเป็นผู้ออกมานำเสนอหน้าชั้น
ว่า "ในยุคโลกาภิวัฒน์ นอกจากเพื่อนบ้านแล้ว เราได้สื่อสารกับใคร เรื่องอะไร ผ่านช่องทางใด"
1-2 องค์ประกอบ และความหมาย ของการสื่อสาร
component
แบบจำลองของ ฮาโรลด์ ดี ลาสเวลล์ (Harold D. Lasswell) ค.ศ.1948
ารสื่อสาร (Communication) มาจากภาษาละตินว่า communicare หมายถึง to share คือ กิจกรรมที่สื่อสารสนเทศบางอย่าง ผ่านการแลกเปลี่ยนความคิด ความรู้สึก การเอาใจใส่ ทัศนคติ ความคาดหวัง การรับรู้ หรือคำสั่ง อาจเป็นการพูดคุย การแสดงออก การเขียน พฤติกรรม หรือผ่านอุปกรณ์อื่นใด ที่เป็นการแลกเปลี่ยนระหว่าง 2 คนหรือมากกว่า
งค์ประกอบของการสื่อสาร (Communication Components) ประกอบด้วย ผู้ส่งสาร (Sender) สาร (Message) สื่อ (Channel or Medium) และผู้รับ (Receipient) ซึ่งไม่จำเป็นต้องเกิดในเวลาที่จำกัด หรือในพื้นที่แคบ และการสื่อสารเกี่ยวข้องกับขั้นตอนสำคัญ 3 ขั้น คือ 1) คิด (Thought) ในผู้ส่งสาร 2) เข้ารหัส (Encoding) แปลงสารเพื่อส่งผ่านช่องทางที่กำหนด 3) ถอดรหัส (Decoding) แปลสิ่งที่ได้รับเป็นความเข้าใจที่มีต่อสาร
มเดลของการสื่อสาร (Communication Model) ครั้งแรกนั้นถูกเสนอโดย Claude Shannon และ Warren Weaver นักวิศวกรไฟฟ้า ที่ Bell Laboratories ในค.ศ.1949 (2492) ออกแบบเพื่อแสดงการสะท้อนการทำงานของ วิทยุ และโทรศัพท์ ในงานที่เขาทำอยู่ เป็นแบบจำลองการสื่อสารเชิงทฤษฎีคณิตศาสตร์ (The Mathematical Theory of Communication) ซึ่งประกอบด้วยองค์ประกอบ 4 ส่วน คือ sender, message, channel, และ receiver
1-3 ชวนอ่าน ภาษาไทยใน infographic และมองโลก แนวโน้มการเปลี่ยนแปลงอย่างฉับพลัน
(Disruptive Change Trends)
ที่มีผลกระทบสูงต่อประเทศไทย (กพร)
1. Digital Disruption การแพร่กระจายและความก้าวหน้าของเทคโนโลยีดิจิทัลสำคัญ
ทำให้เกิดการลดคนกลาง และ
เพิ่มศักยภาพความคิด
ส่งผลให้เกิดเปลี่ยนแปลงอย่างฉับพลันในทุกภาคส่วน
2. Frontier Technology เทคโนโลยีอื่น ๆ ที่ต่อยอดจากดิจิทัล
มีแนวโน้มจะส่งผล
ให้เกิดการเปลี่ยนกระบวนทัศน์ในการดำรงชีวิต
3. Globalization vs Anti-Globalization กระแสโลกาภิวัฒน์ในโลกธุรกิจที่รุนแรง
ทำให้เกิดกระแสต่อต้าน
เพื่อรักษารากฐานของวัฒนธรรม
และเศรษฐกิจแบบโลกเก่า
ที่นับวันจะมีแนวโน้มการใช้วิธีการใหม่ ๆ
เพื่อขับเคลื่อนแนวคิดทั้งสองขั้ว
4. Multi-polar World ความสุดโต่ง ผนวกกับความเป็นปัจเจก
และแรงกระตุ้นจากสื่อสังคมออนไลน์
ทำให้เกิดกลุ่มสังคมย่อยในทุกภาคส่วน
เกิดการแสดงออกที่แตกต่างกัน
นำไปสู่ความขัดแย้งที่เพิ่มขึ้น
5. Environmental Awareness การขาดแคลนทรัพยากร ทำให้เกิดการแย่งชิงและขยายอำนาจ
ในขณะที่ผู้คนเริ่มตระหนักถึงผลกระทบ
และการสร้างสมดุลระหว่างการใช้ประโยชน์
และการอนุรักษ์มากขึ้น
6. Integrative Urbanization การรวมตัวกันของกลุ่มเมือง
ที่เป็น Cyber-Physical
ทำให้เกิดเครือข่ายเมืองขนาดใหญ่
ที่เป็นศูนย์กลางของการเข้าถึงความเจริญ
การอพยพ การดำรงชีวิตแบบใหม่
มีวัฒนธรรมที่หลากหลาย
และเริ่มลดความเป็นตัวตนเดิม
7. Future Citizen ประชากรในอนาคต มีทักษะและวิธีคิดเปลี่ยนไป
คนที่เป็น Digital native มีจำนวนมากขึ้น
คนยุคเก่าลดบทบาทเป็น Active retiree
หลายตำแหน่งงานถูกแทนที่ด้วยเทคโนโลยีใหม่
ประชากรที่สามารถปรับตัวได้ จะก้าวหน้าได้ไว
นำไปสู่ความเหลื่อมล้ำที่สูงขึ้น
1-4 ประเภทของการสื่อสาร
เกณฑ์การแบ่งประเภทของการสื่อสารตัวอย่าง
1. จำนวนผู้ทำการสื่อสาร1.1 การสื่อสารภายในตัวบุคคล
(intrapersonal communication)
- การพูดกับตัวเอง
- การคิดคำนึงเรื่องต่าง ๆ
- การร้องเพลงฟังเอง
- การคิดถึงงานที่จะทำ เป็นต้น
1.2 การสื่อสารระหว่างบุคคล
(interpersonal communication)
- การพูดคุยระหว่างบุคคล 2 คนขึ้นไป
- การพูดคุย
- การเขียนจดหมาย
- การโทรศัพท์
- การประชุมกลุ่มย่อย เป็นต้น
1.3 การสื่อสารกลุ่มใหญ่
(large group communication)
- การอภิปรายในหอประชุม
- การพูดหาเรื่องเลือกตั้ง
- การปราศรัยในงานสังคม
- การกล่าวปาฐกถา ในหอประชุม
- การบรรยายทางวิชาการ ณ ศูนย์เรียนรวม เป็นต้น
1.4 การสื่อสารในองค์กร
(organizational communication)
- การสื่อสารในบริษัท
- การสื่อสารในหน่วยงาน ราชการ
- การสื่อสารในโรงงาน
- การสื่อสารของธนาคาร เป็นต้น
1.5 การสื่อสารมวลชน
(mass communication)
การสื่อสารที่ผ่านสื่อเหล่านี้ คือ - หนังสือพิมพ์, นิตยสาร
- วิทยุ
- โทรทัศน์
- ภาพยนตร์ เป็นต้น
2.การเห็นหน้ากัน2.1 การสื่อสารแบบเผชิญหน้า
(face to face communication)
- การสนทนาต่อหน้ากัน
- การประชุมสัมมนา
- การสัมภาษณ์เฉพาะหน้า
- การเรียนการสอนในชั้นเรียน
- การประชุมกลุ่มย่อย เป็นต้น
2.2 การสื่อสารแบบไม่เผชิญหน้า
(interposed communication)
เอกสารการสื่อสารที่ผ่าน สื่อมวลชนทุกชนิด คือ
- หนังสือพิมพ์
- วิทยุ
- โทรทัศน์
- วีดิทัศน์การสื่อสารที่ผ่าน สื่อมวลชนทุกชนิด
- จดหมาย/โทรเลข/โทรสาร
- อินเตอร์เน็ต เป็นต้น
3. ความสามารถในการโต้ตอบ3.1 การสื่อสารทางเดียว
(one-way communication)
การสื่อสารที่ผ่านสื่อมวลชนทุกชนิด คือ
- วิทยุ/โทรทัศน์/วีดิทัศน์
- โทรเลข/โทรสาร
- ภาพยนตร์ เป็นต้น
3.2 การสื่อสารสองทาง
(two-way communication)
- การสื่อสารระหว่างบุคคล
- การสื่อสารในกลุ่ม
- การพูดคุย / การสนทนา เป็นต้น
4. ความแตกต่างระหว่างผู้รับสารและผู้ส่งสาร4.1 การสื่อสารระหว่างเชื้อชาติ
(interracial communication)
- ชาวไทยสื่อสารกับคน ต่างประเทศ
- คนจีน, มาเลย์, อินเดีย ใน ประเทศมาเลเซีย สื่อสารกัน เป็นต้น
4.2 การสื่อสารระหว่างวัฒนธรรม
(gosscultural communication)
- การสื่อสารระหว่างคนไทยภาคใต้กับภาคเหนือหรือ ภาคอื่น ๆ
- ชาวไทยสื่อสารกับชาวเขา เป็นต้น
4.3 การสื่อสารระหว่างประเทศ
(international communication)
- การเจรจาติดต่อสัมพันธ์ทางการทูต
- การเจรจาในฐานะตัวแทน รัฐบาล เป็นต้น
5. การใช้ภาษา5.1 การสื่อสารเชิงวัจนภาษา
(verbal communication)
- การพูด, การบรรยาย
- การเขียนจดหมาย, บทความ เป็นต้น
5.2 การสื่อสารเชิงอวัจนภาษา
(non-verbal communication)
- การสื่อสารโดยไม่ใช้ถ้อยคำ, คำพูด
- อาการภาษา, กาลภาษา, เทศภาษา, สัมผัสภาษา, เนตรภาษา, วัตถุภาษา และปริภาษา เป็นต้น
2-1 การรับสารอย่างสร้างสรรค์
สิ่งที่น่าสนใจ
1. Blognone ให้เขียนฟรี
2. Mark Zuckerberg
3. Metaverse / Multiverse
4. Facebook ซื้อ Oculus
5. แว่น Samsung Gear VR
6. การจำลองโลกเสมือนจริง
VR = Virtual Reality
7. ซ้อนทับวัตถุเสมือนในโลกจริง
AR = Augmented Reality
8. ผสมผสานวัตถุเสมือนกับโลกจริง
MR = Mixed Reality
การระดมสมอง
ด้วย Mindmap

การเลือกรับ - จากใคร (Who)
เช่น กฤษฎา ตันเปาว์ (หัวข้อ 34)
การบริหารต้องมอง P O S L C
P (Planning) การวางแผน
O (Organizing) การจัดองค์กร
S (Staffing) การจัดคนเข้าทำงาน
L (Leading) การจูงใจให้ทำงาน
C (Controlling) การควบคุม
ารรับสารอย่างสร้างสรรค์ คือ ความสามารถในการเลือกสรร ข้อมูลอย่างชาญฉลาด นำไปเชื่อมโยงกับข้อมูลด้านอื่น ๆ อย่างรอบด้าน จัดกลุ่มเนื้อหาและประมวลข้อมูลอย่างมีประสิทธิภาพ เอื้อต่อการบรรลุจุดมุ่งหมายในการสื่อสาร
ความสำคัญของการรับสารอย่างสร้างสรรค์
- เป็นเครื่องมือสำคัญในการศึกษาค้นคว้า
- เป็นวิธีคัดเลือกข้อมูลแบบผสมผสาน และบูรณาการ
- เป็นการเสริมสร้างการวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อนำไปสู่การสังเคราะห์
- ช่วยพัฒนาระบบการคิด การตัดสินใจอย่างมีเหตุผล ไม่ไหลตามกระแสนิยม
แนวคิดในการรับสารอย่างสร้างสรรค์
- เป็นคุณสมบัติที่ฝึกฝนได้
- การฝึกทักษะในการรับสารอย่างสร้างสรรค์จะช่วยให้เกิดความแม่นยำในการตัดสินใจ
- เป็นการฝึกฝนการพิจารณาข้อมูลอย่างรอบด้าน ส่งผลให้เกิดความรู้กว้างขวางลึกซึ้งและมีความรอบคอบ
ขั้นตอนการรับสารอย่างสร้างสรรค์
- ขั้นที่ 1 การเลือกสรรข้อมูล : เป็นการระดมสมอง เพื่อพิจารณาเลือกรับข้อมูลที่สอดคล้องและตรงกับความต้องการ
- ขั้นที่ 2 การเชื่อมโยงข้อมูล : เป็นการหาความสัมพันธ์จากแนวคิดเดิมไปสู่แนวคิดใหม่ที่นำไปต่อยอดได้
- ขั้นที่ 3 การจัดกลุ่มข้อมูล : เป็นการคัดแยกข้อมูลตามกลุ่มที่กำหนดเพื่อนำไปสู่ข้อสรุปใหม่
- ขั้นที่ 4 การประมวลข้อมูล : เป็นการแปลข้อมูล ตีความ สรุปความ สำหรับใช้ตัดสินใจสู่การปฏิบัติ
วิธีการคิดแบบ 10 มิติ (สไลด์ที่ 6 - 15)
1. การคิดเชิงวิพากย์ (Critical Thinking)
2. การคิดเชิงวิเคราะห์ (Analytical Thinking)
3. การคิดเชิงสังเคราะห์ (Synthesis-Type Thinking)
4. การคิดเชิงเปรียบเทียบ (Comparative Thinking)
5. การคิดเชิงมโนทัศน์ (Conceptual Thinking) - กรอบความคิด
6. การคิดเชิงสร้างสรรค์ (Creative Thinking)
7. การคิดเชิงประยุกต์ (Applicative Thinking)
8. การคิดเชิงกลยุทธ์ (Strategic Thinking)
9. การคิดเชิงบูรณาการ (Integrative Thinking)
10. การคิดเชิงอนาคต (Futuristic Thinking)
สไลด์ที่ 35 - 38 : slideserve.com/johana/presentation_155685
ขั้นตอนการทำมายแมพ (Mindmap)
1. ตั้งสติ
2. วางกระดาษเปล่าในแนวนอน
3. วาดแก่นแกนไว้ตรงกลาง
4. ใช้สีอย่างน้อย 3 สี
5. เริ่มวาดด้วยเส้นหนา ๆ
6. วาดเส้นกิ่งโค้งเรียวจากใหญ่ไปเล็ก
7. เขียนคำบนกิ่งเชื่อมกับแก่นแกน
8. เพิ่มเส้นกิ่งตามใจคิด
9. เพิ่มกิ่งก้อยตามเส้นกิ่งไปใจคิด
/how-to-make-mind-map/
แผนที่ความคิด : แอปพลิเคชัน อปพลิเคชัน (Application) คือ โปรแกรมประยุกต์ที่นำมาใช้ในกิจกรรมหรือการดำเนินชีวิตให้เกิดประโยชน์ทั้งต่อตนเองและคนรอบตัวเรา ที่อยู่ในความทรงจำที่ได้ใช้ทุกวันหรือตลอดเวลานั้น ที่คิดออกในตอนนี้ คือ บ้าน งาน การศึกษา ความคิดสร้างสรรค์ ความเป็นอยู่ และความจำ
1. บ้าน (Home) คือ สิ่งที่นึกถึงเป็นสิ่งแรกย่อมเป็นที่อยู่อาศัยที่เราใช้พักผ่อนหลับนอน ถ้าให้นึกถึงเรื่องราวเกี่ยวกับการใช้แอปพลิเคชันในบ้านคงเล่าได้สามวันเจ็ดวัน แต่ถ้าจะให้ขมวดรวมเป็นกลุ่มเรื่องที่สัมพันธ์กันแล้ว สามารถแจกแจงและฉายภาพการใช้แอปพลิเคชันได้ ดังนี้
สิ่งที่มีในบ้าน คือ ความรัก (Love) ที่บ้านของเรามีคุณพ่อ คุณแม่ คุณพี่ คุณน้อง คุณลูก คุณหลาน อยู่ด้วยรักและเอื้ออาทรเป็นครอบครัวใหญ่บ้างเล็กบ้างแล้วแต่ความพร้อมทางสังคม พวกเราใช้แอปพลิเคชันในการสื่อสาร ทำคลิป ทำอัลบั้มครอบครัว ร้องคาราโอเกะ ไลฟ์สด แชร์สารทุกข์สุขดิบ ข่าวสารข้อมูล และทำกิจกรรมต่าง ๆ ร่วมกันด้วยความรักความผูกพันธ์เสมอ เป็นสถานที่ที่เราใช้เวลามากที่สุดในแต่ละวัน
บ้านถือว่าเป็นสถาบันครอบครัว (Family) ที่เป็นจุดเริ่มต้นของการใช้ชีวิตนับตั้งแต่เกิดจนตาย วันนี้เราเป็นเด็ก แต่เมื่อเวลาผ่านไปเราจะเติบโตเป็นคุณปู่ คุณย่า คุณตา คุณยาย คุณทวด และบรรพบุรุษในที่สุด ครอบครัวของเราเป็นครอบครัวใหญ่ เราอยู่ร่วมกันทั้งออฟไลน์และออนไลน์ใช้แอปพลิเคชันหลากหลายทั้งกลุ่มไลน์ แชทผ่านเมสเซนเจอร์ และกลุ่มเฟซบุ๊ก ข้างบ้านที่ติดกันเป็นครอบครัวคุณปู่ถนัดใช้กลุ่มไลน์ ส่วนบ้านของเราเป็นครอบครัวคุณตาถนัดใช้กลุ่มเฟซบุ๊ก ผมมักไปเที่ยวเล่นบ้านคุณปู่ โทรหาท่านผ่านไลน์เวลาอยู่นอกบ้าน เช่น ถามว่าฝากซื้ออะไรไหมตอนนี้อยู่บิ๊กซี ทุกเย็นคุณยายจะส่งสูตรอาหารผ่านอินสตาแกรมมาอวดในครอบครัวว่าพรุ่งนี้จะทำเมนูไหน ก่อนเริ่มทานอาหารคุณยายก็จะหยิบกล้องมาเซลฟี่ เพราะคุณยายชอบทำอาหารอีสานและแชร์ลงไอจีอวดเพื่อน ส่วนบ้านคุณปู่ชอบอาหารใต้ เน้นอาหารรสจัด มีสะตอบนโต๊ะอาหารเกือบทุกมื้อ บ้านนั้นเค้าเป็นยูทูปเปอร์มีคนติดตามหลายร้อย
ที่บ้านจะมี เพื่อน ๆ (Friends) แวะเวียนมาที่บ้านจนหัวบันไดไม่เคยแห้ง แม้จะไลฟ์สดขายผ้าขาวม้าทุกวันพบเพื่อนทุกวัน แต่เพื่อนก็ชอบมาที่บ้าน เพราะบ้านอยู่ติดแม่น้ำ มีเพื่อนของผม ของพี่ ๆ น้อง ๆ จะมาเที่ยวที่บ้านทุกสุดสัปดาห์ มาถ่ายภาพตามมุมโปรด มาโดดน้ำ มาพายเรือ ตกเบ็ดหว่านแหหาปลาพอได้ปลาตัวใหญ่ก็ถ่ายภาพส่งขายในกลุ่มของหมู่บ้าน แก็งเพื่อนของน้องสาวก็จะมาทำตำส้มนั่งล้อมวงดูซีรี่เกาหลี คุณพ่อมีเพื่อนเยอะ ท่านเป็นประธานชมรมไก่ชนจึงมีเพื่อนเวียนกันลองไก่แล้วก็ไลฟ์สดผ่านยูทูปมีเพื่อนใหม่สายไก่ชนมาขอเป็นเพื่อนเสมอ มาทานข้าวดื่มกาแฟเป็นประจำ คุณแม่อบคุกกี้เตรียมไว้เป็นกล่อง ๆ คอยรับทั้งเพื่อนพ่อเพื่อนลูก ส่วนคุณปู่เป็นผู้ใหญ่บ้านมีชาวบ้านมาขอให้ท่านไปร่วมกิจกรรมเกือบทุกวันทั้งงานบวช งานแต่ง งานขึ้นบ้านใหม่ ก็จะมีโต๊ะไม้สักสำหรับรับแขกตัวโต ๆ อยู่หน้าบ้าน มีกล้องวงจรปิดไว้ดูแบบออนไลน์ว่าใครไปใครมา คุณปู่ใช้ปฏิทินกูเกิ้ลทำให้สะดวกในการตรวจวันว่างที่จะนัดเพื่อน ๆ มาที่บ้าน ถ้าไม่สะดวกเดินทางก็นัดประชุมผ่านมีตติ้ง
งานอดิเรกในบ้าน (Pastimes) พลบค่ำหลังอาหารเย็นพวกเราจะตั้งโต๊ะออนไลน์ดวลหมากรุกบนแอปพลิเคชัน มีแชมป์ประจำบ้านคือน้องสาวคนเล็ก โขกหมากรุกเก่งชนะคุณปู่คุณตาอยู่เป็นประจำ ส่วนผมก็โขกพอเป็น แพ้บ้างชนะบ้าง แต่ไม่เคยชนะน้องสาวคนนี้เลย ในบ้านมีคนมือเย็นที่สุดคือคุณแม่ มีเรือนเพาะชำอยู่ริมท่าน้ำ ปลูกอะไรก็ขึ้น ผักกับลาบที่ทานเสร็จแล้วเหลือแต่ราก ท่านก็เก็บไปปักชำพอโตได้ที่ก็เก็บใส่จานมากินกับน้ำพริกอยู่เสมอ ผักที่ท่านปลูกจะส่งไปขายในช้อปปี้กับแฟนเพจ ในบ้านของเรามีงานอดิเรกที่ชอบไม่เหมือนกัน ผมเป็นคนชอบเขียนบล็อก เล่าเรื่องเพลง เรื่องหนัง รีวิวกีฬาอยู่บ่อย ๆ ส่วนคุณตาที่เลี้ยงนกขุนทองขายทั้งนกทั้งไข่นกผ่านกลุ่มลำปางซิตี้ เช้ามาต้องได้ยินเสียงนกร้องจิบจิบทุกเช้า คุณยายมีกลุ่มเย็บปักถักร้อยตั้งแผงขายผ้าทอมืออยู่หน้าบ้าน คุณย่าถ่ายภาพผ้าทอในมุมสวย ๆ ไปโพสต์ขายบนไอจีและมีลูกค้าสั่งซื้ออยู่เสมอ .. ที่บ้านของเรายังมีเรื่องเล่าอีกมากมาย
2. งาน (Work) : Management, Promotion, Structuring
3. การศึกษา (Education) : School, University, Studies, Exams
4. ความคิดสร้างสรรค์ (Creativity) : Ideas, Innovation, Planning, Research, Problem
5. ความเป็นอยู่ (Wellbeing) : Nutrition, Relaxation, Exercise
6. ความจำ (Memory) : Recall, Knowledge, Concentration, Understanding
2-2 ระดมสมอง คิดเชิงตรรกะ (ครู กับ นักเรียน) รรกะ คือ ความตรึก ความคิดอย่างใช้เหตุผล การคิดแบบมีเหตุมีผล เช่น ผมพยายามใช้ตรรกะและความรู้ของตัวเองให้มากที่สุดเพื่อตอบคำถามนี้ มีคำถามเป็นเหตุการณ์สมมติ ว่า ถ้าคุณแม่ขอคุณลูกให้ไปซื้อเครื่องทำขนมจีนน้ำยาป่ามาทำอาหาร แล้วคุณลูกหิ้วเครื่องทำขนมจีนน้ำเงี้ยวกลับมาแทน และให้เหตุผลว่า "ง่าย" ? ... เชิญคิด ... ?
2-3 กลุ่มข้อมูลจำแนกตามกลุ่มเพื่อน : การฟัง คือ ทักษะ บว่า อ.ธวัชชัย แสนชมภู แชร์คลิป เรื่อง เมื่อมหาวิทยาลัยอาจไม่จำเป็นอีกต่อไป ธรรมศาสตร์จะเหลือแค่ ประวัติศาสตร์ หรือไม่ ในคลิปพูดถึงแคมปัสที่สามที่ ลำปาง และแคมปัสใหม่ใน Thammasat Metaverse Campus รศ.ดร.พิภพ อุดร รองอธิการบดีฝ่ายวิชาการ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ชวนเรียนแบบ Long Life Learning มีหลักสูตร MBA สาขา Business innovation และ Data science ให้เรียนแบบออนไลน์ มีจบไปแล้ว 30 คน ผ่าน SkillLane ในโครงการหลักสูตรป.โทออนไลน์ (Tuxsa) ซึ่งธรรมศาสตร์มุ่งพัฒนา Platform ให้เป็นแหล่งตลาดวิชา และบริการประชาชนที่หลากหลาย มีคำมากมายที่น่าสนใจ เช่น Back to the future "ทำอะไรเป็น ทำอะไรเก่ง ทำอะไรได้" ใบปริญญาคือตัวแปรตาม ใน 20.43 นาที
2-4 การประมวลแล้วนำเสนอผ่าน Infographic
อินโฟกราฟิก คือ การนำเสนอสารสนเทศ ข้อมูล ความรู้ ด้วยภาพกราฟิกเสมือนจริง ที่มุ่งนำเสนอข้อมูลที่ซับซ้อนให้เข้าใจได้อย่างชัดเจนรวดเร็ว ปรับใช้ประโยชน์ภาพกราฟิกแสดงรูปแบบข้อมูล หรือแนวโน้ม กระบวนการจัดทำเกี่ยวข้องกับภาพเสมือนจริง การออกแบบสารสนเทศ และสถาปัตยกรรมสารสนเทศ
การจัดวางหน้าอินโฟกราฟิก (9 แบบ)
1. อ่านง่ายนำข้อมูลไปใช้ได้ทันที (Useful Bait) - ส่วนประกอบกาแฟ
- เน้นหัวข้อชัดเจน เป็นประโยชน์ เช่น ของใช้ในห้องเรียน ศีลห้า
2. แผนที่เส้นทาง (Road Map) - เส้นทางพายุโนรู
- กระบวนการ ขั้นตอน เส้นทาง เช่น การอพยพของคนในหมู่บ้าน
3. เส้นเวลา (Timeline) - ชีวิตของฉัน
- เล่าประวัติ กิจกรรมตามเวลา เช่น แผนกิจกรรมในชั้นเรียน
4. เปรียบเทียบ (Versus/Comparison) - ชายหญิง
- เทียบความต่างของสองสิ่งขึ้นไป เช่น ประถมกับมัธยม
5. บทความที่เห็นเป็นภาพ (Visualized Article) - สรุปบทความเป็นภาพ
- ย่องานเขียนให้เป็นภาพและข้อความ เช่น โปสเตอร์งานวิชาการ
6. หนักข้อมูล (Heavy Data/Number) - ตารางแลกเปลี่ยนคริปโต หรือสกุลเงิน
- เสนอตัวเลขที่น่าสนใจ เช่น ผลเลือกตั้ง สัดส่วนงบประมาณ
7. รายการ (Listed) - สิ่งของสำหรับเข้าค่ายลูกเสือ
- แสดงรายการ อาจสัมพันธ์หรือไม่ก็ได้ เช่น แจกแจงคะแนนในวิชา รายการหนังสือ
8. โครงสร้าง (Structure) - องค์กรนิสิต
- แสดงองค์ประกอบ เช่น แต่ละส่วนของบ้าน องค์ประกอบโรงเรียน ผังองค์กร
9. ผังงาน (Flowchart) - ขั้นตอนการบริจาคโลหิต
- เสนอขั้นตอนที่ซับซ้อนแต่มีคำตอบชัดเจน เช่น การเป็นผอ. เริ่มจากสอบเป็นครู
กระทรวงสาธารณสุข กระทรวงศึกษาธิการ
การสร้างอินโฟกราฟิกให้ว้าว (Designing An Amazing Infographics) ใน 10 ขั้นตอน
1. รวบรวมข้อมูล (Gathering data)
2. อ่านทุกสิ่ง (Reading everything)
3. หาวิธีเล่าเรื่อง (Finding the narrative)
4. ระบุปัญหา (Identifying problems)
5. วางลำดับเนื้อหา (Creating a hierarchy)
6. ออกแบบโครงร่าง (Building a wireframe)
7. เลือกรูปแบบอินโฟกราฟิก (Choosing a format)
8. เลือกภาพให้ตรงประเด็น (Determining a visual approach)
9. ทบทวนและทดสอบ (Refinement and testing)
10. ปล่อยสู่สายตาชาวโลก (Releasing it into the world)
10-steps-to-designing-an-amazing-infographic
ตัวอย่าง infographic
เส้นทางชีวิต ตั้งแต่เริ่มเรียน เรียนจบ มีแฟน มีงาน
เส้นทางชีวิตในมหาวิทยาลัย
ขั้นตอน เก็บตัวอย่างน้ำลายเพื่อตรวจ COVID-19
เส้นเวลา ระยะของโรค COVID-19
ขั้นตอน ใส่ N95 อย่างไรให้ปลอดภัย
ทำแบบนี้เป็นประจำ ก็ทำให้ประสบความสำเร็จได้
เส้นเวลาการพัฒนากล้องบันทึกภาพ
3 - การอ่านเอกสารวิชาการ เอกสารที่ผลการศึกษาเชิงนวัตกรรม มีเผยแพร่ในบทความวิจัย และตีพิมพ์ในวารสารวิชาการมากมาย
ท่านเลือกอ่านอะไร
- บทความวิจัยในเรื่องที่เราสนใจ
- บทความวิจัยในหัวข้อที่กำลังเรียน
- บทความวิจัยของอาจารย์ในหลักสูตร
- บทความวิจัยที่เกี่ยวกับหลักสูตร
ตัวอย่างคำค้น
thaijo surgery
thaijo tooth repair
thaijo medical technology
proceeding nurse filetype:pdf
3 - บทบิดลิ้น ระโยคลิ้นพัน หรือบทบิดลิ้น (Tongue twisters) หมายถึง วลีหรือข้อความที่สร้างขึ้นด้วยกลวิธีทางภาษา เช่น การสัมผัสอักษร การสลับหน่วยเสียง คำพ้องเสียง และการซ้ำคำ ที่ทำให้การออกเสียงทำได้ยาก และนิยมใช้เป็นเกมคำ หรือแบบฝึกการออกเสียงให้ชัดเจน
- สัมผัสอักษร หมายถึง คำคล้องจองที่มีอักษรตัวหลักเป็นตัวเดียวกัน เช่น ตรม - ตรอม, เรียน - รัก, ครอบ - ครัว, ไหน - หนา, ฟาก - ฟ้า, ฟาด - ฟัก, ยัก - เย็ก
- หน่วยเสียง หมายถึง หน่วยที่เล็กที่สุดในภาษาที่ไม่สามารถแยกออกได้อีก เช่น สอย = /ส/ + /ออ/ + /ย/ หรือ หิด /ห/ + /อิด/ + /ด/ ตัวอย่างการ การสลับหน่วยเสียง เช่น สอย หอย หิด ชิด
- คำพ้องเสียง หมายถึง คำที่ออกเสียงเหมือนกัน เช่น ค่ากับฆ่า, หาญกับหาร, รดกับรถ หรือที่เสียงใกล้เคียงกัน เช่น คว่ำกับค่ำ
- การซ้ำคำ หมายถึง ใช้คำนั้นมากกว่าหนึ่งรอบ เช่น คว่ำเช้าคว่ำค่ำ หรือ ยานัดหมอมีแก้ฝีแก้หิด ยานัดหมอชิดแก้หิดแก้ฝี
ตัวอย่าง เกมบิดลิ้น ที่ไม่ง่ายเมื่อต้องพูด
1. เช้าฟาดผัดฟัก เย็นฟาดฟักผัด
2. ชามเขียวคว่ำเช้า ชามขาวคว่ำค่ำ
3. ยักษ์ใหญ่ไล่ยักษ์เล็ก ยักษ์เล็กไล่ยักษ์ใหญ่
4. ยานัดหมอมีแก้ฝีแก้หิด ยานัดหมอชิดแก้หิดแก้ฝี
5. หมีตาสอย หอยยายสี หอยตาสี หมียายสอย
6. กินมันติดเหงือก กินเผือกติดฟัน กินทั้งมันกินทั้งเผือก ติดทั้งเหงือกติดทั้งฟัน
7. กล้วยตานี ใบหวีเหี่ยว เหลือหวีเดียว หิ้วหวีไป หิ้วหวีมา
8. อาเฮียหลีพาอาหลีเฮียไปดูผี
สิ่งสำคัญที่เรียนรู้จากประโยคบดลิ้น คือ คิดให้ง่าย เขียนให้ง่าย อ่านให้ง่าย พูดให้ง่าย ฟังให้ง่าย เข้าใจง่าย
ประโยคที่พูดยากๆ หัดพูดไว้ มาลองออกกำลังฝีปากกันครับ
บทบิดลิ้น ใน wikipedia
ทบทวนเนื้อหาวิชาภาษาไทย - ผศ.วศัลย์ศยา รุดดิษฐ์
3 - จัดเรียงลำดับตามตัวอักษร
นชีวิตประจำวัน ที่นักเรียน นิสิต นักศึกษา ต้องอ่าน บทความวิจัยในวารสาร แล้วเขียนอ้างอิงเอกสารแบบ APA บางครั้งต้องนำรายการเอกสารทั้งหมดมาเรียงลำดับตามตัวอักษรภาษาไทย หรือภาษาอังกฤษ การที่จดจำลำดับสระ พยัญชนะ และวรรณยุกต์ในภาษาไทยได้ หากรู้ว่าอะไรมาก่อนและอะไรมาทีหลัง ก็จะช่วยให้ไม่ต้องหาวิธีหรือเครื่องมือมาช่วยในการจัดเรียงลำดับ มีตัวอย่างที่บุคลากรสายวิทยาศาสตร์สุขภาพต้องนำข้อมูลมาจัดเรียงอยู่เสมอ ดังนี้
เรียงชื่อคนไข้ หมอ พยาบาล
เรียงชื่อหมู่บ้าน อำเภอ จังหวัด
เรียงชื่อรายงาน/เอกสารอ้างอิง

ารรู้จักตัวอักษรภาษาไทยเป็นสิ่งจำเป็นพื้นฐาน สำหรับการมีทักษะการเขียนเพื่อการสื่อสารที่ดี ความสนใจภาษาไทยอย่างจริงจัง รู้จักตัวอักษร สระ และวรรณยุกต์ ส่งผลถึงความสนใจการใช้คำที่หลากหลาย เช่น ซี้ นงคราญ ปราชญ์ รากหญ้า รำมะนาด ซึ่งผู้ที่ต้องทำงานร่วมกับผู้อื่นและใช้การเขียนเพื่อการสื่อสารเป็นสำคัญ ควรมีทักษะการเขียนที่ใช้ภาษาเขียน และจดจำศัพท์เทคนิคทางวิชาชีพได้ ทักษะการเขียนเป็นสิ่งที่ฝึกฝนกันได้ เพื่อให้การสื่อสารเป็นไปอย่างมีประสิทธิผลและประสิทธิภาพที่สุด
char_excel_sort.xlsx เช่น อ อ. อ1 อ์อ ออ อ่อ อ้อ อ๊อ อ๋อ อํอ อ็อ อะ อัอ อา อำ อิอ อีอ อึอ อือ อุอ อูอ อฺอ อๆ เอ แอ โอ ใอ ไอ
พยัญชนะไทยมี 44 รูป ประกอบด้วย ก เอ๋ย ก ไก่ ข ไข่ในเล้า ฃ ฃวดของเรา ค ควายเข้านา ฅ ฅนขึงขัง ฆ ระฆังข้างฝา ง งูใจกล้า จ จานใช้ดี ฉ ฉิ่งตีดัง ช ช้างวิ่งหนี ซ โซ่ล่ามที ฌ กะเฌอคู่กัน ญ ผู้หญิงโสภา ฏ ชะฎาสวมพลัน ฏ ปะฏักหุนหัน ฐ ฐานเข้ามารอง ฑ มณโฑหน้าขาว ฒ ผู้เฒ่าเดินย่อง ณ เณรไม่มอง ด เด็กต้องนิมนต์ ต เต่าหลังตุง ถ ถุงแบกขน ท ทหารอดทน ธ ธงคนนิยม น หนูขวักไขว่ บ ใบไม้ทับถม ป ปลาตากลม ผ ผึ้งทำรัง ฝ ฝาทนทาน พ พานวางตั้ง ฟ ฟันสะอาดจัง ภ สำเภากางใบ ม ม้าคึกคัก ย ยักเขี้ยวใหญ่ ร เรือพายไป ล ลิงไต่ราว ว แหวนลงยา ศ ศาลาเงียบเหงา ษ ฤาษีหนวดยาว ส เสือดาวคะนอง ห หีบใส่ผ้า ฬ จุฬาท่าผยอง อ อ่างเนืองนอง ฮ นกฮูกตาโต
3 - ชวนอ่าน สารคดี (Non-Ficton) Wiki : สารคดี (Non-fiction) คือ งานเขียนหรือวรรณกรรมร้อยแก้วในลักษณะตรงข้ามกับบันเทิงคดี (Fiction) ที่มุ่งให้สาระความรู้แก่ผู้อ่านเป็นเบื้องต้น มีความเพลิดเพลินเป็นเบื้องหลัง ที่มุ่งแสดงความรู้ ความคิด ความจริง ความกระจ่างแจ้ง และเหตุผลเป็นสำคัญ อาจจะเขียนเชิงอธิบาย วิจารณ์เชิงแนะนำสั่งสอน เป็นต้น
ท่านอยากเป็นคนธรรมดา ที่แสนธรรมดา แบบ Introvert รึเปล่า พบว่า Carl Jung แจกแจงว่า คนเราแบ่งออกได้เป็น 2 กลุ่ม คือ Introvert คนที่ชอบเก็บตัว และ Extrovert คนที่ชอบเข้าสังคม ท่านล่ะเป็นคนแบบไหน

เป็นคนสมถะ ไม่ชอบยุ่งเรื่องคนอื่น จึงไม่มีคนอื่นมายุ่งเรื่องของเรา ไม่มีคนคุยด้วย

เป็นคนไม่เข้าสังคม ไม่ใช้โทรศัพท์ ไม่มีอินเทอร์เน็ต ไม่ออกบ้าน และไม่มีใครเข้ามาในบ้าน

เป็นคนไม่ฟุ้งเฟ้อ ไม่ชอบทานอาหารนอกบ้าน ไม่ชอบทานสัตว์ ปลูกข้าว ปลูกผัก เก็บผลไม้ใบไม้กิน

เป็นคนทำงานกับคนอื่นไม่ได้ จึงไม่ได้ไปหางานที่ไหนทำ ไม่เคยออกไปหางานที่ไหน

เป็นคนรักสัตว์ มีสุนัขและแมวอย่างละตัว เลี้ยงแบบอิสระ หากินกันเอง

เป็นคนไม่ชอบอ่านหนังสือ อ่านแล้วปวดหัว ไม่ชอบดูทีวี ไม่ชอบฟังวิทยุ ชอบอยู่เฉย ๆ
3 - ฟรี อีบุ๊ค Ebook 6 เล่มคาดการณ์สิ่งที่จะเกิดขึ้นใน "อนาคตประเทศไทย" อีก 10 ปี ฟรีอีบุ๊ค Ebook : สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (องค์การมหาชน) ร่วมกับ ศูนย์วิจัยอนาคตศึกษาฟิวเจอร์เทลส์ แล็บ ภายใต้บริษัท แมกโนเลีย ดีเวล็อปเม้นต์ คอร์ปอเรชั่น จำกัด ได้จัดทำรายงานข้อมูลสถิติ บทวิเคราะห์สถานการณ์ปัญหาและปัจจัยที่สำคัญต่อ: การใช้ชีวิตในอนาคต อนาคตการเรียนรู้ และการศึกษา การทำงาน ความเพลิดเพลินทั้งร่างกาย และ จิตใจ การเดินทางและโครงสร้างพื้นฐาน และ ความยั่งยืนต่อสังคมและทรัพยากรธรรมชาติ เพื่อวางกลยุทธ์ให้คนในประเทศมีความมั่นคงในการดำรงชีวิต และ พร้อมรับมือถึงการเปลี่ยนแปลงและความท้าทายต่าง ๆ ในอนาคต
ฟรีอีบุ๊ค Ebook จำนวน 6 เล่ม เรื่องการคาดการณ์สิ่งที่จะเกิดขึ้นในอนาคตในประเทศไทยอีก 10 ปีข้างหน้า โดยโครงการวิจัยคาดการณ์อนาคตประเทศไทย ปี พ.ศ.2573 “Futures and Beyond: Navigating Thailand toward 2030” FutureTales LAB by MQDC และ สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ NIA : National Innovation Agency, Thailand นอกจาก 6 เล่มนี้แล้วยังมีหนังสือ และเอกสารที่น่าสนใจอีกมากมาย ที่โฮมเพจ สถาบันการมองอนาคตนวัตกรรมสถาบันการมองอนาคตนวัตกรรม (Innovation Foresight Institute) เผยแพร่ผ่านเว็บไซต์ ifi.nia.or.th/book/ ซึ่งผู้อ่านเปิดอ่าน e-book ได้ทันทีแบบ flip โดยไม่ต้องดาวน์โหลด ผ่าน 3d-flip-book ซึ่งเป็น plugins ของ wordpress
บว่า เอกสารทั้ง 6 เล่ม มีรูปแบบการเขียนในกรอบเดียวกัน ได้แก่ ควบคุมโทนสีเดียวทั้งเล่ม ถูกแบ่งเป็น 2 ภาษา มีจำนวน 30 หน้า และเนื้อหาแบ่งเป็น 4 บทหลัก แล้วปิดเล่มด้วยบทบรรณาธิการ ทั้ง 4 บทประกอบด้วย 1) สถานการณ์ในปัจจุบัน - Current Situations 2) สัญญาณการเปลี่ยนแปลง - Signals of Changes 3) ปัจจัยขับเคลื่อนสำคัญ - Drivers of Change 4) ฉากทัศน์ในอนาคต - Scenarios ซึ่ง 3 บทแรกมีเนื้อหาประมาณ 5 หน้า แต่บทที่ 4 จะมีรายละเอียดมากที่สุด มีเนื้อหา 10 หน้า แบ่งเป็น 4 หัวข้อแตกต่างกันไปในแต่ละเล่ม
สำนักงานสถิติแห่งชาติ ชี้ให้เห็นว่าคนไทยใช้อินเทอร์เน็ตเพื่อเข้าถึงความบันเทิงและการสื่อสารทางไกลเป็นหลัก มีเพียงร้อยละ 31.6 ที่ใช้เพื่อการติดตามข่าวสารหรือความรู้ ร้อยละ 7.4 ใช้ศึกษาเรียนรู้ผ่านหลักสูตรออนไลน์ (หนังสือ อนาคตของการเรียนรู้ Future of Learning : สถานการณ์ในปัจจุบัน)
ฟรี อีบุ๊ค Ebook 6 เล่มคาดการณ์สิ่งที่จะเกิดขึ้นใน "อนาคตประเทศไทย" อีก 10 ปี
ชวนวิเคราะห์ข้อมูลด้วย 5W1H หรือ หมวก 6 สี

1. อนาคตของการใช้ชีวิต (Future of Living) pdf icon
1. สังคมแห่งความไม่เท่าเทียม (Inequality as a friend)
2. สำหรับอภิสิทธิ์ชน (Only for the privilege)
3. รูปแบบชีวิตขนาดย่อม (Low-cost lifestyle)
4. สะดวกสบาย (This is comfy!)
สถานการณ์ในปัจจุบัน .m4a (3.37)

.

2. อนาคตของการทํางาน (Future of Work) pdf icon
1. หุ่นยนต์ทำคนตกงาน มีแต่ความทุกข์ (Get out , Human)
2. ทำงานเพราะจำเป็นต้องหาเลี้ยงชีพ (Monday Again?)
3. ทำงานทุกวัน มีแต่ความสุข (Happy work, Happy life)
4. มีหลักประกันรายได้ Universal Basic Income (UBI as a life funder)
สถานการณ์ในปัจจุบัน .m4a (7.53)

.

3. อนาคตของการเรียนรู้ (Future of Learning) pdf icon
1. การเรียนรู้ล่มสลาย (Learning decomposed)
2. วงจรอุบาทว์ของคนหางาน (The vicious cycle of job seekers)
3. การเรียนรู้ที่ไม่เคยสิ้นสุด (Never-ending learning)
4. ออกแบบชีวิตของคุณเอง (Design your ideal life)
สถานการณ์ในปัจจุบัน .m4a (9.42)

4. อนาคตของความเพลิดเพลิน (Future of Play) pdf icon
1. หลงอยู่ในพื้นที่เสมือนจริง (Lost in virtual space)
2. กลับสู่ชีวิตแบบเก่า (Back to the old norm)
3. เติมเต็มความสุขแบบของตน (Fulfill your own passion)
4. พื้นที่นันทนาการทุกหนแห่ง (Hidden playing ground)
สถานการณ์ในปัจจุบัน .m4a (10.04)

.

5. อนาคตของการเดินทาง (Future of Mobility) pdf icon
1. ยุคมืดของการเดินทางที่มีแต่อันตราย (The dark ages of mobility)
2. เดินทางสะดวกสบายเฉพาะในเขตเมือง (Class-based mobility)
3. สุดยอดเมืองอัจฉริยะ (The pinnacle of smart mobility)
4. อิสระในการเดินทางในโลกเสมือนจริง (Freedom from mobility)
สถานการณ์ในปัจจุบัน .m4a (11.09)

.

6. อนาคตของความยั่งยืน (Future of Sustainability) pdf icon
1. นรกบนดิน คุณภาพชีวิตแย่ (Inferno on the ground)
2. ชีวิตติดอยู่กับเกียร์ต่ำ (Stuck in low gear)
3. ทุกคนอิ่มอกอิ่มใจ (Euphoria for all)
4. มีความสุขร่วมกันบนดาวดวงนี้ (Together with the planet)
สถานการณ์ในปัจจุบัน .m4a (11.40)
3 - อ่านไปด้วย ทำไฮไลท์ และเขียน Annotation ไปด้วย บน Edge Browser
สถานการณ์ในปัจจุบัน
แบ่งเป็น 2 ย่อหน้า
ย่อหน้าแรก
1. ความเป็นอยู่
2. สภาพทางภูมิศาสตร์
3. บ้าน
4. เทคโนโลยีอัจฉริยะ
5. นาฬิกาอัจฉริยะ
6. สุขภาพ
7. แพทย์
8. ออกกำลังกาย

ย่อหน้าที่สอง
1. ที่ดิน
2. กทม
3. รายได้เฉลี่ย
4. เศรษฐกิจ
5. ถือครอง
6. ข้อจำกัด
7. มองอนาคต
8. เตรียมการ
ชุดของคำถาม 5W1H เพื่อรวบรวมข้อมูล - Who? What? Where? When? Why? How?
Who
สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (องค์การมหาชน) ร่วมกับ
ศูนย์วิจัยอนาคตศึกษาฟิวเจอร์เทลส์ แล็บ ภายใต้ บริษัท แมกโนเลีย ควอลิตี้ ดีเวล็อปเม้นต์ คอร์ปอเรชั่น จํากัด (MQDC)
ได้ศึกษาค้นคว้าวิจัย แล้วเขียนบทวิเคราะห์สถานการณ์ปัญหาและปัจจัยที่สำคัญ
เกี่ยวกับการใช้ชีวิตของมนุษย์ในปัจจุบัน
What?
เรื่อง "อนาคตของการใช้ชีวิต (Future of Living)"
ประเด็นที่น่าสนใจที่ได้จากบทวิเคราะห์นี้

1. มนุษย์อยู่ในบ้าน 11.4 ชั่วโมงต่อวัน
2. ผลสำรวจพบ 43% ของผู้คน คิดว่าเทคโนโลยีอัจฉริยะนั้นจำเป็น
3. ปัจจุบันอุปกรณ์สวมใส่อัจฉริยะมีมากถึง 800 ล้านชิ้น มากกว่าครึ่งเป็นนาฬิกาอัจฉริยะ
4. นาฬิกาอัจฉริยะช่วยผู้สวมใส่เข้าถึงข้อมูลด้านสุขภาพของตน
5. ช่วยประหยัดเวลาแพทย์ได้ 15 ชั่วโมงต่อสัปดาห์
6. เพิ่มประสิทธิภาพการออกกำลังกายได้สูงขึ้น 20%
7. อายุเฉลี่ย 72.2 ปี
8. ที่ดินใน กทม. ราคาเพิ่ม 8% ทุกปี
9. สยาม ราชดำริ ชิดลม สูงสุดตารางวาละ 1 ล้าน (ลำปาง 3,000 บาท ถึง 30,000 บาท)
10. รายได้เฉลี่ยประชากร 280,000 บาทต่อปี (23,333 บาทต่อเดือน)
11. เศรษฐกิจประเทศไทยโตเพียง 25% ต่อปี
12. คนในอนาคตไม่สามารถถือครองสินทรัพย์ที่ดินได้
Where?
เนื้อหาเกี่ยวกับประเทศไทย
ลงรายละเอียดมากขึ้นเป็น กทม.
และยกตัวอย่างพื้นที่บริเวณ สยาม ราชดำริ ชิดลม
โดยสถานที่เน้นไปที่ ที่พักอาศัย และที่ดิน
บทสรุปคือสินทรัพย์ที่ดินในอนาคต
When?
ในเนื้อหาไม่ระบุวันที่เขียน หรือปี พ.ศ.
ใน https://ifi.nia.or.th/ พบการเผยแพร่แฟ้มแบบ pdf เมื่อ 28 ม.ค. 2565
ใน https://library.coj.go.th/ ระบุปีที่พิมพ์เป็นปี พ.ศ. 2564
Why?
เอกสารนี้ต้องการให้มองการทำนายอนาคต
ในเรื่อง การใช้ชีวิตในอนาคต
เพื่อจะได้เตรียมการกับอนาคตที่จะมาถึง
โดยเฉพาะ สังคม เศรษฐกิจ เทคโนโลยี และ คุณค่า
How?
มองเห็นปัญหา แล้วตระหนัก ตื่นตัว เตรียมพร้อมที่จะปรับตัว
ผ่านข้อมูลจาก ฉากทัศน์ในอนาคต (Scenario) ที่นำเสนอในบทต่อไป ได้แก่
1. สังคมแห่งความไม่เท่าเทียม (Inequality as a friend)
2. สำหรับอภิสิทธิ์ชน (Only for the privilege)
3. รูปแบบชีวิตขนาดย่อม (Low-cost Lifestyle)
4. สะดวกสบาย (This is comfy)
Living
วิถีชีวิต **ความเป็นอยู่** ของมนุษย์นั้นถูกกําหนดและผูกพันด้วยเรื่องราวในอดีต ทั้งสภาพสังคม วัฒนธรรม ศาสนา และความเชื่อ รวมถึงสภาพแวดล้อมภายนอก เช่น สภาพภูมิอากาศ **สภาพทางภูมิศาสตร์** เป็นต้น ปัจจุบันมนุษย์ใช้เวลาอยู่ใน **บ้าน** เฉลี่ยมากถึง 11.4 ชั่วโมงต่อวัน ดังนั้นบ้านจึงเป็นปัจจัยที่สําคัญในการดํารงชีวิต การเข้ามาของเทคโนโลยีทำให้บ้านมีความทันสมัยมากยิ่งขึ้น โดยมากกว่า 43% ของผู้คน คิดว่าเทคโนโลยีอัจฉริยะนั้นจําเป็นสําหรับที่อยู่อาศัย โดยช่วยให้พวกเขามีความสะดวกสบายในการใช้ชีวิตภายในบ้าน นอกจากบ้านแล้ว ยังมี **อุปกรณ์อัจฉริยะ** อื่นๆ ที่สามารถเชื่อมต่อพวกเขาเข้ากับสิ่งต่างๆ รอบตัว ทําให้การใช้ชีวิต ประจำวันนั้นมีประสิทธิภาพมากขึ้น นอกจากนี้ยังพบว่าในปัจจุบันมีอุปกรณ์สวมใส่อัจฉริยะ บนโลกอยู่มากกว่า 800 ล้านชิ้น มากกว่าครึ่งหนึ่งคือ** นาฬิกาอัจฉริยะ** ที่ช่วยเหลือผู้สวมใส่ให้เข้าถึงข้อมูลด้าน **สุขภาพ** ของตนเอง ทั้งสามารถช่วยประหยัดเวลาของ **แพทย์** ในการวินิจฉัยโรค มากถึง 15 ชั่วโมงต่อสัปดาห์ และเพิ่มประสิทธิภาพของการ **ออกกําลังกาย** ให้สูงขึ้นอีก 20% ผลจากการที่วิถีชีวิตมีความเชื่อมต่อกับโลกเทคโนโลยีเหล่านี้มากขึ้น ทําให้มนุษย์มีอายุที่ ยืนยาวมากขึ้น ซึ่งในปัจจุบันมนุษย์มีอายุขัยเฉลี่ยถึง 72.2 ปี มากกว่า 70 ปีที่แล้วถึง 24 ปี
ย่างไรก็ตามราคาของที่อยู่อาศัยและ **ที่ดิน** ในปัจจุบันมีแนวโน้มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง เนื่องจาก ที่ดินนั้นมีอยู่จํากัดโดยเฉพาะในเมืองหลวง เช่น **กทม.** ซึ่งราคาของที่ดินใน กทม. เพิ่มขึ้น 8% ต่อปีโดยเฉลี่ย โดยย่านสยาม ราชดําริ ชิดลม มีมูลค่าสูงสุดถึง 1 ล้านบาทต่อตารางวา เมื่อเทียบกับรายได้เฉลี่ยของประชากรซึ่งอยู่ที่ประมาณ 280,000 บาทต่อปี และ **เศรษฐกิจ** ของประเทศที่โตเพียง 2.5% ต่อปีเท่านั้น ดังนั้นเมื่อเทียบกับค่าใช้จ่ายสําหรับที่อยู่อาศัยที่เพิ่มขึ้น 8% ต่อปี จึงทําให้ในอนาคตผู้คนจะไม่สามารถ **ถือครอง** สินทรัพย์ที่ดินของตนเองได้ **ข้อจํากัด** เหล่านี้ เป็นปัจจัยที่สําคัญไม่แพ้ความสะดวกสบายที่จะกําหนดอนาคตของการอยู่อาศัยและปรับเปลี่ยนวิถีชีวิตของเราในอนาคต ดังนั้นการ **มองอนาคต** จึงมีความสําคัญในการกําหนดรูปแบบของการใช้ชีวิตอนาคตเพื่อ **เตรียมการ** กับอนาคตที่เป็นไปได้ทุกรูปแบบ
markdowntohtml.com
4 - การฟัง การฟัง หมายถึง การที่มนุษย์ได้ยินเรื่องราวโดยผ่านประสาทสัมผัสทางหู อาจเข้าใจหรือไม่เข้าใจก็ได้ ถ้าเรื่องราวที่ฟังเป็นเรื่องที่สื่อความหมายได้ และมนุษย์สามารถนำไปคิดหรือปฏิบัติได้อย่างถูกต้อง ก็กล่าวได้ว่าเป็นกระบวนการฟังที่สมบูรณ์ - นภดล จันทร์เพ็ญ (๒๕๓๙ : ๓๔)
ลำดับขั้นของการฟัง
1. ขั้นได้ยิน
2. ขั้นแยก
3. ขั้นยอมรับ
4. ขั้นตีความ
5. ขั้นเข้าใจ
6. ขั้นเชื่อ
จุดมุ่งหมายของการฟัง
1. เพื่อความเพลิดเพลิน
2. เพื่อให้เกิดแรงบันดาลใจ
3. เพื่อหาข่าวสารข้อมูล
4. เพื่อความรู้
5. เพื่อประเมินผลและวิจารณ์
ประเภทของการฟัง
1. เพื่อจับใจความ
2. เพื่อประเทืองปัญญา
3. เพื่อประเทืองอารมณ์
การพัฒนาทักษะการฟัง
1. สนใจฟัง
2. ช่างสังเกต
3. เปิดใจกว้าง
4. หมั่นฝึกฝน
5. จดบันทึก
หลักการจดบันทึกจากการฟัง
1. เตรียมตัวก่อนฟังการบรรยาย
2. ฟังและจดบันทึกขณะฟังการบรรยาย
3. ปฏิบัติตนหลังฟังการบรรยาย
ประโยชน์ของการฟัง
1. ประโยชน์ต่อตนเอง เช่น นิสิตฟังบรรยาย
2. ประโยชน์ต่อสังคม เช่น ฟังเรื่องการใช้รถใช้ถนน
มารยาทในการฟัง
1. ให้เกียรติผู้พูด
2. ตั้งใจฟังผู้พูด
3. ตอบสนองตามสมควร เช่น พยักหน้าเห็นด้วย หรือสื่อสารด้วยอวัจนภาษา
4. ไม่รบกวน ส่งเสียง กินข้าว เคี้ยวหมากฝรั่ง สูบบุหรี่ หรือลุกนั่งยืนเดินโดยไม่จำเป็น
5. ถามตอบตามกาละเทศะ และรักษาเวลา
6. แต่งชุดให้เหมาะสม
7. ไปก่อนเวลา และออกเมื่อถึงเวลา
8. ควรเตรียมความพร้อมด้วยการหาความรู้ก่อนเข้าฟัง
ch3 - การพัฒนาทักษะการฟัง
นิสิตชอบฟังอะไร .. ช่วยเล่าให้ฟังหน่อย หรือเขียน mindmap เรื่อง "การฟังของฉัน" คิดถึง 5W1H
4 - อ่านผิด ตั้งใจฟัง เขียนไม่ชัดเจน นังโฆษณา Double A : Speech ออกอากาศครั้งแรกในปีค.ศ. 2000 (พ.ศ.2543) ถือเป็นโฆษณากระดาษถ่ายเอกสารเรื่องแรกในแวดวงโฆษณาไทย และกระดาษดั๊บเบิ้ล เอ ยังเป็นกระดาษแบรนด์แรกที่มีภาพยนตร์โฆษณาออกฉายทางโทรทัศน์อย่างจริงจัง "เขาทั้งคู่ก็ได้ขี่กันมานานแล้ว" เป็นหนึ่งในวลีเด็ดที่สร้างรอยยิ้ม
5 - "9 วิธีเพิ่มทักษะการฟัง สำหรับคนทำงาน เพื่อพัฒนาศักยภาพตนเอง" 1. เรียนรู้ที่จะฟังอย่างมีเหตุผล
2. คิดตามสิ่งที่ได้ฟัง
3. ทวนเนื้อหาเป็นช่วง ๆ
4. ฝึกสมาธิของคุณเป็นประจำ
5. ฟังเสียงธรรมชาติและแยกเสียง
6. เข้ารับการอบรมเรื่องการฟัง
7. บันทึกระหว่างฟัง
8. บันทึกผลของการฟัง
9. มีความเชื่อมั่นว่าทักษะด้านการฟังพัฒนาได้
learninghubthailand.com
5 - ผู้ฟังที่ดีควรมีลักษณะอย่างไร 1. ผู้ฟังที่ดีต้องเปิดใจ
2. ผู้ฟังที่ดีต้องมี Interaction กับผู้พูด
3. ผู้ฟังที่ดีต้องระงับสิ่งที่รบกวนการฟัง
4. ผู้ฟังที่ดีต้องแนะนำผู้พูด
5. ต้องผลักดันให้ผู้พูดสามารถพูดได้ดี
creativetalklive.com
6 - ข้อบกพร่องในการฟัง 1. ไม่มีความตั้งใจในการฟัง
2. เรื่องที่ฟังยากเกินไป หรือง่ายเกินไป
3. ไม่สามารถจับประเด็นได้
4. ไม่ยอมรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น
5. มีอคติต่อผู้พูด
6 - วิธีปลูกฝังทักษะการฟัง 1. ทำตัวให้มีความพร้อมที่จะรับฟัง
2. ฟังอย่างสุภาพและตั้งใจจริง
3. ต้องรู้จักสังเกตอวัจนภาษาของผู้พูด
4. ต้องหมั่นฝึกฝน
5. พยายามหาประโยชน์จากการฟัง
6. พยายามจดบันทึกทุกครั้ง
7. ฝึกฟังให้บ่อย เพื่อจับใจความสำคัญ
8. ฝึกสงบอารมณ์และเปิดใจให้กว้าง
9. ฝึกแยกข้อเท็จจริงกับความคิดเห็น
10. ฝึกรักษามารยาทให้สงบเรียบร้อย
การเสริมสร้างทักษะภาษาไทยเพื่อการสื่อสารฯ เบญจวรรณ ศริกุล
เทคนิค 14 ประการในการเตรียมพูด หน้า 26 1. รู้ในสิ่งที่พูด
2. การเตรียมการพูด
3. การฝึกซ้อม
4. สถานที่
5. โสตทัศนูปกรณ์
6. เวลา
7. เพศและวัย
8. การเลือกเรื่อง
9. ขอบเขตของเรื่องและการรวบรวมเนื้อหา
10. การวางโครงเรื่อง
11. คำถาม
12. ไมโครโฟนและบนเวที
13. ใจและความตั้งใจ
14. พักผ่อนให้เพียงพอ
yumpu.com
slideshare.net
เอกสารแนะนำ ตำราและเอกสารหลัก
สายใจ ทองเนียม. 2560. ภาษาไทยเพื่อการสื่อสาร. สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. กรุงเทพฯ.
เอกสารและข้อมูลสำคัญ
นวภรณ์ อุ่นเรือน. 2560. ภาษาไทยเพื่อการสื่อสารในอาชีพ. สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. กรุงเทพฯ.
เอกสารและข้อมูลแนะนำ
ภาษิตา วิสารสุข. 2559. ภาษาไทย คนไทยต้อง พูด-อ่าน-เขียน เป็น. สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. กรุงเทพฯ.
- โครงการส่งเสริมและพัฒนาการศึกษาทางไกล โดยผ่านระบบอินเตอร์เน็ต วิชา ภาษาไทยเพื่อสื่อสารในงานอาชีพ (ปวส.) part 1 - 59:53 (http://www.youtube.com/watch?v=5N1vmX6z_4Y)
- สรุปวิชาภาษาไทยเพื่อการสื่อสาร 6:40 (http://www.youtube.com/watch?v=knTkFKLh0zY)
- encode - decode แบบจำลองการสื่อสารของชแรมม์ - 1 หน้า
- รูปแบบจำลอง S M C R Model - Source / Message / Channel / Receiver
- FIN | แม่ปริกไม่ได้เอาไปหรอกเจ้าค่ะ | บุพเพสันนิวาส | Ch3Thailand
หนังสือ ภาษาไทยเพื่อสื่อสารในงานอาชีพ หนังสือ "ภาษาไทยเพื่อสื่อสารในงานอาชีพ (รหัสวิชา 3000-1101)"
นวภรณ์ อุ่นเรือน
เรียบเรียงขึ้นตรงตามจุดประสงค์รายวิชา สมรรถนะรายวิชา และคำอธิบายรายวิชา หลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพขั้นสูง (ปวส.) พุทธศักราช 2557 ของสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ โดยในเล่มอธิบายเนื้อหาอย่างละเอียด เป็นลำดับขั้น เข้าใจง่าย พร้อมมีสรุปท้ายบท แบบทดสอบ และกิจกรรมหลากหลายรูปแบบ เพื่อทบทวนความรู้ความเข้าใจ เหมาะสำหรับใช้ประกอบการเรียนการสอนได้เป็นอย่างดี
สารบัญ
บทที่ 1 การใช้ภาษาเพื่อการสื่อสาร
บทที่ 2 การวิเคราะห์และประเมินค่าสารจากการฟังและการดู
บทที่ 3 การวิเคราะห์และประเมินค่าสารจากการอ่าน
บทที่ 4 การนำเสนอข้อมูล
บทที่ 5 หลักการพูดเบื้องต้น
บทที่ 6 การพูดในงานอาชีพและในโอกาสต่างๆ
บทที่ 7 การเขียนโครงการ
บทที่ 8 การเขียนบันทึกและรายงานการปฏิบัติงาน
บทที่ 9 การเขียนจดหมายกิจธุระและจดหมายธุรกิจ
บทที่ 10 การโฆษณาและการประชาสัมพันธ์
บทที่ 11 การเขียนรายงานวิชาการ
บทที่ 12 การเขียนรายงานการวิจัย
เอกสารประกอบการเรียน ภาษาเพื่อการสื่อสารสำหรับครู ภาษาเพื่อการสื่อสารสำหรับครู
นายสุริยา อินทจันท ภาควิชาการศึกษาทั่วไป วิทยาลัยนาฎศิลปอ่างทอง สถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์
บทที่ 1 ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับวาทการสำหรับครู
บทที่ 2 ภาษาเพื่อการสื่อสารสำหรับครู
บทที่ 3 เทคนิคการฟัง พูด อ่าน และเขียนภาษาไทย
บทที่ 4 ศิลปะด้วยถ้อยคำ สำนวน น้ำเสียง สีหน้าท่าทางเพื่อการสื่อสาร
บทที่ 5 การถ่ายทอดและการควบคุมชั้นเรียน
เอกสารประกอบการเรียน ภาษาไทยเพื่อการสื่อสาร GE 1001 - 2556 เอกสารประกอบการสอนรายวิชา ภาษาไทยเพื่อการสื่อสาร GE 1001
- 278 หน้า
โปรแกรมภาษาและวัฒนธรรมไทย
มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี
ศศิพงษ์ ศรีสวัสดิ์ - ศษ.ม. หลักสูตรและการสอนวิชาเฉพาะวิชาภาษาไทย
บทที่ 1 ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับการสื่อสาร
บทที่ 2 การใช้ภาษาเพื่อการสื่อสาร
บทที่ 3 การฟังเพื่อการสื่อสาร
บทที่ 4 การพูดเพื่อการสื่อสาร
บทที่ 5 การอ่านเพื่อการสื่อสาร
บทที่ 6 การเขียนเพื่อการสื่อสาร
เอกสารประกอบการเรียน ภาษาไทยเพื่อการสื่อสาร GEN 1021 - 2553 เอกสารประกอบการสอนรายวิชา ภาษาไทยเพื่อการสื่อสาร GEN 1021 - 242 หน้า
โปรแกรมภาษาและวัฒนธรรมไทย มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย
มีคณะกรรมการผู้จัดทำ 14 คน
บทที่ 1 ภาษากับการสื่อสาร
บทที่ 2 ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับการสื่อสารด้วยภาษาไทย
บทที่ 3 การฟังเพื่อการสื่อสาร
บทที่ 4 การพูดเพื่อการสื่อสาร
บทที่ 5 การอ่านเพื่อการสื่อสาร
บทที่ 6 การเขียนเพื่อการสื่อสาร
#C1 คลิป เล่าประสบการณ์การใช้เครื่องมือสื่อสาร #C1 คลิป เล่าประสบการณ์การใช้เครื่องมือสื่อสาร
กับที่บ้าน / เพื่อน / เพื่อนใหม่ / พ่อค้า / ลูกค้า
เปรียบเทียบอดีตกับปัจจุบัน มีความยาวไม่น้อยกว่า 3 นาที
- เนื้อหาเลือกนำเสนอ เครื่องมือสื่อสาร ได้ทั้ง hardware และ software
- ยกกรณีศึกษาที่เคยสื่อสาร
- เปรียบเทียบให้เห็นความแตกต่าง ของอดีต และ ปัจจุบัน หรืออนาคต
- ระหว่างนำเสนอ หยิบอุปกรณ์ หรือ ฉายภาพประกอบการเล่าเรื่องจะดีมาก
- ตั้งกล้องแนวนอน และเมื่อตัดต่อแล้ว ต้องมี title กับ credit
- ส่งใต้โพสต์ที่กำหนด
งานมอบหมาย : คลิปเรื่องการอ่านเพื่อการสื่อสาร 3 นาที เกริ่นนำ
ในอดีตเราสื่อสารกันอย่างไรย่อมอยู่ในความทรงจำ ปัจจุบันเราสื่อสารกันอย่างไรเป็นสิ่งที่กำลังเกิดขึ้น ที่แต่ละคนเลือกเครื่องมือที่แตกต่างกันไป ตามบริบทของการสื่อสารนั้น เช่น สื่อสารกับคนในครอบครัว เพื่อนเก่า คนที่รัก เพื่อนร่วมงาน เพื่อนเรียน หรือการซื้อขาย ซึ่งการสื่อสารก็มีทั้งแบบทางเดียว แบบสองทาง และแบบสลับกัน ท่านเคยสื่อสารแบบใดกับใคร โปรดเล่าสู่กันฟัง
วัตถุประสงค์
- เพื่อฝึกเขียนเรื่องราวจากประสบการณ์
- เพื่อฝึกอ่านเอกสารตามที่เขียน
- เพื่อฝึกจัดการคลิปวิดีโอ
กิจกรรม
- ให้นิสิตเขียนเรื่องราวลงบนเอกสาร (ประมาณ 450 - 600 คำ)
- เกี่ยวกับประสบการณ์การใช้เครื่องมือสื่อสารในอดีตและปัจจุบัน
- เป็นความสัมพันธ์ระหว่างคนในครอบครัว เพื่อน พ่อค้าแม่ค้า หรือคนที่รัก
- เริ่มต้นแนะนำตัว จบด้วยเครดิต เช่น ชื่อ และสถานที่อ่าน หรือการอ้างอิง
- เริ่มต้นคลิปให้ชูกระดาษที่เขียนมาให้เห็นโดยเด่นชัด
- เห็นผู้อ่านตลอดเวลาระหว่างการอ่าน
- คลิปมีความยาว 3.0 นาที ไม่มาก ไม่น้อยกว่านี้
- อัพเข้า youtube แล้วแชร์ลิงค์ใต้โพสต์ที่กำหนดโดยตัวแทนกลุ่ม
ตัวอย่าง : เจ้าชายน้อย : https://youtu.be/ls9j3Rsl4RA - ท็อปที่สุดของ “Korn a lot”
บริการนับคำ ภาษาไทย https://gotranscript.com/word-count/thai
ประมาณ 600 คำ ถ้าอ่านเร็ว 200 wpm
ประมาณ 450 คำ ถ้าอ่านเร็ว 150 wpm
Double A - https://youtu.be/yGJ7PFoy724
ประเด็นที่น่าสนใจ
สุ จิ ปุ ลิ
คิด วิเคราะห์ สังเคราะห์
ทักษะ
วิจารณญาณ
วิชาการ วิชาชีพ วิชาชีวิต
คิดเชิงตรรกะ
จับใจความ เก็บใจความ
เขียนเชิงวิชาการ
เขียนเชิงธุรกิจ
พูดในโอกาสต่าง ๆ
นำเสนอ
โลกาภิวัตน์
เลือกสรร
ระดมสมอง
ประมวลผล
วารสารวิชาการ
การเตรียมฟัง
การเตรียมพูด
พูดเชิงสถานการณ์
สุภาษิต คำพังเพย คำคม ข้อคิด
การแสดงเหตุผล
การโน้มน้าวใจ
ไทย อังกฤษ จีน
ซี้แล้ว ซี้กัน ทู่ซี้อยู่กันไป
Mindmap
5W1H
Infographic
rspsocial
Thaiall.com