thaiall logomy background
สื่อและเทคโนโลยีสารสนเทศ (3 เครดิต)
my town
Computer | Handbill | สมรรถนะดิจิทัล | MIS | Ethics | Breaking News | หนังสือ | งานมอบหมาย | คำศัพท์ | เช็คชื่อ | บริการออนไลน์ pdf.. | Loy academy | เอกสารประกอบ | wordwall | genially |
เนื้อหา 15 หน่วยการเรียนรู้
วิชา สื่อและเทคโนโลยีสารสนเทศ
มีคำอธิบาย ดังนี้
"ศึกษาความหมายและหลักการของเทคโนโลยีการสื่อสาร ความรู้เบื้องต้นทางเทคโนโลยีสารสนเทศ การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีเพื่อการติดต่อสื่อสาร การศึกษาและนำไปใช้เชิงพาณิชย์ ประเภทของระบบสารสนเทศ การสืบค้นข้อมูล ระบบฐานข้อมูลเบื้องต้น ระบบสำนักงานอัตโนมัติ ความปลอดภัยและจริยธรรมในการใช้งานเทคโนโลยีสารสนเทศ"

ดิไอคอน หน่วยที่ 1 สารสนเทศและทรัพยากรสารสนเทศ
ข้อมูลและสารสนเทศ
ประเภทของทรัพยากรสารสนเทศ
ประเภทของเครื่องคอมพิวเตอร์
คุณสมบัติของคอมพิวเตอร์
ลักษณะของสารสนเทศที่ดี
การประยุกต์ใช้งานคอมพิวเตอร์
ดิไอคอน หน่วยที่ 2 การรู้เท่าทันสื่อและสารสนเทศ
การแบ่งประเภทของสื่อ
ประเภทของสื่อมวลชน
สื่อมัลติมีเดีย
สื่อสังคม
สมรรถนะดิจิทัล
ดิไอคอน หน่วยที่ 3 เทคโนโลยีสารสนเทศ
องค์ประกอบของเทคโนโลยีสารสนเทศ
การใช้งานเทคโนโลยีสารสนเทศ
การประมวลผล
ประโยชน์ของเทคโนโลยีสารสนเทศทางธุรกิจ
อาชีพเกี่ยวกับเทคโนโลยีสารสนเทศ
ขอบเขตของปัญญาประดิษฐ์
ดิไอคอน หน่วยที่ 4 เทคโนโลยีการสื่อสาร
องค์ประกอบของระบบการสื่อสาร
หลักสำคัญของการติดต่อสื่อสาร
การใช้เทคโนโลยีเพื่อการสื่อสาร
ดิไอคอน หน่วยที่ 5 เทคโนโลยีเพื่อการศึกษา
การใช้เทคโนโลยีเพื่อการศึกษา
ภาษาคอมพิวเตอร์
ภาษาโปรแกรม
ดิไอคอน หน่วยที่ 6 ระบบเครือข่าย
ความหมายของเครือข่าย
โครงสร้างของเครือข่าย
ประเภทของเครือข่าย
ทิศทางการส่งข้อมูล
ประเภทของคอมพิวเตอร์ในเครือข่าย
ระเบียบวิธีการ
ดิไอคอน หน่วยที่ 7 การใช้งานอินเทอร์เน็ต
ความเป็นมาของอินเทอร์เน็ต
ประโยชน์ของอินเทอร์เน็ต
บริการของอินเทอร์เน็ต
ดิไอคอน หน่วยที่ 8 อีคอมเมิร์ซ และอีเลินนิ่ง
อีคอมเมิร์ซ
การประยุกต์ใช้อีคอมเมิร์ซ
อีเลินนิ่ง
การประยุกต์ใช้อีเลินนิ่ง
ดิไอคอน หน่วยที่ 9 การสืบค้นข้อมูล
แหล่งข้อมูล
ผู้ให้บริการข้อมูล
การใช้เครื่องมือสืบค้นข้อมูล
ข้อมูลในสื่อสังคม
ดิไอคอน หน่วยที่ 10 ระบบสารสนเทศ
ความหมายของระบบ
องค์ประกอบของระบบสารสนเทศ
ระดับของผู้ใช้สารสนเทศ
ประเภทของระบบสารสนเทศ
ระบบสารสนเทศกับงานธุรกิจ
ดิไอคอน หน่วยที่ 11 ระบบฐานข้อมูล
ความหมายของระบบฐานข้อมูล
ประโยชน์ของฐานข้อมูล
ลำดับชั้นของข้อมูล
โครงสร้างของแฟ้มข้อมูล
ดิไอคอน หน่วยที่ 12 การจัดการข้อมูล และการพัฒนาระบบ
การจัดการข้อมูล
คำสั่งที่ใช้ในการจัดการข้อมูล
วงจรชีวิตการพัฒนาระบบ
ดิไอคอน หน่วยที่ 13 ระบบสำนักงานอัตโนมัติ
ระบบสารสนเทศสำนักงาน
งานเกี่ยวกับเอกสารในสำนักงาน
การแบ่งกลุ่มซอฟต์แวร์
ไมโครซอฟต์เวิร์ด
ไมโครซอฟต์พาวเวอร์พอยท์
ไมโครซอฟต์แอคเซล
ดิไอคอน หน่วยที่ 14 คุณธรรมจริยธรรม
ความหมายของคุณธรรมจริยธรรม
จริยธรรมทางเทคโนโลยี
การป้องกันและรักษาความปลอดภัย
ดิไอคอน หน่วยที่ 15 กฎหมาย และภัยคุกคาม
กฎหมายลิขสิทธิ์
กฎหมายทางเทคโนโลยีสารสนเทศ
ภัยคุกคามทางอินเทอร์เน็ต

เว็บเพจเดิม พ.ศ.2551 เรื่อง เทคนิค

ดิไอคอน Handbook 2563
ดิไอคอน TEC1001_01.pptx
ดิไอคอน GDrive : 01 - 15.pptx
ดิไอคอน คู่มือนิสิต 2564
ดิไอคอน ปฏิทินการศึกษา 2565
ดิไอคอน ตารางเรียน 1/65
ดิไอคอน ตารางช่วยคำนวณ CGPA
ดิไอคอน Presentation Techniques
ดิไอคอน คู่มือ Cyber Security สำหรับประชาชน
ดิไอคอนประกาศ แนวปฏิบัติส่งเสริมสมรรถนะดิจิทัล
ดิไอคอน นโยบายและแผนระดับชาติว่าด้วยการพัฒนาดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม มีอภิธานศัพท์ หน้า 49-74
ดิไอคอน 204100 เทคโนโลยีสารสนเทศและชีวิตสมัยใหม่
ศัพท์เทคนิคที่น่าสนใจ + ติว 10 สอบย่อย

โปรแกรมสำนักงาน
XStudi
Clip Training
Sony Vegas 13 : Slide
Proshow : VDO (green)
Kinemaster
Viva Video
Canva app
สไลด์นำเสนอ (pps) จากสำนักพิมพ์

วิโรจน์ ชัยมูล, และสุพรรษา ยวงทอง. (2557). ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีสารสนเทศ (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: โปรวิชั่น. [13]


01 ความรู้เบื้องต้น
#

02 องค์ประกอบ

03 ซอฟต์แวร์

04 ฮาร์ดแวร์

05 ระบบปฏิบัติการ

06 การจัดการข้อมูล

07 วิเคราะห์

08 การเขียนผังงาน

09 ระบบเครือข่าย

10 อินเทอร์เน็ต

11 สารสนเทศ

12 พาณิชย์อิเล็กฯ

13 จริยธรรม
3 ภาพในมุมมองต่างกัน เรื่อง วิธีการ (how to) ารพัฒนาบุคคล หรือชุมชน ทั้งกลุ่มเยาวชน คนทำงาน หรือผู้สูงอายุ ล้วนให้ความสำคัญกับ เป้าหมาย และวิธีการ ซึ่งภาพชวนคิด 3 ภาพนี้ แสดงเรื่องราวแตกต่างกัน แต่ร้อยเรียงเป็นเรื่องเดียวกันได้ คือ วิธีการ (how to) **ภาพ อ.ปุ้ม** กำลังบรรยายให้กลุ่มเยาวชนรุ่นใหม่ ได้มีความรู้ความสามารถด้วยกลไกด้านการศึกษา **ภาพ พระพุทธเจ้า** คุยกับพระมหากัสสปะอยู่ริมแม่น้ำ เรื่องวิธีข้ามไปอีกฟากของแม่น้ำ เป็นการอุปมาอุปมัย อุปมา คือ สิ่งที่ยกมาเปรียบเทียบ เช่น วิธีการข้ามฟาก อุปไมย คือ สิ่งที่ถูกเปรียบเทียบ เช่น ถวายเครื่องเซ่น เช่น "จมูกไว้เหมือนมด" **ภาพ การใช้บันได** เป็นเครื่องมือที่แม้จะมีจำนวนมาก แต่ไม่สำคัญเท่าการใช้เป็น แม้จำนวนไม่สำคัญ แต่ต้องมากพอที่จะเลือกใช้ได้
#1 สารสนเทศและทรัพยากรสารสนเทศ
ข้อมูลและสารสนเทศ
เพื่อให้เข้าใจข้อมูลและสารสนเทศ
    Data คือ ข้อเท็จจริง ที่เก็บรวบรวมมา แต่ยังไม่ได้ประมวลผล เพื่อให้ได้สารสนเทศตามเป้าหมาย
    Information คือ การนำข้อมูลมาประมวลผล เพื่อให้ได้สารสนเทศตามเป้าหมาย
    + ข้อมูล (Data) เป็นข้อมูลปฐมภูมิ
    + สารสนเทศ (Information) เป็นการนำข้อมูลมาผ่านการประมวลผล
    + ความรู้ (Knowledge) เป็นการนำสารสนเทศมาผ่านกระบวนการจัดการ
    + ปัญญา (Wisdom) เป็นการใช้ความรู้จนชำนาญ และจดจำ เรียกใช้ได้ตลอดเวลา
ข้อมูลดิบ (Raw Data)

การใช้ชีวิตนั้น มีต้นแบบให้มองมากมาย เช่น Steve jobs, Jack ma, Mark Zuckerberg แต่คนที่ถูกพูดถึงกันมากในยุคนี้คือ Elon musk ทำ SpaceX

ในชีวิตจริง พบคนต้นแบบผ่านทีวีเรื่องคนไทย เช่น กับตัน มาขับ BMW ส่ง grab bike รอบตัวเราก็มีเพื่อนที่เรียนด้วยกัน เพื่อนที่ทำงาน เค้าทำอาชีพเสริม มีอาชีพเสริมหลายแบบ เป็นข้อมูลดิบ รอเรามาทำให้สุกแล้วพร้อมเสิร์ฟ มาประมวลผลเป็นสารสนเทศต่อไป

การดำเนินชีวิตของเพื่อนเฟซ เพื่อนไลน์ เพื่อนไอจี จะกิน จะเที่ยว ล้วนเป็นข้อมูลดิบ ยังหยิบจับมาใช้ไม่ได้ทันที แต่มีให้ได้อ่าน ได้ฟัง ได้เห็น เห็นจริง เห็นเท็จ เห็นปลอม เห็นดีงาม ได้นำมาคิด เลือกเป็นข้อมูล เพื่อประมวลผล แล้วใช้ประยชน์ต่อไป

thaiall.com/vbnet/datatype.htm
thaiall.com/tc/datatype.htm
thaiall.com/mysql/indexo.html
ประเภทของทรัพยากรสารสนเทศ
เพื่อให้เข้าใจประเภทของทรัพยากรสารสนเทศ /mis/customer_journey.jpg
เจอนี่ที่ลำปาง (ผลประกวดภาพ พบว่า รองชนะเลิศอันดับ 1 คือ คุณณัฐศักดิ์ พรมรักษา คุณปฏิพล อิ่นแก้ว,คุณยศสรัล กันทะ คุณรัฐพงษ์ประพฤติ)
เจอนี่ที่ลำปาง #A0001
    สื่อ (Media) คือ การติดต่อถึงกัน
    เทคโนโลยี (Technology) คือ การนำเอาความรู้ทางด้านวิทยาศาสตร์มาพัฒนาเป็นองค์ความรู้ใหม่ เพื่อนำมาประยุกต์ใช้ให้เกิดประโยชน์ ซึ่งเทคโนโลยีที่นำมาใช้จัดการสารสนเทศต่าง ๆ เหล่านี้ อาจเกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีด้านคอมพิวเตอร์ เทคโนโลยีทางการสื่อสารและโทรคมนาคม เป็นต้น
    1. สื่อสิ่งพิมพ์ (Printed Materials)
      - หนังสือ (Books) : หนังสือสารคดี (Non-Fiction) และ หนังสือบันเทิงคดี (Fiction)
      - สิ่งพิมพ์ต่อเนื่อง (Serials) : สิ่งพิมพ์ที่ออกต่อเนื่องตามรอบ เช่น วารสาร (Journal) นิตยสาร (Magazine) หนังสือพิมพ์ (Newspaper)
      - จุลสาร (Pamphlet) : สิ่งพิมพ์ขนาดเล็ก มีความหนาไม่มาก มักไม่ถึง 50 หน้า
      - กฤตภาค (Clipping) : บทความ ข่าว หรือภาพ ที่ตัดมาจากหนังสือพิมพ์ หรือเอกสารอื่นที่คัดทิ้ง แล้วผนึกลงบนกระดาษ
    2. สื่อโสตทัศน์ (Audio-Visual Materials)
      - วัสดุกราฟิก (Graphic materials)
      - ภาพนิ่ง (Still Pictures)
      - วัสดุย่อส่วน (Microforms) หรือ ไมโครฟิช (Microfiche)
      - ภาพยนตร์ (Motion Pictures)
      - วีดีทัศน์ (Video Tape)
      - วัสดุบันทึกเสียง (Tape Cassette)
      - โมเดลหรือหุ่นจำลอง(Model)
    3. สื่อดิจิตอล (Digital Materials)
      - ซีดี (CD = Compact Disc) : Video & Sound
      - สื่อผสม (Multimedia) : e-Book
      - ฐานข้อมูล (Database) : Search
      - สื่อหลายมิติ (Hypermedia) : WWW
การประยุกต์ใช้งานคอมพิวเตอร์
เพื่อให้เข้าใจการประยุกต์ใช้งานคอมพิวเตอร์
    1. คอมพิวเตอร์กับงานด้านสถานีอวกาศ (Space station)
    2. คอมพิวเตอร์กับงานด้านวิทยาศาสตร์การแพทย์ (Science)
    3. คอมพิวเตอร์กับงานด้านธุรกิจทั่วไป (Business)
    4. คอมพิวเตอร์กับงานด้านการศึกษาและการวิจัย (Education and Research)
    5. คอมพิวเตอร์กับงานด้านการออกแบบทางวิศวกรรม (Design)
    6. คอมพิวเตอร์กับงานด้านอุตสาหกรรมและหุ่นยนต์ (Industry and Robot)
    7. คอมพิวเตอร์กับงานด้านเก็บประวัติอาชญากร (Profile)
    8. คอมพิวเตอร์กับงานด้านบันเทิง (Entertainment)
ประเภทของเครื่องคอมพิวเตอร์
เพื่อให้เข้าใจประเภทของเครื่องคอมพิวเตอร์
+ EDA.International.Ltd
    [13]p.31
    เกณฑ์จำแนก : ตามลักษณะการใช้งาน
    1. แบบใช้งานทั่วไป (General purpose computer)
    2. แบบใช้งานเฉพาะ (Special purpose computer)
    เกณฑ์จำแนก : ตามขนาดและความสามารถ
    1. ซุปเปอร์คอมพิวเตอร์ (Supercomputer) เช่น TITAN Cray XK-7, Tianhe-2/Milky Way2
    2. เมนเฟรมคอมพิวเตอร์ (Mainframe) เช่น IBM 701 เป็นเครื่องแรก
    3. มินิคอมพิวเตอร์ (Minicomputer) เช่น IBM AS400
    4. ไมโครคอมพิวเตอร์ (Microcomputer) หรือ คอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล (Personal Computer)
    5. คอมพิวเตอร์มือถือ (Handheld computer) เช่น Tablet PC, SmartPhone
    คอมพิวเตอร์ยุคใหม่ (Microcomputer + Handheld computer)
    1. เดสก์ท็อป (Desktop)
    2. โน๊ตบุ๊ค (Notebook)
    3. อัลตร้าบุ๊ค (Ultrabook) เบาและมีประสิทธิภาพกว่าโน๊ตบุ๊ค
    4. เน็ตบุ๊ค (Netbook) เน้นใช้อินเทอร์เน็ตเป็นหลัก ปัจจุบันเสื่อมความนิยมลง
    5. แท็บเล็ต (Tablet)
    6. สมาร์ทโฟน (Smartphone)
    คอมพิวเตอร์ในรูปลักษณ์อื่น (Embeded and Wearable Computer)
    1. Google Glass
    2. Smart watch
    3. Smart TV
    4. Computer in Car
    5. Computer in Home (CCTV, Robot)
คุณสมบัติของคอมพิวเตอร์
เพื่อให้เข้าใจคุณสมบัติของคอมพิวเตอร์
    1. ความเร็ว (Speed)
    2. ความน่าเชื่อถือ (Reliability)
    3. ความเที่ยงตรง และแม่นยำ (Accuracy)
    4. จัดเก็บข้อมูลได้ปริมาณมาก (Storage)
    5. สามารถสื่อสาร และเป็นเครือข่าย (Communication and Networking)
    คอมพิวเตอร์นำไปใช้ประโยชน์ในสายงานต่าง ๆ [13]p.39
    1. คอมพิวเตอร์กับการใช้งานภาครัฐ
    2. คอมพิวเตอร์กับการใช้งานทางด้านธุรกิจทั่วไป
    3. คอมพิวเตอร์กับงานสายการบิน
    4. คอมพิวเตอร์กับงานทางด้านการศึกษา
    5. คอมพิวเตอร์กับธุรกิจการนำเข้าและส่งออกสินค้า
    6. คอมพิวเตอร์กับธุรกิจธนาคาร
    7. คอมพิวเตอร์กับงานทางด้านวิทยาศาสตร์และการแพทย์
    8. คอมพิวเตอร์กับภูมิสารสนเทศ
ลักษณะเด่นของคอมพิวเตอร์
เพื่อให้เข้าใจลักษณะเด่นของคอมพิวเตอร์
    [13]p.18
    1. ความเป็นอัตโนมัติ (Self Acting)
    2. ความเร็ว (Speed)
    3. ความถูกต้อง แม่นยำ (Accuracy)
    4. ความน่าเชื่อถือ (Reliability)
    5. การจัดเก็บข้อมูล (Storage Capability)
    6. ทำงานซ้ำ ๆ ได้ (Repeatability)
    7. การติดต่อสื่อสาร (Communication)
ลักษณะของสารสนเทศที่ดี
เพื่อให้เข้าใจลักษณะของสารสนเทศที่ดี

ภาพจาก : eduzones
    1. ถูกต้อง (Accuracy)
    2. ตรวจสอบได้ (Verifiable)
    3. ความสมบูรณ์ (Completeness)
    4. ความกระทัดรัด (Conciseness)
    5. สอดคล้องกับงาน (Relevance)
    6. ทันเวลา (Timeliness)
    7. เชื่อถือได้ (Reliable)
    8. ยืดหยุ่น (Flexible)
    9. นำไปใช้ได้ง่าย (Simple)
#2 การรู้เท่าทันสื่อและสารสนเทศ
สมรรถนะดิจิทัล
เพื่อให้เข้าใจสมรรถนะดิจิทัล









ข้อมูลปี 2007 พบว่า ทักษะต่าง ๆ ด้อย ภาษาก็แย่ ไอทีก็หลงตัวเอง บวกลบก็ไม่เก่ง แล้วจะเอาอะไรไปสู้เขา
สมรรถนะดิจิทัล (Digital Competencies)
1. การสืบค้นและการใช้งาน (รายละเอียด)
    [ระดับที่จำเป็น]
    1.1 สามารถใช้เครื่องมือต่าง ๆ เพื่อสืบค้นข้อมูลที่เกี่ยวข้อง รู้วิธีใช้ตัวกรองเพื่อจำกัดผลลัพธ์ (เช่น การค้นหารูปภาพ วิดีโอ หรือสื่อรูปแบบอื่น ๆ)
    1.2 รู้วิธีการตรวจสอบความน่าเชื่อถือของแหล่งข้อมูลต่าง ๆ
    1.3 รู้วิธีการจัดระบบ และแบ่งปันทรัพยากร (เช่น เครื่องมือ bookmarking) และตระหนักถึงประเด็นต่าง ๆ เรื่องลิขสิทธิ์และประเด็นการคัดลอกผลงาน
    [ระดับสูง]
    1.4 สามารถใช้เครื่องมือสืบค้นขั้นสูงสำหรับระบบห้องสมุดและแหล่งเก็บข้อมูลออนไลน์ได้อย่างชำนาญ และติดตามข้อมูลหรือทรัพยากรเฉพาะด้านได้ เข้าใจข้อจำกัดด้านลิขสิทธิ์ ตระหนักถึงสิทธิรูปแบบอื่น ๆ เช่น ครีเอทีฟคอมมอนส์ (Creative Commons) และสามารถ (หรือรู้วิธี) เผยแพร่ และแบ่งปันสิ่งต่าง ๆ ทางออนไลน์ได้อย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล
2. การสร้างสรรค์และนวัตกรรม
    [ระดับที่จำเป็น]
    2.1 สามารถผลิต (และได้ผลิต) สื่อดิจิทัล เช่น กราฟิก คลิปวีดีโอหรือคลิปเสียง และการบันทึกภาพหน้าจอ เป็นต้น
    2.2 สามารถเรียนรู้หลักการพื้นฐานได้ตามคำแนะนำและสามารถทดลองทำได้
    [ระดับสูง]
    2.3 สามารถผลิต (และได้ผลิต) ทรัพยากรดิจิทัลและมัลติมีเดีย เพื่อวัตถุประสงค์ที่หลากหลาย รวมถึงการนำเสนอในรูปแบบอินโฟกราฟิก เสียง และวิดีโอ ฯลฯ รวมทั้งรู้แหล่งที่มาและปรับแต่ง อาทิ แหล่งทรัพยากรการศึกษาแบบเปิด (Open Education Resource (OER))
    2.4 มีประสบการณ์การใช้เครื่องมือสร้างสรรค์ และแก้ไขสื่อแบบปฏิสัมพันธ์โต้ตอบ
3. เอกลักษณ์และคุณภาพชีวิต
    [ระดับที่จำเป็น]
    3.1 ตระหนักถึงประเด็นความปลอดภัยออนไลน์ รวมถึงการปกป้องข้อมูลและภาพลักษณ์ส่วนตน
    3.2 ใช้คุณลักษณะด้านความปลอดภัย เช่น ซอฟต์แวร์ต้านไวรัส และการตั้งค่าความมั่นคงปลอดภัยบนอุปกรณ์ รวมทั้งข้อมูลส่วนตัวบนสื่อสังคมออนไลน์
    3.3 รู้จักสิ่งจำเป็นพื้นฐานสำหรับการป้องกันข้อมูล
    3.4 ระมัดระวังและไตร่ตรองในการแบ่งปันข้อมูลกับผู้อื่น และในการมีปฏิสัมพันธ์กับคนอื่น ๆ ทางออนไลน์
4. การสอนหรือการเรียนรู้
    [ระดับที่จำเป็น]
    4.1 สามารถใช้เทคโนโลยีที่หลากหลายอย่างสะดวกสบายในการเรียนรู้
    4.2 สามารถติดตั้งและใช้ซอฟต์แวร์ รวมถึงแอปพลิเคชันที่เป็นประโยชน์บนอุปกรณ์ส่วนตัวทั้งโทรศัพท์มือถือหรือแท็บเล็ต เพื่อช่วยในการรวบรวมและจัดระเบียบบันทึกข้อมูลในการใช้งานส่วนตน
    [ระดับสูง]
    4.3 สามารถใช้เทคโนโลยีในการเรียนรู้ได้อย่างมั่นใจ รวมทั้งเครื่องมือสำหรับการอ้างอิง การผลิตงานนำเสนอ การเชื่อมโยงและการแบ่งปันความคิด และแหล่งทรัพยากรการเรียนรู้ สามารถใช้เทคโนโลยีช่วยทดสอบความก้าวหน้าในการเรียนรู้และความเข้าใจเรื่องที่ศึกษา
5. เครื่องมือและเทคโนโลยี
    [ระดับที่จำเป็น]
    5.1 สามารถใช้เทคโนโลยีดิจิทัลที่หลากหลายได้อย่างคุ้นเคย และใช้คำศัพท์เฉพาะได้พอสมควร
    [ระดับสูง]
    5.2 สามารถติดตามความก้าวหน้าของเทคโนโลยีอุบัติใหม่ อาทิ กรีนเทคโนโลยี (Green technology) เอนเนอจีเซฟวิ่ง (Energy saving) และสามารถนำมาใช้งานได้อย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล
6. การติดต่อสื่อสารและการประสานงาน
    [ระดับที่จำเป็น]
    6.1 สามารถใช้เครื่องมือที่หลากหลายได้อย่างสะดวกสบายเพื่อการสนทนาและทำงานร่วมกับผู้อื่นแบบออนไลน์ รวมถึงการแบ่งปันเอกสารและหรือข้อคิดเห็น การประชุมทางไกล (video-conferencing) และการเข้าร่วมสัมมนาผ่านเว็บไซต์ การสัมมนาผ่านเครื่องมือและช่องทางที่หลากหลาย
ระดับที่จำเป็น หมายถึง ทักษะพื้นฐานสำหรับคุณวุฒิระดับปริญญาตรีทุกหลักสูตร
ระดับสูง หมายถึง ทักษะเพิ่มเติมขั้นสูงที่เข้มข้นขึ้นสำหรับคุณวุฒิระดับปริญญาตรี
อ่านบทความเพิ่ม ทักษะการรู้ดิจิทัลเพื่อพัฒนาคุณภาพการเรียนรู้ พรชนิตว์ ลีนาราช
Digital literacy คืออะไร
ทักษะความเข้าใจและใช้เทคโนโลยีดิจิทัล หรือ Digital literacy หมายถึง ทักษะในการนำเครื่องมือ อุปกรณ์ และเทคโนโลยีดิจิทัลที่มีอยู่ในปัจจุบัน อาทิ คอมพิวเตอร์ โทรศัพท์ แทปเลต โปรแกรมคอมพิวเตอร์ และสื่อออนไลน์ มาใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุด ในการสื่อสาร การปฏิบัติงาน และการทำงานร่วมกัน หรือใช้เพื่อพัฒนากระบวนการทำงาน หรือระบบงานในองค์กรให้มีความทันสมัยและมีประสิทธิภาพ
ทักษะดังกล่าวครอบคลุมความสามารถ 4 มิติ
1. การใช้ (Use)
2. เข้าใจ (Understand)
3. การสร้าง (create)
4. เข้าถึง (Access) เทคโนโลยีดิจิทัล ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
ทักษะความเข้าใจและใช้เทคโนโลยีดิจิทัล 9 ด้าน
1. การใช้งานคอมพิวเตอร์
2. การใช้งานอินเทอร์เน็ต
3. การใช้งานเพื่อความมั่นคงปลอดภัย (Cloud, Net Cafe)
4. การใช้โปรแกรมประมวลคำ
5. การใช้โปรแกรมตารางคำนวณ
6. การใช้โปรแกรมนำเสนองาน
7. การใช้โปรแกรมสร้างสื่อดิจิทัล
8. การทำงานร่วมกันแบบออนไลน์
9. การใช้ดิจิทัลเพื่อความมั่นคงปลอดภัย (ID Card, Password)
ocsc.go.th/DLProject/mean-dlp
สื่อสังคม #
เพื่อให้เข้าใจสื่อสังคม
    Social Media
    1. Facebook.com
    เด่นเรื่องโพสต์เรื่องราว พูดคุย แชทสื่อสารกัน ด้วย ข้อความ ภาพ วิดีโอ แบ่งกลุ่ม แบ่งเพจ
    ก่อตั้งโดย Mark Zuckerberg และ Eduardo Saverin เมื่อ February 4, 2004 (พ.ศ.2547)
    2. Twitter.com
    เด่นเรื่องโพสต์เรื่องราวสื่อสารกัน ด้วยข้อความไม่เกิน 140 ตัวอักษร
    ก่อตั้งโดย Jack Dorsey, Noah Glass, Biz Stone, และ Evan Williams เมื่อ March 21, 2006 (พ.ศ.2549)
    3. Instagram.com
    เด่นเรื่องการแชร์ภาพ และคลิ๊ปสั้น ๆ
    ก่อตั้งโดย Kevin Systrom และ Mike Krieger ในปี October 6, 2010 (พ.ศ.2553)
    4. Line.me
    เด่นเรื่องการส่งข้อความระหว่างเพื่อนบนสมาร์ทโฟน แยกกลุ่ม และมีความเป็นส่วนตัวสูง
    ก่อตั้งโดย NHN Japan ซึ่งเป็นบริษัทย่อยของ Naver Corporation เมื่อ June 23, 2011 (พ.ศ.2544)
    5. Skype
    เด่นเรื่องบริการโทรผ่านอินเทอร์เน็ต
    ถูกสร้างโดย Estonians Ahti Heinla, Priit Kasesalu, Jaan Tallinn, และ Toivo Annus เมื่อ 29 August 2003 (พ.ศ.2546)
    6. Youtube.com
    เด่นเรื่องเป็นแหล่งคลิ๊ปวีดีโอที่ใหญ่ที่สุด
    ก่อตั้งโดย Steve Chen, Chad Hurley, และ Jawed Karim เมื่อ February 14, 2005 (พ.ศ.2548)
    7. Google.com
    เด่นเรื่องบริการสืบค้น และอื่น ๆ อีกมาก เช่น !google+, Photos, Map
    ก่อตั้งโดย Larry Page และ Sergey Brin เมื่อ September 4, 1998 (พ.ศ.2541)
    8. Linkedin.com
    เด่นเรื่องรับฝากประวัติ ประสบการณ์ และความสามารถพิเศษ มีประโยชน์สำหรับนายจ้าง และลูกจ้าง
    ก่อตั้งโดย Reid Hoffman และ Eric Ly เมื่อ May 5, 2003 (พ.ศ.2546)
    9. Pinterest.com
    เด่นเรื่องแชร์ภาพ และวิดีโอ เชื่อมสื่อที่เกี่ยวข้องกันมาแสดงร่วมกัน และร่วมแสดงความคิดเห็นกันได้
    ก่อตั้งโดย Ben Silbermann, Paul Sciarra, และ Evan Sharp ใน December 2009 (พ.ศ.2552)
    10. Reddit.com
    เด่นเรื่องการเป็นเวทีโพสต์เรื่องราว กระดานถามตอบ แลกเปลี่ยนตามประเด็นที่สนใจ
    ก่อตั้งโดย Steve Huffman, Aaron Swartz, และ Alexis Ohanian เมื่อ June 23, 2005 (พ.ศ.2548)
    11. Tumbler.com
    เด่นเรื่องโพสต์เรื่องราว พูดคุย และแชร์ได้ ลักษณะกึ่งบล็อก กึ่งโซเชียล
    ก่อตั้งโดย David Karp ใน February 2007 (พ.ศ.2550)
    12. Foursquare.com
    เด่นเรื่องข้อมูลตำแหน่งสถานที่บนพื้นโลก
    ก่อตั้งโดย Dennis Crowley และ Naveen Selvadurai เมื่อ March 11, 2009 (พ.ศ.2552)
    13. 4Shared.com
    เด่นเรื่องเป็นแหล่งจัดเก็บแฟ้ม และสืบค้นได้
    ก่อตั้งโดย Alex Lunkov และ Sergey Chudnovsky ในปี 2005 (พ.ศ.2548)
    14. Dropbox.com
    เด่นเรื่องเป็นแหล่งจัดเก็บแฟ้ม
    ก่อตั้งโดย Drew Houston และ Arash Ferdowsi ในปี 2007 (พ.ศ.2550)
    15. Soundcloud.com
    เด่นเรื่องเก็บแฟ้มเสียง และแชร์ได้ง่าย
    ก่อตั้งโดย Alexander Ljung และ Eric Wahlforss ใน August 2007 (พ.ศ.2550)
    16. Yammer.com
    เด่นเรื่องเป็นสื่อสังคมที่จำกัดเฉพาะคนในองค์กร
    ก่อตั้งโดย David O. Sacks และ Adam Pisoni เมื่อ 10 March 10, 2008 (พ.ศ.2551)
    17. Slideshare.net
    เด่นเรื่องบริการเผยแพร่สไลด์นำเสนอ
    ก่อตั้งโดย Rashmi Sinha เมื่อ October 4, 2006 (พ.ศ.2549)
    18. Scribd.com
    เด่นเรื่องบริการเผยแพร่อีบุ๊ค รองรับแฟ้มได้หลายรูปแบบ
    ก่อตั้งโดย Trip Adler, Jared Friedman, และ Tikhon Bernstam ใน March 2007 (พ.ศ.2550)
    19. issuu.com
    เด่นเรื่องบริการเผยแพร่อีบุ๊ค แบบพลิ๊กไปทีละหน้าอย่างสวยงาม
    ก่อตั้งโดย Michael Hansen, Ruben Bjerg Hansen, Mikkel Jensen, และ Martin Ferro-Thomsen ใน December 2007 (พ.ศ.2550)
    20. Flipsnack.com
    เด่นเรื่องบริการเผยแพร่อีบุ๊ค แบบพลิ๊กไปทีละหน้าอย่างสวยงาม
    ก่อตั้งโดย Gabriel Ciordas ในปี 2011 (พ.ศ.2554)
    ผู้ให้บริการสื่อสังคม
    Facebook คือ เว็บไซต์เครือข่ายสังคม (Social Networking Website) สำหรับติดต่อแลกข้อมูลข่าวสารระหว่างสมาชิก เปิดให้ใช้งานเมื่อ 4 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2547 โดย มาร์ก ซักเคอร์เบิร์ก นักศึกษาจากมหาวิทยาลัยฮาร์เวิร์ด ในช่วงแรกนั้นเฟซบุ๊กเปิดให้ใช้งานเฉพาะในกลุ่มนักศึกษาของมหาวิทยาลัยฮาร์เวิร์ด ซึ่งต่อมาได้ขยายออกไปยังมหาวิทยาลัยทั่วสหรัฐอเมริกา และเปิดให้ขยายไปถึงผู้ใช้ทั่วไปตั้งแต่ 11 กันยายน พ.ศ. 2549
    สำหรับชื่อเฟซบุ๊กนั้นมาจากชื่อเรียก "เฟซบุ๊ก" ที่จะเป็นหนังสือแจกสำหรับนักศึกษาในช่วงเริ่มเรียนปีแรก ซึ่งมีภาพและชื่อของเพื่อนที่เรียนด้วยกัน มีไว้สำหรับจดจำชื่อคนอื่น จึงเป็นที่มีของชื่อโดเมน facebook.com
    Swarm คือ สื่อสังคมที่ใช้งานผ่านแอปเช็คอินสถานที่ (Check in) และรีวิวสถานที่ (Review) มีคุณสมบัติสนับสนุนการจัดอันดับในกระดานคะแนนระหว่างกลุ่มเพื่อนของแต่ละคนในแต่ละสัปดาห์ ทุกครั้งที่เช็คอินจะได้รับเหรียญ จำนวนเหรียญแตกต่างตามภาพ และสติกเกอร์ประกอบภาพ ในแต่ละสถานที่ที่มีการเช็คอินบ่อย ผู้ที่เช็คอินบ่อยที่สุดจะได้ตำแหน่งเมเยอร์ หรือเบอร์ 1 ประจำสถานที่นั้น การจัดอันดับเมเยอร์ระหว่างสมาชิกในระบบที่อาจไม่ใช่เพื่อนกัน ซึ่งแอปนี้จำเป็นต้องใช้อุปกรณ์ที่เปิดคุณสมบัติบอกตำแหน่ง (GPS)
    Foursquare คือ สื่อสังคมที่ใช้งานผ่านแอปบันทึกที่กินที่เที่ยว และใช้ค้นหาสถานที่ เบอร์โทร พร้อมมีความคิดเห็นของผู้คน (ทิป) มีการแนะนำสถานที่ใกล้เคียง มีข้อมูลราคา ยอดไลท์ รายชื่อเพื่อนที่เคยไป ใช้เปรียบเทียบ ประกอบการตัดสินใจได้ เชื่อม check-in กับ swarm ได้ สามารถเพิ่มทิปที่เป็นบันทึก โพสต์ภาพและแชร์ไป facebook หรือ twitter ได้ ซึ่งแอปนี้จำเป็นต้องใช้อุปกรณ์ที่เปิดคุณสมบัติบอกตำแหน่ง (GPS)
ผลกระทบของสื่อสังคม
เพื่อให้เข้าใจผลกระทบของสื่อสังคม
    Advantages
    + มีเพื่อนเพิ่มขึ้น (Friends)
    + มีเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ (Learning Exchange)
    + รับข้อมูลข่าวสารเพิ่มขึ้น (News)
    + ใช้เป็นช่องทางส่งเสริมการเผยแพร่ข้อมูลข่าวสาร (Publication)
    + พัฒนาทักษะการเขียน (Writing development)
    Disadvantages
    - มีเวลาให้กับโลกแห่งความเป็นจริงลดลง (Reduce time in real life) #
    - ได้รับข้อมูลข่าวสารมากเกินไป (Over data)
    - อาจได้รับข้อมูลข่าวสารที่บิดเบือนจากความเป็นจริงโดยง่าย (Fake data)
    - ใช้มากเกินไปจะเป็นผลเสียต่อสุขภาพ (Effect health)
    - เข้าไปอยู่ในความเสี่ยงต่อการละเมิดลิขสิทธิ (Copyright infringement)
การแบ่งประเภทของสื่อ
เพื่อให้เข้าใจการแบ่งประเภทของสื่อ
สื่อ (media) หมายถึง สิ่งที่มีอยู่ตามธรรมชาติ ได้แก่ อากาศ แสง เสียง อุปกรณ์ เครื่องมือที่มนุษย์คิดขึ้น หรือ เครือข่ายสังคม
1. สื่อธรรมชาติ (Nature Media) ได้แก่ บรรยากาศที่อยู่รอบตัวมนุษย์อันมีอยู่ตามธรรมชาติ
2. สื่อมนุษย์ (Human Media) ได้แก่ บุคคลที่ทำหน้าที่เป็นสื่อนำสารไปสู่ผู้รับ เช่น คนนำสาร นักเล่านิทาน โฆษก ล่าม
3. สื่อสิ่งพิมพ์ (Printing Media) ได้แก่ สื่อทุกชนิดที่อาศัยเทคนิคการพิมพ์ เช่น นิตยสาร หนังสือพิมพ์งฅนเมืองเหนือ
4. สื่ออิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Media) ได้แก่ สื่อที่พัฒนาโดยใช้ระบบเครื่องกลไกไฟฟ้า เช่น วิทยุ โทรทัศน์ อินเทอร์เน็ต
5. สื่อระคน/สื่อเฉพาะกิจ (Specialized Media) ได้แก่ สื่อที่ทำหน้าที่นำสาร แต่ไม่อาจจัดไว้ใน 4 ประเภทข้างต้น เช่น วัตถุจารึก สื่อพื้นบ้าน
ประเภทของสื่อมวลชน
เพื่อให้เข้าใจประเภทของสื่อมวลชน
    1. วิทยุกระจายเสียง (Radio)
    2. หนังสือพิมพ์ (Newspaper)
    3. โทรทัศน์ (Television)
    4. ภาพยนตร์ (Movie)
    5. วารสาร (Journal)
    6. นิตยสาร (Magazine)
    7. โปสเตอร์ (Poster)
    8. เหตุการณ์พิเศษ (Special Event)
    9. เว็บไซต์ (Website)
สื่อมัลติมีเดีย
เพื่อให้เข้าใจสื่อมัลติมีเดีย
    1. เทคโนโลยีเกี่ยวกับเสียง (Audio Technology)
    2. เกี่ยวกับวีดิโอ (Video Technology)
    3. เทคโนโลยีรูป (Image Technology)
    4. เทคโนโลยีข้อความ (Text Technology)
    5. เทคโนโลยีภาพเคลื่อนไหวและภาพสามมิติ (Animation & 3D Technology)
สื่อมัลติมีเดีย (ต่อ)
เพื่อให้เข้าใจสื่อมัลติมีเดีย (ต่อ)
    6. เทคโนโลยีการพัฒนา (Authoring System Technology)
    7. เทคโนโลยีกับระบบการศึกษา (Education System Technology)
    8. เทคโนโลยีการผลิต (Publishing Technology)
    9. เทคโนโลยีการกระจาย (Broadcasting & Conferencing)
    10. เทคโนโลยีการจัดเก็บข้อมูล (Storage Technology)
    11. เทคโนโลยีไฮเปอร์เท็ก (WWW & Hyper Text)
    12. เทคโนโลยีคลังข้อมูล (Media Archives)
#3 เทคโนโลยีสารสนเทศ
องค์ประกอบของเทคโนโลยีสารสนเทศ
เพื่อให้เข้าใจองค์ประกอบของเทคโนโลยีสารสนเทศ
    1. ระบบประมวลผล (Processing System) คือ การทำงานด้วยระบบอิเล็กทรอนิกส์ จัดการข้อมูลได้อย่างถูกต้องและรวดเร็ว
    2. ระบบสื่อสารโทรคมนาคม (Telecommunication System) คือ การสนับสนุนการใช้ข้อมูลร่วมกันระหว่างเครื่องที่ห่างไกล
    3. การจัดการข้อมูล (Data Management) คือ การจัดการข้อมูลเพื่อสนับสนุนการบริหารจัดการ
    (ระบบประมวลผล + ระบบสื่อสารโทรคมนาคม) + การจัดการข้อมูล = เทคโนโลยีสารสนเทศ
การใช้งานเทคโนโลยีสารสนเทศ
เพื่อให้เข้าใจการใช้งานเทคโนโลยีสารสนเทศ
    1. เก็บข้อมูล เช่น Digital Camera, Webcam, Sound Recorder, Computer
    2. บันทึกข้อมูล เช่น Tape, RFID, CD, Diskette
    3. ประมวลผลข้อมูล เช่น CPU
    4. แสดงผลข้อมูล เช่น Monitor, Printer
    5. สำเนาเอกสาร เช่น Microfilm, Copy Machine, Scanner
    6. สื่อสารข้อมูล ได้แก่ Telephone, Television, Radio, Internet
การประมวลผล
เพื่อให้เข้าใจการประมวลผล
    1. สรุปภาพรวม (Summarizing) เช่น การรายงานผลประกอบการ
    2. การจัดเรียง (Ordering) เช่น ประกวดนางสาวไทย
    3. การจัดกลุ่ม (Grouping) เช่น การแยกห้องนักเรียน
    4. การเลือก (Selecting) เช่น การเลือกตั้ง
    5. การควบคุม (Controlling) เช่น การปล่อยน้ำผ่านกรุงเทพฯ
    6. การคำนวณ (Calculating) เช่น ดอกเบี้ยธนาคาร
    7. วิเคราะห์แยกแยะ (Analyzing) เช่น การพิจารณาหลักฐานในคดี
ประโยชน์ของเทคโนโลยีสารสนเทศทางธุรกิจ
เพื่อให้เข้าใจประโยชน์ของเทคโนโลยีสารสนเทศทางธุรกิจ
    1. ลดความผิดพลาด (Reduce Mistake)
    2. ลดการใช้แรงงาน (Reduce Labor)
    3. ลดการสูญหายของข้อมูล (Reduce Data Loss)
    4. ตอบสนองเร็วขึ้น (Increase Response)
อาชีพเกี่ยวกับเทคโนโลยีสารสนเทศ
เพื่อให้เข้าใจอาชีพเกี่ยวกับเทคโนโลยีสารสนเทศ
    1. เว็บมาสเตอร์ (Webmaster)
    ทำหน้าที่ พัฒนาและบำรุงรักษาเว็บไซต์
    2. ผู้เชี่ยวชาญคอมพิวเตอร์ (Computer Support Specialist)
    ทำหน้าที่ สนับสนุนให้ความช่วยเหลือ ให้คำปรึกษา
    3. นักเขียนเทคนิค (Technical Writer)
    ทำหน้าที่ เขียนคู่มือปฏิบัติงาน และจัดทำเอกสารที่เกี่ยวข้อง
    4. วิศวกรซอฟต์แวร์ (Software Engineer)
    ทำหน้าที่ เป็นผู้จัดการซอฟท์แวร์ขององค์กร วิเคราะห์ความต้องการ และพัฒนาขึ้น
    5. ผู้จัดการเครือข่าย (Network Administrator)
    ทำหน้าที่ สร้าง และบำรุงรักษาเครือข่าย
    6. ผู้บริหารฐานข้อมูล (Database Administrator)
    ทำหน้าที่ ดูแลระบบฐานข้อมูล
    7. นักวิเคราะห์ระบบ (System Analyst)
    ทำหน้าที่ วางโครงสร้างการพัฒนาระบบ วางแผน ออกแบบ และบำรุงรักษาระบบสารสนเทศ
    8. โปรแกรมเมอร์ (Programmer)
    เช่น ฟรีแลนซ์ (Freelance) ทำหน้าที่ พัฒนา ทดสอบ และแก้ไขโปรแกรม
    กลุ่มบุคลากรที่เกี่ยวข้องกับระบบคอมพิวเตอร์ [13]p.50
    1. กลุ่มผู้ใช้งานทั่วไป (User/End User)
    2. กลุ่มผู้เชี่ยวชาญ (Expert)
    3. กลุ่มผู้บริหาร (Executive : CIO)
ขอบเขตของปัญญาประดิษฐ์
เพื่อให้เข้าใจขอบเขตของปัญญาประดิษฐ์
(Scope of Artificial Intelligence)
    1. ระบบผู้เชี่ยวชาญ (Expert Systems)
    โปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่แสดงความสามารถได้เหมือนกับผู้เชี่ยวชาญในสาขาต่าง ๆ หรือในงานเฉพาะอย่าง
    2. ภาษาธรรมชาติ (Natural Languages)
    ภาษาที่เกี่ยวกับการติดต่อสื่อสารโดยตรงกับคอมพิวเตอร์ ทั้งคอมพิวเตอร์เข้าใจภาษามนุษย์ และมนุษย์เข้าใจการรับรู้ของคอมพิวเตอร์
    3. ระบบจับภาพ (Vision Systems)
    การที่คอมพิวเตอร์สามารถทำงานได้โดยอาศัยการมอง และการจดจำรูปแบบ เช่นการตรวจหาชิ้นส่วนที่บกพร่อง การให้คอมพิวเตอร์แข่งเตะบอล เป็นต้น
    4. ศาสตร์ด้านหุ่นยนต์ (Robotics)
    เกี่ยวกับการออกแบบ การสร้าง และการนำไปใช้งาน ให้เคลื่อนไหวได้คล้ายมนุษย์ โดยเฉพาะใช้งานที่เสี่ยงอันตรายแทนมนุษย์
    5. เครือข่ายเส้นประสาท (Neural Networks)
    ระบบที่อาศัยความรู้เป็นพื้นฐาน สร้างเรียนแบบเส้นใยประสาทของมนุษย์ เป็นการทำกิจกรรมแบบขนานที่ทำงานพร้อมกัน เพื่อให้ได้คำตอบเดียว
อาชีพ: หลักสูตรหลักทางด้านการคำนวณ
หลักสูตรหลักทางด้านการคำนวณ [#patanasongsivilai.com]
1. วิทยาการคอมพิวเตอร์ (CS)
2. วิศวกรรมคอมพิวเตอร์ (CE)
3. วิศวกรรมซอฟต์แวร์ (SE)
4. เทคโนโลยีสารสนเทศ (IT)
5. ระบบสารสนเทศคอมพิวเตอร์ (IS)
ชวนมองเพิ่มเติม: วิศวกรรมไฟฟ้า (EE)
#4 เทคโนโลยีการสื่อสาร
องค์ประกอบของระบบการสื่อสาร
เพื่อให้เข้าใจองค์ประกอบของระบบการสื่อสาร
    1. ข่าวสาร/ข้อมูล (Message หรือ Data)
    2. ผู้ส่ง (Sender)
    3. ผู้รับ (Receiver)
    4. สื่อกลาง (Medium)
    5. ระเบียบวิธีการ (Protocol)
หลักสำคัญของการติดต่อสื่อสาร
เพื่อให้เข้าใจหลักสำคัญของการติดต่อสื่อสาร
(Principle of Communication)
    1. ความน่าเชื่อถือ (Credibility)
    - มีอะไรก็ตามที่ทำให้ความน่าเชื่อถือในการสื่อสารลดลง ย่อมไม่เป็นผลดีต่อเป้าหมายของการสื่อสาร
    2. ความเหมาะสมกลมกลืนกับสภาพแวดล้อม (Context)
    - สภาพแวดล้อมต้องเอื้ออำนวย สนับสนุนการติดต่อสื่อสาร
    3. เนื้อหาสาระ (Content)
    - ประเด็นเป็นที่ต้องการตรงกันกับผู้เกี่ยวข้องทุกฝ่าย
    4. ความชัดเจน (Clarity)
    - เป็นภาษาที่เข้าใจง่าย มีความชัดเจน และเพียงพอที่จะเข้าใจ
    5. ความต่อเนื่อง และสม่ำเสมอ (Continuity and Consistency)
    - ความคงเส้นคงว่าของการให้ข้อมูลข่าวสาร จะทำให้การติดต่อสื่อสารมีความยั่งยืน
    6. ช่องทางในการสื่อสาร (Channels)
    - ตัวที่เชื่อมระหว่างผู้รับและผู้ส่งสาร ซึ่งมีได้หลายทางที่สนับสนุนการสื่อสารที่มีประสิทธิภาพ
    7. ขีดความสามารถของผู้รับ (Capability of audience)
    - ต้องทำให้สารนั้นเป็นที่เข้าใจได้ง่าย จนผู้รับสารใช้ความพยายามน้อย แต่ก็ยังเข้าใจได้
การใช้เทคโนโลยีเพื่อการสื่อสาร
เพื่อให้เข้าใจการใช้เทคโนโลยีเพื่อการสื่อสาร
    1. E-Mail (Electronic Mail)
    2. Fax or Facimile : Paper Printing
    3. Voice Mail
    4. Video Conference
    5. GPS (Global Positioning Systems)
    6. Groupware (Google Docs)
    7. Electronic Fund Transfer : ATM, MPay
    8. Electronic Data Interchange : Order Statement, Invoice
    9. RFID (Radio Frequency Identification) and IoT
    อุปกรณ์แสดงผลลัพธ์ (Output Device) [13]p.91
    1. อุปกรณ์แสดงผลหน้าจอ (Display Device)
    - เทอร์มินอล (Terminal) ในระบบ Pos
    - จอซีอาร์ที (CRT Monitor)
    - จอแอลซีดี (LCD : Liquid Crystal Display) ใช้ผลึกเหลว
    - จอแอลอีดี (LED : Light Emitting Diode) คมชัดกว่า LCD
    - โปรเจคเตอร์ (Projector)
    2. อุปกรณ์สำหรับพิมพ์งาน (Print Device)
    - เครื่องพิมพ์แบบดอทเมตริกซ์ (Dot matrix)
    - เครื่องพิมพ์แบบเลเซอร์ (Laser Printer)
    - เครื่องพิมพ์แบบอิงค์เจ็ต (Inkjet Printer)
    - พลอตเตอร์ (Plotter)
    - เครื่องพิมพ์ 3 มิติ (3D Printer)
    3. อุปกรณ์ขับเสียง (Audio Device)
    - ลำโพง (Speaker)
    - หูฟัง (Headphone)
ต.ย. QR code และการใช้เครื่องสแกน
ถ้ายกโทรศัพท์ขึ้นมาส่อง QR Code เหล่านี้ มีคำถามว่า นิสิตจะได้พบกับอะไร แล้วถ้าต้องเลือกหนึ่งในทั้งหมด 12 ลิงก์นี้ ต้องเลือกลิงก์ใดที่ถูกต้อง และตรงกับความต้องการของตนเองที่สุด โดยใช้ เครื่องสแกน QR Code (แนะนำตัวนี้) ตัวใดที่จะสามารถเห็นลิงก์ก่อนดาวน์โหลดได้ก่อน เพราะบางแอปพลิเคชัน เน้นการเปิดลิงก์ มากกว่าแสดงลิงก์ยาวให้เห็นจนครบตัวอักษรสุดท้าย
ต.ย. 7 กฎการออกแบบ UI Design ให้สวยงาม สำหรับ Non-Designer

อ้างอิง designil.com
โดย Erik D. Kennedy
    7 กฎการออกแบบ UI Design ให้สวยงาม สำหรับ Non-Designer
    ปัญหาใหญ่ของโปรแกรมเมอร์ หรือคนที่ทำอาชีพด้านอื่นที่ไม่ใช่ Designer เวลาทำเว็บไซต์ / แอป คือ ขาดเซ้นส์ด้านดีไซน์ ไม่ว่าจะลองออกแบบยังไงก็เลือกสีได้ไม่โดนใจ เลือกฟ้อนต์ได้ไม่ถูกใจ เมื่อก่อนแอดมิน (Designil) ก็พบปัญหาเช่นกัน จนได้อ่านบทความเรื่อง 7 Rules for Creating Gorgeous UI
    1. แสงต้องมาจากบนฟ้า (Light comes from the sky)
    2. เริ่มด้วย ขาว-ดำ เสมอ (Black and white first)
    3. เพิ่ม Whitespace (ช่องว่าง) เป็นสองเท่า (Double your whitespace)
    4. เทคนิคการวางตัวหนังสือบนรูป ไม่ให้จม (Learn the methods of overlaying text on images)
    5. เพิ่ม – ลด ความเด่นของตัวหนังสือ (Make text pop — and un-pop)
    6. เลือกใช้ฟ้อนต์ให้เหมาะสม (Only use good fonts)
    7. ขโมยอย่างศิลปิน (Steal like an artist)
การใช้เทคโนโลยีเพื่อการศึกษา
เพื่อให้เข้าใจการใช้เทคโนโลยีเพื่อการศึกษา
    1. อีเลินนิ่ง (e-Learning) หรือ WBI (Web-Based Training)#
    2. อีบุ๊ค (e-Book) #
    3. คอมพิวเตอร์ช่วยสอน (CAI = Computer Aided Instruction)
    4. สื่อการสอน (Media) เช่น CD ROM หรือ Video on Demand
    5. การสื่อสาร (Communication) เช่น อีเมล (e-mail) หรือ เว็บบอร์ด (webboard) หรือ การสอนทางไกล (Distance Learning via Satellite)
    6. การมอบหมายงาน หรือการบ้าน (Assignment หรือ Homework)
    7. แบบทดสอบ (Quiz) #
    8. บล็อก (Blog) เช่น oknation.net หรือ learners.in.th
    9. ฝึกปฏิบัติ (Laboratory) เช่น wix.com
    10. แหล่งสืบค้น (Search engine) เช่น translate
ภาษาคอมพิวเตอร์
เพื่อให้เข้าใจภาษาคอมพิวเตอร์
+ รวมรหัสต้นฉบับ
    1. Python
    ภาษาไพทอน (Python Language) คือ ภาษาคอมพิวเตอร์ประเภทโอเพนท์ซอร์ท (Open Source Computer Language) สำหรับพัฒนาแอปพลิเคชันโดยไม่ยึดติดกับแพลตฟอร์ม (Platform) และใช้ในงานได้หลายประเภท ทั้งใช้ในการประมวลผลผ่านคอมมานด์ไลน์ หรือเป็นเว็บเพจแบบไดนามิก เมื่อเครื่องบริการได้รับคำร้องจากผู้ใช้ก็จะส่งให้โค้ดให้กับตัวแปลภาษา เพื่อทำหน้าที่ประมวลผลและส่งข้อมูลกลับไปยังเครื่องของผู้ใช้ที่ร้องขอ ในรูปข้อความเอชทีเอ็มแอล ภาพ หรือแฟ้มดิจิทอลอื่นใด ลักษณะของภาษามีรากฐานคำสั่งมาจากภาษาซี เป็นภาษาที่สามารถพัฒนาให้ใช้งานแบบโต้ตอบกับผู้ใช้ได้ จุดที่แตกต่างกับภาษาอื่น คือ การรวบรวมจุดเด่นของแต่ละภาษามารวมเข้าด้วยกัน
    2. PHP
    ภาษาพีเอชพี (PHP Language) คือ ภาษาคอมพิวเตอร์ประเภทโอเพนท์ซอร์ท (Open Source Computer Language) สำหรับพัฒนาเว็บเพจแบบไดนามิก เมื่อเครื่องบริการได้รับคำร้องจากผู้ใช้ก็จะส่งให้กับ ตัวแปลภาษา ทำหน้าที่ประมวลผลและส่งข้อมูลกลับไปยังเครื่องของผู้ใช้ที่ร้องขอ ในรูปเอชทีเอ็มแอล ภาพ หรือแฟ้มดิจิทอลอื่นใด ลักษณะของภาษามีรากฐานคำสั่งมาจากภาษาซี เป็นภาษาที่สามารถพัฒนาให้ใช้งานแบบโต้ตอบกับผู้ใช้ได้
    3. HTML
    ภาษาเฮชทีเอ็มแอล (HTML = HyperText Markup Language) คือ ภาษาคอมพิวเตอร์ที่ออกแบบมาเพื่อใช้ในการสร้างเว็บเพจที่เรียกดูผ่านทางเว็บเบราว์เซอร์ (Web Browser) เริ่มพัฒนาโดย ทิม เบอร์เนอรส์ ลี (Tim Berners Lee) ในปัจจุบัน HTML ล่าสุดคือ รุ่น 5 เป็นมาตรฐานหนึ่งของ ISO ซึ่งจัดการโดย World Wide Web Consortium (W3C) ในปัจจุบัน ทาง W3C ผลักดัน รูปแบบของ HTML แบบใหม่ ที่เรียกว่า XHTML รุ่นแรกคือ 1.0 (ม.ค.2543) ซึ่งมีโครงสร้างเป็นแบบ XML (eXtensible Markup Language)
    4. SQL
    เอสคิวแอล (SQL = Structured Query Language) คือ ภาษาสอบถามข้อมูล หรือภาษาจัดการข้อมูลอย่างมีโครงสร้าง มีการพัฒนาภาษาคอมพิวเตอร์ และโปรแกรมฐานข้อมูลที่รองรับมากมาย เพราะจัดการข้อมูลได้ง่าย เช่น MySQL, MariaDB, MsSQL, PostgreSQL หรือ MS Access เป็นต้น สำหรับโปรแกรมฐานข้อมูลที่ได้รับความนิยมคือ MySQL หรือ MariaDB เป็น Open Source ที่ใช้งานได้ทั้งใน Linux และ Windows
#5 ระบบเครือข่าย
ความหมายของเครือข่าย
เพื่อให้เข้าใจความหมายของเครือข่าย
14 พฤษภาคม 2563
AIS Fiber เน็ตบ้านแรงโดนใจ
    ระบบเครือข่าย คือ ระบบที่มีการนำคอมพิวเตอร์อย่างน้อยสองเครื่องมาเชื่อมต่อกัน โดยใช้สื่อกลาง เพื่อใช้ในการสื่อสารข้อมูลถึงกันได้อย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งทำให้ผู้ใช้คอมพิวเตอร์แต่ละเครื่องสามารถใช้แลกเปลี่ยนข้อมูลซึ่งกันและกันได้ นอกจากนี้ยังสามารถใช้ทรัพยากรร่วมกัน ทำให้ประหยัดทรัพยากรในการใช้งาน เช่น Printer and Scanner (Multifunction Printer), Harddisk(E-document), Paper (E-Office), CD ROM(Media) เป็นต้น ซึ่งระบบเครือข่ายที่นิยมเชื่อมต่อในระยะใกล้ คือ LAN (Local Area Network) ส่วนระยะไกลได้แก่ WAN (Wide Area Network)
    + prasansoft.com
    ประโยชน์ของระบบเครือข่าย
    - สามารถแบ่งปันการใช้งานแฟ้มข้อมูล เช่น โปรแกรม
    - สามารถแลกเปลี่ยนข้อมูลกันได้ เช่น ข้อมูลข่าวสาร
    - สามารถแบ่งปันการใช้งานทรัพยากรร่วมกัน เช่น เครื่องพิมพ์
    - สามารถส่งข่าวสารในรูปแบบของ E-Mail
    - สามารถควบคุมเครื่องคอมพิวเตอร์ในเครือข่ายได้
โครงสร้างของเครือข่าย
เพื่อให้เข้าใจโครงสร้างของเครือข่าย
    1. Star Topology
    2. Bus Topology
    3. Ring Topology
    4. Mesh Topology
    5. Hybrid Topology
ประเภทของเครือข่าย
เพื่อให้เข้าใจประเภทของเครือข่าย
    1. P2P : Peer to Peer
    2. PAN : Personal Area Network
    3. LAN : Local Area Network
    4. MAN : Metropolitan Area Network
    5. WAN : Wide Area Network
ทิศทางการส่งข้อมูล
เพื่อให้เข้าใจทิศทางการส่งข้อมูล
(Duplex Communication system)
Duplex = คู่
    1. Simplex
    - Projector (เครื่องฉายภาพข้ามศีรษะ)
    - Visualization (เครื่องฉายภาพสามมิติ)
    - Microphone (ไมโครโฟน)
    - Mouse (เมาส์) หรือ Keyboard (แป้นพิมพ์) หรือ Monitor (จอภาพ)
    2. Half-Duplex
    - Blog หรือ Weblog (บล็อก) เช่น blogger.com, wordpress.com, thumbsup.in.th
    - Webboard (กระดานเสวนา) เช่น pantip.com
    - Chat (แชท) เช่น messenger
    - Walkie-Talkie (วิทยุสื่อสาร)
    - Social Media (สื่อสังคม เช่น facebook.com หรือ youtube.com)
    3. Full-Duplex
    - Phone (โทรศัพท์พื้นฐาน)
    - Smartphone (สมาร์ทโฟน) หรือ TabletPC (แท็บเล็ต)
    - Computer : Notebook, Desktop (เครื่องคอมพิวเตอร์)
    - Google Glasses (แว่นตากูเกิ้ล) + joke
    - Cicret Bracelet (สายลัดข้อมือไฮเทค)
    - Microsoft Hololens (แว่นตาของไมโครซอฟต์)
    - Virtuix Omni (โลกเสมือนจริง)
ประเภทของคอมพิวเตอร์ในเครือข่าย
เพื่อให้เข้าใจประเภทของคอมพิวเตอร์ในเครือข่าย
    1. Server (send response)
    2. Workstation (general computer)
    3. Client (send request)
    4. Terminal (no CPU)
ระเบียบวิธีการ
เพื่อให้เข้าใจระเบียบวิธีการ
    ระเบียบวิธีการ (Protocol) คือ ข้อกำหนด หรือข้อตกลงในการสื่อสารระหว่างคอมพิวเตอร์ หรือภาษาสื่อสารที่ใช้เป็นภาษากลางในการสื่อสารระหว่างคอมพิวเตอร์ด้วยกัน การที่เครื่องคอมพิวเตอร์ที่ถูกเชื่อมโยงกันไว้ในระบบจะสามารถติดต่อสื่อสารกันได้ ต้องมีการกำหนดวิธีการสื่อสารที่เรียกว่า โปรโตคอล (Protocol) เช่นเดียวกับ มนุษย์ที่ต้องมีภาษา เพื่อให้สื่อสารกันได้เข้าใจ
    เปรียบเหมือนกับภาษาสากลของคอมพิวเตอร์ ซึ่ง Protocol นั้นจะทำให้การสื่อสารและติดต่อระหว่างคอมพิวเตอร์แต่ละเครื่องเชื่อมโยงกันได้อย่างเข้าใจ ไม่ว่าเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ใช้จะต่างรุ่น ต่างขนาด ต่างระบบ ก็ยังสื่อสารผ่าน Protocol ที่ตกลงร่วมกันได้
    + เกร็ดความรู้.net/protocol/
    ตัวอย่างของ Protocol

    TCP/IP (Transfer Control Protocol/Internet Protocol) คือ ระเบียบวิธีการที่ใช้ในระบบเครือข่ายอย่างอินเทอร์เน็ต ซึ่งโปรโตคอลนี้แยกออกได้มาเป็น โปรโตคอล TCP และโปรโตคอล IP ช่วยกำหนดรูปแบบการติดต่อสื่อสาร และการกำหนดตำแหน่งของเครื่องคอมพิวเตอร์ในเครือข่าย
    SMTP (Simple Mail Transfer Protocol) คือ โปรโตคอลที่ใช้ในการส่ง E – mail ในระบบอินเทอร์เน็ต
    ICMP (Internet Control Message Protocol) คือ โปรโตคอลที่ใช้ในการสอบถามข้อมูลข่าวสารระหว่างกัน
    POP3 (Post Office Protocol 3) คือ โปรโตคอลที่ใช้ในการรับอีเมลจากเซิร์ฟเวอร์ โดยมุ่งเน้นให้ในการอ่านอีเมล์แบบOffline โดยให้ผู้ใช้โหลดอีเมลมาเก็บไว้ และอ่านได้ในภายหลัง โดยไม่ต้องเชื่อมต่อกับอินเทอร์เน็ต
    IMAP (Internet Message Access Protocol) คือ โปรโตคอลที่ใช้ในการรับอีเมลจากเซิร์ฟเวอร์ โดยมุ่งเน้นให้ในการอ่านอีเมล์แบบ Online ซึ่งแตกต่างจาก Protocol POP3 ที่มุ่งเน้นในการอ่านอีเมล์แบบOffline
    HTTP (HyperText Transfer Protocol) คือ โปรโตคอลที่ใช้เพื่อให้ผู้ใช้สามารถอ่านข้อมูล ทั้งภาพ และเสียง จากเครื่องบริการ ผ่าน Browser เช่นบริการ http://www.thaiall.com หรือ http://localhost เป็นต้น เครื่องบริการ ที่รอรับคำร้องขอจาก web browser ข้อมูลที่จะส่งไปอาจเป็นเว็บเพจ ภาพ หรือเสียง เป็นต้น สำหรับโปรแกรมที่ได้รับความนิยม ให้นำมาเปิดบริการ web คือ Apache web server หรือ Microsoft web server
    FTP (File Transfer Protocol) คือ เครื่องบริการการรับ-ส่งข้อมูล ซึ่งเปิดให้ผู้ใช้ที่เป็นสมาชิกเข้าใช้ แต่บางเครื่องอาจเป็นให้ผู้ใช้ทั่วไปเข้าใช้ โดยใช้รหัสสมาชิก anonymous ซึ่งเป็นที่รู้กันทั่วโลกว่าเป็นรหัสผู้ใช้สำหรับผู้ที่ไม่ประสงค์ออกนาม FTP คือ โปรโตคอลสำหรับถ่ายโอนข้อมูล โดยเครื่องที่เปิดบริการ FTP จะเปิด TCP port 21 ไว้
    DHCP (Dynamic Host Configuration Protocol) คือ โปรโตคอลที่ใช้ในการกำหนด IP Address อัตโนมัติแก่เครื่องลูกข่ายบนระบบ ที่ติดตั้ง TCP/IP สำหรับ DHCP server มีหน้าที่แจก IP ในเครือข่ายไม่ให้ซ้ำ เป็นการลดความซ้ำซ้อน เมื่อเครื่องลูกเริ่ม boot ก็จะขอ IP address, Subnet mark, หมายเลข DNS และ Default gateway
    NAT (Network Address Translation) คือ คุณสมบัติหนึ่งของการแจก IP หรือการทำ IP Sharing เพราะในเครือข่ายขนาดใหญ่จะใช้ Local IP หรือ Fake IP แต่จะมี Real IP อยู่บางส่วน โปรแกรมเครื่องบริการบางโปรแกรมมีหน้าที่กำหนด Local IP ให้เครื่องลูก เมื่อเครื่องลูกต้องการออกไปอ่านข้อมูลจากอินเทอร์เน็ต ก็จะใช้ Real IP ออกไป จากลักษณะดังกล่าง อาจทำให้เครื่องที่เป็น NAT server ทำหน้าที่เป็น Firewall ปกป้องเครื่องลูก เพราะจะไม่มีใครทราบ Local IP ของเครื่องในองค์กรได้ เนื่องจากการออกไปสู่อินเทอร์เน็ตจะใช้ IP ของ NAT server เสมอ จึงไม่มีใครเจาะเข้าสู่เครื่องลูกได้โดยตรง การเป็น NAT server อาจไม่จำเป็นต้องใช้คุณสมบัติ Cache server ก็ได้ เพราะเครื่องที่เป็น Proxy server ที่มีศักยภาพต่ำ จะล่มได้เร็วกว่าเครื่องที่ทำหน้าที่เป็น NAT เพียงอย่างเดียว สำหรับโปรแกรมที่ทำหน้าที่เป็น NAT server เช่น WinGate, WinRoute, WinProxy หรือ ICS(Internet Connection Sharing) เป็นต้น
    + thaiall.com/internet/internet04.htm
#6 การใช้งานอินเทอร์เน็ต
ความเป็นมาของอินเทอร์เน็ต
เพื่อให้เข้าใจความเป็นมาของอินเทอร์เน็ต
    อินเทอร์เน็ต คือ การเชื่อมโยงเครือข่ายคอมพิวเตอร์เข้าด้วยกัน ตามโครงการของอาร์ป้าเน็ต (ARPAnet = Advanced Research Projects Agency Network) เป็นหน่วยงานสังกัดกระทรวงกลาโหมของสหรัฐ (U.S.Department of Defense - DoD) ถูกก่อตั้งเมื่อประมาณ ปีค.ศ.1960(พ.ศ.2503) และได้ถูกพัฒนาเรื่อยมา
    ค.ศ.1969 (พ.ศ.2512) อาร์ป้าเน็ตได้รับทุนสนันสนุนจากหลายฝ่าย และเปลี่ยนชื่อเป็นดาป้าเน็ต (DARPANET = Defense Advanced Research Projects Agency Network) พร้อมเปลี่ยนแปลงนโยบาย และได้ทดลองการเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์คนละชนิดจาก 4 เครือข่ายเข้าหากันเป็นครั้งแรก คือ 1)มหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย ลองแองเจอลิส 2)สถาบันวิจัยสแตนฟอร์ด 3)มหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย ซานตาบาบาร่า และ4)มหาวิทยาลัยยูทาห์ เครือข่ายทดลองประสบความสำเร็จอย่างมาก ดังนั้นในปีค.ศ.1975(พ.ศ.2518) จึงได้เปลี่ยนจากเครือข่ายทดลอง เป็นเครือข่ายที่ใช้งานจริง ซึ่งดาป้าเน็ตได้โอนหน้าที่รับผิดชอบให้แก่หน่วยการสื่อสารของกองทัพสหรัฐ (Defense Communications Agency - ปัจจุบันคือ Defense Informations Systems Agency) แต่ในปัจจุบันอินเทอร์เน็ตมีคณะทำงานที่รับผิดชอบบริหารเครือข่ายโดยรวม เช่น ISOC (Internet Society) ดูแลวัตถุประสงค์หลัก, IAB (Internet Architecture Board) พิจารณาอนุมัติมาตรฐานใหม่ในอินเทอร์เน็ต, IETF (Internet Engineering Task Force) พัฒนามาตรฐานที่ใช้กับอินเทอร์เน็ต ซึ่งเป็นการทำงานโดยอาสาสมัครทั้งสิ้น
    ค.ศ.1983 (พ.ศ.2526) ดาป้าเน็ตตัดสินใจนำ TCP/IP (Transmission Control Protocal/Internet Protocal) มาใช้กับเครื่องคอมพิวเตอร์ทุกเครื่องในระบบ จึงเป็นมาตรฐานของวิธีการติดต่อ ในระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ตมาจนถึงปัจจุบัน เพราะ TCP/IP เป็นข้อกำหนดที่ทำให้คอมพิวเตอร์ทุกเครื่องในโลกสื่อสารด้วยความเข้าใจบนมาตรฐานเดียวกัน
    ค.ศ.1980 (พ.ศ.2523) ดาป้าเน็ตได้มอบหน้าที่รับผิดชอบการดูแลระบบอินเทอร์เน็ตให้มูลนิธิวิทยาศาสตร์แห่งชาติ (National Science Foundation - NSF) ร่วมกับอีกหลายหน่วยงาน
    ค.ศ.1986 (พ.ศ.2529) เริ่มใช้การกำหนดโดเมนเนม (Domain Name) เป็นการสร้างฐานข้อมูลแบบกระจาย (Distribution Database) อยู่ในแต่ละเครือข่าย และให้ ISP(Internet Service Provider) ช่วยจัดทำฐานข้อมูลของตนเอง จึงไม่จำเป็นต้องมีฐานข้อมูลแบบรวมศูนย์เหมือนแต่ก่อน เช่น การเรียกเว็บไซต์ www.nation.ac.th จะไปที่ตรวจสอบว่ามีชื่อนี้ในเครื่องบริการโดเมนเนมหรือไม่ ถ้ามีก็จะตอบกับมาเป็นหมายเลขไอพี ถ้าไม่มีก็จะค้นหาจากเครื่องบริการโดเมนเนมที่ทำหน้าที่แปลชื่ออื่น สำหรับชื่อที่ลงท้ายด้วย .th มีเครื่องบริการที่ thnic.co.th ซึ่งมีฐานข้อมูลของโดเมนเนมที่ลงท้ายด้วย th ทั้งหมด
    ค.ศ.1991 (พ.ศ.2534) ทิม เบอร์เนอร์ส ลี (Tim Berners-Lee) แห่งศูนย์วิจัย CERN ได้คิดค้นระบบไฮเปอร์เท็กซ์ขึ้น สามารถเปิดด้วย เว็บเบราวเซอร์ (Web Browser) ตัวแรกมีชื่อว่า WWW (World Wide Web) แต่เว็บไซต์ได้รับความนิยมอย่างจริงจัง เมื่อศูนย์วิจัย NCSA ของมหาวิทยาลัยอิลลินอยส์เออร์แบน่าแชมเปญจ์ สหรัฐอเมริกา ได้คิดโปรแกรม MOSAIC (โมเสค) โดย Marc Andreessen ซึ่งเป็นเว็บเบราว์เซอร์ระบบกราฟิก หลังจากนั้นทีมงานที่ทำโมเสคก็ได้ออกไปเปิดบริษัทเน็ตสเคป (Browser Timelines: Lynx 1993, Mosaic 1993, Netscape 1994, Opera 1994, IE 1995, Mac IE 1996, Mozilla 1999, Chimera 2002, Phoenix 2002, Camino 2003, Firebird 2003, Safari 2003, MyIE2 2003, Maxthon 2003, Firefox 2004, Seamonkey 2005, Netsurf 2007, Chrome 2008)
    ในความเป็นจริงไม่มีใครเป็นเจ้าของอินเทอร์เน็ต และไม่มีใครมีสิทธิขาดแต่เพียงผู้เดียว ในการกำหนดมาตรฐานใหม่ ผู้ติดสิน ผู้เสนอ ผู้ทดสอบ ผู้กำหนดมาตรฐานก็คือผู้ใช้ที่กระจายอยู่ทั่วทุกมุมโลก ก่อนประกาศเป็นมาตรฐานต้องมีการทดลองใช้มาตรฐานเหล่านั้นก่อน ส่วนมาตรฐานเดิมที่เป็นพื้นฐานของระบบ เช่น TCP/IP หรือ Domain Name ก็จะยึดตามนั้นต่อไป เพราะอินเทอร์เน็ตเป็นระบบกระจายฐานข้อมูล การจะเปลี่ยนแปลงข้อมูลพื้นฐานอาจต้องใช้เวลา
ประโยชน์ของอินเทอร์เน็ต
เพื่อให้เข้าใจประโยชน์ของอินเทอร์เน็ต
    1. การติดต่อสื่อสาร (Communication)
    ประโยชน์ด้านการติดต่อสื่อสาร คือ การทำให้คนสองคน หรือหลายคนสื่อสารกันได้โดยง่าย ใช้สื่อที่มีทั้งภาพ เสียง วิดีโอ การไลฟ์สดและแบ่งปันคลิปวิดีโอ การถ่ายทอดเสียง ทำอัลบั้มภาพ แบ่งปันสาระผ่านบล็อก ข้อมูลสารสนเทศผ่านเว็บไซต์องค์กร โพสต์ชีวิตในเฟซบุ๊ก ไอจี ยูทูป หรือติ๊กตอก จนพัฒนาไปถึงการสอนออนไลน์ ประชุมออนไลน์จนกลายเป็นเรื่องปกติในปัจจุบัน
    2. การศึกษา (Education) ประโยชน์ด้านการศึกษา คือ ทำให้นักเรียน นิสิต นักศึกษา นักวิจัย ผู้เรียน ผู้สอน และประชาชนสามารถเรียนรู้ด้วยตนเอง เข้าถึงสื่อ สืบค้นข้อมูล สร้างสื่อออนไลน์มีรูปแบบที่หลากหลายและแบ่งปัน ครูและนักเรียนสื่อสารกัน รับส่งเอกสาร แลกเปลี่ยนเรียนรู้ จัดประชุมวิชาการผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ต เข้าถึงฐานข้อมูลด้านการศึกษาได้ทั่วโลก
    3. การค้า (Commerce)
    ประโยชน์ด้านการค้า คือ ผู้ซื้อ และผู้ขายพบกันได้ง่ายขึ้น ต้องการอาหารก็กดสั่ง food panda หรือ grab food ต้องการซื้อขายข้าวแกง ไม้จิ้มฟันยันเรือรบก็ใช้บริการผ่านแอปพลิเคชันที่ใครก็ทำได้ โพสต์ขายในสื่อสังคมในกลุ่มหรือขายให้เพื่อนก็สะดวก มีระบบชำระเงิน ระบบขนส่งสินค้าเชื่อมโยงกับ lazada หรือ shopee ทำให้มีลูกค้าสั่งซื้อได้จากทั่วโลก รองรับทั้ง C2C จนถึง G2C
    4. ความบันเทิง (Entertainment)
    ประโยชน์ด้านความบันเทิง คือ การสนองความต้องการในรูปแบบต่าง ๆ เช่น เพลง ภาพยนตร์ ภาพถ่าย เกม ข้อมูล โปรแกรม รองรับการมีปฏิสัมพันธ์ สร้างตัวตนในโลกเสมือนจริง พร้อมการพัฒนาอุปกรณ์ที่รองรับความเสมือนจริงเหล่านั้น ทั้งเทคโนโลยี โลกเสมือนจริง (VR = Virtual Reality) การรวมสภาพแวดล้อมจริงกับวัตถุเสมือน (AR = Augmented Reality) และการผสมผสานระหว่างวัตถุเสมือนจริงเข้ากับโลกแห่งความเป็นจริง (MR = Mixed Reality)
ประโยชน์ของอินเทอร์เน็ตทางการศึกษา
เพื่อให้เข้าใจประโยชน์ของอินเทอร์เน็ตทางการศึกษา
    1. ประโยชน์ของอินเทอร์เน็ตที่มีต่อผู้เรียน
    1.1 การศึกษาวัฒนธรรมที่หลากหลาย
    1.2 เรียนรู้ประสบการณ์จากสภาพที่เป็นจริง เข้าถึงข้อมูลจริง เช่น ภูมิปัญญา
    1.3 การเพิ่มทักษะการคิดอย่างมีระบบ
    1.4 สร้างแรงจูงใจให้มีทักษะในการเขียน มีกิจกรรมห้องเรียนกลับหัว
    2. ประโยชน์ของอินเทอร์เน็ตที่มีต่อผู้สอน
    2.1 การสอนแบบร่วมมือ (collaborative)
    2.2 กลยุทธ์การสอนที่หลากหลาย
    2.3 พัฒนาหลักสูตร
    3. ประโยชน์ที่มีต่อผู้เชี่ยวชาญการผลิตสื่อ
    3.1 แหล่งข้อมูลความรู้ เหมือนย่อโลกไว้ในจอคอมฯ
    3.2 ข้อมูลที่ทันสมัย ติดต่อ ตรวจสอบข้อมูลได้ทันที
    3.3 การพบปะกับสมาชิก
    4. ประโยชน์ที่มีต่อเจ้าหน้าที่
    4.1 การจัดการเอกสาร ประหยัดงบประมาณ
    4.2 การสื่อสารภายนอกองค์กร
    5. ประโยชน์ของอินเทอร์เน็ตที่มีต่อการสื่อสาร
    5.1 การสื่อสารกับโรงเรียน กับผู้ปกครอง และครู
    5.2 กิจกรรมการสื่อสารของผู้เรียน กับภูมิปัญญาท้องถิ่น ปราชญ์ชาวบ้าน หรือผู้สูงอายุ
อีคอมเมิร์ซ
เพื่อให้เข้าใจอีคอมเมิร์ซ
    - พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ คือ การดำเนินธุรกิจ โดยใช้สื่ออิเล็กทรอนิกส์ (ECRC Thailand,1999)
    - พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ คือ การผลิต การกระจาย การตลาด การขาย หรือการขนส่งผลิตภัณฑ์ และบริการโดยใช้สื่ออิเล็กทรอนิกส์ (WTO,1998)
    - พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ คือ ขบวนการที่ใช้วิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์ เพื่อทำธุรกิจที่จะบรรลุเป้าหมายขององค์กร พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ใช้เทคโนโลยีประเภทต่าง ๆ และตรอบคลุมรูปแบบทางการเงินทั้งหลาย เช่น ธนาคารอิเล็กทรอนิกส์, การค้าอิเล็กทรอนิกส์, อีดีไอหรือการแลกเปลี่ยนข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์, ไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์, โทรสาร, คะตะล้อกอิเล็กทรอนิกส์, การประชุมทางไกล และรูปแบบต่าง ๆ ที่เป็นข้อมูลระหว่างองค์กร (ESCAP,1998)
    - พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ คือ ธุรกรรมทุกรูปแบบที่เกี่ยวข้องกับกิจกรรมเชิงพาณิชย์ ทั้งในระดับองค์กร และส่วนบุคคล บนพื้นฐานของการประมวล และการส่งข้อมูลดิจิทัล ที่มีทั้งข้อความ เสียง และภาพ (OECD,1997)
    - พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ คือ การทำธุรกิจทางอิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งขึ้นอยู่กับการประมวล และการส่งข้อมูลที่มีข้อความ เสียง และภาพ ประเภทของพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ รวมถึงการขายสินค้า และบริการด้วยสื่ออิเล็กทรอนิกส์, การขนส่งผลิตภัณฑ์ที่เป็นเนื้อหาข้อมูลแบบดิจิทัลในระบบออนไลน์, การโอนเงินแบบอิเล็กทรอนิกส์, การจำหน่วยหุ้นทางอิเล็กทรอนิกส์, การประมูล, การออกแบบทางวิศวกรรมร่วมกัน, การจัดซื้อจัดจ้างของภาครัฐ, การขายตรง, การให้บริการหลังการขาย ทั้งนี้ใช้กับสินค้า (เช่น สินค้าบริโภค, อุปกรณ์ทางการแพทย์) และบริการ (เช่น บริการขายข้อมูล, บริการด้านการเงิน, บริการด้าน กฎหมาย) รวมทั้งกิจการทั่วไป (เช่น สาธารณสุข, การศึกษา, ศูนย์การค้าเสมือน (Virtual Mall) (European union,1997)
    + http://www.thaiall.com/article/ecommerce.htm
    + https://www.lazada.co.th/shop/kbj246/
    + https://shopee.co.th/kbj246
    ประเภทของพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ #
    1. B2B (Business to Business)
    2. B2C (Business to Consumer)
    3. C2C (Consumer to Consumer)
    4. C2B (Consumer to Business)
    5. B2G (Business to Government)
    6. G2C (Government to Consumer)
    องค์ประกอบของระบบอีคอมเมิร์ซ #
    1. สินค้า (Product)
    สินค้า คือ สิ่งแรกที่ต้องมีและเป็นองค์ประกอบที่สำคัญที่จะทำให้ธุรกิจประสบความสำเร็จ เพราะสินค้าที่เป็นความต้องการของผู้ซื้อและสังคม ย่อมขายได้ง่าย มีราคาสูง ดังนั้นผู้ประกอบธุรกิจจึงต้องศึกษา ค้นคว้า ผลิตสินค้าจากการพัฒนาเชิงนวัตกรรม เพื่อให้ได้สินค้าที่ดีมีคุณภาพออกสู่ตลาด แต่ถ้าสินค้ามีดีเฉพาะในมุมมองของผู้ขายเพียงฝ่ายเดียว ไม่ใช่สิ่งที่ลูกค้ากลุ่มเป้าหมายต้องการ สิ่งนั้นอาจขายไม่ได้ การประกอบธุรกิจก็จะไม่บรรลุเป้าหมายตามแผนที่วางไว้
    2. เว็บไซต์ (Website)
    ช่องทางการจัดจำหน่ายที่แต่เดิมนั้น ต้องมีหน้าร้านอยู่ในทำเลที่ดี ในห้างสรรพสินค้า ในตลาดสด หรือทำเลทองกลางใจเมือง จึงจะขายสินค้าให้กลุ่มลูกค้าในบริเวณนั้นได้ แต่ปัจจุบันผู้ขายสามารถเปิดหน้าร้านออนไลน์ ที่ลูกค้าคือผู้ใช้อินเทอร์เน็ตจากทั่วโลก สามารถเข้าถึงและสั่งซื้อได้จากทุกที่ ทุกเวลา ดังนั้นข้อมูลสินค้าที่มีมากเพียงพอ มีช่องทางหลากหลาย ทั้งในสื่อสังคม เว็บไซต์ ระบบอีคอมเมอร์ซ โทรศัพท์ แชท หรือไลฟ์สด ที่สร้างความน่าเชื่อถือ สดใหม่ ย้อนไปอ่านความคิดเห็นชื่นชม (Review) ของลูกค้าเก่าได้ จะช่วยให้ลูกค้าใหม่ตัดสินใจได้ง่าย ซึ่งผู้จำหน่ายสินค้าในปัจจุบันจะพยายามใช้ทุกช่องทางที่เป็นไปได้ อาจมีทั้งร้านค้าออฟไลน์และออนไลน์ไปพร้อมกัน
    3. การโฆษณาประชาสัมพันธ์ (Promote/Advertising)
    การทำให้ลูกค้าได้รู้จักสินค้าและบริการมีวิธีการอยู่มากมาย อาทิ ติดป้ายไวนิล ป้ายบิวบอร์ดตามมุมถนน ติดป้ายบนรถไฟฟ้า ยืนแจกใบปลิวตามมุมถนน ลงโฆษณาทั้งทางตรงหรือแอบแฝงไปกับหนังสือพิมพ์ นิตยสาร วิทยุ โทรทัศน์ หรือผ่าน Net Idol, Influencer การโฆษณากับ facebook, google, youtube หรือจ้างบริษัทที่ปรึกษามาวางแผนโฆษณาประชาสัมพันธ์เป็นวิธีการที่ส่งข้อมูลสินค้าถึงกลุ่มเป้าหมายอย่างได้ผล
    4. ลูกค้า (Customer)
    ลูกค้าคือใคร เป็นคำถามที่สำคัญที่สุดในการทำธุรกิจ แม้จะเปิดหน้าร้านก็ต้องเปิดให้ใกล้กับกลุ่มลูกค้าที่จะมาใช้บริการ เช่น หน้าโรงงาน ข้างโรงเรียน หรือติดกับส่วนราชการ ถ้าเปิดขายผ่านระบบอีคอมเมอร์ซ หรือสื่อสังคม ก็ต้องทราบว่าลูกค้าจะเข้าถึงสินค้าได้อย่างไร อาจโพสต์ขายสินค้าตามกลุ่มที่สัมพันธ์กับสินค้า อาจต้องจ่ายเงินค่าโฆษณาสินค้าที่ต้องกำหนดอายุ เพศ ประเทศ และช่วงเวลาที่ลูกค้าจะได้เห็นโฆษณา เช่น ขายชุดว่ายน้ำสตรีก็ควรเลือกเพศหญิง อายุไม่น้อยและไม่มากเกินไป
    5. การชำระเงิน (Payment)
    ทั้งหน้าร้านออนไลน์ และหน้าร้านออฟไลน์ต้องสามารถรับชำระค่าสินค้าจากลูกค้าได้หลายวิธี เช่น ร้านกาแฟรับชำระจากโครงการคนละครึ่ง เปิดร้านขายของชำก็ต้องรับชำระจากบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ รับบัตรเครดิต บัตรเดบิต รับโอนเงินจากแอปพลิเคชัน ขายของออนไลน์ก็ต้องเชื่อมกับระบบรับชำระเงินที่บริการโดยสถาบันการเงิน พบว่าบางธุรกิจเปิดรับชำระค่าสินค้าด้วยเงินคริปโต
    6. การขนส่ง (Logistic)
    เดิมระบบขนส่งสินค้ามีเพียงบริษัทขนส่งเพียงไม่กี่ราย เช่น บริษัทไปรษณีย์ไทย รถทัวร์ รถไฟ หรือบริษัทขนส่งดั่งเดิม ปัจจุบันมีระบบขนส่งสินค้าเอกชนในประเทศมากมายที่เติบโตอย่างรวดเร็ว เช่น Kerry Express, Flash Express, J&T, Nim Express และมีบริการเสริมที่เกิดขึ้นอีกมาก อาทิ รับสินค้าถึงบ้าน, Dropship, Dropoff หรือ COD ซึ่งการซื้อขายสินค้าจากต่างประเทศมีบริษัทให้บริการแบบ B2B โดยเฉพาะสั่งซื้อสินค้าจากจีนผ่านระบบคลังสินค้า เช่น Ttpcargo.com ที่มีบริการควบวงจร
    7. ผู้ดูแล (Administrator)
    การเชื่อมองค์ประกอบทุกอย่างเข้ามาเป็นระบบ เพื่ออำนวยความสะดวกให้กับผู้ซื้อ ผู้ขาย บริษัทขนส่ง สถาบันการเงิน และคลังสินค้า จำเป็นต้องมีผู้ดูแลระบบที่มีความรู้ ความเข้าใจ และความชำนาญมาพัฒนาระบบเทคโนโลยี ทั้งด้านระบบฐานข้อมูล การเขียนโค้ด เครื่องบริการ ระบบเครือข่าย และเทคโนโลยีสมัยใหม่ เพื่อให้ระบบขับเคลื่อนอัตโนมัติมากที่สุด ซึ่งแบ่งตามลักษณะการพัฒนาระบบได้หลายแบบ ได้แก่ 1) ระบบในองค์กรที่พัฒนาแบบ in house development เช่น บริษัทรถยนต์ บริษัทอหังสาริมทรัพย์ สนามกอล์ฟ ระบบมหาวิทยาลัย 2) ระบบสำเร็จรูปที่ใช้ร่วมกันทั่วโลก เช่น Amazon, Ebay, Alibaba, Lazada, Shopee, Google play, Play store เป็นต้น 3) ระบบเอาท์ซอร์ทมีตัวอย่างระบบจัดการร้านค้าออนไลน์ของไทย เช่น fillgoods.co หรือ ifelse.co หรือ Software house เป็นต้น หรือ 4) ระบบโอเพนท์ซอร์ท เช่น Woocommerce บน Wordpress หรือ Virtualmart บน Joomla หรือ Bagisto บน Laravel เป็นต้น
    โครงสร้างพื้นฐานของพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ #
    1. การบริการทั่วไปแก่ลูกค้าและสมาชิก
    2. ช่องทางการติดต่อสื่อสาร
    3. รูปแบบของเนื้อหา
    4. ระบบเครือข่าย
    5. ส่วนประสานกับผู้ใช้
    ต.ย.โพสต์ผ้าขาวม้า
    ต.ย.มิลค์ รัญชิดา ขายของครีมออนไลน์
    ต.ย.ยายแอ๋ว ไลฟ์สดขายเสื้อ
อีเลินนิ่ง
เพื่อให้เข้าใจอีเลินนิ่ง
    ความหมายของอีเลินนิ่ง หรือ อีเลิร์นนิ่ง (e-Learning) ถูกตีความต่างกันไปตามประสบการณ์ของแต่ละคน แต่มีส่วนที่เหมือนกัน คือ ใช้เทคโนโลยีเป็นเครื่องมือในการเรียนรู้ โดยมีการพัฒนา และความก้าวหน้าของเทคโนโลยีตลอดเวลา
    #1 อีเลิร์นนิ่ง คือ การเรียนรู้ผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์
    #2 อีเลิร์นนิ่ง คือ การใช้เทคโนโลยี โดยเฉพาะอินเทอร์เน็ตเข้ามาส่งเสริมการเรียน การสอน ให้เกิดประสิทธิผล คำที่มีความหมายใกล้เคียงกับอีเลิร์นนิ่ง เช่น คอมพิวเตอร์ช่วยสอน (CAI = Computer Assisted Instruction) หรือ การสอนโดยใช้เว็บเป็นฐาน (WBI = Web-based Instruction) หรือ การเรียนรู้โดยใช้เว็บเป็นฐาน (Web-based Learning)
    /e-learning/
    /classes/36157
    องค์ประกอบของ e-Learning #
    1. เนื้อหาบทเรียน (Content)
    การจัดการเรียนการสอน ต้องมีเนื้อหาที่จะสอน ซึ่งเนื้อหาในระดับอุดมศึกษาที่ถูกมองว่าเป็นตลาดวิชา ที่ผู้เรียนสามารถเลือกเรียนได้อย่างหลากหลาย ไม่ถูกบังคับแบบหลักสูตรในระดับมัธยมศึกษา แต่ระดับอุดมศึกษามีกรอบมาตรฐานที่ถูกแบ่งเป็นระดับ ซึ่งทุกหลักสูตรต้องเริ่มจากผู้ทรงคุณวุฒิร่วมกันจัดทำให้มี มคอ.1 คือ มาตรฐานคุณวุฒิสาขาสำหรับในประเทศไทย มคอ.2 คือ เนื้อหารายละเอียดของหลักสูตรในสถาบันนั้น มคอ.3 คือ รายละเอียดของรายวิชานั้น เช่น ชื่อวิชา จำนวนหน่วยกิต คำอธิบายรายวิชา จุดดำจุดขาว แผนการสอนรายสัปดาห์รวมสิบห้าสัปดาห์ การวัดผล เอกสารประกอบการสอน เครื่องมือ และอุปกรณ์ที่ต้องใช้
    2. ระบบการบริหารการเรียน (LMS : Learning Management System)
    ระบบที่เปิดให้ผู้สอน และผู้เรียนมาพบกันแบบออนไลน์ โดยมีผู้ดูแลระบบช่วยสนับสนุนและควบคุมความเรียบร้อยภายในระบบ ทำให้ผู้สอนสามารถจัดการเรียนการสอนและวัดผลผู้เรียนรายบุคคลได้ เริ่มจากผู้สอนเข้ามากำหนดเนื้อหาแบ่งเป็นรายหัวข้อหรือสัปดาห์ อัพโหลดสื่อเอกสาร ภาพ คลิปวิดีโอ คลิปเสียงที่ผู้เรียนต้องใช้ในการเรียนรู้ สร้างข้อสอบเพื่อใช้วัดประเมินผลผู้เรียน กำหนดกิจกรรมการเรียนการสอน งานมอบหมาย การส่งงานการบ้าน การสอบย่อย การทดสอบก่อนเรียนหลังเรียน การสื่อสารรายบุคคล และรายกลุ่ม ซึ่งระบบอีเลินนิ่งที่ใช้กันมากในไทย คือ classstart.org ส่วน Open source ที่ถูกใช้กันทั่วโลก คือ มูเดิล (Moodle)
    3. การติดต่อสื่อสาร (Communication)
    การติดต่อสื่อสารระหว่างผู้สอนและผู้เรียนในระบบอีเลินนิ่งมีทั้งแบบสองทาง และทางเดียว ถ้าเป็นแบบทางเดียวก็จะใช้เว็บบอร์ด แชทรูม หรือการให้ความคิดเห็นย้อนกลับ (Feedback) หรือส่งข้อความรายบุคคล เมื่อมีการส่งการบ้าน งานมอบหมาย ถ้าเป็นแบบสองทางก็เป็นการสอนสด หรือประชุมออนไลน์ ซึ่งมีโปรแกรมสนับสนุนมากมาย เช่น zoom, meet, webex, yealink, facebook live
    4. การสอบหรือการประเมินผล (Evaluation)
    การประเมินผลด้วยการสอบ มีทั้งแบบปรนัย อัตนัย และสอบปฏิบัติ ซึ่งข้อสอบแบบสร้างสรรค์สามารถให้ทำแบบ Take home , Project, Research, Development ได้ ส่วนการใช้ข้อสอบกลางที่มีประเด็นเรื่องการควบคุมการสอบให้ทุกคนใช้เวลาและทรัพยากรที่เท่าเทียมกัน มีทั้งแบบที่เปิดให้ผู้เรียนควบคุมตัวเอง ฝึกรับผิดชอบตนเองแต่อยู่ในเวลาที่กำหนด และแบบจัดคุมสอบผ่านการเปิด sound และ webcam ของผู้เข้าสอบรายบุคคลในขณะสอบออนไลน์ ซึ่งข้อสอบแบบปรนัยจะสะดวกทุกฝ่ายสามารถเลือกแบบเฉลยพร้อมแจ้งผลคะแนนทันที หรือดาวน์โหลดมาตรวจภายหลัง ส่วนแบบอัตนัยนั้นมีทั้งแบบพิมพ์เข้าไปในระบบ หรือเขียนลงเอกสารแล้วถ่ายภาพคำตอบ แล้วอัพโหลดส่งเข้าไปในระบบ ซึ่งผลการสอบนั้นอาจกำหนดให้เข้ามาเรียนในระบบซ้ำแล้วซ้ำอีกจนกว่าจะผ่านการทดสอบ หรือการลงทะเบียนใหม่แล้วเริ่มต้นบทที่หนึ่งใหม่ ซึ่งนโยบายการสอบจะมีความหลากหลายขึ้นกับการบริหารจัดการในแต่ละสถาบัน
#7 การสืบค้นข้อมูล
แหล่งข้อมูล
เพื่อให้เข้าใจแหล่งข้อมูล
/search.htm
ารสืบค้นข้อมูล (Data Searching) คือ กระบวนการค้นหาข้อมูลที่ต้องการ โดยใช้เครื่องมือสืบค้นที่ผู้ให้บริการได้จัดทำขึ้น เพื่อค้นข้อมูลตามคำค้นจากผู้ให้บริการที่ได้รวบรวมข้อมูล และจัดเก็บอย่างเป็นระบบ เช่น สำนักหอสมุดมีตู้บัตรรายการหนังสือที่ระบุตำแหน่งชั้นเก็บหนังสือ กูเกิ้ลมีข้อมูลเว็บไซต์ที่พร้อมให้ถูกสืบค้นตามคำค้น ช้อปปี้มีรายการสินค้าที่พร้อมจำหน่าย เฟซบุ๊กมีรายชื่อเพื่อนของเรา ยูทูปมีคลิปวิดีโอ จูกซ์มีบริการสตรีมเพลงโดยบริษัทเทนเซ็นต์ เป็นต้น
    ประเภทของแหล่งข้อมูล [13]p.180
    1. แหล่งข้อมูลภายใน (Internal Resource)
    ค้นหาได้เฉพาะในระบบฐานข้อมูลขององค์กร
    2. แหล่งข้อมูลภายนอก (External Resource)
    ค้นหาจากระบบฐานข้อมูลเฉพาะกลุ่ม หรือระบบฐานข้อมูลสาธารณะ
    data_retrieval.pptx
    ข้อมูล [13]p.180
    คือ ข้อเท็จจริงที่มีการรวบรวมไว้ และมีความหมาย อาจเกี่ยวข้องกับคน สิ่งของ หรือเหตุการณ์อื่น ๆ ในการประมวลผลของคอมพิวเตอร์ นิยมใช้เป็นส่วนนำเข้าพื้นฐานเพื่อให้ได้สารสนเทศสำหรับช่วยตัดสินใจ และนำเอาไปใช้ประโยชน์อื่น ๆ ได้ตามต้องการ
    เช่น
    - คะแนนสอบเป็นข้อมูล แต่เกรดเป็นสารสนเทศ
    - เกรดแต่ละวิชาเป็นข้อมูล แต่รายงานผลการเรียนประจำภาคเป็นสารสนเทศ
    - เกรดเฉลี่ยแต่ละภาคเป็นข้อมูล แต่รายงานการพ้นสภาพเป็นสารสนเทศ
    - เกรดทั้งหมดเป็นข้อมูล แต่ Transcript และใบรับรองการสำเร็จการศึกษา เป็นสารสนเทศ
ผู้ให้บริการข้อมูล
เพื่อให้เข้าใจผู้ให้บริการข้อมูล
    เทคนิคการสืบค้นผ่าน google.com
    1. ข้อมูลการสืบค้นในอดีตของเรา http://www.google.com/history
    2. ค้นเฉพาะในเว็บไซต์ที่ระบุ เช่น อั้ม site:sanook.com พบ 327000 ไซต์
    3. ค้นตามประเภทไฟล์ เช่น information filetype:pptx พบ 2 ล้านกว่าไซต์
    4. ค้นเนื้อหาที่เกี่ยวข้อง เช่น related:thaiall.com/article/law.htm พบ 46 ไซต์
    5. ค้นหาภาพ หรือด้วยภาพ ที่ https://images.google.com/ เช่น แมว
    6. ค้นหาแผนที่ ที่ http://www.google.co.th/maps/ เช่น ลำปาง
    7. ค้นหาวิดีโอ ที่ https://www.google.co.th/?tbm=vid เช่น กสิกร
    8. ค้นหาข่าว ที่ https://www.google.co.th/?tbm=nws เช่น นายก
    9. ค้นหาหนังสือ ที่ https://www.google.co.th/?tbm=bks เช่น สวดมนต์
    10. ค้นด้วยวลี หรือกลุ่มคำ โดยใช้ Double quote เช่น "ทำดีได้ดี" ต่างกับ ทำดีได้ดี
    11. ช่วย ตรวจตัวสะกด เช่น "แมวว" หรือ "น่าราก"
    12. ใช้ พิมพ์เล็ก หรือพิมพ์ใหญ่ ไม่ต่างกัน เช่น "Thailand" หรือ "thailand" พบพันล้าน
    13. เครื่องหมาย @#%^*()=+[]\ ไม่สำคัญมากนัก
    เช่น @บุรินทร์ , #รุจจนพันธุ์ หรือ บุรินทร์ รุจจนพันธุ์
    14. เข้า Settings, Advanced Search จะมีหัวข้อให้เลือกค้นได้มากกว่า
การใช้เครื่องมือสืบค้นข้อมูล
เพื่อให้เข้าใจการใช้เครื่องมือสืบค้นข้อมูล
    สิ่งที่ต้องมีก่อนเริ่มต้นสืบค้นข้อมูล
    1. กำหนดวัตถุประสงค์การสืบค้น
    2. เลือกคำค้นที่เหมาะสม
    3. เลือกแหล่งข้อมูลที่ดี
    โจทย์ฝึกสืบค้นข้อมูลเกี่ยวกับตัวท่าน
    1. ค้นหา "ตัวตนของเรา" สรุปมาสั้น ๆ ว่าพบอะไร
    2. ค้นหา ว่าตนเอง ควรทำโครงงานจบ เรื่องอะไร
    3. ค้นหา ว่าจะเขียนโปรแกรมด้วยภาษาคอมพิวเตอร์ 1 ภาษา ใช้เวลาเท่าใด (อย่างช้า อย่างเร็ว)
    4. ค้นหา ว่าเป้าหมายความสุข ของท่านคืออะไร จำแนกเป็น อดีต ปัจจุบัน อนาคต วินาทีนี้
    5. ค้นหา ว่าข้อมูลของท่าน มีอะไรเป็น Hightlight บ้าง
    แหล่งสืบค้นข้อมูลห้องสมุด 12 แหล่ง (Goethe / Openlibrary / Globethics / ..)
ข้อมูลในสื่อสังคม
เพื่อให้เข้าใจข้อมูลในสื่อสังคม

senate_socialmedia.pdf
    ประเภทของสื่อสังคมออนไลน์ แบ่งตามการนำมาใช้
    1. Weblogs หรือ Blogs คือ สื่อส่วนบุคคลบนอินเทอร์เน็ตที่ใช้เผยแพร่ข้อมูล ข่าวสาร ความรู้ ข้อคิดเห็น บันทึกส่วนตัว โดยสามารถแบ่งปันให้บุคคลอื่นๆ โดยผู้รับสารสามารถเข้าไปอ่าน หรือแสดงความคิดเห็นเพิ่มเติมได้ ซึ่งการแสดงเนื้อหาของบล็อกนั้นจะเรียงลำดับจากเนื้อหาใหม่ไปสู่เนื้อหาเก่า ผู้เขียนและผู้อ่านสามารถค้นหาเนื้อหาย้อนหลังเพื่ออ่านและแก้ไขเพิ่มเติมได้
    2. Social Networking หรือเครือข่ายทางสังคมในอินเทอร์เน็ต คือ เครือข่ายทางสังคมที่ใช้สำหรับเชื่อมต่อระหว่างบุคคล กลุ่มบุคคล เพื่อให้เกิดเป็นกลุ่มสังคม (Social Community) เพื่อร่วมกันแลกเปลี่ยนและแบ่งปันข้อมูลระหว่างกันทั้งด้านธุรกิจ การเมือง การศึกษา
    3. Micro Blogging และ Micro Sharing หรือ บล็อกจิ๋ว คือ เว็บไซต์ที่ให้บริการแก่บุคคลทั่วไปสำหรับให้ผู้ใช้บริการเขียนข้อความสั้น ประมาณ 140 ตัวอักษร ที่เรียกว่า “Status” หรือ “Notice” เพื่อแสดงสถานะของตัวเองว่ากำลังทำอะไรอยู่ หรือแจ้งข่าวสารแก่กลุ่มเพื่อนในสังคมออนไลน์ (Online Social Network) ที่นิยมคือ Twitter
    4. Online Video คือ เว็บไซต์ที่ให้บริการวิดีโอออนไลน์โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย ซึ่งปัจจุบันได้รับความนิยมอย่างแพร่หลายและขยายตัวอย่างรวดเร็ว
    5. Photo Sharing คือ เว็บไซต์ที่เน้นให้บริการฝากรูปภาพโดยผู้ใช้บริการสามารถอัพโหลดและดาวน์โหลดรูปภาพ เพื่อนำมาใช้งานได้
    6. Wiki คือ เว็บไซต์ที่มีลักษณะเป็นแหล่งข้อมูลหรือความรู้ (Data/Knowledge) ซึ่งผู้เขียนอาจเป็นนักวิชาการ นักวิชาชีพหรือผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้าน ทั้งการเมือง เศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรม ซึ่งผู้ใช้สามารถเขียนหรือแก้ไขข้อมูลได้อย่างอิสระ
    7. Virtual Worlds คือ การสร้างโลกจินตนาการโดยจำลองส่วนหนึ่งของชีวิตลงไป จัดเป็นสื่อสังคมออนไลน์ที่บรรดาผู้ท่องโลกไซเบอร์ใช้เพื่อสื่อสารระหว่างกันบนอินเทอร์เน็ตในลักษณะโลกเสมือนจริง (Virtual Reality) ซึ่งผู้ที่จะเข้าไปใช้บริการอาจเป็นบริษัทหรือองค์การด้านธุรกิจ ด้านการศึกษา ปัจจุบันเว็บไซต์ที่ใช้หลัก Virtual Worlds ที่ได้รับความนิยม คือ Second life
    8. Crowd Sourcing มาจาก Crowd ฝูงชน และ Outsourcing ภายนอก คือ เว็บไซต์ที่มีหลักการที่ขอความร่วมมือจากเครือข่ายสังคมออนไลน์ โดยจัดทำในรูปของเว็บไซต์ที่มีวัตถุประสงค์ เพื่อค้นหาคำตอบและวิธีการแก้ปัญหาทั้งทางธุรกิจ การศึกษา รวมทั้งการสื่อสาร โดยดึงความร่วมมือจากเครือข่ายทางสังคมมาช่วยตรวจสอบข้อมูลเสนอความคิดเห็นหรือให้ข้อเสนอแนะ
    9. Podcasting หรือ Podcast มาจาก Pod กับ Broadcasting ซึ่ง POD = PersonalOn - Demand คือ อุปสงค์หรือความต้องการส่วนบุคคล ส่วน Broadcasting คือ การนำสื่อต่างๆ มารวมกันในรูปของภาพและเสียง อีกความหมายหนึ่ง Podcast คือ การบันทึกภาพและเสียงแล้วนำมาไว้ในเว็บเพจ (Web Page) เพื่อเผยแพร่ให้บุคคลทั่วไปที่สนใจได้ดาวน์โหลดไปใช้
    10. Discuss / Review / Opinion คือ เว็บบอร์ดที่ผู้ใช้อินเทอร์เน็ตสามารถแสดงความคิดเห็น เกี่ยวกับสินค้าหรือบริการ ประเด็นสาธารณะทางการเมือง เศรษฐกิจ สังคม เป็นต้น
    + https://sites.google.com/site/socialnetworkappfbigline/45
    พบเอกสารเผยแพร่ การใช้บริการสื่อสังคมออนไลน์ของภาครัฐ
    ชื่อ กลยุทธ์การประชาสัมพันธ์ผ่านสื่อสังคมออนไลน์ด้วยการใช้เฟซบุ๊ก (Facebook) โดย สำนักประชาสัมพันธ์ สำนักงานเลขาธิการวุฒิสภา ตามแนวทางการจัดการความรู้ของสำนักงานเลขาธิการวุฒิสภา ประจำปีงบประมาณ 2561 จำนวน 64 หน้า #senate.go.th
    1. พบเนื้อหาหน้า 21
    เนื้อหา (Content) หมายถึง เรื่องราวต่าง ๆ ที่องค์กรหรือหน่วยงานต้องการนําเสนอบนหน้าเพจเฟซบุ๊ก (Facebook) เพื่อสื่อไปยังกลุ่มเป้าหมายให้ได้รับทราบ รับรู้ให้ความสนใจ/ติดตาม และเข้ามามีส่วนร่วมอย่างต่อเนื่องกับกิจกรรมขององค์กร
    โดยแยกลักษณะได้ 10 ประเภท ดังนี้ 1) Corporate Movement and Information เป็นการสื่อสารความเคลื่อนไหวขององค์กร การสื่อสารเรื่องราวขององค์กรในด้านต่าง ๆ เช่น แนวทางการบริหาร วิสัยทัศน์ศักยภาพ ความรู้ความสามารถของผู้บริหารและพนักงาน รวมถึงการให้ข้อมูลข่าวสารขององค์กร 2) Corporate Positioning การบอกเล่าเรื่องราวขององค์กร การกล่าวถึงปริมาณงานความสําเร็จว่ามีมากน้อยเพียงใด 3) Executive Vision เป็นการแสดงวิสัยทัศน์ของผู้บริหาร การให้ความเห็น วิเคราะห์ บทบาทขององค์กรต่อสถานการณ์สภาวะแวดล้อมที่เกี่ยวข้องกับองค์กร เช่น บทความ บทสัมภาษณ์ความคิดเห็นเพื่อแสดงถึงประสิทธิภาพ ความรู้และความเชี่ยวชาญของผู้บริหารองค์กร 4) Service Value เป็นการแสดงการบริการ การบอกกล่าวหรืออธิบายความโดดเด่นของงานที่ทํา และงานบริการว่ามีอะไรบ้าง ให้แสดงถึงคุณค่า เช่น การให้ข้อมูลข่าวสารทางด้านกฎหมาย เป็นต้น 5) Communication for Engagement การสื่อสารข้อมูลเพื่อสร้างความผูกพันและความมั่นใจ การสร้างความสัมพันธ์ในระยะยาว รวมถึงหลักธรรมาภิบาลและความโปร่งใส 6) Data Research Service and Consultant การให้ข้อมูลข่าวสาร บทวิเคราะห์ และคําปรึกษา การบริการในเชิงวิชาการ เช่น ศูนย์ข้อมูล บทวิเคราะห์ผลการวิจัย โพล งานสรุปค้นคว้าที่เป็นประโยชน์ต่อประชาชน รายงานการวิจัย รวมถึงการปกป้องคุ้มครองสิทธิของประชาชน ตลอดจนการให้คําแนะนําที่เกี่ยวข้องต่าง ๆ 7) Corporate Agenda การแจ้งกําหนดการที่สําคัญขององค์กร การกําหนดกิจกรรมต่าง ๆ เช่น รายงานกิจกรรม การจัดประชุม การแถลงข่าว ทั้งด้านการบริหาร การบริการ และการจัดกิจกรรม 8) Corporate Connection การแสดงความก้าวหน้าทางเครือข่ายองค์กร ความก้าวหน้าการร่วมมือกับพันธมิตรกับองค์กรอื่น ๆ เช่น ข้อตกลงระหว่างหน่วยงานกับหน่วยงานต่าง ๆ เพื่อแสดงถึงความสําเร็จ ความคล่องตัว สร้างเครือข่ายและแสดงถึงประโยชน์ที่ได้รับ 9) Expert, Award, Ranking การแสดงให้เห็นถึงการยอมรับความเชี่ยวชาญ การสื่อสารเรื่องราวหรือประเด็นความรู้ความสามารถในเชิงกฎหมาย หรือคุณงามความดี เช่น การได้รับรางวัล การยอมรับในมาตรฐานการรองรับจากหน่วยงาน เป็นองค์กรที่มีความน่าเชื่อถือ เป็นต้น 10) Social Content เป็นการสื่อสารประเด็นทางสังคม สร้างการรับรู้และความเข้าใจ ให้กับผู้ที่เกี่ยวข้องในสิ่งที่องค์กรดําเนินการอยู่ เช่น การแสดงความรับผิดชอบต่อสังคม กิจกรรมขององค์กรเพื่อสังคม โดยมิใช่การโฆษณาประกาศความดีแต่เป็นการสร้างความตื่นตัว ไปยังผู้ที่เกี่ยวข้องให้พัฒนาไปพร้อม ๆ กับองค์กร สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ในการสร้างความชัดเจนในบทบาทและทิศทางขององค์กรต่อสังคม
    2. พบเนื้อหาหน้า 23
    1) สื่อสังคมออนไลน์ (Social Media) หมายถึง สังคมออนไลน์ที่มีผู้ใช้เป็นผู้สื่อสาร หรือเขียนเล่าเรื่องราว เนื้อหา ประสบการณ์ บทความ รูปภาพ และวีดิโอ ที่ผู้ใช้เขียนขึ้นเอง ทำขึ้นเอง หรือพบเจอจากสื่ออื่น ๆ แล้วนำมาแบ่งปันให้กับผู้อื่นที่อยู่ในเครือข่ยของตนผ่านทางเครือข่ายสังคมออนไลน์ (Social Network) ที่ให้บริการบนโลกออนไลน์ ปัจจุบันการสื่อสารแบบนี้จะทำผ่านทาง Internet และโทรศัพท์เคลื่อนที่เท่านั้น
    2) เครือข่ายสังคมออนไลน์ (Social network) หมายถึง เครือข่ายสังคมออนไลน์ หรือเป็นการบริการที่เชื่อมโยงคนหลายคนเข้าด้วยกัน โดยผ่านทางเครือข่ายอินเทอร์เน็ต ทุกคนสามารถติดต่อสื่อสารและรับทราบข้อมูลข่าวสารได้อย่างสะดวก รวดเร็ว
    3. พบเนื้อหาหน้า 24
    เปรียบเทียบข้อดีและข้อเสียของรูปแบบการใช้สื่อสังคมออนไลน์เพื่อการประชาสัมพันธ์
    ข้อดี มี 7 ข้อ ดังนี้ 1) สามารถแลกเปลี่ยนข้อมูลความรู้ในสิ่งที่สนใจร่วมกันได้ 2) สามารถเป็นคลังข้อมูลความรู้ขนาดย่อมเพราะสามารถเสนอแนะและแสดงความคิดเห็น แลกเปลี่ยนความรู้ซึ่งกันและกันได้หรือตั้งคําถามในเรื่องต่าง ๆ เพื่อให้บุคคลอื่นที่สนใจเข้ามาตอบหรือมีส่วนร่วมได้ 3) สามารถประหยัด ค่าใช้จ่ายในการติดต่อสื่อสารกับคนอื่น สะดวกและรวดเร็ว 4) เป็นสื่อในการนําเสนอผลงานของตัวเอง เช่น งานเขียน รูปภาพ วีดิโอต่าง ๆ เพื่อให้ผู้อื่นได้เข้ามารับชมและแสดงความคิดเห็น 5) สามารถใช้เป็น สื่อในการโฆษณาประชาสัมพันธ์หรือบริการลูกค้าสําหรับบริษัท และองค์กรต่าง ๆ ช่วยสร้างความเชื่อมั่นให้กับลูกค้าได้ 6) สามารถช่วยสร้างผลงานและรายได้ให้แก่ ผู้ใช้งาน เกิดการจ้างงานแบบใหม่ ๆ ขึ้น 7) สามารถสร้างความสัมพันธ์ที่ดีจากเพื่อนสู่เพื่อนได้
    ข้อเสีย มี 7 ข้อ ดังนี้
    1) ช่องทางการให้บริการบางแห่ง อาจจะเปิดเผยข้อ มูล ส่วนตัวมากเกินไป หากผู้ใช้บริการไม่ระมัดระวังในการกรอกข้อมูลอาจถูกผู้ไม่หวังดีนําไปใช้ในทางเสียหายหรือละเมิดสิทธิส่วนบุคคลได้ 2) เป็น สังคมออนไลน์ที่ก ว้าง หากผู้ใช้รู้เท่าไม่ถึงการณ์หรือขาดวิจารณญาณ อาจโดนหลอกลวงผ่านอินเทอร์เน็ต หรือการนัดหมายกันเพื่อจุดประสงค์ร้าย ตามที่เป็นข่าวตามหน้าหนังสือพิมพ์ 3) เป็นช่องทางในการถูกละเมิดลิขสิทธิ์ขโมยผลงาน หรือ ถูกแอบอ้าง เพราะ Social Network Service เป็นสื่อในการเผยแพร่ผลงาน รูปภาพต่าง ๆ ของผู้ใช้ให้บุคคลอื่นได้เห็นและแสดงความคิดเห็น 4) ข้อมูลที่ต้องกรอกเพื่อสมัครสมาชิก และแสดงบนเว็บไซต์ในรูปแบบ Social Network ยากแก่การตรวจสอบว่าเป็นความจริงหรือไม่ ดังนั้น อาจเกิดปัญหาเกี่ยวกับเว็บไซต์ที่กําหนดอายุการสมัครสมาชิกหรือการถูกหลอกโดยบุคคลที่ไม่มีตัวตนได้ 5) ผู้ใช้ที่เล่น Social Network และอยู่กับหน้าจอคอมพิวเตอร์เป็นเวลานานอาจทําให้สุขภาพและสายตาเสียได้ 6) ถ้าผู้ใช้หมกมุ่นและใช้เวลากับสื่อประเภทนี้มากเกินไปอาจทําให้เสียงานได้ 7) เป็นการเสียเวลาถ้าผู้ใช้ใช้อย่างไร้ประโยชน์
#8 ระบบสารสนเทศ
ความหมายของระบบ
เพื่อให้เข้าใจความหมายของระบบ
    ความหมายของระบบ (System) ตามพจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2525 #
    ได้ให้ความหมายไว้ว่า
    ระบบ คือ ระเบียบเกี่ยวกับการรวมสิ่งต่าง ๆ ซึ่งมีลักษณะซับซ้อนให้เข้าลำดับประสานเป็นอันเดียวกัน
    ตามหลักเหตุผลทางวิชาการ หรือหมายถึงปรากฏการณ์ทางธรรมชาติ ซึ่งมีความสัมพันธ์ ประสานเข้ากัน โดยกำหนดรวมเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน
    ระบบ คือ สิ่งที่ประกอบขึ้นมาจากหน่วยย่อยหรือองค์ประกอบย่อย
    ที่จะต้องมีความสัมพันธ์และทำหน้าที่ร่วมกัน เพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ที่กำหนดไว้ (จันทิมา ก๊งหวั่น : ออนไลน์)
    ระบบ คือ สิ่งที่เกี่ยวพันและสัมพันธ์ซึ่งกัน ซึ่งกำหนดวิธีการปฏิบัติให้เป็นเอกภาพ หรือ บรรลุวัตถุประสงค์ (Robbins, Bergman, Stagg, and Coulter)
    ระบบ คือ กลุ่มของสิ่งที่จัดระเบียบเข้าด้วยกันตามความเกี่ยวเนื่องที่สอดคล้องด้วยหลักวิชาการ หรือหลักธรรมชาติ
    ดังนั้น ระบบ จึงหมายถึง องค์ประกอบต่าง ๆ ที่มีความสัมพันธ์กัน หรือเป็นการรวมตัวของสิ่งหลายสิ่ง
    เพื่อความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน โดยส่วนประกอบต่าง ๆ ร่วมกันทำงานอย่างผสมผสานกัน เพื่อให้บรรลุถึงเป้าหมายที่กำหนดไว้
    ประเภทของระบบ
    ระบบ จำแนกออกเป็น 2 ประเภท
    1. ระบบเปิด (Open system)
    คือ ระบบที่ต้องอาศัยการติดต่อสัมพันธ์กับบุคคล องค์การ หรือหน่วยงาน อื่น ๆ
    ในลักษณะเป็นการแลกเปลี่ยนผลประโยชน์ซึ่งกันและกัน ถือเป็นการทำงานขององค์กรที่มีปฏิกิริยาตอบสนองต่อสภาพแวดล้อม
    มีการแลกเปลี่ยนข่าวสารข้อมูลกับสิ่งแวดล้อมภายนอก
    2. ระบบปิด (Close system)
    คือ ระบบที่ไม่ต้องสนองต่อสิ่งแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงไป หรือเป็น ระบบที่มีความสมบูรณ์ภายในตัวเอง
    ไม่พยายามผูกพันกับระบบอื่นใด และแยกตนเองออกจากสภาพแวดล้อมต่าง ๆ ในสังคม
องค์ประกอบของระบบสารสนเทศ
เพื่อให้เข้าใจองค์ประกอบของระบบสารสนเทศ
    1. ฮาร์ดแวร์ (Hardware)
    2. ซอฟต์แวร์ (Software)
    - ซอฟต์แวร์ประยุกต์ (Application Software) กับ ซอฟต์แวร์ระบบ (System Software)
    - ซอฟต์แวร์ระบบ (System Software) แบ่งได้เป็น ระบบปฏิบัติการ และโปรแกรมอรรถประโยชน์
    3. บุคลากร (People)
    4. ข้อมูล (Data)
    5. ระเบียบปฏิบัติการ (Procedure)
    องค์ประกอบของระบบคอมพิวเตอร์[13]p.48
    1. ฮาร์ดแวร์ (Hardware)
    2. ซอฟต์แวร์ (Software)
    3. บุคลากร (People)
    4. ข้อมูล/สารสนเทศ (Data/Information)
    การจัดหาซอฟต์แวร์มาใช้งาน [13]p.99
    1. แบบสำเร็จรูป (Packaged หรือ Ready-made software)
    2. แบบว่าจ้างทำ (Customized หรือ Tailor-made Software)
    3. แบบทดลองใช้ (Shareware)
    4. แบบใช้งานฟรี (Freeware)
    5. แบบโอเพ่นซอร์ส (Public-Domain/Open Source)
ระดับของผู้ใช้สารสนเทศ
เพื่อให้เข้าใจระดับของผู้ใช้สารสนเทศ
    1. ระดับสูง (Top Level Management)
    2. ระดับกลาง (Middle Level Management)
    3. ระดับต่ำ (Operational Level Management)
ประเภทของระบบสารสนเทศ
เพื่อให้เข้าใจประเภทของระบบสารสนเทศ
    1. ระบบประมวลผลธุรกิจ (Transaction Processing Sysem : TPS)
    2. ระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการ (Management Information System : MIS)
    3. ระบบสนับสนุนการตัดสินใจ (Decision Support System : DSS)
    4. ระบบสารสนเทศเพื่อผู้บริหาร (Executive Information System :EIS)
    5. ระบบสำนักงานอัตโนมัติ (Office Automation System : OAS)
    6. ระบบผู้เชี่ยวชาญ (Expert System : ES)
ระบบสารสนเทศกับงานธุรกิจ
เพื่อให้เข้าใจระบบสารสนเทศกับงานธุรกิจ
    ระบบสารสนเทศกับงานธุรกิจ
    1. ระบบสารสนเทศด้านการบัญชี (Accounting Information System)
    1.1 ระบบบัญชีทางการเงิน (Financial Accounting System)
    1.2 ระบบบัญชีผู้บริหาร (Managerial Accounting System)
    2. ระบบสารสนเทศด้านการเงิน (Financial Information System)
    2.1 การพยากรณ์ (Forecast)
    2.2 การจัดการด้านการเงิน (Financial Management)
    2.3 การควบคุมทางการเงิน (Financial Control)
    2.3.1 การควบคุมภายใน (Internal Control)
    2.3.2 การควบคุมภายนอก (External Control)
    3. ระบบสารสนเทศด้านการตลาด (Marketing Information System)
    3.1 ระบบสารสนเทศสำหรับการขาย
    3.2 ระบบสารสนเทศสำหรับการวิจัยตลาด
    3.3 ระบบสารสนเทศสำหรับการส่งเสริมการขาย
    3.4 ระบบสารสนเทศสำหรับการพัฒนาผลิตภัณฑ์และการบริการ
    3.5 ระบบสารสนเทศสำหรับการพยากรณ์การขาย
    3.6 ระบบสารสนเทศสำหรับการวางแผนกำไร
    3.7 ระบบสารสนเทศสำหรับการกำหนดราคา
    3.8 ระบบสารสนเทศสำหรับการควบคุมค่าใช้จ่าย
    4. ระบบสารสนเทศด้านการผลิตและการดำเนินงาน (Production and Operations Information System)
    5. ระบบสารสนเทศด้านทรัพยากรบุคคล (Human Resource Information System)
    การเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นกับองค์กรเมื่อมีการนำเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้ (Changing in organization)
    1. เพิ่มผลผลิต ลดต้นทุน และเพิ่มประสิทธิภาพ (Effectiveness & Efficiently)
    2. เปลี่ยนรูปแบบการบริการเป็นแบบกระจาย (Distribution)
    3. ใช้ประมวลผลในหน่วยงาน (Data Processing)
    4. เชื่อมโยงพฤติกรรมของคนทุกระดับ (Human behavior)
    ประโยชน์ของเทคโนโลยีสารสนเทศต่อธุรกิจ (Advantage of information technology on Business) [11]p.62
    1. ลดความผิดพลาด (Reduce Mistake)
    2. ลดการใช้แรงงาน (Reduce Labor)
    3. ลดการสูญหายของข้อมูล (Reduce Data Loss)
    4. ตอบสนองเร็วขึ้น (Increase Response)
#9 ระบบฐานข้อมูล
ความหมายของระบบฐานข้อมูล
เพื่อให้เข้าใจความหมายของระบบฐานข้อมูล
    ระบบฐานข้อมูล (Database system) คือ การรวบรวมข้อมูลที่มีความสัมพันธ์กันมาเก็บไว้ในไฟล์เดียวกัน ส่วน DBMS (Database Management System) คือ ระบบการจัดการฐานข้อมูล ที่ใช้สร้างส่วนประกอบของฐานข้อมูล ทำให้สามารถนำเข้า (insert) แก้ไข (update) ลบออก (delete) และ เรียกข้อมูลคืน (select) จากฐานข้อมูล [12]p.68
    + A database is an organized collection of data. It is the collection of schemes, tables, queries, reports, views and other objects. The data is typically organized to model aspects of reality in a way that supports processes requiring information, such as modelling the availability of rooms in hotels in a way that supports finding a hotel with vacancies. https://en.wikipedia.org
ประโยชน์ของฐานข้อมูล
เพื่อให้เข้าใจประโยชน์ของฐานข้อมูล
    1. ลดความซ้ำซ้อน (Redundancy)
    2. เป็นศูนย์กลางเพื่อใช้ร่วมกัน (Accessibility)
    3. ถูกต้องตรงกัน (Integrity)
    4. ปรับปรุงข้อมูลได้ง่าย (Easy to Update)
    5. ควบคุมความปลอดภัยได้ง่าย (Security)
ลำดับชั้นของข้อมูล
เพื่อให้เข้าใจลำดับชั้นของข้อมูล
    การแบ่งลำดับชั้นของการจัดการข้อมูล (Hierarchy of Data) [13]p.182
    1. บิต (Bit)
    2. ไบต์ (Byte)
    3. ฟิลด์ (Field)
    4. เรคอร์ด (Record)
    5. ไฟล์ (File)
    6. ฐานข้อมูล (Database)
    การแบ่งลำดับชั้นของการจัดการข้อมูล
    1. บิต (Bit) คือ หน่วยข้อมูลที่เล็กที่สุดในลำดับชั้นข้อมูล เพื่อใช้จัดเก็บข้อมูลในระบบคอมพิวเตอร์ ซึ่งเป็นเลขฐานสอง ที่มี 2 สถานะคือ 0 หรือ 1
    2. ไบต์ (Byte) คือ กลุ่มของข้อมูลที่นำบิตมาเรียงต่อกันจำนวน 8 บิตเป็น 1 ไบต์ เพื่อใช้แทนรหัสข้อมูลหรืออักขระ ซึ่งเป็นตัวเลข ตัวอักษร หรือสัญลักษณ์ ใช้แทนข้อมูลต่างกันได้ 256 ตัว เช่น 10100001 คือ ก หรือ 10100010 คือ ข
    3. ฟิลด์ (Field) หรือ เขตข้อมูล คือ กลุ่มของอักขระหรือไบต์จำนวนหลายไบต์มาเรียงต่อกัน เป็นข้อความ ข้อมูล ตัวเลข เพื่อให้เกิดความหมายเฉพาะ เช่น เขตข้อมูลรหัส ชื่อ สกุล ที่อยู่ เบอร์โทรศัพท์ เพศ อายุ เงินเดือน
    4. เรคอร์ด (Record) หรือ ระเบียน คือ กลุ่มของเขตข้อมูลที่มีความสัมพันธ์กันรวมกันอย่างมีความหมายในแต่ละรายการ เช่น ระเบียนของพนักงานคนที่ 1 ที่ประกอบด้วย เขตข้อมูลรหัส ชื่อ สกุล ที่อยู่ เบอร์โทรศัพท์ เพศ อายุ เงินเดือน หากมีพนักงาน 100 คนก็จะมีข้อมูล 100 ระเบียน
    5. ไฟล์ (File) คือ กลุ่มของระเบียนข้อมูลที่มีความสัมพันธ์กันจัดเก็บรวมกัน ซึ่งแต่ละไฟล์จะมีความสมบูรณ์ในแต่ละไฟล์และมีคีย์หลักที่ทำให้แต่ละรายการมีความเฉพาะตนแตกต่างกันไป เช่น ไฟล์พนักงาน ไฟล์ลูกค้า ไฟล์สินค้า ไฟล์สั่งซื้อ
    6. ฐานข้อมูล (Database) คือ กลุ่มของไฟล์ที่มีความสัมพันธ์กันเชื่อมโยงผ่านคีย์หลักในแต่ละไฟล์ เป็นกลุ่มไฟล์สำหรับเรื่องนั้น เช่น ฐานข้อมูลธนาคาร ฐานข้อมูลร้านค้า ฐานข้อมูลพนักงาน ฐานข้อมูลโรงเรียน
    รูปแบบข้อมูล (Data type คือ ชนิดข้อมูลเป็นสิ่งจำเป็นพื้นฐานที่จะต้องกำหนดให้ถูกต้องกับความต้องการใช้งาน เพื่อให้ทำงานได้ตามวัตถุประสงค์ และมีประสิทธิภาพ ซึ่งภาษาโปรแกรมแต่ละภาษามีชนิดข้อมูลของตนเอง ระบบฐานข้อมูลจะมีชนิดข้อมูลที่หลากหลายรองรับการทำงานของภาษาต่าง ๆ การเลือกใช้ต้องพิจารณาวัตถุประสงค์และประสิทธิภาพในการใช้งาน เช่น เงินเดือนที่เก็บทศนิยม มักใช้ float สถานะ มักใช้ boolean ชื่อสกุล มักใช้ varchar เลขประจำตัว มักใช้ int เป็นต้น
    หน่วยวัดความจุข้อมูล [13]p.58
    1. Kilobyte = 2 ยกกำลัง 10 = 1,024 bytes
    2. Megabyte = 2 ยกกำลัง 100 = 1,048,576 bytes
    3. Gigabyte = 2 ยกกำลัง 1000 = 1,073,741,824 bytes
    4. Terabyte = 2 ยกกำลัง 10000 = 1,099,511,627,776 bytes
    IEC (International Electrotechnical Commission) กำหนดมาตรฐานการเรียกหน่วย เมื่อ ธันวาคม 2541 แยกหน่วยที่เป็นเลขฐาน 2 กับ ฐาน 10 แต่ส่วนใหญ่ก็นิยมเรียกแบบเดิม คือ KB = 1000 bytes และ KiB = 1024 byte หรือ MB = 1,000,000 bytes และ MiB = 1,048,576 bytes
    รหัสแอสกี (ASCII = American Standard Code for Information Interchange) [13]p.57
    เป็นรหัสมาตรฐานที่ใช้ในเครื่องคอมพิวเตอร์ทั่วไป 1 ไบต์เก็บอักขระได้สูงสุด 256 แบบ
    รหัสยูนิโค้ด (Unocode)
    เป็นรหัสมาตรฐานที่พัฒนาให้เกํบอักขระได้มากขึ้น รองรับชุดอักขระได้หลายภาษาทั่วโลก และพัฒนาเวอร์ชั่นอย่างต่อเนื่อง เข้ารหัสแบบ UTF-8 นิยมใช้ใน Linux ส่วน UTF-16 นิยมใช้ใน Windows
    UTF-8 ใช้ 1 Byte สำหรับตัวเลข อักขระไทยใช้ 3 Byte มี Header ขนาด 3 Byte เช่น EF BB BF - E0 B8 81 - 30 เก็บ "ก0" ใช้พื้นที่ 7 Byte ส่วน UTF-16 ใช้ 2 Byte เก็บทั้งตัวเลข และอักขระไทย มี Header ขนาด 2 Byte เช่น FF FE 01 0E 30 00 เก็บ "ก0" ใช้พื้นที่ 6 Byte
    ทั้ง 2 รูปแบบสามารถบันทึกด้วยโปรแกรม Notepad หรือ ส่งแฟ้มไปเปิดดูรหัสฐาน 16 ที่ hexed.it หรือเปิดด้วย DOSBOX
โครงสร้างของแฟ้มข้อมูล
เพื่อให้เข้าใจโครงสร้างของแฟ้มข้อมูล
    การจัดโครงสร้างของแฟ้มข้อมูล (File Organization) [13]p.185
    1. โครงสร้างของแฟ้มข้อมูลแบบเรียงลำดับ (Sequential File Structure)
    เช่น เทปแม่เหล็ก
    2. โครงสร้างของแฟ้มข้อมูลแบบสุ่ม (Direct/random File Structure)
    - แบบแฮชไฟล์ (Hash File) เห็นการคำนวณหาตำแหน่งแฟ้ม และบันทึกตามตำแหน่งนั้น
    - แบบดัชนี (Indexed File) สร้างแฟ้มดัชนี ที่ประกอบด้วย คีย์ของข้อมูล และตำแหน่งที่เก็บข้อมูล
    3. โครงสร้างของแฟ้มข้อมูลแบบลำดับเชิงดรรชนี (Index Sequential File Structure : ISAM)
    รวมความสามารถทั้งแบบสุ่ม และแบบเรียงลำดับ
    โดยเก็บข้อมูลเรียงเป็นลำดับ และบันทึกแบบสุ่ม เช่น การทำงานของฮาร์ดดิสก์
    ประเภทของแฟ้มข้อมูล (File Type)
    1. แฟ้มหลัก (Master File) คือ แฟ้มข้อมูลซึ่งเก็บข้อมูลที่สำคัญ เช่น แฟ้มข้อมูลประวัติลูกค้า (Customer master file) แฟ้มข้อมูลประวัติผู้จัดส่งสินค้า (Supplier master file) แฟ้มข้อมูลสินค้าคงเหลือ (Inventory master file)
    2. แฟ้มรายการเปลี่ยนแปลง (Transaction File) คือ แฟ้มที่บันทึกข้อมูลเกี่ยวกับแฟ้มข้อมูลหลักที่มีการเปลี่ยนแปลงในแต่ละวัน รายการที่เกิดขึ้นต้องนำไปปรับปรุงกับแฟ้มข้อมูลหลัก เช่น การเพิ่มรายการ (Insert) การลบรายการ (Delete) และการแก้ไขรายการ (Update)
คำสั่งที่ใช้ในการจัดการข้อมูล
เพื่อให้เข้าใจคำสั่งที่ใช้ในการจัดการข้อมูล
    Structured Query Language หรือ SQL คือคำสั่งบริหารจัดการฐานข้อมูล (Database) โดยเฉพาะ Relational Database Management System (RDBMS) เช่น Oracle, MySQL, Microsoft SQL Server, PostgreSQL, IBM DB2, Microsoft Access ซึ่งเราสามารถใช้ SQL command ในการสั่งการ หรือจัดการข้อมูลภายในฐานข้อมูลเหล่านี้ได้
    1. การเพิ่มข้อมูล (insert)
    2. การลบข้อมูล (delete)
    3. การปรับปรุงข้อมูล (update)
    4. การเลือกข้อมูล (select)
//update
$q  = “update member set stat=0 where id =5”;
$conn = new mysqli(“localhost”, “root”, “”, “test”);
$r = $conn->query($q);
if ($r) $_SESSION["msg"] = "edit : completely";
$conn->close();
//select
$conn = new mysqli(“localhost”, “root”, “”, “test”);
$r = $conn->query("select * from mem");
if(!$r) die(“no result”);
while ($o = $r->fetch_object()) {
  echo $o->id . $o->stat;
}
http://www.thaiall.com/source
วงจรชีวิตการพัฒนาระบบ
เพื่อให้เข้าใจวงจรชีวิตการพัฒนาระบบ
    วงจรชีวิตของการพัฒนาซอฟต์แวร์ (Software Development Life Cycle = SDLC) เป็นโครงร่างหรือแนวทางวิธีการ เพื่อใช้ทำความเข้าใจ เป็นขั้นตอนการพัฒนาระบบสารสนเทศ หรือซอฟต์แวร์ให้สำเร็จ โดยการได้มาซึ่งซอฟต์แวร์อาจจะเป็นโดยการซื้อหรือการจ้างทำหรือการพัฒนาเอง
    ระเบียบวิธีการพัฒนาซอฟต์แวร์มีอยู่หลายวิธีการ แต่ละวิธีการมีข้อดีและข้อเสียที่แตกต่างกัน ตัวอย่างระเบียบวิธีการพัฒนาซอฟต์แวร์ที่ได้รับความนิยม เช่น โครงสร้างแบบน้ำตก (Waterfall Model) โครงสร้างแบบก้นหอย (Spiral Model) วิธีการพัฒนาซอฟต์แวร์แบบคล่องแคล่วว่องไว (Agile Software Development)
    ขั้นตอนในวงจรชีวิตการพัฒนาระบบ
    1. การวางแผนโครงการ (Project Planning Phase)
    2. การวิเคราะห์ (Analysis Phase)
    3. การออกแบบ (Design Phase)
    4. การนำไปใช้ (Implementation Phase)
    5. การบำรุงรักษา (Maintenance Phase)
#10 ระบบสำนักงานอัตโนมัติ
ระบบสารสนเทศสำนักงาน
เพื่อให้เข้าใจระบบสารสนเทศสำนักงาน
    ไมโครซอฟท์ออฟฟิศ (Microsoft Office)
    1. Microsoft Access (เก็บตาราง ฟอร์ม โมดูล รายงาน)
    2. Microsoft Excel (กระดานคำนวณ)
    3. Microsoft InfoPath (ออกแบบฟอร์ม)
    4. Microsoft OneNote (บันทึก)
    5. Microsoft Outlook (รับ-ส่งเอกสาร)
    6. Microsoft Powerpoint (นำเสนอ)
    7. Microsoft Project (วางแผนโครงการ)
    8. Microsoft Publisher (จัดทำเอกสาร)
    9. Microsoft SharePoint Workspace (แบ่งปันเอกสารร่วมกัน)
    10. Microsoft Visio (เขียนแผนภูมิ)
    11. Microsoft Word (จัดทำรายงาน เขียนจดหมาย)
    12. Microsoft Office Standard (รวมโปรแกรม)
    แบบของระบบสารสนเทศสำนักงาน
    (Types of Office Automation System) [11]p.75
    1. ระบบจัดการเอกสาร (Document Management System)
    2. ระบบควบคุมและส่งผ่านข่าวสาร (Message-handling System)
    3. ระบบประชุมทางไกล (Teleconferencing)
    4. ระบบสนับสนุนการดำเนินงานในสำนักงาน (Office Support System)
MS Access
ใช้พัฒนาระบบฐานข้อมูล มีตารางข้อมูล แบบสอบถาม วัตถุคอนโทลในรายงาน ฟอร์ม มาโคร โมดูลด้วยเบสิก
MS Excel
ใช้สำหรับคำนวณข้อมูลในตารางและชีท แบ่งเป็น row และ column มีแผนภูมิ รูปภาพ ฟังก์ชันทางการเงิน มาโคร
MS InfoPath
ใช้ออกแบบฟอร์ม รวบรวมข้อมูลเข้าฐานข้อมูล เชื่อมระบบแบ่งปันเอกสารภายใน เว็บไซต์ และระบบข้อมูลอื่น
MS OneNote
ใช้เป็นสมุดบันทึก รวบรวมเรื่องราว จัดการรูปภาพ เสียง วิดีโอ สืบค้นง่าย เป็นหมวดหมู่ ใช้ร่วมกันในองค์กรได้
MS Outlook
ใช้จัดการกล่องจดหมาย รับส่งอีเมล รายชื่อผู้ติดต่อ ระบบปฏิทิน ตารางนัดหมาย การจดบันทึก การแจ้งเตือน
MS Powerpoint
ใช้นำเสนอสไลด์ประกอบการบรรยายเล่าเรื่อง มีรูปแบบ ภาพ เสียง แผนภูมิ การเคลื่อนไหว การเปลี่ยนสไลด์
MS Project
ใช้บริหารโครงการ ที่กำหนดตารางงาน มีกิจกรรม ช่วงเวลา งบประมาณ ทรัพยากร สถานะ ผู้รับผิดชอบ เชื่อมลิงก์ได้
MS Publisher
ใช้สร้างสิ่งพิมพ์ เพื่อสื่อสารได้สวยงาม เช่น วารสาร แผ่นพับ บัตรอวยพร จดหมายข่าว จดหมายเวียน
MS SharePoint
ระบบจัดการเนื้อหา แพลตฟอร์มเว็บแอปพลิเคชันช่วยองค์กรสร้างเว็บไซต์ ใช้แฟ้ม แบ่งปันพื้นที่ร่วมกัน
MS Visio
ใช้สร้างแผนภาพ แผนภูมิ โมเดลที่ช่วยแสดงแบบเป็นผังความคิด ผังระบบ ขั้นตอน การไหลข้อมูล เครือข่าย
MS Word
ใช้สำหรับการพิมพ์รายงาน เอกสาร จดหมาย เลขหน้า ภาพ แผนภูมิ ตาราง ลายน้ำ มีส่วนหัวและท้ายกระดาษ
MS Office
ชุดโปรแกรมสำนักงาน มีมาเป็นชุด ได้แก่ Word, Excel, Powerpoint, Access ที่ถ่ายโอนข้อมูลกันได้
งานเกี่ยวกับเอกสารในสำนักงาน
เพื่อให้เข้าใจงานเกี่ยวกับเอกสารในสำนักงาน
    1. ร่างเอกสาร (Draft)
    2. พิมพ์เอกสาร (Print)
    3. แก้ไขเอกสาร (Edit)
    4. เก็บเอกสาร (Store) (archive.org)
    5. ส่งเอกสาร (Send)
    6. ค้นเอกสาร (Retrieve)
Work from Home ถูกปรับใช้กับการทำงานในองค์กร และเกิดการดาวน์โหลดและใช้งานแอป เพื่อรองรับการประชุมแบบ WFH อย่างไม่ติดขัด * 20 มี.ค.2563
การแบ่งกลุ่มซอฟต์แวร์
เพื่อให้เข้าใจการแบ่งกลุ่มซอฟต์แวร์
    1. กลุ่มซอฟต์แวร์สำหรับงานด้านธุรกิจ (Business)
    - ซอฟต์แวร์ประมวลผลคำ (Word processing)
    - ซอฟต์แวร์ตารางคำนวณ (Spreadsheet)
    - ซอฟต์แวร์ฐานข้อมูล (Database)
    - ซอฟต์แวร์นำเสนองาน (Presentation)
    - ซอฟต์แวร์แบบกลุ่ม (Software Suite)
    - ซอฟต์แวร์สำหรับจัดการโครงการ (Project management)
    - ซอฟต์แวร์สำหรับงานบัญชี (Accounting)
    2. กลุ่มซอฟต์แวร์สำหรับงานด้านกราฟิกและมัลติมีเดีย (Graphic and Multimedia)
    - ซอฟต์แวร์สำหรับงานออกแบบ (CAD: Computer Aided Design)
    - ซอฟต์แวร์สำหรับสิ่งพิมพ์ (Desktop publishing)
    - ซอฟต์แวร์สำหรับตกแต่งภาพ (Paint/Image Editing)
    - ซอฟต์แวร์สำหรับการตัดต่อวิดีโอและเสียง (Video and Audio Editing)
    - ซอฟต์แวร์สำหรับสร้างสื่อมัลติมีเดีย (Multimedia Authoring)
    - ซอฟต์แวร์สำหรับสร้างเว็บเพจ (Webpage Authoring)
    3. กลุ่มซอฟต์แวร์สำหรับงานบนเว็บและการติดต่อสื่อสาร (Web and Communications)
    - ซอฟต์แวร์สำหรับจัดการอีเมล (Electronic mail software)
    - ซอฟต์แวร์สำหรับท่องเว็บ (Web browser)
    - ซอฟต์แวร์สำหรับจัดประชุมทางไกล (Video conference)
    - ซอฟต์แวร์สำหรับส่งข้อความด่วน (Instant messaging)
    - ซอฟต์แวร์สำหรับถ่ายโอนไฟล์ (File Transfer)
ไมโครซอฟต์เวิร์ด
เพื่อให้เข้าใจไมโครซอฟต์เวิร์ด
    ไมโครซอฟท์เวิร์ด (Microsoft Word) คือโปรแกรมประเภท word processor ที่ใช้เหมาะสำหรับการพิมพ์รายงาน พิมพ์จดหมาย หรือจะใช้สำหรับแต่งนิยายก็ยังได้ เป็นหนึ่งในโปรแกรม ไมโครซอฟท์ออฟฟิศ ซึ่งมีพัฒนาการอย่างต่อเนื่อง หลากหลายเวอร์ชั่น แต่อย่างไรก็ตาม โดยหลักการ ถ้าเราศึกษาไมโครซอฟท์เวิร์ดเวอร์ชั่นใดเวอร์ชั่นหนึ่ง เราก็จะสามารถเรียนรู้เวอร์ชั่นอื่นๆ ได้ค่อนข้างง่าย เพราะส่วนใหญ่เวอร์ชั่นใหม่ๆ ก็จะการเปลี่ยนแปลงในลักษณะเพิ่มเติมเสียมากกว่าการลบออกไป
    + http://www.technointrend.com
ไมโครซอฟต์พาวเวอร์พอยท์
เพื่อให้เข้าใจไมโครซอฟต์พาวเวอร์พอยท์
    ไมโครซอฟท์พาวเวอร์พอยท์ คือ โปรแกรมสำหรับทำพรีเซ็นเทชั่น เพื่อการนำเสนอข้อมูล เช่น นักศึกษาทำรายงานนำเสนอส่งอาจารย์ หรือพนักงานเสนอข้อมูลสินค้าและบริการกับผู้บริหารหรือลูกค้าโดยตรง
    + http://www.technointrend.com
ไมโครซอฟต์แอคเซล
เพื่อให้เข้าใจไมโครซอฟต์แอคเซล
    ไมโครซอฟท์เอ็กเซล (Microsoft Excel) คือ โปรแกรมหนึ่งในชุดโปรแกรม ไมโครซอฟท์ออฟฟิศ (Microsoft Office) ซึ่งเป็นโปรแกรมที่เน้นในเรื่องของการคำนวณ (สเปรตชีต) หน้าตาของโปรแกรมจะเป็นในรูปแบบตาราง มีการแบ่งเป็นช่อง ๆ เพื่อใช้สำหรับบันทึกข้อมูลตัวอักษร ตัวเลข หรือรูปภาพ สามารถประยุกต์ใช้กับระบบฐานข้อมูลได้ง่าย
    + http://www.technointrend.com
#11 ความปลอดภัย และจริยธรรมในการใช้งานเทคโนโลยีสารสนเทศ
ความหมายของคุณธรรมจริยธรรม
เพื่อให้เข้าใจความหมายของคุณธรรมจริยธรรม
    คุณธรรม (Moral) คือ ความดีงามในจิตใจ
    จริยธรรม (Ethics) คือ พฤติกรรมที่แสดงออก และรับรู้ได้เป็นรูปธรรม
    จรรยาบรรณ (Ethics) คือ พฤติกรรมที่ถูกเขียนมาเป็นลายลักษณ์อักษร และประกาศให้ยึดเป็นแนวปฏิบัติร่วมกัน
    กฎหมาย (Law) ตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2542 หมายถึง กฎที่สถาบันหรือผู้มีอำนาจสูงสุดในรัฐตราขึ้น หรือที่เกิดขึ้นจากจารีตประเพณีอันเป็นที่ยอมรับนับถือ เพื่อใช้ในการบริหารประเทศ เพื่อใช้บังคับบุคคลให้ปฏิบัติตาม หรือเพื่อกำหนดระเบียบแห่งความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลหรือระหว่างบุคคลกับรัฐ
จริยธรรมทางเทคโนโลยี
เพื่อให้เข้าใจจริยธรรมทางเทคโนโลยี
    จริยธรรมของการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ (Ethics of information technology using) = PAPA [2]p.358 (Richard Mason อ้างอิงใน O'Brien 1996:599) # หรือ จริยธรรมกับสังคมยุคสารสนเทศ [13]p.255
    1. ความเป็นส่วนตัว (Information Privacy)
    - มีสิทธิในข้อมูลของตนที่จะเปิดเผย หรือแบ่งปัน เช่น ใครจะเห็นโพสต์ของเราบ้าง
    2. ความถูกต้อง (Information Accuracy)
    - รักษาให้ข้อมูลมีความถูกต้อง น่าเชื่อถือ และผ่านการตรวจสอบก่อนนำไปใช้ ดังนั้นก่อนแชร์จึงต้องตรวจสอบก่อน
    3. ความเป็นเจ้าของ (Intellecture Property)
    - สิทธิในการถือครองทรัพย์สินไม่ให้ถูกละเมิด หรือมีสิทธิกำหนดการเผยแพร่ : copy right, shareware, freeware
    4. การเข้าถึงข้อมูล (Data Accessibility)
    - สิทธิการเข้าถึงมีหลายแบบ อาทิ เพิ่ม ลบ แก้ไข และต้องไม่ละเมิดสิทธิของผู้อื่น เช่น user & password
กฎหมายลิขสิทธิ์
เพื่อให้เข้าใจกฎหมายลิขสิทธิ์
    + http://www.thaiall.com/ethics/
    + http://www.thaiall.com/ethics/law_copyright_2537.pdf
    ทรัพย์สินทางอุตสาหกรรมแบ่งออกหลายประเภท
    1. สิทธิบัตร (Patent)
    2. อนุสิทธิบัตร (Petty Patent)
    3. เครื่องหมายการค้า (Trademark)
    4. ความลับทางการค้า (Trade Secret)
    5. สิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ (Geographical Indications)
    6. แบบผังภูมิของวงจรรวม (Layout - Design of Integrated Circuit)
    7. คุ้มครองพันธุ์พืช (Plant Variety Protection) [พรบ.]
    8. ภูมิปัญญาท้องถิ่น (Local Wisdom)
    9. ชื่อทางการค้า (Trade Name)
    สิทธิบัตร (Patent) คือ หนังสือสำคัญที่รัฐออกให้เพื่อคุ้มครองการประดิษฐ์ (Invention) หรือการออกแบบผลิตภัณฑ์ (Industrial Design) ที่มีลักษณะตามที่กฎหมายกำหนด ได้แก่ สิทธิบัตรการประดิษฐ์ สิทธิบัตรการออกแบบผลิตภัณฑ์ และอนุสิทธิบัตร โดยผู้ทรางสิทธิบัตร หรือนุสิทธิบัตรมีสิทธิเด็ดขาดหรือสิทธิแต่เพียงผู้เดียว ในการแสวงหาผลประโยชน์จากการประดิษฐ์หรือการออกแบบผลิตภัณฑ์ที่ได้รับสิทธิบัตรหรืออนุสิทธิบัตรนั้น ภายในระยะเวลาตามที่กฎหมายกำหนด
กฎหมายทางเทคโนโลยีสารสนเทศ
เพื่อให้เข้าใจกฎหมายทางเทคโนโลยีสารสนเทศ
    พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ คือ พระราชบัญญัติที่ว่าด้วยการกระทำผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ เป็นได้ทั้งคอมพิวเตอร์ตั้งโต๊ะ คอมพิวเตอร์โน้ตบุ๊ค สมาร์ทโฟน รวมถึงระบบที่ถูกควบคุมด้วยระบบคอมพิวเตอร์ ซึ่งพ.ร.บ.ตั้งขึ้นเพื่อป้องกัน ควบคุมการกระทำผิดที่จะเกิดขึ้นได้จากการใช้คอมพิวเตอร์ หากใครกระทำความผิด ก็จะต้องได้รับการลงโทษตามที่พ.ร.บ.กำหนด พรบ.คอมฯ 2550 มีประเด็นน่าสนใจ
    1. แอบเข้าระบบที่ไม่ได้รับอนุญาต โดยใช้รหัสของผู้อื่น
    2. รู้วิธีเข้าระบบผู้อื่น แล้วไปเผยแพร่
    3. แอบไปล้วงข้อมูลของผู้อื่น เช่น รหัสบัตรเครดิต หรือภาพ
    4. แอบดักจับข้อมูลของผู้อื่น
    5. แอบแก้ไขข้อมูล หรือทำให้ระบบผู้อื่นเสียหาย
    6. แอบแพร่ไวรัสทำให้ระบบผู้อื่นเสียหาย
    7. หากผิดข้อ 5 - 6 แล้วเสียหายใหญ่โต มีความผิดเพิ่ม
    8. ส่งอีเมลสแปมไปให้ผู้อื่นซ้ำซ้ำ
    9. ทำโปรแกรมหรือซอฟต์แวร์ให้ไปทำให้เกิดปัญหาแก่ผู้อื่น
    10. เผยแพร่รูป หรือข้อมูลที่เป็นสื่อลามกอนาจาร
    11. โกหก หลอกลวง ให้ข้อมูลเท็จ ท้าทายอำนาจรัฐ
    12. นำรูปหรือข้อมูลของผู้อื่นไปทำให้อับอาย เสียหาย
    13. เจ้าของเว็บไซต์ ถ้ายินยอมให้เกิดปัญหาก็ต้องร่วมรับผิด
    8 เรื่องที่ห้ามทำ ผิดกฎหมาย พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ 2560
    1. เข้าถึงระบบ หรือข้อมูลของผู้อื่นโดยไม่ชอบ (มาตรา 5-8)
    2. แก้ไข ดัดแปลง หรือทำให้ข้อมูลผู้อื่นเสียหาย (มาตรา 9-10)
    3. ส่งข้อมูลหรืออีเมลก่อกวนผู้อื่น หรือส่งอีเมลสแปม (มาตรา 11)
    4. เข้าถึงระบบ หรือข้อมูลทางด้านความมั่นคงโดยมิชอบ (มาตรา 12)
    5. จำหน่ายหรือเผยแพร่ชุดคำสั่งเพื่อนำไปใช้กระทำความผิด (มาตรา 13)
    6. นำข้อมูลที่ผิดพ.ร.บ.เข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ (มาตรา 14)
    7. ให้ความร่วมมือ ยินยอม รู้เห็นเป็นใจกับผู้ร่วมกระทำความผิด (มาตรา 15)
    8. ตัดต่อ เติม หรือดัดแปลงภาพ (มาตรา 16)
ภัยคุกคามทางอินเทอร์เน็ต
เพื่อให้เข้าใจภัยคุกคามทางอินเทอร์เน็ต
    1. ความผิดพลาดที่เกิดจากบุคคล (Human Error/Failures)
    2. ภัยคุกคามที่เป็นภัยร้ายต่อทรัพย์สินทางปัญญา (Compromises to Intellectual Property)
    3. การจารกรรมหรือการลุกล้ำ (Espionage หรือ Trespass)
    4. การกรรโชกสารสนเทศ (Information Extortion)
    5. การทำลายหรือทำให้เสียหาย (Sabotage หรือ Vandalism)
    6. ซอฟแวร์โจมตี (Software Attack)
    อาชญากรคอมพิวเตอร์
    คือ ผู้กระทำผิดกฎหมายโดยใช้คอมพิวเตอร์ หรืออุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์เป็นส่วนสำคัญ มีดังนี้
    1. Novices คือ พวกมือสมัครเล่น
    2. Queer คือ พวกจิตไม่ปกติ
    3. Dreamer คือ พวกบ้าลัทธิ
    4. Hacker คือ พวกเจาะระบบคอมพิวเตอร์
    5. Cracker คือ พวกชอบก่อความเสียหาย
    6. Organized Criminal คือ พวกกลุ่มอาชญากรที่ร่วมมือกัน
    7. Career Criminal คือ พวกอาชญากรมืออาชีพ
    DoS (Denial of Service) เป็นภัยคุกคามแบบหนึ่งทางระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ และเครื่องบริการ เมื่อมีผู้ไม่หวังดี (Attacker's PC) ต้องการโจมตี เพื่อให้เครื่องเป้าหมาย (Target PC) ไม่สามารถให้บริการได้ตามปกติ ด้วยการส่งคำร้องขอรับบริการ (Request) ไปยังเครื่องเป้าหมาย (Victim Website) เป็นปริมาณมากอย่างท่วมท้น (Flood) ผ่านเครื่องคอมพิวเตอร์ (Zombie PC) จำนวนมากที่เคยยึดไว้ จนไม่อาจให้บริการผู้ใช้ทั่วไปได้ (Unable to response) วิธีที่ผู้ไม่หวังดีทำ (How to) คือ การเข้าควบคุมเครื่องเหยื่อที่ไม่มีระบบป้องกันที่ดีพอ เครื่องใดถูกควบคุมได้จะเรียกว่า Zombie PC ส่วนเครื่องเหยื่อที่คุมไม่ได้แต่ต้องการโจมตี เรียกว่า Victim Website ในการโจมตีนั้น ผู้ไม่หวังดี (Intruder) จะส่งคำสั่งให้เครื่อง Zombie PC ทุกเครื่อง ส่งความต้องการปริมาณมากพร้อมกัน ไปยังเครื่องเป้าหมายเครื่องเดียว เมื่อรับความต้องการปริมาณมากแล้วตอบสนองไม่ได้ ก็จะปฏิเสธคำร้องขอข้อมูล ถ้าเครื่องของผู้ใช้ทั่วไปส่งคำร้องปกติเข้าไปในภายหลัง หรือในระหว่างที่ถูกโจมตี ก็จะได้รับข้อความว่า Unable to connect ซึ่งตัวอย่างหนึ่งของการโจมตี คือ F5 ถล่ม Single gateway หรือ คลิ๊ปอธิบายเรื่อง DoS
    ประเด็นด้านความปลอดภัยที่น่าสนใจ
    1. Mutual Authentication คือ การตรวจสอบทั้งเครื่องแม่ข่ายและผู้ใช้
    2. Cross-site scripting คือ เทคนิคการฝังโค้ดเข้าไปกับหน้าเว็บเพจที่มีช่องโหว่
    3. SQL Injection คือ เทคนิคจากการส่งคำสั่ง SQL ผ่านช่องโหว่าของเว็บแอปพลิเคชัน
    4. Path disclosure คือ ช่องโหว่จากการแสดง error message ต่าง ๆ
    5. Denial-of-service (DoS) คือ ปัญหาการปฏิเสธการให้บริการ
    6. Arbitrary Code Execution (ACE) คือ ประมวลผลโค้ดโดยพลการ
    7. Memory corruption คือ ทำให้เรียกใช้หน่วยความจำผิดพลาด และสั่งประมวลผลโค้ดอันตรายได้
    8. Cross-Site Request Forgery (CSRF) คือ การใช้ Identity และ Privilege) ของเหยื่อปลอมเป็นเหยื่อและทำธุรกรรมไม่พึงประสงค์
    https://cdn2.hubspot.net
คนเห็นแก่ตัว
คนสนใจแต่ผลประโยชน์ของตนเอง เอาผลประโยชน์ของส่วนรวมไปเป็นของตนเอง ไม่สนใจผู้อื่น เอาเปรียบผู้อื่น
#ภาคผนวก
สมรรถนะดิจิทัล (Literacy Digital)

ประกาศ สมรรถนะดิจิทัล
+ cmu.ac.th
+ nation.ac.th
ประกาศคณะกรรมการการอุดมศึกษา เรื่อง แนวทางการปฏิบัติตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ เกี่ยวกับสมรรถนะดิจิทัลสำหรับคุณวุฒิระดับปริญญาตรี
ตามที่ได้มีประกาศคณะกรรมการการอุดมศึกษา เรื่อง แนวทางการปฏิบัติตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2552 ลงวันที่ 16 กรกฎาคม 2552 เพื่อเป็นแนวทางให้สถาบันอุดมศึกษาใช้ในการพัฒนาหรือปรับปรุงหลักสูตร การจัดการเรียนการสอน และพัฒนาคุณภาพการจัดการศึกษาให้สามารถผลิตบัณฑิตที่มีคุณภาพตามเจตนารมณ์ของประกาศกระทรวงศึกษาธิการ เรื่อง กรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2552 เพื่อให้สอดคล้องกับทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 แนวคิดการศึกษาไทย 4.0 และกรอบการผลิตและพัฒนากำลังคนเพื่อรองรับดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม ของคณะอนุกรรมการวางแผนการผลิตและพัฒนากำลังคนเพื่อรองรับดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม คณะกรรมการการอุดมศึกษา ในการประชุมครั้งที่ 13/2561 เมื่อวันที่ 12 ก.ย.2561 จึงกำหนดแนวทางในการจัดทำ "มาตรฐานผลการเรียนรู้ตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ" โดยนำ "สมรรถนะดิจิทัล" สำหรับคุณวุฒิระดับปริญญาตรีมาเป็นแนวทางในการกำหนดมาตรฐานผลการเรียนรู้ด้านที่ 5 "ด้านทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสาร และการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ"
สมรรถนะดิจิทัล (Digital literacy) สำหรับคุณวุฒิระดับปริญญาตรี มี 6 ด้าน
1. การสืบค้นและการใช้งาน
[ระดับที่จำเป็น]
1.1 สามารถใช้เครื่องมือต่าง ๆ เพื่อสืบค้นข้อมูลที่เกี่ยวข้อง รู้วิธีใช้ตัวกรองเพื่อจำกัดผลลัพธ์ (เช่น การค้นหารูปภาพ วิดีโอ หรือสื่อรูปแบบอื่น ๆ)
1.2 รู้วิธีการตรวจสอบความน่าเชื่อถือของแหล่งข้อมูลต่าง ๆ
1.3 รู้วิธีการจัดระบบ และแบ่งปันทรัพยากร (เช่น เครื่องมือ bookmarking) และตระหนักถึงประเด็นต่าง ๆ เรื่องลิขสิทธิ์และประเด็นการคัดลอกผลงาน
[ระดับสูง]
1.4 สามารถใช้เครื่องมือสืบค้นขั้นสูงสำหรับระบบห้องสมุดและแหล่งเก็บข้อมูลออนไลน์ได้อย่างชำนาญ และติดตามข้อมูลหรือทรัพยากรเฉพาะด้านได้ เข้าใจข้อจำกัดด้านลิขสิทธิ์ ตระหนักถึงสิทธิรูปแบบอื่น ๆ เช่น ครีเอทีฟคอมมอนส์ (Creative Commons) และสามารถ (หรือรู้วิธี) เผยแพร่ และแบ่งปันสิ่งต่าง ๆ ทางออนไลน์ได้อย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล
2. การสร้างสรรค์และนวัตกรรม
[ระดับที่จำเป็น]
2.1 สามารถผลิต (และได้ผลิต) สื่อดิจิทัล เช่น กราฟิก คลิปวีดีโอหรือคลิปเสียง และการบันทึกภาพหน้าจอ เป็นต้น
2.2 สามารถเรียนรู้หลักการพื้นฐานได้ตามคำแนะนำและสามารถทดลองทำได้
[ระดับสูง]
2.3 สามารถผลิต (และได้ผลิต) ทรัพยากรดิจิทัลและมัลติมีเดีย เพื่อวัตถุประสงค์ที่หลากหลาย รวมถึงการนำเสนอในรูปแบบอินโฟกราฟิก เสียง และวิดีโอ ฯลฯ รวมทั้งรู้แหล่งที่มาและปรับแต่ง อาทิ แหล่งทรัพยากรการศึกษาแบบเปิด (Open Education Resource (OER))
2.4 มีประสบการณ์การใช้เครื่องมือสร้างสรรค์ และแก้ไขสื่อแบบปฏิสัมพันธ์โต้ตอบ
3. เอกลักษณ์และคุณภาพชีวิต
[ระดับที่จำเป็น]
3.1 ตระหนักถึงประเด็นความปลอดภัยออนไลน์ รวมถึงการปกป้องข้อมูลและภาพลักษณ์ส่วนตน
3.2 ใช้คุณลักษณะด้านความปลอดภัย เช่น ซอฟตืแวร์ต้านไวรัส และการตั้งค่าความมั่นคงปลอดภัยบนอุปกรณ์ รวมทั้งข้อมูลส่วนตัวบนสื่อสังคมออนไลน์
3.3 รู้จักสิ่งจำเป็นพื้นฐานสำหรับการป้องกันข้อมูล
3.4 ระมัดระวังและไตร่ตรองในการแบ่งปันข้อมูลกับผู้อื่น และในการมีปฏิสัมพันธ์กับคนอื่น ๆ ทางออนไลน์
4. การสอนหรือการเรียนรู้
[ระดับที่จำเป็น]
4.1 สามารถใช้เทคโนโลยีที่หลากหลายอย่างสะดวกสบายในการเรียนรู้
4.2 สามารถติดตั้งและใช้ซอฟต์แวร์ รวมถึงแอปพลิเคชันที่เป็นประโยชน์บนอุปกรณ์ส่วนตัวทั้งโทรศัพท์มือถือหรือแท็บเล็ต เพื่อช่วยในการรวบรวมและจัดระเบียบบันทึกข้อมูลในการใช้งานส่วนตน
[ระดับสูง]
4.3 สามารถใช้เทคโนโลยีในการเรียนรู้ได้อย่างมั่นใจ รวมทั้งเครื่องมือสำหรับการอ้างอิง การผลิตงานนำเสนอ การเชื่อมโยงและการแบ่งปันความคิด และแหล่งทรัพยากรการเรียนรู้ สามารถใช้เทคโนโลยีช่วยทดสอบความก้าวหน้าในการเรียนรู้และความเข้าใจเรื่องที่ศึกษา
5. เครื่องมือและเทคโนโลยี
[ระดับที่จำเป็น]
5.1 สามารถใช้เทคโนโลยีดิจิทัลที่หลากหลายได้อย่างคุ้นเคย และใช้คำศัพท์เฉพาะได้พอสมควร
[ระดับสูง]
5.2 สามารถติดตามความก้าวหน้าของเทคโนโลยีอุบัติใหม่ อาทิ กรีนเทคโนโลยี (Green technology) เอนเนอจีเซฟวิ่ง (Energy saving) และสามารถนำมาใช้งานได้อย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล
6. การติดต่อสื่อสารและการประสานงาน
[ระดับที่จำเป็น]
6.1 สามารถใช้เครื่องมือที่หลากหลายได้อย่างสะดวกสบายเพื่อการสนทนาและทำงานร่วมกับผู้อื่นแบบออนไลน์ รวมถึงการแบ่งปันเอกสารและหรือข้อคิดเห็น การประชุมทางไกล (video-conferencing) และการเข้าร่วมมัมมนาผ่านเว็บไซต์ การสัมมนาผ่านเครื่องมือและช่องทางที่หลากหลาย
ระดับที่จำเป็น หมายถึง ทักษะพื้นฐานสำหรับคุณวุฒิระดับปริญญาตรีทุกหลักสูตร
ระดับสูง หมายถึง ทักษะเพิ่มเติมขั้นสูงที่เข้มข้นขึ้นสำหรับคุณวุฒิระดับปริญญาตรี
ครีเอทีฟคอมมอนส์ (Creative Commons: CC)
ครีเอทีฟคอมมอนส์ (Creative Commons: CC) เป็นองค์กรไม่แสวงกำไรที่สนับสนุนการใช้เนื้อหา โดยไม่ถูกจำกัดจากสัญญาอนุญาต สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์ จะเอื้อให้มีการใช้สื่อทั้งทางภาพ เสียง ข้อมูล โดยการแบ่งแยกสัญญาอนุญาตย่อยออกสำหรับการแจกจ่ายและการใช้ข้อมูล โดยการอ้างอิงถึงเจ้าของลิขสิทธิ์เดิม ครีเอทีฟคอมมอนส์ก่อตั้งโดย ลอว์เรนซ์ เลสสิก ซึ่งปัจจุบันบริหารงานโดย โจอิจิ อิโต (จอย อิโต)
เป้าหมาย สัญญาอนุญาตครีเอทีฟคอมมอนส์ ช่วยให้เจ้าของลิขสิทธิ์สามารถให้สิทธิบางส่วนหรือทั้งหมดแก่สาธารณะ ในขณะที่ยังคงสงวนสิทธิอื่น ๆ ไว้ได้ โดยการใช้สัญญาอนุญาตหลายหลากรูปแบบ ซึ่งรวมถึง การยกให้เป็นสาธารณสมบัติหรือสัญญาอนุญาตแบบเปิดทั้งหลาย โดยมีจุดประสงค์เพื่อหลีกเลี่ยงการเกิดปัญหาลิขสิทธิ์ต่อการแบ่งปันสารสนเทศ
โครงการ ครีเอทีฟคอมมอนส์อินเตอร์เนชันแนล (Creative Commons International ย่อว่า CCi) เป็นโครงการที่จัดตั้งโดยครีเอทีฟคอมมอนส์ เพื่อให้มีการจัดการกฎหมายคอมพิวเตอร์ให้สอดคล้องกับกฎหมายของประเทศนั้น ๆ ในปัจจุบัน (3 เมษายน พ.ศ. 2552) มีทั้งหมด 51 ประเทศ (รวมทั้งประเทศไทย) ที่ได้จัดทำโดยสมบูรณ์ และอีก 8 ประเทศที่อยู่ในระหว่างการจัดทำ
สำหรับสัญญาครีเอฟทีฟคอมมอนส์ในภาษาไทย จัดทำขึ้นโดยความร่วมมือของ สำนักกฎหมายธรรมนิติ สถาบัน ChangeFusion และสถาบันเทคโนโลยีนานาชาติสิรินธร มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ โดยรองรับตามหลักเกณฑ์ครีเอทีฟคอมมอนส์ รุ่น 3.0 และปรับให้เข้ากับกฎหมายลิขสิทธิ์ไทย จึงสามารถใช้บังคับได้ตามกฎหมายไทย ประกาศเปิดตัวเมื่อวันที่ 2 เมษายน พ.ศ. 2552 เป็นลำดับที่ 51 ของโลก
สัญญาอนุญาตครีเอทีฟคอมมอนส์แบ่งได้เป็น 6 ชนิดใหญ่ ดังนี้ [wiki]
1. อ้างอิงแหล่งที่มา (CC-BY)
2. อ้างอิงแหล่งที่มา ให้อนุญาตต่อไปแบบเดียวกัน (CC-BY-SA)
3. อ้างอิงแหล่งที่มา ห้ามดัดแปลง (CC-BY-ND)
4. อ้างอิงแหล่งที่มา ห้ามนำไปใช้เพื่อการค้า (CC-BY-NC)
5. อ้างอิงแหล่งที่มา ห้ามนำไปใช้เพื่อการค้า และให้อนุญาตต่อไปแบบเดียวกัน (CC-BY-NC-SA)
6. อ้างอิงแหล่งที่มา ห้ามนำไปใช้เพื่อการค้า และห้ามดัดแปลง (CC-BY-NC-ND)
นิยามศัพท์ด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ #
RFID
Radio Frequency Identification คือ การระบุข้อมูลสิ่งต่าง ๆ โดยใช้คลื่นความถี่วิทยุ ซึ่ง RFID ถูกนำเข้ามาใช้ในชีวิตประจำวันอย่างหลากหลาย เช่น ป้ายติดสินค้ากันขโมยหรือให้ข้อมูล บัตรผ่านประตู แท็กติดตามสัตว์ บัตรประชาชน เป็นต้น
IoT
Internet of Things คือ อินเทอร์เน็ตในทุกสิ่ง การที่ทุกอุปกรณ์ถูกเชื่อมโยงสู่โลกอินเทอร์เน็ต ทำให้สามารถรับส่งข้อมูล และควบคุมการใช้งานอุปกรณ์ต่าง ๆ ผ่านทางเครือข่ายอินเทอร์เน็ต เช่น การเปิดปิดเครื่องใช้ไฟฟ้า เครื่องจักร วัดระดับน้ำ วัดความชื้น วัดแสง วัดอุณหภูมิ ส่งข้อมูลไปจัดเก็บเพื่อประมวลผล วิเคราะห์ และรับส่งคำสั่งควบคุมอุปกรณ์ เป็นต้น
VR
Virtual Reality คือ ความจริงเสมือน โลกเสมือนจริง การจำลองสภาพแวดล้อมจริงเข้าไปให้เสมือนจริง โดยผ่านการรับรู้จากการมองเห็น เสียง สัมผัส โดยจะตัดขาดเราออกจากสภาพแวดล้อมปัจจุบัน เพื่อเข้าไปสู่ภาพที่จำลองขึ้นมา เช่น การจำลองสถานที่ Google street view หรือ Google Map
AR
Augmented Reality คือ ความจริงผสาน การรวมสภาพแวดล้อมจริงกับวัตถุเสมือน เข้าด้วยกันในเวลาเดียวกัน โดยวัตถุเสมือนอาจเป็น ภาพ หรือวิดิโอ ข้อมูลที่ประมวลผล อาจทำงานบน คอมพิวเตอร์ โทรศัพท์เคลื่อนที่ หรืออุปกรณ์สวมใส่ ทำให้สามารถตอบสนองกับสิ่งที่จำลองนั้นได้ เช่น Pokemon Go
MR
Mixed Reality คือ ความจริงผสม การผสมผสานระหว่างวัตถุเสมือนจริงเข้ากับโลกแห่งความเป็นจริง ที่มีองค์ประกอบดิจิทัลที่สามารถโต้ตอบและมีปฏิสัมพันธ์กับโลกแห่งความเป็นจริง โดยใช้เทคโนโลยีการสัมผัส การมองเห็น การสร้างภาพที่ตอบสนองจินตนาการผสานกับวัตถุรอบตัวได้
QR Code
Quick Response คิวอาร์โค้ด คือ สัญลักษณ์สี่เหลี่ยม เป็นบาร์โค้ด 2 มิติ ใช้แทนข้อมูลที่มีการตอบสนองอย่างรวดเร็ว ที่มีต้นกำเนิดมาจากประเทศญี่ปุ่น โดยบริษัท Denso-Wave (เดนโซ-เวฟ) ตัวอย่างข้อมูลที่อ่านได้ เช่น ที่อยู่เว็บไซต์ เบอร์โทร อีเมล ซึ่งความจุข้อมูลคิวอาร์โค้ด มีข้อจำกัดดังนี้ 1) ตัวเลขอย่างเดียว ไม่เกิน 7,089 ตัวอักษร 2) ตัวอักษร ผสม ตัวเลข ไม่เกิน 4,296 ตัวอักษร 3) ตัวอักษร (8 บิต) ไม่เกิน 2,953 ไบต์ #
QR Code Reader : Play Store
Online QR Code Generator
1. qr-code-generator.com
2. the-qrcode-generator.com
ตัวอย่าง Line Group : สังคมคนรักอ่าน
Data
ข้อมูลดิบ (Raw Data) คือ ข้อเท็จจริงของสิ่งที่เราสนใจ มีความถูกต้อง (Validity) น่าเชื่อถือ (Reliability) อาจอยู่ในรูปของตัวเลข ข้อความ สัญลักษณ์ เสียง รูปภาพ หรือวิดีโอ ที่ยังไม่ผ่านการประมวลผล
ลักษณะของข้อมูล
- ข้อมูลเชิงปริมาณ (Quantitative Data)
- ข้อมูลเชิงคุณภาพ (Qualitative Data)
แหล่งที่มาของข้อมูล
- ข้อมูลปฐมภูมิ (Primary Data)
- ข้อมูลทุติยภูมิ (Secondary Data)
ข้อมูลที่ผ่านการประมวลผล (process) จะถูกเรียกว่า สารสนเทศ (information)
Information Resources
คือ ทรัพยากรสารสนเทศ เป็นข้อมูล ข่าวสาร ความรู้ ความคิด ประสบการณ์ที่เป็นแก่น หรือเนื้อหาสำคัญที่ได้จำแนก ชี้แจง แสดงออกมาให้ปรากฏ โดยการกลั่นกรองเรียบเรียง และประมวลไว้ โดยใช้ภาษา สัญลักษณ์ รูปภาพ รหัส และอื่น ๆ รวมทั้งบันทึกลงบนวัสดุหลายชนิด เป็นบ่อเกิดแห่งปัญญา แบ่งออกเป็น 3 ประเภทใหญ่ ๆ คือ
1. ทรัพยากรตีพิมพ์ (Printed materials)เช่น หนังสือ วารสาร รายงานประจำปี
2. ทรัพยากรไม่ตีพิมพ์ (Non-printed materials)เช่น แถบบันทึกเสียง ไมโครฟิล์ม ไมโครฟิช
3. ทรัพยากรอิเล็กทรอนิกส์ (Electronic resource) เช่น สื่อวัสดุคอมพิวเตอร์ต่าง ๆ
Computer Data
คือ ข้อมูล ข้อความ คำสั่ง ชุดคำสั่ง หรือสิ่งอื่นที่อยู่ในระบบคอมพิวเตอร์ในสภาพที่ระบบคอมพิวเตอร์อาจประมวลผลได้ และให้หมายความรวมถึงข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ตามกฎหมายว่าด้วยธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ด้วย
Computer
คือ เครื่องคอมพิวเตอร์ เป็นเครื่องคำนวณ มีภาษาไทยว่า คณิตกรณ์ เป็นอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ที่มีความสามารถในการคำนวณ หรือประมวลผลตามคำสั่ง องค์ประกอบของระบบคอมพิวเตอร์ ประกอบด้วย หน่วยประมวลผลกลาง (CPU = Central Processing Unit) หน่วยความจำ (Memory Unit) หน่วยนำเข้าข้อมูล (Input Unit) หน่วยแสดงผลข้อมูล (Output Unit) และหน่วยจัดเก็บข้อมูล (Storage)
Computer System
คือ ขั้นตอนการปฏิบัติงานของคอมพิวเตอร์ที่มีการกำหนดอย่างชัดเจนว่าต้องทำอะไรบ้าง เพื่อให้ได้ผลออกมาตามที่ต้องการ ขั้นตอนการปฏิบัติงานจะประกอบด้วย ข้อมูลนำเข้า การประมวลผล ผลลัพธ์ และข้อมูลป้อนกลับ ซึ่งมีความสัมพันธ์เชื่อมโยงกัน
System
ระบบ คือ ขั้นตอนการปฏิบัติงานที่มีการกำหนดอย่างชัดเจนว่าต้องทำอะไรบ้าง เพื่อให้ได้ผลออกมาตามที่ต้องการ ขั้นตอนการปฏิบัติงานจะต้องปรากฎให้ทราบโดยทั่วกันไม่ว่าจะอยู่ในรูปของเอกสารหรือสื่ออิเล็กทรอนิกส์ หรือโดยวิธีการอื่น ๆ องค์ประกอบของระบบ ประกอบด้วย ปัจจัยนำเข้า กระบวนการ ผลผลิต และข้อมูลป้อนกลับ ซึ่งมีความสัมพันธ์เชื่อมโยงกัน
OS = Operating System
ระบบปฏิบัติการ คือ โปรแกรมที่จัดการคอมพิวเตอร์ฮาร์ดแวร์ โดยทำหน้าที่ให้การสนับสนุนการประมวลผลในเบื้องต้น และทำหน้าที่อำนวยความสะดวกให้ผู้ใช้ และคอมพิวเตอร์ฮาร์ดแวร์ทำงานด้วยกัน อย่างราบรื่น
Platform
แพลตฟอร์ม คือ โครงสร้างพื้นฐานเชิงบูรณาการแนวตั้ง (Vertical integration) ที่รวมเครื่องมือ บริการ ข้อมูล ฮาร์ดแวร์ ซอฟต์แวร์ หรือระบบปฏิบัติการ เพื่อสนับสนุนตั้งแต่เริ่มต้นพัฒนาไปจนถึงการนำผลงานไปใช้ เช่น Java platform, Web platform, Windows platform, iOS platform, Cloud Computing Platform
Database System
ระบบฐานข้อมูล คือ ระบบที่รวบรวมข้อมูลที่เกี่ยวข้องกันเข้าไว้ด้วยกันอย่างเป็นระบบ (integrate) มีความสัมพันธ์ระหว่างข้อมูลที่ชัดเจน มองเห็นเป็นตาราง เป็นระเบียน เป็นเขตข้อมูลที่มีความสัมพันธ์ระหว่างกัน โดยเกิดจากการจัดกลุ่มข้อมูลเก็บอยู่ในรูปตาราง (grouping) เชื่อมโยงตารางทั้งหมดเข้าด้วยกัน (share) เพื่อลดความซ้ำซ้อนในการจัดเก็บข้อมูล (non redundancy) เปิดให้ผู้ใช้และผู้ดูแลสามารถใช้งานและจัดการข้อมูลได้อย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งมีซอฟต์แวร์เป็นสื่อกลางระหว่างผู้ใช้และโปรแกรมเพื่อจัดการและใช้งานระบบฐานข้อมูล
DBMS
ระบบจัดการฐานข้อมูล (DataBase Management System) คือ ระบบที่ช่วยให้ผู้ใช้เข้าบริหารจัดการข้อมูลได้ง่าย และมีประสิทธิภาพ มีบริการสร้างฐานข้อมูล สร้างตาราง เพิ่มลบแก้ไขข้อมูลในตาราง และตั้งคำถามเรียกข้อมูลมาใช้ โดยไม่จำเป็นต้องเขียนโปรแกรมจัดการโครงสร้างของข้อมูลด้วยตนเอง
ซอฟท์แวร์ที่นิยมใช้จัดการระบบฐานข้อมูล
Oracle Server
SQL server
MySQL / MariaDB
Microsoft Access
Network System
ระบบเครือข่าย คือ ระบบที่มีการนำคอมพิวเตอร์อย่างน้อยสองเครื่องมาเชื่อมต่อกัน โดยใช้สื่อกลาง เพื่อใช้ในการสื่อสารข้อมูลถึงกันได้อย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งทำให้ผู้ใช้คอมพิวเตอร์แต่ละเครื่องสามารถใช้แลกเปลี่ยนข้อมูลซึ่งกันและกันได้ นอกจากนี้ยังสามารถใช้ทรัพยากรร่วมกัน ทำให้ประหยัดทรัพยากรในการใช้งาน
Debug
ดีบัก คือ โปรแกรมสำหรับทดสอบ และแก้ไข สามารถใช้แก้ไขปัญหาพื้นฐานในดอส (DOS = Disk Operation System) เป็นคำสั่งภายนอก (External Command) ของดอส สามารถใช้แก้ไขเนื้อหาในแฟ้ม ใช้เขียนและประมวลผลภาษาแอสเซมบลี้ขั้นพื้นฐานได้ เคยเป็นที่นิยมในกลุ่มนักพัฒนายุคดอส ปัจจุบันสามารถเรียกใช้ได้ผ่าน CMD หรือ Command
ตัวอย่างการเขียนและประมวลผล ภาษาแอสเซมบลี้พื้นฐาน
C:\>debug
-a
106F:0100 mov ah,02
106F:0102 mov dl,41
106F:0104 int 21
106F:0106 int 20
106F:0108
-g
A
Program terminated normally
- n x.com
- rcx
: 8
- w
- q
C:\>x
A
C:\>
CMD
(Command) ซีเอ็มดี คือ คำสั่งที่ใช้เปิด Windows Command interpreter สามารถเรียกใช้โปรแกรมต่าง ๆ ผ่าน text mode พัฒนาต่อจาก command.exe ที่เป็น ms-dos command interpreter
ตำแหน่งของโปรแกรม
%windir%/system32/cmd.exe
สำหรับแสดงพารามิเตอร์ของ cmd
DOS> cmd /?
WORD
หน่วยความจำแบบเวิร์ด คือ เนื้อที่ที่คอมพิวเตอร์จัด​ไว้​สำ​หรับเก็บข้อมูล​ ไม่น้อยกว่า 1 ​ตัวอักษรตามรหัสแอสกี หรือไม่น้อยกว่า 8 บิต ขึ้นอยู่กับสถาปัตยกรรมคอมพิวเตอร์ ในปัจจุบันเครื่องคอมพิวเตอร์ที่เข้ากันได้กับสถาปัตยกรรมของไอบีเอ็ม (คอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลทั่วไป) 1 เวิร์ดจะมีขนาด 16 บิต (2 ไบต์) บางครั้งเราอาจเห็นหน่วย สองเวิร์ด (Dword - Double word) และ สี่เวิร์ด (Qword - Quadruple word) ซึ่งมีขนาดเป็นสองเท่าและสี่เท่าของเวิร์ด ตามลำดับ ในการเขียนโปรแกรมบางภาษา เช่น ภาษาแอสเซมบลี ภาษาซี เป็นต้น (wiki)
typedef uint8_t BYTE; ใช้พื้นที่ 8 bit
typedef uint16_t WORD; ใช้พื้นที่ 16 bit
typedef uint32_t DWORD; ใช้พื้นที่ 32 bit
typedef uint64_t QWORD; ใช้พื้นที่ 64 bit (wiki)
CIO
(Chief Information Officer) ซีไอโอ คือ หัวหน้าฝ่ายบริหารสารสนเทศขององค์กร ได้รับมอบหมายอำนาจจากผู้บริหารสูงสุด (CEO = Chief Executive Officer) ให้เป็นผู้กำหนดนโยบาย วางแผน ตัดสินใจ และควบคุมงานด้านสารสนเทศทั้งหมด จึงต้องมีความรู้อย่างน้อย 4 ด้าน คือ ด้านการเป็นผู้นำ ด้านการวางแผน ด้านบริหารงาน และด้านการจัดการทรัพยากร
TPS
(Transaction Processing System) ระบบประมวลผลรายการ คือ ระบบปฏิบัติการทางธุรกิจสำหรับผู้ปฏิบัติงานระดับล่าง ที่เป็นข้อมูลจากหน่วยย่อยที่สุดในองค์กร และเกิดขึ้นบ่อยที่สุด ระบบนี้จะสนับสนุนให้การปฏิบัติงานมีความสะดวก ถูกต้อง และรวดเร็วเป็นสำคัญ เช่น ระบบ POS ที่ช่องชำระเงินของ BigC หรือ Lotus หรือระบบออกใบเสร็จของบริษัท
MIS
(Management Information System) ระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการ คือ ระบบสารสนเทศสำหรับผู้บริหารระดับกลาง หรือหัวหน้างาน เพื่อใช้ตรวจสอบทำงาน หรือการบรรลุตามวัตถุประสงค์ที่กำหนด ซึ่งจะเป็นรายงานมีโครงสร้างตายตัว หรือเป็น Periodic Report เช่น รายงานสรุปยอดขายตามกำหนดเวลา รายงานเพื่อตรวจสอบความผิดปกติ หรือรายงานงบการเงินของบริษัทที่ต้องเสนอไปยังตลาดหลักทรัพย์
DSS
(Decision Support System) ระบบสนับสนุนการตัดสินใจ คือ ระบบสารสนเทศสำหรับผู้บริหารหรือผู้เชี่ยวชาญ เพื่อช่วยการตัดสินใจ และวางแผน เป็นการนำเสนอทางเลือกให้แก่ผู้บริหาร ซึ่งรายงานมีทั้งแบบเป็นโครงสร้างตายตัว และไม่ตายตัว สารสนเทศจะเป็นรายงานการวิเคราะห์ หรือการพยากร เช่น ยอดขายรายไตรมาส หรือสรุปผลขายเปรียบเทียบแต่ละสาขา หรือรายงานการพยากรยอดขาย
ESS
(Executive Support System) ระบบสารสนเทศเพื่อผู้บริหาร (EIS) หรือ ระบบสนับสนุนการบริหาร (ESS) คือ ระบบสารสนเทศสำหรับผู้บริหารระดับสูง เพื่อช่วยสนับสนุนข้อมูลในการวางแผนเชิงกลยุทธ์ การบรรลุวิสัยทัศน์ และพันธกิจขององค์กร ซึ่งจะสนใจเฉพาะสารสนเทศที่สำคัญ และเป็นสารสนเทศที่ไม่มีโครงสร้างตายตัว แล้วเชื่อมโยงสารสนเทศกับภายนอก เช่น ผลการเปรียบเทียบยอดขายกับคู่แข่ง ข่าวภัยพิบัติที่อาจทำให้ต้องปรับนโยบายการผลิต แนวโน้มภาษีที่จะกลายเป็นโอกาสหรือภัยคุกคามต่อกลยุทธ์ขององค์กร
OIS
(Office Information System) ระบบสารสนเทศสำนักงาน คือ ระบบเทคโนโลยีและเทคโนโลยีสารสนเทศ สำหรับทุกคนในองค์กร เพื่อช่วยให้ทำงานร่วมกัน การติดต่อสื่อสารใน และภายนอกสำนักงานมีประสิทธิภาพสูงสุด เช่น การแชร์เอกสาร อีเมล ระบบเครือข่ายเอกสารภายในสำนักงาน ระบบไอพีโฟน ระบบประเมินออนไลน์, Workflow, Leave Online หรือ Google Doc เป็นต้น
ES
(Expert System) ระบบผู้เชี่ยวชาญ คือ ระบบเครื่องคอมพิวเตอร์เป็นผู้เชี่ยวชาญในสาขาหนึ่งคล้ายกับมนุษย์ ซึ่งได้รับความรู้จากมนุษย์ผู้เชี่ยวชาญ เพื่อให้ระบบสามารถวิเคราะห์ข้อมูลด้วยเหตุผล แล้วตัดสินใจเลือกอย่างใดอย่างหนึ่ง โดยใช้ฐานความรู้ และเงื่อนไขการตัดสินใจมาสนับสนุนการประมวลผล
KMS
(Knowledge Management System) ระบบการจัดการความรู้ คือ ระบบสารสนเทศที่สนับสนุนให้บุคลกรทุกระดับ ได้มีกิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ซึ่งผู้บริหารมักเป็นผู้กำหนดเป้าหมาย และประเด็นในการสื่อสาร ผู้ร่วมกิจกรรมจะมีบทบาทแตกต่างกันไป เช่น 1) คุณเอื้อ คือ ผู้บริหารที่สนับสนุนให้เกิดกิจกรรม 2) คุณอำนวย คือ ผู้จุดประกาย ผู้เชื่อมโยงและกระตุ้นให้สมาชิกร่วมแลกเปลี่ยน 3) คุณกิจ คือ ผู้เป็นพระเอกนางเอกของกิจกรรม ผู้แสดงความเห็นหลัก 4) คุณประสาน คือ ผู้ประสานเครือข่ายให้เข้ามาร่วมกันแลกเปลี่ยน โดยกิจกรรมจะสมบูรณ์ไม่ได้หากไม่ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ เช่น Blog
Web server
เว็บเซิร์ฟเวอร์ คือ เครื่องคอมพิวเตอร์ที่ทำหน้าที่เป็นเครื่องบริการเว็บเพจแก่ผู้ร้องขอด้วย โปรแกรมประเภทเว็บบราวเซอร์ (Web Browser) ที่ร้องขอข้อมูลผ่านโปรโตคอลเฮชทีทีพี (HTTP = Hyper Text Transfer Protocol) เครื่องบริการจะส่งข้อมูลให้ผู้ร้องขอในรูปของข้อความ ภาพ เสียง หรือสื่อผสม เครื่องบริการเว็บเพจมักเปิดบริการพอร์ท 80 (HTTP Port) ให้ผู้ร้องขอได้เชื่อมต่อและนำข้อมูลไปใช้ เช่น โปรแกรมอินเทอร์เน็ตเอ็กโพเลอร์ (Internet Explorer) หรือฟายฟร็อก (FireFox Web Browser) การเชื่อมต่อเริ่มด้วยการระบุที่อยู่เว็บเพจที่ร้องขอ (Web Address หรือ URL = Uniform Resource Locator) เช่น http://www.google.com หรือ http://www.thaiall.com เป็นต้น โปรแกรมที่นิยมใช้เป็นเครื่องบริการเว็บ คือ อาปาเช่ (Apache Web Server) หรือไมโครซอฟท์ไอไอเอส (Microsoft IIS = Internet Information Server) ส่วนบริการที่นิยมติดตั้งเพิ่ม เพื่อเสริมความสามารถของเครื่องบริการ เช่น ตัวแปลภาษาสคริปต์ ระบบฐานข้อมูล ระบบจัดการผู้ใช้ และระบบจัดการเนื้อหา เป็นต้น
Antivirus
คือ โปรแกรมป้องกันไวรัส ถูกใช้ติดตั้งไว้ในเครื่องคอมพิวเตอร์ เพื่อป้องกันโปรแกรมไม่ประสงค์ดีที่มีเป้าหมายในการทำความเสียหายให้กับข้อมูล โปรแกรม เครือข่าย หรือระบบปฏิบัติการ ปัจจุบัน Windows Defender มีมากับ Windows 10 ทำให้การติดตั้งโปรแกรมป้องกันไวรัสตัวอื่นอาจไม่จำเป็นอีกต่อไป
Backup
คือ การสำรองข้อมูล คู่กับ Restore คือ การเรียกคืนข้อมูล โดยพิจารณาเลือกข้อมูลที่มีความสำคัญ แล้วคัดลอกไปเก็บไว้ในสื่ออื่น เพื่อสามารถนำกลับมาใช้ได้อีก ในกรณีสื่อเดิมมีข้อมูลเสียหาย
Botnet
(Robot network) ของเครื่องซอมบี้ คือ เครือข่ายของเครื่องซอมบี้มักถูกใช้แพร่กระจายอีเมลสแปม และทำให้เกิดปัญหาปฏิเสธการให้บริการ (DoS) ผู้เป็นเจ้าของเครื่องที่เป็นซอมบี้ส่วนใหญ่ไม่ได้ตระหนักว่าเครื่องของตนถูกใช้แบบนี้ เพราะเจ้าของมีแนวโน้มว่าไม่รู้ตัว จึงเทียบเคียงได้ว่าคอมพิวเตอร์เหล่านี้เป็นซอมบี้ การร่วมกันโจมตีจากหลายบอตเน็ตก็เหมือนกับร่วมมือกันของฝูงชนในการจู่โจมเป้าหมาย # #
BSA
(Business Software Alliance) คือ กลุ่มพันธมิตรธุรกิจซอฟต์แวร์ เป็นผู้ผลิตซอฟต์แวร์ที่ร่วมกันออกกฎควบคุมการใช้ซอฟต์แวร์ มีเครือข่ายกว่า 80 ประเทศทั่วโลก เพื่อควบคุมและดูแลเรื่องการละเมิดลิขสิทธิ์ มีข่าวดังล่อซื้อ ละเมิดลิขสิทธิ์ลายการ์ตูน ของเด็กอายุสิบห้า ทำให้ข่าวละเมิดลิขสิทธิ์ได้รับความสนใจอีกครั้งในปลายปี 2562
Encryption
คือ การเข้ารหัสข้อมูล จาก Plain text เป็น Ciphertext คือ ข้อมูลหรือข่าวสารที่ได้รับการเข้ารหัส ทําให้อ่านไม่รู้เรื่อง ต้องนำไปถอดรหัสเพื่อกลับไปเป็น Plain text (Matrix หรือ Imitation game)
Firewall System
คือ โปรแกรมรักษาความปลอดภัย ดักจับ และป้องกันการเข้าถึงที่ไม่พึงประสงค์ หรือมีที่มาอย่างไม่ถูกต้อง สามารถป้องกันได้หลายรูปแบบ รวมถึงการป้องกันไวรัส และการโจมตีรูปแบบต่าง ๆ
Keyboard Logger
คือ โปรแกรมดักจับการพิมพ์ผ่านแป้นพิมพ์ เช่น รหัสผ่าน เลขที่บัตรเครดิต ข้อมูลการพิมพ์ทั้งหมด มักถูกใช้โดยผู้ไม่ประสงค์ดี และหลบซ่อนการทำงานจากผู้ใช้
Pharming
คือ การโจมตีเว็บไซต์เหยื่อ อาจเป็นการโจมตีระบบ DNS แล้วเปลี่ยน Host file หรือ URL ให้เรียกไปยังอีกเว็บไซต์หนึ่ง ที่เป็นเว็บไซต์ที่ถูกปลอมขึ้นมา
Phishing
คือ โปรแกรมหลอกลวง หรือการหลอกลวงให้ได้ข้อมูลลับ หรือโอนเงินจากผู้ใช้ มักถูกเรียกชื่อแก็งค์คอลเซ็นเตอร์
Skimmer
คือ อุปกรณ์ลักลอบคัดลอกข้อมูลจากบัตรเครดิต มักถูกแอบคัดลอกได้ในร้านอาหาร ห้างสรรพสินค้า หรือป้ำน้ำมัน
Spyware
คือ โปรแกรมลักลอบเข้าไปแฝงตัวในเครื่อง แล้วแอบทำงานไม่ให้ผู้ใช้รู้ ซึ่งเป็นการกระทำที่ไม่พึงประสงค์ของผู้เป็นเจ้าของเครื่องคอมพิวเตอร์
Zombie
คือ เครื่องคอมพิวเตอร์ที่เชื่อมต่อกับอินเทอร์เน็ตแล้วถูกครอบงำโดยแฮกเกอร์ ซึ่งจะติดไวรัสหรือม้าโทรจันที่สามารถทำงานคุกคามที่เป็นอันตราย ต่อคอมพิวเตอร์อื่นภายใต้การควบคุมระยะไกลได้
DoS
(Denial of Service) คือ การโจมตีเครื่องคอมพิวเตอร์จนทำให้ปฏิเสธการทำงาน ด้วยการส่งข้อมูลจำนวนมหาศาล เพื่อให้เครื่องเป้าหมาย ไม่สามารถบริการได้อีก #
ICON
คือ ภาพสัญลักษณ์ขนาดเล็กที่ปรากฏขึ้นบนจอภาพเพื่อแทนหน้าที่ หรือตัวเลือกที่มีให้ใช้ เมื่อใช้เมาส์คลิกเลือกจะเข้าสู่การทำงานได้ทันที เร็ว และสะดวกกว่าการใช้แป้นพิมพ์สั่งงาน
TEMPLATE
คือ รูปแบบ โครงร่าง หรือแบบฟอร์มเว็บไซต์ที่เป็นรูปแบบมาตรฐานเดียวกัน เมื่อเปลี่ยนไปยังหน้าเนื้อหาอื่นก็จะพบรายละเอียดที่ต่างกัน แต่รูปแบบยังคงใช้โครงร่างเดิม เช่น สี ขนาด โลโก้ การแบ่งส่วน การเชื่อมโยง
Mockup
คือ แบบจำลองชิ้นงานออกแบบในบริบทที่ทำให้ผลงานดูสมจริง เช่น ออกแบบนามบัตร แล้วนำไปวางใน Mockup ให้ดูสมจริง วางเรียงรายบนโต๊ะ บนมือ อย่างมีมิติ และมีชีวิตชีวา หรือ ออกแบบเว็บไซต์ด้วย Photoshop แล้วนำภาพเว็บเพจ ไปวางไว้ในเครื่องคอมพิวเตอร์ หรือวางไว้บน iphone ที่เหมือนจริง [free mockup]
Green Technology
คือ เทคโนโลยีเพื่อสิ่งแวดล้อม ที่เลือกใช้เทคโนโลยีที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ด้วยการจัดการใช้พลังงาน ลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก และลดวัสดุที่เป็นเทคโนโลยีอิเลคโทรนิค
Saving Energy
คือ การประหยัดพลังงาน เป็นเป้าหมายสำคัญในการพัฒนาอุปกรณ์ เพื่อให้สามารถแข่งขันยุคอินเทอร์เน็ตในทุกสิ่ง (IoT = Internet of Things) เพราะยิ่งประหยัดพลังงาน ยิ่งลดฮาร์ดแวร์ และทำงานได้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น
ADSL
(Asymmetric Digital Subscriber Line) คือ เทคโนโลยีในการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตความเร็วสูงผ่านสายโทรศัพท์ เป็นระบบสื่อสารข้อมูลเป็นแบบไม่สมมาตร มีความเร็วได้มากกว่า 6 Mbps ซึ่งมีความเร็วสูงกว่า 56 Kbps ใน Modem แบบเดิม แต่ปัจจุบันถูกแทนที่ด้วย Fiber optic ที่มีค่าบริการรายเดือนต่ำลง แต่ความเร็วสูงขึ้น ถึงระดับ 100 Mbps และสูงขึ้น
Cloud
คือ กลุ่มของเครื่องเซิร์ฟเวอร์ (Server) ที่ให้บริการข้อมูล ซอฟต์แวร์ หรือพื้นที่จัดเก็บข้อมูล ผ่านระบบอินเทอร์เน็ต มีผู้ให้บริการหลายราย อาทิ Amazon Cloud หรือ Google Cloud ซึ่งมีทั้งแบบ Private Cloud, Public Cloud และ Hybrid Cloud
FTTx
คือ การเชื่อมต่อด้วยสายใยแก้วนำแสดง (Fiber optic) ซึ่งทำให้การเชื่อมต่อมีความเร็วสูงกว่าใช้สายโทรศัพท์ที่เป็นสายทองแดง และมีบริการที่หลายหลาย อาทิ FTTH : Fiber to The Home หรือ FTTO : Fiber to The Office
ISP
(Internet Service Provider) คือ ผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ต เมื่อผู้ใช้ต้องการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตจะต้องเชื่อมต่อไปยังผู้ให้บริการ และผู้ให้บริการก็เชื่อมต่อไปยังผู้บริการรายอื่น เชื่อมโยงกันไประหว่างเมือง ระหว่างประเทศจนเชื่อมถึงกันหมด เมื่อมีการส่งข้อมูลจากผู้ใช้ ข้อมูลก็จะส่งไปยังผู้ให้บริการ และส่งต่อไปยังผู้ให้บริการรายอื่น จนข้อมูลไปถึงผู้รับปลายทาง ตัวอย่างผู้ให้บริการในประเทศไทย เช่น CAT, 3BB, AIS, TOT, True
Bookmark
บุ๊กมาร์ก คือ เครื่องมือบันทึกที่อยู่เว็บไซต์ (Address) ที่ต้องการบันทึกเก็บไว้ในกรณีพบเว็บไซต์ที่ชื่นชอบ หรือของโปรด (Favorites) และต้องการเข้าถึงครั้งต่อไปได้โดยง่าย ด้วยการสั่งบุ๊คมาร์กเว็บไซต์ หรือตัวระบุแหล่งทรัพยากรสากล (URL = Uniform Resource Locator) เก็บไว้อย่างเป็นระบบบนบราวเซอร์ (Browser) เช่น chrome, opera, safari, firefix, puffin ซึ่งบน Desktop สามารถสั่ง Import หรือ Export bookmarks เพื่อย้ายรายการบุ๊กมาร์กเข้าออกระหว่างเครื่องคอมพิวเตอร์ได้
HTTP:80
(HyperText Transfer Protocol) คือ ระเบียบวิธีการในการแจกจ่าย หรือส่งข้อมูลไปยังผู้ร้องขอสื่อผสม ที่มีทั้งภาพ เสียง และวิดีโอ ซึ่งเครื่องบริการมักถูกร้องจากผู้ใช้ผ่านโปรแกรมบราวเซอร์ (Web browser) และแสดงผลข้อมูลหลายรูปแบบในแบบสื่อผสมผสานบนโปรแกรมบราวเซอร์ที่เครื่องของผู้ใช้
FTP:21
(File Transfer Protocol) คือ ระเบียบวิธีการสำหรับส่งแฟ้ม (Send) หรือรับแฟ้ม (Receive) ระหว่างเครื่องคอมพิวเตอร์ของผู้ใช้ (Client Computer) กับเครื่องบริการ (Web Server) ผู้ให้บริการมักเปิดบริการ Port 21 พร้อมสร้างรหัสผู้ใช้(User Name) และรหัสผ่าน(Password) ให้ผู้ใช้แต่ละคนได้เป็นเจ้าของพื้นที่แต่ละห้อง (User Folder) เมื่อส่งแฟ้มชื่อ index.html หรือ default.asp ตามที่เครื่องบริการกำหนด เข้าไปในห้องสำหรับเผยแพร่เว็บเพจ ผู้ใช้ทั่วไปก็จะเข้าถึงข้อมูลได้ตามที่ผู้พัฒนาเว็บเพจคาดหวัง
TELNET:23
คือ วิธีหลักใช้ติดต่อสื่อสารทางไกลกับอุปกรณ์ผ่านการป้อนคำสั่งด้วยมือ ปัจจุบันมีคำแนะนำให้ใช้ SSH แทน ซึ่งจะมีการเข้ารหัสให้ปลอดภัยระหว่างการรับส่งข้อมูล
SMTP:25
(Simple Mail Transfer Protocol) คือ ระเบียบวิธีการในการบริการจัดส่งอีเมลไปยังบัญชีเป้าหมาย และให้บริการกับผู้ใช้ภายในเครือข่าย ที่มีรหัสผู้ใช้ และรหัสผ่าน ใช้งานคู่กับบริการจัดเก็บอีเมล (POP Service) ที่ต้องทำงานคู่กันระหว่าง รับเข้า (input) และส่งออก (output)
POP:110
(Post Office Protocol) คือ ระเบียบวิธีการในการบริการจัดการเก็บอีเมล และให้บริการกับผู้ใช้ภายในเครือข่าย ที่มีรหัสผู้ใช้ และรหัสผ่าน ซึ่งจะต้องใช้พื้นที่ในการจัดเก็บให้กับผู้ใช้แต่ละคน และใช้งานคู่กับบริการจัดส่งอีเมล (SMTP Service) ที่ต้องทำงานคู่กันระหว่าง รับเข้า (input) และส่งออก (output)
DNS:53
Domain Name System) คือ ระบบบริการแปลงชื่อ Domain name เป็น ip address ทำให้แต่ละเครื่องมีหมายเลขอ้างอิงเครื่อง และชื่อเครื่อง ที่เฉพาะเจาะจง และไม่ซ้ำกัน ซึ่งฐานข้อมูลนี้จะมีใช้งานอยู่ในทุกเครือข่าย หรืออ้างอิงใช้งานจากเครือข่ายอื่น ที่ทำหน้าที่แปลชื่อเป็นหมายเลข และใช้กำหนดเส้นทางเชื่อมต่อเป็นลำดับต่อไป
DHCP:67/68
(Dynamic Host Configuration Protocol) คือ ระเบียบวิธีการที่ถูกใช้ในการจัดการหมายเลข ip address ภายในเครือข่ายท้องถิ่น ทำให้แต่ละเครื่องได้รับหมายเลข ip ที่ไม่ซ้ำ และใช้งานได้เฉพาะในเครือข่ายนั้น พบว่า เราท์เตอร์ (Router) มักทำหน้าที่เป็นเครื่องบริการนี้ ทำให้ที่กำหนดหมายเลข ip ให้กับเครื่องคอมพิวเตอร์ภายในเครือข่าย
TCP/IP
(Transmission Control Protocol/Internet Protocol) คือ ชุดของโปรโตคอล หรือระเบียบวิธีการที่ถูกใช้ในการสื่อสารผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ต เพื่อให้สามารถสื่อสารจากต้นทางข้ามเครือข่ายไปยังปลายทาง และหาเส้นทางที่จะส่งข้อมูลได้โดยอัตโนมัติ
Facebook
เฟซบุ๊ก คือ เว็บไซต์เครือข่ายสังคม สำหรับติดต่อแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสารและติดตามกันระหว่างเพื่อน เปิดให้ใช้งานเมื่อ 4 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2547 โดย มาร์ก ซักเคอร์เบิร์ก นักศึกษาจากมหาวิทยาลัยฮาร์เวิร์ด ในช่วงแรกนั้นเฟซบุ๊กเปิดให้ใช้งานเฉพาะในกลุ่มนักศึกษาของมหาวิทยาลัยฮาร์เวิร์ด ซึ่งต่อมาได้ขยายออกไปยังมหาวิทยาลัยทั่วสหรัฐอเมริกา และเปิดให้ขยายไปถึงผู้ใช้ทั่วไปตั้งแต่ 11 กันยายน พ.ศ. 2549
Fanpage
แฟนเพจ คือ หน้าเนื้อหาที่มีข้อมูลอย่างต่อเนื่องของบุคคล องค์กร กลุ่มคน สถานที่ สัตว์ สิ่งของที่ถูกกำหนดอย่างชัดเจน ให้ผู้คนได้เข้าไปติดตาม พูดคุย แลกเปลี่ยน กดไลก์ กดแชร์ ซึ่งแฟนเพจมีผู้ดูแลได้หลายคน ตามบทบาทที่กำหนดให้ แล้วแต่ละคนยังสามารถสร้างแฟนเพจได้หลายหน้าตามประเด็นที่สนใจ
Facebook Group
กลุ่มเฟซ คือ พื้นที่ที่เปิดให้สมาชิกของกลุ่ม เข้าไปติดตาม พูดคุย แลกเปลี่ยน กดไลก์ กดแชร์ ผู้ตั้งกลุ่มจะมีกฎระเบียบที่กำหนดขึ้น ซึ่งกลุ่มมีทั้งประเภทสาธารณะ และกลุ่มส่วนตัว เพื่อให้สมาชิกอยู่ร่วมกันได้อย่างสงบสุข ซึ่งแฟนเพจมีผู้ดูแลได้หลายคน ตามบทบาทที่กำหนดให้ โดยแต่ละคนสามารถสร้างกลุ่มได้หลายกลุ่มตามความสนใจ
Facebook Profile
เฟซบุ๊กโปรไฟล์ คือ บัญชีผู้ใช้ที่แสดงตนถึงความเป็นบุคคล ที่ผูกบัญชีกับอีเมลหรือเบอร์โทรศัพท์ในการยืนยันตัวตน แต่มีการนำไปปรับใช้เป็นบัญชีระดับองค์กร สมาคม กลุ่มอย่างแพร่หลาย ซึ่งการสร้างแฟนเพจ หรือกลุ่มเฟซจะต้องเริ่มต้นจากการมีบัญชีเฟซบุ๊กโปรไฟล์ก่อนเสมอ

Abbreviations : 176 words

Moodle : Glossary
Q1. Email
การส่งอีเมล นอกจากคำว่า To แล้ว มีคำที่น่าสนใจ ดังนี้ cc, bcc, attach, spell check, archive, label, bandwidth, reply, forward, sender, spam, address book, contact list, appointment, reminder, colleague, self-adhesive note, junk, achieve, specific folder, recipient, unsolicited mail, deliver, original message
Q2. Windows
ระบบปฏิบัติการวินโดวส์ ได้รับความนิยมสูงสุด มีคำที่น่าสนใจ ดังนี้ pictures, documents, videos, desktop, menu bar, icon, title bar, status bar, cmd, dialog box, co-founder, click, context-sensitive menu, minimize, operating system, aero peek, pointer, ribbon menu, resize, hide/unhide, command prompt, libraries, games, musics, taskbar, scrollbar, system tray, start menu, close, maximize, Internet Explorer, Control panel
Q3. Network
เครือข่าย คือ การเชื่อมโยงคอมพิวเตอร์ มีคำที่น่าสนใจ ดังนี้ topology แปลว่า แบบโครงสร้างเครือข่าย, ip address, star, bus, lan, characteristic, domain name, protocol, hybrid, node, center point, connect, signal, cloud storage, website, mesh, ring
Q4. Social media
สื่อสังคมมีผู้ให้บริการจำนวนมาก ต้องเลือกสังคมที่เหมาะกับเรา มีคำที่น่าสนใจ ดังนี้ real time, foursquare, social media, movie file, sound file, yammer, competitor, boss, pet, provider, content, poll, note, invite friend, retweet
Q5. Ms Word
หนึ่งในโปรแกรมกลุ่ม MS Office คือ word มีคำที่น่าสนใจ ดังนี้ exam, quiz, find, search, replace, typing, spelling, flag, dictionary, grammar check, ignore, following, formatting, underline, italic, bold, macro, calculation, times new roman, verdana, arial, preview, setup, layout, copy, paste, delete, remove, accident, decide, facility, cancel, redo, reverse, undo, alignment, word count
Q6. Application
โปรแกรมประยุกต์ มีคำที่น่าสนใจ ดังนี้ software, hardware, peopleware, topic, apple, amazon, lazada, app store, play store, 4shared, dropbox, flash drive, google drive, one drive, frame, form, spreadsheet, text editor, multimedia, suite, dbms, scanner, qr code, barcode, column, cell, row, formula
Q7. Presentation
การนำเสนอ มีคำที่น่าสนใจ ดังนี้ access, powerpoint, excel, paint, speak loud, handout, dress, professionally, screen, contact, audience, focus, speaker, longer, easier, entertain, outline, external, requirement, purpose, heading, presenter, criticism, possible, gestures, persuade, educate, respond, immediately, benefit, microphone, gray, dark, blue, invalid, format, style, strikethrough, capital, change case
Q8. Multimedia
มัลติมีเดีย มีคำที่น่าสนใจ ดังนี้ communication, media, device, midi, static, dynamic, light, element, animation, image, audio, integrate, still, combile, television, micro, series, picture, display, colour, jpeg, mpeg, vector, without, quality, bitmap, dimension, decrease, increase, pixel, depth
Q9. Ethics
จริยธรรม ดังนี้ listen, neighbor, peace, backyard, apologize, reasonable, level, loud, laughing, encourage, kindly, branch, philosophy, engineering, copyright, botnet, intellecture property, parent, incorrect, reams, judge, individual, success, career, important, appearance, attendance, attitude, respect, aim, responsibility, cooperation, instructor, private, part-time, several, current, regulate, punish, severely, option, salary, wage, approaches, decision-making, logic, fairness, right, virtue, process
Q10. Database
ฐานข้อมูล มีคำที่น่าสนใจ ดังนี้ unique, identity, table, foreign, primary, character, record, field, warehouse, information, create, share, object, relational, consist of, query, number, memo, hierarchy, organization, difference, store, fact, collection, method, except, retrieve, insert, update, drop, modify
Imagination Case

จินตนาการสำคัญกว่าความรู้ แต่ถ้าไม่มี ความรู้พื้นฐาน มาก่อน จินตนาการ จะไม่เกิดขึ้น ภาพนี้เล่าได้ว่า จินตนาการสำคัญกว่าความรู้
ารเรียนรู้แบบ Active Learning ใน ห้องเรียนแห่งอนาคต มีหลายรูปแบบ แต่ละแบบมีจุดเด่นต่างกันไป เช่น การเรียนการสอนโดยใช้ปัญหาเป็นฐาน (Problem-Based Learning) คือ การเรียนรู้ผ่านการตั้งคำถามของคุณครู สร้างสถานการณ์ปัญหา สร้างภาระให้ผู้เรียนได้นำไปจัดการ ได้แก้ปัญหา หาคำตอบ ผ่านการค้นคว้าทดลองด้วยตนเอง สะท้อนออกมาเป็นผลงานในรูปแบบที่หลากหลาย ขึ้นกับลักษณะปัญหาและจุดประสงค์การเรียนรู้ตามเนื้อหาวิชา
คู่มือ Cyber Security สำหรับประชาชน มีอภิธานศัพท์ 28 คำ

คู่มือ Cyber Security
หนังสือคู่มือแนวทางปฏิบัติการรักษาความปลอดภัยบนโลกไซเบอร์ภาคประชาชน คือ "คู่มือ Cyber Security สำหรับประชาชน" โดยสำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) ฉบับพิมพ์ครั้งที่ 1 พฤศจิกายน 2557 จำนวนพิมพ์ 3,000 เล่ม และฉบับพิมพ์ครั้งที่ 2 ธันวาคม 2558 จำนวนพิมพ์ 7,500 เล่ม มีแหล่งดาวน์โหลดหนังสือที่ ipst.ac.th, mahidol.ac.th, senahosp.net, facebook.com
เรื่องน่าสนใจ คือ "สรุปข้อควรระวังในการใช้อินเทอร์เน็ต" หน้า 194 ข้อ 5 โพสต์สิ่งใดให้ทำด้วยความระมัดระวัง ไม่โพสต์ข้อความ หรือรูปภาพที่ไม่เหมาะสม หรือกล่าวหาผู้อื่นโดยไม่รู้จริง หรือไม่ได้อยู่ในเหตุการณ์ ด้วยระวังคำพูดคำจา ไม่ข้องแวะกับคนที่พูดจาหยาบคายหรือหาเรื่องชวนทะเลาะ และข้อ 6 แชร์อย่างมีสติ ไม่กุข่าว เมาส์เรื่องที่ไม่ได้รู้จริง สร้างเรื่องเท็จ เผยแพร่หรือส่งต่อคลิปหลุด ข่าวลือ เรื่องเสีย ๆ หาย ๆ ที่ทำให้เกิดความเข้าใจผิด ทำให้ผู้อื่นเสียชื่อเสียง และส่งผลเสียต่อประเทศชาติ
นโยบายและแผนระดับชาติว่าด้วยการพัฒนาดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม มีอภิธานศัพท์ หน้า 49-74
พบ รวมอภิธานศัพท์ (glossary) เกี่ยวกับความรู้ด้านดิจิทัล ที่เผยแพร่ในเอกสาร นโยบายและแผนระดับชาติว่าด้วยการพัฒนาดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (พ.ศ.2561-2580)
ได้ระบุถึงคำศัพท์และความหมายที่เกี่ยวข้องกับดิจิทัล ในภาคผนวก หน้า 49-74 เช่น - การรู้เท่าทันสื่อ (Media and Information Literacy) - ข้อมูลขนาดใหญ่ (Big Data) - เทคโนโลยีการเชื่อมต่อของสรรพสิ่ง (Internet of Things) - ธุรกรรมอิเล็กทรอนิกส์ (e-Commerce) - แพลตฟอร์ม (Platform) - ระบบบริการอิเล็กทรอนิกส์ภาครัฐ (e-Service) - สังคมออนไลน์ (Social Media)
+ PDF : ratchakitcha.soc.go.th
โดย นโยบายและแผนระดับชาติว่าด้วยการพัฒนาดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม แบ่งเป็น 4 ส่วน และ 6 ยุทธศาสตร์ดังนี้
ส่วนที่ 1 บริบทของประเทศไทยในยุคดิจิทัล
ส่วนที่ 2 วิสัยทัศน์ และเป้าหมายการพัฒนาดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม
ส่วนที่ 3 ยุทธศาสตร์การพัฒนาดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม
+ ยุทธศาสตร์ที่ 1: พัฒนาโครงสร้างพื้นฐานดิจิทัลประสิทธิภาพสูงให้ครอบคลุมทั่วประเทศ
+ ยุทธศาสตร์ที่ 2: ขับเคลื่อนเศรษฐกิจด้วยเทคโนโลยีดิจิทัล
+ ยุทธศาสตร์ที่ 3: สร้างสังคมคุณภาพที่ทั่วถึงเท่าเทียมด้วยเทคโนโลยีดิจิทัล
+ ยุทธศาสตร์ที่ 4: ปรับเปลี่ยนภาครัฐสู่การเป็นรัฐบาลดิจิทัล
+ ยุทธศาสตร์ที่ 5: พัฒนากำลังคนให้พร้อมเข้าสู่ยุคเศรษฐกิจและสังคมดิจิทัล
+ ยุทธศาสตร์ที่ 6: สร้างความเชื่อมั่นในการใช้เทคโนโลยีดิจิทัล
ส่วนที่ 4 กลไกการขับเคลื่อน
Infographic
อินโฟกราฟิก (Infographic) คือ การนำเสนอสารสนเทศ ข้อมูล ความรู้ ด้วยภาพกราฟิกเสมือนจริง ที่มุ่งนำเสนอข้อมูลที่ซับซ้อนให้เข้าใจได้อย่างชัดเจนรวดเร็ว ปรับใช้ประโยชน์ภาพกราฟิกแสดงรูปแบบข้อมูล หรือแนวโน้ม กระบวนการจัดทำเกี่ยวข้องกับภาพเสมือนจริง การออกแบบสารสนเทศ และสถาปัตยกรรมสารสนเทศ
ภาษาไทยเพื่อการสื่อสาร (9 แบบ)
Cloud storage
ประเด็นน่าสนใจเรื่องทักษะในการทำงาน /md/tec_all
ดร. สุวิทย์ เมษินทรีย์ ความหวังสำคัญผ่านคณะเทคโนโลยีสารสนเทศ ว่า "คณะเทคโนโลยีสารสนเทศจะเข้ามามีบทบาทในการช่วยขับเคลื่อนประเทศอย่างไรได้บ้าง" และได้รับข้อเสนอแนะมาหลายเรื่อง แล้วยังมีเรื่องต้องทำอีกมาก
ท้าทาย ศักยภาพของคนไทยที่จะได้งาน หลังเปิดประเทศ ในกลุ่มอาเซียน (Thais face challenges getting asean jobs)
บริการประมวลผลออนไลน์
แปลง word เป็น pdf
เมื่อเปิด word ในเครื่องอื่น อาจมีรูปแบบต่างไป จึงนิยมแปลงเป็น pdf ให้รูปแบบคงที่ ทั้งฟอนต์และตำแหน่งเดิม
เพิ่มเลขหน้าให้ pdf
การนำ pdf หลายแฟ้มมาต่อกัน หรือแฟ้มเดิมไม่มีเลขหน้า เมื่อต้องการใส่เลขหน้าชุดใหม่ จึงได้สั่งเพิ่มเลขหน้า
ปลดล็อกรหัสแฟ้ม pdf
แฟ้มที่ถูกป้องกันด้วยการใส่รหัสผ่าน เพื่อจำกัดการเปิดหรือแก้ไข ในกรณีที่เราใส่รหัสล็อก แต่ลืมก็สั่งปลดล็อกได้
ลดขนาดแฟ้มให้เล็กลง
ภาพที่เรามีมักเป็นภาพต้นฉบับที่มีความละเอียดสูง มีขนาดใหญ่ มักต้องลดขนาด เพื่อให้เหมาะสมกับรูปแบบเว็บ
ลบภาพพื้นหลัง
ภาพถ่ายที่มีสองส่วน คือ ภาพพื้นหลัง และภาพคน/สิ่งของ หากลบภาพฉากได้ก็เปลี่ยนฉากแล้วได้ภาพใหม่ที่ต่างไป
จำลองตัวแปลภาษา
ตัวแปลภาษามักต้องติดตั้งในเครื่องผู้ใช้ แต่มีบริการจำลอง ทำให้เขียนโค้ดแล้วส่งไปประมวลผล เพื่อทดสอบดูผลได้
จำลองฐานข้อมูลใช้ SQL
บริการจำลองระบบฐานข้อมูล เพื่อใช้คำสั่ง SQL ทดลองสั่งจัดการข้อมูล ด้วยคำสั่งเพิ่ม ลบ แก้ไข เรียกข้อมูลตามเงื่อนไข
จำลองระบบลีนุกซ์
การติดตั้งลีนุกซ์ด้วยตนเอง เพื่อใช้ Shell แต่มีอีกทางเลือกคือใช้ Shell จากผู้บริการระบบจำลอง เพื่อลองใช้คำสั่ง
เข้ารหัสถอดรหัส base64
การแปลงแฟ้มไบนารี่ เช่น jpg, ttf เป็น text ด้วยการเข้ารหัส base64 แล้วเก็บในโค้ด เมื่อใช้จะถอดรหัสไปใช้งาน
จัดเรียงข้อมูลตัวอักษร
หนึ่งในการประมวลผลที่พบบ่อยคือการจัดเรียงข้อมูล ซึ่งข้อมูลแบบตัวอักษรสามารถใช้ editor หรือบริการออนไลน์
แปลงแฟ้มภาพเป็น webp
แฟ้ม webp เป็นมาตรฐานภาพของ chrome เริ่มถูกยอมรับ จุดเด่นคือเล็ก มีบริการแปลงภาพแบบอื่นให้เป็นแบบนี้
thaiall.com/tec/online_service.htm
แปลงแฟ้ม word เป็น pdf
	https://www.sodapdf.com/word-to-pdf/
เพิ่มเลขหน้าให้ pdf
	https://www.ilovepdf.com/add_pdf_page_number
ปลดล๊อกรหัสแฟ้ม pdf
	https://smallpdf.com/unlock-pdf/
ลดขนาดแฟ้มให้เล็กลง
	https://www.reduceimages.com/
ลบภาพพื้นหลัง
	https://www.remove.bg/
จำลองตัวแปลภาษาคอมพิวเตอร์ (playground, simulator)
	https://www.tutorialspoint.com/compile_java_online.php
จำลองฐานข้อมูลให้ใช้คำสั่ง SQL
	https://www.w3schools.com/sql/
จำลองการทำงานของระบบปฏิบัติการลีนุกซ์
	https://bellard.org/jslinux/
เข้ารหัสถอดรหัส base64
	https://rawgit.com/MrRio/jsPDF/master/fontconverter/fontconverter.html
จัดเรียงข้อมูลตัวอักษร
	https://codebeautify.org/sort-text-lines
แปลงแฟ้มภาพเป็น webp
	https://convertio.co/png-webp/
แนะนำหนังสือของ McGraw-Hill
เอกสารอ้างอิง [1] ธีราวุธ ปัทมวิบูลย์. (2545). ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์. กรุงเทพฯ: โปรวิชั่น.
[2] ศรีไพร ศักดิ์รุ่งพงศากุล. ( 2549). ระบบสารสนเทศและเทคโนโลยีการจัดการความรู้. กรุงเทพฯ: ซีเอ็ดยูเคชั่น.
[3] Timothy J. O'Leary & Linda I. O'Leary. (2549). คอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีสารสนเทศสมัยใหม่(ยาใจ โรจนวงศ์ชัย และคณะ, ผู้แปลและเรียบเรียง) ( พิมพ์ครั้งที่ 6). กรุงเทพฯ : แมคกรอ-ฮิล.
[4] โอภาส เอี่ยมสิริวงศ์. (2551). วิทยาการคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีสารสนเทศ. กรุงเทพฯ: ซีเอ็ดยูเคชั่น.
[5] Ralph M. Stair, Jr. (1986). Computers in today's world. Homewood: Irwin.
[6] Laudon, K., & Laudon, J. (2016). Management Information System. Upper Saddle River, NJ: Prentice Hall.
[7] Luftman, Jerry N., "Managing the Information Technology Resource"
[8] Long, Larry, "Management Information System"
[9] จิตติมา เทียมบุญประเสริฐ. (2544). ระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการ. กรุงเทพฯ: วี.เจ.พริ้นติ้ง.
[10] ประสงค์ ปราณีตพลกรัง และคณะ. (2543). ระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการ และกรณีศึกษา. กรุงเทพฯ: ธนรัชการพิมพ์.
[11] ณัฏฐพันธ์ เขจรนันทน์ และไพบูลย์ เกียรติโกมล.(2545). ระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการ. กรุงเทพฯ: ซีเอ็ดยูเคชั่น.
[12] ศศลักษณ์ ทองขาว และคณะ. (2556). คอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีสารสนเทศสมัยใหม่. กรุงเทพฯ: ซีเอ็ดยูเคชั่น.
[13] วิโรจน์ ชัยมูล, และสุพรรษา ยวงทอง. (2557). ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีสารสนเทศ (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: โปรวิชั่น.
[14] ธัญธัช นันท์ชนก. (2557). Google Adsense มือใหม่ก็รวยได้. กรุงเทพฯ: วิตตี้กรุ๊ป.
[15] สมชัย อักษรารักษ์ และอศินา พรวศิน. (2547). Being e-Citizen by e-Government โฉมหน้าบริการอิเล็กทรอนิกส์ภาครัฐเพื่อคนไทย. กรุงเทพฯ: ซีเอ็ดยูเคชั่น.
[16] วิริยะ ฤาชัยพาณิชย์ และกมลรัตน์ ฉิมพาลี. (2559). ห้องเรียนแห่งอนาคต เปลี่ยนครูให้เป็นโค้ช. กรุงเทพฯ: ซีเอ็ดยูเคชั่น.
[17] สำนักประชาสัมพันธ์ สำนักงานเลขาธิการวุฒิสภา. (2561). กลยุทธ์การประชาสัมพันธ์ผ่านสื่อสังคมออนไลน์ด้วยการใช้เฟซบุ๊ก (Facebook) สืบค้น 3 มกราคม 2563, จาก http://www.senate.go.th
[18] วศิน เพิ่มทรัพย์ และคณะ. (2562). ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีสารสนเทศ (พิมพ์ครั้งที่ 1). กรุงเทพฯ: โปรวิชั่น.
[19] Timothy O'Leary and Linda O'Leary and Daniel O'Leary. (2021). Computing Essentials 2021. New York: McGraw-Hill.
[20] James A. O’Brien, George M. Marakas. (2011). Management Information Systems,10th. New York: McGraw-Hill.
[21] Cheri Manning and Catherine Manning Swinson. (2020). Microsoft Office 365: A Skills Approach, 2019 Edition. New York: McGraw-Hill.
rspsocial
Thaiall.com