thaiall logomy background

กำเนิดปฏิทิน

my town
กฤษฎา ตันเปาว์ | จริยธรรมสำหรับผู้บริหาร | วิจัยคืออะไร | ศูนย์สอบ | KM | SWOT | คำสำคัญ
กำเนิดปฏิทิน กำเนิดปฏิทิน (อ้างอิงจาก lib.ru.ac.th)

ฏิทิน คือ คาเลนดาร์ ในภาษาอังกฤษ (Calendar) มาจากคำพูดของชาวกรีกโบราณ ว่า “Kalend” มีความหมายว่า “I cry” หรือ “ฉันร้อง” มีที่มาว่า สมัยโบราณจะมีคนคอยร้องบอกชาวเมือง เพื่อบอกกล่าวเหตุการณ์ที่จะเกิดขึ้นล่วงหน้า รวมถึงประกาศวันขึ้นเดือนใหม่ เพื่อให้ลูกหนี้จ่ายเงินที่คั่งค้าง ครั้นต่อมาสังคมเริ่มสลับซับซ้อนมากขึ้น ปฏิทินจึงได้ถูกคิดค้นขึ้นมาเพื่อแทนคนร้องบอก ปฏิทินจึงเป็นสิ่งบอกเวลา และ กลายเป็นสิ่งสำคัญในวิถีชีวิตประจำวันไปในที่สุด ต่อมามนุษย์จึงได้ริเริ่มบันทึก วัน เวลา ขึ้นเป็นลายลักษณ์อักษร หรือ ที่เรียกกันว่า “ปฏิทิน”
ปัจจุบัน “ปฏิทิน” ได้รับความนิยมกันอย่างแพร่หลาย นักธุรกิจติดต่อนัดหมายกันผ่าน วัน เวลา ในปฏิทิน นอกจากนี้ปฏิทินยังคอยย้ำเตือนถึง วัน เวลาที่สำคัญต่าง ๆ เช่น วันเกิด วันหยุด เป็นต้น นอกจากนี้ยังมีปฏิทินที่กำหนดวันสำคัญทางศาสนา ซึ่งต้องอาศัยการประกาศอย่างเป็นทางการ เช่น วันจาริกแสวงบุญของอิสลามิกชน เป็นต้น
ฏิทิน แปลว่า แบบสำหรับดู วัน เดือน ปี สามารถเขียนได้เป็น ประติทิน (ภาษาสันสกฤต) หรือ ประฏิทิน (บาลีแผลง) ประดิทิน หรือ ประนินทิน ก็ได้ คำหลังนี้พบในหนังสือที่เขียนโดย หมอ บรัดเลย์ ในหนังสือ อักขราภิธานศรับท์ หน้า 412 และ หนังสือ สยามไสมย หน้าโษณา ของ หมอ สมิท เป็นต้น แบบสำหรับดู วัน เดือน ปี มีทั้งที่จารึกบนก้อนหิน หรือ ขีด เขียน และ พิมพ์บนกระดาษ ซึ่งมีทั้งชนิดเป็นแผ่น ตั้งแต่ 1 – 12 แผ่น และ ชนิดพิมพ์เป็นเล่มแบบหนังสือปฏิทินชนิดเล่ม การพิมพ์ปฏิทินมีขึ้นเป็นครั้งแรกในเมืองไทย เมื่อวันที่ 14 มกราคม พ.ศ. 2385 (ปลายสมัย รัชกาลที่ 3) ซึ่งสามารถตรวจสอบ และ ค้นคว้าหาหลักฐานได้จาก ไมโครฟิล์ม หนังสือบางกอกคาเลนดาร์ ปี ค.ศ. 1870 (พ.ศ. 2413) หน้า 5 ในหอสมุดแห่งชาติ หรือ ค้นคว้าได้จากหนังสือต้นฉบับ ที่หอสมุดดำรงราชานุภาพ ซึ่งหมอ บรัดเลย์ ได้เขียนไว้ว่า “14 First Calendar print in B. 1842” (ไม่บอกว่าใครเป็นผู้พิมพ์ แต่คาดหมายว่า คือ หมอ บรัดเลย์ ซึ่งเป็นเจ้าของโรงพิมพ์ ผู้มีผลงานทางหนังสือมากมาย)
รัชกาลที่ 4 ทรง ฯ โปรดให้พิมพ์ปฏิทินภาษาไทย (ภายหลังจากที่ หมอบรัดเลย์ พิมพ์ปฏิทินชิ้นแรกในสยาม เมื่อ พ.ศ. 2385) เมื่อวันที่ 12 มีนาคม พ.ศ. 2404 ดังปรากฏหลักฐานใน หนังสือบางกอกคาเลนดาร์ ฉบับ ปี ค.ศ. 1862 (พ.ศ. 2405) หน้า 108 ในสมัยรัชกาลที่ 5 ปฏิทินที่พิมพ์ในเมืองไทย ได้แก่ “ประนินทิน” ซึ่งลงโฆษณาใน หนังสือสยามไสมย ของ หมอสมิท เขียนคำโฆษณาไว้ตอนหนึ่ง ว่า “ประนินทินนี้ แจ้งให้รู้ถึงการอื่นเป็นอันมา กอันควรคนทั้งปวงจะรู้ ถ้าไม่รู้เขาจะนินทาว่าคนโง่” แจ้งราคาขายไว้เล่มละ 4 บาท (ราคาในสมัยนั้น) ปัจจุบันยังหาประนินทินของหมอสมิทไม่พบ
ฏิทินในสมัยรัชกาลที่ 6 ที่น่าสนใจ ได้แก่ ปฏิทินพกเล่มเล็ก ๆ ที่พระองค์ทรงโปรดเกล้าฯ ให้พิมพ์เป็นของชำร่วย สำหรับแจกพระราชทาน แก่ขุนนางที่ลงนามถวายพระพร ในวันขึ้นปีใหม่ ปฏิทินพกแบบนี้ยังมีแจกต่อมาจนถึงรัชกาลปัจจุบัน ซึ่งบุคคลธรรมดาก็สามารถไปลงนามถวายพระพร และ รับปฏิทินหลวงได้
ารพิมพ์ปฏิทินเล่มยังมีการจัดทำต่อมา จนกระทั่งถึงรัชกาลปัจจุบัน ปฏิทินเล่มยังมีรายละเอียดในเรื่องของ สภาพภูมิอากาศ เวลาน้ำขึ้น – น้ำลง การเดินทางของดวงจันทร์ และ ดวงอาทิตย์ และ มีช่องว่างให้บันทึกเล็กน้อย ยังมีสมุดบันทึกอีกแบบหนึ่ง ซึ่งบอกรายละเอียดของ วัน เดือน ปี เรียงไปตามลำดับ และ มีหน้าสำหรับจดบันทึกหมายเหตุรายวัน รวมถึงวันสำคัญ และ วัน เวลา นัดหมาย ฯลฯ ที่เรียกว่า “ไดอารี่” (Diary) หรือ “สมุดบันทึกประจำวัน” ก็สามารถอนุโลมให้เป็นปฏิทินได้ ปฏิทินไดอารี่ เริ่มมีใช้ในเมืองไทยเมื่อใดยังไม่ปรากฏหลักฐานที่ชัดเจน แต่ไดอารี่ที่มีชื่อเสียงเป็นที่รู้จักกันทั่วไป และ มีคุณค่าทางประวัติศาสตร์อย่างสูง คือ ไดอารี่ของรัชกาลที่ 5 ซึ่งเมื่อตีพิมพ์เผยแพร่มีชื่อเรียกว่า “จดหมายเหตุพระราชกิจรายวัน

เอกสารอ้างอิง
มณฑา สุขบูรณ์, “เวลา … พันธนาการแห่งมนุษย์”, THE EARTH 2000 2,22 (2539), 76 –88.
อเนก นาวิกมูล, “สิ่งพิมพ์คลาสสิค วิคตอรี่เพาเวอร์พอยท์”, กรุงเทพฯ, 2533.
Dir : calendar File : calendar64.htm Topic : calendar_history

Reset | Decode | WTJGc1pXNWtZWEk9 | WTJGc1pXNWtZWEkyTkM1b2RHMD0=
คุณคิดอะไรอยู่
Thaiall.com