thaiall logomy background

อาชีพในฝันของเด็กไทย

my town
พัฒนาทักษะ | job sites | ห้องเรียนในอนาคต | อาชีพในฝัน | อาชีพแห่งอนาคต |
อาชีพในฝันของเด็กไทย ทวีพร สุวรรณวลัย Ann Taweeporn าชีพในฝันของเด็กไทย คือ อาชีพที่มาจากจินตนาการที่เด็กไทยเคยได้รับข้อมูลในอดีต แล้วนำมาประมวลผลในปัจจุบัน และเลือกอาชีพในฝันของตนเอง เพื่อทำให้ความฝันเป็นจริงในอนาคต
ประเด็นชวนให้คิดถึง
อาชีพในอดีต คือ รับรู้ถึงอาชีพผ่านการฟัง ได้รู้เห็นเป็นข้อมูล (เคยรู้เห็นมาแล้ว)
อาชีพในปัจจุบัน คือ อาชีพที่ลงมือฝึกปฏิบัติ หรือเรียนรู้อย่างเป็นระบบ (ได้เรียนและฝึกฝน)
อาชีพในอนาคต คือ ผลลัพธ์จากการเลือกศึกษาต่อ หรือทำงานเลี้ยงชีพได้ (จะทำเพื่อเลี้ยงชีพ)
คำขวัญวันเด็ก : ประยุทธ์ จันทร์โอชา ซึ่ง คำขวัญวันเด็ก คือ ข้อความ คำคล้องจอง หรือบทกลอนสั้น เพื่อให้จำได้ง่าย ที่นายกรัฐมนตรีมอบให้เด็กไทยเป็นแนวปฏิบัติ ที่มอบให้ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2499 และครั้งที่สองในปี พ.ศ. 2502 แล้วทำเช่นนี้เป็นธรรมเนียมสืบเนื่องถึงปัจจุบัน
ปี พ.ศ. 2566 : รู้หน้าที่ มีวินัย ใฝ่ความดี
ปี พ.ศ. 2565 : รู้คิด รอบคอบ รับผิดชอบต่อสังคม
ปี พ.ศ. 2564 : เด็กไทยวิถีใหม่ รวมไทยสร้างชาติ ด้วยภักดีมีคุณธรรม
ปี พ.ศ. 2563 : เด็กไทยยุคใหม่ รู้รักสามัคคี รู้หน้าที่พลเมืองไทย
ปี พ.ศ. 2562 : เด็ก เยาวชน จิตอาสา ร่วมพัฒนาชาติ
ปี พ.ศ. 2561 : รู้คิด รู้เท่าทัน สร้างสรรค์เทคโนโลยี
ปี พ.ศ. 2560 : เด็กไทย ใส่ใจศึกษา พาชาติมั่นคง
ปี พ.ศ. 2559 : เด็กดี หมั่นเพียร เรียนรู้ สู่อนาคต
ปี พ.ศ. 2558 : ความรู้ คู่คุณธรรม นำสู่อนาคต
อาชีพในฝันของเด็กไทย 2566 ที่ได้เลือกในปัจจุบันเมื่อถูกถาม าชีพแห่งอนาคตเป็นเรื่องที่ต้องคาดการณ์กันต่อไป ห้องเรียนแห่งอนาคตนั้นจะมีการบริหารจัดการอย่างไร เพื่อให้ได้บัณฑิตที่พึ่งประสงค์ของสังคมก็ยังต้องพัฒนากันต่อไป จากการทบทวนวรรณกรรม (Literature Review) เมื่อปี พ.ศ. 2566 [1] กระทรวงวัฒนธรรม ร่วมกับ สวนดุสิตโพล มหาวิทยาลัยสวนดุสิต สำรวจความคิดเห็นเด็ก เยาวชนและประชาชนกลุ่มตัวอย่าง 7439 คน ครอบคลุมทุกระดับการศึกษา ทุกอาชีพและทุกภูมิภาค ในหัวข้อ “วันเด็กแห่งชาติ” ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2566 หัวข้อ อาชีพที่ใฝ่ฝันอยากเป็นมากที่สุดของเด็กไทย พบว่า อันดับ 1 มีร้อยละ 14.85 ฝันอยากเป็น ครู-อาจารย์ อันดับ 2 มีร้อยละ 12.26 ฝันอยากเป็น หมอ-พยาบาล อันดับ 3 มีร้อยละ 11.53 ฝันอยากเป็น นักธุรกิจ-พ่อค้า อันดับ 4 มีร้อยละ 11.24 ฝันอยากเป็น ทหาร-ตำรวจ และ อันดับ 5 มีร้อยละ 9.57 ฝันอยากเป็นยูทูบเบอร์ เมื่อปี พ.ศ. 2564 [2] กลุ่มบริษัทอเด็คโก้ มีผลสำรวจ Adecco Children Survey ที่สำรวจความคิดเห็นเด็กไทยในกลุ่มตัวอย่างอายุ 7-14 ปี จำนวน 2024 คน จากทั่วประเทศ พบว่า อันดับ 1 ฝันอยากเป็น หมอ อันดับ 2 ฝันอยากเป็น ครู อันดับ 3 ฝันอยากเป็น ยูทูปเบอร์ อันดับ 4 ฝันอยากเป็น ดารา-นักร้อง และอันดับ 5 ฝันอยากเป็น ตำรวจ เมื่อปี พ.ศ. 2563 [3] กลุ่มบริษัทอเด็คโก้ ได้สำรวจในหัวข้อ อาชีพในฝันของเด็กไทย ครั้งที่ 11 ที่สำรวจในกลุ่มตัวอย่างเด็กไทยอายุ 7-14 ปี จำนวน 4050 คน จากทั่วทุกภูมิภาค พบว่า อันดับ 1 ฝันอยากเป็น หมอ อันดับ 2 ฝันอยากเป็น ครู อันดับ 3 ฝันอยากเป็น ยูทูปเบอร์ อันดับ 4 ฝันอยากเป็น นักกีฬา และอันดับ 5 ฝันอยากเป็น ทหาร เมื่อปี พ.ศ. 2560 [4] กลุ่มบริษัทอเด็คโก้ ได้สำรวจในหัวข้อ อาชีพในฝันของเด็กไทย ครั้งที่ 8 พบว่า อันดับ 1 ฝันอยากเป็น ครู อันดับ 2 ฝันอยากเป็น แพทย์ อันดับ 3 ฝันอยากเป็น ทหาร อันดับ 4 ฝันอยากเป็น นักกีฬา และอันดับ 5 ฝันอยากเป็น ตำรวจ เมื่อปี พ.ศ. 2556 [5] กลุ่มบริษัทอเด็คโก้ ได้สำรวจในหัวข้อ อาชีพในฝันของเด็กไทย ครั้งที่ 4 พบว่า อันดับ 1 ฝันอยากเป็น หมอ อันดับ 2 ฝันอยากเป็น วิศวกร อันดับ 3 ฝันอยากเป็น ตำรวจ อันดับ 4 ฝันอยากเป็น นักธุรกิจ และอันดับ 5 ฝันอยากเป็น ครู แล้วพบว่า สำนักพิมพ์เอ็มไอเอส (MISBOOK) [6] จำหน่ายหนังสือชุด อาชีพในฝันของหนู (ใช้ร่วมกับ MIS TalkingPen ได้) ซึ่งในชุดประกอบด้วย 5 อาชีพ ได้แก่ 1) คุณหมอ 2) เจ้าหน้าที่ตำรวจ 3) คุณครู 4) นักบินอวกาศ และ 5) สัตวแพทย์
เอกสารอ้างอิง
[1] วธ.เผยผลโพลวันเด็กปีนี้ 14.85% อยากเป็น “ครู” มากที่สุด
[2] ผลสำรวจ ของบริษัทอเด็คโก้ ปี 2021
[3] ผลสำรวจ ของบริษัทอเด็คโก้ ปี 2020
[4] ผลสำรวจ ของบริษัทอเด็คโก้ ปี 2017
[5] ผลสำรวจ ของบริษัทอเด็คโก้ ปี 2013
[6] หนังสือชุด อาชีพในฝันของหนู (ใช้ร่วมกับ MIS TalkingPen ได้)
อ่านเพิ่มเติม
การจัดการศึกษาที่มุ่งเน้นทักษะอาชีพ
เอกสารอ้างอิง

ศุภากร เมฆขยาย. (2564). รูปแบบการจัดการศึกษาที่มุ่งเน้นทักษะอาชีพของสถานศึกษาในเขตพื้นที่สูงและถิ่นทุรกันดาร สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. คุรุสภาวิทยาจารย์, 2(2), 93-106.

ผลการศึกษา ได้เสนอ แผนภาพการจัดการศึกษา ที่ประกอบด้วย 4 องค์ปรกอบ ได้แก่
1) ทรัพยากร (Resources)
2) การฝึกหัด (Practice)
3) การส่งเสริม (Support)
4) การประเมินผล (Evaluation)
ปัจจัยที่ใช้ประกอบการตัดสินใจเลือกศึกษาต่อ
เอกสารอ้างอิง

ประกาศิต วาดเขียน, สุวรรณา โชติสุกานต์, และ ภิเษก จันทรเอี่ยม. (2556). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการตัดสินใจเลือกศึกษาสายสามัญหรือสายอาชีพของนักเรียนมัธยมศึกษาชั้นปที่ 3 โรงเรียนฤทธิยะวรรณาลัย. วารสารบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์, 7(1), 89-98.

ากผลการศึกษา ปัจจัยที่ใช้ประกอบการตัดสินใจเลือกศึกษาต่อ ที่เสนอไว้ 6 ด้าน ได้แก่ 1) ด้านบุคลิกภาพ 2) ด้านค่านิยมในการศึกษาต่อ 3) ด้านการสนับสนุนจากครอบครัว 4) ด้านอิทธิพลจากรุ่นพี่ 5) ด้านอิทธิพลจากเพื่อน และ 6) ด้านสถานศึกษา พบว่า ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการเลือกสายการเรียน คือ 1) ด้านค่านิยมในการศึกษาต่อ 2) ด้านอิทธิพลจากรุ่นพี่ และ 3) ด้านอิทธิพลจากเพื่อน มีความสัมพันธ์กันอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ .05 โดยการทดสอบด้วยสถิติไค-สแควร์ (Chi-Square Test)
คำขวัญวันเด็กปี 2566 ของผู้ว่าฯ #ชัชชาติ
ทรงอย่างแบด Paper Planes เรียนอย่าแบด แซดอย่าบ่อย
สู้อย่าถอย ค่อย ๆ สร้างพลังใจ
ความหมายของคำขวัญวันเด็กปี 2566 ของผู้ว่าฯ #ชัชชาติ
เพลง ทรงอย่างแบด (Bad Boy) ของ Paper Planes
คณะวิชาที่มีผู้สมัครมากที่สุด
พบว่า มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ได้ปล่อยข้อมูลการสมัครเรียน เพื่อเข้าเรียนในปีการศึกษา 2566 ในเพจ "ทีมมช by AutoBot" เมื่อวันที่ 19 เมษายน 2566
@Teammorchor
เมื่อจำแนกตามคณะวิชาที่มีผู้สมัครมากที่สุด
โดยเรียงจากมากไปน้อยได้ดังนี้ 1) คณะพยาบาลศาสตร์ สาขาพยาบาลศาสตร์ 2034 คน 2) คณะเทคนิคการแพทย์ สาขาเทคนิคการแพทย์ 1474 คน 3) คณะทันตแพทยศาสตร์ 1105 คน 4) คณะการสื่อสารมวลชน สาขาการสื่อสารมวลชน 1096 คน 5) คณะแพทยศาสตร์ 977 คน 6) คณะเทคนิคการแพทย์ สาขากายภาพบำบัด 948 คน 7) คณะมนุษยศาสตร์ สาขาภาษาอังกฤษ 947 คน 8) คณะสัตวแพทยศาสตร์ 901 คน 9) คณะบริหารธุรกิจ สาขาบัญชีและบริหารธุรกิจ สายศิลป์ 875 คน 10) คณะบริหารธุรกิจ สาขาบัญชีและบริหารธุรกิจ สายวิทย์ 841 คน 11) คณะเภสัชศาสตร์ 816 คน 12) คณะวิทยาศาสตร์ สาขาชีววิทยา, จุลชีววิทยา, สัตววิทยา 771 คน 13) คณะวิศวกรรมศาสตร์ สาขาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ 556 คน 14) คณะมนุษยศาสตร์ สาขาการท่องเที่ยว 547 คน 15) คณะวิศวกรรมศาสตร์ สาขาวิศวกรรมโยธา 528 คน
เมื่อจำแนกตามคณะวิชาที่มีการแข่งขันสูงสุด
โดยเรียงจากมากไปน้อยได้ดังนี้ 1) คณะสัตวแพทยศาสตร์ 1:22.53 2) คณะเทคนิคการแพทย์ สาขากายภาพบำบัด 1:21.7 3) คณะพยาบาลศาสตร์ สาขาพยาบาลศาสตร์ 1:19.37 4) คณะมนุษยศาสตร์ สาขาจิตวิทยา 1:19.21 5) คณะวิศวกรรมศาสตร์ สาขาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ 1:18.53 6) คณะทันตแพทยศาสตร์ 1:18.42 7) วิทยาลัยศิลปะ สื่อ และเทคโนโลยี สาขาแอนนิเมชัน และวิชวลเอฟเฟกต์ สองภาษา 1:18 8) คณะศึกษาศาสตร์ สาขาพลศึกษา 1:17.67 9) คณะรัฐศาสตร์และรัฐประศาสนศาสตร์ สาขาการเมืองและการปกครอง 1:17.53 10) คณะรัฐศาสตร์และรัฐประศาสนศาสตร์ สาขาการระหว่างประเทศ 1:17 11) คณะศึกษาศาสตร์ สาขาพลศึกษา 1:16.67 12) คณะศึกษาศาสตร์ สาขาภาษาไทย 1:16.37 13) คณะศึกษาศาสตร์ สาขาภาษาอังกฤษ 1:15.77 14) คณะมนุษยศาสตร์ สาขาการท่องเที่ยว 1:15.63 15) คณะเทคนิคการแพทย์ สาขาเทคนิคการแพทย์ 1:14.73
กำหนดการ
2 พ.ค.2566 : ประกาศรายชื่อผู้ผ่านการคัดเลือก (ผ่านระบบ มช.)
4 พ.ค.2566 : ประกาศรายชื่อผู้ผ่านการคัดเลือก (ผ่านระบบ TCAS)
4-5 พ.ค.2566 : ยืนยันสิทธิ์ (ผ่านระบบ TCAS)
6 พ.ค.2566 : สละสิิทธิ์ (ผ่านระบบ TCAS)
9 พ.ค.2566 : ประกาศรายชื่อผู้ยืนยันสิทธิ์เข้าศึกษา (ผ่านระบบ มช.)
7-13 พ.ค.2566 : รับสมัคร TCAS รอบที่ 3 (ผ่านระบบ TCAS)
Thaiall.com