สิ่งที่เห็นอาจไม่ใช่สิ่งที่เป็นอยู่
 
#578 สิ่งที่เห็นอาจไม่ใช่สิ่งที่เป็นอยู่

    มีเรื่องราวมากมายทั้งในโลกจริง และโลกโซเชียล พบว่า สิ่งที่เห็นไม่ตรงกับความเป็นจริง และเกณฑ์การพิจารณาความเป็นจริงของแต่ละบุคคลก็แตกต่างกันไปตามประสบการณ์ เค้าว่ายุค 40 คือช่วงค.ศ.1940 ถึง 1949 สถาบัน Rensselaer Polytechnic Institute ได้ให้นิยามการใช้ชีวิตของนักศึกษาไว้ 2 กลุ่ม คือ Drunk ที่หลังเลิกเรียนชอบใช้เวลาไปกับงานปาร์ตี้ ส่วน Knurd ที่หลังเลิกเรียนก็กลับบ้านอ่านหนังสือ ต่อมาได้ตัดคำว่า K จนเหลือเพียงคำว่า Nerd หรือ เนิร์ด ทั้งเด็กเนิร์ด และเด็กดรั้ง ต่างก็เป็นนักศึกษาเหมือนกัน ต่างกันที่การใช้ชีวิต และเป้าหมายของชีวิตเท่านั้น

    เคยเห็นคลิ๊ปที่สะท้อนว่าในห้องเรียนมีเด็กเนิร์ดเรียนอยู่ในห้องเรียนเสมอ ค้นภาพด้วยคำว่า "gif nerd student grade" จะพบภาพเคลื่อนไหวแบบ GIF ว่านักเรียนหญิงเสียใจมาก เมื่อทราบผลคะแนนสอบ แล้วร้องไห้ เมื่อนักเรียนชายเห็นเข้าก็ไปปลอบใจ แต่นักเรียนชายสังเกตเห็นคะแนนของนักเรียนหญิง ที่ทำข้อสอบได้ไม่เต็มร้อย เพราะพลาดไป 2 คะแนน จึงได้คะแนนเพียง 98 คะแนน ต่างกับคะแนนของตนที่ได้เพียง 19 คะแนน ก็ไม่ปลอบใจนักเรียนหญิงต่อไป อาจจัดได้ว่านักเรียนหญิงเป็นเด็กที่ตั้งใจเรียน และเธอคงคาดว่าตนเองจะต้องได้คะแนนเต็มร้อย หากไม่ได้ก็จะต้องมีคำถามไปถามคุณครูว่าตนเองพลาดอะไรไป ต่างกับนักเรียนชายที่คะแนนหายไป 81 คะแนน ที่อาจไม่มีคำถามใดกับกรณีที่คะแนนของตนหายไป

    นักเรียนในปัจจุบันมีหลายประเภท ไม่ได้จำแนกเป็นเด็กดรั้งค์ และเด็กเนิร์ดเท่านั้น หากแบ่งตามเกณฑ์เป้าหมายแล้ว พบว่า บางคนตั้งเกณฑ์ไว้ต่ำ แล้วทำให้ผ่านเกณฑ์ก็พอใจแล้ว บางคนตั้งเกณฑ์ไว้ต่ำ แต่พยายามทำเต็มที่จนผ่านเกณฑ์ได้อย่างง่ายดาย บางคนตั้งเกณฑ์ไว้สูง แล้วทำเต็มที่จนผ่านเกณฑ์ถึงจะพอใจ บางคนตั้งเกณฑ์ไว้สูง แต่ไม่พยายามเท่าที่ควรก็ไม่ผ่านเกณฑ์ ก็เป็นความสัมพันธ์ของเป้าหมายหรือเกณฑ์กับความตั้งใจ สำหรับเกณฑ์กลางที่ยอมรับร่วมกันในสังคม คือ กฎหมาย แต่มีเกณฑ์เฉพาะกลุ่มที่กลุ่มยอมรับ เรียกว่า กฎหมู่ ในสื่อสังคมกฎหมู่เริ่มมีอิทธิพลเหนือกฎหมายเพิ่มขึ้นเป็นลำดับ โดยผู้ใช้สื่อสังคมทำตัวเป็นผู้พิพากษาเข้าไปตัดสินการกระทำของผู้คนผ่านข้อมูลที่ได้รับ และเสนอบทลงโทษตามแต่ที่ตนเองเห็นว่าเหมาะสม โดยไม่ได้กลั่นกรองว่าจริงเท็จประการใด หรือบทลงโทษนั้นเหมาะสมหรือไม่ แต่ส่งคำตัดสินลงไปในสื่อสังคมที่ถือเป็นเวทีสาธารณะแล้ว

    นักเรียนในปัจจุบันมีหลายประเภท ไม่ได้จำแนกเป็นเด็กดรั้งค์ และเด็กเนิร์ดเท่านั้น หากแบ่งตามเกณฑ์เป้าหมายแล้ว พบว่า บางคนตั้งเกณฑ์ไว้ต่ำ แล้วทำให้ผ่านเกณฑ์ก็พอใจแล้ว บางคนตั้งเกณฑ์ไว้ต่ำ แต่พยายามทำเต็มที่จนผ่านเกณฑ์ได้อย่างง่ายดาย บางคนตั้งเกณฑ์ไว้สูง แล้วทำเต็มที่จนผ่านเกณฑ์ถึงจะพอใจ บางคนตั้งเกณฑ์ไว้สูง แต่ไม่พยายามเท่าที่ควรก็ไม่ผ่านเกณฑ์ ก็เป็นความสัมพันธ์ของเป้าหมายหรือเกณฑ์กับความตั้งใจ สำหรับเกณฑ์กลางที่ยอมรับร่วมกันในสังคม คือ กฎหมาย แต่มีเกณฑ์เฉพาะกลุ่มที่กลุ่มยอมรับ เรียกว่า กฎหมู่ ในสื่อสังคมกฎหมู่เริ่มมีอิทธิพลเหนือกฎหมายเพิ่มขึ้นเป็นลำดับ โดยผู้ใช้สื่อสังคมทำตัวเป็นผู้พิพากษาเข้าไปตัดสินการกระทำของผู้คนผ่านข้อมูลที่ได้รับ และเสนอบทลงโทษตามแต่ที่ตนเองเห็นว่าเหมาะสม โดยไม่ได้กลั่นกรองว่าจริงเท็จประการใด หรือบทลงโทษนั้นเหมาะสมหรือไม่ แต่ส่งคำตัดสินลงไปในสื่อสังคมที่ถือเป็นเวทีสาธารณะแล้ว

http://rebrn.com/re/we-all-have-that-one-classmate-1505693/
http://quoteapic.com/public/img/uploads/cool-gif-nerd-student-grade.gif
บทความเมื่อเร็ว ๆ นี้
579. จับผู้ร้ายจากข้อมูลการโหลดข้อมูล
578. สิ่งที่เห็นอาจไม่ใช่สิ่งที่เป็นอยู่
577. ความเป็นส่วนตัวในโลกโซเชียล
576. ปัญญาประดิษฐ์อาจยังไม่แย่งงานมนุษย์
ค้นในบทความ
กลับหน้าแรก
Thaiall.com