ความเป็นส่วนตัวในโลกโซเชียล
 
#577 ความเป็นส่วนตัวในโลกโซเชียล

    ปัจจุบันเรามีเครือข่ายสังคม สื่อสังคม หรือโลกโซเชียลที่กำหนดสิทธิความเป็นส่วนตัวได้หลายระดับ ทั้งกำหนดให้เห็นโพสต์ที่เราส่งเข้าไปด้วยตัวเราเองได้คนเดียว (Only me) เห็นบางคนที่เรากำหนด (List) เห็นเฉพาะที่เรารับเป็นเพื่อน (Friend) หรือเห็นได้ทุกคน (Everyone) นอกจากนั้นยังมีกลุ่ม (Group) ที่ถูกเชิญ (Invite) เข้าไปเพื่อทำภารกิจบางประการ ที่สามารถกำหนดให้เป็นกลุ่มลับ หรือเป็นกลุ่มปิดได้ แล้วยังมีเพจ (Page) ที่ใช้สำหรับเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารสำหรับคนทั่วไป ช่วยให้เลือกใช้ประโยชน์ได้ตามวัตถุประสงค์ที่กำหนด ดังนั้นการใช้งานระดับบุคคลย่อมเป็นไปตามที่บุคคลกำหนด และสร้าง กฎ กติกา มารยาทในพื้นที่ส่วนตัว แล้วคิดว่าทุกคนต้องยอมรับกฎที่ตนเองสร้างขึ้น

    สื่อสังคม (Social Media) แม้ถูกกำหนดเป็นพื้นที่ส่วนตัว (Private) แต่ถ้ามีใครเห็นสิ่งที่เราโพสต์ได้ นั่นย่อมไม่เป็นส่วนตัวทันที เคยมีการแชร์บทเรียนเรื่องลูกน้องกับเจ้านายที่เป็นเพื่อนกัน แล้วลูกน้องก็บ่นเรื่องเจ้านายจนนำพาไปสู่การเชิญให้ลูกน้องออกจากงาน แชร์ข่าวที่อาจารย์จีบลูกศิษย์ผ่านสื่อสังคม ซึ่งผิดกฎของสถาบันแล้วถูกตั้งกรรมการจนต้องให้ออก ผู้สัญจรทางถนนถ่ายคลิ๊ปหนุ่มกำลังมีปัญหากับคู่กรณีจนมีวลีว่า กราบรถกู แชร์ไปทั่วสื่อสังคม และมีบทลงโทษตามมามากมาย ประเด็นความป็นส่วนตัว (Privacy) ที่พูดคุยระดับภาครัฐ เช่น การรวมเครือข่ายให้มีความเป็นเอกภาพ (Single Gateway) และเก็บข้อมูลจราจร (Log) ของคนในประเทศ หรือปิดกั้นการเข้าถึงเครือข่ายสังคมทั้ง เฟสบุ๊ค ยูทูป ลิงค์อิน ก็ออกมาเป็นข่าวให้ผู้คนได้รับรู้กันอยู่เสมอ

    การทำให้ทุกคนมีความคิดเห็นและเข้าใจเหมือนกันตรงกันเป็นเรื่องยาก แม้ประเทศที่เป็นประชาธิปไตย เมื่อผลการเลือกตั้งออกมาแล้วไม่ตรงกับที่บางกลุ่มเลือกไว้ ก็จะออกมาประท้วง ใช้กำลัง ใช้ความรุนแรงเท่าที่ตนทำได้ เพราะเชื่อว่าความรุนแรงเป็นทางออก และยังเป็นทางออกของรัฐบาลหลายประเทศในการระงับข้อพิพาท เช่น การไม่ยอมให้ประชาชนใช้เครือข่ายสังคมที่ไม่สามารถควบคุมได้ หากตกลงกันไม่ได้ก็จะปิดกั้นตัดเยื้อไม่เหลือใยกันไป โลกเราปีประเทศมากถึง 195 ประเทศ มีกรณีศึกษาคือนโยบายของแต่ละประเทศ ผู้รับผิดชอบเห็นตัวอย่างประเทศใดก็มีแนวโน้มจะเอาเยี่ยงอย่างประเทศนั้น เพราะเป็นการเลือกที่ลดโอกาสผิดพลาดได้ดีที่สุด ทุกการตัดสินใจมีจุดดีจุดด้อยเสมอ และกระทบความเป็นส่วนตัวในแต่ละประเทศแตกต่างกันไป

    การทำให้ทุกคนมีความคิดเห็นและเข้าใจเหมือนกันตรงกันเป็นเรื่องยาก แม้ประเทศที่เป็นประชาธิปไตย เมื่อผลการเลือกตั้งออกมาแล้วไม่ตรงกับที่บางกลุ่มเลือกไว้ ก็จะออกมาประท้วง ใช้กำลัง ใช้ความรุนแรงเท่าที่ตนทำได้ เพราะเชื่อว่าความรุนแรงเป็นทางออก และยังเป็นทางออกของรัฐบาลหลายประเทศในการระงับข้อพิพาท เช่น การไม่ยอมให้ประชาชนใช้เครือข่ายสังคมที่ไม่สามารถควบคุมได้ หากตกลงกันไม่ได้ก็จะปิดกั้นตัดเยื้อไม่เหลือใยกันไป โลกเราปีประเทศมากถึง 195 ประเทศ มีกรณีศึกษาคือนโยบายของแต่ละประเทศ ผู้รับผิดชอบเห็นตัวอย่างประเทศใดก็มีแนวโน้มจะเอาเยี่ยงอย่างประเทศนั้น เพราะเป็นการเลือกที่ลดโอกาสผิดพลาดได้ดีที่สุด ทุกการตัดสินใจมีจุดดีจุดด้อยเสมอ และกระทบความเป็นส่วนตัวในแต่ละประเทศแตกต่างกันไป
บทความเมื่อเร็ว ๆ นี้
578. สิ่งที่เห็นอาจไม่ใช่สิ่งที่เป็นอยู่
577. ความเป็นส่วนตัวในโลกโซเชียล
576. ปัญญาประดิษฐ์อาจยังไม่แย่งงานมนุษย์
575. การเก็บสื่อน้อมถวายความอาลัย
ค้นในบทความ
กลับหน้าแรก
Thaiall.com