thaiall logomy background

ยูโทเปีย (Utopia) สังคมในอุดมคติ การศึกษาในอุดมคติ

my town
การศึกษา | นักศึกษา | มหาวิทยาลัย | ห้องเรียนแห่งอนาคต | Utopia | คำสำคัญ (Key)
ห้องเรียนแห่งอนาคต ใน สังคมในอุดมคติ
ลายปีที่ผ่านมา ได้อ่าน ได้ฟัง ได้เห็นถึงแนวคิดด้านการศึกษาของ ดร.วิริยะ ฤาชัยพาณิชย์ ผ่านทั้งแฟนเพจ และโปรไฟล์ของ Wiriyah Eduzones อย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะหนังสือ "ห้องเรียนแห่งอนาคต" ที่ถือเป็นหนังสือดีคู่กันกับ "Steve Jobs โดย Walter Isaacson" ได้เลย ซึ่งทั้งสองเล่มอยู่ในใจของผมเสมอ เพราะมีเรื่องให้ขบคิดให้นำมาเป็นแนวทางได้
ล้ววันหนึ่ง ก็พบหนังสือ Utopia วางอยู่บนชั้นหนังสือในบ้าน เป็นหนังสือแปลใหม่ เขียนโดย Sir Thomas More (เซอร์ โธมัส มอร์ หรือ เซอร์ ทอมัส มอร์) แปลโดย กุลธิดา บุญยะกุล-ดันนากิ้น ตีพิมพ์ 2563 (ปัจจุบัน 2564) ถามไถ่ก็รู้ว่าเด็กที่บ้าน (น่าจะ) ไปงานมหกรรมหนังสือ และซื้อเล่มนี้มา ผมเห็นแล้วจึงสะดุดตา หยิบมาอ่านหลายครั้ง แต่ละครั้งก็มีเรื่องให้สะกิดใจเสมอ จนพบว่าแนวคิดเชื่อมโยงกับ ห้องเรียนแห่งอนาคต อย่างชัดเจน เพราะ Utopia คือ สังคมในอุดมคติที่อยากให้เกิด ส่วนห้องเรียนแห่งอนาคตก็เป็นห้องเรียนที่อยากให้เกิดเช่นกัน นั่นคือ ความเหมือนที่ผมเชื่อ และเห็นความคิดสร้างสรรค์ของผู้เขียนหนังสือทั้งสองช่วงเวลา ว่ามีความฝันที่จะพาสังคมปัจจุบันไปสู่สังคมแห่งอนาคตอย่างแรงกล้าเช่นกัน

สังคมในอุดมคติ

Utopia เล่มนี้ แปลโดย สมบัติ จันทรวงศ์
ซึ่งมีอีกหลายเล่มที่ถูกแปลเป็นภาษาไทย
ยูโทเปีย (Utopia) คือ เมืองในอุดมคติ
ประกอบด้วย สังคมในอุดมคติ การเมืองในอุดมคต
การศึกษาในอุดมคติ หรือแม้แต่ห้องเรียนในอนาคต
ทอมัส มอร์ เสนอแนวคิดเมืองในอุดมคติ
เป็นสังคมที่ดีงาม สุจริต ช่วยเหลือกัน คำนึงถึงผู้ยากไร้
ไม่มีการขัดแย้งระหว่างนายทุนกับแรงงาน
ทอมัส มอร์ เสนอการรับฟังประชาชน
ผู้บริหารทำในสิ่งที่ไม่ก็ทักท้วงอย่างสุจริตใจ
เขียนเล่าเสนอมุมมองการบริหารแบบมีส่วนร่วม
ยูโทเปีย คือ เมืองในอุดมคติ ยูโทเปีย (Utopia) คือ เมืองที่มีแต่ความดีงาม ความยุติธรรม บ้านเมืองน่าอยู่ เป็นระเบียบเรียบร้อย มีประชากรที่เป็นมิตร เมื่อทุกคนเป็นมิตร การพัฒนาอะไรก็จะง่ายด้วยความร่วมแรงร่วมใจเห็นแก่ส่วนรวมเป็นที่ตั้ง เป็นเสมือนสังคมในอุดมคติ เรียกได้ว่า สมบูรณ์แบบ ก็ว่าได้
ชวนคิดประเด็นการศึกษากับสังคมในอุดมคติ

การถกเถียง (Argument)
ที่สร้างสรรค์
บางครั้งไม่ต้องมีข้อสรุปที่ตรงกัน
สังคมในอุดมคติ
ยูโทเปีย มหานครในฝัน
เขียน - เซอร์โธมัส มอร์
ประเด็นชวนแลกเปลี่ยนเรียนรู้ กับห้องเรียนในอุดมคติ
คืนครูสู่ห้องเรียน ลดภาระครูที่ไม่จำเป็น เพิ่มเวลาให้ครูได้สอน
มีระบบทำให้ครู และผู้บริหารทุกระดับมีคุณธรรม และสุจริต
วัดคุณภาพ ครู ผอ. โรงเรียนจากความรู้ ความสุขของเด็กและผปค.
ยกเลิกระบบแพ้คัดออก ที่อ่อนก็เติมเต็ม ที่เต็มก็ให้รู้จักพอ
สอนให้เด็กมีความคิดสร้างสรรค์ เพื่อให้เด็กได้เตรียมตัวสู่อนาคต
การจัดการศึกษาต้องทำให้ชีวิตผู้เรียนดีขึ้น
ภาระครู คือ ช่วยเหลือให้เด็กอยากเรียนรู้ และค้นพบศักยภาพของตน
infographic2.pptx
utopia.htm
Utopia ยูโทเปีย: มหานครในฝัน ที่ นายอิน
ชื่อหนังสือ :
Utopia ยูโทเปีย: มหานครในฝัน
ผู้เขียน : เซอร์ โธมัส มอร์
แปล : กุลธิดา บุญยะกุล-ดันนากิ้น
สำนักพิมพ์ : แอโรว์ คลาสสิกบุ๊ค
หมวดหมู่ : หนังสือบทความ สารคดี ประวัติศาสตร์
ประเภทของสินค้า : Books
บาร์โค้ด : 9786164341906
ราคา : 190 บาท
สารบัญ
- ประวัติ เซอร์โธมัส มอร์
- จดหมายของมอร์ถึงปีเตอร์ ไจลล์
- เล่ม1: มหานครในฝัน เล่ม 1
- เล่ม2: มหานครในฝัน เล่ม 2
คำนำ
ลงานของโธมัส มอร์ ในช่วงที่มีชีวิตนั้นได้เขียนหนังสือไว้หลายเล่ม แต่เรื่องที่มีชื่อเสียงที่สุดคือเรื่อง Utopia มหานครในฝัน ซึ่งมีเนื้อหากล่าวถึงสังคมในอุดมคติ เนื่องจากการที่ลัทธิทุนนิยมทำการขูดรีดบีบคั้นประชาชนและผู้ใช้แรงงาน ทำให้เกิดความยากจนและความทุกข์เข็ญ นักคิดเยี่ยงเขาจึงมองหาวิธีที่จะสร้างสังคมที่ดีงามขจัดความขัดแย้งระหว่างชนชั้นนายทุนกับแรงงาน เสนอให้มนุษย์ช่วยเหลือกันให้มากขึ้นและคำนึงถึงผู้ยากไร้ ให้คำนึงถึงสังคมส่วนรวมเป็นหลัก
รายละเอียด
ยูโทเปีย...เมืองที่มีแต่ความดีงาม ความยุติธรรม บ้านเมืองน่าอยู่ เป็นระเบียบเรียบร้อย มีประชากรที่เป็นมิตร เป็นเสมือนสังคมในอุดมคติของใครหลายๆ คน ทั้งด้านการปกครอง กฎหมาย การจัดระเบียบทางสังคม ทุกอย่างล้วนถูกกำหนดกฎเกณฑ์ไว้อย่างมีระเบียบแบบแผน ขนาดที่เรียกได้ว่า “สมบูรณ์แบบ” หากแต่ไม่มีใครรู้ตำแหน่งที่ตั้งของ ยูโทเปีย หรือเคยเดินทางเข้าไป ณ เมืองแห่งนี้เลย มีเพียงแต่คำบอกเล่าที่ได้ยินได้ฟังกันมาเท่านั้น ยกเว้นเสียแต่ “ราฟาเอล” นักปราชญ์สูงวัยผู้รักการเดินทาง ผู้ซึ่งเคยได้ไปเยือนเมืองยูโทเปียและเคยได้อาศัยอยู่ที่นั่นมาก่อน
รื่องราวทั้งหมดเกี่ยวกับยูโทเปียที่ได้อธิบายไว้ในหนังสือเล่มนี้นั้น ได้รับการบอกเล่าโดยราฟาเอลผ่านงานเขียนของ เซอร์ โธมัส มอร์ ขุนนางในราชวงศ์อังกฤษ ผู้ซึ่งได้ถ่ายทอดเรื่องราวของยูโทเปียที่เขาได้รับฟังทั้งหมด แล้วเรียบเรียงเป็นหนังสือ นำเผยแพร่ออกสู่สาธารณะชน ยูโทเปีย...จะเป็นเมืองที่มีอยู่จริง หรือเป็นเพียงเมืองในฝัน...เราพร้อมแล้วที่จะขอเชิญให้ท่านผู้อ่านได้สัมผัสเรื่องราวของยูโทเปีย และตัดสินมันด้วยตัวของท่านเอง
ประวัติ ทอมัส มอร์ ใน wikipedia อมัส มอร์ (Thomas More) คริสตจักรโรมันคาทอลิกเรียกว่านักบุญทอมัส มอร์ เป็นนักกฎหมาย นักปรัชญาสังคม นักเขียน รัฐบุรุษ และนักมนุษยนิยมสมัยฟื้นฟูศิลปวิทยา ดำรงตำแหน่งองคมนตรีในพระเจ้าเฮนรีที่ 8 แห่งอังกฤษ และประธานฝ่ายตุลาการอังกฤษตั้งแต่เดือนตุลาคม ค.ศ. 1529 ถึงวันที่ 16 พฤษภาคม ค.ศ. 1532 ได้รับการประกาศเป็นนักบุญโดยสมเด็จพระสันตะปาปาปิอุสที่ 11 ในปี ค.ศ. 1935 ในฐานะเป็นมรณสักขีคนแรก ๆ ในช่วงศาสนเภทระหว่างสันตะสำนักกับคริสตจักรแห่งอังกฤษในคริสต์ศตวรรษที่ 16 ในปี ค.ศ. 2000 สมเด็จพระสันตะปาปาจอห์น ปอลที่ 2 ประกาศให้เขาเป็นนักบุญองค์อุปถัมภ์รัฐบุรุษและนักการเมือง
อร์เป็นผู้มีแนวคิดต่อต้านการปฏิรูปศาสนาฝ่ายโปรเตสแตนต์ โดยเฉพาะของมาร์ติน ลูเทอร์ และวิลเลียม ทินเดล เขายังคัดค้านการแยกตัวออกจากคริสตจักรโรมันคาทอลิก และไม่ยอมรับว่าพระเจ้าเฮนรีเป็นประมุขสูงสุดของคริสตจักรแห่งอังกฤษตามพระราชบัญญัติอำนาจสูงสุดทางศาสนา ค.ศ. 1534 ในปี ค.ศ. 1534 มอร์ถูกจำคุกด้วยข้อหาการกบฏเพราะไม่ยอมรับพระราชบัญญัติการสืบราชสันตติวงศ์ ค.ศ. 1533 ซึ่งมีเนื้อหาดูหมิ่นอำนาจพระสันตะปาปาและการสมรสกับพระนางแคเธอรินแห่งอารากอน ในที่สุดมอร์ก็ถูกประหารชีวิตด้วยการตัดศีรษะเมื่อวันที่ 6 กรกฎาคม ค.ศ. 1535
โรงเรียนแห่งอนาคต
นโยบาย 300
สังคมจะดีขึ้น พัฒนาขึ้น ก้าวไกลขึ้น เริ่มต้นที่โรงเรียน พบว่า นโยบาย "ไม่บังคับชุดนักเรียน ผู้ปกครองใช้งบกับอย่างอื่นได้" ทำให้นึกถึงคำว่า "โรงเรียนแห่งอนาคต" ที่จะไม่มีชุดนักเรียนอีกต่อไป ด้วยเหตุผลมากมาย เสนอเห็นผลไว้ 5 ข้อดังนี้
1. นักเรียนไม่ต้องมีชุดเพื่อให้ใครมาดูแล (Safety)
ในอนาคต โรงเรียนจะเปิดกว้าง (1/5)
เด็กอายุ 7-18 มีสิทธิที่จะเข้าเรียน
ครูในห้องเรียนก็มีหน้าที่สอน
ไม่ใช่วิ่งตาม วิ่งหา วิ่งไล่จับใคร ๆ
เพราะเป็นสิทธิของเด็กที่จะดูแลตนเอง
2. นักเรียนตระหนักว่าตนมีหน้าที่เรียนได้ (Responsibility)
ในอนาคต โรงเรียนจะเปิดกว้าง (2/5)
เด็กอายุ 7-18 จะรู้หน้าที่และคุมตัวเองได้
ในอดีตสวมเครื่องแบบไปเรียน
เวลามีเครื่องแบบจะช่วยย้ำว่ามีหน้าที่เรียน
ต่อไปไม่ต้องใช้เครื่องแบบ
มาช่วยย้ำว่าเป็นนักเรียนที่มีหน้าที่อะไร
ชุดไหนก็มีหน้าที่เรียนได้เหมือนกัน
โดยไม่ต้องอาศัยชุดมาย้ำว่าให้คิดตาม
3. นักเรียนไม่ต้องใช้ชุดลดเหลื่อมล้ำ (Inequality)
ในอนาคต โรงเรียนจะเปิดกว้าง (3/5)
เด็กอายุ 7-18 จะรู้สึกเท่าเทียมกัน
ทุกคนยึดหลักเสมอภาค และยุติธรรม
ไม่มีใครทำตัวให้ล้ำ หรือชิงเด่นไปกว่าใคร
ทุกคนจะมีความสุขกับสิ่งที่ตนเป็นอยู่
ใช้สิทธิของตน เพื่อให้ตนเองมีความสุข
4. นักเรียนไม่ต้องใช้ชุดแสดงตนเพื่อใคร (No serve for)
ในอนาคต โรงเรียนจะเปิดกว้าง (4/5)
เด็กอายุ 7-18 มุ่งเรียนรู้ในสิ่งที่จำเป็น
ไม่ต้องแต่งชุดเพื่อความเป็นเอกลักษณ์
ไม่ต้องแต่งชุดเพื่อแสดงความสามัคคี
ไม่ต้องแต่งชุดเพื่อไปแข่งขันกับใคร
นักเรียนแต่งชุดเพื่อความสุขของตนเอง
5. นักเรียนมีอัตลักษณ์ทางเสื้อผ้าหน้าผม (Identity)
ในอนาคต โรงเรียนจะเปิดกว้าง (5/5)
เด็กอายุ 7-18 คิดได้ว่าแต่งตัวที่เหมาะสมเป็นอย่างไร
นักเรียนแต่งชุดในแบบที่ตนชอบ
นักเรียนมีทรงผมในแบบที่เหมาะสมกับตน
นักเรียนแต่งหน้าที่ทำให้ตนเองมีความสุข
ทุกคนมีสิทธิที่จะมีความคิดสร้างสรรค์
Thaiall.com