thaiall logomy background

จริยธรรมสำหรับผู้บริหาร ฟันเฟืองมนุษย์ในองค์กร - 43

my town
ธรรมะ | ครู | สื่อ | ผู้บริหาร | พยาบาล | สาธารณสุข | เทคนิคการแพทย์ | ทันตแพทย์ | กฎหมายไอที | ศีล 5 | ผลกระทบ PDPA | งานมอบหมาย | เพิ่มประสิทธิภาพ |

43. ฟันเฟืองมนุษย์ในองค์กร

ฟันเฟืองมนุษย์ในองค์กร (Human Gear in Organization)
ฟันเฟือง หนึ่งในเครื่องจักรกลที่พัฒนาโดย อาร์คีมีดีส (Archimedes) นักคณิตศาสตร์ และ ปราชญ์กรีกโบราณ เพื่อนำมาเป็นกลไกผ่อนแรงมนุษย์เพื่อใช้กับเครื่องสูบกังหันน้ำ เครื่องกลรถลากสำหรับการเกษตร เป็นต้น และ พัฒนาต่อมากับเครื่องมือ เครื่องจักร เครื่องยนต์กลไกต่าง ๆ จนถึงปัจจุบัน แม้กระทั่งฟันเฟืองเล็ก ๆ ในนาฬิกาข้อมือ
ด้วยฟันเฟืองเองที่มีลักษณะสัณฐานวงกลมมีซี่ หรือ เป็นเฟืองรูปซี่กรง (Cage Gear) แต่หน้าที่หลัก คือการหมุนแกนเพื่อขับเคลื่อนซี่รอบขอบฟันเฟือง เพื่อเชื่อมต่อไปยังซี่ฟันเฟืองอันต่อไปในการหมุนเดิน และ มีผลในการทำงานต่อกันสำหรับ "ชุดฟันเฟือง" นั้น ๆ ซึ่งอาจจะจะเป็นตั้งแต่ 2 ฟันเฟืองของกังหันน้ำ จนถึงเป็นหลักพัน เช่น เครื่องยนต์ เครื่องจักร หรือ นาฬิกาข้อมือไขลานด้วยฟันเฟือง
องค์กรก็เช่นเดียวกัน หากเปรียบเสมือนนาฬิกา 1 เรือน ที่ต้องมีฟันเฟืองจำนวนมาก ผู้บริหารระดับสูง เปรียบเสมือนฟันเฟืองขนาดใหญ่ ผู้บริหารระดับกลาง และ บุคลากรระดับปฏิบัติการ คือฟังเฟืองขนาดเล็ก ลดหลั่นกันไป ฟันเฟืองใหญ่หมุน 1 รอบ ส่งผลต่อฟันเฟืองกลาง และ เล็ก ในการหมุนตามจำนวนมาก ดังนั้นความสมบูรณ์ของชุดฟันเฟืององค์กรจะเดินไปได้ดีก็ต่อเมื่อ ฟันเฟืองมีการสัมผัส สัมพันธ์ ต่อกันด้วยระยะ องศา มุม และ ขนาดที่เหมาะสมกัน และ แน่นอนว่าสิ่งที่จะทำให้กลไกฟันเฟืองเดินต่อได้ดี สำหรับในองค์กรเองแล้ว สิ่งที่ต้องมี คือ
1) มีการจัดภาวะผู้นำ (Leadership) ที่มีผู้นำที่พร้อมนำ มีวิสัยทัศน์ มีความรู้ความสามารถ และ มีสัมพันธภาพที่ดีกับทีมงาน
2) มีการพัฒนาสมาชิกกลุ่ม (Group Member Development) เชื่อมสัมพันธ์ในการให้ความรู้ การสอนงาน การสื่อสารที่มีประสิทธิภาพ
3) การปฏิบัติงานเชิงกลุ่ม (Group Practice) มีการร่วมแรงร่วมใจ ในการวางแผน การดำเนินงาน การแก้ปัญหา และ ร่วมตัดสินใจ
4) การกำหนดเป้าหมาย และ มาตรฐานกลุ่ม (Group Goal & Standard) การกำกับให้ได้ผลลัพธ์ที่ต้องการขององค์กรเป็นเป้าหมายร่วมกัน เช่น ยอดขาย อัตราการเติบโต ผลกำไรที่คาดหวัง
ดังนั้น "คน" ที่อาจไม่เที่ยงตรงเหมือนฟันเฟือง เพราะมี ความคิด ความรู้สึก อารมณ์ และ ความไม่แน่นอน ดังนั้นเมื่อองค์กรต้องขับเคลื่อนด้วย "ฟันเฟืองมนุษย์" จึงต้องปรับเปลี่ยนคน หรือ ฟันเฟืองนั้น และ ควบคุมอยู่เสมอให้พร้อมด้วย 2 ด้าน
- การมุ่งงาน (Task Oriented)
คือ การมีศักยภาพ การวางแผน การจัดองค์กร การควบคุม ให้มีประสิทธิภาพได้งานตามเป้าหมายองค์กร และ พร้อมพัฒนาความรู้ในงานต่อเนื่อง
- การมุ่งคน (Human Oriented)
คือ มุ่งเชื่อมต่อกับทีมงานต่าง ๆ ทั้งสานสัมพันธ์ ทำความเข้าใจความต่าง มีมิตรสัมพันธ์ที่ดีเพื่อให้สนับสนุนงานระหว่างกันได้ดี และ พร้อมพัฒนาสานสัมพันธ์กับทุกคน
แน่นอนว่า องค์กรที่คล้ายกัน ในอุตสาหกรรมเดียวกัน ขนาดใกล้เคียงกัน ก็อาจมีผลสัมฤทธิ์ที่ต่างกัน ด้วย "ชุดฟันเฟือง" ที่มีศักยภาพต่างกัน มีฟันเฟืองที่ตอบสนองทิศทาง และ เป้าหมายต่างกัน ในขณะที่องค์กรหนึ่งอาจเจริญเติบโตได้ดี แต่อีกองค์กรอาจตกต่ำก็เป็นได้ ทั้งหมดนี้เพราะ "ชุดฟันเฟืองมนุษย์" ในองค์กรที่ต่างกันนั่นเอง
วันนี้ ท่านอยู่ในองค์กรที่มีทีมงานฟันเฟืองแบบใด และ ท่านเป็นฟันเฟืองแบบใดในองค์กร
ด้วยความปรารถนาดี
ผศ.ดร.กฤษฎา ตันเปาว์
17 พฤศจิกายน 2564

Thaiall.com