thaiall logomy background

หมอฟันมีจรรยาบรรณแห่งวิชาชีพทันตกรรม

my town
ธรรมะ | ครู | สื่อ | ผู้บริหาร | พยาบาล | สาธารณสุข | เทคนิคการแพทย์ | ทันตแพทย์ | กฎหมายไอที | ศีล 5 | ผลกระทบ PDPA | งานมอบหมาย
จรรยาบรรณแห่งวิชาชีพทันตกรรม คืออะไร รรยาบรรณแห่งวิชาชีพทันตกรรม คือ แนวปฏิบัติหรือกฎเกณฑ์แห่งความประพฤติสำหรับบุคลากรทางทันตกรรม โดยมีองค์กรหรือตัวแทนผู้ประกอบวิชาชีพทันตกรรมร่วมกันบัญญัติข้อบังคับทันตแพทยสภาขึ้นมา เพื่อใช้เป็นแนวปฏิบัติว่าด้วยจรรยาบรรณแห่งวิชาชีพทันตกรรม สำหรับสมาชิกที่ต้องยึดถือร่วมกัน หากฝ่าฝืนจะถือว่ากระทำผิดจรรยาบรรณวิชาชีพทันตกรรม
จรรยาบรรณแห่งวิชาชีพทันตกรรม
ข้อบังคับทันตแพทยสภา ว่าด้วยจรรยาบรรณแห่งวิชาชีพทันตกรรม พ.ศ.2538
หมวด 2 การประกอบวิชาชีพทันตกรรม
ข้อ 5 ผู้ประกอบวิชาชีพทันตกรรมต้องประกอบวิชาชีพทันตกรรมโดยไม่คำนึงถึงฐานะ เชื้อชาติ สัญชาติ ศาสนา สังคม หรือลัทธิการเมือง
ข้อ 6 ผู้ประกอบวิชาชีพทันตกรรมต้องปฏิบัติต่อผู้ป่วยโดยสุภาพ มีน้ำใจมีมนุษยสัมพันธ์ที่ดีและปราศจากการบังคับขู่เข็ญ
ข้อ 7 ผู้ประกอบวิชาชีพทันตกรรมต้องรักษามาตรฐานของการประกอบวิชาชีพทันตกรรมในระดับที่ดีที่สุดแก่ผู้ป่วย โดยไม่เรียกร้องสินจ้างรางวัลพิเศษนอกเหนือจากค่าบริการที่ควรได้รับตามปกติ
ข้อ 8 ผู้ประกอบวิชาชีพทันตกรรมต้องประกอบวิชาชีพทันตกรรมโดยคำนึงถึงความปลอดภัยและความสิ้นเปลืองของผู้ป่วย
ข้อ 9 ผู้ประกอบวิชาชีพทันตกรรมต้องไม่สนับสนุนหรือใช้วิชาชีพทันตกรรมโดยผิดกฎหมาย
ข้อ 10 ผู้ประกอบวิชาชีพทันตกรรมต้องไม่ใช้ หรือช่วยเหลือผู้มีได้ขึ้นทะเบียนและรับใบอนุญาตเป็นผู้ประกอบวิชาชีพทันตกรรมให้ประกอบวิชาชีพทันตกรรม รวมทั้งต้องดูแลมิให้มีการประกอบวิชาชีพทันตกรรมของผู้ที่มิได้ขึ้นทะเบียนและรับใบอนุญาตเป็นผู้ประกอบวิชาชีพทันตกรรมในสถานพยาบาลที่ตนรับผิดชอบ
ข้อ 11 ผู้ประกอบวิชาชีพทันตกรรมต้องไม่ใช้ สั่งใช้ หรือสนับสนุนการใช้วิธีการตรวจ วินิจฉัย การบำบัด หรือป้องกันในวิชาชีพทันตกรรม รวมทั้งวัสดุอุปกรณ์ต่างๆ ทางทันตกรรมอันไม่เปิดเผยส่วนประกอบ หรือไม่มีหลักฐานทางวิชาการที่เชื่อถือได้รองรับ
ข้อ 12 ผู้ประกอบวิชาชีพทันตกรรมต้องไม่หลอกลวงผู้ป่วย ให้หลงเข้าใจผิดในการประกอบวิชาชีพทันตกรรมเพื่อผลประโยชน์ของตน
ข้อ 13 ผู้ประกอบวิชาชีพทันตกรรมต้องไม่จูงใจหรือชักชวนผู้ป่วย ให้มารับบริการทางวิชาชีพทันตกรรมเพื่อผลประโยชน์ของตน
ข้อ 14 ผู้ประกอบวิชาชีพทันตกรรมต้องไม่ให้ หรือรับผลประโยชน์เป็นค่าตอบแทนเนื่องจากการรับหรือส่งผู้ป่วยเพื่อรับบริการทางวิชาชีพทันตกรรม
ข้อ 15 ผู้ประกอบวิชาชีพทันตกรรมต้องไม่ปฏิเสธการช่วยเหลือผู้ที่อยู่ในระยะอันตรายในวิชาชีพทันตกรรม เมื่อได้รับการร้องขอ และตนอยู่ในฐานะที่จะช่วยได้
ข้อ 16 ผู้ประกอบวิชาชีพทันตกรรมต้องระมัดระวังตามวิสัยที่พึงมี มิให้การประกอบวิชาชีพทันตกรรมใดๆ ของตนเป็นไปในลักษณะอนาจารต่อผู้ป่วย
ข้อ 17 ผู้ประกอบวิชาชีพทันตกรรมต้องไม่ออกใบรับรองอันเป็นเท็จโดยตั้งใจ หรือให้ความเห็นโดยไม่สุจริตในเรื่องใด ๆ อันเกี่ยวกับวิชาชีพของตน
ข้อ 18 ผู้ประกอบวิชาชีพทันตกรรมต้องไม่เปิดเผยความลับของผู้ป่วยซึ่งตนทราบมา เนื่องจากการประกอบวิชาชีพ เว้นแต่ด้วยความยินยอมของผู้ป่วยหรือต้องปฏิบัติตามกฎหมายหรือตามหน้าที่
ข้อ 19 ผู้ประกอบวิชาชีพทันตกรรมต้องไม่จงใจที่จะหน่วงเหนี่ยว หรือทำให้เกิดความล่าช้าในการบริการทางวิชาชีพทันตกรรมแก่ผู้ป่วย เพื่อผลประโยชน์ของตน
ข้อ 20 ผู้ประกอบวิชาชีพทันตกรรมต้องอธิบายให้ผู้ป่วยเข้าใจถึงสาระสำคัญของการให้บริการทางวิชาชีพทันตกรรม เพื่อใช้ประกอบในการตัดสินใจในการบำบัดรักษาของผู้ป่วย และต้องแจ้งค่าบริการให้ผู้ป่วยทราบเป็นรายการว่าแต่ละรายการเป็นจำนวนเงินเท่าใด รวมทั้งสิ้นเท่าใด เมื่อได้รับการร้องขอ
ข้อ 21 ผู้ประกอบวิชาชีพทันตกรรมต้องคำนึงถึงประโยชน์ในการให้บริการทางวิชาชีพทันตกรรมแก่ผู้ป่วยเป็นสำคัญ โดยยึดถือระบบส่งต่อผู้ป่วยไปยังผู้ประกอบวิชาชีพทันตกรรมอื่นที่จะให้บริการทางวิชาชีพทันตกรรมที่ดีกว่าและปลอดภัยกว่า
https://dla.wu.ac.th/elaw/2335/
อยากเรียนต่อ ทันตแพทยศาสตรบัณฑิต

ต.ย.เอกสารรับรอง
การเลือกเรียนต่อสาย #วิทยาศาสตร์สุขภาพ ในระดับอุดมศึกษา แล้วสนใจเรียนด้าน #ทันตแพทยศาสตรบัณฑิต เพื่อเป็นหมอฟัน ต้องหาข้อมูลประกอบการตัดสินใจ โดยเฉพาะหลักสูตรนั้นมีอาจารย์ที่มีคุณภาพหรือไม่ หลักสูตรผ่านตามเกณฑ์ แล้วขึ้นบัญชีหลักสูตรในระบบ Checo เพื่อเปิดให้อ่านความคาดหวังของผลลัพธ์การเรียนรู้เมื่อสิ้นปีการศึกษา หรือผลการพัฒนาการเรียนรู้แต่ละด้านของหลักสูตร ที่สำคัญ "ผ่าน" #ทันตแพทยสภา เมื่อไร เช่น หลักสูตรทันตแพทยศาสตรบัณฑิต ของ #มหาวิทยาลัยเนชั่น ได้รับการพิจารณารับรองหลักสูตรทันตแพทยศาสตรบัณฑิต และรับรองสถาบัน เมื่อวันที่ 12 กันยายน 2562
รายชื่อคณะทันตแพทยศาสตร์ในประเทศไทย
1. คณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
2. คณะทันตแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
3. คณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
4. คณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
5. คณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร
6. คณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยพะเยา
7. คณะทันตแพทยศาสตร์ (หลักสูตรปกติ) มหาวิทยาลัยมหิดล
8. คณะทันตแพทยศาสตร์ (หลักสูตรนานาชาติ) มหาวิทยาลัยมหิดล
9. สำนักวิชาทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง
10. คณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิต
11. คณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเวสเทิร์น
12. คณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
13. คณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
14. สำนักวิชาทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี
15. วิทยาลัยทันตแพทยศาสตร์นานาชาติ (หลักสูตรนานาชาติ) มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์
16. คณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยกรุงเทพธนบุรี
17. คณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเนชั่น
18. คณะทันตแพทยศาสตร์ (หลักสูตรนานาชาติ) สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง
มหาวิทยาลัยในประเทศและต่างประเทศที่ทันตแพทยสภาให้การรับรอง (รอบล่าสุด)
สัดส่วนคะแนน กสพท.65 คณะทันตแพทยศาสตร์ คณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเนชั่น
รับรอบ Admission จำนวน 60 คน
เกณฑ์การคำนวณคะแนน กสพท.65 แบ่งเป็น 2 ส่วน
1. คะแนนจากการสอบ 9 วิชาสามัญ
- ภาษาไทย 7%
- สังคมศึกษา 7%
- ภาษาอังกฤษ 14%
- คณิตศาสตร์ 14%
- วิทยาศาสตร์ (ฟิสกส์,เคมี,ชีวะ) 28%
2. กสพท.หรือความถนัดแพทย์
- เชาว์ปัญญา 10%
- จริยธรรมแพทย์ 10%
- ความคิดเชื่อมโยง 10%
10 อันดับ กสพท64 คณะแพทย์/ทันตะ/สัตวแพทย์/เภสัช ที่มีคะแนน #กสพท สูงสุดในปีที่ผ่านมา
การประเมินเพื่อรับรองความรู้ความสามารถในการประกอบวิชาชีพทันตกรรม
ารประเมินด้านวิชาการวิชาชีพ เป็นส่วนของเนื้อหาที่ทันตแพทย์ทั่วไปจำเป็นต้องรู้ (Must know) ในการปฏิบัติงานวิชาชีพในอนาคต ศ.ป.ท. ได้จัดทำตารางคุณลักษณะของเนื้อหาในการประเมิน โดยใช้เกณฑ์มาตรฐานความรู้ความสามารถของทันตแพทย์ ที่ทันตแพทยสภากำหนดไว้ 41 ข้อ แยกเป็นหมวดหมู่ ดังนี้
1. เนื้อหาทางวิชาการภาควิทยาการคลินิกทันตกรรม กำหนดเป็น 10 กลุ่ม คือ
1.1 วิทยาการวินิจฉัยและเวชศาสตร์ช่องปาก
1.2 ทันตกรรมบดเคี้ยวและอาการปวดบริเวณช่องปากและใบหน้า
1.3 ศัลยศาสตร์ช่องปาก
1.4 ปริทันตวิทยา
1.5 ทันตกรรมบูรณะ/หัตถการ
1.6 วิทยาเอ็นโดดอนต์
1.7 ทันตกรรมประดิษฐ์
1.8 ทันตกรรมจัดฟัน
1.9 ทันตกรรมสาหรับเด็ก
1.10 ทันตกรรมชุมชนและกฎหมาย
2. เนื้อหาทางวิชาการภาควิทยาศาสตร์การแพทย์และทันตแพทย์พื้นฐาน กำหนดเป็น 4 กลุ่ม คือ
2.1 อวัยวะโครงสร้างและหน้าที่ (Development Structures and Functions)
2.1.1 ศีรษะและคอ (Head and Neck)
2.1.2 ฟันและอวัยวะในช่องปาก (Teeth and Oral tissues)
2.2 สุขภาพและโรคทางระบบที่เกี่ยวข้องกับทันตแพทย์ (Biomedical sciences related to dentistry)
2.3 พยาธิวิทยาของโรคในช่องปาก (Homeostasis and pathology of oral diseases)
2.3.1 การเปลี่ยนแปลงทางสรีรสภาพ (Physiologic changes)
2.3.2 การติดเชื้อ (Infection)
2.3.3 เนื้องอก (Tumors and tumor-like lesions)
2.3.4 การบาดเจ็บ (Injuries and trauma)
2.4 วิทยาการระบบบดเคี้ยว (Masticatory sciences)
liemgthailand.com
มหาวิทยาลัยเนชั่น - PR
Thaiall.com