thaiall logomy background

สาธารณภัย คืออะไร

my town
แฟนเพจ lampangdisaster | โฮมเพจที่มีข้อมูลเดิม | โรคระบาด |
สาธารณภัย คืออะไร าธารณภัย คือ ภัยที่มีผลกระทบต่อสาธารณชน ที่เกิดจากธรรมชาติ มีผู้ทำให้เกิดขึ้น อุบัติเหตุ หรือเหตุอื่นใด ซึ่งก่อให้เกิดอันตรายแก่ชีวิต หรือความเสียหายต่อทรัพย์สินของประชาชน หรือของรัฐ เช่น อัคคีภัย วาตภัย อุทกภัย ภัยแล้ง โรคระบาดในมนุษย์ โรคระบาดสัตว์ โรคระบาดสัตว์น้ำ การระบาดของศัตรูพืช ตลอดจนภัยอื่น ๆ
ประวัติความเป็นมา ากนโยบายของรัฐบาลที่วางแนวทางในการปฏิรูประบบราชการ โดยดำเนินการปรับปรุงระบบการบริหารราชการแผ่นดินของส่วนราชการต่างๆ ให้เป็นระบบ ซึ่งมีการก่อตั้งหน่วยงานขึ้นใหม่ เพื่อให้เป็นหน่วยงานหลัก ในการปฎิบัติภารกิจที่เคยซ้ำซ้อนอยู่ในหน่วยงานอื่นๆ ให้เป็นระบบ เปรียบเสมือนเป็นเจ้าภาพในการดำเนินงาน เพื่อประโยชน์ของประชาชนและประเทศชาติเป็นหลัก ทั้งยังเป็นการตอบสนองความต้องการของประชาชนได้อย่างรวดเร็วยิ่งขึ้น ในส่วนของกระทรวงมหาดไทย มีหน่วยงานใหม่ถือกำเนิดขึ้นเพื่อจัดการสาธารณภัยอย่างเป็นระบบ คือ กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย โดยมีภารกิจหน้าที่ในการจัดทำแผนแม่บท วางมาตรการ ส่งเสริมสนับสนุน การป้องกัน บรรเทาและฟื้นฟูจากสาธารณภัย โดยกำหนดนโยบายด้านความปลอดภัย สร้างระบบป้องกัน เตือนภัย ฟื้นฟูหลังเกิดภัย และการติดตามประเมินผล เพื่อให้หลักประกันในด้านความมั่นคงปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน
ซึ่งบุคลากรจากหน่วยงานเหล่านี้จะเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกันใจการปฏิบัติงานป้องกัน บรรเทา และฟื้นฟู ด้วยระบบการบริหารจัดการสาธารณภัยอย่างเป็นระบบ และเกิดผลสัมฤทธิ์ในการลดความสูญเสียที่เกิดขึ้น จากสาธารณภัยทุกประเภทอย่างเป็นรูปธรรม ส่วนราชการกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย ประกอบด้วย
สำนักผู้ตรวจราชการกรม
สำนักงานเลขานุการกรม
กองนโยบายป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย
กองมาตรการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย
กองส่งเสริมการป้องกันสาธารณภัย
ศูนย์อำนวยการบรรเทาสาธารณภัย
ศูนย์เตือนภัยพิบัติแห่งชาติ
สำนักช่วยเหลือผู้ประสบภัย
สำนักวิจัยและความร่วมมือระหว่างประเทศ
กองบูรณาการความปลอดภัยทางถนน
กองการเจ้าหน้าที่
กองคลัง
กองกฏหมาย
กองเผยแพร่และประชาสัมพันธ์
ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร
กลุ่มตรวจสอบภายใน
กลุ่มพัฒนาระบบบริหาร
กลุ่มงานคุ้มครองจริยธรรม
กองโรงงานเครื่องจักรกล
วมถึงในส่วนภูมิภาค ได้แบ่งเขตพื้นที่การรับผิดชอบเป็น 18 กลุ่มจังหวัด ได้แก่ ศูนย์ป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยเขต 1-18 ( เขต 1 ปทุมธานี, เขต 2 สุพรรณบุรี, เขต 3 ปราจีนบุรี, เขต 4 ประจวบคีรีขันธ์, เขต 5 นครราชสีมา, เขต 6 ขอนแก่น, เขต 7 อุบลราชธานี, เขต 8 กำแพงเพชร, เขต 9 พิษณุโลก, เขต 10 ลำปาง, เขต 11 สุราษฎร์ธานี, เขต 12 สงขลา, เขต 13 อุบลราชธานี, เขต 14 อุดรธานี, เขต 15 เชียงราย, เขต 16 ชัยนาท, เขต 17 จันทบุรี, เขต 18 ภูเก็ต) อีกทั้งกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย ยังเตรียมความพร้อมในการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยด้วยการพัฒนาทรัพยากรบุคคลโดยมี สถาบันพัฒนาบุคลากรด้านการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย และวิทยาเขตต่างๆในส่วนภูมิภาค (วิทยาเขตปทุมธานี, วิทยาเขตขอนแก่น, วิทยาเขตเชียงใหม่, วิทยาเขตปราจีนบุรี, วิทยาเขตพิษณุโลก, วิทยาเขตภูเก็ต, วิทยาเขตสงขลา) เมื่อมีกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย เป็นหน่วยงานหลักในการจัดการสาธารณภัยอย่างเป็นระบบ ซึ่งจะเป็นศูนย์กลาง ในการพัฒนาประสิทธิภาพระบบการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย เพื่อให้ประชาชนได้รับการดูแลเอาใจใส่ ให้มีความปลอดภัย และไม่ได้รับความสูญเสียด้านชีวิต และทรัพย์สินที่สืบเนื่องจากสาธารณภัย
กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย กระทรวงมหาดไทย
อ่านเพิ่มเติม
1
สารสนเทศสาธารณภัย ระเทศไทยประสบสาธารณภัยหลายแบบทุกปี โดยภาครัฐมีหน่วยงานที่ดูแลปัญหาอยู่หลายหน่วยงานตามลักษณะปัญหา ซึ่งปัญหาที่เกิดขึ้นในภาคเหนือบ่อยครั้ง คือ ภัยแล้ง ภัยหนาว อุทกภัย ไฟป่า วาตภัย เมื่อค้นข้อมูลจากสำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยที่มีในจังหวัดพบว่าประเภทของภัยมีอีกหลายรูปแบบ ได้แก่ ภัยทางท้องถนน อัคคีภัย แผ่นดินไหว อาคารทรุด/อาคารถล่ม คลื่นสึนามิ การก่อวินาศกรรม การคมนาคม สารเคมี/วัตถุอัตราย ดินถล่ม โรคระบาด ศัตรูพืชระบาด อุบัติเหตุจากโรงงาน สึนามิ ภัยจากเทคโนโลยีสารสนเทศ และภัยอื่น
ารประเมินว่าพื้นที่ใดจะเข้าเงื่อนไขเป็นพื้นที่ประสบภัยจะมีเกณฑ์ให้พิจารณา เมื่อถูกประกาศเป็นพื้นที่ประสบภัยก็จะได้รับการดูแลจากภาครัฐเป็นพิเศษตามสภาพปัญหา ถ้ามีอากาศหนาวจัดที่อุณหภูมิต่ำกว่า 15 องศาเซลเซียสติดต่อกันเกิน 3 วัน ในจังหวัดนั้นก็จะพิจารณาประกาศเป็นภัยพิบัติฉุกเฉิน (ภัยหนาว) ส่วนภัยหมอกควัน คือ พื้นที่ที่มีค่าฝุ่นละอองขนาดไม่เกิน 10 ไมครอน (PM10) เกิน 120 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร ส่วนอุทกภัยมักมีพื้นที่ประสบภัยซ้ำซากอยู่ทุกปี หรือเกิดครั้งแรกที่มาจากฝนตกหนักมีน้ำป่าไหลหลาก น้ำท่วมฉับพลัน และน้ำล้นตลิ่ง
ารคมนาคมถือเป็นภัยหนึ่งที่มีผู้เสียชีวิตเป็นจำนวนมากทุกปี ใน 7 วันอันตรายช่วงเทศกาลปีใหม่ 2557 นางธวัลรัตน์ ไชยอินปัน หัวหน้าสำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัดลำปาง เปิดเผยว่ามีอุบัติเหตุรวม 66 ครั้ง และมีผู้เสียชีวิต 9 ราย มีสาเหตุหลักจากเมาสุรา 41 ครั้งคิดเป็นร้อยละ 62.12 ส่วนภัยจากเทคโนโลยีสารสนเทศ หมายถึง ภัยที่เกิดขึ้นกับระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ โดยอาจเกิดความเสียหายขึ้นกับระบบ Hardware, Software, Network, Peopleware แฟ้มข้อมูล และอุปกรณ์อื่น ๆ ที่ถูกทำลาย ทำให้เกิดความเสียหาย และเป็นสาธารณภัยที่เกิดจากการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศที่ทำให้เกิดผลกระทบและความเดือดร้อนต่อการดำรงชีวิตของประชาชน ซึ่งเทียบเคียงคล้ายกับที่ กสท. บางรัก ไฟดับ ทำให้เครือข่ายล้มไปทั้งระบบเป็นเวลาประมาณ 3 ชั่วโมง เมื่อวันที่ 30 พฤศจิกายน 2556 คาดว่าเกิดความเสียหายประมาณ 300 ล้านบาท จากเหตุชุมนุมทางการเมืองที่นั่น
ไอทีในชีวิตประจำวัน
ใช้เวลาโหลดเว็บเพจ: 108 มิลลิวินาที สูง: 1662 จุด กว้าง: 1264 จุด
Thaiall.com
Thailand Web Stat