thaiall logomy background

การเลือกตั้งผู้แทนของประชาชน

my town
วิเคราะห์สภาพแวดล้อม | ระบบประเมินการเลือกผู้แทน | รายชื่อผู้สมัคร ลำปาง 2566 | นโยบายประเทศ |
การเลือกตั้ง คืออะไร
กูเกิลสนับสนุนการใช้สิทธิเลือกตั้งของประเทศไทย ชวนกันไปใช้สิทธิเลือกตั้ง
ารเลือกตั้ง คือ กระบวนการที่จัดขึ้นอย่างเป็นทางการ ที่ประชาชนทำหน้าที่เลือกปัจเจกบุคคล เพื่อดำรงตำแหน่งทางการเมือง ซึ่งการเลือกตั้งเป็นกลไกการปกครองในระบอบประชาธิปไตย แบบมีผู้แทนมาปกครองบ้านเมืองตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 17
ารเมืองเป็นเรื่องของทุกคน เพราะทุกคนที่อายุครบ 18 ปีบริบูรณ์พอดีในวันเลือกตั้ง มีสิทธิในการเลือกผู้แทนของตนเอง และประเทศไทยเปิดรับสมัครผู้แทนฯ และมีการจัดการเลือกตั้งผู้แทนอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้อำนาจในการทำหน้าที่ในการบริหารบ้านเมืองในทุกระดับ ดังนั้นการเมืองจึงมีทั้งในระดับท้องถิ่น และระดับชาติ ได้แก่ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร สมาชิกวุฒิสภา สมาชิกสภาเทศบาล สมาชิกองค์การบริหารส่วนจังหวัด สมาชิกองค์การบริหารส่วนตำบล หรือกรรมการสมาคมต่าง ๆ ซึ่งการมีอำนาจ หรือมีส่วนร่วมในการใช้อำนาจเพื่อเข้าไปบริหารในระดับต่าง ๆ มีวัตถุประสงค์เพื่อทำหน้าที่แทนประชาชนในการบริหาร การจัดการ จัดสรรทรัพยากรให้สังคมนั้นได้ประโยชน์สูงสุด
ผลการเลือกตั้ง ภาพรวม ผลการเลือกตั้ง ภาพรวม
ทบาทของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2550 คือ 1) การเป็นตัวแทนของประชาชน 2) การทําหน้าที่นิติบัญญัติ 3) การทําหน้าที่ตรวจสอบฝ่ายบริหาร 4) ความสํานึกรับผิดชอบต่อการทําหน้าที่ผู้แทน ซึ่งผลการศึกษาของ ณัฐสุดา เวียงอําพล (2558) พบว่า ตัวแปรที่ส่งผลต่อการทําหน้าที่ของผู้แทนตามบทบาทข้างต้น ได้แก่ 1) สถานะของพรรคการเมืองที่ผู้แทนสังกัด 2) ภูมิหลังอาชีพหรือประสบการณ์ทางการเมืองของผู้แทน 3) ความคาดหวังของประชาชนในเขตเลือกตั้ง ส่วนพฤติกรรมการตัดสินใจเลือกสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรของประชาชน (พิกุล มีมานะ และ สนุก สิงห์มาตร, 2563) จำแนกเหตุผลได้ 3 ด้าน คือ 1) เป็นการทำตามหน้าที่ของพลเมือง 2) ต้องการอรรถประโยชน์ทางการเมือง 3) ต้องการต่อต้านหรือเปลี่ยนแปลงรัฐบาล
3 เม.ย.66 - รายชื่อผู้สมัคร ส.ส.ลำปาง วันแรก ช่วงเช้ามี 43 คน
3 เม.ย.66 - รายชื่อผู้สมัคร ส.ส.ลำปาง เอกสารโดย สวท.ลำปาง กรมประชาสัมพันธ์
ect.go.th
ectreport.com
แบบฟอร์ม : ระบบประเมินการเลือกผู้แทนตามเกณฑ์ แบบไม่ระบุชื่อ
เกณฑ์ที่ใช้พิจารณา54321น้ำหนัก
1. ฐานะมั่นคง
2. อาชีพมั่นคงที่สังคมยอมรับ
3. การศึกษา และประสบการณ์ที่ดี
4. ภาพลักษณ์ ผลงาน ประวัติ
5. การเข้าถึงชุมชน ช่วยเหลือสังคม
6. สังกัดพรรคการเมืองที่นโยบายดี
7. เครือญาติ/เครือข่าย

ในส่วนของค่าน้ำหนัก ปรับได้ แต่รวมแล้วต้องเท่ากับ 1.0
เรียบเรียงหัวข้อจาก สรุปเกณฑ์ในการตัดสินใจเลือกผู้แทน (เฉลิมพล และ กานดา, 2562)
การเสียสละ
การยอมเสียผลประโยชน์ส่วนตน เพื่อให้ผู้อื่นหรือสังคมโดยส่วนรวม ได้รับผลประโยชน์จากการกระทำของตัวเรา
นโยบายของพรรคการเมือง
โยบาย คือ แนวคิดหรือวิธีการของพรรค ภาครัฐ สถาบัน องค์การ กลุ่ม หรือบุคคล ที่เลือกแนวทางที่สะท้อนออกมาให้เห็นการตัดสินใจได้ชัดเจน เพื่อใช้เป็นแนวปฏิบัติในการพัฒนา หรือแก้ปัญหาอย่างมีประสิทธิภาพ
นโยบายพรรคภูมิใจไทย
นโยบายพรรคเพื่อไทย
นโยบายพรรคพลังประชารัฐ
นโยบายพรรครวมไทยสร้างชาติ
นโยบายพรรคก้าวไกล
นโยบายพรรคชาติไทยพัฒนา
นโยบายพรรคประชาธิปัตย์
นโยบายพรรคเสรีรวมไทย
นโยบายพรรคไทยสร้างไทย
นโยบายพรรคประชาชาติ
นโยบายพรรคชาติพัฒนากล้า
คำศัพท์ที่น่าสนใจ
Parliament คือ รัฐสภา
Government คือ รัฐบาล
Senate คือ วุฒิสภา รัฐสภา สภาสูง
Political party คือ พรรคการเมือง
Member of paliament คือ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร
Politic คือ การเมือง
Politician คือ นักการเมือง
Representative คือ ผู้แทนราษฎร
Prime Minister คือ นายกรัฐมนตรี
Minister คือ รัฐมนตรี
Cabinet คือ คณะรัฐมนตรี
Constitution คือ รัฐธรรมนูญ
Opposition คือ ฝ่ายค้าน
Democracy คือ ประชาธิปไตย
24 นโยบายที่ประชาชนสนใจ (Demand and Supply)
  1. สร้างงานให้ทุกคนมีงานทำ
  2. เพิ่มรายได้ในทุกกลุ่มอาชีพ
  3. เพิ่มค่าแรงขั้นต่ำ
  4. เพิ่มเงินเดือนเริ่มต้น
  5. จัดงานเทศกาลอย่างต่อเนื่อง
  6. เพิ่มสวัสดิการทุกช่วงอายุ
  7. เพิ่มสิทธิถือครองที่ดิน
  8. เพิ่มบำเหน็จ บำนาญ เบี้ยยังชีพ
  9. ลดภาษี
  10. พักหนี้ ยกหนี้ กู้ง่าย
  11. ประกันชีวิตฟรี
  12. ทุกโรครักษาฟรี
  13. เดินทาง อาหาร น้ำดื่ม ที่พักฟรี
  14. ประปา ไฟฟ้า น้ำมัน แก๊ซฟรี
  15. อินเทอร์เน็ตฟรี
  16. โทรศัพท์ฟรี
  17. คอมพิวเตอร์ฟรี
  18. เด็กทุกคนมีที่เรียน
  19. เรียนฟรีทุกอาชีพ ทุกระดับ
  20. เรียนได้ทุกที่ ทุกเวลา
  21. ทุกสถานที่ปลอดภัย
  22. ปลอดทุจริต
  23. ปลอดฝุ่นควัน
  24. ปลอดโรคระบาด
นับคะแนนการหยั่งเสียงผู้สมควรดำรงตำแหน่งอธิการบดี นับคะแนนการหยั่งเสียงผู้สมควรดำรงตำแหน่งอธิการบดี มื่อวันที่ 2 พ.ค.2566 เวลา 15.01 น. สำนักงานสภามหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง โดยนายเฉลิมพล ประทีปะวณิช ประธานคณะกรรมการสรรหาผู้สมควรดำรงตำแหน่งอธิการบดีมหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง พร้อมคณะ ได้ดำเนินการนับคะแนนการหยั่งเสียงผู้สมควรดำรงตำแหน่งอธิการบดีมหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง ณ ห้องประชุมโอฬารรัตน์ ชั้น 1 อาคารโอฬาร โรจน์หิรัญ มีผลการนับคะแนนดังนี้ ผู้มีสิทธิ์หยั่งเสียงผู้สมควรดำรงตำแหน่งอธิการบดีมหาวิทยาลัยราชภัฏ ทั้งสิ้น 579 คน มาใช้สิทธิ์หยั่งเสียงทั้งสิ้น 548 คน ผู้ผ่านเกณฑ์การหยั่งเสียงร้อยละ 20 ของผู้มีสิทธิ์หยั่งเสียงสมควรดำรงตำแหน่งอธิการบดีมหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง ได้แก่ รศ.ดร.กิตติศักดิ์ สมุทธารักษ์ และ ผศ.ดร.วิยดา เหล่มตระกูล
ดยผลการลงคะแนน รวม 548 คะแนน แบ่งเป็น หมายเลข 1 ได้ 116 คะแนน หมายเลข 2 ได้ 116 คะแนน หมายเลข 3 ได้ 39 คะแนน ไม่ประสงค์ใช้สิทธิลงคะแนน 33 คะแนน บัตรดี 242 คะแนน บัตรเสีย 2 คะแนน
อำนาจหน้าที่สภาผู้แทนราษฎร ลักการปกครองในระบอบประชาธิปไตย อำนาจสูงสุดในการปกครองประเทศเป็นอำนาจที่มาจากประชาชนผู้ปกครองประเทศที่มาจากการเลือกตั้งของประชาชน เป็นเพียงตัวแทนที่ได้รับมอบอำนาจให้ใช้อำนาจอธิปไตยแทนประชาชน โดยผ่านกระบวนการเลือกตั้ง รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 กำหนดให้สภาผู้แทนราษฎรประกอบด้วยสมาชิกจำนวน 500 คน มาจากการเลือกตั้งแบบแบ่งเขตเลือกตั้งจำนวน 350 คนและมาจากบัญชีรายชื่อของพรรคการเมืองจำนวน 150 คน เพื่อเป็นตัวแทนของประชาชนในการเข้าไปทำหน้าที่ในการบริหารราชการแผ่นดิน ทั้งนี้ รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560
ปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน ฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน ซึ่งเวียนมาบรรจบครบ 50 ปี ในวันที่ 10 ธันวาคม 2541 ได้ประกาศว่า "มนุษย์เราเกิดมามีเสรี มีศักดิ์และสิทธิ์เท่าเทียมกัน และพึงปฏิบัติต่อกัน ด้วยความเอื้ออาทร .. ทุกคนมีสิทธิในชีวิต มีเสรีภาพ .. มีสิทธิทางเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม อันจำเป็นต่อศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์และการพัฒนาตนเองอย่างอิสระ"
รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ได้บัญญัติไว้ในมาตรา 4 ว่า "ศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ สิทธิและเสรีภาพของบุคคลย่อมได้รับความคุ้มครอง" และในมาตรา 26 ว่า "การใช้อำนาจโดยองค์กรของรัฐทุกองค์กร ต้องคำนึงถึงศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ สิทธิและเสรีภาพตามบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญนี้" บทบัญญัติข้างต้นเป็นเรื่องนิตินัย หรือสิ่งที่ควรจะเป็น ทำอย่างไรจึงจะให้เกิดพฤตินัย หรือสิ่งที่เป็นจริงขึ้นมาด้วย คำตอบคงอยู่ตรงที่ว่า
- ประชาชนต้องพึ่งตนเอง เริ่มจากความเชื่อมั่นและศรัทธาในมนุษย์
- ประชาชนต้องพึ่งกันเอง เริ่มจากความเอื้ออาทรและความสามารถในการรวมกลุ่ม
- ประชาชนต้องพึ่งหน่วยงานของรัฐ โดยเฉพาะกระบวนการยุติธรรมและการจัดสรรทรัพยากร
- ประชาชนต้องสามารถตรวจสอบการใช้อำนาจรัฐ โดยผ่านองค์กรต่าง ๆ ตามรัฐธรรมนูญ
รัฐธรรมนูญมีบทบัญญัติที่สำคัญเกี่ยวกับสิทธิและหน้าที่ของบุคคล สิทธิและหน้าที่ของรัฐ ตลอดจนความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล และรัฐ แต่บุคคลในฐานะปัจเจกชนย่อมไม่อาจคานดุลกับรัฐที่เป็นองค์กรจัดตั้งอันเข้มแข็งได้ บุคคลจึงมีการรวมกลุ่มกัน เป็นองค์กรที่ไม่ใช่องค์กรของรัฐ หรือที่รัฐธรรมนูญใช้ศัพท์ว่าองค์การเอกชน ประชาชนจะมีส่วนร่วมในกิจการต่าง ๆ เพื่อศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์และการพัฒนาตนเองอย่างอิสระได้ ย่อมต้องอาศัยการรวมกลุ่มกันเป็นองค์การเอกชน
อ่านเพิ่มเติม
เรื่องราวของ นายกอไก่ ผมขอจำลองสถานการณ์ขึ้นก่อนนะครับว่า นายกรัฐมนตรี ได้มอบหมายให้คณะกรรมการชุดหนึ่ง ขอให้ชื่อชุดว่า คณะกรรมการสรรหา เพื่อที่จะสรรหา สมาชิกวุฒิสภา เข้ามาให้คำปรึกษารัฐบาล แต่มีเงื่อนไขว่า บุคคลเหล่านี้ต้องสะอาด ไม่ซื้อเสียง ไม่ใช้เงิน เป็นคนดี มีความรู้ ซึ่งเป็นการเลือกตั้งครั้งแรก ที่จะให้ประชาชน มีสิทธิ์เลือกคนดี ไม่ใช้คนที่เป็นที่นิยม เหมือนการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทน ที่สนใจเฉพาะความเป็นคนยอดนิยม เขามาเป็นตัวแทนของประชาชน แต่สมาชิกวุฒิสภา เป็นเสมือนผ้าขาว ที่เป็นตัวแทนของประชาชน ในด้านของสมอง เข้ามาตรวจสอบการทำงาน โดยใช้ความรู้และสติปัญญาเป็นหลัก และที่สำคัญต้องเป็นคนดี ทำเพื่อประชาชน และประเทศชาติ นั่นคือความตั้งใจของผม .. เป็นแนวคิดที่ยอดเยี่ยมมาก
ในโอกาสนี้ก็มีคน ๆ หนึ่ง ชื่อนายกอไก่ เห็นว่าตนเองเป็นคนดี มีความสามารถ จบก็สูง เป็นที่นับหน้าถือตาของคนในจังหวัด ชาติตะกูลก็ดี ครอบครัวก็เยี่ยม ฐานะก็ดีมาก และที่สำคัญรักที่จะทำงานเพื่อสังคม ส่วนรวม และจังหวัดอันเป็นที่รัก พี่น้องของนายกอไก่ ก็มีหน้าที่การงานที่ดี มีตำแหน่งสูง ในหลายองค์กรของจังหวัดน ทุกคนต่างให้การสนับสนุน ทำให้นายกอไก่ตัดสินใจลงสมัคร โดยมีปฏิทานว่า จะไม่ใช้เงินซื้อเสียงเป็นอันขาด ผู้คนที่รัก หรือบุคลากรในองค์กรที่ท่านทำงานอยู่ ต่างก็ส่งเสริม และให้การสนับสนุนอย่างเต็มที่ เพราะองค์กรที่ท่านทำงานอยู่ ก็เสมือนองค์กรการกุศลองค์กรหนึ่ง อยู่ได้ด้วยเงินบริจาค และสร้างผลงาน เพื่อประเทศชาติมานักต่อนัก
แต่ เหตุการณ์ไม่คาดฝันหลังเลือกตั้ง ได้เกิดขึ้น คน ๆ หนึ่งที่ไม่เคยคิดใช้เงินซื้อเสียง ได้รับชัยชนะในการเลือกตั้ง เป็นชัยชนะของคนทั้งจังหวัด ของคนมีการศึกษา ของคนที่มีอุดมการณ์ ความภาคภูมิใจของคนทั้งจังหวัด มีอันต้องแตกสลายไป หลังจากคณะกรรมการสรรหา ประกาศ ให้แขวนนายกอไก่ โดยมีเหตุผลมากมายที่ได้มาจากการร้องเรียน ของผู้ที่ไม่ต้องการให้นายกอไก่ได้รับเลือก ในเหตุผลเหล่านั้น ไม่มีแม้ข้อเดียวที่จะกล่าวว่าเขาซื้อเสียง ทุกคนเหนื่อยใจ หลายคนไม่เข้าใจ รวมทั้งนายกอไก่ ว่าทำไมจึงเกิดเรื่องเช่นนี้
การเลือกตั้งครั้งแรก ถูกแขวนก็ไม่เป็นไร ทางคณะกรรมการสรรหา ยังเปิดโอกาสให้พิสูจน์ตัวเอง ถ้าถูกแขวนแล้ว ไม่ดีจริง ย่อมไม่ได้รับเลือกตั้งอีกแน่ นายกอไก่ ตัดสินใจสู้อีกครั้ง เพื่อพิสูจน์ตนเอง เพราะเชื่อว่า ทำดีย่อมได้ดี ในที่สุดก็ประสบผลสำเร็จ เขาได้รับเลือกอีกครั้ง ด้วยคะแนนที่ไม่ต่างไปจากเดิมนัก แต่ในครั้งนี้ คณะกรรมการสรรหา กลับประกาศสิ่งที่ไม่น่าเชื่ออีกครั้ง (นี่ถ้าผมเป็นเขา คงแทบล้มทั้งยืน เพราะถูกกล่าวหาว่าทำผิด แต่ไม่มีโอกาสที่จะพิสูจน์ตนเอง ให้กระจ่าง แม้แต่น้อย แค่เรียกไปฟังข้อกล่าวหาเท่านั้น พอตอบไปก็ถูกเรียกว่า แก้ตัว) เขาแขวนนายกอไก่ และตัดสิทธิ์ การลงสมัครรับเลือกตั้งในครั้งที่ 3 .. นี่หละครับ ชีวิต ดั่งนิยาย .. เหมือนภาพยนต์เรื่องหนึ่ง ที่มีชื่อว่า ความจริงที่โหดร้าย
บทความวิชาการ เรื่อง พฤติกรรมการเลือกตั้ง ามบทความวิชาการ โดย ศุทธิกานต์ มีจั่น. (2556) มีสิ่งที่พบหลายเรื่อง เช่น คุณสมบัติของผู้สมัครที่ทำให้ตัดสินใจเลือกหรือลงคะแนนเลือกตั้ง ซึ่งจำแนกได้ 7 คุณสมบัติ ดังนี้ 1) สังกัดพรรคที่ชื่นชอบ 2) มีนโยบายในการหาเสียงที่น่าสนใจ และมีแนวโน้มทำได้จริง 3) ซื่อสัตย์ สุจริต ไม่โกงกิน ไม่มีผลประโยชน์ทับซ้อน 4) เข้าถึงได้ง่าย ช่วยเหลือ และแก้ปัญหาความเดือดร้อนของชุมชน 5) ให้เงิน รางวัล หรือความช่วยเหลือต่างๆ 6) มีภาพลักษณ์ดี มีการศึกษา มาจากครอบครัวที่น่านับถือ 7) มีความผูกพันกับชุมชนพื้นที่เป็นระยะเวลานาน
ารให้ความหมายและรูปแบบของการซื้อเสียง ซึ่งจำแนกได้ 8 ลักษณะ ดังนี้ 1) การให้เงิน 2) การมอบสิ่งของ 3) การร่วมงานหรือกิจกรรมของชุมชน 4) การสนับสนุนเงิน หรือสิ่งของในกิจกรรมต่างๆ ของชุมชน 5) การสนับสนุนงบประมาณเพื่อสิ่งก่อสร้างสาธารณะ 6) การมาร่วมงานประเพณี หรือกิจกรรมของของครอบครัว 7) การให้ความช่วยเหลือด้านต่างๆ แก่ท่านและครอบครัว 8) การนำเสนอนโยบายที่เป็นประโยชน์ต่อประชาชน
ารรับรู้ถึงการซื้อเสียงและจำนวนเงินที่มีการจ่ายในการเลือกตั้งประเภทต่าง ๆ ซึ่งจำแนกได้ 9 ประเภท ดังนี้ 1) สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร 2) สมาชิกวุฒิสภา 3) นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัด 4) สมาชิกองค์การบริหารส่วนจังหวัด 5) นายกเทศมนตรี 6) สมาชิกสภาเทศบาล 7) นายกองค์การบริหารส่วนตำบล 8) สมาชิกองค์การบริหารส่วนตำบล 9) กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน
ส่วนบทความวิจัยของ สุพัฒพงศ์ แย้มอิ่ม, ไชยวัฒน์ เผือกคง, และ พิสิฐ นิลเอก (2562) ศึกษาทัศนคติของประชาชนในการเลือกตั้งทั้งหมด 5 ประเด็น ได้แก่ 1) ด้านความคิดเห็นเกี่ยวกับการเลือกตั้ง 2) ด้านการใช้สิทธิ์เลือกตั้ง 3) ด้านการลงคะแนนเสียงเลือกตั้ง 4) ด้านการตัดสินใจในการเลือกตั้ง 5) ด้านแนวทางการส่งเสริมการเลือกตั้ง
ตัวอย่างการถูกแขวนหลังเลือกตั้ง
    เหตุผลที่เขียนเป็นลายลักษณ์อักษรนี้มี 7 ข้อ
  1. มีการแจ้งเข้าไปว่า : นายกอไก่ ไปสัญญากับกำนัน ผู้ใหญ่บ้าน และกรรมการหมู่บ้าน ในอำเภอหนึ่ง ว่าจะให้ประโยชน์ภายหลังเลือกตั้ง เช่น นำผ้าป่าไปทอด จะให้โลงศพแช่เย็นบ้าง สร้างวัด โบสถ์ เป็นต้น
  2. มีการแจ้งเข้าไปว่า : นายกอไก่ ไปจัดเลี้ยงในงานทอดผ้าป่า โดยประสานงานกับอาจารย์ในโรงเรีน และสมาชิกอบต
  3. มีการแจ้งเข้าไปว่า : นายกอไก่ จัดเลี้ยงผู้นำหมู่บ้าน โดยวานให้ผู้อื่นดำเนินการแทน
  4. มีการแจ้งเข้าไปว่า : นายกอไก่ ให้เงินแก่กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน ในเกือบทุกอำเภอ เพื่อจูงใจหายไปลงคะแนนให้
  5. มีการแจ้งเข้าไปว่า : นายกอไก่ ไปแจกถ้วยรางวัลกีฬา ที่วัดแห่งหนึ่ง
  6. มีการแจ้งเข้าไปว่า : พี่นายกอไก่ ไปจัดเลี้ยงแก่คณะกรรมการหมู่บ้าน และสัญญาว่า จะให้ประโยชน์อื่นในภายหลัง
  7. มีการแจ้งเข้าไปว่า : น้องของนายกอไก่ ไปบังคับให้คนในหน่วยงาน ที่เขาดูแลอยู่ หลายพันคนไปลงคะแนนให้ หากผู้ใดไม่ทำตามจะถูกลงโทษ

- นายกอไก่ ได้ปฏิเสธทุกข้อกล่าวหา แต่ก็ไม่เป็นผล .. และนี่ก็เป็นครั้งที่ 2 ซึ่งก็แปลกใจว่า จากการที่ถูกแขวนไปแล้วหนึ่งครั้ง นายกอไก่ย่อมรู้ และระวังตัวมากขึ้น (ผมจึงไม่แน่ใจว่า หลักฐานเหล่านั้น คืออะไร เกิดขึ้นได้อย่างไร .. หรือใครสร้างขึ้นมา)
เรื่องเล่า : ส่งคำร้อง และการตัดสิทธิ์ จากการที่คน ๆ หนึ่งถูกแขวน และตัดสิทธิ์ จากกลุ่มคนกลุ่มหนึ่ง ที่ได้รับข่าวสาร จากกลุ่มคนอีกกลุ่มหนึ่ง และไม่ได้เปิดให้พิสูจน์ตนเองอย่างจริงจัง โดยเฉพาะคน ๆ นั้นเป็นที่รัก และได้รับความนับถือของคนในจังหวัด จึงทำให้เกิดแรงผลักดัน เพื่อเรียกร้องความเป็นธรรม .. ความเป็นธรรม นี่คือตัวปัญหาครับ
เมื่อนักกฏหมายมาพิจารณาอำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการสรรหา ก็พบว่า พวกเขาใช้อำนาจเกินกว่าที่กฏหมายกำหนด คือตัดสิทธิ์คนโดยไม่ต้องไต่สวนอย่างจริงจัง เพียงแต่ให้คนกลุ่มหนึ่ง ไปหาข้อมูล ก็ตัดสินได้แล้ว การเรียกมาให้ถ้อยคำ กลายเป็นการเรียกมาให้ข้อมูล บางอย่างเพิ่มเติม ซึ่งไม่ได้เป็นหลักประกัน ให้เกิดความยุติธรรมขึ้น 100%
ดังนั้นนายกอไก่ จึงยื่นฟ้องต่อศาล และศาลก็รับฟ้อง เพราะมีเหตุผล และองค์ประกอบของรูปคดีที่สมบูรณ์ จนทำให้เกิดการพิจารณาอำนาจของคณะกรรมการใหม่ ในที่สุดทางคณะกรรมการก็ไม่มีอำนาจถอนสิทธิ์ของ ผู้ได้รับเลือกตั้ง แต่นั่นก็สายไปแล้ว เพราะกระบวนการต่าง ๆ ได้เสร็จสิ้นลง
ถึงทุกวันนี้ คณะกรรมการสรรหาก็ยังไม่ได้ฟ้องผู้ที่ถูกแขวน 100 กว่าคน เพราะว่าผมคิดว่า หลักฐานเหล่านั้นไม่มีน้ำหนักพอ ที่จะฟ้องได้ แต่เขาบอกว่าหลักฐานเหล่านั้น มีน้ำหนักพอที่จะเชื่อได้ว่าผู้ถูกแขวน ปฏิบัติไม่ถูกต้องตามกฏ-กติกา
บางท่านที่เคยดูภาพยนต์อาจเคยได้ยินเรื่องที่ศาลตัดสินประหารชีวิตคน ๆ หนึ่ง ต่อมาญาติของเขา ได้ต่อสู้คดี เพื่อพิสูจน์ จนศาลต้องตัดสินใหม่ว่า คนที่ถูกประหารไปนั้นไม่ผิด แต่นั้นก็ไม่ช่วยให้ทุกอย่างกลับคืนมา .. นี่ก็คือ ความจริงที่โหดร้าย เรื่องหนึ่งเท่านั้น
กติกา 15 ข้อ ของ ส.ว. ปี พ.ศ. 2542 แนวปฏิบัติแนะนำตัวผู้สมัคร ส.ว.
    หมายเหตุ-เนื่องจากผู้สมัครรับเลือกตั้งสมาชิกวุฒิสภา(ส.ว.) จำนวนมาก สอบถาม ถึงแนวทางปฏิบัติในการแนะนำตัว เนื่องจากเกรงว่าการกระทำบางประการอย่างจะเป็นความผิด จึงมีการประชุมเมื่อวันที่ 25 ธันวาคม 2542 และกำหนดแนวทางปฏิบัติในการแนะนำตัว เพื่อให้มีความชัดเจนมากขึ้น 15 ข้อ
  1. เอกสารแนะนำตัวตามประกาศคณะกรรมการการเลือกตั้ง เรื่องการแนะนำตัวผู้สมัครรับเลือกตั้งสมาชิกวุฒิสภา อนุญาตให้มีหมายเลขของผู้สมัครได้ แต่ห้ามใส่เครื่องหมาย(X) ตรงหมายเลขประจำตัวผู้สมัคร เพราะอาจเป็นการจูงใจและมีลักษณะของการหาเสียงได้
  2. อนุญาตให้ติดสติ๊กเกอร์แนะนำตัวไว้ในที่รถยนต์ส่วนบุคคลที่เจ้าของอนุญาต แต่ห้ามติดที่รถยนต์รับจ้างใด ๆ ทั้งนี้สติ๊กเกอร์แนะนำตัวดังกล่าว จะต้องระบุชื่อและที่อยู่ของผู้ว่าจ้าง ผู้พิมพ์ ผู้โฆษณา และวัน เดือน ปี ที่พิมพ์ไว้ด้วย มิใช่มีเพียง ชื่อ-นามสกุล และหมายเลขผู้สมัครเท่านั้น
  3. การติดป้ายโปสเตอร์ต้องเป็นไปตาม พ.ร.บ.รักษาความสะอาด ถ้าเป็นที่สาธารณะต้องขออนุญาตเจ้าพนักงานท้องถิ่น ถ้าเป็นสถานที่เอกชน ต้องได้รับคำยินยอมจากผู้ครอบครองก่อน
  4. เอกสารการแนะนำตัวจะต้องเป็นไปตามประกาศที่เป็นประวัติส่วนตัวเท่านั้น จะมีข้อความอื่น เช่นปฏิทิน หรือยามอุบากองไม่ได้
  5. สามารถแจกแผ่นพับ หรือใบปลิวได้ทั่วไป ยกเว้นเขตที่เจ้าของหวงห้าม
  6. สามารถส่ง ส.ค.ส. ได้ตามปกติแต่ต้องไม่มีข้อความเกี่ยวกับการลงสมัคร ส.ว. รวมทั้งห้ามส่งเอกสารการแนะนำตัวในซองเดียวกับ ส.ค.ส. ด้วย
  7. ไม่อนุญาตให้สอดแทรกเอกสารแนะนำตัวไว้ในหนังสือพิมพ์ หรือหนังสือที่วางขายทั่วไป
  8. กรณีผู้สมัคร ส.ว.ไปร่วมงานเลี้ยง งานบุญ ไม่ควรรับเชิญจากเจ้าภาพให้กล่าวคำอวยพร ร้องเพลง หรือกล่าวอื่น ๆ
  9. กรณีไปร่วมงานเลี้ยงผู้สมัคร ส.ว. สามารถพูดและแจกเอกสารแนะนำตัวได้แต่ห้ามใช้เครื่องขยายเสียง
  10. ในงานเลี้ยง หรืองานบุญห้ามพิธีกรในงานกล่าวระบุว่าเป็นผู้สมัคร ส.ว.ใด ๆ ทั้งสิ้น
  11. ห้ามผู้สมัคร ส.ว. ที่เป็นเจ้าของ หรือเป็นกรรมการผู้จัดการบริษัท บริจาค เป็นสปอนเซอร์กุศล รวมทั้งให้ถ้วยรางวัล ทุนการศึกษาและสิ่งของอื่น ๆ
  12. กรณีที่ผู้สมัครเป็นผู้จัดการ หรือผู้ดำเนินรายการทางวิทยุ หรือโทรทัศน์ สามารถจัดรายการได้ตามปกติ แต่ห้ามหาเสียง หรือแนะนำตัว รวมทั้งกรณีที่ผู้ร่วมรายการ ใช้วิธีการต่าง ๆ เช่น โทรศัพท์เข้ามาแสดงความคิดเห็นที่มีลักษณะหาเสียง แนะนำตัว หรือมีข้อความเกี่ยวกับการเลือกตั้ง ส.ว. ถ้าไม่ปฏิบัติตามทาง กก.ต.จะถือว่าผู้ร่วมรายการ ผู้จัดรายการ และผู้ดำเนินรายการมีความผิดด้วย
  13. การสวมเสื้อที่มีชื่อ-นามสกุล หมายเลขผู้สมัคร รวมทั้งการติดสติ๊กเกอร์ที่เสื้อดังกว่าว เสื้อและสติ๊กเกอร์นั้นจะต้องมีลักษณะเป็นเอกสารแนะนำตัว ตามประกาศ โดยจะต้องระบุชื่อ ของผู้ว่าจ้าง ผู้พิมพ์ และผู้โฆษณา และวัน เดือน ปี ที่พิมพ์ด้วย
  14. ห้ามผู้สมัคร ส.ว. แนะนำตัว หรือหาเสียงทางเว็บไซต์ หรือวิทยุติดตามตัว(เพจเจอร์) หรือข้อมูลอิเล็กทรอนิคส์ต่าง ๆ อนุญาตให้แนะนำตัวโดยการ พิมพ์รวมทั้งอนุโลมให้ส่งเอกสารการแนะนำตัวทางโทรสาร หรือแฟกซ์ได้
  15. ห้ามผู้สมัคร ส.ว. แนะนำตัวระหว่างการประชุมประจำเดือนของกำนัน ผู้ใหญ่บ้าน การประชุมของส่วนราชการและหน่วยงานส่วนท้องถิ่นรวมทั้งการประชุมของหน่วยงานเอกชนด้วย
ที่มา : คณะกรรมการการเลือกตั้ง
ใบสมัครรับเลือกเป็นสมาชิกวุฒิสภา
ระดมนโยบายพลิกการศึกษาอย่างสร้างสรรค์ จาก 6 พรรค กสศ. กองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา
บทความในฐานข้อมูลวารสารอิเล็กทรอนิกส์กลางของประเทศไทย

เฉลิมพล นุชอุดม และ กานดา ผรณเกียรติ์. (2562). เกณฑ์ในการตัดสินใจเลือกผู้แทนระดับท้องถิ่นในเขตกรุงเทพมหานคร. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยปทุมธานี, 11(2), 32-44.

ศุทธิกานต์ มีจั่น. (2556). พฤติกรรมการเลือกตั้ง และทัศนคติเกี่ยวกับการซื้อเสียงของเขตจังหวัดภาคอีสาน: กรณีตัวอย่างจังหวัดมหาสารคาม. วารสารสถาบันพระปกเกล้า, 11(3), 110-128.

ณัฐสุดา เวียงอำพล. (2558). สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรของไทยกับแนวคิดความเป็นตัวแทนระดับชาติ. วารสารสถาบันพระปกเกล้า, 13(3), 59-82.

พิกุล มีมานะ และ สนุก สิงห์มาตร. (2563). พฤติกรรมการตัดสินใจเลือกสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรของประชาชน กลุ่มจังหวัดราชธานีเจริญศรีโสธร. วารสารวิชาการรัตนบุศย์, 2(1), 57-71.

สุพัฒพงศ์ แย้มอิ่ม, ไชยวัฒน์ เผือกคง, และ พิสิฐ นิลเอก. (2562). ทัศนคติของประชาชนในการเลือกตั้งท้องถิ่น กรณีศึกษาพื้นที่ตำบลขุนทะเล อำเภอเมือง จังหวัดสุราษฏร์ธานี. วารสาร มจร. หริภุญชัยปริทรรศน์, 3(3), 10-19.

Thaiall.com