thaiall logomy background ซูโดกุ (Sudoku) คือ ตัวเลขต้องมีเพียงเลขเดียว
my town
sudoku

ซูโดกุ (Sudoku) คืออะไร

ซูโดะกุ ในภาษาญี่ปุ่น เป็นคำย่อจากคำว่า ซูจิวะโดะกุชินนิคางิรุ (Suuji wa dokushin ni kagiru) มีความหมายว่า ตัวเลขต้องมีเพียงเลขเดียว ชื่อของซูโดะกุ มีการเรียกชื่อแตกต่างกันในแต่ละภาษา ตั้งแต่ ซูโดะกุ ซูโดกู หรือ ซูโดคู
ลูกเต๋า | ผู้สูงอายุ |
ความเป็นมาของซูโดะกุ ซูโดะกุ (Sudoku) คือ เกมปริศนาตัวเลข ที่ผู้เล่นต้องเลือกใส่ หมายเลขตั้งแต่ เลข 1 ถึงเลข 9 โดยมีเงื่อนไขว่าในแต่แถวและแต่ละหลักตัวเลขต้องไม่ซ้ำกัน ตารางซูโดะกุจะมี 9x9 ช่อง ซึ่งประกอบจากตารางย่อย 9 ตารางในลักษณะของ 3x3 แบ่งแยกกันโดยเส้นหนา และในแต่ละตารางย่อยจะมีตัวเลข 1 ถึง 9 เช่นเดียวกัน เมื่อเริ่มเกมจะมีตัวเลขบางส่วนให้มาเป็นคำใบ้ และผู้เล่นจะต้องใส่ทุกช่องที่เหลือให้ครบ โดยตามเงื่อนไขว่าแต่ละตัวเลขในแต่ละแถวและหลักจะใช้ได้ครั้งเดียว รวมถึงในแต่ละขอบเขตตารางย่อย การเล่นเกมนี้จำเป็นต้องใช้ความสามารถในด้านตรรกะ และ ความอดทนรวมถึงสมาธิ เกมนี้เริ่มต้นเป็นครั้งแรกในสหรัฐอเมริกาในปี พ.ศ. 2522 ในชื่อ นัมเบอร์เพลซ (Number Place) แต่เป็นที่นิยมและโด่งดังในประเทศญี่ปุ่น ภายใต้ชื่อ ซูโดะกุ ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2529 และเป็นที่นิยมทั่วโลกอีกครั้งในปี พ.ศ. 2548
นปัจจุบันมีให้เล่นในคอลัมน์ของหนังสือพิมพ์ หนังสือรวมเล่ม โทรศัพท์มือถือ เกมกด คอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล หรือเล่นบนอินเทอร์เน็ตตามเว็บไซต์ต่าง ๆ
สารบัญ (9x9)หน้าต่างใหม่iframe
แยกสี (3x3) x 9 : play modeclickclick
อักษรดำ/พื้นขาว : view modeclickclick
อักษรขาว/พื้นดำ : view modeclickclick
เรียงเลขแบบที่ 1 : play mode click
ACL: 1
ACL: 2
ผ้า: 1
ผ้า: 2
click
ACL: 1
ACL: 2
ผ้า: 1
ผ้า: 2
เรียงเลขแบบที่ 2 : play modeclickclick
เรียงเลขแบบที่ 3 : play modeclickclick
เรียงเลขแบบที่ 4 : play modeclickclick
เรียงเลขแบบที่ 5 : play modeclickclick
เรียงเลขแบบที่ 6 : play modeclickclick
เรียงเลขแบบที่ 7 : play modeclickclick
ทดสอบเข้ารหัส : play modeclick
Flash files
+ sudoku2.swf (Flash player : discontinued)
+ sudoku1.swf
Sudoku
อ่านเพิ่มเติม
ซูโดกุ : แบบภาพพื้นหลังอัสสัมชัญลำปาง
โรงเรียนอัสสัมชัญลำปาง โรงเรียนอัสสัมชัญลำปาง
รงเรียนอัสสัมชัญลำปาง มีอาคารเรียนที่เป็นเอกลักษณ์ และอยู่ในความทรงจำเสมอ จึงเลือกภาพนี้มาเป็นภาพพื้นหลังของเกมปริศนาตัวเลข โดยเลือกหยอดตัวเลขคำใบ้มาแบบสุ่ม เพื่อชักชวนศิษย์เก่า ศิษย์ปัจจุบัน และคุณครูได้มาฝึกทักษะการใช้ตรรกะ ความอดทน รวมถึงฝึกสมาธิ ภาพที่ใช้เป็นภาพพื้นหลังมีขนาดกว้าง 324px และสูง 324px ซึ่งโอกาสต่อไปจะเพิ่มภาพพื้นหลังให้หลากหลายยิ่งขึ้น
ซึ่ เชื่อว่า ซูโดกุ มีประโยชน์ในการพัฒนาตรรกะ และความอดทน เพราะสิ่งใดที่ใช้บ่อยก็จะเกิดทักษะ เช่น สมอง กล้ามเนื้อ เหตุผล การคำนวณ ความอดทน จึงส่งภาพนี้ชวนพี่ ๆ เพื่อน ๆ ในกลุ่มศิษย์เก่าอัสสัมชัญลำปาง ได้ลองหยิบจับมาเล่นกัน เพราะเป็นเกมที่จบในแผ่นเดียว ใช้เวลาประมาณสิบนาที แต่มีให้เล่นได้ไม่สิ้นสุด
พื่อนในกลุ่ม #เกียรติภูมิอสช บนไลน์ นำ #ซูโดกุอัสสัมชัญลำปาง acl01 ไปเติมเลขจนครบ พบว่า เพื่อนเค้านำภาพ ไปเติมเลขผ่านแอปแก้ไขภาพ พิมพ์ตัวเลขลงไปในช่องว่าง กว่า 32 ตัวจนครบ 81 ตัว เป็นอีกวิธีที่ขอชื่นชมเลยครับ
ชวนเล่นซูโดะกุ ล่าเรื่องเกมการแข่งขัน ซึ่ง #sudoku #ซูโดะกุ เป็นเกมที่เน้นให้ #แข่งขันกับตัวเอง เพื่อ #ทำเวลา ที่ #ดีที่สุด ฝึกเลือกตาม #ความเหมาะสมที่สุด บน #หลักตรรกะ และ #ความอดทน โดยอาศัย #ข้อมูลที่เกี่ยวข้อง ว่าตำแหน่งนั้น #ควรใช้อะไร จากคำใบ้ที่มีให้ ถ้ามี #สมาธิ และ #มุ่งมั่น ไม่คิดเรื่องอื่นให้วอกแวก เวลาที่ได้น่าจะไม่เกินสิบนาทีต่อเกม
ซึ่งโฮมเพจนี้ กลับมาพัฒนา เนื่องจากนึกถึงผู้สูงอายุที่สนใจทำกิจกรรมพัฒนาสมอง ด้วยการฝึกทักษะการใช้ตรรกะ และฝึกความอดทน เมื่อกลับมาตรวจสอบโฮมเพจในระบบ พบว่า โฮมเพจนี้ หยุดพัฒนาเมื่อ 7 พ.ค.2550 แล้วกลับมาปรับปรุงใหม่ เมื่อ 19 ธ.ค.2566 โดยพัฒนาเพิ่มเติมในส่วนของ javascript เพื่อจับเวลา เพิ่มส่วนของการจับจอภาพ ปรับโค้ดให้กลับมาใช้งานได้ ตามรุ่นของเครื่องบริการและสคริปต์ แล้วปรับให้เข้าได้กับธีม 9.1 ในปัจจุบัน ที่รองรับ responsive web design
แนะนำเว็บไซต์ (Website Guides) websudoku.com/?select=1&level=1 (ดีมาก)
wikipedia.org/wiki/Sudoku
jigsawdoku.com (Online Play)
sudokumaster.co.uk (Flash player : required)
บทความในฐานข้อมูลวารสารอิเล็กทรอนิกส์กลางของประเทศไทย
เอกสารอ้างอิงที่น่าสนใจ เกี่ยวกับ Sudoku

เทวากร ต่างโอฐ และ ชาลิสา โพธิ์นิ่มแดง. (2560).  ความสามารถในการคิดเชิงเหตุผลของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ที่ได้รับการจัดกิจกรรมเกมซูโดกุวารสารศึกษาศาสตร์ ฉบัับวิจัยบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยขอนแก่น, 11(3), 87-96.

สุดาภร ชะตาถนอม และ สุวรี ฤกษ์จารี. (2559).  ผลของการใช้เกมซุโดะกุพัฒนาความสามารถด้านการคิดเชิงเหตุผลของเด็ก และเยาวชนที่กระทำผิดกฎหมายวารสารศึกษาศาสตร์ ฉบัับวิจัยบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยขอนแก่น, 10(4), 138-144.

Thaiall.com