thaiall logomy background

อภิธานศัพท์วิจัย (Research Glossary)

my town
อภิธานศัพท์วิจัย หรือศัพท์วิจัย ภิธานศัพท์วิจัย (Research Glossary) หรือศัพท์วิจัย (Research Term) คือ รายการของการอธิบายความหมายเพิ่มเติมของคำศัพท์เฉพาะศาสตร์ด้านการวิจัย ที่มักจะเรียงลำดับตามตัวอักษร และพบอยู่ส่วนท้ายของหนังสือด้านการวิจัย เพื่อช่วยให้ความหมายที่ผู้แต่งเห็นควรนำมาอธิบายคำศัพท์เฉพาะเป็นการเพิ่มเติม ให้ผู้อ่านได้มีความเข้าใจอย่างชัดเจน
noศัพท์ภาษาไทยศัพท์ภาษาอังกฤษความหมายอ้างอิง
1ตัวแปรvariableตัวแปร หรือปัจจัยทั้งหมดที่เกี่ยวข้องในการศึกษา อาทิ เพศ อายุ ส่วนสูง น้ำหนัก อาชีพ การศึกษา"ดิเรก ลิ้มมธุรสกุล, ""การวิเคราะห์ข้อมูล ด้วยโปรแกรม STATA 10"", สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, กรุงเทพฯ, 2554."
2ตัวแปรตามdependent variable"ตัวแปรผลลัพธ์ (outcome, result) หรือตัวแปรตาม คือ ตัวแปรผลลัพธ์ที่เราต้องการศึกษา""ดิเรก ลิ้มมธุรสกุล, ""การวิเคราะห์ข้อมูล ด้วยโปรแกรม STATA 10"", สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, กรุงเทพฯ, 2554."
3ตัวแปรผลลัพธ์dependent variable[ตัวแปรตาม]
4ตัวแปรต้นindependent variableตัวแปรต้น หรือตัวแปรอิสระ คือ ปัจจัยที่มีผลต่อผลลัพธ์ (predictive factor) อาจมีผลต่อผลลัพธ์หลัก หรือทำให้ผลลัพธ์หลักที่เราศึกษาเปลียนแปลงไปตามค่าของตัวแปรต้น อาทิ เพศ มีอิทธิพลต่อกำลังซื้อเสื้อผ้า หรืออายุมีอิทธิพลต่อการเที่ยวกลางคืน"ดิเรก ลิ้มมธุรสกุล, ""การวิเคราะห์ข้อมูล ด้วยโปรแกรม STATA 10"", สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, กรุงเทพฯ, 2554."
5ตัวแปรอิสระindependent variable[ตัวแปรต้น]
6การวิจัยresearching"การวิจัย คือ การค้นคว้าหาความจริงโดยวิธีการอย่างมีระบบที่เชื่อถือได้ หรือวิธีการวิทยาศาสตร์นั่นเอง [Lehmann and Mehrens อ้างโดย ล้วน สายยศและอังคณา สายยศ เทคนิคการวิจัยทางการศึกษา 2536 หน้า 9]
การวิจัย คือ การวิจัยทางสังคมเป็นวิธีการศึกษาวิเคราะห์และกำหนดแนวความคิดเกี่ยวกับชีวิตทางสังคม เพื่อที่จะขยาย แก้ไข หรือพิสูจน์ความรู้ ไม่ว่าความรู้นั้นจะช่วยสร้างทฤษฏีหรือใช้ในการปฏิบัติ [อำนวย ชูวงษ์ ระเบียบวิธีการวิจัยทางสังคมศาสตร์ 2519 หน้า 3]
การวิจัย คือ การศึกษาค้นคว้าทางวิทยาศาสตร์โดยใช้วิธีทางตรรกวิทยาอย่างมีระบบ เพื่อค้นหาข้อเท็จจริงใหม่ หรือพิสูจน์ข้อเท็จจริงเก่า และเพื่อวิเคราะห์ผลก่อนหลังของความสัมพันธ์ระหว่างกัน
การวิจัย คือ การตั้งคำถาม แล้วดำเนินการ เพื่อหาคำตอบ
การวิจัย คือ กระบวนการคิด แล้วทำอย่างเป็นระบบ เพื่อค้นหาองค์ความรู้ใหม่ หรือพิสูจน์ความรู้เดิม
"
7นักวิจัยresearcherนักวิจัย หมายถึง ผู้ที่ดำเนินการค้นคว้าหาความรู้ อย่างเป็นระบบ เพื่อตอบประเด็นที่สงสัย โดยมีระเบียบวิธีอันเป็นที่ยอมรับ ในแต่ละศาสตร์ที่เกี่ยวข้อง ซึ่งครอบคลุมทั้งแนวคิด มโนทัศน์ และวิธีการที่ใช้ในการรวบรวม และวิเคราะห์ข้อมูล จรรยาบรรณ หมายถึง หลักความประพฤติอันเหมาะสม แสดงถึงคุณธรรมและจริยธรรม ในการประกอบอาชีพ ที่กลุ่มบุคคลแต่ละสาขาวิชาชีพ ประมวลขึ้นไว้เป็นหลัก เพื่อให้สมาชิกในสาขาวิชาชีพนั้น ๆ ยึดถือปฏิบัติ เพื่อรักษาชื่อเสียง และส่งเสริมเกียรติคุณ ของสาขาวิชาชีพของตน จรรยาบรรณนักวิจัย หมายถึง หลักเกณฑ์ควรประพฤติปฏิบัต ิของนักวิจัยทั่วไป เพื่อให้การดำเนินงานวิจัย ตั้งอยู่บนพื้นฐานของจริยธรรม และหลักวิชาการที่เหมาะสม ตลอดจนประกันมาตรฐาน ของการศึกษาค้นคว้า ให้เป็นไป อย่างสมศักดิ์ศรี และเกียรติภูมิของนักวิจัย
8การวิจัยและพัฒนา research and developmentการวิจัยและพัฒนา คือ งานที่มีลักษณะสร้างสรรค์ ซึ่งดำเนินการอย่างเป็นระบบเพื่อเพิ่มพูนคลังความรู้ ทั้งความรู้ที่เกี่ยวกับมนุษย์ วัฒนธรรม และสังคม และการใช้ความรู้เหล่านี้ เพื่อประดิษฐ์คิดค้นสิ่งที่เป็นประโยชน์ใหม่ ๆ
9การวิจัยพื้นฐานBasic Researchการวิจัยพื้นฐาน คือ การศึกษาค้นคว้าในทางทฤษฎีหรือในห้องทดลอง เพื่อหาความรู้ใหม่ๆ เกี่ยวกับสมุหฐานของปรากฏการณ์และความจริงที่สามารถสังเกตได้ โดยที่ยังไม่มีจุดมุ่งหมายที่ชัดเจน หรือเฉพาะเจาะจงในการนำผลการวิจัยไปใช้ในงานทางปฏิบัติ
10การวิจัยประยุกต์Applied Researchการวิจัยประยุกต์ คือ การศึกษาค้นคว้าเพื่อหาความรู้ใหม่ๆ โดยมีวัตถุประสงค์หรือจุดมุ่งหมายเบื้องต้นที่จะนำผลการวิจัยไปใช้ประโยชน์ในการปฏิบัติอย่างใดอย่างหนึ่ง
11การพัฒนาการทดลองExperimental Developmentการพัฒนาการทดลอง คือ การศึกษาอย่างมีระบบ นำความรู้ที่มีอยู่แล้วจากการวิจัยหรือจากประสบการณ์ในการปฏิบัติงานประดิษฐ์สิ่งใหม่ๆ ผลิตผลและเครื่องมือใหม่ๆ เพื่อสร้างขบวนการ ระบบและการให้บริการใหม่ๆ ขึ้น และปรับปรุงสิ่งที่ประดิษฐ์หรือก่อตั้งขึ้นแล้วให้ดีขึ้น
12ทฤษฎีtheory"ทฤษฎี คือ กลุ่มความสัมพันธ์ของแนวคิด คำนิยาม และองค์ประกอบที่ใช้อธิบายลักษณะของปรากฏการณ์หนึ่ง และชี้ให้เห็นถึงความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปร โดยมีจุดมุ่งหมายที่จะอธิบายหรือคาดเดาปรากฏการณ์นั้น
ทฤษฎีคือ สมมติฐานที่ได้รับการตรวจสอบ และทดลองหลายครั้งหลายหน จนสามารถอธิบายข้อเท็จจริง สามารถคาดคะเนทำนายเหตุการณ์ทั่ว ๆ ไป ที่เกี่ยวข้องกับปรากฏการณ์นั้นอย่างถูกต้อง และมีเหตุผลเป็นที่ยอมรับของคนทั่วไป จึงเป็นผลให้สมมติฐานกลายเป็นทฤษฎี เช่น ทฤษฎีเซลล์ (Cell theory) ทฤษฏีวิวัฒนาการ (the evolution theory) เป็นต้น "
13การเขียนเอกสารอ้างอิงจากเว็บไซต์reference from website"การเขียนเอกสารอ้างอิงจากเว็บไซต์ มีผู้กำหนดรูปแบบ ซึ่งมีหลายมาตรฐาน อาทิ 1) AMA (American Medical Association) 2) APA (American Psychological Association) 3) Chicago 4) Turabian 5) Vancouver
ตัวอย่างการอ้างอิงจากเว็บไซต์ มีดังนี้
ต.ย. 1
สกว. 2552. กระบวนการวิจัย. [Online]. available : http://www.xxx.com/x1.htm
ต.ย. 2
การดำน้ำลึก (ออนไลน์). (2552). สืบค้นจาก : http://www.xxx.com/x1.htm [1 ธันวาคม 2553]
ต.ย. 3
สมชาย สายเสมอ. (2542). การว่ายน้ำ (ออนไลน์). สืบค้นจาก : http://www.xxx.com/x2.doc [1 ธันวาคม 2553]
ต.ย. 4
Department of Man. (2009). Guide to Diving (Online).
Available : http://www.xxx.com/x3.htm [2010, November 1]
ต.ย. 5
Tom, T. (2009). Day review. Retrieved November 1, 2010, from Boys Science Fiction Club Web site: http://www.boy.com/x1.htm
ต.ย. 6
Tom T. Day review. Boys Science Fiction Club Web site. 2009.
Available at: http://www.boy.com/x1.htm. Accessed November 1, 2010.
ต.ย. 7
Day review. Boys Science Fiction Club Web s. Available at: URL:http://www.boy.com/x1.htm. Accessed Nov 1, 2010.
ต.ย. 8
Tom, Tim. 2009. Boys Science Fiction Club Web site. Waco, TX:
Baylor University. On-line. Available from Internet,
http://www.boy.com/x1.htm, accessed 1 November 2010.
ต.ย. 9
Tom, Tim. 1996. Boys Science Fiction Club Web site. Boys Science Fiction Club. http://www.boy.com/x1.htm (accessed November 1, 2010).
"
แนะนำเว็บไซต์ นิยามศัพท์การวิจัยที่ควรทราบ
ตัวอย่างการอ้างอิงจากเว็บไซต์ #
เอกสารอ้างอิง (Reference)

[1] ดิเรก ลิ้มมธุรสกุล. (2554). "การวิเคราะห์ข้อมูล ด้วยโปรแกรม STATA 10". กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

[2] ยุทธ ไกยวรรณ์. (2555). "หลักสถิติวิจัย และการใช้โปรแกรม SPSS". กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

[3] ปัญญา โพธิ์ฐิติรัตน์. (2550). "การวิเคราะห์ข้อมูลโดย SAS และ SPSS". กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์กฤตญาดา.

[4] นราศรี ไววนิชกุล, และชูศักดิ์ อุดมศรี. (2533). "ระเบียบวิธีวิจัยธุรกิจ". กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

[5] มนต์ชัย เทียนทอง. (2556). การทดสอบไคสแควร์. สืบค้น 19 มีนาคม 2556, จาก http://home.dsd.go.th/ ... /12Chi-Square_Test.pdf.

[6] ธานินทร์ ศิลป์จาระ. (2555). "การวิจัยและวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติด้วย SPSS และ AMOS". กรุงเทพฯ: ห้างหุ้นส่วนสามัญบิสซิเนสอาร์แอนด์ดี.

[7] ธันยพัฒน์ วงศ์รัตน์. (2555). "การประยุกต์ใช้โปรแกรม SPSS 17.0 วิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติ". กรุงเทพฯ: บริษัท สวัสดี ไอที จำกัด.

[8] กมลทิพย์ วิจิตรสุนทรกุลและคณะ. (2563). "การวิเคราะห์ข้อมูลสุขภาพในระบบสาธารณสุขไทย โดยใช้โปรแกรม R". กรุงเทพฯ: ไอคิวมีเดีย.

[9] วิโรจน์ อรุณมานะกุล. (2560). "สถิติและการใช้โปรแกรม R". กรุงเทพฯ: คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

[10] วราฤทธิ์ พานิชกิจโกศลกุล. (2550). "การใช้โปรแกรม R ในงานวิจัยด้านทฤษฎีสถิติ". กรุงเทพฯ: คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

[11] วนิดา พงษ์ศักดิ์ชาติ. (2559). "การใช้โปรแกรม R เพื่อการวิจัย". ชลบุรี: ภาควิชาคณิตศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา.

[12] ฉัตรศิริ ปิยะพิมลสิทธิ์. (2559). การใช้ IBM SPSS เพื่อการวิเคราะห์ข้อมูล. สืบค้น 22 มกราคม 2565, จาก http://watpon.in.th/thai/mod/page/view.php?id=9.

[13] สำนักงานสถิติแห่งชาติ กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร. (2547). การเลือกใช้ตัวทดสอบสถิติ. สืบค้น 9 มิถุนายน 2565, จาก http://service.nso.go.th/nso/nsopublish/know/estat04.pdf.

Thaiall.com