thaiall logomy background เกณฑ์ประเมินตำแหน่ง และวิทยฐานะข้าราชการครู (วPA)
my town

เกณฑ์ประเมินตำแหน่ง และวิทยฐานะข้าราชการครู (วPA)

วิทยฐานะข้าราชการครู คือ ตำแหน่งทางวิชาการของครูที่แสดงถึงความรู้ ความสามารถ ความชำนาญการ หรือความเชี่ยวชาญของข้าราชการครู และบุคลากรทางการศึกษา
การจัดการความรู้ | เทคโนโลยีเพื่อการจัดการความรู้ | ห้องเรียนแห่งอนาคต | แนวปฏิบัติที่ดี | แนวทางของ กพร. | ฐานสมรรถนะ | มีเหตุมีผล | คู่มือเกณฑ์วิทยฐานะ | แผนการสอน |
เกณฑ์ วิทยฐานะครู หรือ วPA
คู่มือ การดำเนินการตามหลักเกณฑ์และวิธีการประเมินตำแหน่งและวิทยฐานะข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ตำแหน่งครู หน้า 67 คู่มือ การดำเนินการตามหลักเกณฑ์และวิธีการประเมินตำแหน่งและวิทยฐานะข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ตำแหน่งครู หน้า 69
ระเมินตำแหน่งและวิทยฐานะข้าราชการครู - วPA มาจาก Performance Agreement และ Performance Appraisal มี 3 คำสำคัญ คือ 1) Performance แปลว่า สมรรถนะ สมรรถภาพ การกระทำ พฤติกรรม ประสิทธิภาพ 2) Agreement แปลว่า การเห็นด้วย การเห็นชอบร่วมกัน การยอมรับร่วมกัน ข้อตกลง ความตกลง 3) Appraisal แปลว่า การประเมิน การตีค่า การประเมินค่า การหาค่า
ข้อตกลงในการพัฒนางาน หรือ PA ตามหลักเกณฑ์ใหม่ ประกอบด้วย 2 ส่วน
ส่วนที่ 1 ข้อตกลงในการพัฒนางานตามมาตรฐานตำแหน่และมาตรฐานวิทยฐานะ
ประกอบด้วย
(1) ภาระงาน จะมีภาระงานเป็นไปตามที่ ก.ค.ศ. กําหนด
(2) งานที่จะปฏิบัติตามมาตรฐานตําแหน่งครู
ส่วนที่ 2 ข้อตกลงในการพัฒนางานที่เป็นประเด็นท้าทายในการพัฒนาผลลัพธ์การเรียนรู้ของผู้เรียน
ประกอบด้วย
(1) ประเด็นที่ท้าทายเรื่อง ..
(2) สภาพปัญหาการจัดการเรียนรู้และคุณภาพการเรียนรู้ของผู้เรียน
(3) วิธีการดำเนินการให้บรรลุ
(4) ผลลัพธ์การพัฒนาที่คาดหวัง เชิงปริมาณ และเชิงคุณภาพ
ผลการประเมินใช้ประโยชน์ เพื่อ
(1) เลื่อนเงินเดือน
(2) คงวิทยฐานะ
(3) เลื่อนวิทยฐานะ
เกณฑ์ PA ทั้ง 4 สายงาน
ดาวน์โหลด แบบข้อตกลงและคู่มือฉบับเต็ม - วPA (ครูมาแล้ว)
ความหมาย วิทยฐานะ / วpa คือ อะไร (การศึกษาไทย.com)
สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา
Starfish Labz รวมหลักสูตรพัฒนาตนเอง
ตำแหน่ง และวิทยฐานะข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาตำแหน่งครู
คู่มือการดำเนินการตามหลักเกณฑ์และวิธีการประเมินตำแหน่ง และวิทยฐานะข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาตำแหน่งครู คู่มือ วPA 2564
ครูอัตราจ้าง (Contract Teacher)
ครูผู้ช่วย (Assistant Teacher)
ครู (Teacher) - คศ.1
ครูชำนาญการ (Professional Level Teacher) - คศ.2
ครูชำนาญการพิเศษ (Senior Professional Level Teacher) - คศ.3
ครูเชี่ยวชาญ (Expert Level Teacher) - คศ.4
ครูเชี่ยวชาญพิเศษ (Advisory Level Teacher) - คศ.5
อ่านเพิ่มเติม คู่มือการดำเนินการตามหลักเกณฑ์และวิธีการประเมินตำแหน่ง และวิทยฐานะข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาตำแหน่งครู
อ่านเพิ่มเติม
ตัวอย่าง : การเขียน วPA ของคุณครูหลายกลุ่มสาระ (krustation.com)
ตัวอย่างเอกสาร แบบข้อตกลงในการพัฒนางาน (PA)
สำหรับข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ตำแหน่งครู วิทยฐานะฯ
ตัวอย่างแนวทางการจัดทำข้อตกลงในการพัฒนางาน (PA) ของครูกับผู้บริหารสถานศึกษา โดย ก.ค.ศ.
รวมแบบฟอร์มข้อตกลง PA สำหรับข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ทุกวิทยฐานะ ทุกสังกัด
ต.ย. เอกสาร กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพ ของหลายท่าน
ต.ย. เอกสาร กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ ของหลายท่าน
ต.ย. เอกสาร กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ของหลายท่าน
ส่วนที่ 1 ข้อตกลงในการพัฒนางานตามมาตรฐานตำแหน่ง
1. ภาระงาน จะมีภาระงานเป็นตามที่ ก.ค.ศ. กำหนด
2. งานที่จะปฏิบัติตามมาตรฐานตำแหน่งครู
ในข้อ 2 นี้ได้แบ่งเป็น 4 คอลัม ดังนี้
1) ลักษณะงานที่ปฏิบัติ ตามมาตรฐานตำแหน่ง
2) งาน (Tasks) ที่จะดำเนินการพัฒนาตามข้อตกลงใน 1 รอบการประเมิน (โปรดระบุ)
3) ผลลัพธ์ (Outcomes) ของงานตามข้อตกลงที่คาดหวังให้เกิดขึ้นกับผู้เรียน (โปรดระบุ)
4) ตัวชี้วัด (Indicators) ที่จะเกิดขึ้นกับผู้เรียนที่แสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงไปในทางที่ดีขึ้น หรือมีการพัฒนามากขึ้น หรือผลสัมฤทธิ์สูงขึ้น (โปรดระบุ)
ตัวอย่างผลลัพธ์ (output) ตาม แบบข้อตกลงในการพัฒนางาน
- ผู้เรียน มีผลสัมฤทธิ์ที่สูงขึ้น เมื่อได้รับการจัดการเรียนรู้ด้วยกระบวนการจัดการเรียนรู้ แบบสืบสวนสอบสวน (Inquiry-Based Learning)
- ผู้เรียน มีความใฝ่เรียนรู้ มุ่งมั่นในการทำงาน สามารถทำงานร่วมกับผู้อื่นได้เป็นอย่างดี
- ผู้เรียน ได้รับความรู้จากการใช้สื่อที่หลากหลาย สอดคล้องกับกิจกรรมการเรียนรู้ที่ทันสมัย
ตัวอย่างตัวชี้วัด ตาม แบบข้อตกลงในการพัฒนางาน
ตัวอย่างตัวชี้วัด (indicators) ตามแบบข้อตกลงในการพัฒนางาน
- ร้อยละ 60 ของผู้เรียนมีความรู้ผ่านเกณฑ์การประเมินตามที่สถานศึกษากำหนด
- ร้อยละ 60 ของผู้เรียนมีผลสัมฤทธิ์สูงขึ้นเป็นไปตามค่าเป้าหมายที่สถานศึกษากำหนด
อธิบายเพิ่มเติม
งาน (Tasks) ที่เสนอเป็นข้อตกลงในการพัฒนางานต้องเป็นงานในหน้าที่ความรับผิดชอบหลัก ที่ส่งผลโดยตรงต่อผลลัพธ์การเรียนรู้ของผู้เรียน และให้นำเสนอรายวิชาหลักที่ทำการสอน โดยเสนอในภาพรวมของรายวิชาหลักที่ทำการสอนทุกระดับชั้น ในกรณีที่สอนหลายรายวิชา สามารถเลือกรายวิชาใดวิชาหนึ่งได้ โดยจะต้องแสดงให้เห็นถึงการปฏิบัติงานตามมาตรฐานตำแหน่ง และคณะกรรมการประเมินผลการพัฒนางานตามข้อตกลงสามารถประเมินได้ตามแบบการประเมิน PA 2
การพัฒนางานตามข้อตกลง ตามแบบ PA 1 ให้ความสำคัญกับผลลัพธ์การเรียนรู้ ของผู้เรียน (Outcomes) และตัวชี้วัด (Indicators) ที่เป็นรูปธรรม และการประเมินของคณะกรรมการประเมินผลการพัฒนางานตามข้อตกลง ให้คณะกรรมการดำเนินการประเมิน ตามแบบ PA 2 จากการปฏิบัติงานจริง สภาพการจัดการเรียนรู้ในบริบทของแต่ละสถานศึกษา และผลลัพธ์การเรียนรู้ของผู้เรียนที่เกิดจากการพัฒนางานตามข้อตกลงเป็นสำคัญ โดยไม่เน้นการประเมินจากเอกสาร
ตัวอย่าง : ประเด็นที่ท้าทาย - แบบระบุชื่อเรื่อง ระเด็นที่ท้าทาย และครอบคลุมนั้น ควรมีข้อมูลมาจากอย่างน้อย 2 ส่วน คือ 1) Top down คือ แนวทางที่จะใช้ ที่กระทรวง สำนักงานเขต หรือโรงเรียนให้การสนับสนุนแนวทางนั้น และ 2) Bottom up คือ ปัญหาที่พบในตัวเด็ก และในรายวิชา ที่ต้องการพัฒนา หรือแก้ไขให้ดีขึ้น ซึ่งสรุปได้ว่า ประเด็นท้าทาย (Challenging Issue) มีที่มาจากข้อมูล 5 เรื่องต่อไปนี้ 1) วิเคราะห์กลุ่มผู้เรียน 2) วิเคราะห์ปัญหา และผลสัมฤทธิ์นักเรียนในอดีต 3) ศึกษาบริบทโรงเรียน นโยบาย แผนปฏิบัติการของโรงเรียน 4) วางแผนเพื่อให้ได้ผลผลิตและผลลัพธ์ที่อยากให้เกิดขึ้นกับนักเรียน 5) การปรับใช้เชิงบูรณาการกับการจัดการเรียนการสอน และเนื้อหาวิชา
ตัวอย่างการเขียนประเด็นท้าทาย วPA 2565
PA ครู เขียนอย่างไรให้ชัดเจน และตรงประเด็น
ตัวอย่างแนวทางการเขียนรายงานผล วPA 2565
ประเด็นที่ท้าทาย ที่ต้องการพัฒนา เพื่อให้เกิดผลลัพธ์การเรียนรู้ของผู้เรียนที่ดีขึ้น
เสนอการเขียนชื่อประเด็นให้มี 3 ส่วน : กิจกรรมที่จะทำในประเด็นนี้ / เรื่องที่จะลงมือทำ / กลุ่มเป้าหมายและช่วงเวลา
การพัฒนาทักษะปฏิบัตินาฏศิลป์ไทย เรื่อง รำวงมาตรฐานเพลงงามแสงเดือน วิชา นาฏศิลป์ไทย ของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ห้อง 1 ในภาคเรียนที่ x ปีการศึกษา 25xx
ผลลัพธ์การพัฒนาที่คาดหวัง : เชิงปริมาณ
- มีผลประเมินหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน ร้อยละ 80 อย่างน้อยร้อยละ 80 ของนักเรียนทั้งหมด
- มีผลการสอบปลายภาค ได้คะแนนสูงกว่า ร้อยละ 70 มากกว่าครึ่งหนึ่งของนักเรียนทั้งหมด
- มีความพึงพอใจในภาพรวมต่อการจัดการเรียนการสอน ระดับ 3.51 ขึ้นไป
- มีนักเรียนในชั้นเรียนได้ออกแสดงความสามารถทางนาฏศิลป์ ไม่น้อยกว่าร้อยละ 80 ของนักเรียนทั้งหมด
ผลลัพธ์การพัฒนาที่คาดหวัง : เชิงคุณภาพ
- มีผลการสอบ Toeic ของนักเรียนทุกคนผ่านตามเกณฑ์มาตรฐานที่หลักสูตรกำหนด
- มีผลงานเครื่องกรองน้ำของนักเรียนทำให้ได้น้ำที่สะอาดตามมาตรฐานน้ำของชุมชน
- มีการนำเสนอผลการศึกษาการพัฒนาการจัดการเรียนการสอนในเวทีระดับชาติ
- มีชมรมนาฏศิลป์ที่สืบทอดกิจกรรมภายในโรงเรียนหรือในชุมชน อย่างต่อเนื่อง
- มีนักเรียนนำความรู้ไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันเพื่อสร้างอาชีพให้กับตนเองได้
- มีการถอดบทเรียน แล้วจัดทำคู่มือการพัฒนาการจัดการเรียนการสอนเพื่อนำไปใช้ในภาคเรียนต่อไป
- มีระดับความพึงพอใจต่อการจัดการเรียนการสอนในระดับดีขึ้นไป
การพัฒนาการจัดการเรียนรู้โดยการใช้ผังมโนทัศน์ (Mindmap) เรื่อง ระบบนิเวศและความหลากหลายทางชีวภาพ วิชา วิทยาศาสตร์ ของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ห้อง 1 ในภาคเรียนที่ x ปีการศึกษา 25xx
การพัฒนาทักษะการคำนวณ ด้วยชุดแบบทดสอบออนไลน์ เรื่อง ความจุไฟฟ้าสมมูลของตัวเก็บประจุ วิชาฟิสิกส์ ของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ห้อง 1 ในภาคเรียนที่ x ปีการศึกษา 25xx
การสร้างเสริมสมรรถภาพทางกาย เรื่อง ความคล่องแคล่วว่องไว (Agility) วิชาพลศึกษา ของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ห้อง 1 ในภาคเรียนที่ x ปีการศึกษา 25xx
การพัฒนาการจัดการเรียนรู้โดยใช้แอปพลิเคชัน GeoGebra ตามวัฏจักรการเรียนรู้ 7 ขั้น เรื่อง ความสัมพันธ์และฟังก์ชัน วิชาคณิตศาสตร์ ของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ห้อง 1 ในภาคเรียนที่ x ปีการศึกษา 25xx
การพัฒนาการจัดการเรียนรู้โดยใช้แอปพลิเคชัน ตารางธาตุ และเกมตารางธาตุแบทเทิล เรื่อง ธาตุในตารางธาตุ วิชาวิทยาศาสตร์กายภาพ ของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ห้อง 1 ในภาคเรียนที่ x ปีการศึกษา 25xx
การพัฒนาการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ โดยใช้แบบฝึกทักษะการแก้ปัญหาทางพันธุศาสตร์ เรื่อง โอกาสเกิดจีโนไทป์และฟีโนไทป์ของรุ่นลูก วิชาวิทยาศาสตร์ ของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ห้อง 1 ในภาคเรียนที่ x ปีการศึกษา 25xx
การพัฒนาชุดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน เรื่อง รู้จักทรัพยากรธรณีในชีวิตประจำวัน วิชาโลก ดาราศาสตร์ และอวกาศ ของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ห้อง 1 ในภาคเรียนที่ x ปีการศึกษา 25xx
การพัฒนาการจัดการเรียนรู้ด้วยการจัดการเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning) เรื่อง เทคโนโลยีทางดีเอ็นเอ ของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ห้อง 1 ในภาคเรียนที่ x ปีการศึกษา 25xx
ซึ่งรายละเอียดข้อตกลงในการพัฒนางานที่เป็นประเด็นท้าทาย ประกอบด้วย 3 ส่วน
1. สภาพปัญหาของผู้เรียนและการจัดการเรียนรู้ ที่เขียนความเป็นมาอย่างเป็นระบบคล้ายกับบทนำในงานวิจัย
2. วิธีการดำเนินการให้บรรลุผล ที่ต้องแจกแจงแผนปฏิบัติการเป็นขั้นตอนที่จะดำเนินงาน
3. ผลลัพธ์การพัฒนาที่คาดหวัง ประกอบด้วย เชิงปริมาณ และเชิงคุณภาพ
ประเภทของตัวชี้วัดและค่าเป้าหมาย
1. ตัวชี้วัดเชิงปริมาณ เช่น ร้อยละ จำนวน ค่าเฉลี่ย กำหนดเวลา
2. ตัวชี้วัดเชิงปริมาณที่ใช้วัดสิ่งที่เป็นนามธรรม เช่น ระดับความพึงพอใจ ระดับความเข้าใจ
3. ตัวชี้วัดเชิงคุณภาพ เช่น ระดับความสำเร็จ ระดับประสิทธิภาพ มีค่าเป้าหมายลักษณะพรรณนา
ตัวชี้วัด (indicator) เชิงคุณภาพ : ระบุมาตรฐานของผลผลิต
หลักการกำหนดตัวชี้วัด (indicator)
ตัวชี้วัดเชิงคุณภาพ คือ ตัวชี้วัดที่ใช้วัดสิ่งที่ไม่เป็นค่าเชิงปริมาณ หรือเป็นหน่วยวัดใด แต่เป็น การวัดที่อ้างอิงกับ ค่าเป้าหมายหรือค่ามาตรฐาน ที่มีลักษณะเชิงพรรณนาหลักเกณฑ์การประเมินตามระดับค่าเป้าหมาย ซึ่งค่าเป้าหมายอาจทำหน้าที่เป็นเกณฑ์ ขอบเขต หรือกรอบกำกับการใช้วิจารณญาณของผู้ประเมิน โดยทั่วไปการกำหนดตัวชี้วัดเชิงคุณภาพมักพิจารณาค่าเป้าหมายควบคู่ไปพร้อมกัน ซึ่งตัวชี้วัดเชิงคุณภาพมักมีเป็นคำที่มีความหมายเปิดกว้าง ไม่เฉพาะเจาะจงเหมือนตัวชี้วัดเชิงปริมาณ
เช่น มีการทำอาหารที่ได้รสชาติระดับดีตามมาตรฐานที่กำหนด
หรือ มีผลงานวิชาการที่ได้รับการยอมรับในระดับชาติขึ้นไป
หรือ มีการเข้ารับการฝึกอบรมในหลักสูตรที่สัมพันธ์กับกับวิชาชีพ
ตัวอย่าง : ประเด็นที่ท้าทาย - แบบไม่ระบุชื่อเรื่อง คาฮูทในโรงเรียน ประเด็นที่ท้าทาย (Challenging Issues)
  1. การจัดการเรียนรู้แบบเชิงรุก เพื่อพัฒนาการเรียนรู้ topic (คำกริยา) วิชา subj ชั้น class
  2. การพัฒนาทักษะ skill (การอ่าน) โดยใช้เทคนิคการสอนแบบ tool (พี่สอนน้อง) วิชา subj ชั้น class
  3. การพัฒนาทักษะ skill (การเขียน) โดยใช้แบบฝึกเสริมทักษะ tool (google form) วิชา subj ชั้น class
  4. การพัฒนาทักษะ skill (การอ่านบทความ) โดยใช้การวิเคราะห์ข้อสอบ tool (o-net) วิชา subj ชั้น class
  5. การพัฒนาทักษะ skill (การอ่าน) โดยใช้เกมการศึกษา tool (kahoot) วิชา subj ชั้น class
  6. การแก้ปัญหาอ่านไม่ออกเขียนไม่ได้ โดยใช้ tool (แบบฝึกหัดออนไลน์) วิชา subj ชั้น class
  7. การสร้างคลิปวิดีโอการสอน เพื่อพัฒนาการเรียนรู้ tool (ละคร) วิชา subj ชั้น class
  8. การใช้สื่อเทคโนโลยี เพื่อพัฒนาการเรียนรู้แบบ tool (On-Demand) วิชา subj ชั้น class
  9. การพัฒนาเครื่องบริการ เพื่อส่งเสริมการเรียนรู้การสร้างสื่อมัลติมีเดียของนักเรียน วิชา subj ชั้น class
(ในวงเล็บ) คือ ตัวอย่าง ซึ่งแตกต่างตามบริบทในชั้นเรียนที่จัดการเรียนรู้
ส่งข้อมูลออกเป็น ส่งออก: image ส่งออก: pdf
สไลด์หลักเกณฑ์ วPA ตำแหน่งครู ผู้บริหารสถานศึกษา และศึกษานิเทศก์ สไลด์ประกอบการบรรยาย 56 สไลด์
งานที่จะปฏิบัติตามมาตรฐานตำแหน่ง ...
ลักษณะงาน ที่ปฏิบัติตามมาตรฐานตำแหน่ง งาน (Tasks) ที่จะดำเนินการพัฒนาตามข้อตกลงใน 1 รอบการประเมิน (โปรดระบุ) ผลลัพธ์ (Outcomes) ของงานตามข้อตกลงที่คาดหวังให้เกิดขึ้นกับผู้เรียน (โปรดระบุ) ตัวชี้วัด (Indicators) ที่จะเกิดขึ้นกับผู้เรียนที่แสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงไปในทางที่ดีขึ้น หรือมีการพัฒนามากขึ้น หรือผลสัมฤทธิ์สูงขึ้น (โปรดระบุ)
1. ด้านการจัดการเรียนรู้
ลักษณะงานที่เสนอให้ครอบคลุมถึง การสร้างและหรือการพัฒนาหลักสูตร การออกแบบการจัดการเรียนรู้ การจัดกิจกรรมการเรียนรู้ การสร้างและหรือการพัฒนาสื่อ นวัตกรรม เทคโนโลยี และแหล่งเรียนรู้ การวัดและประเมินผลการจัดการเรียนรู้
1.1 จัดทำแผนการจัดการเรียนรู้ โดย การวิเคราะห์จุดประสงค์รายวิชา สมรรถนะรายวิชา คำอธิบายรายวิชา นำไปวิเคราะห์เนื้อหา เพื่อแบ่งหน่วยการเรียนรู้ ให้สอดคล้องกับจุดประสงค์ สมรรถนะ และ คำอธิบายรายวิชา และ จัดทำตารางวิเคราะห์หลักสูตร - ผู้เรียนมีสมรรถนะตรงตามหลักสูตร และความต้องการของสถานประกอบการ
- ผู้เรียนมีความรู้ตรงตามวัตถุประสงค์และเนื้อหาที่กำหนด
- ผู้เรียนร้อยละ 80 มีสมรรถนะตรงตามหลักสูตรและความต้องการของสถานประกอบการ
- ผู้เรียนร้อยละ 80 มีความรู้ตรงตามวัตถุประสงค์และเนื้อหาที่กำหนด
ปรับระบบการประเมินใหม่
หัวใจสำคัญ คือ ผลลัพธ์ที่เกิดกับผู้เรียน
"ทุกอย่างอยู่ที่ห้องเรียน ดูที่ห้องเรียน ทำการเรียนการสอนให้ดีที่สุด"
กรอบแนวคิด เกณฑ์ PA
คืนครูสู่ห้องเรียน (Back to school)
ประเมินผลในห้องเรียน (Focus on classroom)
ครูคือกุญแจไขความสำเร็จ (Teacher as a key of success)
บริหารโรงเรียนเทียบแบบองค์กร (School as an organization)
การประเมิน PA สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ได้มีมติกำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการประเมินตำแหน่งและวิทยฐานะข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ตำแหน่งครูใหม่ ซึ่งมีการนำการประเมินผลการปฏิบัติงาน (Performance Agreement : PA ) มาใช้เป็นส่วนหนึ่งในการประเมิน ทำให้รูปแบบการประเมินที่เคยเป็นมานั้นเปลี่ยนแปลงไปจากเดิม และกลายเป็นเรื่องสำคัญที่ข้าราชการครูทั้งระบบ จะต้องตื่นตัวและทำความเข้าใจในเรื่องนี้อย่างเร่งด่วน
ซึ่งการพิจารณานั้น จะต้องผ่านเกณฑ์การประเมินทั้ง 2 ด้าน คือ
ด้านที่ 1 ด้านทักษะการจัดการเรียนรู้และการจัดการชั้นเรียน โดยจะพิจารณาจาก แผนการจัดการเรียนรู้ที่ตรงตามวิดีทัศน์บันทึกการสอน บันทึกวิดีโอการสอน และ บันทึกวิดีโอ ที่แสดงถึงสถาพปัญหาและแรงบันดาลใจในการจัดการเรียนรู้ ซึ่งคศ. 2 นั้นจะต้องได้คะแนนจากกรรมการแต่ละคนไม่ต่ำกว่า ร้อยละ 65 ส่วนคศ. 3 จะต้องไม่ต่ำกว่า ร้อยละ 70
ด้านที่ 2 ด้านผลลัพธ์การเรียนรู้ของผู้เรียน จะพิจารณาจาก ผลงานหรือผลการปฏิบัติงานของผู้เรียนที่ปรากฏภายหลังการจัดการเรียนรู้และการจัดการชั้นเรียนตามวิดีโอสอน โดยส่งเป็น บันทึกดิจิทัล ภาพถ่าย หรือ เอกสาร ซึ่ง คศ. 2 จะต้องได้คะแนนจากกรรมการแต่ละคนไม่ต่ำกว่า ร้อยละ 65 ส่วน คศ. 3 จะต้องไม่ต่ำกว่า ร้อยละ 70
สำหรับผู้ที่ประสงค์จะขอมีหรือเลื่อนวิทยฐานะ สามารถยื่นคำขอต่อโรงเรียนได้ตลอดปีการศึกษา โดยแบ่งเป็นภาคเรียนละ 1 ครั้ง เพื่อให้โรงเรียนได้นำข้อมูลเข้าสู่ระบบ DPA ซึ่งมีผู้อำนวยการเป็นผู้ดูแลพร้อมหลักฐาน คือ
1. ผลการพัฒนางานตามข้อตกลงในระยะเวลาย้อนหลัง 3 หรือ 2 หรือ 1 รอบการประเมิน และแต่กรณี เป็นไฟล์ PDF
2. แผนการจัดการเรียนรู้ ตามที่ปรากฏในวิดีโอบันทึกการสอนในรูปแบบ PDF 1 ไฟล์
3. บันทึกวิดีโอการสอนที่สอดคล้องกับแผนการจัดการเรียนรู้
4. บันทึกวิดีโอที่แสดงถึงสภาพปัญหาและแรงบันดาลในในการจัดการเรียนรู้
คู่มือหลักเกณฑ์และวิธีการประเมินตำแหน่งและวิทยฐานะข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ตำแหน่งครู วPA (ว9/2564)
โดย Plook Teacher จาก เว็บไซต์ทรูปลูกปัญญาดอทคอม
การจัดการเรียนรู้โดยใช้โครงงานเป็นฐาน (Project-based learning)
Back to school
kruachieve.com
การสอนแบบโครงงาน (Project-based learning) ฉบับบ้านปลาดาว (Starfish)
1. หาหัวข้อที่สนใจ โดยสำรวจรอบโรงเรียน/ทัศนศึกษา
2. เลือกหัวข้อตามผลการประเมิน
3. สืบค้นข้อมูล มีครูเอื้ออำนวย และบูรณาการ STEM หรือ ศตวรรษที่ 21
4. ดำเนินการ และมีผลงาน
5. สรุป อภิปราย และข้อเสนอแนะ
แบบฟอร์มเขียนเค้าโครงโครงงาน
ชื่อโครงงาน ... สาขาของงาน ...
ชื่อผู้ทำโครงงาน ... ชื่ออาจารย์ที่ปรึกษา ... ระยะเวลาดำเนินงาน ...
รายละเอียดเกี่ยวกับโครงงาน
1. แนวคิด ที่มา และความสำคัญ ...
2. วัตถุประสงค์ ...
3. หลักการและทฤษฎี ...
4. คำนิยามศัพท์เฉพาะ ...
5. ขั้นตอนการดำเนินงาน ...
6. แผนปฏิบัติงาน ...
7. ผลที่คาดว่าจะได้รับ ...
8. เอกสารอ้างอิง ...
เกณฑ์ประเมินโครงงาน
1. ความถูกต้อง ...
2. ผลงานเสร็จทันตามกำหนดเวลา ...
3. ความครบถ้วนของเนื้อหา ...
4. ผลการแสดงถึงการนำความรู้ที่ได้มาประยุกต์ใช้ ...
5. ผลงานมีความเป็นระเบียบเรียบร้อย ...
ประเมิน PA ลดเอกสาร
ฟัง เลขาธิการ ก.ค.ศ. เน้นย้ำเขตพื้นที่ ว PA ลดเอกสาร เลิกทำแฟ้ม ประเมินการสอนในห้องเรียน ซึ่งระบบการศึกษาในอนาคตจะเปลี่ยนไป การประเมินจะให้ความสำคัญกับหลักฐานเชิงประจักษ์มากขึ้น ดังนั้น คุณครูต้องนำเสนอได้ดี สอนได้ดี ผลที่เกิดกับเด็กต้องดี ชิ้นงานของเด็กต้องดี สมุดการบ้านเด็กต้องดี เพราะคุณภาพจริงอยู่ที่ตัวผู้เรียน เลิกใช้แฟ้มแบบเดิม
ผู้ถูกประเมินจะลดการเขียนลง
ผู้ประเมินจะอ่านเอกสารลดลง แต่พิจารณาความจริงเพิ่มขึ้น
ผลประเมินออกมาจากในห้องเรียน
ฉายภาพระบบประเมินวิทยฐานะ 2565
พบเรื่องราว เกี่ยวกับ "การประเมินบุคลากรทางการศึกษา เพื่อเลื่อนวิทยฐานะ"
ที่เด็ก ๆ เห็นบรรยากาศการประเมินคุณครู
ที่เด็ก ๆ เห็นเรื่องราวในสื่อสังคม
เห็นผู้ประเมิน และ ผู้ถูกประเมิน
เป็นการประเมินแบบลดเอกสาร
หรือ ไม่ดูเอกสารระหว่างประเมิน
หรือ ไม่ดูมาก่อน หรือ ไม่ดูภายหลัง
หรือ ไม่เรียกเอกสารเพิ่มเติม
หรือ ไม่ดู VTR หรือ ...
#ลดเอกสาร = #ไม่ดูเอกสาร
หากผู้ประเมินคนไหน ขอดูเอกสาร ขอดูเกณฑ์ ขอดูข้อตกลง ขอดูตัวบ่งชี้ ขอดูแผน ขอดูรายงานว่าปฏิบัติตามข้อตกลง ก็คงต้องคิดใหม่ทำใหม่ เพราะการขอดูหลักฐานจะกลายเป็นหลักฐาน .. พบเมื่อ 17 กันยายน 2565
#การประเมิน 2565 ไม่ดูเอกสาร (evidence แปลว่า หลักฐาน)
ปล. เด็กไทยได้เรียนรู้เนื้อหา การพัฒนาการศึกษาในสื่อสังคม ในหลายตรรกะ หลายมุมมอง หลายห้องเรียน
8 ตัวชี้วัดการประเมิน เพื่อให้มีหรือเลื่อนวิทยฐานะ "ครู"
การประเมินด้านที่ 1 ด้านทักษะการจัดการเรียนรู้และการจัดการชั้นเรียน แบ่งเป็น 8 ตัวบ่งชี้
ตัวชี้วัดที่ 1 ผู้เรียนสามารถเข้าถึงสิ่งที่เรียนและเข้าใจบทเรียน
เข้าถึงสิ่งที่เรียน / เข้าใจบทเรียน
ตัวชี้วัดที่ 2 ผู้เรียนสามารถเชื่อมโยงความรู้หรือประสบการณ์เดิมกับการเรียนรู้ใหม่
เชื่อมโยง / ความรู้หรือประสบการณ์ / เดิมกับใหม่
ตัวชี้วัดที่ 3 ผู้เรียนได้สร้างความรู้เองหรือได้สร้างประสบการณ์ใหม่จากการเรียนรู้
Flipped classroom ที่ผู้เรียนเป็นผู้สร้าง
ตัวชี้วัดที่ 4 ผู้เรียนได้รับการกระตุ้นและเกิดแรงจูงใจในการเรียนรู้
มีสิ่งกระตุ้น / จูงใจ
ตัวชี้วัดที่ 5 ผู้เรียนได้รับการพัฒนาทักษะความเชี่ยวชาญจากการเรียนรู้
พัฒนาให้เกิดทักษะ
ตัวชี้วัดที่ 6 ผู้เรียนได้รับข้อมูลสะท้อนกลับเพื่อปรับปรุงการเรียนรู้
มีเวทีให้นักเรียนสะท้อนกลับ
ตัวชี้วัดที่ 7 ผู้เรียนได้รับการพัฒนาการเรียนรู้ในบรรยากาศชั้นเรียนที่เหมาะสม
สภาพแวดล้อมที่พัฒนาการเรียนรู้ได้
ตัวชี้วัดที่ 8 ผู้เรียนสามารถกำกับการเรียนรู้และมีการเรียนรู้แบบนำตนเอง
กำหนดสิ่งที่อยากเรียน / ได้เรียนสิ่งที่ตนเองสนใจ
ลองมาเป็นผู้ประเมิน ว PA ตรวจผลงานกันค่ะ
การสอนให้ Active ตาม 8 องค์ประกอบ
การประเมินด้านที่ 2 ด้านผลลัพธ์การเรียนรู้ของผู้เรียน แบ่งเป็น 4 ตัวบ่งชี้
ตัวชี้วัดที่ 1 ผลงานหรือผลการปฏิบัติเป็นผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจากการจัดการเรียนรู้ของครู
ผลของการจัดการเรียนรู้
ตัวชี้วัดที่ 2 ผลงานหรือผลการปฏิบัติสะท้อนถึงการได้รับการพัฒนาทักษะพื้นฐาน (Basic Skills) ตามวัยและลักษณะของผู้เรียน
ผลของความมีทักษะ
ตัวชี้วัดที่ 3 ผลงานหรือผลการปฏิบัติสะท้อนถึงความสามารถในการเรียนรู้ (Cognitive Abilities) ตามวัยและลักษณะของผู้เรียน
ผลของความสามารถเรียนรู้
ตัวชี้วัดที่ 4 ผลงานหรือผลการปฏิบัติสะท้อนถึงการบูรณาการทักษะในการทำงาน (Cross – function Skills) ตามวัยและลักษณะของผู้เรียน
ผลของการเชื่อมโยงทักษะหลายด้าน
Twitter 2565 กับการประเมินประสิทธิภาพในการทำงาน ข่าว Twitter เมื่อต้นเดือน พฤศจิกายน พ.ศ. 2565 ว่ามีการปลดพนักงานประจำไปราว 3,700 คน หรือครึ่งหนึ่งของพนักงานทั้งหมด และได้ปลดอีก 4,400-5,500 คน ในกลุ่มพนักงานสัญญาจ้าง แล้วเมื่อ 5 พฤศจิกายน พ.ศ.2565 มีข่าวปลดวิศวกรเพิ่มอีก 50 คน เพราะ เขียนโค้ดไม่มีคุณภาพ (Code is not satisfactory) ส่วนอีกกลุ่มได้รับคำเตือนเรื่อง ประสิทธิภาพในการทำงาน (Performance warning) สะท้อนว่าบริษัทเริ่มให้ความสำคัญกับประสิทธิภาพที่วัดเชิงปริมาณได้ โดยใช้การประเมินประสิทธิภาพของพนักงานมาเป็นเครื่องมือขับเคลื่อนวัฒนธรรมขององค์กรอย่างจริงจัง ซึ่งการประเมินจะเกิดขึ้นได้ ต้องมีการทำข้อตกลงในการทำงานที่มีประสิทธิภาพ (Performance Agreement) แล้วจึงมีการประเมินประสิทธิภาพ (Performance Appraisal) ซึ่งมี 3 คำสำคัญที่น่าสนใจ ได้แก่ 1) Performance แปลว่า สมรรถนะ สมรรถภาพ การกระทำ พฤติกรรม ประสิทธิภาพ 2) Agreement แปลว่า การเห็นด้วย การเห็นชอบร่วมกัน การยอมรับร่วมกัน ข้อตกลง ความตกลง 3) Appraisal แปลว่า การประเมิน การตีค่า การประเมินค่า การหาค่า
ตัวอย่าง ผลงานหรือผลการปฏิบัติงานของผู้เรียน วิทยาการคำนวณ - เขียนโค้ดสร้างแอปพลิเคชันบนอุปกรณ์พกพา
ภาษาอังกฤษ - ฟัง พูด อ่าน เขียน และโต้ตอบเป็นภาษาอังกฤษได้
วิทยาศาสตร์ - โครงงานวิทยาศาสตร์
โครงงานแบ่งออกได้ 7 ประเภท #
1) โครงงานเชิงสำรวจ (Survey Project)
2) โครงงานเชิงการทดลอง (Experiential Project)
3) โครงงานเชิงพัฒนา สร้างสิ่งประดิษฐ์ แบบจำลอง (Development Project)
4) โครงงานเชิงแนวคิดทฤษฎี (Theoretical Project)
5) โครงงานด้านบริการสังคมและส่งเสริมความเป็นธรรมในสังคม (Community Service and Social Justice Project)
6) โครงงานด้านศิลปะและการแสดง (Art and Performance Project)
7) โครงงานเชิงบูรณาการการเรียนรู้ (Integrated Learning Project)
ตัวอย่าง ประเด็นที่ท้าทาย - บริการพื้นที่สร้างโฮมเพจสำหรับนักเรียน การพัฒนาเครื่องบริการ เพื่อส่งเสริมการเรียนรู้การสร้างสื่อมัลติมีเดีย ของนักเรียน วิชา xx ชั้น xxx
บว่า ในอดีตนักเรียน/นักศึกษา มีโฮมเพจเป็นของตนเองได้โดยง่าย สามารถมีได้คนละหลายไซต์ เพื่อนำเสนอเนื้อหาที่ตนเองสนใจ ด้วย การโค้ดดิ้งภาษา HTML เพื่อสร้างสื่อนำเสนอผลงานอย่างเป็นระบบ เผยแพร่ให้เพื่อน ครู และแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกัน ปัจจุบันคุณครูสามารถสืบค้นโค้ด แล้วนำไปวางบนเครื่องบริการของโรงเรียน หรือในห้องคอมพิวเตอร์บนอินทราเน็ต เพื่อให้นักเรียนได้ใช้บริการเป็นเวทีสำหรับแบ่งปันผลงานในรูปโฮมเพจเฉพาะบุคคล ซึ่งช่วยให้คุณครูประเมินผลสัมฤทธิ์ตามตัวชี้วัดตามลักษณะงานที่ได้จัดทำเป็นข้อตกลงไว้อย่างเป็นระบบ สนับสนุนให้เห็นผลของการใช้เทคนิคการสอนโค้ดดิ้งและเนื้อหาที่เป็นผลงานของนักเรียนแต่ละคน ที่ปรากฎในพื้นที่การเรียนรู้ที่คุณครูได้สร้างขึ้น คือ บนเครื่องบริการของโรงเรียนที่คุณครูเป็นผู้ควบคุมดูแล
ซอร์สโค้ดที่ thainame.net/home/
บทความในฐานข้อมูลวารสารอิเล็กทรอนิกส์กลางของประเทศไทย

รัตนะ บัวสนธ์, นันทิมา นาคาพงศ์, นํ้าอ้อย วันตา, และ ประภัสสร วงษ์ดี. (2565). วิทยฐานะของวิชาชีพครู: หนทางส่งเสริมหรือทําลายการศึกษาไทย. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร, 14(3), 35-47.

ประวิต เอราวรรณ์. (2564). การประเมินวิทยฐานะครูแนวใหม่. วารสารศิลปากรศึกษาศาสตร์วิจัย, 13(1), 1-8.

พลวศิษฐ หล้ากาศ. (2564). ประเด็นความท้าทายที่มีต่อบทบาทนักทรัพยากรมนุษย์ในอนาคต. วารสารวิจยวิชาการ, 4(2), 251-260.

ฟาริดา เดชะกูล และ สายฝน แสนใจพรม. (2565). การศึกษาสภาพปัจจุบันและปัญหาของกระบวนการบริหารการประเมินวิทยฐานะของครู โรงเรียนหางดงรัฐราษฎร์อุปถัมภ์ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเชียงใหม่. วารสารครุศาสตร์ ราชภัฏเชียงใหม่, 1(1), 17-32.

อภิเชษฐ์ ฉิมพลีสวรรค์. (2564). สภาพการขอมีหรือขอเลื่อนวิทยฐานะที่มีต่อการปฏิบัติงานของข้าราชการครู สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 42. วารสารการวิจัยการศึกษาขั้นพื้นฐาน, 1(1), 183-194.

Thaiall.com