thaiall logomy background
เทคโนโลยีเพื่อการจัดการความรู้ ทางการบริหารการศึกษา
my town
การจัดการความรู้ | เทคโนโลยีเพื่อการจัดการความรู้ | ห้องเรียนแห่งอนาคต | แนวปฏิบัติที่ดี | แนวทางของ กพร.
เทคโนโลยีเพื่อการจัดการความรู้ ทางการบริหารการศึกษา
เทคโนโลยีเพื่อการจัดการความรู้ ทางการบริหารการศึกษา (Technology for Knowledge Management in Educational Administration)
ศึกษาทฤษฎีการจัดการความรู้ การประยุกต์เทคโนโลยีเพื่อการศึกษาแบบในระบบ นอกระบบ และการศึกษาตามอัธยาศัย การสร้างเครือข่ายเพื่อพัฒนาแหล่งการเรียนรู้ ประยุกต์หลักการจัดการความรู้สู่เทคโนโลยีที่เหมาะสม โดยมีการติดตาม ตรวจสอบ และประเมินประสิทธิภาพการใช้เทคโนโลยีเพื่อการศึกษา
Study of knowledge management with application of educational technology for formal, non-formal and informal education in order to set up learning development networks, an application of a suitable knowledge managment by monitoring, checking and assessing an efficiency of technology in education.
จำแนกคำอธิบายรายวิชา : EDUA 533
ทฤษฎีการจัดการความรู้
การประยุกต์เทคโนโลยีเพื่อการศึกษา
การสร้างเครือข่ายเพื่อพัฒนาแหล่งการเรียนรู้
ประยุกต์หลักการจัดการความรู้สู่เทคโนโลยีที่เหมาะสม
ติดตาม ตรวจสอบการใช้เทคโนโลยีเพื่อการศึกษา
ประเมินประสิทธิภาพการใช้เทคโนโลยีเพื่อการศึกษา
/km/education.htm
15 หัวข้อ
1. เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการศึกษา
2. ฮาร์ดแวร์ ซอฟท์แวร์ และฐานข้อมูล
3. ระบบสารสนเทศสำนักงาน
4. หลักการจัดเก็บข้อมูลและประมวลผล
5. การวิเคราะห์ระบบข้อมูล และการพัฒนาระบบข้อมูล
6. การจัดหา ติดตั้ง และบำรุงรักษา
7. การเรียนการสอนออนไลน์
8. ทฤษฎีการจัดการความรู้
9. การสร้างเครือข่ายเพื่อพัฒนาแหล่งการเรียนรู้
10. ประยุกต์หลักการจัดการความรู้สู่เทคโนโลยีที่เหมาะสม
11. การประยุกต์เทคโนโลยีเพื่อการศึกษา
12. ประสิทธิภาพการใช้เทคโนโลยีเพื่อการศึกษา
13. ระบบผู้เชี่ยวชาญ
14. ระบบปัญญาประดิษฐ์
15. กฎหมายและจริยธรรมด้านเทคโนโลยี
มาตรฐานผลการเรียนรู้จากหลักสูตรสู่รายวิชา มคอ.2 หลักสูตรศึกษาศาสตร์มหาบัณฑิต แผนที่แสดงการกระจายความรับผิดชอบมาตรฐานผลการเรียนรู้จากหลักสูตรสู่รายวิชา (Curriculum Mapping) ผลการเรียนรู้ในตารางแสดงการกระจายความรับผิดชอบมาตรฐานผลการเรียนรู้จากหลักสูตรสู่รายวิชา มีความหมาย ดังนี้
1. ด้านคุณธรรม จริยธรรม แยกรายประเด็น
1.1 แสดงออกซึ่งพฤติกรรมด้านคุณธรรมจริยธรรม และจรรยาบรรณวิชาชีพครู คุณธรรมที่เสริมสร้างการพัฒนาที่ยั่งยืน มีความกล้าหาญทางจริยธรรม มีความเข้าใจผู้อื่น เข้าใจโลก มีจิตสาธารณะ เสียสละ และเป็นแบบอย่างที่ดี คุณธรรมจริยธรรม
จรรยาบรรณวิชาชีพครู
มีจิตสำนึกสาธารณะ
1.2 สามารถจัดการและคิดแก้ปัญหาทางคุณธรรมจริยธรรม จรรยาบรรณวิชาชีพครูเชิงสัมพัทธ์ โดยใช่ดุลพินิจทางค่านิยม ความรู้สึกของผู้อื่น และประโยชน์ของสังคมส่วนรวม จัดการ/คิดแก้ปัญหา
ค่านิยม
ความรู้สึกของผู้อื่น
ประโยชน์ของส่วนรวม
2. ด้านความรู้
2.1 มีความรอบรู้และความเข้าใจอย่างถ่องแท้ในทฤษฎี หลักการ วิธีการในสาขาวิชาชีพ ทฤษฎี
หลักการ
วิธีการ
2.2 มีความตระหนักรู้หลักการและทฤษฎีในองค์ความรู้ที่เกี่ยวข้องอย่างบูรณาการทั้งการบูรณาการข้ามศาสตร์ และการบรูณาการกับโลกแห่งความเป็นจริง องค์ความรู้
บูรณาการข้ามศาสตร์
โลกแห่งความเป็นจริง
2.3 มีความเข้าใจความก้าวหน้าของความรู้เฉพาะด้านในสาขาวิชาที่จะสอนอย่างลึกซึ้ง ตระหนักถึงความสําคัญของงานวิจัยและการวิจัยในการต่อยอดความรู้ ความรู้เฉพาะด้าน
ความสำคัญของงานวิจัย
ต่อยอดความรู้
2.4 มีความสามารถในการคิดวิเคราะห์ สังเคราะห์ และประเมินค่าองค์ความรู้ และสามารถนําไปประยุกต์ใช้ในการปฏิบัติงานอย่างมีประสิทธิภาพ คิดวิเคราะห์
สังเคราะห์
ประเมินค่าองค์ความรู้
ประยุกต์ใช้ปฏิบัติ
3. ด้านทักษะทางปัญญา
3.1 สามารถคิดค้นหาข้อเท็จจริง ทําความเข้าใจ และประเมินข้อมูลสารสนเทศและแนวคิดจากแหล่งข้อมูลที่หลากหลาย เพื่อใช้ในการปฏิบัติงาน การวินิจฉัยแก้ปัญหา และทําการวิจัยเพื่อพัฒนางานและพัฒนาองค์ความรู้ได้ด้วยตนเอง ข้อเท็จจริง
ประเมินข้อมูลสารสนเทศ
แหล่งข้อมูลที่หลากหลาย
ทำการวิจัยเพื่อพัฒนางาน
3.2 สามารถคิดแก้ปัญหาที่มีความสลับซับซ้อน เสนอทางออก และนําไปสู่การแก้ไขได้อย่างสร้างสรรค์ โดยคํานึงความรู้ทางภาคทฤษฎี ประสบการณ์ภาคปฏิบัติ และผลกระทบจากการตัดสินใจ แก้ปัญหาที่ซับซ้อน
การแก้ไขที่สร้างสรรค์
ใช้ความรู้มาแก้ปัญหา
ผลกระทบจากการตัดสินใจ
3.3 มีความเป็นผู้นําทางปัญญาในการคิดพัฒนางานอย่างสร้างสรรค์ มีวิสัยทัศน์ และการพัฒนาศาสตร์ทางครุศาสตร์/ศึกษาศาสตร์ รวมทั้งการพัฒนาทางวิชาชีพอย่างมีนวัตกรรม เป็นผู้นำพัฒนางาน
มีวิสัยทัศน์
พัฒนาอย่างมีนวัตกรรม
4. ด้านทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ
4.1 มีความไวในการรับรู้สึกของผู้อื่น เข้าใจผู้อื่น มีมุมมองเชิงบวก มีวุฒิภาวะทางอารมณ์ และทางสังคม รับรู้ความรู้สึกของผู้อื่นได้
มีมุมมองเชิงบวก
มีวุฒิภาวะทางอารมณ์
4.2 มีความเอาใจใส่ช่วยเหลือและเอื้อต่อการแก้ปัญหาในกลุ่มและระหว่างกลุ่มได้อย่างสร้างสรรค์ เอาใจใส่แก้ปัญหาในกลุ่ม
ทำงานระหว่างกลุ่มได้
4.3 มีภาวะผู้นําและผู้ตามที่ดี มีความสัมพันธ์ที่ดีกับผู้ร่วมงาน และมีความรับผิดชอบต่อส่วนรวมทั้งด้านเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม เป็นผู้นำและผู้ตามได้
ทำงานกับผู้ร่วมงานได้
รับผิดชอบต่อส่วนรวม
5. ด้านทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสาร และการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ
5.1 มีความไวในการวิเคราะห์ข้อมูลข่าวสารทั้งที่เป็นตัวจริงเชิงสถิติ หรือคณิตศาสตร์ ภาษาพูด และภาษาเขียน อันมีผลให้สามารถเข้าใจองค์ความรู้ หรือประเด็นปัญหาได้อย่างรวดเร็ว วิเคราะห์ข้อมูลเชิงสถิติได้
มีทักษะการพูด
มีทักษะการเขียน
5.2 มีความสามารถในการใช้ดุลยพินิจที่ดีในการประมวลผล แปลความหมาย และเลือกใช้ข้อมูลสารสนเทศ โดยใช้เทคโนโลยีสารสนเทศได้อย่างสม่ําเสมอและต่อเนื่อง มีทักษะการประมวลผล
แปลความหมายสารสนเทศได้
เลือกใช้ข้อมูลสารสนเทศได้
5.3 มีความสามารถในการสื่อสารอย่างมีประสิทธิภาพทั้งการพูด การเขียน และนําเสนอด้วยรูปแบบที่เหมาะสมสําหรับบุคคลและกลุ่มที่มีความแตกต่างกัน สื่อสารอย่างมีประสิทธิภาพได้
สื่อสารกับบุคคลได้
สื่อสารกับกลุ่มได้
6. ด้านทักษะการจัดการเรียนรู้/การบริหารการศึกษา
6.1 มีความเชี่ยวชาญในการจัดการเรียนรู้การบริหารที่มีรูปแบบหลากหลาย ทั้งรูปแบบที่เป็นทางการ (Formal) รูปแบบกึ่งทางการ (Non-formal) อย่างสร้างสรรค์ จัดการความรู้ได้
ใช้ทั้งทางการและไม่ทางการ
6.2 มีความเชี่ยวชาญในการจัดการเรียนรู้การบริหารสําหรับผู้เรียนที่หลากหลาย ทั้งผู้เรียนที่มีความสามารถพิเศษ ผู้เรียนที่มีความสามารถปานกลาง และผู้เรียนที่มีความต้องการพิเศษอย่างมีนวัตกรรม จัดการผู้เรียนที่หลากหลาย
จัดการผู้ที่มีความสามารถพิเศษได้
จัดการผู้ที่มีความต้องการพิเศษได้
6.3 มีความเชี่ยวชาญในการจัดการเรียนรู้ในวิชาเอกที่จะสอน การบริหารอย่างบูรณาการ เชี่ยวชาญในวิชาเอก
คุณธรรมจริยธรรม
คุณธรรม คือ คิดดี เป็นสิ่งที่อยู่ในจิตใจ จริยธรรม คือ ทำดี เป็นสิ่งที่แสดงออกจึงเห็นได้ชัดเจน สองสิ่งควรคู่กัน
วินัย
ข้อบัญญัติ ข้อปฏิบัติ ระเบียบแบบแผน ข้อบังคับที่กำหนดเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน เพื่อให้อยู่ร่วมกันด้วยความสุข
ห้องเรียนแห่งอนาคต ในมิติของความมีวินัย มีความเท่าเทียม และยุติธรรม คือ สถานที่ ซึ่งทุกคนจะมีความสุข ไม่เบียดเบียนกัน ทุกคนได้โอกาสเท่ากัน เพื่อบรรลุความสำเร็จในแบบของตนเอง โดยไม่ละเมิดสิทธิของใคร ไม่เอารัดเอาเปรียบ ทุกคนอยู่ใต้กรอบที่มีความเท่าเทียมและยุติธรรม ภายใต้กติกามารยาทที่เป็นที่ยอมรับร่วมกัน ที่ไม่ใช่กติกาของคนใดคนหนึ่ง
ระบบสารสนเทศและเทคโนโลยีการจัดการความรู้
บทนำ: ระบบสารสนเทศ เป็นระบบที่ผสมผสานเทคโนโลยีสารสนเทศ และการทำงานของบุคลากรทุกระดับในองค์การ เพื่อให้เกิดความคล่องตัวในการทำงาน และการให้บริการที่รวดเร็ว ตลอดจนใช้เป็นเครื่องมือในการช่วยตัดสินใจดำเนินงานธุรกิจต่าง ๆ ระบบสารสนเทศจึงเป็นเรื่องที่ท้าทายสำหรับผู้บริหาร
หัวข้อในหนังสือ [ISBN: 978-974-212-209-6]
โดย เจษฎาพร ยุทธนวิบูลย์ชัย และศรีไพร ศักดิ์รุ่งพงศากุล
บทที่ 1 แนวคิดเกี่ยวกับระบบสารสนเทศ
บทที่ 2 การบริหารทรัพยากรคอมพิวเตอร์ฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์
บทที่ 3 ฐานข้อมูล และคลังข้อมูล
บทที่ 4 การสื่อสารข้อมูล และเครือข่ายคอมพิวเตอร์
บทที่ 5 อินเทอร์เน็ต และพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์
บทที่ 6 บทบาทของระบบสารสนเทศในองค์การ
บทที่ 7 ระบบสนับสนุนการตัดสินใจ
บทที่ 8 ระบบสารสนเทศสำหรับผู้บริหารระดับสูง
บทที่ 9 ปัญญาประดิษฐ์ ระบบผู้เชี่ยวชาญ และระบบสารสนเทศทางภูมิศาสตร์
บทที่ 10 ระบบสารสนเทศเชิงกลยุทธ์
บทที่ 11 ระบบการวางแผนทรัพยากรองค์การ
บทที่ 12 การพัฒนาระบบสารสนเทศ
บทที่ 13 เทคโนโลยีและการจัดการความรู้ #
บทที่ 14 จริยธรรมและการรักษาความปลอดภัยของระบบสนเทศ
ตัวอย่างหนังสือ 28 หน้าจากทั้งหมด 384 หน้า
บทที่ 13 เทคโนโลยีและการจัดการความรู้ หัวข้อในหนังสือ ระบบสารสนเทศและเทคโนโลยีการจัดการความรู้ [ISBN: 978-974-212-209-6]
โดย เจษฎาพร ยุทธนวิบูลย์ชัย และศรีไพร ศักดิ์รุ่งพงศากุล
บทที่ 13 เทคโนโลยีและการจัดการความรู้
- ความหมายของความรู้
- ประเภทของความรู้
- ความหมายของการจัดการความรู้
- ประโยชน์ของการจัดการความรู้
- รูปแบบการจัดการความรู้
- การจัดการความรู้ในโรงพยาบาลศิริราช #
- บทบาทของเทคโนโลยีสารสนเทศต่อการจัดการความรู้ในองค์การ
- ปัจจัยที่เอื้อต่อความสำเร็จ
ทฤษฎีการจัดการความรู้ของปีเตอร์เซงเก้ (Peter M. Senge’s) Peter M. Senge’s เสนอแนวความคิดของการสร้างองค์กรแห่งการเรียนรู้ ชื่อ วินัย 5 ประการ (The five disciplines) ซึ่งเป็นแนวทางผลักดันและสนับสนุนให้เกิด องค์กรแห่งการเรียนรู้ ซึ่ง ทฤษฎีการจัดการความรู้ของปีเตอร์เซงเก้ (Peter M. Senge’s) มุ่งเน้นไปที่คน เพราะมีความคิดว่า การพัฒนาองค์กรแห่งการเรียนรู้จะต้องเริ่มการพัฒนาคนก่อน
งค์กรแห่งการเรียนรู้ (Learning Organization : LO) คือ องค์กรที่เรียนรู้อยู่ตลอดเวลา เรียนรู้ทั่วทั้งองค์กร เรียนรู้ในกิจกรรมทุกอย่าง เป็นองค์กรที่มีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา มีความเป็นพลวัตอยู่ตลอดเวลา สภาพเช่นนั้น เป็นสภาพที่สมาชิกขององค์กรรวมตัวกันเรียนรู้ จากการปฏิบัติงานประจำ เรียนรู้จากการพัฒนางานอย่างต่อเนื่อง (CQI : Continuous Quality Improvement)
องค์ประกอบที่สําคัญของการเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ คือ วินัย 5 ประการ ประกอบด้วย
1. ความเชี่ยวชาญเป็นพิเศษของบุคคล (Personal Mastery)
เพราะ ความรอบรู้เป็นผลร่วมของทักษะและความสามารถ เป็นสภาพที่เป็นอยู่ตามความเป็นจริง
2. แบบแผนทางจิตใจที่มองโลกตามความเป็นจริง (Mental Model)
เพราะ เชื่อว่าความคิด ความเชื่อ แบบแผนความคิดอ่านของแต่ละคนมีข้อบกพร่องได้
3. การมีวิสัยทัศน์ร่วมกัน (Shared Vision)
เพราะ การสร้างวิสัยทัศน์ร่วมที่ดีต้องสอดคล้องกับคุณค่าหรือค่านิยมที่ผู้คนยึดถือ
4. การเรียนรู้ร่วมกันเป็นทีม (Team Learning)
เพราะ ระดับความสามารถของทีมเหนือกว่าระดับความสามารถของบุคคลในทีม และวิธีฝึกฝนสร้างการเรียนรู้ของทีมที่ดีและคุ้มค่า ทำได้ผ่านการพูดคุย และการอภิปรายกลุ่ม ซึ่งการเรียนรู้เป็นทีมมี 3 ลักษณะ ได้แก่ 1) ในทีมต้องสามารถในการคิด วิเคราะห์ ตีความได้ชัดเจน 2) ในทีมต้องทำงานประสานกัน 3) บทบาทของทีมหนึ่งส่งผลต่อทีมอื่น ช่วยการสร้างองค์การแห่งการเรียนรู้ให้มีพลัง
5. การคิดเชิงระบบ (Systems Thinking)
เป็นวินัยที่สำคัญ ถ้าคิดไม่ทันการณ์ย่อมทำให้เกิดปัญหาในการปฏิบัติงาน ซึ่งลักษณะของการคิดอย่างเป็นระบบที่ดี ได้แก่ 1) คิดเป็นกลยุทธ์ที่ชัดเจนในเป้าหมาย 2) คิดทันการณ์ ไม่ช้าเกินการณ์ 3) เห็นโอกาสในทุกปัญหา
ทฤษฎีการจัดการความรู้ของ Garvin Garvin (Building a Leaning Organization, 1993)
ได้นำเสนอหลัก 5 ประการในการพัฒนาสู่องค์กรแห่งการเรียนรู้
1. การแก้ปัญหาอย่างเป็นระบบ (Systematic problem solving)
ใช้แนวคิดการบริหารคุณภาพ (Quality Management Concepts) เช่น การคิดวิเคราะห์ปัญหาเพื่อแก้ไขตามแนวคิดของ Deming Cycle (PDCA) การบริหารจัดการด้วยข้อเท็จจริง (Fact-based Management) และ การใช้เครื่องมือทางสถิติในการวิเคราะห์กระบวนการ (Statistical Process Control) เป็นต้น
2. การทดลองทำสิ่งต่าง ๆ ด้วยวิธีการใหม่ (Experimentation with new approaches)
อาจแยกออกได้เป็น 2 ลักษณะ คือ 1) การทดลองที่ดำเนินการอย่างต่อเนื่อง จะมีการทดลองย่อยๆ เพื่อให้เกิดความรู้ใหม่ทีละน้อย 2) การทดลองใหม่ มักมีขนาดใหญ่และซับซ้อน ที่จะก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทั้งระบบ
3. การเรียนรู้จากประสบการณ์และเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในอดีต (Learning from their own experiences and past history)
มีการคิดทบทวนเกี่ยวกับความสำเร็จและความล้มเหลวที่ผ่านมา ซึ่งอาจเรียกว่า Santayana Review ที่นักปราชญ์ชื่อ George Santayana กล่าวว่า ผู้ที่ไม่จดจำสิ่งที่เกิดขึ้นในอดีต มักทำผิดพลาดแบบเดิมอยู่เสมอ และปล่อยโอกาสที่จะนำเหตุการณ์ในอดีตมาคิดทบทวนนั้น นำมาซึ่งความสูญเสียในความรู้ที่มีค่าให้หลุดลอยไป
4. การเรียนรู้จากบุคคลอื่น (Learning from the experiences and best practices of others)
บางครั้งความรู้ความเข้าใจอาจได้มาจากการมองออกไปนอกสภาพที่คุ้นเคย มุมมองที่แปลกใหม่ ยังเป็นตัวกระตุ้นการคิดอย่างสร้างสรรค์ อาจเรียกว่า SIS (Steal Idea Shamelessly) ตามแนวทางของ XEROX หรืออาจเรียกว่า Benchmarking
5. การถ่ายโอนความรู้ทั่วทั้งองค์กรได้อย่างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพ (Transferring knowledge quickly and efficiently throughout the organization)
การเรียนรู้ไม่ควรกระจุกตัวที่ใดที่หนึ่ง ควรเผยแพร่ความรู้ออกไปทั่วทั้งองค์กรอย่างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพ
ทฤษฎีการจัดการความรู้ของมาควอส(Marquardt) ตัวแบบระบบองค์การแห่งการเรียนรู้ ตามแนวคิดของ Michael J.Marquardt
1. องค์การ (Organization) ระบบขององค์การต้องมีการวางรากฐานไว้เพื่อสร้างองค์การแห่งการเรียนรู้ ซึ่งประกอบด้วยปัจจัยที่เป็นองค์ประกอบที่สำคัญ ได้แก่ วิสัยทัศน์(Vision) ซึ่งเป็นเสมือนเข็มทิศนำองค์การไปยังเป้าหมายที่พึงประสงค์ กลยุทธ์ (Strategy) เป็นวิธีการที่จะทำให้ไปถึงยังเป้าหมายตามวิสัยทัศน์ โครงสร้างองค์การ (Structure) เป็นปัจจัยสนับสนุนให้มีการทำหน้าที่ในทุกภาคส่วนอย่างเหมาะสม และที่สำคัญคือวัฒนธรรมองค์การ (Organization Culture) ซึ่งเป็นความเชื่อหรือค่านิยมของคนในองค์การที่ต้องเอื้อต่อการสร้างองค์การแห่งการเรียนรู้ เช่น ค่านิยมการทำงานเป็นทีม การบริหารจัดการตนเอง การมอบอำนาจ กระจายอำนาจ เป็นต้น
2. ผู้ที่เกี่ยวข้องกับองค์การ (People)
องค์การหนึ่งมีผู้เกี่ยวข้องหลายฝ่าย ทั้งภายในองค์การเอง เช่น ผู้บริหารต้องมีภาวะผู้นำ และมีทักษะทางด้านการบริหาร เช่น การสอนงาน การเป็นพี่เลี้ยง และเป็นแบบอย่างที่ดีแก่ผู้ใต้บังคับบัญชา พนักงานระดับปฏิบัติต้องมีนิสัยไฝ่รู้ และพัฒนาศักยภาพของตนเองอยู่เสมอ ลูกค้าที่ใช้บริการก็ต้องมีการให้ข้อมูลย้อนกลับ ในด้านของความต้องการแก่องค์การ เช่นเดียวกับพันธมิตรทางธุรกิจที่ต้องให้ความร่วมมือในการแลกเปลี่ยนความรู้ซึ่งกันและกันอย่างจริงใจ รวมทั้งชุมชนที่ต้องให้การสนับสนุนการพัฒนาองค์การที่ตั้งอยู่ในบริเวณชุมชน ทั้งนี้จะเห็นได้ว่าผู้เกี่ยวข้องฝ่ายต่าง ๆ ก็มีส่วนในการสร้างองค์การแห่งการเรียนรู้ทั้งสิ้น
3. เทคโนโลยี (Technology)
การมีเครื่องมือหรือเทคโนโลยีที่ทันสมัยถือเป็นสิ่งอำนวยความสะดวกที่ช่วยให้การสร้างองค์การแห่งการเรียนรู้มีความสะดวกมากยิ่งขึ้น โดยประเภทของเทคโนโลยีที่ช่วยในการสร้างองค์การแห่งการเรียนรู้มี 2 ประเภท คือ 1) เทคโนโลยีสำหรับการบริหารจัดการความรู้ (Manage knowledge) คือ การใช้เพื่อการจัดเก็บและแลกเปลี่ยนความรู้แก่กัน 2) เทคโนโลยีที่ใช้ในการเพิ่มพูนความรู้ (Enhance learning) คือ การใช้เครื่องมืออุปกรณ์ในการสร้างการเรียนรู้แก่ผู้เรียนได้อย่างสะดวกมากขึ้น เช่น Computer-based training, E-Learning, Web-based learning
4. ความรู้ (Knowledge)
ความรู้ที่มีในองค์การจำเป็นอย่างยิ่งต้องมีการบริหารจัดการอย่างเป็นระบบ ทั้งนี้เพื่อนำมาใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อองค์การ โดยกระบวนการให้การจัดการความรู้ (Knowledge management) มีกระบวนการเริ่มตั้งแต่ 1) การระบุความรู้ที่จำเป็นต่อองค์การ 2) การเสาะแสวงหาหรือสร้างความรู้ขึ้นมาใหม่ 3) การจัดเก็บความรู้ 4) การแบ่งปันความรู้ และ 5) การนำความรู้ไปประยุกต์ใช้ในการทำงาน ซึ่งแนวคิดนี้เองคงเป็นการสร้างความกระจ่างถึงความสัมพันธ์ระหว่างองค์การแห่งการเรียนรู้ (Learning Organization) กับ การจัดการความรู้ (Knowledge management) เพราะว่าในแนวคิดของ Michael J.Marquardt ถือว่า การจัดการความรู้เป็นระบบย่อยระบบหนึ่ง ที่มีความสำคัญในการสร้างองค์การแห่งการเรียนรู้ให้เกิดขึ้นนั่นเอง
5. การเรียนรู้ (Learning)
การเรียนรู้ถือเป็นระบบหลักที่เป็นแกนสำคัญของการสร้างองค์การแห่งการเรียนรู้ ซึ่งสามารถจำแนกการเรียนรู้ได้ 3 ระดับ คือ ระดับบุคคล ระดับกลุ่ม และระดับองค์การ ซึ่งในแต่ละระดับของการเรียนรู้นั้นต้องเริ่มที่ทักษะของตัวบุคลากรแต่ละคน ซึ่งต้องมี 5 ประการ เพื่อสามารถเรียนรู้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ได้แก่ ความคิดเชิงระบบ (Systematic Thinking) การมีตัวแบบทางความคิด (Mental Model) ความเชี่ยวชาญรอบรู้ (Personal Mastery) การเรียนรู้ด้วยตนเอง (Self-directed learning) และการสนทนาสื่อสารกัน (Dialogue) โดยวิธีในการเรียนรู้ที่มีความสำคัญในการสร้างการเรียนรู้ในบริบทขององค์การแห่งการเรียนรู้มี 3 ประเภท คือ 1) การเรียนรู้เพื่อการปรับตัว (Adaptive learning) คือ การเรียนรู้จากประสบการณ์ในอดีตเพื่อการปรับปรุงในอนาคต 2) การเรียนรู้โดยการกระทำ (Action learning) คือ การเรียนรู้ที่นำเอาสถานการณ์หรือสภาพปัญหาที่เกิดขึ้นจริงมาเป็นฐานของการเรียนรู้ และ 3) ระบบการเรียนรู้เพื่อมุ่งสู่เป้าหมายขององค์การ (Anticipatory learning) คือ การเรียนรู้ที่มุ่งสนองตอบความสำเร็จของเป้าหมายองค์การ เช่น วิสัยทัศน์ (Vision) เป็นต้น
งค์การแห่งการเรียนรู้ เป็นแนวคิดที่องค์การสามารถนำไปใช้เป็นแนวทางในการวางรากฐาน ด้านการสร้างคุณค่าให้แก่ทรัพย์สินที่จับต้องไม่ได้ คือ ความรู้ ซึ่งจะเป็นสิ่งช่วยให้ได้มาซึ่งทรัพย์สินที่จับต้องได้ เช่น รายได้ และผลกำไร หรือแม้กระทั้งความสำเร็จที่ใฝ่ฝันในที่สุด ดังนั้นเราควรมาสร้างองค์การแห่งการเรียนรู้ร่วมกันอย่างเป็นระบบ และมีส่วนร่วมจากทุกฝ่ายเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืนในที่สุด
rspsocial
Thaiall.com