thaiall logomy background

การป้องกัน และระบบความปลอดภัย (Protection and security)

my town
สารบัญ :: #1 :: #2 :: #3 :: #4 :: #5 :: #6 :: #7 :: #8 :: #9 :: #10 :: #11 :: #12 :: Linux ::
ระบบกระจาย
สาระการเรียนรู้
1. ประโยชน์ของระบบกระจาย
2. การเชื่อมต่อ (Topology)
3. ประเภทของเครือข่าย (Network Types)
4. อีเธอร์เน็ต (Ethernet)
จุดประสงค์การสอน
1. เข้าใจประโยชน์ของระบบกระจาย
2. สามารถเขียนภาพแสดงการเชื่อมต่อ (Topology)
3. สามารถเขียนภาพแสดงประเภทของเครือข่าย (Network Types)
4. เข้าใจอีเธอร์เน็ต (Ethernet)
5. สามารถ share อุปกรณ์ หรือแฟ้มในเครือข่ายได้
แนะนำบทเรียน
การมีคอมพิวเตอร์หนึ่งเครื่องและทำงานแบบ stand alone กลายเป็นอดีต ปัจจุบันต้องมีการเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์ออกไปยังเครื่องอื่น หรือเชื่อมเข้ากับอินเทอร์เน็ต เพื่อใช้ทรัพยากรร่วมกันอย่างมีประสิทธิภาพ การเชื่อมต่อเป็นเครือข่ายก็เลือกได้หลายประเภท อาจเป็นแบบ star, ring หรือ bus เป้าหมายของการเชื่อมต่อที่นิยมที่สุด คือ เพื่อการสื่อสาร เห็นได้ชัดจากการใช้ fb, youtube และ line
บทนำ ารนำเอาเครื่องคอมพิวเตอร์หลาย ๆ เครื่องมาเชื่อมต่อกัน เพื่อต้องการให้ เครื่องคอมพิวเตอร์เหล่านั้น สามารถที่จะส่ง หรือ แลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างกันได้ แล้วทำไมเราต้องใช้ระบบเครือข่าย ลองนึกดูว่าแต่ก่อนเรามีเครื่องคอมพิวเตอร์เครื่องหนึ่ง การทำงานต่าง ๆ อยู่บนเครื่องเดียว แต่ในองค์กรที่มีการเพิ่มเครื่องคอมพิวเตอร์เครื่องที่สองขึ้นมา ความต้องการในการ ที่จะต้องมีการนำข้อมูลจากเครื่องหนึ่ง ไปยังอีกเครื่องหนึ่งคงหนีไม่พ้นที่ต้องใช้ Diskette แลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างเครื่องคอมพิวเตอร์ทั้งสองเครื่อง แต่ถ้าเป็นระบบเครือข่ายจะแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างเครื่องคอมพิวเตอร์ได้ง่ายมาก
ระบบเครือข่าย ที่กระจายหน้าที่ กระจายการเป็นศูนย์บริการ และเชื่อมต่อเข้าด้วยกัน ด้วยจุดประสงค์ต่าง ๆ กัน ในมาตรฐาน TCP/IP ซึ่งเป็นที่ยอมรับทั้ง Windows, Linux, Unix และ Mac ทำให้ทั้งหมดสามารถสื่อสารกันรู้เรื่องเข้าใจ และก่อให้เกิดประโยชน์ร่วมกัน
Distrubuted systems depend on networking for their functionality. By being able to communicate, distrubuted systems are able to share computational tasks and provide a rish set of features to users.
9.1 ประโยชน์ของระบบกระจาย ปัจจุบันนำคอมพิวเตอร์ไปใช้งานในหน่วยงานต่าง ๆ มากมาย มีผลให้การทำงานในองค์กร หรือหน่วยงาน สามารถทำงานได้เป็นระบบ และพัฒนาการทำงานอย่างต่อเนื่อง การนำคอมพิวเตอร์มาใช้ในหน่วยงาน ก็เริ่มมีการพัฒนาขึ้นแทนที่จะใช้หนึ่งเครื่องต่อหนึ่งคน ก็ให้มีการนำเครื่องคอมพิวเตอร์ และอุปกรณ์ต่าง ๆ มาเชื่อมต่อกัน เป็นระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์
1. การแชร์ทรัพยากร
2. เพิ่มความเร็วในการคำนวณ
3. ความน่าเชื่อถือของระบบ
4. การติดต่อสื่อสาร
9.2 การเชื่อมต่อ (Topology) ภาษาเทคนิค เรียกว่า โทโปโลจี(Topology) คือ ลักษณะการเชื่อมต่อทางกายภาพระหว่างเครื่องคอมพิวเตอร์ในระบบเครือข่าย ซึ่งแบ่งออกได้เป็น 5 แบบ
1. Star Topology
โครงสร้างแบบสตาร์ (Star Network) คือ ลักษณะการเชื่อมต่อแบบกระจายออกจากศูนย์กลางที่ต้องมีอุปกรณ์ควบคุมตรงกลาง เช่น ฮับ (Hub) หรือสวิทช์ (Switch) มาตัวควบคุม ถ้ามีสายเส้นใดเส้นหนึ่งหลุดก็จะไม่ส่งผลต่อการทำงานของระบบ แล้วยังเพิ่มหรือลดเครื่องได้ง่าย การเชื่อมต่อแบบนี้ได้รับความนิยมในปัจจุบัน เนื่องจากอุปกรณ์ที่ใช้เป็นศูนย์กลางมีราคาต่ำลง และมีการพัฒนาประสิทธิภาพอย่างต่อเนื่อง
2. Bus Topology
โครงสร้างแบบบัส (Bus Network) คือ ลักษณะการเชื่อมต่อแบบอนุกรม โดยใช้สายเคเบิลเพียงเส้นเดียวลากต่อกันไป จุดเด่น คือ ไม่ต้องมีอุปกรณ์เป็นศูนย์กลาง ใช้เพียงสายเคเบิ้ลเพียงเส้นเดียวก็เพียงพอต่อการเชื่อมต่อทั้งระบบได้แล้ว เหมาะกับระบบเครือข่ายขนาดเล็กที่มีจำนวนเครื่องคอมพิวเตอร์ไม่มาก จุดด้อยของโครงสร้างแบบนี้ คือ หากสายเคเบิลช่วงใด หรือคอมพิวเตอร์เครื่องใดมีปัญหาจะทำให้ระบบการเชื่อมต่อบกพร่องไปทั้งระบบ เพราะส่งข้อมูลต่อไปไม่ได้ ปัจจุบันไม่เป็นที่นิยม เนื่องจากไม่มีการพัฒนาเพิ่มเติม และมีความเร็วเพียง 10 Mbps
3. Ring Topology
โครงสร้างแบบริง (Ring Network) คือ ลักษณะการเชื่อมต่อเป็นวงแหวน มีการส่งข้อมูลไปในทิศทางเดียว ส่งข้อมูลจากเครื่องต่อเครื่อง เมื่อส่งข้อมูลไปแล้วไม่ตรงกับเครื่องรับก็จะส่งไปยังเครื่องถัดไป จนกว่าจะถึงเครื่องปลายทาง การเชื่อมต่อแบบนี้ส่วนหัวกับส่วนท้ายจะเชื่อมโยงกันจึงไม่มีจุดสิ้นสุด จุดด้อย คือ หากส่วนใดมีปัญหาจะทำให้ระบบการเชื่อมต่อบกพร่องไปทั้งระบบ
4. Mesh Topology
โครงสร้างแบบตาข่าย (Mesh Topology) คือ ลักษณะการเชื่อมต่อแบบเชื่อมโยงถึงกันหมด ไม่มีศูนย์กลางแบบสตาร์ ไม่มีทิศทางที่แน่นอนแบบบัสหรือริง แต่เหมือนตาข่ายที่โยงใยที่ไม่มีรูปแบบที่แน่นอน อาจเรียกว่า โครงสร้างแบบไร้รูปแบบ
5. Hybrid Topology
โครงสร้างแบบผสม (Hybird Network) คือ ลักษณะการนำเครือข่ายย่อยที่มีโครงสร้างที่หลากหลายมาเชื่อมโยงเข้าด้วยกันจนมีขนาดใหญ่ขึ้น เป็นเครือข่ายลูกผสมที่สามารถเชื่อมเครือข่ายแบบบัส แบบสตาร์ แบบริง แบบตาข่าย หรือแบบผสมเข้าด้วยกัน อาจเรียก Hybrid ว่า Mesh ก็ได้
* โครงสร้างเครือข่ายแบบไร้สาย(Wireless Topology)
เป็นโครงสร้างเครือข่ายแบบใช้สาย (Wireless) โดยใช้คลื่นวิทยุในการรับส่งข้อมูล ซึ่งแบ่งเป็น 2 แบบ คือ Peer-to-Peer และ Client Server
http://www.personal.psu.edu/users/l/q/lq4/wmover/Lesson3C.htm
9.3 ประเภทของเครือข่าย (Network Types) เครื่อข่ายที่พิจารณาจาก distance แบ่งได้ 5 ประเภท
1. P2P: Peer to Peer
เครือข่ายที่มีหลักการแบบกระจายศูนย์ (Decentralized System) ที่คอมพิวเตอร์ทุกเครื่องสามารถเป็นได้ทั้งเครื่องให้บริการ และเครื่องใช้บริการ สามารถเป็นได้ทั้ง 2 บทบาทพร้อมกัน คือ ไปดาวน์โหลดแฟ้มจากเครื่องอื่น ในขณะที่ตนเองให้บริการแฟ้มไปพร้อมกัน อาจเรียกว่าเครือข่ายเวิร์คกรุ๊ป (Work Group) ที่ทุกเครื่องในเครือข่ายมีสิทธิ์เท่าเทียมกัน เช่น Bittorent
2. PAN: Personal Area Network
เครือข่ายส่วนบุคคล หรือเครือข่ายเฉพาะกิจระหว่างอุปกรณ์ในพื้นที่เดียวกัน เป็นเทคโนโลยีการเข้าถึงแบบไร้สายในพื้นที่ส่วนบุคคล มีระยะทางประมาณ 1 เมตร และมีอัตราการรับส่งข้อมูลด้วยความเร็วสูง ใช้พลังงานต่ำ อาจเชื่อมต่อด้วยเทคโนโลยี Bluetooth หรือ Wi-Fi
3. LAN: Local Area Network
เครือข่ายท้องถิ่น หรือเครือข่ายระยะใกล้ที่ใช้เชื่อมโยงเครื่องคอมพิวเตอร์ในบริเวณเดียวกัน มักมีระยะห่างระหว่างจุดต่อจุดไม่เกิน 100 เมตร แต่สามารถติดตั้งอุปกรณ์กระตุ้นสัญญาก็จะเชื่อมต่อกันได้ไกลขึ้น รองรับจำนวนเครื่องได้มากขึ้น เช่น ในมหาวิทยาลัย ในบริษัท หรือในอาคารเดียวกัน
4. MAN: Metropolitan Area Network
เครือข่ายขนาดกลางหรือเครือข่ายเมือง มักเป็นการรวมกันของเครือข่ายท้องถิ่นหลายเครือข่ายในพื้นที่ใกล้เคียงกันมาเชื่อมต่อกันเป็นวงจนมีขนาดที่ใหญ่ เช่น ในเมืองเดียวกัน หรือจังหวัดใกล้เคียงกัน เป็นต้น
5. WAN: Wide Area Network
เครือข่ายขนาดใหญ่ มักเป็นการรวมกันของเครือข่ายท้องถิ่น หรือเครือข่ายเมืองมาเชื่อมต่อเป็นเครือข่ายเดียว ดังนั้นเครือข่ายนี้จึงครอบคลุมพื้นที่กว้างอาจทั่วประเทศ หรือทั่วโลก เช่น อินเทอร์เน็ต ที่จัดว่าเป็นเครือข่ายขนาดใหญ่ประเภทหนึ่ง แต่เป็นเครือข่ายสาธารณะที่ไม่มีใครเป็นเจ้าของ

เครื่อข่ายที่พิจารณาจาก performance and reliability แบ่งได้ 2 ประเภท
1. Client-server systems :: หลักการแบบ Centralized system ที่มีเครื่องให้บริการ และเครื่องใช้บริการ โดยเครื่องให้บริการจะเปิดให้บริการกับเครื่องอื่น ๆ เข้าเชื่อมต่อเพียงเครื่องเดียว จึงต้องมีทรัพยากรที่มากกว่าเครื่องที่เข้าไปขอใช้บริการ ยิ่งผู้ใช้บริการมีจำนวนมาก เครื่องบริการก็ยิ่งต้องมีทรัพยากรที่มากและรองรับได้
2. Peer-to-peer systems :: หลักการแบบ Decentralized system ที่ทุกเครื่องสามารถเป็นทั้งเครื่องให้บริการ และเครื่องใช้บริการ ที่เป็นได้ทั้ง 2 บทบาทพร้อมกัน คือ ไปดาวน์โหลดแฟ้มจากเครื่องอื่น ในขณะที่ตนเองให้บริการไปพร้อมกัน บางครั้งเรียกว่าเครือข่ายเวิร์คกรุ๊ป (Work group) ที่ทุกคนในสำนักงานมีสิทธ์เท่ากัน
การเชื่อมต่อ internet จากที่บ้าน ไป ISP มี 5 วิธี
1. Dial-up
56 Kbps ผ่านสายโทรศัพท์ธรรมดา และใช้ Modem ในการเชื่อมต่อ
วิธีนี้เป็นวิธีที่นิยมมากที่สุดในไทย เพราะใช้งานง่าย เพียงแต่ซื้อคอมพิวเตอร์ที่มี modem เมื่อนำคอมพิวเตอร์ไปวางที่บ้าน ก็หาสายโทรศัพท์ เสียบเข้าช่อง modem ก็สามารถใช้คอมพิวเตอร์เชื่อมต่อ internet ได้แล้ว ถ้าไม่มีเงินซื้อ package ของ ISP ก็สามารถใช้ free internet ของ TOT ได้ โดยเสียค่าโทรศัพท์ครั้งละ 3 บาท ใช้ได้นาน 2 ชั่วโมงต่อครั้ง เมื่อหลุดก็ต่อใหม่ แต่หลาย ๆ คน บอกว่าติดยาก และช้า ซึ่งผมให้ข้อมูลเลยว่า แล้วแต่บ้าน และผู้ให้บริการโทรศัพท์ของท่าน เพราะของผมเร็วระดับหนึ่ง และติดทุกครั้งเมื่อ connect โดยหมุนไปที่เบอร์ 1222
Username : U89$0y)9@totonline.net
Password : j4**9c+p
2. ISDN (Integrated Services Digital Network)
128 Kbps ผ่านสายโทรศัพท์ดิจิทัล ISDN และใช้ ISDN Modem ในการเชื่อมต่อ
ให้บริการโดยบริษัทผู้ให้บริการโทรศัพท์ เช่น TOT TT&T หรือ TA ถ้าแถวบ้านท่านไม่มีบริการ ISDN ก็หมดสิทธิ์ใช้บริการนี้ เพราะผู้ให้บริการต้องต่อสายโทรศัพท์แบบพิเศษนี้เข้าบ้านท่าน แต่จะใช้สายโทรศัพท์แบบเก่าไม่ได้ สำหรับความเร็วของ ISDN จะได้ค่อนข้างแน่นอน ที่ 128 Kbps และไม่ได้รับผลกระทบจากสัญญาณรบกวนภายนอกมากนัก เพราะระบบ ISDN มีส่วนประกอบ 3 สาย หรือ 3 Channels คือ B-Channels 2 สาย และ D-Channels 1 สาย สำหรับ B-Channels มีความเร็วสายละ 64 Kbps เมื่อนำมารวมกันก็จะได้ 128 Kbps แต่ D-Channels มีความเร็ว 16 Kbps ซึ่งไม่ใช้รับส่งข้อมูล
3. DSL (Digital Subscriber Line)
สูงกว่าแบบ ISDN แต่ระบุไม่ได้ และใช้ Modem ในการเชื่อมต่อ
ความเร็วของ DSL ขึ้นกับผู้ให้บริการโทรศัพท์ และข้อตกลงที่จะเลือกใช้การเชื่อมต่อ DSL แบบใด การเชื่อมต่อ DSL จะให้บริการผ่านสายโทรศัพท์ธรรมดา เช่นในลำปางจะมี TT&T เป็นผู้ให้บริการ DSL เพราะผมเห็นร้าน net หลายแห่งใช้ และมีความเร็วที่สูงมาก โดยต่อสายจาก DSL modem เข้ากับ Hub ก็จะทำให้เครื่องในเครือข่ายต่อ internet ได้อย่างรวดเร็ว
เทคโนโลยี DSL มีหลายเทคโนโลยี
1. ADSL (Asymmetric Digital Subscriber Line)
2. HDSL (High-bit-rate Digital Subscriber Line)
3. RADSL (Rate Adaptive Asymmetric Digital Subscriber Line)
4. SDSL (Symmetric Digital Subscriber Line)
5. VDSL (Very high-bit-rate Digital Subscriber Line)
4. Cable
ต้อง share ร่วมกับคนอื่น ความเร็วจึงไม่แน่นอน ผ่านสาย CABLE TV (ในอเมริกาเป็นเรื่องปกติ)
เชื่อมต่อแบบนี้จะใช้ Coaxial cable ซึ่งเป็นสาย CABLE TV ซึ่งให้บริการทั้งโทรศัพท์ และชมทีวีร่วมกัน หากต้องการใช้อินเทอร์เน็ต ก็เพียงแต่หา Cable modem มาเชื่อมต่อเพิ่ม และเสียบสายเข้ากับ LAN card ในเครื่องของเรา
5. Satellite
ความเร็วขึ้นกับแบบของจานดาวเทียม ผ่านจานดาวเทียม
ปัจจุบัน CS internet คือผู้ให้บริการการเชื่อมต่อแบบจานดาวเทียม ซึ่งมีหลาย ๆ แบบ ตั้งแต่ใช้จานดาวเทียมร่วมกับ modem โดยใช้จานเป็นฝ่ายรับ และ modem เป็นฝ่ายส่งข้อมูล หรือใช้จานดาวเทียมทำหน้าที่ทั้งรับ และส่งข้อมูล สำหรับระบบดาวเทียมในปัจจุบันจะเรียกว่า DBS (Direct Broadcast Satellites) การเชื่อมต่อแบบนี้นิยมมากในพื้นที่ ๆ สายโทรศัพท์เข้าไปไม่ถึง เช่น หมู่บ้านบนภูเขา หรือ อบต. ในพื้นที่ห่างไกลเป็นต้น
DeviceSpeedDistanceReliabilityCostRemarks
Repeater + UTP10/100/1000 Mbps100 MHighMediumติดตั้งได้ยากสำหรับงาน Outdoor
56K Modem56 KbpsUnlimitedVery LowLowความเร็วและความน่าเชื่อถือต่ำ
Fiber Optic10/100/1000 Mbps15 KMHighVery Highความเร็วสูง ต้นทุนสูง
Wireless LAN11 Mbps300 M, 15 KMVery LowVery Highติดตั้งยาก ต้นทุนสูง
VDSL17/10 Mbps1.2/1.5 KMHigh Lowติดตั้งง่ายต้นทุนต่ำ
G.SHDSL2.3 Mbps6 KMHigh Mediumติดตั้งง่ายต้นทุนต่ำ
9.4 อีเธอร์เน็ต (Ethernet) Ethernet คือชื่อวิธีการสื่อสาร หรือ ระเบียบวิธีการ(Protocal) ของระบบ LAN ชนิดหนึ่งที่พัฒนาโดย Xerox corporation, Digital equipment corporation(DEC) และ Intel ตั้งแต่ปี ค.ศ.1976 เป็นไปตามมาตรฐาน IEEE 802.3 ในช่วงแรก Ethernet มีความเร็วเพียง 10 Mbps แต่ปัจจุบันพัฒนาเป็น Fast ethernet(100 Mbps) และ Gigabit ethernet(1000 Mbps)
Ethernet ใช้เทคนิครับส่งข้อมูล CSMA/CD (Carrier sense multiple access/collision detection) หมายถึง การรับส่งข้อมูลที่ทำได้ครั้งละ 1 คน แต่จะมีการตรวจสอบ หากมีใครใช้สายก็จะไม่ส่ง และถ้าชนก็จะสุ่ม เพื่อไม่ให้เกิดปัญหา
- CS : Carrier sense หมายถึง การมี sense ในการถือครอง มีคนใช้อยู่ก็จะไม่แย่ง
- MA : Multiple access หมายถึง อุปกรณ์ต่าง ๆ ใช้สื่อชุดเดียวกันในการรับส่งข้อมูล
- CD : Collision detection หมายถึง เมื่อส่งพร้อม ๆ กันอาจชน จึงมีการตรวจสอบ ไม่ให้ชน

Hub หรือ Switch ต่างเป็นอุปกรณ์ศูนย์กลาง สำหรับเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์ หลายเครื่องเข้าด้วยกันด้วยอุปกรณ์ 3 อย่าง คือ สาย UTP(Unshieled Twisted Pair แบบ Category 5(CAT5)) หัว RJ45 สำหรับเข้าหัวท้ายของสาย และ Network adapter card
Hub เป็นอุปกรณ์ในสมัยแรก ที่ทำงานแบบ broadcast เมื่อเครื่องหนึ่งต้องการส่งสัญญาณไปอีกเครื่องหนึ่ง ตัว hub จะทำหน้าที่ส่งออกไปให้กับทุกเครื่อง ถ้าเครื่องเป็นผู้รับ ก็จะรับข้อมูลไป ถ้าไม่ใช้ก็จะไม่รับ ดังนั้นเมื่อซื้อ hub ขนาด 10 port ที่มีความเร็ว 10 Mbps(Mega Bit Per Second) ความเร็วที่ได้ก็ต้องหาร 10 เหลือเพียง 1 Mbps เมื่อใช้งานจริง หากมีผู้ใช้คนหนึ่งใช้โปรแกรม sniffer คอยดักจับ package ที่ส่งจาก hub ก็จะทราบข้อมูลต่าง ๆ ที่อยู่ในเครือข่ายนั้นทั้งหมด เช่น เนื้อความในจดหมาย เลขบัตรเครดิต username หรือ password ของผู้ใช้คนอื่น ๆ เป็นต้น สำหรับ Hub บางรุ่นจะมีช่อง Uplink สำหรับเชื่อมต่อ Hub อีกตัวหนึ่ง เพื่อขยายช่องสัญญาณ โดยใช้สาย Cross link ในการเชื่อม hub ผ่าน Uplink port โดยปกติ Hub แบบเดิมจะเป็นการเชื่อมเครือข่ายแบบ Ethernet 10BaseT หรือมีความเร็วที่ 10 Mbps นั่นเอง
Switch เป็นอุปกรณ์ที่พัฒนาขึ้น โดยเลือกส่งข้อมูลถึงผู้รับเท่าที่จำเป็นเท่านั้น ทำให้เครือข่ายที่ใช้ switch มีความเร็วสูงกว่าเครือข่ายที่ใช้ hub และมีความปลอดภัยสูงกว่า มีการพัฒนา switch ให้ทำงานใน Layer 3 ของ OSI ได้ ซึ่งมีความสามารถเป็น IP switching ทีเดียว
9.5 ปฏิบัติการฝึกเชื่อมต่อเครือข่าย - ฝึกต่อเครือข่ายด้วย LAN card, Wireless ผ่าน Hub หรือ Switch
- ฝึกแชร์อุปกรณ์ หรือแฟ้มในเครือข่าย
- ฝึกตรวจสอบจุดบกพร่องภายในเครือข่าย
- ค้นคว้าข้อมูลเกี่ยวกับ ระบบกระจาย จากอินเทอร์เน็ต แล้วทำรายงาน และส่งตัวแทนนำเสนอหน้าชั้น
ถาม - ตอบ
ถามการเชื่อมต่อ (Topology) มีกี่แบบ อะไรบ้าง
ตอบมี 5 แบบ
1. โครงสร้างแบบบัส (Bus Network)
2. โครงสร้างแบบสตาร์ (Star Network)
3. โครงสร้างแบบริง (Ring Network)
4. โครงสร้างแบบผสม (Hybird Network)
5. โครงสร้างเครือข่ายแบบไร้สาย(Wireless Network)
ถามการทำงานของเว็บบราวเซอร์ในการติดต่อกับเว็บไซต์ผ่านพอร์ท 80 มีขั้นตอนอย่างไร (ไพศาล โมลิสกุลมงคล p.314 )
ตอบมีขั้นตอนดังนี้ หากติดต่อไปที่ http://www.buyer.com
1. บราวเซอร์จะติดต่อไปยัง DNS เพื่อดูหมายเลข IP ของ www.buyer.com
2. หมายเลข IP ที่ได้คือ 101.102.103.104
3. บราวเซอร์จะทำการติดต่อโดยใช้โปรโตคอล TCP ไปยังพอร์ต 80
ของหมายเลข IP 101.102.103.104
4. ทำการหาแฟ้มในเซิร์ฟเวอร์ คือ index.html
5. เซิร์ฟเวอร์ที่ชื่อ www.buyer.com จะทำการส่งไฟล์ index.html มาให้
6. การติดต่อก็จะสิ้นสุดลง
7. บราวเซอร์จะทำการแสดงข้อมูลที่อยู่ในไฟล์ index.html
8. บราวเซอร์จะทำการดึงรูปภาพที่อยู่ในไฟล์ index.html และแสดงผล
อ่านเพิ่มเติม
เน็ตเวิร์คหาย ไม่มี error ลายวันมานี้ พยายามอัพเดท Windows 10 บนเน็ตเวิร์คที่ไม่ได้เร็วมากนัก บางรอบปล่อยทิ้งไว้ทั้งคืน ตื่นมายังไม่เรียบร้อย และเครื่องยังเป็น Harddisk แบบ IDE ไม่ใช่ SSD ทำให้การ start ช้ามาก กว่าจะมี taskbar ปรากฎขึ้นมาและพร้อมที่จะทำงาน จึงเลือกเข้า services.msc ปิด Windows event log หลังจากนั้นก็ปิดเครื่องไป
ลายวันผ่านไป กลับมาเปิดเครื่อง พบว่า network ใช้ไม่ได้ ติดตั้ง driver ใหม่ หรือ reset network หรือ ถอนแล้วติดตั้งใหม่ ก็ยังเปิดไม่ขึ้น ไม่ปรากฎอะไรเกี่ยวกับ network ให้เห็น เปิดหน้า network status หรือหน้าอื่น จะปิดในเกือบทันทีหลังสั่งเปิดหน้าต่าง ในใจคิดว่า Network adapter น่าจะเสีย คงต้องไปซื้อ USB Network adapter มาใช้ซะแล้ว สุดท้าย เปิดบริการ Windows event log เพื่อเข้าไปดู log กลับพบว่าทุกอย่างเกี่ยวกับ network กลับมาทำงานได้ปกติ เมื่ออ่านดูข้อความเตือนขณะจะปิด Windows event log ถึงทราบว่า บริการนี้เชื่อมโยง และกระทบถึง Network ทั้งเซต อันได้แก่ Network Connected Devices Auto-Setup, Netowrk List Service, Network Location Awareness ซึ่งทั้ง 3 บริการหรือบริการที่เกี่ยวกับ Network ได้พยายามเปิดผ่าน Services.msc แล้ว แต่ก็เปิดไม่ขึ้น
สรุปว่า ถ้าจะใช้ Network อย่าปิด Windows event log
#การเรียนรู้แบบใช้ปัญหาเป็นฐาน
แนะนำเว็บไซต์ (Website guide) https://en.wikipedia.org/wiki/Distributed_computing
เอกสารอ้างอิง (Reference) [1] Abraham silverschatz, Peter baer galvin, "Operating system concept", John wiley & Sons, New York, 2003.
[2] Milan Milenkovic, "Operating systems: concepts and design", McGraw-Hill inc., New York, 1992.
[3] William stallings, "Operating system", Prentice hall, New York, 1999.
[4] ไพศาล โมลิสกุลมงคล และคณะ, "ระบบปฏิบัติการ", สำนักพิมพ์ดวงกมลสมัย, กรุงเทพฯ, 2545.
[5] พิเชษฐ์ ศิริรัตนไพศาลกุล, "ระบบปฏิบัติการ (Operating system)", บริษัท ซีเอ็ดยูเคชั่น จำกัด., กรุงเทพฯ, 2546.
[6] ดร.ยรรยง เต็งอำนวย, "ระบบปฏิบัติการ (Operating system)", บริษัท ซีเอ็ดยูเคชั่น จำกัด., กรุงเทพฯ, 2541.
[7] ประชา พฤกษ์ประเสริฐ, "ระบบปฏิบัติการ", บริษัท ซัคเซส มีเดีย จำกัด., กรุงเทพฯ, 2549.
[8] วศิน เพิ่มทรัพย์, "คู่มือ MS-DOS", พี.เอ็น.การพิมพ์, กรุงเทพฯ, 2545.
[9] ชนินทร์ เชาวมิตร, "คู่มือยูนิกซ์เดสก์ทอป", บริษัท ซีเอ็ดยูเคชั่น จำกัด., กรุงเทพฯ, 2538.
[10] รศ.ดร.กฤษดา ขันกสิกรรม, "ระบบปฏิบัติการ (Operating Systems)", อาง้วนการพิมพ์, นครสวรรค์, 2555.
[11] ผศ.ดร.สุชาติ คุ้มมะณี, "พื้นฐานระบบปฏิบัติการยูนิกซ์", [ออนไลน์], เข้าถึงได้จาก : http://goo.gl/14xVey (วันที่ค้นข้อมูล 15 ตุลาคม 2558)
Thaiall.com