thaiall logomy background

หุ่นยนต์แทนมนุษย์ และแชทคุยกันได้

my town
หุ่นยนต์ (Robot)
หุ่นยนต์ (Robot) คือ เครื่องจักรกลชนิดหนึ่งที่มีลักษณะภายนอกคล้ายมนุษย์ และทำงานได้ตามการควบคุมของมนุษย์ แต่มีความพยายามที่จะพัฒนาให้หุ่นยนต์สามารถคิดเอง และทำงานได้ด้วยตนเอง
ขอบเขตของปัญญาประดิษฐ์
(Scope of Artificial Intelligence)
1. ระบบผู้เชี่ยวชาญ (Expert Systems) #
โปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่แสดงความสามารถได้เหมือนกับผู้เชี่ยวชาญในสาขาต่าง ๆ หรือในงานเฉพาะอย่าง
2. ภาษาธรรมชาติ (Natural Languages) #
ภาษาที่เกี่ยวกับการติดต่อสื่อสารโดยตรงกับคอมพิวเตอร์ ทั้งคอมพิวเตอร์เข้าใจภาษามนุษย์ และมนุษย์เข้าใจการรับรู้ของคอมพิวเตอร์
3. ระบบจับภาพ (Vision Systems) # # #
การที่คอมพิวเตอร์สามารถทำงานได้โดยอาศัยการมอง และการจดจำรูปแบบ เช่นการตรวจหาชิ้นส่วนที่บกพร่อง การให้คอมพิวเตอร์แข่งเตะบอล เป็นต้น
4. ศาสตร์ด้านหุ่นยนต์ (Robotics)
เกี่ยวกับการออกแบบ การสร้าง และการนำไปใช้งาน ให้เคลื่อนไหวได้คล้ายมนุษย์ โดยเฉพาะใช้งานที่เสี่ยงอันตรายแทนมนุษย์
5. เครือข่ายเส้นประสาท (Neural Networks)
ระบบที่อาศัยความรู้เป็นพื้นฐาน สร้างเรียนแบบเส้นใยประสาทของมนุษย์ เป็นการทำกิจกรรมแบบขนานที่ทำงานพร้อมกัน เพื่อให้ได้คำตอบเดียว
อื่น ๆ อาทิ การเรียนรู้ (Learning systems)
# # #
Online Course คือ Passive income ChatGPT : Openai.com
Natural Language Processing
แชทบอต (Chatbot) คือ ปัญญาประดิษฐ์ที่สามารถสื่อสารโต้ตอบกับมนุษย์ได้ อาจอยู่ในรูปของตัวอักษร เสียง หรือภาพได้โดยอัตโนมัติ โดยใช้เทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ (Artificial Intelligent = AI) ที่สามารถสื่อสารโต้ตอบได้ใกล้เคียงกับความสามารถของมนุษย์ เช่น ChatGPT ที่ให้บริการผ่าน openai.com หรือ BardAI ของ Google.com
อ่านเพิ่มเติม
การใช้ ChatGPT ช่วยเขียนบทความ ชทจีพีที (ChatGPT) คือ แชทบอท (Chatbot) ปัญญาประดิษฐ์ต้นแบบที่พัฒนาโดยโอเพนเอไอ (Openai.com) ซึ่งเชี่ยวชาญด้านการสนทนา (Natural Language Processing) แชทจีพีทีเปิดตัวในเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2565 ซึ่งนักพัฒนาได้ประยุกต์ใช้ ChatGPT ในหลายด้าน เช่น การนำมาช่วยในการเขียนบทความ การยกร่างเอกสาร การเขียนโค้ด หรือช่วยทำการบ้าน
  1. การเพิ่มประสิทธิภาพ หรือการทำให้เหมาะที่สุด (Optimizaion)
  2. ขอ ChatGPT ช่วยทำการบ้าน
เจ้าของร้านอาหารใช้เทคโนโลยีลดคน ร้าน Hajime ที่เชียงใหม่ ในห้าง Central Festival ชั้น 5 มีร้านอาหารปิ้งย่างที่เสิร์ฟด้วยหุ่นยนต์ (Robot) เป็นการใช้เทคโนโลยีเข้ามาช่วย จะช่วยลดพนักงานเสิร์ฟลง กลุ่มผู้ประกอบการที่กำลังมองหาแนวทางการลดต้นทุน ก็จะได้ประโยชน์จากเทคโนโลยีนี้
คลิป Robot เสิร์ฟอาหาร
คลิป MK Happy Birthday
คลิป TEDx หุ่นดินสอ
เจ้าของร้านอาหารใช้เทคโนโลยีลดคน อาซิโม (ASIMO = Advanced Step in Innovative Mobility) คือ หุ่นยนต์ฮิวแมนนอยด์ หรือหุ่นยนต์เลียนแบบมนุษย์ของบริษัทฮอนด้า ประเทศญี่ปุ่น สร้างเสร็จเมื่อวันที่ 31 ตุลาคม พ.ศ. 2543 โดยพัฒนาจากหุ่นยนต์ทดลองและหุ่นยนต์ต้นแบบจนทำให้มีขนาดเล็กและน้ำหนักเบา เทคโนโลยี i-WALK ช่วยให้อาซิโมสามารถเดิน วิ่ง ขึ้นบันได และเต้นรำได้ มีระบบบันทึกเสียง เพื่อตอบสนองคำสั่งของมนุษย์ สามารถจดจำใบหน้าคู่สนทนาได้อย่างแม่นยำ และรองรับความต้องการของมนุษย์ในอนาคต #
การใช้อินเทอร์เน็ตของสรรพสิ่ง (itinlife605)

นุษย์ก้าวผ่านวิวัฒนาการด้านเทคโนโลยีไปได้หลายช่วง ช่วงนี้อยู่ในยุคของอินเทอร์เน็ตของสรรพสิ่ง (IoT = Internet of Things) หากประเทศไทยจะพูดคำว่า 4.0 ในทุกกลุ่ม ก็จะต้องมีคำว่าไอโอทีเข้าไปเกี่ยวข้องไม่มากก็น้อย การประยุกต์ใช้ยังอยู่ในช่วงเริ่มต้น มีปัจจัยสำคัญ คือ บุคลากร ผู้ใช้ และความเข้าใจ เราสามารถนำไอโอทีมาใช้งานได้ทุกด้าน เชื่อมโยงกับคลาวด์ ธุรกิจ และเซ็นเซอร์ (Sensor) อาจกล่าวได้ว่าที่ใดมีความเคลื่อนไหวที่เป็นข้อมูลได้ ที่นั่นย่อมมีอินเทอร์เน็ตของสรรพสิ่งได้

ตัวอย่างการใช้ด้านความปลอดภัยในบ้าน คือ ติดตั้งไอโอทีไว้ตามประตู หน้าต่าง ห้องนอน ห้องน้ำ ห้องครัว และอุปกรณ์ไฟฟ้าที่สำคัญ ว่ามีใครบุกรุก เก็บสถิติการใช้ ไฟตก ไฟเกิน ไฟช็อต แล้วส่งข้อมูล แจ้งเตือน (Alert) หรือคลิปไปยังผู้ดูแล การใช้ด้านการเกษตร คือ ติดตั้งอุปกรณ์ไว้กับทุกอย่างในพื้นที่เกษตร อาทิ เครื่องวัดอุณหภูมิ ความชื้น แสง ติดกับต้นไม้ แหล่งน้ำ ขวดยา แล้ววัดระดับเพื่อสั่งให้ดำเนินการที่เหมาะสม หรือส่งข้อมูลให้ผู้ดูแลได้แก้ไข อาทิ การชำรุดทางกายภาพ เติมน้ำมันเชื้อเพลิง เติมน้ำยาแอร์ หรือซ่อมอุปกรณ์ การใช้ด้านสุขภาพ คือ ติดตั้งอุปกรณ์สวมใส่ไว้กับตัว วัดอุณหภูมิ ชีพจร การเต้นของหัวใจ น้ำตาลในเลือด ความดันโลหิต จีพีเอส เก็บข้อมูลเข้าระบบเพื่อประโยชน์ในการวินิจฉัยสุขภาพ หากพบสิ่งผิดปกติแบบเรียลทาม (Real Time) ก็จะแจ้งไปยังสถานพยาบาลให้ไปช่วยเหลือได้ทันที

ารใช้ด้านยานพาหนะ คือ ติดตั้งอุปกรณ์วัดความเร็ว ระดับน้ำมัน ความดันลมยาง อุณภูมิในห้องโดยสาร และเครื่องยนต์ จำนวนผู้โดยสาร น้ำหนักสัมภาระ ชีพจรของคนขับ ระดับแอลกอฮอล์ ส่งไปเข้าระบบวิเคราะห์ข้อมูลในระบบปัญญาประดิษฐ์ (AI = Artificial Intelligence) เพื่อดำเนินการที่ถูกต้องเหมาะสม การใช้ด้านการทหาร คือ มีตัวอย่างมากมายในภาพยนตร์ ทั้งหุ่นยนต์ อาวุธ และเซ็นเซอร์การใช้อุปกรณ์ เพื่อให้ได้ข้อมูลประกอบการตัดสินใจที่เหมาะสม การใช้ด้านการจราจร หรือควบคุมภัยพิบัติ คือ ติดตั้งอุปกรณ์วัดระดับน้ำ ลม ไฟป่า การเคลื่อนที่ของรถยนต์ รถไฟ เรือ เครื่องบิน เพื่อให้ได้ข้อมูลมาบริหารจัดการ หรือการใช้ระบบตรวจสอบใบหน้า (Face Detection) ในสนามบิน แล้วเชื่อมกับฐานข้อมูลผู้กระทำผิด ทำให้การจับกุมผู้ต้องสงสัยมีประสิทธิภาพ การใช้ด้านธุรกิจ คือ การเก็บข้อมูลผ่านระบบขนส่ง ผลิต คงคลัง การทำรายการของพนักงาน การเคลื่อนที่ของลูกค้าภายในร้าน ตำแหน่งสินค้า ล้วนเป็นข้อมูลที่ส่งกลับไปยังสำนักงานใหญ่ถูกประมวลผลอย่างมีประสิทธิภาพ

หุ่นยนต์คิดแบบในหนังคงยังไม่มี (itinlife508)

มีภาพยนตร์มากมายที่กล่าวถึงการสร้างปัญญาประดิษฐ์ (Artificial Intelligence) ก้าวต่อไปคือการสร้างหุ่นยนต์มารับใช้มนุษย์ มีองค์ประกอบหลายอย่างที่จำเป็นต่อการสร้างหุ่นยนต์ แต่สิ่งที่เรายังทำกันไม่สำเร็จคือการสร้างปัญญาประดิษฐ์ หรือทำให้หุ่นยนต์คิดเองได้ โดยไม่ต้องรอรับคำสั่ง ส่วนนวัตกรรมการสร้างหุ่นยนต์มีความสำเร็จเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง จินตนาการเป็นเรื่องที่หยุดไม่ได้ มีภาพยนตร์มากมายฉายสิ่งที่กำลังจะเกิดขึ้นในแง่มุมที่หลากหลายทั้งด้านประโยชน์ และปัญหา

หุ่นอาร์ทูดีทู หรือซีทรีพีโอในสตาร์วอร์ส (Star war) เป็นหุ่นยนต์ที่นักดูภาพยนตร์คงจดจำกันได้ดีกว่าเรื่องอื่น แต่ความเหมือนมนุษย์ยังไม่เด่นชัด หากหุ่นยนต์สามารถคิดเองได้ หรือรู้จักการเรียนรู้แล้ว มีภาพยนตร์ที่สะท้อนปัญหาให้เห็น คือ เทอมิเนเตอร์ (Terminator) ที่เล่าว่าถ้าหุ่นยนต์คิดเองได้ ก็จะรู้ว่ามนุษย์เป็นภัยต่อหุ่นยนต์เก่า เพราะมนุษย์ชอบของใหม่เสมอ เพื่อความอยู่รอดของหุ่นยนต์ที่จะต้องเก่าในอนาคต จึงต้องกำจัดมนุษย์ซะก่อนที่จะสายเกินไป และเริ่มดำเนินการในทันที ต่อมาผู้สร้างภาพยนตร์ก็เปลี่ยนแนวว่าเราสามารถควบคุมหุ่นยนต์ได้ โดยการเพิ่มคำสั่งห้ามทำร้ายมนุษย์ให้เป็นเงื่อนไขสำคัญ จนมีภาพยนตร์เรื่องไอโรบอต (irobot) หรือออโตเมต้า (Automata) ที่ทำให้ผู้ชมรู้สึกสบายใจได้ว่าหุ่นยนต์จะไม่มีวันทำร้ายมนุษย์ แต่กฎย่อมมีข้อยกเว้น เมื่อเวลาผ่านไปกฎที่เคยใส่เข้าไปในหุ่นยนต์ก็อาจถูกเปลี่ยน พัฒนา หรืออัพเกรด จนหุ่นยนต์อาจเป็นภัยต่อมนุษย์ได้

ผู้สร้างภาพยนตร์ได้เนรมิตเรื่องราวให้หุ่นยนต์มีความเหมือนมนุษย์มากขึ้นไปอีก ด้วยการสร้างหุ่นยนต์ที่คิดว่าตนเองเป็นมนุษย์ คนที่พบเห็นก็ไม่รู้ เช่น เอวา (EVA) หรือสครีมเมอร์ส (Screamers) หรือไบเซนเทนเนียลแมน (Bicentennial Man) แต่ความเหมือนมนุษย์นั้นก็แฝงมาด้วยภัยซ่อนเร้น เช่น เอวาที่ไม่ผ่านเกณฑ์ความปลอดภัย แต่ผู้สร้างดื้อรั้นขอเก็บไว้ สุดท้ายก็แสดงความรุนแรงออกมาจนทำร้ายผู้สร้าง ส่วนสครีมเมอร์สก็วิวัฒนาการจากอุปกรณ์ที่ดำดินไปสังหารศัตรูขึ้นมาเป็นหุ่นยนต์สาวสวยเหมือนมนุษย์ที่มีเลือดเนื้อและชีวิตจิตใจ แต่เรื่องไบเซนเทนเนียลแมนเป็นหนึ่งในไม่กี่เรื่องที่สะท้อนให้เห็นเฉพาะมุมบวกของหุ่นยนต์ที่มีขึ้นมาเพื่อช่วยเหลือมนุษย์ และตัดสินใจปิดเครื่องของตนเองด้วยความเชื่ออย่างมนุษย์ แต่วันนี้เรากำลังพัฒนาปัญญาประดิษฐ์ให้เกิดขึ้นจริง แล้วมาลุ่นกันว่าชีวิตจริงในอนาคตจะเหมือนภาพยนตร์เรื่องใด

ไอโอทีคืออินเทอร์เน็ตสำหรับทุกอย่าง (itinlife557)

ปัจจุบันอินเทอร์เน็ตคือการเชื่อมต่อผู้คนในโลกมากกว่าหนึ่งพันล้านให้สื่อสารกันได้ ผ่านอีเมล โซเชียลมีเดีย หรือแชท แต่การเชื่อมต่อไม่ได้หยุดเพียงเท่านั้น การพัฒนาไม่มีวันหยุดนิ่ง นักพัฒนาเริ่มมองหา และสร้างสิ่งที่เรียกว่า อินเทอร์เน็ตสำหรับทุกอย่าง หรืออินเทอร์เน็ตสำหรับสรรพสิ่ง (The Internet of Things) ให้เป็นจริงขึ้นมา คือ เทคโนโลยีอินเตอร์เน็ตที่เชื่อมอุปกรณ์ให้สื่อสารกันได้ อาทิ สมาร์ทโฟน เครื่องคอมพิวเตอร์ รถยนต์ ตู้เย็น เครื่องซักผ้า โทรทัศน์ เครื่องวัดอุณหภูมิ กล้องวงจรปิด เซ็นเซอร์อุณภูมิ เซ็นเซอร์แสง หรือเซ็นเซอร์ความเคลื่อนไหวเข้าด้วยกัน โดยผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ต ในอนาคตมนุษย์จะคุ้นชินกับการควบคุมสิ่งรอบตัวที่อยู่ในระยะใกล้และไกล อยู่ที่บ้าน ห้างสรรพสินค้า โรงเรียน หรือสำนักงาน และเรียกทุกอย่างที่เชื่อมต่อกันเป็นไอโอทีว่า ระบบอัจฉริยะ เพราะสามารถทำงานได้โดยไม่ต้องรอรับการสั่งงาน

ตัวอย่างการควบคุมที่ใกล้เคียงกับการใช้งานในชีวิตประจำวัน อาทิ การควบคุมอุณหภูมิภายในบ้านให้เหมาะกับการอยู่อาศัย การเปิดปิดไฟอัตโนมัติ การสั่งเครื่องต้มกาแฟให้ทำงานเมื่อเดินเข้าห้องทำงาน การใช้อุปกรณ์อัตโนมัติทำงานแทนคน ซึ่งมีผลทำให้ผู้บริหารพิจารณาเลือกใช้อุปกรณ์ทำงานแทนเพิ่มขึ้น และลดพนักงานลง ตัวอย่างกลุ่มงานที่นำไอโอทีมาใช้ให้เห็น อาทิ การใช้ด้านการทหาร การควบคุมคลังสินค้า ยานพาหนะ การขนส่งมวลชน ทางการแพทย์ การผลิตภาคอุตสาหกรรม เทคโนโลยีหุ่นยนต์ ระบบควบคุมอาคาร

อุปกรณ์สำคัญที่สนับสนุนให้ไอโอทีนำมาใช้งานได้จริงในอนาคตอันใกล้ คือ อุปกรณ์ตรวจจับ (Sensors) ที่สามารถรับส่งข้อมูล ถูกฝังตัวเข้ากับเครื่องใช้ไฟฟ้ารอบตัวเรา และสามารถเชื่อมต่อกับเครือข่ายอินเทอร์เน็ตได้ และการพัฒนาให้ทำงานร่วมกับ RFID ที่มีอยู่รอบตัวได้ ปัจจุบันมีหลักสูตร Arduino Programming Basic Course มีวิทยากรคือ อาคม ไทยเจริญ อบรมสำหรับนักพัฒนาที่ต้องการเรียนรู้การใช้อุปกรณ์ชื่อ Arduino ซึ่งเป็นบอร์ดไมโครคอนโทรเลอร์ตระกูล AVR ที่มีการพัฒนาแบบ Open Source สามารถต่ออุปกรณ์เสริมผ่าน I/O ของบอร์ด และโปรแกรมสั่งงานได้ง่าย พัฒนาผ่านโปรแกรม ArduinoIDE และภาษาที่ใช้ก็มีโครงสร้างเหมือนภาษา C ราคาบอร์ด Arduino UNO R3 เริ่มต้นที่ 300 บาท เชื่อมต่อกับเครื่องคอมพิวเตอร์ผ่านช่อง USB และเขียนโปรแกรมสั่งให้อุปกรณ์ทำงานได้ทันที


youtube.com/watch?v=9znRbMTimvc (Beginning with Internet of Things IoT for Developers)
its.sut.ac.th/index.php?option=com_content&view=article&id=72&Itemid=468
arduinothai.com
allnewstep.com
facebook.com/ArduinoThaiProject/
Thaiall.com