thaiall logomy background

กระดานแสดงความคิดเห็น

my town

ถ้าเอ่ยถึงโปรแกรมสำหรับอ่านเขียนอีบุ๊ค (e-book) หรืออีโดคูเมนท์ (e-document) มักนึกถึงโปรแกรมกลุ่ม Acrobat สำหรับจัดการแฟ้มสกุล PDF (Portable Document Format) ซึ่งดาวน์โหลดสำหรับอ่าน (Reader) ได้จากเว็บไซต์ adobe.com แต่ถ้าสร้างหรือแก้ไขแฟ้มสกุล PDF จะต้องซื้อโปรแกรม Acrobat Writer มีบริษัทผู้ผลิตซอฟต์แวร์หลายแห่งนำเสนอโปรแกรมที่มีความสามารถคล้ายโปรแกรมกลุ่ม Acrobat เข้ามาแข่งขัน และเป็นทางเลือกใหม่สำหรับผู้ใช้ในการจัดการแฟ้มอีบุ๊ค อาทิ Flip Publisher, Desktop Author, Plakat Book, VeryPDF.com, Visagesoft.com

พฤติกรรมการใช้แฟ้มสกุล PDF ในบทความนี้ขอนำเสนอ 3 ลักษณะคือ การดาวน์โหลดแฟ้มอีบุ๊คมาอ่าน การสร้างแฟ้มอีบุ๊คออกทางเครื่องพิมพ์ และการลบรหัสป้องกันการพิมพ์หรือการนำข้อมูลบางส่วนออกมาจากแฟ้มอีบุ๊คเพื่อนำไปใช้ในโปรแกรมอื่น โปรแกรม Acrobat Reader เป็นที่นิยมอย่างมาก แต่มีโปรแกรมจากอีกหลายบริษัทที่มีประสิทธิภาพไม่แพ้กัน อาจมีค่าใช้จ่ายต่ำกว่า ทำงานได้คล่องตัวกว่า หรือมีวัตถุประสงค์แตกต่างกัน ซึ่งดาวน์โหลดโปรแกรมสำหรับอ่านแฟ้มสกุล PDF รุ่นทดลองใช้ได้จาก foxitsoftware.com หรือ visagesoft.com

ถ้ามีข้อมูลในแฟ้ม Microsoft Word, Microsoft Excel หรือโปรแกรมอื่นที่ต้องการเผยแพร่ออกไปเป็นแฟ้มสกุล PDF ทำได้โดยติดตั้งโปรแกรม PDF Creator หรือ PDF Factory เพื่อสร้างเครื่องพิมพ์จำลองเพิ่มอีกตัวหนึ่ง เมื่อใดที่สั่งพิมพ์เอกสารไปที่เครื่องพิมพ์จำลองก็จะได้แฟ้ม PDF แทนการส่งผลลัพธ์ไปที่เครื่องพิมพ์ตามปกติ ดังนั้นผู้ใช้สามารถสร้างแฟ้มสกุล PDF จากโปรแกรมใดก็ได้ที่มีความสามารถพิมพ์เอกสารออกทางเครื่องพิมพ์ เมื่อเลือกผลลัพธ์ในการพิมพ์ไปที่เครื่องพิมพ์จำลองก็จะได้แฟ้มสกุล PDF ออกมา และนำไปใช้ได้

หลายครั้งที่เพื่อนของผู้เขียนสร้างแฟ้มสกุล PDF แล้วตั้งรหัสผ่านป้องกันการพิมพ์ออกทางเครื่องพิมพ์ เพราะหวงแหน หรือเกรงว่าจะถูกคัดลอกบางส่วนออกไปแก้ไข เมื่อเวลาผ่านไปตัวเขาเองกลับลืมรหัสผ่าน จึงหาวิธียกเลิกรหัสผ่าน เพื่อนำเอกสารกลับมาใช้ใหม่ การแก้ปัญหาทำได้โดยดาวน์โหลดโปรแกรม PDF Password Remover จากเว็บไซต์ verypdf.com สำหรับลบรหัสผ่านในแฟ้มสกุล PDF แต่โปรแกรมนี้ใช้ได้เพียง 50 ครั้ง หากต้องการใช้แบบไม่จำกัดก็ต้องจ่าย $29 เพื่อให้ได้รุ่นที่สมบูรณ์ จึงขอเตือนว่าถ้ามุ่งมั่นจะเผยแพร่เอกสารก็อย่าไปหวงแหน เพราะถ้าลืมรหัสป้องกัน อาจทำให้นำกลับมาใช้ใหม่ไม่ได้


จากคุณ : บุรินทร์ .
10:19pm (19/08/07)
ทความเกี่ยวกับไอทีในชีวิตประจำวัน (Information Technology in Life) ถูกเขียนลงในหนังสือพิมพ์ฅนเมืองเหนือ เป็นหนังสือพิมพ์รายสัปดาห์ เริ่มเขียนปลายปีพ.ศ. 2549 จนถึงมิถุนายน พ.ศ.2560 รวมได้ 611 บทความมีโฮมเพจอยู่ที่ http://www.thaiall.com/itinlife และ http://www.thaiall.com/opinion เพื่อเป็นแหล่งแบ่งปันเรื่องราวที่ได้พบ ได้อ่าน ได้ปฏิบัติ แล้วนำมาเรียบเรียงแบ่งปันแก่เพื่อนชาวไทย และส่งให้กองบรรณาธิการนำไปตีพิมพ์ลงในหนังสือพิมพ์ท้องถิ่นของจังหวัดลำปาง
Opinion แปลว่า ความคิดเห็น วาทะ ความเชื่อ ที่สามารถสะท้อนออกมาให้อยู่ในรูปของวรรณกรรม หรืองานเขียน ที่เรื่องราวจะถูกร้อยเรียงเป็นตัวอักษร ไล่เรียงตามลำดับให้ได้รู้และเข้าใจความคิดความเห็น ที่ไม่เลือนหายไปตามเวลาเหมือนความทรงจำ
version 1.3 (15 ตุลาคม 2566)
Thaiall.com
Thaiall.com