thaiall logomy background

ดร.มาลี สุวรรณอัตถ์ (Dr.Malee Suwana-adth)

my town
ศ.บัณฑิต กันตะบุตร | ดร.มาลี สุวรรณอัตถ์ | โสภณ สมประสงค์ | ศักดิ์ รัตนชัย |
ดร.มาลี สุวรรณอัตถ์
ตั้งชื่อยีสต์ชนิดใหม่ว่า “Metahyphopichia suwanaadthiae” เพื่อให้เกียรติแด่ ดร.มาลี สุวรรณอัตถ์
ดร.มาลี สุวรรณอัตถ์ (Dr.Malee Suwana-adth)
Advisor to the Board, BIOTEC Thailand and Chairperson, Asian Alliance of Appropriate Technology Practitioners., Thailand.
ศิษย์เก่าร.ร.ราษฎร์มณีศึกษา(ประถม) และร.ร.วิชชานารี(มัธยม) จบการศึกษาระดับอุดมศึกษาสาขาชีววิทยาจากจุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย และสาขาจุลชีววิทยาจากสหรัฐอเมริกา(มหาวิทยาลัยเท็กซัสและสถาบันไอไอที อิลลินอยส์) ได้รับการฝึกอบรมพิเศษด้านการจัดการเทคโนโลยี และการบริหารจัดการทรัพยากรจุลินทรีย์ เคยเป็นอาจารย์ภาควิชาวิศวกรรมสิ่งแวดล้อม จุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย และ หัวหน้าภาควิชาจุลชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
ทำงานและจัดตั้งศูนย์เก็บรวบรวมทรัพยากรจุลินทรีย์สำหรับภูมิภาคเอเซียตะวันออกเฉียงใต้ภายใต้กรอบองค์การยูเนสโกที่สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์ประยุกต์แห่งประเทศไทย (ปัจจุบัน คือ สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย) และเป็นผู้อำนวยการก่อตั้งศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ กระทรวงวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และสิ่งแวดล้อม
คยทำงานเป็นหัวหน้าฝ่ายเทคโนโลยีชีวภาพขององค์การพัฒนาอุตสาหกรรมแห่งสหประชาชาติ หรือองค์การยูนิโดที่กรุงเวียนนา ประเทศออสเตรียจนเกษียนอายุ
ปัจจุบัน เป็นกรรมการมูลนิธิข้าวไทยในพระบรมราชูปถัมภ์ และเลขาธิการมูลนิธิสวิตา(เพื่อการพัฒนาการศึกษานอกระบบ)เป็นกรรมการสภามหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี กรรมการความหลากหลายทางชีวภาพของกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เป็นกรรมการที่ปรึกษาสภาบัณฑิตวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีของประเทศไทย และที่ปรึกษากรรมการบริหารศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งประเทศไทย
นระดับนานาชาติ เป็นกรรมการที่ปรึกษาศูนย์คาดการณ์อนาคตเทคโนโลยีของเอเปค และกรรมการบริหารของเครือข่ายองค์กรเทคโนโลยีที่เหมาะสมในเอเซีย
วามสนใจที่จะมีส่วนร่วมในการพัฒนาจังหวัดลำปางในฐานะที่เป็นบ้านเกิด ใคร่จะเห็นจังหวัดลำปางพัฒนาอย่างมีคุณภาพ และเห็นว่าการเป็นสมาชิกของ lovelampang.com น่าจะเป็นช่องทางหนึ่ง โดยส่วนตัวมีความเชี่ยวชาญด้านการวางแผนเชิงยุทธศาสตร์ โดยเฉพาะในส่วนที่เกี่ยวข้องกับ การพัฒนาและการใช้เทคโนโลยีที่เหมาะสม
สาขาที่เชี่ยวชาญ : MICROBILOGY
ดร.มาลี สุวรรณอัตถ์ เป็นคนบ้านประตูชัย ต.หัวเวียง อ.เมือง จังหวัดลำปาง
ตั้งชื่อยีสต์ชนิดใหม่ว่า “Metahyphopichia suwanaadthiae” เพื่อให้เกียรติแด่ ดร.มาลี สุวรรณอัตถ์ ยีสต์ชนิดใหม่ชื่อ Metahyphopichia suwanaadthiae ณะวิจัยที่ค้นพบ "ยีสต์ชนิดใหม่ของโลก" ได้แก่ ทีมนักวิจัยมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ประกอบด้วย ศาสตราจารย์ ดร.สาวิตรี ลิ่มทอง และ ดร.พัณณิดา ขุนนามวงษ์ อาจารย์ประจำภาควิชาจุลชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ร่วมกับ ดร.ศธิธร จินดามรกฏ นักวิจัย ศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ อุทยานวิทยาศาสตร์แห่งประเทศไทย และ ศาสตราจารย์ ดร.อัญชริดา สวารชร อาจารย์ประจำภาควิชาจุลชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โดยพบยีสต์จากเห็ดป่าในประเทศไทย 2 ชนิด คือ Metahyphopichia suwanaadthiae และ Wickerhamiella nakhonpathomensis
ซึ่งการค้นพบยีสต์ชนิดใหม่นี้ สนับสนุนว่าประเทศไทยมีความหลากหลายทางชีวภาพสูง ยีสต์ที่พบในประเทศไทยเหล่านี้เป็นทรัพยากรจุลินทรีย์ที่มีศักยภาพสำหรับการนำไปใช้ประโยชน์ทางด้านการเกษตรและอาหาร นำไปสู่การจัดการทรัพยากรที่มีอยู่ได้อย่างมีประสิทธิภาพและยั่งยืน สามารถต่อยอดสร้างเป็นผลิตภัณฑ์ใหม่ ๆ เพื่อช่วยแก้ไขปัญหาและส่งเสริมเกษตรกรไทย และยังนำไปต่อยอดเพื่อยกระดับงานวิจัยในระดับอุตสาหกรรมที่สามารถผลักดันให้ประเทศชาติเข้าสู่การพัฒนาเชิงเศรษฐกิจฐานชีวภาพและการเกษตรได้
ยีสต์ชนิดใหม่ของโลกชนิดที่ 1 Metahyphopichia suwanaadthiae ค้นพบจากเห็ดป่าที่เก็บในอำเภออุทุมพรพิสัย จังหวัดศรีสะเกษ (สายพันธุ์ DMKU-MRY16, DMKU-SK18, DMKU-SK25, DMKU-SK30 และ DMKU-SK32), ขุยแมลงจากอำเภอเมือง จังหวัดอำนาจเจริญ (สายพันธุ์ ST-224) และดินจากอำเภอเมือง จังหวัดระยอง (สายพันธุ์ 11-14.2) ทีมวิจัยได้ตั้งชื่อวิทยาศาสตร์ของยีสต์ชนิดใหม่นี้ว่า “Metahyphopichia suwanaadthiae” เพื่อให้เกียรติแด่ ดร.มาลี สุวรรณอัตถ์ ผู้ที่ให้ความสนับสนุนการวิจัยด้านอนุกรมวิธาน ความหลากหลาย และเทคโนโลยีชีวภาพจุลินทรีย์รวมทั้งยีสต์ในประเทศไทยอย่างต่อเนื่องตลอดมา
siamrath.co.th
แนะนำเว็บไซต์ที่เกี่ยวข้อง
หัวข้อลิงก์
การจัดตั้งศูนย์เก็บรวบรวมสายพันธุ์จุลินทรีย์แห่งชาติ moph.go.th
รองประธานกรรมการมูลนิธิ พสวท ipst.ac.th
กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ sut.ac.th
กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ sut.ac.th
ความหลากหลายทางชีวภาพและสิ่งแวดล้อม manager.co.th
มูลนิธิข้าวไทย thairice.org
รายงานยุทธศาสตร์การพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี 207.44.134.110
รายงานยุทธศาสตร์การพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี nstda.or.th
ชี้เทคโนฯ ไทยมีโอกาสก้าวไกล safetybio.com
ข้อมูลนักวิจัย 203.185.131.13
คณะกรรมการ woman leaders network thailand wln2003.info
Key note Food Fermentation as Traditional Knowledge: Emerging doae.go.th
Key note ku.ac.th
Council Members (Chair 1990-2003) SVITA Foundation Thailand approtech.org
ผู้สนับสนุนเว็บจังหวัดลำปาง จำนวน 2 โดเมน lovelampang.com
weblampang.com
Thaiall.com