thaiall logomy background
หลักธรรมาภิบาลของการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี
my town
กรณีศึกษา .. ข่าวดอกเตอร์ปลุกกระแสธรรมาภิบาล 2559 หลังเกิดเหตุ ดอกเตอร์ทำร้ายกันในสถาบันการศึกษา เมื่อเช้า 18 พ.ค.59 และยิงตัวตายเย็น 19 พ.ค.59 จนเป็นเหตุให้ดอกเตอร์เสียชีวิตรวม 3 คน ก็มีการหยิบประเด็นธรรมาภิบาลขึ้นมาพูดคุยในแวดวงการศึกษา เรื่อง หลักธรรมาภิบาล ซึ่งประเด็นนี้เป็นเกณฑ์ประกันคุณภาพการศึกษาระดับอุดมศึกษา ของคณะวิชา และสถาบันสำหรับทุกสถาบันการศึกษา มาตั้งแต่ปี 2553 ตามคู่มือมีตัวบ่งชี้ 7.1 เกณฑ์ที่ 6 หน้า 83 "ผู้บริหารบริหารงานด้วยหลักธรรมาภิบาล โดยคำนึงถึงประโยชน์ของสถาบันและผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย" ส่วนปี 2557 ตามคู่มือมีตัวบ่งชี้ 5.1 เกณฑ์ที่ 4 หน้า 120 และ 142 ของคณะและสถาบันเหมือนกันว่า "บริหารงานด้วยหลักธรรมาภิบาลอย่างครบถ้วนทั้ง 10 ประการที่อธิบายการดำเนินงานอย่างชัดเจน" ซึ่งคะแนนส่วนนี้ ทุกสถาบันการศึกษาได้คะแนนเต็มเกือบทุกสถาบัน

ต่อมา 24 พ.ค.59
พบใน posttoday.com ว่า รศ.ดร.วีรชัย พุทธวงศ์ เลขาธิการศูนย์ประสานงานบุคลากรในสถาบันอุดมศึกษาของรัฐ (CHES) วิเคราะห์ว่า การเสียชีวิตของด็อกเตอร์ทั้ง 3 คน ซึ่งสังคมส่วนใหญ่มองว่าเป็นความขัดแย้งส่วนตัว แต่ในฐานะผู้ทำงานช่วยเหลือบุคลากรในสถาบันอุดมศึกษาของรัฐมานานกว่า 10 ปี เขาเชื่อว่า ต้นตอแท้จริงมาจากระบบการบริหารจัดการที่ขาดหลักธรรมาภิบาล
ต่อมา 25 พ.ค.59
พบใน dailynews.co.th ว่า น.ส.อาภรณ์ แก่นวงศ์ เลขาธิการคณะกรรมการการอุดมศึกษา (กกอ.) เปิดเผยถึงปัญหาธรรมาภิบาลในมหาวิทยาลัยว่า ปัจจุบันหลายมหาวิทยาลัยมีปัญหาธรรมาภิบาล ดูได้จากข้อร้องเรียนต่าง ๆ ทั้งที่เป็นความขัดแย้งระหว่างสภามหาวิทยาลัยกับผู้บริหาร, ผู้บริหารกับบุคลากร หรือเรื่องหลักสูตรการเรียนการสอนไม่มีคุณภาพ แต่หากทุกคนในมหาวิทยาลัยยึดหลักธรรมาภิบาลในการทำงาน ปัญหาก็จะไม่เกิด ซึ่งที่ผ่านมาสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา(สกอ.) ก็พยายามส่งเสริมให้ทุกมหาวิทยาลัยมีธรรมาภิบาล โดยมีทั้งหลักสูตรพัฒนาผู้บริหารมหาวิทยาลัย และบุคลากร แต่ต้องยอมรับว่าเรื่องธรรมาภิบาลเป็นเรื่องบุคคล และการเปลี่ยนแปลงก็ไม่ใช่เรื่องง่าย
กรณีศึกษา .. ใช้ ม.44 แก้ปมมหาวิทยาลัย หัวหน้าแชร์เรื่อง 4 มหาวิทยาลัย ที่เค้าจะใช้ ม.44 เข้าไปแก้ปัญหา น่าสนใจ
They are 4 universities in governance crisis.
1. ม.มหาสารคาม ขัดแย้งอธิการกับสภา ปัญหาสอบทุจริต
2. มรภ.สุรินทร์ สรรหาอธิการ สตง.ชี้มูลความผิด ให้สภาฯ ทบทวน
3. ม.บูรพา สรรหาอธิการ เกิดฟ้องร้องกันไปมา ยังแก้ปัญหาไม่ได้
4. ม.กรุงเทพธนบุรี ขอสอน 200 คน แต่รับจริง 2500 คน
อันที่จริงทั้ง 4 มหาวิทยาลัย มีปัญหาจากผู้บริหาร หรือสภาฯ ขาด คุณธรรมและจริยธรรม ถ้าจัดกิจกรรมโครงการพัฒนาบุคลากรด้านคิดดี ทำดี อะไรอะไรน่าจะดีขึ้น
+ กราฟิกมติชนรายวัน 04.07.16
+ ใช้ม.44 เชือด อธิการบดีม.มหาสารคาม เจ้าตัวชี้เรื่องเก่า แจงแล้ว
+ นักวิชาการ หนุนใช้ ม.44 จัดการเฉพาะมหา’ลัยที่ไร้ธรรมาภิบาล
+ ใช้ ม.44 แน่! ถ้าแก้มหา’ลัยที่ไร้ธรรมาภิบาลไม่ได้
+ ปธ.สภาอาจารย์มมส. ร้องคสช.-บิ๊กหนุ่ย ใช้ม.44ยุบ สภามมส
+ บิ๊กตู่ ใช้ม.44เด้ง71ขรก. ปลัดทท.-อธิบดี-อธิการยันผอ.รพ.-ร.ร. โดนด้วย
หลักธรรมาภิบาล กับ การบริหารที่ดี
หลักธรรมาภิบาล เป็นแนวทางในการบริหารจัดการที่ดี ที่ผู้บริหารสถาบัน/คณะวิชา/หน่วยงานยึดเป็นแนวปฏิบัติก็เชื่อได้ว่าจะมีการพัฒนาคุณภาพและประสิทธิภาพการบริหารจัดการการศึกษาที่ดี ซึ่งเป็นการปกป้องผลประโยชน์ของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียด้านคุณภาพทางวิชาการและเปิดโอกาสให้ทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องมีส่วนร่วมอย่างเสมอภาค
หลักธรรมาภิบาล หมายถึง การปกครอง การบริหาร การจัดการ การควบคุม ดูแลกิจการต่างๆ ให้เป็นไปในครรลองธรรม นอกจากนี้ ยังหมายถึงการบริหารจัดการที่ดี ซึ่งสามารถนำไปใช้ได้ทั้งภาครัฐและเอกชน ธรรมที่ใช้ในการบริหารงานนี้มีความหมายอย่างกว้างขวาง กล่าวคือ หาได้มีความหมายเพียงหลักธรรมทางศาสนาเท่านั้น แต่รวมถึงศีลธรรม คุณธรรม จริยธรรมและความถูกต้อง ชอบธรรมทั้งปวง ซึ่งวิญญูชนพึงมีและพึงประพฤติปฏิบัติ อาทิ ความโปร่งใส ตรวจสอบได้ การปราศจากการแทรกแซงจากองค์การภายนอก เป็นต้น โดย หลักธรรมาภิบาลของการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี (Good Governance) ที่เหมาะสมมี 10 องค์ประกอบ ดังนี้
เอกสารอ้างอิง
สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา (2554). คู่มือการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา ระดับอุดมศึกษา พ.ศ. 2553. กรุงเทพฯ : ห้างหุ้นส่วนจำกัดภาพพิมพ์.
สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา (2558). คู่มือการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา ระดับอุดมศึกษา พ.ศ. 2557. กรุงเทพฯ : ห้างหุ้นส่วนจำกัดภาพพิมพ์.
แนะนำเว็บ (Web Guide)
+ http://www.opdc.go.th/content.php?menu_id=5&content_id=2442
+ http://share.psu.ac.th/blog/mali-km/21131
+ http://qa.bu.ac.th/buqa/index.php/kmqa/51-good-governance
+ http://www.thaiall.com/blog/burin/7452/
+ http://thaiall.blogspot.com/2014/07/blog-post_20.html
+ http://www.dailynews.co.th/education/399997
+ http://www.komchadluek.net/detail/20160408/225496.html
+ http://www.thaiall.com/ethics/
หลักประเด็นชวนคิด
1. หลักประสิทธิผล (Effectiveness) คือ ผลการปฏิบัติราชการที่บรรลุวัตถุประสงค์และเป้าหมายของแผนการปฏิบัติราชการตามที่ได้รับงบประมาณมาดำเนินการรวมถึงสามารถเทียบเคียงกับส่วนราชการหรือหน่วยงานที่มีภารกิจคล้ายคลึงกันและมีผลการปฏิบัติงานในระดับชั้นนำของประเทศเพื่อให้เกิดประโยชน์สุขต่อประชาชน โดยการปฏิบัติราชการจะต้องมีทิศทางยุทธศาสตร์ และเป้าประสงค์ที่ชัดเจน มีกระบวนการปฏิบัติงานและระบบงานที่เป็นมาตรฐาน รวมถึงมีการติดตามประเมินผลและพัฒนา ปรับปรุงอย่างต่อเนื่องและเป็นระบบ
หลักประสิทธิผล
1. วัตถุประสงค์ 
2. เป้าหมาย
3. แผนปฏิบัติการ
4. งบประมาณ
5. หน่วยงานคล้ายกัน
6. หน่วยงานชั้นนำ
7. ทิศทางยุทธศาสตร์
8. เป้าประสงค์
9. กระบวนการปฏิบัติงาน
10. ระบบงานที่เป็นมาตรฐาน
11. ติดตามประเมินผล
12. พัฒนา ปรับปรุง ต่อเนื่อง เป็นระบบ
2. หลักประสิทธิภาพ (Efficiency) คือ การบริหารราชการตามแนวทางการกำกับดูแลที่ดีที่มีการออกแบบกระบวนการปฏิบัติงานโดยใช้เทคนิคและเครื่องมือการบริหารจัดการที่เหมาะสมให้องค์การสามารถใช้ทรัพยากรทั้งด้านต้นทุน แรงงานและระยะเวลาให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อการพัฒนาขีดความสามารถในการปฏิบัติราชการตามภารกิจเพื่อตอบสนองความต้องการของประชาชนและผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทุกกลุ่ม
3. หลักการตอบสนอง (Responsiveness) คือ การให้บริการที่สามารถดำเนินการได้ภายในระยะเวลาที่กำหนด และสร้างความเชื่อมั่น ความไว้วางใจ รวมถึงตอบสนองความคาดหวังหรือ ความต้องการของประชาชนผู้รับบริการ และผู้มีส่วนได้ส่วนเสียที่มีความหลากหลายและมีความแตกต่าง
4. หลักภาระรับผิดชอบ (Accountability) คือ การแสดงความรับผิดชอบในการปฏิบัติหน้าที่และผลงานต่อเป้าหมายที่กำหนดไว้ โดยความรับผิดชอบนั้นควรอยู่ในระดับที่สนองต่อความคาดหวังของสาธารณะ รวมทั้งการแสดงถึงความสำนึกในการรับผิดชอบต่อปัญหาสาธารณะ
5. หลักความโปร่งใส (Transparency) คือ กระบวนการเปิดเผยอย่างตรงไปตรงมา ชี้แจงได้เมื่อมีข้อสงสัยและสามารถเข้าถึงข้อมูลข่าวสารอันไม่ต้องห้ามตามกฎหมายได้อย่างเสรี โดยประชาชนสามารถรู้ทุกขั้นตอนในการดำเนินกิจกรรมหรือกระบวนการต่างๆ และสามารถตรวจสอบได้
6. หลักการมีส่วนร่วม (Participation) คือ กระบวนการที่ข้าราชการ ประชาชนและผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทุกกลุ่มมีโอกาสได้เข้าร่วมในการรับรู้ เรียนรู้ ทำความเข้าใจ ร่วมแสดงทัศนะ ร่วมเสนอปัญหาหรือประเด็นที่สำคัญที่เกี่ยวข้อง ร่วมคิดแนวทาง ร่วมการแก้ไขปัญหา ร่วมในกระบวนการตัดสินใจ และร่วมกระบวนการพัฒนาในฐานะหุ้นส่วนการพัฒนา
7. หลักการกระจายอำนาจ (Decentralization) คือ การถ่ายโอนอำนาจ การตัดสินใจ ทรัพยากร และภารกิจจากส่วนราชการส่วนกลางให้แก่หน่วยการปกครองอื่นๆ (ราชการบริหารส่วนท้องถิ่น) และภาคประชาชนดำเนินการแทนโดยมีอิสระตามสมควร รวมถึงการมอบอำนาจและความรับผิดชอบในการตัดสินใจและการดำเนินการให้แก่บุคลากร โดยมุ่งเน้นการสร้างความพึงพอใจใน การให้บริการต่อผู้รับบริการและผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย การปรับปรุงกระบวนการ และเพิ่มผลิตภาพเพื่อผลการดำเนินงานที่ดีของส่วนราชการ
8. หลักนิติธรรม (Rule of Law) คือ การใช้อำนาจของกฎหมาย กฎระเบียบ ข้อบังคับในการบริหารราชการด้วยความเป็นธรรม ไม่เลือกปฏิบัติ และคำนึงถึงสิทธิเสรีภาพของผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย
9. หลักความเสมอภาค (Equity) คือ การได้รับการปฏิบัติและได้รับบริการอย่างเท่าเทียมกันโดยไม่มีการแบ่งแยกด้าน ชายหรือหญิง ถิ่นกำเนิด เชื้อชาติ ภาษา เพศ อายุ ความพิการ สภาพทางกายหรือสุขภาพ สถานะของบุคคล ฐานะทางเศรษฐกิจและสังคม ความเชื่อทางศาสนา การศึกษา การฝึกอบรม และอื่นๆ
10. หลักมุ่งเน้นฉันทามติ (Consensus Oriented) คือ การหาข้อตกลงทั่วไปภายในกลุ่ม ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียที่เกี่ยวข้อง ซึ่งเป็นข้อตกลงที่เกิดจากการใช้กระบวนการเพื่อหาข้อคิดเห็นจากกลุ่มบุคคลที่ได้รับประโยชน์และเสียประโยชน์ โดยเฉพาะกลุ่มที่ได้รับผลกระทบโดยตรงซึ่งต้องไม่มีข้อคัดค้านที่ยุติไม่ได้ในประเด็นที่สำคัญ โดยฉันทามติไม่จำเป็นต้องหมายความว่าเป็นความเห็นพ้องโดยเอกฉันท์
rspsocial
Thaiall.com