คลาวด์ (Cloud)
คลาวด์ (Cloud)
คลาวด์ (Cloud) # คือ ศูนย์ข้อมูลอินเทอร์เน็ตยุคใหม่ ที่ให้บริการแก่ผู้ใช้ และมีการทำงานแบบเสมือนจริง (Virtualization) แล้วพัฒนาจนสามารถทำงานแบบอัตโนมัติ
องค์กรระดับเล็กและกลาง มักจะมีคลาวด์ส่วนตัว (Private Cloud) ภายในองค์กร โดยติดตั้งเครื่องบริการเครื่องหนึ่งที่สามารถมีหลายโดเมน (Domain) และหลายโฮส (Host) การทำให้มีหลายโฮสหรือโดเมนก็อาจมีหลาย IP ซึ่งบริหารผ่าน DNS และ Firewall และ DMZ ขององค์กร แต่ถ้าต้องการแบ่งทรัพยากรตามปริมาณการใช้งานจริงก็มักใช้โปรแกรม Virtualization แบ่งเป็น Virtual Machine แต่ละเครื่อง
เครื่องบริการที่ไม่ควรไปอยู่ในคลาวด์ คือ Firewall Server, Proxy Server, Log Server, LDAP Server, Credit Card DB Server, WebCAM DB Server
เครื่องบริการที่ควรไปอยู่ในคลาวด์ คือ Web Server, Database Server, Document Server เป็นต้น
ข่าวคำทำนายเกี่ยวกับคลาวด์ Gartner.com ทำนายว่าภายในปี 2020 องค์กรที่ไม่ใช้ Cloud แทบไม่เหลือในโลก ในขณะที่ Hybrid Cloud นั้นก็จะกลายเป็น Cloud ที่มีองค์กรต่าง ๆ ใช้งานมากที่สุด พร้อมทั้งยังได้ทำนายตัวเลขต่างๆ ที่น่าสนใจ ดังต่อไปนี้
- ภายในปี 2019 มากกว่า 30% ของผู้ผลิตที่ใหญ่ที่สุด 100 ราย จะเปลี่ยนรูปแบบการลงทุนจาก Cloud-first กลายเป็น Cloud-only แทน
และระบบ VM (Virtual Machine) ส่วนใหญ่ในโลกจะอยู่กับผู้ให้บริการ Cloud แบบ IaaS
- ภายในปี 2020 พลังประมวลผลขององค์กรจะอยู่บนระบบ Cloud แบบ IaaS และ PaaS มากกว่าภายใน Data Center ขององค์กร
และรายรับรวมของระบบ IaaS และ PaaS จะเติบโตสูงกว่า 55,000 ล้านเหรียญ หรือราว 1.925 ล้านล้านบาท
ข้อมูลจาก http://www.gartner.com/newsroom/id/3354117
ข้อมูลจาก https://www.techtalkthai.com/gartner-predicts-cloud-will-becom-mainstream-by-2020/
นิยามศัพท์ (Terms)
Gartner คือ บริษัทที่ปรึกษาและวิจัยด้านการเทคโนโลยี
Virtual Machine # คือ เครื่องเสมือนจริง ซึ่งปัจจุบันคอมพิวเตอร์เครื่องหนึ่งอาจแบ่งจำลองเป็นเครื่องเสมือนจริงนับร้อยนับพันเปิดให้บริการลูกค้าอยู่ ซึ่งอาจแยกทรัพยากร หรือใช้ทรัพยากรร่วมก็ได้
Private Cloud # คือ ศูนย์ข้อมูลในองค์กรติดตั้งระบบ Virtualization เพื่อใช้ทรัพยากรให้คุ้มค่า
Public Cloud # คือ ศูนย์ข้อมูลที่บริการเป็นสาธารณะมีระบบ Virtualization ให้เชื่อมต่อไปใช้บริการ
Hybrid Cloud คือ การใช้ร่วมกันระหว่าง Public Cloud และ Private Cloud
IaaS (Infrastructure as a Service) คือ Cloud แบบหนึ่ง โดยใช้อุปกรณ์ที่ Outsource ดูแล ทั้ง Storage, Hardware, Server, Network
PaaS (Platform as a Service) คือ Cloud แบบหนึ่ง เป็นการเช่า Hardware, OS, Storage, Network แบบ Virtualize servers
SaaS (Software as a Service) คือ Cloud แบบหนึ่ง เป็นการใช้ Software ผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ตโดยไม่ต้องติดตั้ง หรือบำรุงรักษา
Share a dedicated server คือ เครื่องบริการที่มีการแบ่งทรัพยากรให้กับผู้ใช้บริการรายอื่น
DMZ (Demilitarized zone) คือ เขตปลอดทหารสำหรับติดตั้งเครื่องบริการให้เข้าถึงแบบสาธารณะ ต่างกับเขต LAN ที่อยู่หลัง Firewall
IOPS (Input/Output Operations Per Second) คือ อัตราการรองรับในการอ่านเขียนต่อวินาที ค่านี้ยิ่งสูงยิ่งดี
แหล่งค้นคว้าเพิ่มเติม
+ http://www.onestopware.com/blog/cloud/
+ http://www.it24hrs.com/2015/cloud-computing-and-cloud-definition/
+ https://www.linode.com/linodes (4 other sites hosted on this server)
+ http://whois.domaintools.com/wordpress.com (3,761 other sites hosted on this server )

+ เมื่อไปใช้บริการ คลาวด์ (Cloud) มักมีสิ่งต่อไปนี้ให้เลือก
- OS
- Harddisk Type
- Volume Size
- RAM Size
- IOPS Performance
- Location
บริการคลาวด์ (Cloud Service)
+ Dropbox.com # บริการสำหรับผู้ใช้ระดับบุคคล ฟรี
Dropbox คือ บ้านสำหรับรูปภาพ เอกสาร วิดีโอ และไฟล์ทั้งหมดของคุณ ทุกสิ่งที่คุณเพิ่มใน Dropbox จะปรากฏโดยอัตโนมัติบน คอมพิวเตอร์ โทรศัพท์ และแม้แต่ เว็บไซต์ Dropbox คุณจึงสามารถเข้าถึงข้อมูลของคุณได้จากทุกที่

+ Google Docs บริการสำหรับผู้ใช้ระดับบุคคล ฟรี และสามารถทำงานร่วมกับเพื่อนร่วมงานผ่านคลาวด์ได้
สร้างและแก้ไขเอกสารข้อความได้ในเบราว์เซอร์ของคุณ ไม่จำเป็นต้องมีซอฟต์แวร์เฉพาะ ผู้ใช้หลายคนสามารถทำงานในเวลาเดียวกัน และการเปลี่ยนแปลงทุกอย่างจะได้รับการบันทึกโดยอัตโนมัติ

+ One Drive บริการสำหรับผู้ใช้ระดับบุคคล ฟรี และสามารถทำงานร่วมกับเพื่อนร่วมงานผ่านคลาวด์ได้
เข้าถึงไฟล์ของคุณจากที่ใดก็ได้ในทุกอุปกรณ์ด้วย Microsoft OneDrive แชร์และทำงานร่วมกับผู้อื่นได้ทั้งในเรื่องงานและชีวิตประจำวัน

+ http://trueidc.com/trueidcshare/th มี ค่าใช้จ่ายตามที่ใช้งานจริง
+ https://en.wikipedia.org/wiki/Cloud_computing
+ http://cloud-services-review.toptenreviews.com/
การทำคลาวด์ในองค์กร (itinlife561)

การประมวลผลแบบคลาวด์ หรือคลาวด์คอมพิวติ้ง (Cloud Computing) คือ บริการที่ครอบคลุมถึงการให้บริการประมวลผล หน่วยจัดเก็บข้อมูล และระบบสื่อสารจากผู้ให้บริการ เพื่อลดขั้นตอนการติดตั้ง ดูแล และต้นทุน ปัจจุบันมีผู้ให้บริการ และได้รับความนิยมจากองค์กรอย่างมาก ซึ่งคลาวด์มีหลายแบบให้เลือกใช้ทั้งแบบสร้างในองค์กร สร้างใช้ภายนอกองค์กร หรือผสมผสาน แล้วมีให้เลือกได้แก่ IaaS, Paas หรือ SaaS ถ้าเป็นองค์กรที่ใหญ่มีหน่วยงานด้านไอทีที่มีดาต้าเซ็นเตอร์ของตนเอง มีหน่วยงานหลายหน่วยงานที่ต้องการทรัพยากรเป็นส่วนตัวของตนเอง และต้องการความปลอดภัยสูง ก็เลือกได้ว่าจะสร้างคลาวด์ในองค์กรของตนเองหรือไม่

การสร้างคลาวด์ส่วนตัว (Private Cloud) สำหรับใช้ในองค์กร สามารถใช้ซอฟต์แวร์ได้หลายค่าย อาทิ Open Stack ซึ่งทำงานบน Linux และมีการจัดอบรมโดย ITBakery ใช้เวลาอบรม 4 วัน ค่าใช้จ่าย 18900 บาทต่อหลักสูตร แล้วยังมีซอฟต์แวร์ที่สร้างคลาวด์จากหลายค่ายที่น่าสนใจ อาทิ Hyper-V ของ Microsoft, vSphere ของ VMware, Virtual Box ของ Oracle, Cloud Burst ของ IBM, Xenserver ของ Xen โดยซอฟต์แวร์กลุ่ม Hypervisor แต่ละตัวก็จะมีจุดเด่นแตกต่างกันไป โดยเน้นไปที่การทำให้เครื่องบริการหนึ่งเสมือนถูกแบ่งเป็นหลายเครื่องให้กับหลายองค์กรในองค์กรได้ใช้งานอย่างปลอดภัย และเป็นอิสระต่อกัน

การใช้บริการคลาวด์สาธารณะ (Public Cloud) เป็นตัวเลือกขององค์กรขนาดเล็กที่เปิดใหม่ เพราะประหยัดงบประมาณ และใช้งานตามเป้าหมายที่สอดคล้องกับบริการคลาวด์ ส่วนองค์กรขนาดใหญ่มักใช้บริการคลาวด์ลูกผสม (Hybrid Cloud) เพราะเลือกนำข้อมูลที่เผยแพร่หรือใช้ร่วมกันระหว่างหน่วยงานเข้าใช้ทรัพยากรในคลาวด์สาธารณะ แต่ข้อมูลที่ต้องการความปลอดภัยสูงก็จะเลือกใช้คลาวด์ส่วนตัว เพราะมีกฎเกณฑ์ข้อบังคับที่ไม่อนุญาตให้นำข้อมูลไปเก็บไว้นอกองค์กร แม้นักคอมพิวเตอร์จะยืนยันว่าการส่งข้อมูลลับเฉพาะเข้าไปในคลาวด์ของผู้ให้บริการ ว่าจะได้รับการดูแลเรื่องความปลอดภัยอย่างเต็มที่ก็ตาม การเติบโตของคลาวด์เป็นกระแสที่หยุดไม่อยู่ เพราะมีข้อดีมากมาย และยืดหยุ่นที่ตอบโจทย์องค์กรได้ทุกระดับ

แหล่งอ้างอิง
https://www.blognone.com/node/42762
http://www.slideshare.net/lersmethasakul/e-government-cloud-service
http://www.it24hrs.com/2015/cloud-computing-and-cloud-definition/
http://thaiopensource.org/tag/openstack/
http://libdoc.dpu.ac.th/thesis/156179.pdf
https://www.2beshop.com/what-VMware-vSphere.php
http://www.saranitus.com/2014/05/how-to-enable-hyper-v-feature-in-windows-8-1.html
http://www.thaiall.com/blog/burin/5619/
ทางเลือกในการเก็บข้อมูลปริมาณมาก
ทางเลือกที่ 1 Solid State Drive : SSD
Apacer AS330
SATA III 6Gb/s
ขนาด 120 GB
Read Up to 495 MB/s Write Up to 385 MB/s
ราคาเก็บต่อ 1 GB คิดต่อหน่วยได้ 1720/120GB = 14.33 บาทต่อGB
ราคา 1720 บาท
+ https://www.advice.co.th/product/solid-state-drive-ssd-/apacer/120-gb-ssd-apacer-as330-ap120gas330-1-

ทางเลือกที่ 2 เทป backup ของ imation รุ่น LTO-6
เป็น Backup Cartridge Ultrium
เก็บธรรมดา ได้ 2.5TB บีบอัดได้ 6.25 TB
ราคาเก็บปกติต่อ 1 GB คือ 2.5TB * 1024= 2560 GB คิดต่อหน่วยได้ 4200 / 2560 = 1.64 บาทต่อ GB
ราคาเก็บบีบอัด ต่อ 1 GB คือ 6.25TB * 1024= 6400 GB คิดต่อหน่วยได้ 4200 / 6400 = 0.65 บาทต่อ GB
ราคา 4,200 บาท
ความเร็วในการอ่าน 400MB/sec (บีบอัด)
+ http://www.scts.co.th/catalog/product_info.php?products_id=3711

ทางเลือกที่ 3 แผ่น DVD 4.7
เป็นแผ่น DVD-R 16x
ความจุ 4.7 GB * 50 แผ่น = 235 GB
ราคาเก็บต่อ 1 GB คิดต่อหน่วยได้ 160/235GB = 0.68 บาทต่อGB
ราคา 160 บาท
+ http://www.buyprinco.com

ทางเลือกที่ 4 Flash drive
ขนาด 32 GB
ราคาเก็บต่อ 1 GB คิดต่อหน่วยได้ 320/32GB = 10 บาทต่อ GB
ราคา 320 บาท
+ https://www.advice.co.th/product/flash-drive/mobile-flash-drive-dual-usb-drive/32gb-kingston-dtduo3-

ทางเลือกที่ 5 Internal Harddisk
Toshiba รุ่น DT01ACA100
Buffer size 32 MByte
ขนาด 1TB = 1024GB ขนาด 3.5 นิ้ว
interface SATA 6.0 GB/S
ราคาเก็บต่อ 1 GB คิดต่อหน่วยได้ 1570/1024GB = 1.53 บาทต่อGB
ราคา 1570 บาท
+ https://www.advice.co.th/product/harddisk-for-pc/hard-disk-pc-sata-iii/1-tb-sata-iii-toshiba-32mb-

ทางเลือกที่ 6 External Harddisk
HDD SEAGATE BACKUP PLUS
USB 3.0 ขนาด 3.5นิ้ว
ขนาด 4TB = 4096GB
ราคาเก็บต่อ 1 GB คิดต่อหน่วยได้ 5590/4096GB = 1.36 บาทต่อGB
ราคา 5590 บาท
+ https://www.jib.co.th/web/index.php/product/readProduct/13384/40/index.html

ทางเลือกที่ 7 Dropbox for business
ขนาด 1TB
ราคาเก็บต่อ 1 GB คิดต่อหน่วยได้ 3000/1024GB = 2.92 บาทต่อGB
ราคา $99 = 3000

ทางเลือกที่ 8 FreeNAS Mini และ My Cloud EX4
ขนาด 8 TB = 1024 * 8 = 8192 GB
$2,249 for 24TB
ราคาเก็บต่อ 1 GB คิดต่อหน่วยได้ 21000/8192GB = 2.56 บาทต่อGB
$700 for 8TB
ราคา $700 = 21000 บาท

ทางเลือกที่ 9 Big Query กับ google cloud
ใช้เยอะก็จ่ายเยอะ
เก็บ 1 TB = 1024GB
1 TB for a full month, you pay $20
ราคาเก็บต่อ 1 GB คิดต่อหน่วยได้ 600/1024GB = 0.5 บาทต่อ GB ต่อเดือน
ราคา $20 = 600 บาทต่อเดือน
+ https://cloud.google.com/bigquery/pricing#storage

ทางเลือกที่ 10 Big Data Cloud Service – Starter Pack
Oracle Cloud
6 nodes with 32 OCPUs per node
256 GB RAM and 48 TB storage per node
ความจุ 6 node * 48TB = 288TB * 1024 = 294912 GB
ราคาเก็บต่อ 1 GB คิดต่อหน่วยได้ 864000/294912GB = 2.93 บาทต่อGBต่อเดือน
ราคา $28800 ต่อเดือน = 864,000 บาทต่อเดือน
—
ซื้อเพิ่ม $4800 ต่อ node ต่อเดือน แต่ต้องซื้อครั้งละ 6 nodes
+ https://cloud.oracle.com/bigdata
+ http://www.thaiall.com/blog/burin/7416/


"Imagination is more important than knowledge" - Albert Einstein
http://goo.gl/72BPC