thaiall logomy background
ภาษาคลิ๊ปเปอร์ : Clipper
my town
CLIPPER 5 for DOS (wikipedia.org) $199
คลิ๊ปเปอร์ (Clipper) คือ ภาษาโปรแกรมคอมพิวเตอร์ ถูกใช้เพื่อสร้างโปรแกรมซอฟท์แวร์ ซึ่งถูกพัฒนาให้ทำงานบนระบบปฏิบัติการดอส แม้เป็นภาษาที่มีความสามารถพัฒนางานได้หลายวัตถุประสงค์ แต่ก็นิยมใช้สำหรับพัฒนาระบบฐานข้อมูลทางธุรกิจ ภาษา Nantucket Clipper เป็นตัวแปลภาษาสำหรับ DBase เปิดตัววันที่ 25 พฤษภาคม พ.ศ.2528 และพัฒนาไปถึง CA Clipper 5.3b เปิดตัววันที่ 20 พฤษภาคม พ.ศ.2540
ผมศึกษาเรื่อง Clipper เพื่อเตรียมสอน ระหว่างปี 2539 - 2544 เพราะเคยเรียนตั้งแต่ป.ตรี พอสำเร็จการศึกษา ก็มีโอกาสรับผิดชอบ ให้สอน Clipper(BCOM 402) มาเกือบทุกปี (2539/1 - 2544/1 = 6 ปี) จึงได้เขียนเอกสารประกอบการสอน และเป็นผลงานสำหรับขอตำแหน่งทางวิชาการ โดยปรับปรุงหลายครั้ง ส่วนการนำมาใช้สอนในเว็บ thaiall.com ก็มีอยู่บ้าง ดังเมนูด้านล่าง (ปัจจุบันลามือไปแล้วครับ)
    ประสบการณ์ที่บันทึกไว้
  1. การสร้างศูนย์สอบแบบตรวจทันที
    - เป็นการใช้ clipper สร้างข้อสอบแบบ Offline + Javascript
  2. เกมตอบคำถามรุ่น 3.2001 ที่ใช้ Javascript + exe + dbf
  3. Source : clbookcode.zip 42 Kb รวม .prg .ntx .dbf ให้นำไปศึกษา
  4. Document : clbookdoc.zip 471 Kb รวม .doc เรียบเรียงลงหนังสือ Clipper
  5. Compiler : Clipper5 บน DOS ที่ใกล้สูญพันธ์ ตัวนี้คือ 5.01
    - ปัจจุบันออก CA-Clipper 5.3 for win ผมยังใช้บน DOS อยู่เลย
  6. ผลการขอตำแหน่งทางวิชาการครั้งแรก
    - แต่ยังไม่ได้ (ครั้งที่สองใช้คณิตศาสตร์คอมพิวเตอร์ ครั้งที่สามใช้ระบบปฏิบัติการ)
    - มาได้ตำแหน่งตอนขอครั้งที่ 4 ด้วยระบบปฏิบัติการ กับภาษาโคบอล ต้นปี 2549
พบโปรแกรมที่พัฒนาด้วย Clipper [49-07-14]
โปรแกรมบริหารงาน คลีนิค (Medinfo)
โดย คุณศุภวัตร วงค์ชัย [supawatck@hotmail.com]
Download : cksoft.phpnet.us หรือ thaiware.com
รายละเอียดที่ : thaiware.com

สำหรับ โปรแกรมนี้เป็นโปรแกรมพัฒนาโดยภาษา Clipper Complier สำหรับคลินิกแพทย์ / พยาบาล ประกอบด้วย 4 โปรแกรมย่อย เพื่องานบริการที่สะดวก รวดเร็วและสามารถสรุปรายงานต่างๆ ตามที่ต้องการ (รองรับระบบเครือข่าย ) ทำงานภายใต้ระบบ Text mode (MS-Dos) โดยได้พัฒนาเพื่อรองรับระบบเครือข่าย (Network) อีกด้วย ฉะนั้น จึงสามารถใช้ได้ทั้ง ทั้งระบบเครือข่ายและระบบเครื่องเดียว (แนะนำให้ใช้ระบบเครือข่าย ตั้งแต่ 2 เครื่องขึ้นไป) .

1. เวชระเบียน :
- ลงประวัติใหม่ และ ลบทะเบียนประวัติ ( +,-,Enter )
- ค้นประวัติเก่า โดย ค้นจาก HN, Name, LastName
- ส่งตรวจ เพื่อการวินิจฉัยและรักษา (Spacebar )
- บันทึกอาการ/อาการาแสดง ( V )
- เรียกดูประวัติการรักษา และพิมพ์ประวัติ ( O )
- พิมพ์ OPD Card ( F2 )
2. การรักษา
- ค้นหา โดย HN,TXN ( H,T)
- วินิจฉัยโรค ( Enter) - รายการ Drug ( 1)
- พิมพ์ สติคเกอร์, จ่ายยาเดิม ,กลุ่มยาสั่งบ่อย
- รายการ Lab & Xray ( 2 )
- รายการอื่นๆ ( 3 )
- ดูประวัติเดิม ( O )
- เก็บเงินจริง ( P )
- พิมพ์รายละเอียดโรค/สุขศึกษา ( S )
3. จัดการระบบ
4. ระบบรายงาน


ต.ย. รับค่าเก็บลงอาเรย์แล้วหาค่าสูงสุด
ar = array(5)
max = 0
for i = 1 to 5
accept to ar[i]
next
for i = 1 to 5
if (val(ar[i]) > max)
max = val(ar[i])
endif
next
? max
ต.ย. Code อ่านข้อมูลจาก .dbf ไปพิมพ์ที่เครื่องพิมพ์
use empl
set device to printer
i = 0
while !eof()
i++
@ i,10 say str(empl)+name+surn
skip
end
eject
set device to screen

ไอทีในชีวิตประจำวัน # 285 รำลึกอดีตกับคลิ๊ปเปอร์ (540317)
ในวิวัฒนาการของคอมพิวเตอร์ มีตัวแปลภาษาโปรแกรมคอมพิวเตอร์ถูกพัฒนาขึ้นมากมาย ภาษาคอมพิวเตอร์ในยุคที่ 3 คือภาษาระดับสูง (High-Level Languages) ยังเป็นการเขียนโปรแกรมต้นฉบับ (Source Code) ที่ต้องอาศัยทักษะค่อนข้างมาก อาทิ COBOL, FORTRAN, BASIC, PASCAL, C, Foxpro, DBase หรือ Clipper เริ่มมีตัวแปลภาษาเพื่อตรวจสอบความผิดพลาดของรหัสต้นฉบับก่อนนำไปประมวลผลจริง การปรับปรุงแฟ้มข้อมูลในสื่อโบราณ อาทิ เทปกระดาษ หรือเทปแม่เหล็ก ยังใช้หลักการประมวลผลแบบตามลำดับในการประมวลผล ภาษายุคต่อมาทำให้การพัฒนาทางซอฟท์แวร์เป็นไปอย่างก้าวกระโดด เพราะสามารถใช้คำสั่ง SQL ในการจัดการข้อมูล เริ่มรองรับการพัฒนาแบบโมดูล มีภาษาใหม่เกิดขึ้นอย่างหลากหลาย
ภาษาคอมพิวเตอร์ที่ต้องเขียนรหัสต้นฉบับ แล้วนำไปแปลให้ได้โปรแกรมที่นำไปประมวลผลได้ทันที ใช้โครงสร้างภาษาของ DBase ใช้แฟ้มข้อมูล Dbase ก็มีภาษาคลิ๊ปเปอร์ (Clipper) ที่ได้รับความนิยมอีกภาษาหนึ่ง การพัฒนาตัวแปลภาษาก้าวกระโดดไปพร้อมกับการพัฒนาระบบปฏิบัติการ ทำให้ผู้พัฒนานิยมเลือกใช้ภาษาที่มีความสามารถทางกราฟฟิก มีความสามารถเชิงวัตถุ จัดการกับข้อมูลได้ง่ายด้วยคำสั่ง SQL และทำงานอย่างมีประสิทธิภาพบนโปรแกรมจัดการฐานข้อมูลรุ่นใหม่ จึงกล่าวได้ว่าภาษาคลิ๊ปเปอร์พ่ายแพ้ในตลาดตัวแปลภาษาไปพร้อมกับระบบดอส และดีเบส หลังการแข่งขันกับตัวแปลภาษายุคใหม่ที่เน้นด้านกราฟฟิก และการโปรแกรมเชิงวัตถุ
มีสองกรณีที่ผู้เขียนได้ติดต่อกับเพื่อนนักพัฒนาเมื่อไม่กี่วันที่ผ่านมา ท่านแรกเปลี่ยนสายงานและไปทำงานในต่างประเทศ ไม่นานมานี้ได้มีโอกาสได้จับภาษาคลิ๊ปเปอร์อีกครั้ง ซึ่งท่านสอบถามถึงตัวแปลภาษาเพื่อนำไปใช้พัฒนาโปรแกรมหลังทิ้งไปแล้วหลายปี อีกท่านหนึ่งพบปัญหาการส่งข้อมูลให้โปรแกรมประมวลผล แล้วประมวลผลไม่ถูกต้อง ซึ่งโปรแกรมถูกใช้ต่อเนื่องมาแล้วหลายปี การพัฒนาโปรแกรมใหม่ก็เป็นไปไม่ได้ เพราะผู้พัฒนาย้ายหน่วยงานไปแล้ว ภาษาคลิ๊ปเปอร์จะใช้คำสั่งเลือกข้อมูลแบบเดิม ถ้ากำหนดเงื่อนไขไม่ครอบคลุมแบบของข้อมูลก็ต้องพิจารณาเลือกป้อนข้อมูลที่ผ่านการคัดกรองอย่างดีก่อนส่งเข้าไปประมวลผล มิเช่นนั้นก็จะประมวลผลผิดพลาด ยังมีองค์กรอีกมากที่ยังใช้โปรแกรมรุ่นเก่า มิได้ไล่ตามเทคโนโลยี ถ้าโปรแกรมที่เคยใช้ยังใช้ได้ก็ยังใช้ต่อไป แต่ถ้าเกิดปัญหาก็ต้องแก้ไขไปตามอาการ เพื่อให้กระบวนการทำงานไหลลื่นต่อไป
สารบัญจากหนังสือ clipper ของผม
บทที่ 1 สิ่งที่ควรรู้เกี่ยวกับ CLIPPER
1.1 CLIPPER คืออะไร (WHAT IS CLIPPER?)
1.2 การสร้างโปรแกรม (SOURCE CODE)
1.3 การแปลโปรแกรม (COMPILING)
1.4 การตั้งชื่อตัวแปร และคำสงวน (VARIABLE AND RESERVED WORD)
1.5 เครื่องหมายต่าง ๆ (OPERATION AND SIGN)
1.6 การใช้โปรแกรม DBU (Database Utility)
1.7 Website ที่ให้ข้อมูลเกี่ยวกับ Clipper
บทที่ 2 คำสั่ง (COMMAND) 103 คำสั่ง
2.1 คำสั่ง ? ถึง 2.103 คำสั่ง ZAP
บทที่ 3 ฟังก์ชัน (FUNCTION) 194 ฟังก์ชัน
3.1 ฟังก์ชัน AADD( ) ถึง 3.194 ฟังก์ชัน YEAR( )
บทที่ 4 หลักการพื้นฐานในการเขียนโปรแกรม
4.1 ศึกษาการทำซ้ำด้วยพีระมิด
4.2 สูตรคูณและการคำนวณ
4.3 การอ่านข้อมูลมาพิมพ์
4.4 การแต่งจอภาพอย่างง่าย
4.5 การเขียนเมนู
4.6 การเชื่อมแฟ้ม 2 แฟ้ม
4.7 การสร้างเสียง
4.8 โปรแกรมข้อสอบ
4.9 การปรับปรุงข้อมูล
บทที่ 5 กรณีศึกษาระบบงานทะเบียน
5.1 ศึกษาความต้องการ
5.2 โครงสร้างข้อมูล
5.3 วิเคราะห์ระบบงานเบื้องต้น
5.4 โปรแกรมในระบบงานทะเบียน
บทที่ 6 กรณีศึกษาระบบงานขาย และสินค้าคงคลัง
6.1 ศึกษาความต้องการ
6.2 โครงสร้างข้อมูล
6.3 วิเคราะห์ระบบงานเบื้องต้น
6.4 โปรแกรมในระบบงานขาย และสินค้าคงคลัง
ภาคผนวก บรรณานุกรม
e-Book
- chap0.pdf
- chap1.pdf
- chap21.pdf
- chap22.pdf
- chap31.pdf
- chap32.pdf
- chap4.pdf
- chap5.pdf
- chap6.pdf

แผนการจัดการเรียนรู้
- plan402a.pdf
- plan402b.pdf
พบโปรแกรม THO : http://www.moph.go.th/download/tho/index.htm
ความหมาย
โปรแกรมระบบฐานข้อมูลสถานีอนามัย (THO) พัฒนาขึ้นจาก Clipper 5.2 และ R-Clip Library (ของ นพ.ชุษณะ มะกรสาร) เพื่อใช้สำหรับบริหารจัดการฐานข้อมูลในสถานีอนามัย ได้แก่งานการให้บริการรักษาทั่วไป งานอนามัยแม่และเด็ก งานวางแผนครอบครัว รวมทั้งงานการติดตามให้บริการด้านสาธารณสุขในชุมชน
โปรแกรม THO ทำงานภายใต้ระบบปฏิบัติการ Dos Version 5.0 ขึ้นไป บนไมโครคอมพิวเตอร์ (PC) ที่ใช้หน่วยประมวลผล (CPU) ตระกูล X86 โดยมีหน่วยความจำหลัก(RAM)ไม่น้อยกว่า 4 MB และพื้นที่ว่างบนHarddisk ไม่น้อยกว่า 50 MB
    การติดตั้งโปรแกรมฯ
    ชุดติดตั้งโปรแกรมฯ ประกอบด้วยแผ่น Diskkette ขนาด 3.5" จำนวน 2 แผ่น (Disk1 และ Disk2) โดยมีขั้นตอนวิธีการติดตั้ง ดังนี้
  1. ใส่แผ่นติดตั้งฯ แผ่นที่ 1 (Disk1) ลงใน Drive A:
  2. ที่Command Pormpt (C:>) ให้เปลี่ยน Directory ไปที่ A: (C:>CD A: เคาะ Enter )
  3. ที่ A:> พิมพ์คำสั่ง Install (A:>Install ) แล้วเคาะ Enter เพื่อเริ่มทำการติดตั้ง ( ห้ามสั่ง Install จาก Drive C: ( C:>A:Install ) )
  4. ใส่แผ่นติดตั้งแผ่นที่ 2 (Disk2) เมื่อโปรแกรมติดตั้งมีข้อความแจ้งเตือน
  5. สำหรับเครื่องที่ใช้ Win 95 / 98 นั้น จะต้อง Boot ในโหมด Command Pormpt Only
    หมายเหตุ
  1. สำหรับไฟล์ชุดติดตั้งโปรแกรมฯที่ดาวน์โหลดจากเวบไซด์ของกระทรวงสาธารณสุข จำนวน 2 ไฟล์(disk1.zip และ disk2.zip) ซึ่งอยู่ในรูปของ Zip File นั้น จะต้องทำการกระจาย (Extract) Zip File ทั้ง 2 แล้ว Copy File ทั้งหมดลงใน Diskkette แผ่นที่ 1 และ 2 ตามลำดับ จากนั้นจึงทำการติดตั้งฯ ตามขั้นตอนดังกล่าวข้างต้น ต่อไป
  2. คู่มือการใช้งานโปรแกรมTHO จะอยู่ในรูปของ Zip File เช่นกันคือ MANUATHO.ZIP (เป็น MS Word Document File Ver.95) ซึ่งสามารถดาวน์โหลดได้จาก Location เดียวกันนี้

ติดต่อได้ที่ e-mail: ratana@health.moph.go.th
พบหนังสือในห้องสมุด ของ มหาวิทยาลัยนเรศวร
rspsocial
Thaiall.com