ตำบลมายา ตำบลในฝัน ตำบลในอุดมคติ ในยุคอินเทอร์เน็ต
เว็บเพจสำรอง (Backup Webpages) : thaiabc.com | thaiall.korattown.com | perlphpasp.com | thaiall.com
ปรับปรุง : 2549-03-13 (แก้ที่ล้าสมัย)
ตำบลมายา ตำบลในฝัน ตำบลในอุดมคติ
ตำบลที่ผมคาดหวัง ในยุคอินเทอร์เน็ต
คำถามที่ต้องการคำตอบจากผู้อ่านคือ บทความนี้มีตัวละคนใด ทำหน้าที่อะไร และแต่ละ para ต้องการสื่ออะไร
Para 1 
เพราะอินเทอร์เน็ต คือช่องทางที่คนทั้งโลกใช้สื่อสารกันอย่างมีประสิทธิภาพ จากทุกที่ทุกเวลา ไม่นานมานี้ นายก อบต. ชื่อ ชาต ของตำบลมายา ควักเงินส่วนตัว 500 บาทจ่ายเป็นค่า domain name ชื่อ maya.com โดยเลือกจด domain name แบบ redirect ให้ชี้ไปที่ http://www.se-ed.net/thaiall ลูกชายที่เรียนอยู่ ป.6 จากโรงเรียนในอำเภอเมือง ได้ร่ำเรียนการเขียนเว็บเพจมา ได้อาสาจด domain name และพัฒนาเว็บไซต์ให้ โดยจ่ายเงินจากตู้ ATM หน้าโรงเรียน ให้กับ เจ้าของเว็บไซต์ใดเว็บไซต์หนึ่งต่อไปนี้ 24works.com jotdomain.com topsiam.com หรือ domainatcost.com เป็นต้น

Para 2 
นักพัฒนาเว็บไซต์คนแรกที่ทำเว็บไซต์ให้ตำบลมายาคือ น้องนนท์ ลูกชายของนายชาต โดยใช้โปรแกรม Dream ร่วมกับ Swish สำหรับเนื้อหาหลักของเว็บไซต์มี 3 เรื่องคือ ข้อมูลสมาชิก อบต. ข้อมูลการท่องเที่ยว และภาพสวย ๆ ในตำบล น้องนนท์ได้รับกล้อง digital ราคา 1000 กว่าบาท จากคุณพ่อ ทำให้การเก็บภาพสวย ๆ ในตำบล เป็นเรื่องสนุกร่วมกับเพื่อน ๆ ในหมู่บ้านอีก 2 - 3 คน แม้นายชาตจะไม่เข้าใจอย่างถ่องแท้ ว่าการทำเว็บไซต์ตำบลนั้นได้อะไร แต่ก็เชื่อว่าเรื่องนี้เป็นเรื่องที่ควรทำ เพราะนายกรัฐมนตรีคนปัจจุบันก็ยังสนับสนุน thaitambon.com

Para 3 
เมื่อเวลาผ่านไปน้องนนท์ต้องไปเรียนต่างจังหวัด จึงไม่สะดวกที่จะพัฒนาเว็บไซต์ต่อ ประกอบกับน้องบอยเพื่อนข้างบ้านรุ่นเดียวกัน มีธุรกิจทำเทียนหอมส่งออก ซึ่งเป็นสินค้า นตผ.(OTOP : One Tambon One Product) และอาสาพัฒนาเว็บไซต์ของตำบลมายาต่อจากน้องบอย โดยเพิ่มบริการด้านการรับเงินเข้าไปในเว็บไซต์ ด้วยการใช้บริการของ thaiepay.com หรือ thailandpay.com มาบริการรับชำระเงินผ่านบัตรเครดิต เพื่อซื้อสินค้าของสมาชิกในตำบล แต่การใช้พื้นที่ของ thai.net ไม่สะดวกเรื่องความปลอดภัย และการ upload แฟ้มจำนวนมาก น้อยบอยจึงไปขอรับการสนับสนุน จากกำนันแอ๋ว ซึ่งเป็นเจ้าของธุรกิจเซรามิกรายใหญ่ จึงได้เงินมาจ่ายค่า host ใหม่ปีละ 1500 บาท น้องบอยใช้เวลาไม่นานก็ทำให้ตำบลมายา อยู่ในอันดับต้น ๆ ของเว็บตำบลระดับประเทศ เพราะมีข้อมูลด้านการท่องเที่ยว และ e-Commerce ที่เป็นรูปธรรม เช่น เทียนหอม ข้าวแต๋นน้ำลำใย ชามเซรามิคส์ และไม้แกะสลัก เป็นต้น
องค์ประกอบของ e-Commerce
1. ผู้ซื้อ (Client หรือ Customer)
2. ผู้ขาย (Merchant)
3. ระบบชำระเงิน (Bank)
4. ระบบขนส่ง (Transportation)

Para 4 
เมื่อน้องบอยเรียน ม.3 กำนันคนใหม่ก็เข้ามารับตำแหน่ง ถึงเวลาต้องต่ออายุ web hosting ประจำปี แต่กำนันคนใหม่ไม่สะดวกที่จะสนับสนุน โชคดีที่โรงเรียนของน้อยบอยมี web server ของตนเอง น้องบอยจึงขออาจารย์พัฒน์ ใช้พื้นที่ของโรงเรียน เก็บข้อมูลของตำบลมายา การได้พื้นที่(Web Space) 100 MB ทำให้สามารถเก็บข้อมูลได้มากขึ้น และกำหนด Data Transfer ให้ 3 GB แต่มีผู้หวังดีหลายท่านให้ข้อเสนอแนะข้อมูลในเว็บไซต์ตำบลมายา ยังไม่ลึกพอ น้องบอยก็ยอมรับ เพราะเขาเป็นเพียงนักเรียนที่มีเวลาทำเว็บไซต์เฉพาะตอนกลางคืนเท่านั้น และการได้ข้อมูลจากที่ทำการตำบลก็ไม่ง่ายนัก เพราะเขาก็ไม่รู้ว่าข้อมูลอะไรที่ควรใส่ไปในเว็บไซต์

Para 5 
ลักษณ์เป็นเจ้าหน้าที่คนใหม่ของตำบล สำเร็จการศึกษาด้านคอมพิวเตอร์ ที่จะมาดูแลเว็บไซต์ แทนบอยที่ต้องไปเรียนต่างจังหวัด ภาระที่รออยู่คือ พัฒนาเว็บไซต์ พัฒนาฐานข้อมูล และดูแลระบบเครือข่าย ของที่ทำการตำบลมายา เพราะ web server ของโรงเรียนล่ม ลักษณ์จึงย้ายข้อมูลทั้งหมดไปเก็บยัง Web server ของบริษัทเอกชนแห่งหนึ่ง แบบไม่เสียค่าใช้จ่ายเช่นกัน เพราะเพื่อนที่ชื่อเสริม เป็นคนตำบลมายาเช่นกัน ได้เช่าพื้นที่ทำเว็บประชาสัมพันธ์บริษัท แต่ยังมีพื้นที่เหลือใช้อีกมาก จึงยินดีให้ลักษณ์นำข้อมูลของตำบลมาฝากไว้ได้ การจด domain name แบบ redirect หรือ URL forwarding (Uniform Resource Locator) ทำให้การย้าย server ทำได้สะดวก ทุกครั้งที่มีการย้าย server จึงไม่ส่งผลกระทบต่อ maya.com การดูแลอย่างต่อเนื่อง ทำให้ตำบลอยู่ใน 10 อันดับแรกของเว็บตำบลที่มีคนเข้าชมมากที่สุด เมื่อจัดอันดับโดย truehits.net

Para 6 
ประเทศไทยมีการตื่นตัวเรื่องเทคโนโลยีสารสนเทศภาครัฐมากขึ้น มีการทำ website รวมข้อมูลตำบล จากหน่วยงานต่าง ๆ เช่น thaitambon.com siamvillage.net และ khonthai.com เป็นต้น แต่การรอความช่วยเหลือจากเว็บไซต์เหล่านั้น ซึ่งมีบุคลากรเพียงไม่กี่คน ที่ต้องรับผิดชอบตำบลหลายพันตำบล คงเป็นเรื่องที่ไม่ง่ายนัก เมื่อมีเจ้าหน้าที่จากเว็บไซต์ต่าง ๆ มาขอข้อมูล ลักษณ์ก็รวบรวมส่งให้อย่างครบถ้วน แต่ไม่สะดวกที่จะปรับปรุงข้อมูลในเว็บเหล่านั้นให้ทันสมัยตลอดเวลา สำหรับเว็บไซต์ตำบลมายาเอง ก็มีข้อมูลที่ต้องปรับปรุง บ่อยครั้งที่ไม่ได้ convert ให้อยู่ในแบบ .htm แต่นำเสนอในแบบ .pdf .doc และ .xls แม้จะรู้ว่าผู้ที่นำข้อมูลไปใช้อาจพบปัญหาบ้าง แต่ลักษณ์ก็ไม่มีทางเลือกมากนัก เพราะที่ว่าการตำบลมีนักคอมพิวเตอร์เพียงคนเดียว

Para 7 
Virus วายร้าย ใคร ๆ ก็บ่นเรื่องนี้ แม้โปรแกรมป้องกันไวรัสจะป้องกันไวรัสได้ แต่ก็มีไวรัสใหม่ที่โปรแกรมป้องกันไม่รู้จัก ผู้ใช้ต้อง update ทุกเดือน หรือจุดบกพร่องของ Operating system ที่ทำให้ไวรัสเจาะเข้ามาได้ บ่อยครั้งที่โปรแกรมป้องกันตรวจจับไวรัสได้ แต่ผู้ใช้เลือกปฏิบัติต่อคำถามที่โปรแกรมป้องกันสอบถามไม่เหมาะสม อาจทำให้ไวรัสเข้าในระบบได้ ลักษณ์จึงแจ้งให้ทุกคนทราบว่า ถ้าพบปัญหาไวรัสที่สงสัยของให้แจ้งทันที เพราะถ้ามีเครื่องใด เครื่องหนึ่งติดไวรัส อาจทำให้ระบบเครื่องข่ายมีปัญหาได้ เพราะไม่มีโปรแกรม antivirus ตัวใด ที่จัดการกับไวรัสในอนาคตได้ 100% การดูแล และติดตามข่าวสารจาก http://thaicert.nectec.or.th จะทำให้เครื่องคอมพิวเตอร์มีโอกาสเสียหายจากการทำลายของไวรัสน้อยที่สุด
การซื้อโปรแกรมป้องกันไวรัส(pantipprice.com, itmall.co.th) หรือเสาะหาโปรแกรมชั้นยอดจากร้านขาย CD ที่ผิดกฎหมาย ก็ยังต้องพบปัญหาเรื่องการดูแล อายุของโปรแกรม การปฏิบัติเมื่อถูกโจมตีอย่างหนักจากไวรัสด้วยวิธีใหม่ ๆ รวมถึงการเข้าใจผิดว่าโปรแกรมป้องกันไวรัสจะเป็นอัศวินม้าขาว เข้าจัดการกับไวรัสในทุก ๆ เครื่องในองค์การได้หมด โปรแกรมป้องกันไวรัสจะทำงานได้ดี เมื่อผู้ใช้เข้าใจธรรมชาติของการโจมตี การป้องกัน และการ update อย่างสม่ำเสมอ .. คงสรุปสั้น ๆ ว่าถ้ามีโปรแกรมแบบนั้นจริง ไวรัสคงไม่มีในโลกนี้แล้ว
ประเภทของไวรัส
1. Parasitic virus : เก่าแก่ติดเฉพาะ .exe และสำเนาตัวเองไปยังแฟ้มอื่น ๆ
2. Memory-resident virus : อยู่ใน Ram งและแพร่ไปยังแฟ้มอื่นต่อไป
3. Boot sector virus : มักติดจากแผ่น disk และสามารถทำลาย sector แรกของ disk ได้
4. Stealth virus : มีความสามารถซ่อนตัวจากโปรแกรมตรวจจับ
5. Polymorphic virus : เปลี่ยนตัวเองเมื่อมีการแพร่กระจาย

Para 8 
สำนักงานจังหวัดได้ติดตั้ง web server และเช่า Leased line ความเร็ว 256 KBps ให้บริการหน่วยงานในจังหวัด อีกช่องทางหนึ่ง นอกเหนือจากข่าย intranet ของมหาดไทย และเช่าระบบ E1 ให้หน่วยงานต่าง ๆ เชื่อมต่อเข้าสู่ระบบ Intranet ได้พร้อมกัน 30 สายจากนอกศาลากลาง ทำให้หน่วยงานต่าง ๆ เข้าสู่เครือข่ายศาลากลางทั้งประเทศ และส่งข้อมูลเข้าฐานข้อมูลภาครัฐของจังหวัดได้อย่างเป็นรูปธรรม เพื่อนของลักษณ์ที่ชื่อวร มีหน้าที่ดูแลระบบคอมพิวเตอร์ของตำบลฝนดาว และยังไม่มีเว็บไซต์ของตำบล จึงเริ่มต้นพัฒนาเว็บไซต์ โดยใช้พื้นที่ที่สำนักงานจังหวัดเตรียมไว้ให้ เพราะถ้าเช่าพื้นที่กับบริษัทเอกชนที่เสนอมา อาจต้องเสียค่าใช้จ่ายถึงปีละ 5000 บาททีเดียว นอกจากนี้แผนของสำนักงานจังหวัด ยังต้องการให้ทุกหน่วยงานพัฒนาฐานข้อมูลด้วย Microsoft access เพื่อรองรับความต้องการของ ผู้บริหาร และสนองนโยบายของมหาดไทยที่ต้องการให้ทุกจังหวัดมีฐานข้อมูล และสืบค้นข้อมูลต่าง ๆ ได้โดยง่าย สำนักงานจังหวัดมีคุณทัศน์ ซึ่งเป็นโปรแกรมเมอร์คอยให้คำปรึกษาหน่วยงานต่าง ๆ ในการใช้ web server รวมถึงการเรียกใช้ข้อมูล จากฐานข้อมูลที่หน่วยงานต่าง ๆ ส่งเข้ามาด้วย ASP.NET และ นำเสนอในรูปของฐานข้อมูลรวมทั้งจังหวัด ทำให้วรนำข้อมูลที่เคยพัฒนาไว้ตลอด 2 ปี นำเสนอผ่านเว็บไซต์ได้ในระดับหนึ่ง

Para 9 
แม้สำนักงานจังหวัดจะมีอินเทอร์เน็ตให้ใช้ แต่ระบบที่มีรองรับจำนวนผู้ใช้เพียง 30 หน่วยงาน วรประสบปัญหาบ่อยครั้ง ในการเชื่อมต่อกับศาลากลางจังหวัด จึงใช้บริการอินเทอร์เน็ตฟรีขององค์การโทรศัพทผ่านหมายเลข 1222 ประกอบกับตำบลฝนดาว มีเบอร์ขององค์การฯ(TOT) อยู่แล้ว จึงไม่ประสบปัญหาการเชื่อมต่อ เรื่องโทรไม่ติด หรือสายหลุดบ่อยไม่เคยเกิดขึ้น ที่มีปัญหาชัดเจน ก็คือใช้งานได้ครั้งละ 2 ชั่วโมง และเปิดเว็บไซต์ต่างประเทศได้ช้าเท่านั้น สำหรับ Username ที่ใช้คือ U89$0y)9@totonline.net และมี password คือ j4**9c+p

Para 10 
ทัศน์ได้รับการอบรมจากมหาดไทยหลายครั้ง หลายเรื่อง ทำให้เข้าใจระบบ Firewall การตรวจจับการบุกรุก (IDS : Intrusion Detection Systems) และการให้บริการสมาชิก โดยใช้เวลาเพียงวันละประมาณ 2 ชั่วโมง คอยตรวจสอบเครื่องบริการ ว่าทำงานถูกต้อง มีการบุกรุก มีปัญหาด้านระบบปฏิบัติการ หรือไม่ รวมถึงการสำรองข้อมูลเป็นระยะ เมื่อใดที่เครื่องบริการเกิดปัญหา ก็จะมี harddisk อีกตัวหนึ่ง ซึ่ง backup ข้อมูลทั้งหมดด้วยโปรแกรม Ghost และนำกลับมาแทนที่ได้ทันทีเมื่อตัวเดิมเสีย หน่วยงานต่าง ๆ รู้จักทัศน์เป็นอย่างดี เพราะคอยให้ความช่วยเหลือในการพัฒนาเว็บไซต์ การดูแลระบบ e-mail และฐานข้อมูล ให้ทำงานปกติ ได้ตลอดเวลา

Para 11 
วรใช้เวลากว่า 2 ปีพัฒนาฐานข้อมูลให้กับที่ทำการ อบต. แต่ยังพัฒนาได้ไม่สมบูรณ์ เพราะต้องแก้ไขโปรแกรมให้เป็นไปตามความต้องการใหม่ ๆ ตลอดเวลา สำนักงานจังหวัดร้องขอข้อมูล แบบ MIS(Management Information System) ที่เสริมต่อ ยุทธศาสตร์/กลยุทธ์ของกลุ่มจังหวัด และแผนยุทธศาสตร์การพัฒนาจังหวัด ทำให้วรต้องคิดหนัก เพราะไม่ง่ายที่จะกำหนดสารสนเทศที่ต้องการให้ชัดเจน เขาต้องเริ่มวิเคราะห์ และออกแบบระบบใหม่ทั้งหมดให้ตรงกับความต้องการของทุกฝ่าย การออกแบบระบบใหม่อาจทำให้ระบบที่ออกแบบมา 2 ปี มีปัญหาทั้งด้านโครงสร้างข้อมูล ภาษาที่ใช้ ข้อมูลดิบ และการแปลงข้อมูลระบบเก่าเป็นระบบใหม่ รวมถึงการนำเสนอข้อมูลต่อทุกฝ่าย ให้เกิดความซ้ำซ้อนน้อยที่สุด และถูกต้องมากที่สุด
ระบบย่อย หรือส่วนประกอบของ MIS
1. ระบบประมวลผลรายการ (TPS : Transaction processing Systems)
2. ระบบการจัดการรายงาน (MRS : Management Reporting System)
3. ระบบสนับสนุนการตัดสินใจ (DSS : Decision Support System)
4. ระบบสารสนเทศสำนักงาน (OIS : Office Information System)

Para 12 
ยศ นักศึกษาในตำบลที่ลักษณ์ทำงานอยู่ รับอาสาทำ e-Learning และ e-Communication ให้กับ maya.com เพื่อเป็น โครงงานก่อนสำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรีของตนเอง แม้อาจารย์ที่ปรึกษาของยศจะทักท้วงว่างานที่จะทำยากเกินไป อาจทำให้ยศไม่สำเร็จการศึกษาตามเวลาที่กำหนด ถึงอย่างไรยศก็ยืนยัน และให้เหตุผลว่าถ้าเขาไม่ทำแล้วใครจะทำ ถ้าเขาไม่ทำจะรอให้รุ่นน้องมาทำต่อหรือ แต่ถ้าเขาทำ ตำบลที่เขารัก ก็มีสิ่งที่เขาศึกษามาแล้วว่ายังไม่มีแต่ควรมี และเป็นแบบอย่างให้กับตำบลอื่นในประเทศต่อไป โครงงานของยศจึงประกอบด้วย การให้ความรู้คอมพิวเตอร์ อินเทอร์เน็ต ศูนย์สอบออนไลน์ ศูนย์ติวเตอร์ระดับประถม และมัธยม ศูนย์รับประมูลประจำตำบล ศูนย์รับแจ้งเบาะแส กระดานร้องทุกข์ หรือกระดานถามตอบ เป็นต้น
ระบบ e-Learning ที่ยศนำมาเสนอในตำบลเน้นที่ระบบ LMS (Learning management system) อย่างง่าย จึงไม่มีระบบ CMS (Course management system) ที่ต้องอาศัยนักวิชาการมาดูแล หรือสร้างหลักสูตรดี ๆ เพราะการสร้าง CMS ที่ดีคงมิใช่หัวใจของการพัฒนา maya.com ซึ่งเป็นเว็บของตำบล แต่ CMS นั้นควรอยู่ในเว็บไซต์ของโรงเรียน และเขาก็เคยทำโครงงานโดยใช้โปรแกรมจาก moodle.org ซึ่งใช้งานได้ยอดเยี่ยม สำหรับโรงเรียนที่มีครูที่รักการให้ และมีนโยบายชัดเจนจากผู้บริหาร การมียศเข้ามาช่วย ทำให้เกิดความคล่องตัวในการประสานงานระหว่างส่วนราชการ และประชาชน คนในตำบลให้ความสนใจด้านการศึกษา ลดการเข้าไปเรียนพิเศษในอำเภอเมืองอย่างเห็นได้ชัด ทำให้การรวมตัว และช่วยเหลือซึ่งกันและกัน ของครู นักเรียน ผู้ปกครอง และข้าราชการในตำบล มีมากขึ้น
องค์ประกอบของ e-Learning
1. ระบบจัดการการศึกษา (Management education system)
2. เนื้อหาวิชา เป็นบท และเป็นขั้นตอน (Contents)
3. การสื่อสารระหว่างผู้เรียน และผู้สอน (Communication)
4. การวัดผลการเรียน (Evaluation)

คนเพียงไม่กี่คนทำอะไรให้ตำบลนี้ ยังมีคนอีกหลายพันคนที่ยังไม่ได้ทำ
เพียงเพราะยังไม่มีโอกาส หรือไม่มีใครไปขอความช่วย
ศาสนาสอนให้ทุกคนเป็นคนดี และทุกคนรอที่จะทำดี แต่มีเพียงบางคนที่ไม่ได้รอ
    There are five types of companies:
    those who make things happen;
    those who think they make things happen;
    those who watch things happen;
    those who wonder what happened;
    and those that did not know that anything had happened.
    จากหนังสือ Marketing management ของ Philip kotler
    หน้า 61
ผู้สนับสนุน + ผู้สนับสนุน
+ รับผู้สนับสนุน
rspsocial
Thaiall.com