บล็อกจีโอซิตี้ (Block geocities)
เว็บเพจสำรอง (Backup Webpages) : thaiabc.com | thaiall.korattown.com | perlphpasp.com | thaiall.com
ปรับปรุง : 2551-06-25 (block youtube)
บันทึกล่าสุด
2550-09-26 : ICT ยกเลิก block youtube.com
YouTube.com ถูกบล็อกในไทยตั้งแต่วันที่ 3 เม.ย50 จนกระทั่ง 30 ส.ค.50 กระทรวงไอซีทียกเลิกการบล็อกแล้ว โดยทำข้อตกลงกับ YouTube.com ในการบล็อกผู้ใช้จากไทย ไม่ให้เข้าดูคลิปบางคลิปที่ขัดต่อกฎหมายไทย (Pittaya, nation, popcornfor2)
2550-05-30 : คุณปลื้ม บอกว่าใช้ Proxy เรื่องง่าย
youtube.com หรือ hi-thaksin.org ถูก Block ไม่ให้คนไทยเข้าไปดูวีดีโอ เช้านี้ คุณปลื้ม จากช่อง 3 บอกว่าเขาเข้าเว็บไซต์ต่าง ๆ ได้ผ่าน Proxy อย่างง่ายดาย พอผมค้นหาคำว่า youtube + proxy จาก google.com พบกว่า 2 ล้าน มีเว็บไซต์ชื่อ zend2.com, hidemybox.com, youhide.com เป็นต้น ที่พิมพ์ URL ใน input box ของเว็บไซต์นั้น แล้วเปิดเว็บไซต์ที่ถูก block ได้เลย
2550-05-11 : ประเทศไทยไม่ฟ้อง YouTube แล้ว
หลังจากที่มีข่าวว่ากระทรวงไอซีทีเตรียมจะฟ้อง YouTube ในวันนี้นั้น
ขณะนี้ รมว. ไอซีทีได้แถลงยกเลิกกระบวนการดังกล่าวแล้ว เนื่องจากทางกูเกิลได้แสดงเจตจำนงที่จะให้ความร่วมมือในการลบคลิปที่ไม่เหมาะสม อย่างไรก็ตาม ทางไอซีทีจะยังไม่มีการแจ้งยกเลิกการบลอคเว็บไซต์ YouTube อย่างเป็นทางการจนกว่าเจ้าหน้าที่จะตรวจสอบแล้วว่าคลิปที่ไม่เหมาะสมเหล่านั้นถูกลบออกจนหมดแล้ว ส่วนการสืบสวนหาผู้กระทำผิด (ผู้ที่อัพโหลดไฟล์) ทางสำนักงานตำรวจแห่งชาติจะประสานงานกับทางกระทรวงไอซีที โดยจะใช้ประมวลกฎหมายอาญา และ พรบ. ความผิดทางคอมพิวเตอร์ที่เพิ่งคลอด ในการเอาผิด ซึ่งอาจถือได้ว่า คดีนี้เป็นคดีแรกของพรบ. นี้เลยหรือไม่ พรบ. นี้ก็เกิดมาเพื่อคดีนี้ ข้อมูลจาก blognone.com manager.co.th
2550-02-03 : หลุด Block Camfrog
ปลายปี 2549 มีข่าวการใช้ Camfrog ว่าวัยรุ่นเข้าไปแก้ผ้าเต้นโชว์ คนในสังคมไทยเคลื่อนไหวอยู่พักหนึ่ง วันอาทิตย์ที่ 28 มกราคม 50 รายการถอดรหัสนำเรื่องนี้มาตีแผ่อีกครั้ง หนุ่มคนหนึ่งเปิดให้สาว ๆ เข้ามารแก้ผ้าเต้น จนถูกศาลสั่งจำคุกแต่รอลงอายา และถูกปรับ เขาบอกว่าทำขำ ๆ จากนั้นเว็บ camfrog ก็ถูกสั่งปิด คนไทยเข้าไม่ได้ แต่วันนี้ผมอ่านบันทึกใน gotoknow.org พบ 2 โปรแกรม ที่ทำให้เปลี่ยน IP ออกไปได้คือ proxycap . . (ProxyCap enables you to tunnel Internet applications through HTTP, SOCKS v4, and SOCKS v5 Proxy Servers. You can tell ProxyCap which applications will connect to the Internet through a proxy and under what circumstances.) ช่วยให้กำหนดช่องทางในการเชื่อมต่อ และ sockchain (A program that allows to connect to any Internet service through a chain of SOCKS or HTTP proxies to hide the actual IP address. It also possible to work with a programs that are not designed to support SOCKS protocol directly) และตรวจ IP ของเราจาก geoiptool.com (ให้ข้อมูลกับผู้ดูแลระบบ เพื่อหาทางป้องกัน ปัจจุบันเขาใช้วิธีเหล่านี้เจาะเข้ามาในระบบ .. ผมก็พึ่งทราบ)
2549-03-03
วันนี้เผลอเข้าเว็บไซต์ที่ไม่เหมาะสม เช่น whitehouse.com พบว่า การ Block ถูกยกเลิกไป เพราะเข้าได้ตามปกติ .. สงสัยว่าถูกร้องเรียนเรื่องเสรีภาพ หรือไม่ก็ Server มีปัญหา ถ้าในอนาคต มีใครคำตอบว่าทำไม Uni.net.th ยกเลิกการ Block เว็บไซต์ที่ไม่เหมาะสม ก็บอกผมด้วยนะครับ
2549-02-22
วันนี้สอนนักศึกษาเรื่องสื่อลามก จึงทดสอบเข้าเว็บไซต์โป๊ เพื่อให้นักศึกษาระวังอย่างได้เข้าไป ก็พบว่าเว็บไซต์ต่าง ๆ ส่วนหนึ่งถูก Block ไปแล้ว โดยมีข้อความดังภาพด้านข้างนี้มาให้เห็น ถ้าพบเห็นเว็บไซต์ที่ไม่เหมาะสม สามารถแจ้งไปที่ http://ict.cyberclean.org
IP of Anonymous Proxy
+ Zend2 : 38.100.42.25 (Hi5)
+ Hidemybox : 67.159.50.90 (YT)
+ Youhide : 208.99.75.32
+ Blastproxy : 74.208.16.11
+ Ultrasurf : 64.62.138.72
+ Ultrasurf : 65.49.14.26

2548-05-13 :
ผมไม่ได้เปิดเว็บไซต์ใด ๆ ของ geocities.com หลายเดือน วันนี้มีโอกาส จึงทดสอบ แล้วก็พบว่าเปิด geocities.com ได้แล้ว และ ถ้าต้องการทราบว่าเว็บไซต์ใดถูก block บ้างจาก ict ดูได้จาก http://www.mict.go.th/ci/mem/

2548-01-14 :
อาจารย์จากสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬา แจ้งให้ผมทราบว่า ท่านได้คุยกับ uni.net.th แล้ว เพราะท่านเป็นผู้หนึ่ง ที่ทำเว็บไซต์เก็บไว้ที่ geocities.com เพื่อเผยแพร่สื่อการสอน อันมีประโยชน์ไว้ที่นั่น ผลจากการคุยกับ uni.net.th ไม่เกิดผลมากนัก เพราะ uni.net.th ไม่มีงบประมาณชื่ออุปกรณ์ที่เลือก block เว็บไซต์บางเว็บได้ จึงต้อง block ทั้ง domain เป็นผลให้นักศึกษา หรือสถาบันที่อยู่ในเครือข่ายมหาวิทยาลัยทั้งหมด เข้าเว็บไซต์ของ geocities.com ไม่ได้
ทางออกที่น่าจะเป็นไปได้คือการใช้ proxy เป็นการชั่วคราว รอจนกว่าทาง uni.net.th จะมีงบประมาณ เลือก block เฉพาะเว็บไซต์ที่ควร block เท่านั้น ถ้าท่านใดมีทางออกที่ดีกว่าการใช้ proxy นอกเครือข่ายของตน ก็แจ้งผมด้วย เพื่อเป็นวิทยาทาน เพราะผมเองก็อยู่ใน uni.net.th แม้ผมจะมี proxy แต่ proxy ของผมก็ยังอยู่ในวงของ uni.net.th อยู่ดี
ขอบ่นเรื่อง thai.net ที่มีเว็บของคนไทยกว่า 79000 เว็บไซต์ แต่หายไปจดหมด เริ่มกลับมาเปิดบริการใหม่เมื่อมกราคม 48 แล้วครับ ผมไม่โทษใครนะครับ เมื่อก่อนผมบอกว่า thai.net น่าเชื่อถือกว่า geocities.com ซึ่งเป็นอันดับสอง ตอนนี้ผมพูดกับนักศึกษาไม่ออกแล้วครับ ว่า ถ้าเขาจะต้องทำเว็บเก็บเรื่องดี ๆ ที่มีประโยชน์ต่อสังคม ต้องทำไว้ที่ไหน เพราะไม่เหลือที่ไหนให้ผมได้แนะนำนักศึกษาเลย อันที่จริงผมกำลังพัฒนา weblampang.com เป็นกรณีศึกษา free webhosting สำหรับโรงเรียน หรือองค์กรขนาดเล็ก พร้อมกับแจก source code ก็พัฒนาไปเรื่อย ๆ ครับ แต่ไม่คิดจะให้บริการจริงเพราะ เครื่อง และ bandwidth ที่ใช้ต่ำมาก
2547-11-02 :
ผมได้ข้อมูลจาก สารวัตรอินเตอร์เน็ต inspector@mict.go.th แจ้งให้ทาง uni.net.th ว่ามีรายชื่อเว็บที่ถูก block ให้ได้ตรวจสอบ โดย login ทาง http://www.mict.go.th/ci/mem/ และมีเว็บบอร์ดที่ http://www.mict.go.th/ci/webboard/display_forum.asp
ถ้าท่านเข้าเว็บที่ถูก block เช่น proxy4free.com ทาง tot1222 ก็จะพบข้อความดังนี้
ขออภัย ทางสำนักงานตำรวจแห่งชาติขอระงับการเชื่อมต่อมาที่เวบไซต์นี้ เนื่องจากมีรูปภาพ หรือข้อความที่ไม่เหมาะสม เช่น ลามกอนาจาร การพนัน
หรือเป็นภัยต่อความมั่นคงของชาติ
สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ "ศูนย์ข้อมูลข้อสนเทศ" อาคาร 19 ชั้น 2 สำนักงานตำรวจแห่งชาติ
ถนนพระราม1 ปทุมวัน กทม.10330 โทร 0-2251-0164 หรือ webmaster@police.go.th
สถิติการรับแจ้งเวบผิดกฎหมายของสำนักงานตำรวจแห่งชาติ
Sorry, the web site you are accessing has been closed by Royal Thai Police due to inappropriateness such as pornography, gambling or contain any information which is deemed to violate national security.
For more information, please contact "Police Information System Center" Bld#19 2nd Flr, Royal Thai Police, Rama I, Patumwan, Bangkok 10330 Tel. 0-2251-0164,
email : webmaster@police.go.th
http://www.police.go.th
2547-10 ถึง 2548-01 :
uni.net.th ยกเลิกการ block geocities.com โดยรวม และผมก็ใช้ proxy ของ 210.240.188.81 port 8080 ไม่ได้
uni.net.th ยกเลิกการ block ทั้งหมด เพราะผมสามารถเข้า http://www.proxy4free.com/page1.html แต่เข้าทาง tot1222 ไม่ได้
2547-07 ถึง 2547-09 :
ผมเห็นด้วยกับ cyber-inspector ที่สั่ง uni.net.th block geocities นะครับ .. แต่ผมหาทางออกเล็ก ๆ ให้กับส่วนราชการ และโรงเรียนบางแห่ง .. เป็นการชั่วคราวเท่านั้น (ตัวอย่างผลการ block คือเปิดเว็บไซต์เช่น http://www.geocities.com/fanofkyoko ไม่ได้)
ตัวอย่างจุด Block ip ใน Windows 2003 ที่บริการ DHCP ด้วย 2 LAN Card
ทำให้สมาชิกในเครือข่ายเข้าเว็บโป๊ เว็บเกม หรือเว็บที่ไม่เหมาะสม ไม่ได้
ผู้สนับสนุน + ผู้สนับสนุน
+ รับผู้สนับสนุน
    รวบรวมข้อมูลไว้อ้างอิงจาก internet
    แต่เข้า http://geocities.yahoo.com เพื่อ login ได้ครับ
    เรื่องนี้ผมขอไม่แสดงความคิดเห็น แต่หาข้อมูลมาให้อ่านกัน .. นะครับ
    ถ้ามีบทความใดที่เห็นว่าไม่เหมาะสม แจ้งด้วยนะครับ .. เพราะผมเชื่อฟังความคิดเห็นของผู้ทรงคุณวุฒิเสมอ
    ผม copy บทความเหล่านี้เก็บไว้ เพราะเกรงว่าจะหาอ่านไม่ได้ในอนาคต
  1. จาก http://www.thairath.co.th/thairath1/2547/itdigest/itupdate/aug/19/update1.php
  2. จาก http://www.bangkokbiznews.com/2004/09/01/jud/index.php?news=column_14475154.html
  3. จาก http://www.itmall.co.th/news/news227/news227.htm (หายไปแล้ว)
  4. PROXY server คืออะไร [techweb.com]
      Also called a "proxy," it is a computer system or router that breaks the connection between sender and receiver, closing a straight path between the internal LAN and the Internet. Very often the proxy server is a dual-homed host with two network interfaces. Functioning as a relay between the client and server, proxy servers are used to help prevent a cracker from obtaining internal addresses and attacking the private network. They are one of several tools that can be used to build a firewall.
      The word proxy means "to act on behalf of another," and a proxy server acts on behalf of the client and of the server. All requests from the clients to the Internet go to the proxy server first. The proxy evaluates them and passes valid ones on to the Internet. Likewise, responses from the Internet or initial requests coming from the Internet go the proxy and are evaluated, before being passed on to the clients. Proxies generally employ network address translation (NAT), which presents one organization-wide IP address to the outside world. Proxies may also cache Web pages, so that the next client request for that same page can be obtained locally, which is much faster.
      Proxy servers are available for common Internet services; for example, an HTTP proxy is used for Web access; an FTP proxy is used for file transfers. Such proxies are called "application-level" proxies or "application-level gateways," because they are dedicated to a particular application and protocol and are aware of the content of the packets being sent. A generic proxy, called a "circuit-level" proxy, supports multiple applications. For example, SOCKS is a generic IP-based proxy server that supports TCP and UDP applications.
  5. การออก internet ผ่าน proxy
    ข้อมูลจาก webboard ของ TOT : เขาว่าผ่าน proxy ออกมาได้ 210.240.188.81 port 8080
    ผมทดสอบจากในเครือข่าย uni.net.th หรือ 1222 ของ TOT ก็ออกไป geocities.com ผ่าน proxy ดังกล่าวได้จริง .. ดังภาพ
    ที่ผมทดสอบเพราะมีส่วนราชการบางแห่ง ต้องการให้ผมแก้ไขข้อมูลให้ ซึ่งการแก้ไขทำผ่าน http://geocities.yahoo.com ได้ตามปกติ แต่เปิดดูไม่ได้เท่านั้น
    ตั้งแต่ต้นเดือนตุลาคม 47 ผมใช้ proxy นี้จากในเครือข่ายของ uni.net.th ไม่ได้แล้วครับ
  6. Proxy ที่ทดสอบแล้วว่าใช้จากใน uni.net.th ได้
    - 202.28.24.52 port 80 ของ ม.เชียงใหม่ พบจาก proxy4free.com ครับ
    - 202.143.138.16 port 8080 (แต่ช้าสุด ๆ ครับ)
    พิมพ์ c:\netstat จะแสดงว่าเครื่องตัวติดต่อเครื่องอื่น หรือไม่ ผมใช้ดูว่าขณะเปิดเว็บด้วย IE วิ่งผ่าน proxy ที่กำหนดหรือไม่
  7. ถ้า ip ดังกล่าวใช้ไม่ได้ผล ขอให้หาข้อมูลจากเว็บไซต์ต่อไปนี้ (ยอด ๆ ทั้งนั้น)
    - http://www.multiproxy.org/all_proxy.htm
    - http://www.atomintersoft.com/products/alive-proxy/proxy-list/ (Thailand)
    - http://www.proxy4free.com/page1.html (เคยถูก block uni.net.th)
    - http://www.publicproxyservers.com
    - http://directory.google.com/Top/Computers/Internet/Proxies/Free/
  8. แนะนำเว็บไซต์
    - ชมรมผู้ประกอบการร้านอินเตอร์เน็ตแห่งประเทศไทย
    - กระทรวง ICT (Information and Communication Technology)


1. ด่วน! สั่งบล็อกเว็บไซต์จีโอซิตี้ หลังพบมีหน้าเว็บไม่เหมาะสม
http://www.thairath.co.th/thairath1/2547/itdigest/itupdate/aug/19/update1.php

วันที่ 19 สิงหาคม 2547
    จากกรณีที่มีการร้องเรียนว่า เว็บไซต์จีโอซิตี้ในเซิฟเวอร์สถาบันการศึกษาทั้งหมด ถูกบล็อกไม่ให้เข้าเยี่ยมชม ทำให้เกิดผลกระทบต่ออาจารย์ที่ใช้บริการฟรีเว็บเพจแห่งนี้ วนการเผยแพร่ผลงานทางวิชาการนั้น
    สารวัตรอินเทอร์เน็ต สังกัดคณะกรรมการสืบสวน ป้องกันและปราบปรามอาชญากรรมทางคอมพิวเตอร์หรือไซเบอร์ อินสเปกเตอร์ กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารหรือไอซีที ซึ่งมีหน้าที่ตรวจสอบการกระทำธุรกรรมทางคอมพิวเตอร์ ชี้แจงว่า ไซเบอร์อินสเปกเตอร์และสำนักข่าวกรองแห่งชาติได้ตรวจสอบพบว่า เว็บไซต์จีโอซิตี้ในต่างประเทศปล่อยให้มีการนพื้นที่ไปจัดทำเว็บไซต์ที่มีเนื้อหาสาระ และการแสดงความคิดเห็นที่ไม่เหมาะสมต่อประเทศไทยและที่สำคัญ คือ การหมิ่นพระบรมเดชานุภาพของพระบรมวงศานุวงศ์ไทยระดับสูง โดยตรวจสอบพบการเข้าเว็บไซต์ดังกล่าวจากสถาบันอุดมศึกษาหลายแห่ง รวมทั้งพบว่ามีนิสิต นักศึกษาและบุคลากรในมหาวิทยาลัยบางแห่งเข้าเว็บไซต์ที่มีข้อความหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ พระบรมวงศานุวงศ์ของไทยระดับสูง และนำมาวิพากษ์วิจารณ์กันในเว็บบอร์ดรวมทั้งเผยแพร่ต่อ ดังนั้นไซเบอร์อินสเปกเตอร์ จึงขอความร่วมมือไปยังผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ต(ISP) ในประเทศไทยและยูนิเน็ต ซึ่งเป็นผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ตแก่สถาบันการศึกษาเพื่อบล็อกการเข้าถึงเว็บไซต์เหล่านั้นทั้งหมด
    "การบล็อกเว็บไซต์ที่ไม่เหมาะสมเป็นหน้าที่ของผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ตหรือไอเอสพี โดยไซเบอร์อินสเปกเตอร์มีหน้าที่เพียงคอยตรวจสอบและออกคำสั่งเท่านั้น ส่วนในกรณีนี้ที่มีการหมิ่นพระบรมเดชานุภาพพระบรมวงศานุวงศ์ชั้นสูงถือว่า เป็นสิ่งที่ไม่เหมาะสมและกระทบต่อความมั่นคงเป็นอย่างมาก ดังนั้นไซเบอร์อินสเปกเตอร์และสำนักข่าวกรองแห่งชาติจึงจำเป็นต้องสั่งให้ไอเอสพี ช่วยกันบล็อกเว็บไซต์เหล่านี้ให้ได้ไม่ว่าด้วยวิธีใดๆ" สารวัตรอินเทอร์เน็ต กล่าว
    สารวัตรอินเทอร์เน็ต กล่าวต่อว่า ปัจจุบันการบล็อกเว็บไซต์ยังไม่มีกฎหมายมารองรับโดยตรง นอกจากจะมีการนำเนื้อหามาเผยแพร่ในลักษณะต่างๆ เช่น การบอกต่อ ตีพิมพ์ การส่งต่อ เป็นต้น ดังนั้นจึงต้องขอความร่วมมือไปยังไอเอสพีรายต่างๆ เพื่อให้เป็นไปตามข้อตกลง ที่เคยทำไว้กับการสื่อสารแห่งประเทศไทยหรือ กสท.ในอดีตและนโยบายของรัฐบาลที่ต้องการให้ป้องกันการเข้าถึงเว็บไซต์ที่ไม่เหมาะสม
    "เว็บไซต์จีโอซิตี้เป็นเว็บไซต์ที่เปิดให้บุคคลทั่วไปขอพื้นที่ฟรี เพื่อนำข้อมูลและเว็บไซต์ส่วนตัว ไปฝากไว้ โดยอาจมีทั้งเว็บไซต์ด้านวิชาการที่เป็นประโยชน์และเว็บไซต์ที่มีเนื้อหาไม่เหมาะสม ส่วนเมื่อบล็อกเว็บไซต์จีโอซิตี้แล้วทำให้อาจารย์มหาวิทยา ลัยไม่สามารถเข้าเว็บไซต์ด้านวิชาการที่เป็นประโยชน์และเว็บไซต์ส่วนตัวได้นั้น หนทางแก้ไข คือ เมื่อได้ข้อมูลที่ต้องการแล้วควรนำมาเก็บไว้ในเซิฟเวอร์ของมหาวิทยาลัย รวมทั้งเว็บไซต์ส่วนตัวด้วย แต่ถ้าต้องการใช้พื้นที่จากเว็บไซต์จีโอซิตี้จริงๆ ก็ควรเป็นบริการเซิฟเวอร์ที่อยู่ในประเทศไทยเพื่อป้องกันปัญหาดังกล่าว"สารวัตรอินเทอร์เน็ต กล่าว
    ด้านแหล่งข่าวจากสำนักงานข่าวกรองแห่งชาติ กล่าวว่า สำนักข่าวกรองฯทราบตัวเจ้าของและผู้ดูแลเว็บไซต์ที่มีการหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ ของพระบรมวงศานุวงศ์ไทยระดับสูงแล้ว โดยได้พยายามขอความร่วมมือไปยังหน่วยงานระหว่างประเทศ เพื่อให้ดำเนินการลบออกโดยด่วนแต่ยังไม่ได้ผล ดังนั้น ขณะนี้หนทางที่ดีที่สุด คือ การบล็อกเว็บไซต์ดังกล่าวทั้งหมดเพื่อป้องกันการเข้าชม นอกจากนั้นในเร็วๆ นี้สำนักข่าวกรองฯจะทำหนังสือแจ้งไปยังอธิการบดีมหาวิทยาลัยรัฐบาลแห่งหนึ่ง เพื่อให้ทราบถึงพฤติกรรมของนิสิตและทำการตักเตือนเกี่ยวกับพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสม ในการเข้าชมเว็บไซต์ที่มีการหมิ่นพระบรมเดชานุภาพของพระบรมวงศานุวงศ์ไทย ระดับสูงและนำมาวิพากษ์วิจารณ์กัน
    แหล่งข่าวจากยูนิเน็ต กล่าวว่า ในฐานะที่ยูนิเน็ตเป็นผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ตแก่สถาบันการศึกษา ดังนั้นจึงต้องบล็อกการเข้าเว็บไซต์จีโอซิตี้ผ่านเซิฟเวอร์ของมหาวิทยาลัย ตามที่กระทรวงไอซีทีขอความร่วมมือมา ทั้งนี้เพื่อให้เป็นไปตามนโยบายของรัฐบาลและความเหมาะสม โดยการบล็อกเว็บไซต์ปกติ สามารถทำได้ 2 วิธี คือ บล็อกเฉพาะหน้าของเว็บไซต์ที่ไม่เหมาะสม แต่วิธีดังกล่าวต้องใช้เครื่องมือเฉพาะ ราคาประมาณ 2,000,000 ล้านบาท ซึ่งยูนิเน็ตไม่มี จึงไม่สามารถทำได้ เพราะฉะนั้นจึงต้องใช้อีกวิธี คือ การบล็อกเซิฟเวอร์ของสถาบันการศึกษาเพื่อป้องกันการเข้าเว็บไซต์จีโอซิตี้ทั้งหมด ดังนั้นจึงส่งผลกระทบกับเว็บไซต์อื่นๆ ที่ใช้พื้นที่ของเว็บไซต์จีโอซิตี้ด้วย
    พ.ต.อ.ญาณพล ยั่งยืน นายกสมาคมผู้ดูแลเว็บไทย กล่าวว่า การบล็อกเว็บไซต์สามารถทำได้ โดยเฉพาะเว็บไซต์ที่หมิ่นพระบรมเดชานุภาพพระบรมวงศานุวงศ์ระดับสูง และเว็บไซต์ที่ไม่เหมาะสม เพราะถึงแม้ไม่มีกฎหมายรองรับโดยตรง แต่สามารถใช้กฎหมายอื่นๆ มาบังคับใช้ได้ ซึ่งส่วนตัวมีความคิดเห็นว่าถ้ามีกฎหมายว่าด้วย การกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์มาบังคับใช้ การดำเนินการกับผู้ที่เกี่ยวข้องในกรณีดังกล่าวคงง่ายขึ้น


2. สิทธิการสื่อสารในสังคมไทย สังคมสารสนเทศของใคร (2) โดย พิรงรอง รามสูต รณะนันท์
http://www.bangkokbiznews.com/2004/09/01/jud/index.php?news=column_14475154.html

วันที่ 3 สิงหาคม 2547
    สโลแกน 'คิดใหม่ ทำใหม่' ของพรรคไทยรักไทย ไม่เพียงเป็นวาทกรรม ที่นำเสนออุดมการณ์ และนโยบายรูปแบบใหม่ ในการบริหารจัดการประเทศ แต่ยังสะท้อนให้เห็นความพยายาม ของรัฐบาลชุดปัจจุบัน ในการสร้างระเบียบใหม่ ทางความคิด ให้แก่ประชาชนอีกด้วย
    ดังที่กล่าวไปแล้วในตอน (1) ว่า กระบวนการสื่อสารของมนุษย์เรานั้นเริ่มต้นตั้งแต่การก่อรูปของความคิดและความรู้ การที่บุคคลจะเกิดความคิดใดๆ ขึ้นมา ส่วนหนึ่งย่อมต้องอาศัยขั้นตอนอื่นๆ ในกระบวนการสื่อสาร เป็นต้นว่า การถ่ายทอด หรือการเปิดรับข้อมูลข่าวสารผ่านช่องทางต่างๆ และการสามารถนำข้อมูลเหล่านั้นมาใช้ให้เป็นประโยชน์
    แน่นอนว่า สื่อสารมวลชน คือ แหล่งข้อมูลข่าวสารขนาดใหญ่ที่คนในสังคมสามารถเข้าถึง เปิดรับ และปรับปรุงคลังความคิด ความรู้ของตน โดยอาศัยสิ่งที่นำเสนอในสื่อเป็นวัตถุดิบ ในยุคแห่งสังคมสารสนเทศที่เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ICT) เอื้ออำนวยให้คนในสังคมสามารถเข้าถึงข้อมูลจากช่องทางที่เพิ่มทวี และหลากหลายมากขึ้น ผู้คนก็น่าจะฉลาดรอบรู้ขึ้น และมีความคิดอันก้าวหน้า สร้างสรรค์ยิ่งขึ้น แต่สภาพดังกล่าวคงเกิดขึ้นได้ยาก หากระบบสถาบันที่แวดล้อมระบบสื่อและระบบสารสนเทศอยู่ไม่ได้มีความมุ่งหวังที่จะสร้างสังคมสารสนเทศที่เปิดกว้าง และมีการไหลเวียนของกระแสข่าวสารอย่างเสรีจริง
    นอกเหนือจากระบบสื่อสารมวลชนดั้งเดิมอย่าง หนังสือพิมพ์ วิทยุ และโทรทัศน์ ซึ่งได้สรุปภาพรวมให้เห็นไว้ในตอนที่แล้วแล้วว่า เสรีภาพในการแสดงออกกำลังอยู่ในช่วงขาลง สื่อใหม่อย่างอินเทอร์เน็ตซึ่งเป็นฐานข้อมูล และเครือข่ายในการสื่อสารขนาดมหึมาที่ไม่เคยปรากฏมาก่อนในประวัติศาสตร์ของมนุษยชาติก็กำลังถูกจัดระเบียบให้เป็นพื้นที่ทางการสื่อสารและสารสนเทศที่เหมาะสมตามนิยามของรัฐบาลชุดปัจจุบันเช่นกัน
    ในอดีต การกำกับดูแลเนื้อหาของอินเทอร์เน็ตอยู่ภายใต้ความดูแลของคณะกรรมการเทคโนโลยีสารสนเทศแห่งชาติ ซึ่งขึ้นอยู่กับศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ หรือ NECTEC แนวทางหลักที่ NECTEC ใช้คือ การให้ความรู้แก่ผู้ใช้อินเทอร์เน็ตโดยเน้นกลุ่มเด็ก เยาวชน ผู้ปกครอง และโรงเรียน กิจกรรมในการรณรงค์สร้างความรู้เท่าทันอินเทอร์เน็ตของ NECTEC ที่ผ่านมามีอยู่หลายโครงการ เช่น โครงการพ่อแม่หนูรู้อินเทอร์เน็ต โครงการครอบครัวท่องอินเทอร์เน็ต โดยทำร่วมกับบริษัทเอกชนต่างๆ และยังมีการให้ทุนสนับสนุนเวบไซต์ thaiparents.net ที่เป็นเวบไซต์ให้ความรู้แก่ผู้ปกครองเพื่อช่วยดูแลบุตรหลานของตนให้ใช้อินเทอร์เน็ตในทางที่เหมาะสมอีกด้วย
    จุดเด่นของแนวทางของ NECTEC คือ เน้นการให้ความรู้เพื่อเป็นภูมิคุ้มกันพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสมมากกว่า การพยายามปิดกั้นการเข้าถึงเนื้อหาที่ไม่เหมาะสมในระดับเครือข่าย เพราะผู้บริหารระดับสูงของ NECTEC ซึ่งมีพื้นฐานทางเทคโนโลยีพิจารณาว่าโดยโครงสร้างแล้ว ผู้จัดทำเนื้อหาในเวบไซต์ที่ถูกปิดกั้น สามารถหลีกเลี่ยงโดยการเปิดเวบไซต์ใหม่ได้อย่างง่ายดาย นอกจากนี้ ยังมองว่าการปิดกั้นเป็นกาศ.2545 ภารกิจการกำกับดูแลเนื้อหาอินเทอร์เน็ตก็ได้ถูกโอนไปสู่กระทรวงแห่งใหม่ และนโยบายในการกำกับดูแลเนื้อหาอินเทอร์เน็ตก็ปรับเปลี่ยนไปอย่างชัดเจนสู่ทิศทางของการควบคุมและปิดกั้นเนื้อหาที่ถูกพิจารณาว่าไม่เหมาะสมมากยิ่งขึ้น กลไกหลักที่ทำหน้าที่จัดการเกี่ยวกับเนื้อหาที่ไม่เหมาะสมของกระทรวงไอซีที คือ คณะกรรมการสืบสวนป้องกันและปราบปรามอาชญากรรมคอมพิวเตอร์ (Cyber-inspector) ซึ่งถูกจัดตั้งขึ้นในช่วงที่มีปัญหาระบาดในหมู่เยาวชนไทยของเกมออนไลน์จากประเทศเกาหลีที่ชื่อ แร็คนาร็อก เมื่อปี พ.ศ.2545
    โดยหลักการของการจัดตั้ง Cyber-inspector มีหน้าที่ตรวจสอบ ติดตาม ป้องกันและสกัดกั้นการเข้าชมเวบไซต์ที่ไม่เหมาะสม เช่น เวบไซต์ที่เผยแพร่ภาพหรือข้อความลามกอนาจาร เวบไซต์ที่มีเนื้อหาหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ เวบไซต์ที่เป็นภัยต่อความมั่นคงของชาติ เวบไซต์ขายของผิดกฎหมาย เวบไซต์การพนัน เป็นต้น ในกระบวนการพิจารณาปิดกั้นเวบไซต์ที่มีเนื้อหาไม่เหมาะสมนั้น ทาง Cyber-inspector จะมีคณะทำงานเฉพาะกิจ 4 ชุด เพื่อพิจารณาเนื้อหาและความเสี่ยงประเภทต่างๆ บนอินเทอร์เน็ต อย่างในกรณีของคณะทำงานเฉพาะกิจป้องกันและปราบปรามสิ่งลามกก็จะประกอบด้วยตัวแทนจากหน่วยงานของรัฐ จำนวน 9 หน่วยงาน
    ตามกระบวนการ ตัวแทนจากทั้ง 9 หน่วยงาน จะทำการลงคะแนน (vote) เวบไซต์ที่สมควรจะถูกปิดกั้นจากรายชื่อเวบไซต์ที่ไม่เหมาะสมผ่านช่องทางของกระทรวงไอซีที เช่น จากเวบไซต์ www.mict.go.th โดยคณะกรรมการชุดดังกล่าวจะพิจารณาลงคะแนนเสียงผ่านการเข้าสู่ (login) เวบไซต์ของกระทรวงไอซีที ซึ่งคะแนนเสียงที่จะส่งเวบไซต์ต่างๆ เข้าไปในรายชื่อของ Cyber-inspector เพื่อทำการปิดกั้นนั้นจะต้องมีคะแนนเสียง 2 ใน 3 ขึ้นไป นั้นคือ คะแนน 6 เสียงจาก 9 เสียงนั่นเอง และเมื่อเวบไซต์ใดมีมติเป็นเอกฉันท์ให้ถูกปิด ทางคณะทำงานเชิงเทคนิคของ Cyber-inspector จะมีการส่งรายชื่อให้กับผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ตทั้งส่วนเพื่อการพาณิชย์และส่วนที่ไม่แสวงหากำไรเช่น มหาวิทยาลัยต่างๆ เป็นต้น เพื่อทำการปิดกั้น
    นอกจากเวบไซต์ที่ถูกปิดกั้นจากมติของตัวแทนหน่วยงานรัฐทั้ง 9 หน่วยงานแล้ว ทางคณะทำงานเชิงเทคนิคยังคอยตรวจสอบค้นหาเวบไซต์ที่มีเนื้อหาไม่เหมาะสมอยู่เป็นประจำ และมีบางกรณีที่เป็นเวบไซต์ที่ต้องถูกปิดกั้นอย่างเร่งด่วน เช่น ภาพอนาจารเด็ก ซึ่งปัจจุบันมีเวบไซต์ที่ถูกปิดกั้นรวมทั้งสิ้นประมาณ 1,387 เวบไซต์
    เมื่อไม่นานมานี้ ผู้เขียนได้รับทราบจากอาจารย์ที่ร่วมสถาบันท่านหนึ่งว่าตอนนี้ทางกระทรวงไอซีทีได้ทำการปิดกั้นเวบไซต์ geocities.com ซึ่งเป็นเวบไซต์ที่ให้พื้นที่ฝากเว็บเพจฟรีแก่บุคคลทั่วไป ทำให้มีเนื้อหาที่หลากหลาย ครอบคลุมตั้งแต่การศึกษาวิจัย การส่งเสริมวัฒนธรรมที่กำลังสูญหายไปจากโลก การต่อสู้เพื่อสิทธิเสรีภาพของกลุ่มคนด้อยโอกาส การเคลื่อนไหวทางการเมืองในรูปแบบต่างๆ และอื่นๆ อีกมากมายที่ไม่สามารถบรรยายได้หมดในที่นี้
    อาจารย์ท่านนี้จบการศึกษาจากต่างประเทศ เมื่อกลับมาสอนหนังสืออยู่เมืองไทยก็ได้โอนถ่ายข้อมูลที่อยู่ในรูปดิจิทัลกลับมาด้วยเป็นจำนวนมาก ทั้งงานวิจัยของตนเองและงานวิจัยของผู้อื่นที่มีประโยชน์สำหรับการอ้างอิงจึงได้ใช้พื้นที่ใน geocities เปิดเวบไซต์เก็บข้อมูลของตนไว้เพื่อให้สะดวกต่อการเรียกใช้และแลกเปลี่ยนกับคนวิชาการอื่นๆ ในชุมชนไซเบอร์ อยู่มาวันหนึ่งก็พบว่าเข้าสู่เวบไซต์ geocities ไม่ได้ หลังจากช่วงระยะเวลาหนึ่งที่ทำให้แน่ใจว่าไม่ใช่การผิดพลาดทางเทคนิค จึงได้ลองสืบเสาะดูและพบว่า UniNet ซึ่งเป็นเครือข่ายที่ให้บริการอินเทอร์เน็ตแก่สถาบันการศึกษาระดับสูงในประเทศไทย ได้รับการขอจากทางกระทรวงไอซีทีให้ปิดกั้นการเข้าถึงเวบไซต์ geocities เพราะมีเนื้อหาที่เป็นอันตรายต่อความมั่นคงของชาติ กล่าวคือ มีเวบไซต์ของขบวนการพูโลอยู่ในพื้นที่นี้ด้วย แต่สิ่งที่กระทรวงไอซีทีไม่ได้กล่าวถึง ก็คือ ความจริงที่ว่าชุมชนวิชาการหัวก้าวหน้าและภาคประชาสังคมได้ใช้พื้นที่ใน geocities เพื่อเผยแพร่และแลกเปลี่ยนความรู้ความคิดเห็นที่วิพากษ์วิจารณ์นโยบายและการบริหารจัดการประเทศแบบที่อาจารย์ธีรยุทธ บุญมี เรียกว่า Thaksinocrony รวมถึงการทำนายทายทักถึงช่วงขาลงของรัฐบาลชุดนี้ด้วย
    ประเด็นดังกล่าวสามารถพิจารณาได้เป็นสองทาง คือ
    1.Cyber-inspector ของกระทรวงไอซีทีขาดความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับสิทธิในการรับรู้ของประชาชนคนไทยจำนวนมากมายที่อาศัยเวบไซต์ geocities เพื่อการเรียนรู้และการพัฒนาแถมยังดูถูกภูมิปัญญาและความสามารถของพวกเขาในการแยกแยะเนื้อหาประเภทต่างๆ ออกจากกัน
    2.Cyber-inspector กำลังทำตัวเป็น Big Brother เหมือนในนวนิยาย 1984 ของ George Orwell ที่รัฐบาลจะทำตัวเป็นพี่ใหญ่คอยสอดส่องดูแลจัดระเบียบความคิดให้กับประชาชนตั้งแต่ก่อนที่จะก่อรูปความคิดเสียอีก
    ไม่ว่าจะเป็นรูปแบบใด การคิดใหม่จัดการใหม่ต่อพื้นที่ในไซเบอร์สเปซดั่งที่กล่าวไปแล้วนี้ ย่อมเป็นบทพิสูจน์ที่ชัดเจนว่าสังคมสารสนเทศที่กำลังหยั่งรากในสังคมไทยเป็นไปเพื่อประโยชน์ของใครกัน ?


3. โซนนิ่งเน็ตคาเฟ่แข็งข้อรีดภาษีเพิ่ม
http://www.itmall.co.th/news/news227/news227.htm
(ไม่พบข่าวนี้ใน itmall.co.th แล้วครับ)
ทางเว็บไซต์น่าจะเปลี่ยนระบบรายงานข่าว
    ก.ไอซีทีเตรียมเชิญผู้ประกอบการร้านอินเทอร์เน็ตมาประชุมเพื่อวางโซนนิ่งวันพุธนี้ เล็ง 2 แนวทางหลักแหล่งท่องเที่ยวอนุญาตเปิดได้ 24 ชม.ใกล้รร.ปิด 4 ทุ่ม งัดมาตรการเฉียบฝ่าฝืนส่งสรรพากรเก็บภาษีเพิ่ม
    น.ต.วุฒิพงษ์ พงษ์สุวรรณ ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร(ไอซีที) ในฐานะประธานคณะกรรมการสืบสวน ป้องกันและปราบปรามอาชญากรรมคอมพิวเตอร์(Cyber Inspector) ได้กล่าวถึงแนวทางการแก้ปัญหาเว็บไซต์ไม่เหมาะสมว่า กระทรวงไอซีทีได้เปิดให้ประชาชนทั่วไปแจ้งเว็บไซต์ไม่เหมาะสม เพื่อทำการตรวจสอบและสั่งปิด ซึ่งหากเป็นเว็บไซต์ต่างประเทศจะสกัดกั้นไม่ให้คนไทยเข้าถึงได้ เช่น เว็บไซต์ลามกอนาจาร, เว็บไซต์ที่เผยแพร่ภาพหรือข้อความอันเป็นการหมิ่นประมาทหรือดูหมิ่นพระมหากษัตริย์ พระราชินี รัชทายาทหรือผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์, เว็บไซต์ที่เป็นภัยต่อความมั่นคงของชาติ เช่น เว็บไซต์ขบวนการก่อการร้าย เว็บไซต์สอนการทำวัตถุระเบิดและการก่อการร้าย, เว็บไซต์ที่เกี่ยวข้องกับการพนัน, เกมออนไลน์ที่ส่งเสริมให้เกิดการนิยมหรือพฤติกรรมใช้ความรุนแรง โดยเฉพาะเด็กและเยาวชน รวมถึงเว็บไซต์ที่ไม่เหมาะสม เช่น ลบหลู่ศาสนา ต่อต้านสินค้าไทย การทารุณต่อสัตว์
    ที่ผ่านมา Cyber Inspector สั่งปิดเว็บไซต์แล้วจำนวนหนึ่งแต่อาจจะยังไม่มากนัก เนื่องจากคณะกรรมการฯต้องตรวจสอบอย่างรอบคอบ เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดการกลั่นแกล้งกัน ขณะนี้กำลังมีความพยายามร่วมกับนานาชาติที่จะนำซอฟต์แวร์มาใช้ในการปิดกั้นเว็บไซต์ไม่เหมาะสมเหล่านี้ โดยจะนำไปติดตั้งที่ผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ตทุกราย หากเป็นเว็บไซต์ในประเทศไทยผู้จัดทำเว็บไซต์จะต้องมีความผิดตามกฎหมายด้วย
    น.ต.วุฒิพงษ์ กล่าวว่า ความร่วมมือของผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ต 18 ราย หรือไอเอสพีที่เปิดให้บริการนั้น ให้ความร่วมมืออย่างดีในการป้องกันไม่ให้ผู้ใช้สามารถเข้าไปใช้บริการ เพราะไอเอสพีแต่ละรายนั้นมีความต้องการที่อยากจะให้กลุ่มผู้ใช้สามารถใช้ประโยชน์ด้านการค้นคว้าข้อมูล มากกว่าที่จะเข้าไปดูเนื้อหาที่ไม่เหมาะสม ซึ่งส่วนใหญ่ผู้ประกอบการมีความเห็นที่ตรงกับทางคณะกรรมการฯ
    แต่ทั้งนี้การป้องกันจะทำได้เฉพาะในส่วนของลูกค้าที่ใช้การเชื่อมต่อแบบหมุนเข้าที่ไม่สามารถเข้าไปใช้บริการได้ แต่ในส่วนของลูกค้าที่เป็นรูปแบบองค์กรที่เชื่อมต่อผ่านระบบเครือข่ายต่างๆ นั้น ยังสามารถแอบดูได้ แต่คาดว่าในส่วนนี้ทางไอเอสพีจะรีบไปแก้ไข เพื่อที่จะได้เกิดความเหมาะสมไปในทิศทางเดียวกัน โดยอาจจะมีแจ้งขอความร่วมมือไปยังผู้ดูแลองค์กรหรือการให้ซอฟต์แวร์ ข้อมูล เพื่อที่จะได้บล็อคเว็บที่ไม่เหมาะสมให้กับพนักงานในองค์กรเข้าไปใช้งานได้
    น.ต.วุฒิพงษ์ กล่าวว่า การป้องกันในการให้บริการเรื่องดังกล่าว ถือว่าไม่ได้เป็นการสร้างกระเสความสนใจในการดึงผู้คนไปใช้บริการเว็บไม่เหมาะสม แต่จะเป็นการปรามไม่ให้มีการขยายตัวในการเข้าไปชมและลดปริมาณจำนวนการใช้งานให้ลดน้อยลง ซึ่งการใช้งานควรจะใช้ในเรื่องที่เหมาะสมมากกว่า
    ซึ่งถ้านำตัวเลขเข้าชมมาพิจารณา ถ้ามีผู้ชมเข้าเว็บลามกวันละแสนรายกับการเข้าไปดูเว็บข้อมูลวันละพันรายอย่างนี้เหมาะสมหรือไม่ การทำแบบนี้อยากจะให้ประชาชนนั้นไปสนใจกับสิ่งที่ดีมากกว่าการที่เข้าไปดูเนื้อหาที่ไม่เป็นสาระ แต่ไม่อยากปิดกั้นอะไรนักเพราะอาจจะถือว่าเป็นการละเมิดสิทธิส่วนบุคคลมากเกินไป
    ทั้งนี้ประชาชนสามารถแจ้งเบาะแส ข้อมูลเว็บที่ไม่เหมาะสม ผ่านทางเว็บไซต์www.mict.go.th หรือที่เว็บไซต์ของการสื่อสารแห่งประเทศไทย ที่ www.cattelecom.co.th เพื่อที่ทางคณะกรรมการฯจะได้นำข้อมูลมารวบรวมและป้องกันผู้ให้บริการเว็บที่ละเมิดสามารถเปิดให้บริการได้
    สำหรับการควบคุมและส่งเสริมผู้ให้บริการร้านอินเทอร์เน็ตคาเฟ่ น.ต.วุฒิพงษ์กล่าวว่า ในขณะนี้ทางกระทรวงไอซีทีได้มีการเตรียมการที่จะแยกกลุ่มผู้ให้บริการร้านอินเทอร์เน็ตให้มีความชัดเจนมากขึ้นในส่วนการแยกประเภทบริการคือ ร้านให้บริการเฉพาะอินเทอร์เน็ตหรือร้านให้บริการด้านเกม
    “การแยกให้บริการเพื่อที่จะสะดวกต่อการส่งเสริมและดูแลให้กับผู้ประกอบการร้านอินเทอร์เน็ตได้ ทั้งในส่วนของการจดทะเบียนให้อนุญาต การช่วยเหลือด้านซอฟต์แวร์ หากไม่มีการแยกอย่างชัดเจนก็ไม่รู้ว่าจะทำอย่างไร”
    น.ต.วุฒิพงษ์ กล่าวว่า ทางไอซีทีได้ประสานไปยังกระทรวงพาณิชย์ในการให้ความช่วยเหลือในการออกใบอนุญาตให้กับร้านอินเทอร์เน็ตต่างๆ โดยคาดว่าการทำครั้งไม่เกินสิ้นปีนี้อย่างแน่นอน
    ซึ่งการจัดระเบียบผู้ให้บริการจะทำทั่วประเทศ โดยจะเริ่มต้นที่การออกใบอนุญาตก่อน เพื่อที่จะได้ทราบถึงจำนวนผู้ประกอบการมีกี่ราย และทางกระทรวงไอซีทีจะมีการจัดอบรมแนะนำให้กับผู้ประกอบการต่างๆ ทุกภูมิภาค โดยอาจจะขอความร่วมมือไม่ได้มีการบังคับในการที่จะเข้าร่วมการจัดรูปแบบบริการในทั้งข้อดี ข้อเสีย และสิ่งที่รัฐจะเข้าไปช่วยเหลือ เช่น เรื่องซอฟต์แวร์ ค่าบริการอินเทอร์เน็ต เป็นต้น

    ปรับปรุง : 13 พฤษภาคม 2548
    http://www.uni.net.th/aboutUninet/aboutUninet7.htm
    ในปัจจุบันสำนักงานบริหารเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อพัฒนาการศึกษา 
    มีสมาชิกจากมหาวิทยาลัย/ สถาบัน/หน่วยงานราชการทั่วประเทศจำนวนทั้งสิ้น 133 แห่ง 
    แบ่งเป็น 
    - มหาวิทยาลัยสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา 20 แห่ง 
    - วิทยาเขตสารสนเทศ 17 แห่ง 
    - มหาวิทยาลัยในกำกับของสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา 4 แห่ง 
    - วิทยาเขตสารสนเทศ 1 แห่ง 
    - สถาบันอุดมศึกษาสังกัดกระทรวงศึกษาธิการ/หน่วยงานราชการในสังกัดกระทรวงศึกษาธิการ 82 แห่ง 
    - สถาบันการศึกษาสังกัดกระทรวงกลาโหม 2 สถาบัน 
    - มหาวิทยาลัยเอกชน 8 แห่ง 
    - หน่วยงานราชการในสังกัดกระทรวงมหาดไทย 1 แห่ง 
    - หน่วยงานราชการในสังกัดรัฐสภา 1 แห่ง
    
    มหาวิทยาลัยสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา   
    จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
    มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ 
    มหาวิทยาลัยขอนแก่น 
    มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
    มหาวิทยาลัยทักษิณ 
    มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ 
    มหาวิทยาลัยนเรศวร 
    มหาวิทยาลัยบูรพา 
    มหาวิทยาลัยมหาสารคาม 
    มหาวิทยาลัยมหิดล 
    มหาวิทยาลัยแม่โจ้ 
    มหาวิทยาลัยรามคำแหง 
    มหาวิทยาลัยศิลปากร 
    มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
    มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ 
    มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช 
    มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี 
    สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง 
    สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ 
    สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ 
       
    วิทยาเขตสารสนเทศ
    มหาวิทยาลัยมหิดล ศาลายา
    มหาวิทยาลัยมหิดล วิทยาเขตกาญจนบุรี
    มหาวิทยาลัยศิลปากร วิทยาเขตสนามจันทร์
    มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตชลบุรี
    มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตสกลนคร
    มหาวิทยาลัยขอนแก่น วิทยาเขตหนองคาย
    มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ วิทยาเขตลำปาง
    มหาวิทยาลัยนเรศวร วิทยาเขตกำแพงเพชร
    มหาวิทยาลัยนเรศวร วิทยาเขตพะเยา
    มหาวิทยาลัยบูรพา วิทยาเขตจันทบุรี
    มหาวิทยาลัยแม่โจ้ วิทยาเขตแพร่
    มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตตรัง
    มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี
    มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตสุราษฎร์ธานี
    สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง วิทยาเขตชุมพร
    สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ วิทยาเขตปราจีนบุรี
       
    มหาวิทยาลัยในกำกับของสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา
    มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี 
    มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี
    มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ 
    มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง 
       
    วิทยาเขตสารสนเทศ
    มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี วิทยาเขตราชบุรี
       
    สถาบันอุดมศึกษาสังกัดกระทรวงศึกษาธิการ / หน่วยงานราชการในสังกัดกระทรวงศึกษาธิการ
    เครือข่ายสำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ (MOE-Net)
    เครือข่ายมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
    มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย กรุงเทพฯ
    มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตเชียงใหม่
    มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตขอนแก่น
       
    เครือข่ายมหาวิทยาลัยราชภัฏ 
    มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย
    มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่
    มหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง
    มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์
    มหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร 
    มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์ 
    มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลย์สงคราม
    มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบูรณ์
    มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม
    มหาวิทยาลัยราชภัฎเลย
    มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร
    มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี
    มหาวิทยาลัยราชภัฎนครราชสีมา 
    มหาวิทยาลัยราชภัฎบุรีรัมย์ 
    มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์ 
    มหาวิทยาลัยราชภัฎ อุบลราชธานี
    มหาวิทยาลัยราชภัฏราชนครินทร์ 
    มหาวิทยาลัยราชภัฏเทพสตรี
    มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา 
    มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ในพระบรมราชูปถัมภ์
    มหาวิทยาลัยราชภัฎรำไพพรรณี
    มหาวิทยาลัยราชภัฏกาญจนบุรี
    มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม
    มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี 
    มหาวิทยาลัยราชภัฏหมู่บ้านจอมบึง
    มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช
    มหาวิทยาลัยราชภัฏภูเก็ต
    มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา
    มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา
    มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี
    มหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม
    มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี 
    มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา
    มหาวิทยาลัยราชภัฎพระนคร 
    มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต 
    มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา
       
    เครือข่ายมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล
    มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี
    มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลกรุงเทพ
    มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลตะวันออก
    มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร
    มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลรัตนโกสินทร์
    มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา
    มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย
    มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลสุวรรณภูมิ
    มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน 
      
    สถาบันการศึกษาสังกัดกระทรวงกลาโหม    
    โรงเรียนนายเรืออากาศ 
    วิทยาลัยแพทยศาสตร์พระมงกุฏเกล้า 
       
    มหาวิทยาลัยเอกชน    
    มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย
    มหาวิทยาลัยเอเชียอาคเนย์ 
    มหาวิทยาลัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งเอเซีย 
    มหาวิทยาลัยโยนก 
    สถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเชีย (AIT) 
    มหาวิทยาลัยพายัพ
    มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีมหานคร
    วิทยาลัยกรุงธนเชียงราย
       
    หน่วยงานราชการในสังกัดกระทรวงมหาดไทย   
    ฐานข้อมูลทะเบียนกลาง ของกรมการปกครอง
       
    หน่วยงานราชการในสังกัดรัฐสภา   
    สถาบันพระปกเกล้า 
    
rspsocial
Thaiall.com