thaiall logomy background
บล็อก (Blog) เกี่ยวกับ swot และ plan
my town
ไอทีในชีวิตประจำวัน
การทำแผนของวิทยาลัยสงฆ์นครลำปาง
[itinlife278] 10 ก.พ.54 มีการประชุมเชิงปฏิบัติการเพื่อจัดทำแผนยุทธศาสตร์การพัฒนาวิทยาลัยสงฆ์นครลำปาง ซึ่งเป็นขั้นตอนหนึ่งในการจัดทำแผนยุทธศาสตร์ที่นำไปสู่การทำแผนปฏิบัติ แล้วดำเนินการตามแผนงาน/โครงการ เมื่อโครงการแล้วเสร็จก็จะประเมินผล และนำผลมาปรับปรุงอย่างต่อเนื่องสอดรับกับการประกันคุณภาพการศึกษาทั้งภายในและภายนอก โดยการจัดทำแผนครั้งนี้อยู่ในขั้นตอนของการจัดตั้งวิทยาลัยสงฆ์นครลำปาง ซึ่งปัจจุบันสถาบันมีฐานะเป็นห้องเรียนบุญวาทย์วิหาร ขึ้นตรงต่อมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตแพร่ มีปรัชญาของสถาบันคือ จัดการศึกษาพระพุทธศาสนา บูรณาการกับศาสตร์สมัยใหม่ พัฒนาจิตใจและสังคม
   การระดมความคิดเห็นจากผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง (Stakeholder) ของมหาวิทยาลัยทั้งบุคลากรภายใน คณาจารย์ อาจารย์พิเศษ เจ้าหน้าที่ พระนิสิต และคนในชุมชน ซึ่งข้อมูลที่ต้องการจากเวทีนี้ คือ ผลการวิเคราะห์สภาพแวดล้อมภายในและภายนอก (SWOT : Strength Weakness Opportunity Threat) เพื่อนำไปสังเคราะห์อย่างเป็นระบบจนกระทั่งได้แผนยุทธศาสตร์การพัฒนาวิทยาลัยสงฆ์นครลำปาง ระยะ 5 ปี ซึ่งการประชุมครั้งนี้มีการบรรยายพิเศษให้ความรู้เรื่องเกณฑ์การประกันคุณภาพการศึกษาตามองค์ประกอบที่เกี่ยวกับแผนยุทธศาสตร์ของสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา (สกอ.) และมีการบรรยายในหัวข้อหลักการ แนวคิด และวิธีการจัดทำแผน โดย ดร.วันชาติ นภาศรี อาจารย์มหาวิทยาลัยโยนก ซึ่งองค์ประกอบหลักของการวางแผนกลยุทธ์มี 4 ขั้นตอน คือ 1) การวิเคราะห์สภาพแวดล้อมภายในและภายนอก 2) กำหนดทิศทางพัฒนาองค์กรด้านวิสัยทัศน์ พันธกิจ และวัตถุประสงค์หลัก 3) กำหนดยุทธศาสตร์การพัฒนา 4) กำหนดยุทธวิธีการดำเนินงาน
   ประเด็นสำคัญที่ถูกกล่าวถึงเพื่อนำไปสู่การพัฒนาวิทยาลัยสงฆ์มีหลากหลาย อาธิ วิสัยทัศน์ พันธกิจ วัตถุประสงค์ e-library database information hardware software ผู้ทำหน้าที่ให้ความรู้ คนในท้องถิ่น การระดมทุน ความเสี่ยง การจัดการความรู้ ตัวบ่งชี้คุณภาพ และเป้าหมาย ซึ่งการจัดทำแผนยุทธศาสตร์หรือแผนกลยุทธ์จำเป็นต้องใช้เวลาในแต่ละขั้นตอนเพื่อกลั่นกรองให้ได้มาซึ่งแผนยุทธศาสตร์ที่สมบูรณ์ เมื่อดำเนินการไปแล้วก็ทบทวนความทันสมัยของแผนยุทธศาสตร์ทุกปี เพื่อให้สอดรับกับวิสัยทัศน์ และสภาพการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นในสังคม และองค์กรอย่างต่อเนื่องต่อไป ภาพใน facebook

19 พ.ค.56 หลายปีก่อนเคยเห็นการทำ SWOT ของมจร.ลำปาง รู้สึกประทับใจ มาวันนี้พบหนังสือ "ทำไมเรารักพระเจ้าอยู่หัว" เมื่อเปิดอ่านหน้า 25 -- 64 ก็พบว่า พระธรรมโกศาจารย์ เล่าว่า มจร.เติมโตมาจนถึงทุกวันนี้ก็ด้วยวิธีการบริหารเชิงกลยุทธ์ (Strategic Management) p.39 แล้วให้นิยามคำว่า การบริหารเชิงกลยุทธ์ หมายถึง การทำงานให้สำเร็จตามเป้าหมายที่วางไว้ด้วยการใช้แผนการอย่างพลิกแพลงตามสถานการณ์ ซึ่งเนื้อหาในหนังสือ พบได้ในเว็บไซต์ของ mcu แล้วผมคัดลอกมาเขียนเป็นบล็อกไว้ที่ blog site + mcu site

[itinlife422] 3 พ.ย.56 บางครั้งสวอตก็ไม่ใช่ทางออกของธุรกิจ
   คำว่า สวอต (SWOT) เป็นคำย่อจากพยัญชนะตัวแรกหลายคำ (Acronym) ซึ่งมาจากคำว่า Strengths, Weakness, Opportunities และ Threats เป็นการวิเคราะห์สภาวะแวดล้อมภายในและภายนอก เป็นเครื่องมือในการประเมินสถานการณ์ขององค์กรหรือโครงการ ซึ่งอัลเบิร์ต ฮัมฟรี (Albert Humphrey) เป็นผู้นำเสนอเทคนิคในงานสัมมนาที่มหาวิทยาลัยสแตนฟอร์ดในราวทศวรรษที่ 1960 ซึ่งเหมาะกับองค์กรที่ต้องการใช้ผลการวิเคราะห์ที่อยู่บนความสมดุล โดยใช้ประโยชน์จากจุดแข็ง ปิดจุดอ่อนที่มี ใช้โอกาส และหลีกเลี่ยงภัยคุกคามที่เผชิญอยู่
   เคยอ่านประวัติของสตีฟ จอบส์ (Steve Jobs) ผู้ได้ชื่อว่าเป็นนักนวัตกรรม (Innovator) ที่ยิ่งใหญ่คนหนึ่งของอเมริกา ซึ่งพบว่าความสำเร็จของการคิดค้นผลิตภัณฑ์ของบริษัทแอปเปิ้ล ไม่ได้มาจากการวิเคราะห์สภาพแวดล้อมเพียงอย่างเดียว แต่มาจากจินตนาการถึงสิ่งที่ต้องการแต่ยังมองไม่เห็น อาทิ iPod ที่มาพร้อมประโยคว่า "1,000 songs in your pocket" เป็นอุปกรณ์ที่มาแทนที่เครื่องเล่นเทปแบบเดิม ตอนที่คิดค้นนั้นก็ยังไม่เคยมีใครเห็นอุปกรณ์แบบนี้เกิดขึ้น แต่เป็นหน้าที่ของทีมวิศวกรที่จะต้องไปสร้าง พัฒนา และสรรหามาให้ได้ รวมถึง iPhone และ iPad ที่เกิดจากการรวมความสามารถที่เคยถูกคิดค้นโดยบริษัทหลายแห่งอย่างกระจัดกระจาย แล้วถูกรวมเข้าไปอยู่ในอุปกรณ์ชิ้นเดียวกัน
   หากพิจารณาจุดแข็ง (Strengths) ของบริษัทก็พบว่าบริษัทมีงบประมาณที่จะซื้อสิทธิบัตร (Patent) หรือสิทธิ์อันชอบธรรมต่อนวัตกรรมของบริษัทอื่น มาไว้ในครอบครองได้มากมาย อาทิ การซื้อสิทธิบัตรของบริษัทโกดัก หรือการซื้อบริษัท AuthenTec ที่รวมถึงสิทธิบัตรที่บริษัทนั้นถือครองเกี่ยวกับลายนิ้วมือ ส่วนคำว่าโอกาส (Opportunities) คือ กำลังซื้อของผู้บริโภคที่สูง และการพัฒนาของเทคโนโลยีทั้งฮาร์ดแวร์ และซอฟท์แวร์ยังไม่มีที่ท่าว่าจะหยุด ทั้งจุดแข็งและโอกาสต่างเป็นพลังให้การพัฒนาผลิตภัณฑ์ของบริษัทแอปเปิ้ลมีความต่อเนื่องแบบกบกระโดด (Leap frog) ที่ไม่ต้องกังวลกับจุดอ่อน หรือภัยคุกคามมากนัก หากบริษัทแอปเปิ้ลใช้การวิเคราะห์สวอตมาเป็นฐานในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ก็คงไม่อาจก้าวกระโดดอย่างที่เป็นอยู่ในทุกวันนี้
+ การซื้อกิจการ + การจดสิทธิบัติ = นวัตกรรมใหม่ ๆ
บทเรียนการใช้ SWOT
กรณีศึกษา : การใช้ SWOT เพื่อทำให้ร้านชำสามารถอยู่กับร้านเลขเจ็ดได้
บทแลกเปลี่ยนที่พบใน http://pantip.com/topic/30883540
ไปพบการแชร์เรื่องราวดี ๆ ใน FB Profile ของ zongkiat pavadee อ่านแล้วรับรู้ได้ว่า
ผู้ตอบขั้นเทพใช้ประโยชน์จาก SWOT อย่างเห็นได้ชัด
(SWOT = Strengths, Weaknesses, Opportunities, Threats)
ทำให้ได้บทเรียนว่าสามารถใช้ SWOT เป็น SWORD สำหรับเอาชนะปัญหาในการแข่งขัน
ถ้ามีปัญหา แล้วไม่วิเคราะห์ SWOT จะรู้เขารู้เราได้อย่างไร
นี้เป็นเพียงเทคนิคเดียวที่ผู้ตอบนำมาใช้ และแก้ปัญหาได้ตรงจุด
อีกเทคนิคที่พบในคำตอบ คือ CSR (Coporate Social Responsibility)
แต่ไม่ได้ขยายความทางวิชาการเหมือน SWOT
ต้องขอชื่นชมผู้ตอบครับ น่าจะเป็นบทเรียนแก่ร้านของชำได้อย่างเป็นรูปธรรม
เป็นมุมมองของการพลิกวิกฤตให้เป็นโอกาส .. จริง ๆ ๆ
ผู้ถาม และมีปัญหา : http://pantip.com/profile/962611
บ้านเราเป็นร้านของชำเล็ก ๆ + ร้านก๋วยเตี๋ยว หน้าโรงงานมีผู้คนพลุกพล่านพอสมควร
กิจการนี้พ่อแม่เราทำมา 20 กว่าปีแล้ว  กลุ่มลูกค้าส่วนมากจะเป็นคนงานและชาวบ้านในซอย
เราเป็นร้านชำร้านเดียวในย่านนั้น เรียกว่าขายดีมาก ๆ ทั้งของชำและก๋วยเตี๋ยว
(ขาย 20 -25 ราคาขายคนงานเพราะขายแพงกว่านี้ก็ไม่มีคนกิน
กำไรจากก๋วยเตี๋ยวแทบไม่เห็น ที่ขายเพราะช่วยดึงลูกค้า ให้ร้านเราคึกคักขึ้น )
ร้านเราเปิดตั้งแต่เช้ายันเย็น ลูกค้าเข้าไม่ขาด ยิ่งช่วงพักของโรงงานทอนตังแทบไม่ทัน
อาชีพนี้ทำให้เรามีกินมีใช้อย่างสุขสบายแม่กับพ่อสามารถเลี้ยงเรากับน้องได้อย่างดี
จนเมื่อปีที่ผ่านมายอดขายตกลง เพราะแรงงานพม่าเข้ามาแทนแรงงานชาวอีสาน  
กำลังการซื้อของแรงงานพม่าน้อยว่าชาวอีสานอย่างเห็นได้ชัด
พวกนี้จะกินใช้อย่างประหยัดมาก
แต่เราก็ยังพออยู่ได้เรื่อย ๆ เพราะยังมีชาวบ้านแถวนั้นแวะเวียนมาซื้ออยู่
จนกระทั่งเร็ว ๆ นี้ ร้านเลขเจ็ด มาเปิดใกล้บ้านห่างกันไม่ถึง 20 เมตร
สร้างใหญ่โตอลังการมาก (ประมาณตึกแถว 4 ห้องติด)
ตอนนี้ท้อมากค่ะ คนแห่เข้าร้านสะดวกซื้อหมด ร้านเราเงียบเป็นป่าช้าเลย
ที่พอขายได้ก็แค่บุหรี่แบ่งขาย เหล้าแบ่งขาย เป๊ปซี่น้ำแข็ง
นึกแล้วก็ใจหายสงสารคุณแม่นั่งเฝ้าร้านอย่างเหงา ๆ  ดีที่ยังมีก๋วยเตี๋ยว
แต่อีกไม่ปี่ปีพ่อแม่เราคงขายก๋วยเตี๋ยวไม่ไหว ท่านจะ 60 แล้ว
กลุ้มใจมากค่ะ เลยอยากขอคำปรึกษาจากเพื่อน ๆ ต่อ เราควรทำอย่างไรดี
ตอนนี้เราจัดร้านใหม่ให้ดูดีขึ้น เรื่องความสะอาดเราก็ตรวจเช็คตลอด
แต่ก็ยังเงียบ ยิ่งวันโรงงานปิดยิ่งเงียบ  คนบ้านไม่แทบไม่เข้าเลย เฮร้ออ
แต่เราก็เข้าใจผู้บริโภคนะคะ ที่นู่นมีพร้อมทุกอย่าง แอร์ก็เย็น  
ถ้าเป็นเราก็ต้องเลือกสิ่งที่ดีที่สุด
ณ ตอนนี้ยังมองอนาคตไม่ออกเลยค่ะ ว่าจะไปทางไหนดี
ส่วนตัวเราตอนนี้ก็เพิ่งเรียนจบใหม่ทำงานเงินเดือนหมื่นกว่าบาท
น้องเราก็ยังเรียนไม่จบ  ทุกวันนี้เครียดมากนอนไม่หลับเลย
เวลามองบ้านเรากับร้านเลขเจ็ดเห็นภาพแล้วมันสะเทือนใจค่ะ
เพื่อน ๆ พอมีไอเดีย มาแนะนำมั้ยคะ ว่าเราควรทำยังไงต่อไป  
หรือจะเปลี่ยนจากร้านของชำมาขายอย่างอื่นแทน
แล้วควรจะขายอะไรดี
ผู้ตอบขั้นเทพ : http://pantip.com/profile/972021
อย่ากลัวค่ะน้อง พี่ (น่าจะพี่นะคะ อายุ 33 ค่ะ) ก็ขายของชำค่ะ
(ไม่ใช่สมาชิก pantip ค่ะ แต่สมัครมาตอบกระทู้นี้โดยเฉพาะ)
ร้านอยู่ห่างจาก ร้านเลขเจ็ด ประมาณ 20 ก้าวค่ะ
(ใกล้มากก เพราะทีแรก ร้านเลขเจ็ด จะมาขอเช่าที่บ้านค่ะ
แต่ถามจากรายได้ต่อเดือนแล้วไม่พอ คชจ. ในบ้านแน่นอน เลยตกลงใจไม่ทำค่ะ
เค้าเลยมาเช่าห้องที่ถัดไปจากที่บ้าน 3 ห้อง)
จะบอกว่าการที่ ร้านเลขเจ็ด มาเปิดนั้นคือโอกาสนะคะ  
ก่อน ร้านเลขเจ็ด มาเปิด พี่ก็ทำร้านต่อมาจากแม่ค่ะ (แม่เปิดมาจะ 30 ปีแล้ว)
ขายแต่ของชำอย่างเดียว ร้าน 2 คูหาค่ะ ขายส่งบ้างบางอย่าง
ตอน ร้านเลขเจ็ด มาเปิดวันแรก ร้านเงียบมากเลยวันนั้น
จำได้เลยนั่งดูลูกค้าถือลูกโป่งกับถุง ร้านเลขเจ็ด เดินผ่าน
จนอาทิตย์แรกผ่านไป เริ่มคิดแล้วรายได้ลดไปอย่างเห็นได้ชัด เอาไงดีวะ
(อันนี้บอกตัวเองนะคะ)
เพราะมีอีกหลายชีวิตในบ้านที่ต้องรับผิดชอบ เลยมาเริ่มคิด
ข้อ 1 คือ ร้านเลขเจ็ด มีอะไรและไม่มีอะไร และเรามีอะไรและไม่มีอะไร
.. งงมั้ยคะ จะสรุปให้ฟังทีหลังนะ
ข้อ 2 คือ ลูกค้าไปซื้ออะไรใน ร้านเลขเจ็ด
หาจุดอ่อนจุดแข็งทั้งของเราและของเค้าค่ะ
(SWOT analysis ที่เรียนมาเพิ่งจะได้รู้ประโยชน์จริงจังก็วันนี้ 555 เขียนผิดอย่าว่ากันนะคะ)
จากการวิเคราะห์ข้างต้น จุดแข็งของเราคือเรื่องสินค้า ราคา และลูกค้าค่ะ เอาทีละข้อนะคะ
(ตอบยาวเพราะอยากให้เพื่อน ๆ ร้านชำอีกหลาย ๆ คนสู้ ๆ เหมือนกันค่ะ อย่ายอมแพ้นะคะ)
สินค้า ความหลากหลายเราต้องมีให้มากกว่าค่ะ
ตอนเรียนโชคดีที่บังเอิญอาจารย์ให้หาข้อมูลของ ร้านเลขเจ็ด
เลยรู้ว่า ร้านเลขเจ็ด จะคัดเลือกเฉพาะสินค้าขายดี 3 อันดับต้น ๆ เข้ามาขายค่ะ
ทุกสาขาจะมีสินค้าคล้าย ๆ กัน แต่ความต้องการของลูกค้าแต่ละพื้นที่ไม่เหมือนกันนะคะ
เราคนพื้นที่ คุยกับลูกค้าบ่อย ๆ เวลาเค้ามาซื้อของเราจะได้รู้ว่าเค้าต้องการอะไร
ความยืดหยุ่นในการปรับเปลี่ยนสิ่งต่าง ๆ ของเรามากกว่าค่ะ  
สังเกตดูลูกค้าเราเป็นใคร ชอบอะไร ก็หามาขายค่ะ อีกอย่างต้องไวนะคะ
โฆษณาห้ามเปลี่ยนช่องดูเข้าไปอะไรออกใหม่ ต้องหามาขายให้ทันโฆษณาค่ะ
ร้านเลขเจ็ด  ขายได้เราก็ต้องขายได้
ราคาสินค้า เดินไปดูเลยค่ะที่ ร้านเลขเจ็ด ขายกี่บาท เราตั้งราคาให้ถูกกว่าค่ะ
ร้านเลขเจ็ด จะบวกกำไรเยอะมาก เราลดราคาลงมาหน่อย หาร้านส่งที่ราคาถูก
(ที่บ้านพี่แยกซื้อค่ะ กว่าจะได้ของครบนี่บางทีวนเกือบ 10 ร้าน  -_-")
ที่สำคัญหมั่นไปดูเค้าขายอะไร แปลก ๆ ใหม่ ๆ ดูจะขายได้ต้องขวนขวายไปหามาค่ะ
ป้ายราคาต้องมีให้ชัดเจนนะคะ ไม่ต้องถึงขนาดไปซื้อป้ายแบบใน ร้านเลขเจ็ด มาก็ได้
แค่ตัวยิงราคาแบบที่ติดที่สินค้าเลย ตัวละ 2-300 บาทก็ใช้ได้แล้ว
ยิ่งอันไหนถูกกว่ามาก มีคอมใช้คอมปรินท์ติดให้เห็นตัวโต ๆ ค่ะ
สร้างความแตกต่าง ของแบ่งขายนี่ตัวได้กำไรเลยค่ะ
บ้านพี่แบ่งทั้งถุงใส่กับข้าว ยางรัดของ ขนมปี๊บ (ทำแพคเกจให้สวยงามนะคะ กำไรดีมาก)
หลัง ๆ มีลูกค้ามาบ่นเรื่องเด็ก ๆ ชอบไปซื้อของเล่นในร้านเลขเจ็ด
ซึ่งราคาแพงมาก พี่เลยไปหาของเล่นแผงมาขายค่ะ
ตอนนี้ลูกค้าเด็ก ๆ เลยกลับมาเพียบแล้วค่ะ อิอิ แต่ขายของเด็กต้องทันเด็กนะคะ
ตอนนี้เค้าเล่นอะไรกัน อะไรกำลังฮิต ถามเอาจากร้านขายส่งนั่นแหละค่ะ
เลือกร้านที่เค้าแนะนำเราดี ๆ
อีกอย่างสินค้าเครื่องแต่งตัว ร้านเลขเจ็ด จะไม่ขายของพวกฮิต ๆ ตามตลาดนัดค่ะ
เช่น พวกสบู่ต่าง ๆ ครีมยอดฮิต
อีกอย่าง ร้านเลขเจ็ด ข้างบ้านเราพนักงานหน้าเป็นตูด
(ขอโทษที่ใช้คำไม่สุภาพค่ะ ลูกค้าพูดมาอีกที)
ร้านเราเลยได้เปรียบ เพราะเราอยากให้ลูกค้าออกจากร้านเราไปด้วยรอยยิ้มมากกว่า ยิ้ม
อ้อ รายได้เสริมบ้านพี่คือมีตู้น้ำดื่มหยอดเหรียญ กับตู้เติมเงินมือถือค่ะ
(ตู้ร้านเลขเจ็ด คิดค่าบริการตามยอดที่เติม ตู้ที่บ้านพี่ พี่ตั้งค่าบริการเองถูกกว่า ร้านเลขเจ็ด ค่ะ
รายได้ไปเอาจากส่วนแบ่ง % จากเงินที่ลูกค้าเติมแทน)
ปีใหม่พี่มีของขวัญให้ลูกค้าจับรางวัลด้วยค่ะ ของเล็ก ๆ น้อย ๆ
แต่ถือว่าเป็นน้ำใจตอบแทนลูกค้า

ลูกค้าก็สนุกไปกับเราด้วย
หลายอย่างค่ะ เริ่มเมื่อยมือแล้ว จิ้มในมือถือ -_-"
สรุปคือค่อย ๆ คิดค่ะ แก้ปัญหาทีละอย่าง ความเครียดช่วยอะไรไม่ได้เลยมีแต่ทำให้แย่ลง
สิ่งสำคัญคือ [สติ] นะคะ
ทุกวันนี้ ร้านเลขเจ็ด ทำให้พี่หมดหนี้ค่ะ
ก่อนร้านเลขเจ็ด มาเปิดมีหนี้อยู่ประมาณล้านกว่าบาท ร้านเลขเจ็ด
เปิดได้ 1 ปีกว่า ๆ ยอกขายที่ร้านพี่เพิ่มขึ้นมาก หนี้จากที่ไม่ค่อยขยับไปไหนก็หมดไป
(ขอบคุณ ร้านเลขเจ็ด ค่ะ)
ปัจจุบันร้านจาก 2 ห้องขยายเป็น 3 ห้องแล้วค่ะ สินค้าในร้านเยอะมากขึ้นมาก
ลูกค้าก็เยอะขึ้นตามมามากเหมือนกัน
(ร้านเลขเจ็ด ช่วยดึงลูกค้านะคะ บ้านพี่ไม่ได้อยู่ในตลาด
ตะก่อนลูกค้าจะเลยเข้าตลาด พอ ร้านเลขเจ็ด มาเปิดเลยดึงลูกค้าส่วนนี้มา)
หนี้ที่หมดเริ่มมีก้อนใหม่แล้วค่ะ เอามาลงทุนเพิ่ม แต่ไม่กลัวแล้วค่ะ
แถมตอนนี้ Big C มาแล้ว ข่าวว่า Lotus กำลังจะตามมา
แต่ก็ไม่ท้อค่ะ ลูกค้าไป bigc มาส่วนใหญ่ว่าของแพง บ้านเราถูกกว่า
(จะไม่ถูกกว่าได้ยังไง เราแอบดูราคาจากในเว็บ bigc อิอิ)
ไม่ได้มีแต่ร้านเรานะคะที่คิดว่า ร้านเลขเจ็ด มาเปิดแล้วไม่ดี คนรู้จักกันเปิดร้านคน

ละอำเภอเจอสถานการณ์เดียวกัน
เค้าก็ขายดีขึ้นเหมือนกันค่ะ ตอนนี้ ร้านเลขเจ็ด เปิดมาได้น่าจะ 3-4 ปีแล้ว
ได้น้องพนักงานขาย ร้านเลขเจ็ด มาเป็นลูกค้าเราด้วยอีก อิอิ
อย่าท้อค่ะ อย่าท้อ มาสู้ ๆ ไปด้วยกันนะคะ
http://www.thaiall.com/blog/burin/5462/
การวิเคราะห์ แล้วก็การสังเคราะห์
25 ก.ค.2557 หัวหน้าเช ส่งอีเมลมาแจ้งว่ากัลยาณมิตรแนะนำว่า
เวลาทำอะไรที่มีเป้าหมายสูงสุดชัดเจน ก็ควรจะมีการวิเคราะห์และสังเคราะห์
ว่าที่ทำลงไปน่ะถูกแล้วรึเปล่า วิเคราะห์หา swot ด้วยก็จะดี แล้วก็นำมาทำให้ต่อเนื่อง
กลับมาดูความหมายของการวิเคราะห์ และสังเคราะห์ ที่แรกอยู่ในกิจกรรมต่าง ๆ มากมาย
ทั้ง strategic plan, action plan, identity(เอกลักษณ์)
uniqueness (อัตลักษณ์) หรือ aim (เป้าหมาย)
---
ในการทำวิจัยเพื่อท้องถิ่น เห็นเพื่อน ๆ ใช้การจัดเวทีคืนองค์ความรู้สู่ชุมชนเรียกว่า การสังเคราะห์
ในการเขียนรายงานการวิจัยบทที่ 5 ก็เป็นการสังเคราะห์เพื่อให้ได้ข้อสรุปที่เรียกว่าการอภิปรายผล
ในการทำงาน ด้วยการนำงานต่าง ๆ มาบูรณาการให้ได้งานใหม่ที่มีประโยชน์และเผยแพร่ได้ก็เรียกว่า สังเคราะห์
---
การวิเคราะห์ (Analysis) หมายถึง การแยกแยะสิ่งที่จะพิจารณาออกเป็นส่วนย่อยที่มีความสัมพันธ์กัน
เพื่อทำความเข้าใจแต่ละส่วนให้แจ่มแจ้ง รวมทั้งการสืบค้นความสัมพันธ์ของส่วนต่าง ๆ
เพื่อดูว่าส่วนประกอบปลีกย่อยนั้นสามารถเข้ากันได้หรือไม่ สัมพันธ์เกี่ยวเนื่องกันอย่างไร
ซึ่งจะช่วยให้เกิดความเข้าใจต่อสิ่งหนึ่งสิ่งใดอย่างแท้จริง โดยพื้นฐานแล้ว การวิเคราะห์ถือเป็นทักษะที่มนุษย์ฝึกได้
+ http://th.wikipedia.org/wiki/การวิเคราะห์
---
การสังเคราะห์ (อังกฤษ: Synthesis) มาจากคำว่า syn- แปลว่า ร่วม ส่วนคำว่า thesis แปลว่า ปรากฏการณ์ใหม่
ซึ่งการสังเคราะห์ หมายถึง กระบวนบูรณาการปัจจัยต่าง ๆ ตั้งแต่สองปัจจัยขึ้นไป
ซึ่งอาจเป็นได้ทั้งคน สัตว์ สิ่งของรวมทั้งเหตุการณ์และสิ่งที่อยู่ในรูปของแนวคิดเข้ามาเป็นองค์ประกอบร่วมกัน
เพื่อให้เกิดสิ่งใหม่หรือเกิดปรากฏการใหม่ที่อาจเรียกได้ว่าเป็นการบูรณาภาพ
โดยปัจจัยหรือองค์ประกอบต่าง ๆ ที่เข้ามาสู่กระบวนบูรณาการในการสังเคราะห์นั้น
บางปัจจัยอาจจะได้ผ่านการวิเคราะห์แยกแยะสืบค้นมาก่อนแล้ว
ขณะที่บางปัจจัยก็อาจจะยังไม่ได้ผ่านการวิเคราะห์แยกแยะสืบค้นมาก่อน สภาวะรูปของปัจจัยและองค์ประกอบต่าง ๆ
ที่นำมาเป็นปัจจัยและองค์ประกอบในการสังเคราะห์นั้นอาจเป็นไปได้ทั้งแบบรูปธรรมและนามธรรม
ซึ่งบูรณภาพที่เป็นปรากฏการณ์ใหม่หรือสิ่งใหม่อันเกิดขึ้นจากการสังเคราะห์นั้น
ก็เป็นไปได้ทั้งแบบรูปธรรมและนามธรรมเช่นกัน
+ http://th.wikipedia.org/wiki/การสังเคราะห์
+ http://www.thaiall.com/blog/burin/6151/
แนะนำหนังสือ
รศ.เศกสิน ศรีวัฒนานุกูลกิจ จาก มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ มาสอนหนังสือเพื่อนคนหนึ่ง ที่มหาวิทยาลัยเนชั่น แล้วเขาก็มาเล่าให้ฟังว่าอาจารย์ให้อ่านหนังสือชื่อ โศกนาฏกรรมองค์กรหลงทิศ (Tragedy of Lost) เขียนหนังสือโดย สุธี ปิงสุทธิวงศ์ สุรีพันธุ์ เสนานุช และยิ่งศักดิ์ นันทิวรรณกุล หนังสือเล่มนี้เขียนในลักษณะเรื่องเล่า เร้าพลัง หรือ Story Telling เหมาะกับนักศึกษาทางบริหารธุรกิจอย่างยิ่ง ผู้ประกอบการ หรือผู้บริหารทุกระดับ ผมว่าเจ้าของร้านก๋วยเตี๋ยวก็อ่านดีครับ ที่สำคัญอ่านแล้ว อาจช่วยให้ขายดิบขายดีได้
ในหนังสือมีกรณีศึกษาที่ใช้แนวการเขียนแบบเล่าเรื่อง (Story Telling) แบ่งเป็น 9 บท ได้แก่ 1) บริหารจัดการโดยไม่ใช้ข้อมูลจริง 2) ใช้ Management Tools โดยไม่เข้าใจ 3) กำหนดกลยุทธ์โดยไม่คำนึงถึงความเสี่ยง 4) ไม่รู้ว่าลูกค้าคือใคร 5) ตอบสนองลูกค้าไม่ได้ 6) การปฏิบัติการล้มเหลว (Ban Operation) 7) พัฒนาบุคลากรโดยไร้ทิศทาง รักษาบุคลากรที่ดีไว้ไม่ได้ 9) ภาวะผู้นำล้มเหลว
ทีแรกก็ไม่สนใจ เพราะผมเป็นคนอ่านหนังสือยาก .. แต่พออ่านไม่กี่หน้า ผมว่าหนังสือเล่มนี้สุดยอดจริง ๆ เหมือนเป็นตัวละครในหนังสือเลย .. อ่านแค่ชื่อบททั้ง 9 บท ผมก็ว่ายอดเยี่ยมแล้ว .. ชอบคำหนึ่งคือคำว่า “พูดเอง เออเอง” หน้า 71 ที่เล่าว่าเครื่องมือทางบริหารที่เรียกว่า inside-out กับ outside-in จะเลือกอย่างไร หรือการอธิบายความต่างของ SWOT กับ Balanced Scorecard (BSC) หน้า 44 ว่า Swot นั้นเกิดจากสำนักคิดทางกลยุทธ์ที่เน้นสร้างกลยุทธ์จากความลงตัว แต่ BSC เน้นสร้างกลยุทธ์ให้เกิดความได้เปรียบในเชิงการแข่งขันด้วยการวางตำแหน่ง (Positioning)
สำหรับเรื่องที่น่าสนใจที่สุดอีกเรื่อง อยู่หน้า 149 เป็นกราฟ “ความสัมพันธ์ของสาเหตุแห่งความล้มเหลวขององค์กร” ว่าอะไรที่วินิจฉัยง่าย กับอะไรที่กระทบต่อความอยู่รอดขององค์กร .. อ่านแล้วนึกถึง Steve Jobs ครับ
+ http://www.thaiall.com/blogacla/tag/tragedy-of-lost/
rspsocial
Thaiall.com