พีชคณิตบูลีน
2. พีชคณิตบูลีน

แนะนำบทเรียน
ค่าความจริงมีสองสถานะ คือ จริง (true) กับ เท็จ (true) หากเป็นจริงแล้วจะเป็นเท็จไม่ได้ แต่ปัจจัยที่สนับสนับสนุนความจริงกับความเท็จอาจแตกต่างกันไปในแต่ละมุมมอง แล้วแต่ประสบการณ์ของแต่ละบุคคลที่พิจารณาต่อสถานการณ์นั้น ความสัมพันธ์ระหว่างความจริงก็มีความหมาย และนั่นทำให้เกิดการดำเนินการทางคณิตศาสตร์ และเป็นพื้นฐานในการออกแบบตรรกะให้กับคอมพิวเตอร์ อาทิ และ หรือ ไม่ ถ้าแล้ว เป็นต้น

เอกสารประกอบ
Document : Boolean algebra
Webpage : Boolean algebra
พีชคณิตบูลีน (Boolean algebra)

คือ การดำเนินการทางลอจิกกับเกต (Gate) หลายแบบ ได้แก่ AND gate, OR gate หรือ NOT gate ที่มีข้อมูลเข้าได้ 2 สถานะ (On กับ Off) โดยอาศัยทฤษฎีของบูลีน (Boolean Theory) สามารถนำไปประยุกต์ใช้เขียนสมการแทนวงจรลอจิก และนำไปใช้ในการลดรูปวงจรที่ซับซ้อนให้มีขนาดเล็กลง ทำให้ออกแบบวงจรได้อย่างมีประสิทธิภาพ ลดเวลาในการประมวลผล เช่น (A + A') = 1 แต่ (A . A') = 0

+ http://somyut.krutechnic.com/unit31.html
เอกสารประกอบ
Slides : boolean_algebra_laws.pptx
การลดรูป switching function โดยใช้ตารางค่าความจริง และการลดรูปด้วยทฤษฎีบท

การแก้ปัญหาหนึ่ง มีทางเลือกได้หลายวิธี เหมือนภาพยนตร์เรื่อง inferno ที่สาวอัจฉริยะ คิดว่า คนล้นโลก ทำให้เกิดปัญหาในการจัดการทรัพยากรที่มีอยู่จำกัดบนโลก จึงคิดแก้ปัญหาด้วยวิธีการอย่างหนึ่ง คล้าย Death Note แต่อาจารย์ชายสูงอายุที่เป็นนักถอดรหัส ก็คิดว่าปล่อยไปตามธรรมชาติ ก็เป็นการแก้ปัญหาอีกวิธีหนึ่ง คิดไม่เหมือนกัน แต่ทั้งสองฝ่ายต่างคิดว่า กำลังกู้โลกทั้งคู่ นั่นคือปัญหา แล้วนึกถึงปัญหาอื่นในประเทศไทย ที่มีกลุ่มคนพยายามแก้ปัญหาด้วยวิธีของตนเอง อาจมีผิดบ้าง (Wrong) และถูกบ้าง (Right) ในมุมของแต่ละฝ่าย มีข้อมูลจริงบ้าง (True) และไม่จริงบ้าง (False) อาทิ Single gateway, สีเสื้อที่แก้ปัญหาด้วย คสช. , กรณีธรรมกาย , หมามีสิทธิมากกว่าคน, การสอบเข้าตำรวจ หรือ การสอบเข้าครูผู้ช่วย เป็นต้น

การลดรูปฟังก์ชัน (Minimization techniques) คือ การขจัดฟังก์ชันที่ไม่มีผลกระทบให้ผลลัพธ์เปลี่ยนไป ทำได้หลายวิธี แล้วทฤษฎีบทของบูลีน ก็นำมาใช้ในการลดรูปได้ โดยใช้หลักการทางคณิตศาสตร์ หากเข้าใจก็จะมีการเปลี่ยนเทียบกับการลดรูปด้วยเทคนิคอื่นต่อไป ทั้ง karnaugh map, logic gate, timing diagram หรือ nand กับ nor


mp_fte_rmuti_logic-boolean.pdf
เอกสารอ้างอิง [1] น.อ.ธวัชชัย เลื่อนฉวี และพ.ต.อนุรักษ์ เถื่อนศิริ, "ดิจิทอลเทคนิค เล่ม 1", มิตรนราการพิมพ์, 2543. ?
[2] น.อ.ธวัชชัย เลื่อนฉวี, "ดิจิทอลเทคนิค เล่ม 2", มิตรนราการพิมพ์, 2543. ?
[3] ศักดิ์ วาสิกะสิน และชนก หงส์น้อย, "ดิจิตอลคอมพิวเตอร์อิเล็กทรอนิกส์", บริษัท ซีเอ็ดยูเคชั่น จำกัด (มหาชน), 2540.
[4] ธนันต์ ศรีสกุล, "การวิเคราะห์วงจรและอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ด้วยโปรแกรม PSpice", กรุงเทพฯ: วิตตี้ กรุ๊ป, 2550.
[5] Steven D. Johnson, "Digital Hardware Design : Chapter 1", indiana.edu, 2004.
http://goo.gl/72BPC