โรคอัลไซเมอร์
โรคอัลไซเมอร์ คืออะไร

โรคอัลซไฮเมอร์ หรือ โรคอัลไซเมอร์ (Alzheimer's disease หรือ AD) เป็นภาวะสมองเสื่อมที่พบได้บ่อยที่สุด โรคนี้ค้นพบเมื่อ พ.ศ. 2449 (ค.ศ. 1906) โดยจิตแพทย์ชาวเยอรมันชื่อว่า อาลอยส์ อัลซไฮเมอร์ (Alois Alzheimer) และถูกตั้งชื่อตามผู้ค้นพบ โรคนี้จัดเป็นโรคความเสื่อมที่รักษาไม่หาย และจัดเป็นอาการป่วยระยะสุดท้าย โดยทั่วไปแล้วสามารถวินิจฉัยโรคอัลไซเมอร์ได้ในผู้ป่วยอายุมากกว่า 65 ปี
ถึงแม้ผู้ป่วยโรคอัลไซเมอร์แต่ละคนจะมีอาการแตกต่างกันออกไป แต่ก็มีอาการที่พบร่วมกันหลายประการ อาการแรกสุดที่พบคือความเครียด ซึ่งมักจะเข้าใจผิดว่าเป็นอาการที่เกิดขึ้นเองตามอายุ อาการที่พบในระยะแรกคือการสูญเสียความจำ เช่น พยายามจำข้อมูลที่เรียนรู้เมื่อไม่นานมานี้ไม่ได้ เมื่อแพทย์สงสัยว่าผู้ป่วยเป็นโรคอัลไซเมอร์จะยืนยันการวินิจฉัยโดยการประเมินพฤติกรรมและทดสอบการรู้ และมักตามด้วยการสแกนสมอง เมื่อโรคดำเนินไประยะหนึ่งผู้ป่วยจะมีอาการสับสน หงุดหงิดง่ายและก้าวร้าว อารมณ์แปรปรวน เสียความสามารถทางภาษา สูญเสียความทรงจำระยะยาว และเพิกเฉยต่อสิ่งต่าง ๆ เนื่องจากผู้ป่วยเสียการรับความรู้สึก และต่อมาจะสูญเสียการทำงานต่าง ๆ ของร่างกาย และเสียชีวิตในที่สุด
.. ข้อมูลจาก wiki

คุณแม่ของแพท ณปภา

นักแสดงสาว เล่าเรื่องอาการป่วยของคุณแม่ เป็นบทเรียนให้คนไทยได้ทราบว่า อัลไซเมอร์ ไม่ใช่โรคที่ไกลตัว ใคร ๆ ก็เป็นได้ และเป็นกันมากในผู้สูงอายุ สาเหตุคือ สมองเสื่อม หรือสมองหดตัวเล็กลง จนอาจทำให้ขาดความสามารถในการดำรงชีพในที่สุด ในเว็บไซต์ manager.co.th เล่าไว้หลายหัวข้อ ได้แก่ หนักหนาเอาการ แม่ความจำเสื่อม ส่วนพี่สาวพิการ ชีวิตจริงเน่ากว่าละคร แม่ป่วยแล้วยังโดนพ่อบังเกิดเกล้าฟ้องจะเอาเงิน แบกภาระค่าใช้จ่ายเดือนละกว่า 3 แสน มีข้อความตอนหนึ่งสะท้อนภาระที่หนักอึ้ง เขียนว่า "ค่าใช้จ่ายแพท 2-3 แสนต่อเดือน บ้านแพทมี 7 คน น้อง แฟนน้อง หลาน คนใช้ แม่ แพท พี่สาว ค่าน้ำ ค่าไฟ ค่ากิน ค่าแพมเพิส ค่ายา แพทรับผิดชอบหมด ชีวิตแพทหนักสุดๆ มา 5 ปีแล้วก็ตั้งแต่แม่ป่วย .."

คลิ๊ปของแพท เต้นให้คุณแม่ที่ป่วยดู ชวนแม่ร้องเพลง ช่วยให้มีสีสันขึ้น

คลิ๊ป Health Channel TV มีข้อมูลว่า โรคหลอดเลือดสมองมีความสัมพันธ์กับโรคอัลไซเมอร์ หากรักษาโรคหลอดเลือดก็จะส่งผลต่อการรักษาโรคอัลไซเมอร์ ระยะต้น ลืมง่าย ระยะกลาง จะมีประสาทหลอด กระวนกระวาย ระยะสุดท้าย จำใครไม่ได้เลย ช่วยเหลือตัวเองได้น้อย กลืนลำบาก สำลัก เป็นปอดอักเสบ ติดเชื้อ และเสียชีวิต การใช้ยาจะชะลอให้ไปช้าลง หรืออาจไม่ได้ผล เป็นข้อจำกัดของการใช้ยาอาจได้ผลประมาณ 1 ปีเท่านั้น แล้วการใช้ยาจิตเภท ลดประสาทหลอน ก็อาจทำให้เสียชีวิตเร็วขึ้น

Health Channel TV [55.14]

85 ปีขึ้นไป มีถึง 50%
คลิ๊ปเกี่ยวกับอัลไซเมอร์
หนังสั้น Clouds of Memories
นิรุตติ์ ศิริจรรยา เริ่มมีอาการลืม และทำหลายสิ่งผิดพลาด แต่คิดว่าเป็นอาการปกติของผู้สูงอายุ อาทิ ลืมของบนเตาไฟ จ่ายเงิน 1000 ซื้อของแต่ไม่รอรับเงินทอน หาทางกลับบ้านไม่ถูก เมื่อไปพบแพทย์กับเพื่อนคือ สุเชาว์ พงศ์วิลัย ก็ทราบว่าเป็นโรคอัลไซเมอร์ระยะเริ่มต้น แต่หมอนัดใหม่ บอกว่าครั้งต่อไปต้องพาคนในครอบครัวมาด้วย เพราะโรคนี้ต้องมีคนดูแลใกล้ชิด
ภาพยนตร์ Robot & Frank
เล่าเรื่องชายผู้ป่วยเป็นโรคอัลไซเมอร์ จนลูกต้องหาหุ่นยนต์มาอยู่เป็นเพื่อนผู้สูงอายุ ปู่คนนี้เป็นนักย่องเบา เข้าออกคุกเป็นประจำ แต่ตอนหลังป่วยเป็นโรคความจำเสื่อม จนจำภรรยาตนเองไม่ได้ เห็นภรรยาเป็นคนแปลกหน้า เห็นหุ่นยนต์เป็นเพื่อน เพราะมีเพื่อนเพียงตัวเดียว คุณปู่คนนี้โชคดี เพราะมีทั้งลูก และภรรยาที่จะคอยดูแลในบั้นปลายของชีวิต
ภาพยนตร์ The Bodyguard
เล่าเรื่องชายผู้ป่วยเป็นโรคอัลไซเมอร์ แสดงโดย หงจินเป่า กับ หลิวเต๋อหัว โดยหงจินเป่า จำอะไรได้ไม่มากนัก แต่จำการต่อสู้ได้ และใช้ทักษะปกป้องเด็กผู้หญิง อาการของหงจินเป่า คือ จำกุญแจที่ห้อยคอว่าใช้เปิดเข้าบ้านไม่ได้ และจำเพื่อนบ้านที่สนิทที่สุดไม่ได้ นั่นหมายถึงจำใครแทบไม่ได้เลย ยกเว้นเด็กผู้หญิงในเรื่องที่เขาต้องการปกป้องเพียงคนเดียว การเป็นผู้ป่วยอัลไซเมอร์ที่อาศัยเพียงลำพัง นับเป็นเรื่องน่าเป็นห่วง เพราะต่อไปสมองก็จะไม่สามารถ สั่งให้ร่างกายเคลื่อนไหวเพื่อทำสิ่งต่าง ๆ ที่จำเป็นได้
เล่าสู่กันฟัง เกี่ยวกับอัลไซเมอร์
สารคดี ไขความลับอัลไซเมอร์ ผู้ทำรายการกังวลเรื่องที่เขาอาจเป็นโรคอัลไซเมอร์ตามคุณแม่ โรคนี้คราชีวิตคนในอเมริกาเหนือเป็นอันดับ 6 และไม่มีทางหยุดยั้งได้เลย การ xray ช่วยในการวินิจฉัยว่าเป็นอัลไซเมอร์ได้ เมื่อผ่าตัดดูสมองของผู้ป่วยจะพบว่าเส้นประสาทพันกัน และเกิดการฉีกขาด โดยปกติ 1 ใน 8 ของคนที่อายุเกิน 65 ปีจะเป็น และถ้าคนในครอบครัวเป็น ก็จะเสี่ยงเพิ่มเป็น 2 เท่า ทางเลือกในการรักษาในคลิ๊ปคือการฝังอุปกรณ์ไฟฟ้าเพื่อกระตุ้นสมอง มีงานวิจัยว่าไนโตรซามีนอาจเป็นสาเหตุทำให้สมองเสื่อมจากการรบกวนสารเคมีในสมองหรือกระทบสารอะมาลอยในไขสันหลังจริง
กลืนไม่ลง เป็นอาการของผู้สูงอายุที่สมองเสื่อม ผู้ป่วยที่เป็นโรคอัลไซเมอร์ลืมหลายอย่าง มีสิ่งหนึ่งที่ลืมได้อย่างไม่น่าเชื่อว่าจะลืม คือ ลืมการกลืนน้ำ ระหว่างน้ำ กับอาหาร ในผู้ป่วยบางท่าน พบว่ากลืนน้ำได้ยาก ก่อนการกลืนอาหารยากจะตามมา เพราะระบบประสาทส่วนกลางควบคุมการกลืนเสื่อมไป การกลืนในแต่ละครั้งต้องใช้สมาธิ และผู้ป้อนอาหารต้องสังเกต ให้แต่ละคำผ่านไปก่อน จึงจะป้อนคำใหม่ ถ้าป้อนติดกัน อาหารอาจไปกองรวมกันในปาก และนำไปสู่การขอคายทิ้งในที่สุด เนื่องจากคำใหญ่เกินกว่าจะกลืนลง ในระหว่างมื้ออาหารสำหรับผู้สูงอายุที่มีปัญหาในการกลืน ก็ไม่ควรเปิดทีวีให้ดู เพราะผู้สูงอายุจะมีสติอยู่กับทีวี แล้วไม่เคี้ยวหรือกลืนอาหารตามปกติ

เรื่องของประสาทส่วนกลาง ทำให้นึกถึงภาพยนตร์เรื่อง inside out
ข่าวเกี่ยวกับผู้ป่วยอัลไซเมอร์ คุณลุง .. อดีตครูใหญ่และปูชนียบุคคลกองทัพเรือ เดินออกจากบ้านหายไปนาน 6 วัน เสียชีวิตอยู่ในป่าข้างทาง คาดว่าพลัดหลงเข้าป่า ทำให้อดอาหาร ประกอบชราภาพ และป่วยไข้ น่าจะเป็นสาเหตุของการเสียชีวิต แต่ก็จะต้องรอผลชันสูตรจากแพทย์ ให้ทราบสาเหตุที่แน่ชัด + http://www.thairath.co.th/content/542225

"Imagination is more important than knowledge" - Albert Einstein
http://goo.gl/72BPC