รูปแบบคาโนนิคัล
5. รูปแบบคาโนนิคัล

แนะนำบทเรียน
เป็นเทคนิคการลดรูปของตรรกะ หรือฟังก์ชันอีกแบบหนึ่ง ซึ่งเป็นเรื่องเฉพาะทางที่ถูกพัฒนาวิธีการขึ้นมาเพื่อแก้ปัญหา สำหรับตรรกะที่ซับซ้อน โดยใช้รูปแบบคาโนนิคัล หรือรูปแบบบัญญัติ

เอกสารประกอบ
slides : canonical.pptx
รูปแบบคาโนนิคัล หรือรูปแบบบัญญัติ (canonical forms)
การนำฟังก์ชันมาเขียนในรูปแบบมาตรฐาน ซึ่งเขียนได้ 2 แบบ คือ ผลบวกของมินเทิร์ม (Sum of Product) และ ผลคูณของแม็กเทิร์ม (Product of Sum) (โดย Sum หมายถึง หรือ ส่วน Product หมายถึง และ) ซึ่งเป็นเทคนิคการลดรูปฟังก์ชันให้สั้นลง แต่คงความหมายเดิมไว้ หากนำรูปแบบบัญญัติมาเขียนเป็น Gate ก็จะช่วยให้เข้าใจยิ่งขึ้น
ตัวอย่างการเขียน
mintem คือ f(ABC) = ∑ m(0,4) ซึ่งเลือกเฉพาะที่เป็น 1
maxtem คือ f(ABC) = ∏ M (0,3,6) ซึ่งเลือกเฉพาะที่เป็น 0
http://en.wikipedia.org/wiki/Canonical_form_%28Boolean_algebra%29
ขั้นตอนการเรียนรู้
1. มีฟังก์ชัน
2. แปลงฟังก์ชันให้อยู่ในรูปแบบบัญญัติ
3. เลือกเขียนแบบ Sum of Product หรือ Product of Sum
4. เขียนให้อยู่ในรูป Gate ได้
5. เขียนในรูป minterm หรือ maxterm
6. เขียนสลับฟังก์ชันเดียวกันเป็นได้ทั้ง minterm และ maxterm
เอกสารอ้างอิง [1] น.อ.ธวัชชัย เลื่อนฉวี และพ.ต.อนุรักษ์ เถื่อนศิริ, "ดิจิทอลเทคนิค เล่ม 1", มิตรนราการพิมพ์, 2543. ?
[2] น.อ.ธวัชชัย เลื่อนฉวี, "ดิจิทอลเทคนิค เล่ม 2", มิตรนราการพิมพ์, 2543. ?
[3] ศักดิ์ วาสิกะสิน และชนก หงส์น้อย, "ดิจิตอลคอมพิวเตอร์อิเล็กทรอนิกส์", บริษัท ซีเอ็ดยูเคชั่น จำกัด (มหาชน), 2540.
[4] ธนันต์ ศรีสกุล, "การวิเคราะห์วงจรและอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ด้วยโปรแกรม PSpice", กรุงเทพฯ: วิตตี้ กรุ๊ป, 2550.
[5] Steven D. Johnson, "Digital Hardware Design : Chapter 1", indiana.edu, 2004.
http://goo.gl/72BPC