thaiall logomy background

มคอ : กรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ

my town
การศึกษา | นักศึกษา | Admission | GAT/PAT | ONET | 9 วิชาสามัญ | ครูคืนถิ่น | มหาวิทยาลัย | ห้องเรียนแห่งอนาคต | พ.ร.บ. | หลักสูตรฐานสมรรถนะ | สมรรถนะดิจิทัล
ประกาศราชกิจจานุเบกษา วันที่ ๓๑ มีนาคม ๒๕๖๕ กฎกระทรวง - มาตรฐานการจัดการศึกษาระดับอุดมศึกษา พ.ศ. ๒๕๖๕ มี 9 หน้า
มาตรฐานการจัดการศึกษาระดับอุดมศึกษา” หมายความว่า ข้อกำหนดขั้นต่ำเกี่ยวกับ คุณลักษณะของสถาบันอุดมศึกษา การดำเนินการ ผลลัพธ์ คุณภาพ และเกณฑ์อื่นในการจัดการศึกษาของสถาบันอุดมศึกษา
มาตรฐานหลักสูตรการศึกษาระดับอุดมศึกษา” หมายความว่า มาตรฐานหลักสูตรการศึกษาระดับอุดมศึกษาตามกฎกระทรวงว่าด้วยมาตรฐานหลักสูตรการศึกษาระดับอุดมศึกษา
“ผลลัพธ์การเรียนรู้” หมายความว่า ผลที่เกิดขึ้นแก่ผู้เรียนผ่านกระบวนการเรียนรู้ที่ได้จากการศึกษา ฝึกอบรม หรือประสบการณ์ที่เกิดขึ้นจากการฝึกปฏิบัติ หรือการเรียนรู้จริงในที่ทำงานระหว่างการศึกษา
หลักสูตรการศึกษา” หมายความว่า หลักสูตรระดับปริญญาและต่ำกว่าปริญญาตามที่คณะกรรมการมาตรฐานการอุดมศึกษากำหนด ซึ่งสภาสถาบันอุดมศึกษาได้ให้ความเห็นชอบหรืออนุมัติ
แผนพัฒนาสถาบันอุดมศึกษา” หมายความว่า แผนระยะห้าปีซึ่งกำหนดทิศทาง เป้าหมาย และยุทธศาสตร์การพัฒนาสถาบันอุดมศึกษาซึ่งสภาสถาบันอุดมศึกษาให้ความเห็นชอบ เพื่อใช้ในการดำเนินงานของสถาบันอุดมศึกษา
กฎกระทรวง - มาตรฐานหลักสูตรการศึกษาระดับอุดมศึกษา พ.ศ. ๒๕๖๕ มี 8 หน้า
กฎกระทรวง - มาตรฐานการขอตำแหน่งทางวิชาการในสถาบันอุดมศึกษา พ.ศ. ๒๕๖๕ มี 6 หน้า
กฎกระทรวง - กำหนดมาตรฐานการอุดมศึกษาอื่น พ.ศ. ๒๕๖๕ มี 2 หน้า
กฎกระทรวง - มาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษา พ.ศ. ๒๕๖๕ มี 4 หน้า
ผลลัพธ์การเรียนรู้ พ.ศ. 2565 าม กฎกระทรวง : มาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษา พ.ศ. ๒๕๖๕ ข้อ 7 ผลลัพธ์การเรียนรู้ของผู้สำเร็จการศึกษาทุกระดับมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษา ต้องมีอย่างน้อยสี่ด้าน ดังต่อไปนี้ (๑) ด้านความรู้ (๒) ด้านทักษะ (๓) ด้านจริยธรรม (๔) ด้านลักษณะบุคคล รายละเอียดผลลัพธ์การเรียนรู้ตามวรรคหนึ่ง ให้เป็นไปตามที่คณะกรรมการประกาศกำหนด
ข้อ 3 “ผลลัพธ์การเรียนรู้” หมายความว่า ผลที่เกิดขึ้นแก่ผู้เรียนผ่านกระบวนการเรียนรู้ที่ได้จาก การศึกษา ฝึกอบรม หรือประสบการณ์ที่เกิดขึ้นจากการฝึกปฏิบัติ หรือการเรียนรู้จริงในที่ทำงานระหว่างการศึกษา
อ่านเพิ่มเติม
หลักการของ มคอ.
*** รวมประกาศ มคอ.1 ทุกสาขาในประกาศราชกิจจานุเบกขาฯ
*** แบบฟอร์ม มคอ.7 ใหม่ - ใช้รายงานการประเมินตนเองระดับหลักสูตรตามเกณฑ์ สกอ.
มคอ : กรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ รอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ (Thai Qualifications Framework for Higher Education, TQF:HEd) เป็นกรอบที่แสดงระบบคุณวุฒิการศึกษาระดับอุดมศึกษาของประเทศ ซึ่งประกอบด้วย ระดับคุณวุฒิ ความเชื่อมโยงต่อเนื่องจาก คุณวุฒิระดับหนึ่งไปสู่ระดับที่สูงขึ้น การแบ่งสายวิชา มาตรฐานผลการเรียนรู้ของแต่ละระดับคุณวุฒิ ซึ่งเพิ่มสูงขึ้นตามระดับของคุณวุฒิ ปริมาณการเรียนรู้ที่สอดคล้องกับเวลาที่ต้องใช้ ลักษณะของหลักสูตรในแต่ละระดับคุณวุฒิ การเปิดโอกาสในเทียบโอนผลการเรียนรู้จากประสบการณ์ ซึ่งเป็นการส่งเสริมการเรียนรู้ตลอดชีวิต รวมทั้งระบบและกลไกที่ให้ความมั่นใจในประสิทธิผลการดำเนินงานตามกรอบมาตรฐาน คุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติของสถาบันอุดมศึกษา ว่าสามารถผลิตบัณฑิตให้บรรลุคุณภาพตามมาตรฐานผลการเรียนรู้
เปรียบเทียบ TQF หลักการสำคัญ
1. เป็นเครื่องมือในการนำแนวนโยบายการพัฒนาคุณภาพและมาตรฐานการวัดการศึกษาตามที่กำหนดใน พ.ร.บ.การศึกษาแห่งชาติฯ ในส่วนที่เกี่ยวกับมาตรฐานการอุดมศึกษาและการประกันคุณภาพการศึกษาสู่การปฏิบัติในสถานศึกษาอย่างเป็นรูปธรรม
2. มุ่งเน้นที่ Program Learning Outcomes (PLO) ซึ่งเป็นมาตรฐานขั้นต่ำเชิงคุณภาพเพื่อประกันคุณภาพบัณฑิต
3. มุ่งประมวลกฎเกณฑ์และประกาศต่าง ๆ ที่เกี่ยวกับเรื่องหลักสูตรและการจัดการเรียนการสอนเข้าไว้ด้วยกันและเชื่อมโยงให้เป็นเรื่องเดียวกัน
4. เป็นเครื่องมือการสื่อสารที่มีประสิทธิภาพในการสร้างความเข้าใจและความมั่นใจในกลุ่มผู้ที่เกี่ยวข้อง/มีส่วนได้ส่วนเสีย เช่น นักศึกษา ผู้ปกครอง ผู้ประกอบการ ชุมชน สังคมและสถาบันอื่น ๆ ทั้งในและต่างประเทศเกี่ยวกับคุณลักษณะของบัณฑิตที่คาดว่าจะพึงมี
5. มุ่งให้คุณวุฒิหรือปริญญาของสถาบันใด ๆ ของประเทศไทยเป็นที่ยอมรับและเทียบเคียงกันได้ในสถาบันอุดมศึกษาที่ดีทั้งในและต่างประเทศ โดยเปิดโอกาสให้สถาบันอุดมศึกษาสามารถจัดหลักสูตรตลอดจนกระบวนการเรียนการสอนได้อย่างหลากหลายโดยมั่นใจถึงคุณภาพของบัณฑิตซึ่งจะมีมาตรฐานผลการเรียนรู้ตามที่มุ่งหวัง สามารถประกอบอาชีพได้อย่างมีความสุขและภาคภูมิใจเป็นที่พึงพอใจของนายจ้าง
6. ส่งเสริมการเรียนรู้ตลอดชีวิต
วัตถุประสงค์ ของ มคอ.
วัตถุประสงค์ของการดำเนินการ
นอกจากจะให้เป็นไปตามหลักการสำคัญของ TQF ตามที่เสนอข้างต้นแล้ว มีวัตถุประสงค์อื่นที่สำคัญอีก ดังนี้
1. เพื่อเป็นการประกันคุณภาพขั้นต่ำของบัณฑิตในแต่ละสาขา/สาขาวิชา หรือแต่ละคุณวุฒิ
2. เพื่อให้แต่ละสาขา/สาขาวิชามีการกำกับดูแลคุณภาพการผลิตบัณฑิตกันเอง โดยบัณฑิตในสาขาสาขาวิชาเดียวกันของแต่ละสถาบันฯ มีคุณภาพไม่ต่ำกว่าที่กำหนดไว้ในมาตรฐานคุณวุฒิระดับการศึกษาของสาขา/สาขาวิชานั้น ๆ
3. เพื่อนำไปสู่การลดขั้นตอน/ระเบียบ (deregulations) ในการดำเนินการให้กับสถาบันอุดมศึกษาที่มีความเข้มแข้งและความพร้อมในการจัดการศึกษา
เอกสารที่น่าสนใจ
ต.ย. มคอ.2 วิทยาการคอมพิวเตอร์ (มจพ.ธนบุรี)
เหตุผลคัดค้าน TQF
21 ก.ค.54 : เอกสาร CU-CAS (ระบบบริหารหลักสูตร)
ต.ย. มคอ วิชาระบบสารสนเทศเบื้องต้น
Fundamental of Information System
มคอ. 3 วิชาระบบสารสนเทศเบื้องต้น
มคอ. 5 วิชาระบบสารสนเทศเบื้องต้น
มคอ.5 รายงานผลของ จุฬา
มคอ.2 สู่ มคอ.3

แบบฟอร์มที่ต้องจัดทำทั้งหมด 7 แบบ ด้านคอมพิวเตอร์
มคอ.1 การพัฒนามาตรฐานคุณวุฒิสาขา/สาขาวิชา (ร่าง)
มคอ.2 กรอบมาตรฐานคุณวุฒิกับการพัฒนารายละเอียดของหลักสูตร #
มคอ.3 การพัฒนารายละเอียดของรายวิชา
มคอ.4 การพัฒนารายละเอียดของประสบการณ์ภาคสนาม
มคอ.5 การรายงานผลการดำเนินการของรายวิชา
มคอ.6 การรายงานผลการดำเนินการของประสบการณ์ภาคสนาม
มคอ.7 การรายงานผลการดำเนินการของหลักสูตร (ฟอร์ม2557)
การจัดทำ มคอ.2 ไป มคอ.3
การจัดทำมคอ.2 ต้องเริ่มต้นจากการจัดทำ "อัตลักษณ์ของบัณฑิต" และ มาตรฐานการเรียนรู้กลาง ที่ผ่านความเห็นชอบจากสภามหาวิทยาลัย แล้วนำไปจัดทำ Curriculum Mapping แต่ละหลักสูตร จากนั้นย้อนกลับไปที่แต่ละหลักสูตร เพื่อออกแบบการเรียนการสอนในแต่ละรายวิชาที่มีคำอธิบายรายวิชา สอดรับขึ้นไปถึงมาตรฐานการเรียนรู้กลาง ซึ่งความยากอยู่ที่การนำ มคอ.2 (ตัวอย่างของ CS) ที่มีกรอบเป็น คำอธิบายรายวิชา ไปจัดทำมคอ.3 ที่มีรายละเอียดในการจัดการเรียนการสอน
ตัวอย่าง มคอ.3
ในบรรดา มคอ ทั้ง 7 มี มคอ.3 ที่อาจารย์ทุกคนต้องจัดทำ และจัดทำหลายรอบ เพราะต้องมีทุกวิชาในทุกภาคเรียน และต้องประเมินแล้วปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง ถ้าอาจารย์สอน 3 วิชาก็ต้องทำ มคอ.3 จำนวน 3 ชุด ถ้าปีการศึกษาหนึ่งสอนสองครั้งก็ต้องมี 6 ชุด ดังนั้นตัวแบบที่เป็นตัวอย่างให้เกิดความเข้าใจในการจัดทำ มคอ.3 อย่างเหมาะสม จึงเป็นเครื่องมือที่จำเป็นสำหรับการทำความเข้าใจ และส่งผลให้การจัดทำเป็นไปในทางเดียวกัน
+ มคอ.3 Software Configuration Management
+ มคอ.3 Midwifery
+ มคอ.3 Systems Analysis and Design
+ มคอ.3 Food Safety Assurance
+ มคอ.3 Macro Economics 1
+ มคอ.3 Quantitative Analysis
program learning outcomes
เล่าสู่กันฟัง ที่เคยบันทึกไว้ 6 พ.ค.53 ฝ่ายวิชาการ มหาวิทยาลัยโยนก โดย อ.อติชาต หาญชาญชัย จัดสัมมนาวิชาการ เรื่อง กรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ (Thai Qualifications Framework for Higher Education) ซึ่งมีผู้อำนวยการสำนักประกันคุณภาพจากมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ให้เกียรติมาเป็นวิชาการ คือ รศ.อุษณีย์ คำประกอบ สำหรับเนื้อหาประกอบด้วยรายละเอียดเกี่ยวกับแบบฟอร์มที่ต้องจัดทำทั้งหมด 7 แบบ คือ 1) การพัฒนามาตรฐานคุณวุฒิสาขา/สาขาวิชา 2) กรอบมาตรฐานคุณวุฒิกับการพัฒนารายละเอียดของหลักสูตร 3) การพัฒนารายละเอียดของรายวิชา (Course Specification) 4) การพัฒนารายละเอียดของประสบการณ์ภาคสนาม (Field Experience Specification) 5) การรายงานผลการดำเนินการของรายวิชา (Course Report) 6) การรายงานผลการดำเนินการของประสบการณ์ภาคสนาม (Field Experience Report) 7) การรายงานผลการดำเนินการของหลักสูตร (Programme Report)
เอกสารที่ รศ.อุษณีย์ คำประกอบ ฝากให้กับคณาจารย์ของมหาวิทยาลัย ประกอบด้วย PowerPoint และแฟ้มตัวอย่างของมหาวิทยาลัยต่าง ๆ ที่ท่านรวบรวมไว้สำหรับเป็นตัวอย่างให้ทุกคนได้เรียนรู้ เพื่อเป็นตัวแบบในการใช้ประกอบพิจารณา และปรับปรุงให้สอดรับกับการจัดทำ TQF ในหลักสูตรของตนเอง
เอกสารโดย รศ.อุษณีย์ คำประกอบ
+ เอกสารประกอบการอบรม 3 MB
+ ตัวอย่างเอกสาร มคอ. 1 - 7 ของคอมฯ และพยาบาล 4 MB
ตัวอย่างมาตรฐานการเรียนรู้กลาง #1
ทุกมหาวิทยาลัย ต้องประกาศมาตรฐานผลการเรียนรู้กลาง เป็นของตนเอง เพื่อให้การจัดการศึกษาของสถาบัน เป็นไปอย่างมีคุณภาพ มาตรฐาน และสอดคล้องกับประกาศกระทรวงศึกษาธิการ เรื่อง กรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2552
มื่อแต่ละมหาวิทยาลัย ประกาศมาตรฐานการเรียนรู้กลาง อาจปรับหัวข้อย่อยให้สอดรับกับทิศทาง หรือนโยบายของมหาวิทยาลัย และในหลักสูตรก็จะมีมาตรฐานการเรียนรู้ที่สอดรับทั้งของมหาวิทยาลัย และมาตรฐานของสาขานั้นต่อไป

คุณธรรม จริยธรรม
ตัวอย่างมาตรฐานผลการเรียนรู้กลาง (ของแต่ละสถาบันแตกต่างกันไป)
1. ด้านคุณธรรม จริยธรรม
(1) มีวินัย มีความรับผิดชอบต่อตนเอง และต่อสังคม
(2) ยึดมั่นในคุณธรรม จริยธรรม ซื่อสัตย์ สุจริต เสียสละ คำนึงถึงประโยชน์ส่วนรวมมากกว่าประโยชน์ส่วนตน
(3) มีภาวะความเป็นผู้นำ และเป็นแบบอย่างที่ดีต่อผู้อื่น
(4) รับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น รวมทั้งเคารพในศักดิ์ศรี และคุณค่าของความเป็นมนุษย์
(5) มีจรรยาบรรณทางวิชาการ และวิชาชีพ
2. ด้านความรู้
(1) มีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับหลักการ และทฤษฎีที่สำคัญในสาขาวิชา และศาสตร์อื่นที่เกี่ยวข้อง
(2) สามารถบูรณาการความรู้ในสาขาวิชากับความรู้ในศาสตร์อื่นที่เกี่ยวข้อง
(3) สามารถประยุกต์ความรู้จากทฤษฎีสู่การปฏิบัติ
(4) สามารถติดตามความเปลี่ยนแปลงทางวิชาการทั้งศาสตร์ในสาขาวิชา และศาสตร์อื่นที่เกี่ยวข้องรวมทั้งนำไปประยุกต์ใช้ได้
3. ด้านทักษะทางปัญญา
(1) มีความสามารถในการคิดอย่างเป็นระบบ มีวิจารณญาณหรือดุลยพินิจในการแก้ไขปัญหาในสถานการณ์ต่าง ๆ
(2) มีความสามารถในการประยุกต์ความรู้ ความเข้าใจในแนวคิด หลักการ และทฤษฎีต่าง ๆ ในการปฏิบัติงานและการแก้ไขปัญหาได้อย่างสร้างสรรค์
(3) สามารถใช้กระบวนการทางวิทยาศาสตร์ในการแก้ไขปัญหาได้อย่างมีประสิทธิภาพ และสอดคล้องกับสถานการณ์
4. ทักษะด้านความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล และความรับผิดชอบ
(1) มีความสามารถในการทำงานเป็นทีมกับผู้อื่นอย่างมีประสิทธิภาพ
(2) มีความรับผิดชอบในการเรียนรู้และพัฒนาตนเองอย่างต่อเนื่อง
(3) มีความสามารถในการปรับตัว ร่วมกิจกรรม และมีปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่นอย่างสร้างสรรค์
(4) สามารถให้ความช่วยเหลือ และอำนวยความสะดวกในการแก้ไขปัญหาสถานการณ์ต่าง ๆ ได้
5. ทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสาร และการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ
(1) สามารถสื่อสารภาษาไทย ทั้งการพูด การฟัง การอ่าน การเขียน การสรุปประเด็น และการนำเสนอได้อย่างมีประสิทธิภาพ
(2) สามารถเลือก และใช้รูปแบบการนำเสนอสารสนเทศ ตลอดจนใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ และการสื่อสารได้อย่างมีประสิทธิภาพและเหมาะสมกับสถานการณ์
(3) สามารถเลือก และประยุกต์ใช้เทคนิคทางสถิติ หรือคณิตศาสตร์ที่เกี่ยวข้องในการแก้ไขปัญหาได้อย่างเหมาะสม
ตัวอย่างมาตรฐานการเรียนรู้กลาง #2
ในประกาศกระทรวงศึกษาธิการ มาตรฐานคุณวุฒิระดับปริญญาตรี สาขาคอมพิวเตอร์ ในหัวข้อที่ 5 พบตัวอย่าง มาตรฐานผลการเรียนรู้ แบ่งออกเป็น 5 ด้าน คือ 1) คุณธรรม จริยธรรม (Morality and Ethics) 2) ความรู้ (Knowledge development) 3) ทักษะทางปัญญา (Intellectual development) 4) ทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ (Interpersonal relationship and responsibility) 5) ทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสาร และการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ (Mathematical analytical thinking, communication skills, and information technology skills) ซึ่งมีมาตรฐานย่อยรวมกันทั้งหมด 29 หัวข้อย่อย
ตัวอย่าง มคอ.3
ต.ย.คำอธิบาย 10 วิชา : Blog
ตัวอย่างมาตรฐานการเรียนรู้กลาง หลักสูตร วิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาวิทยาการคอมพิวเตอร์
1.คุณธรรม จริยธรรม (Morality and Ethics)
1) ตระหนักในคุณค่าและคุณธรรม จริยธรรม เสียสละ และซื่อสัตย์สุจริต
* 2) มีวินัย ตรงต่อเวลา และความรับผิดชอบต่อตนเองและสังคม
3) มีภาวะความเป็นผู้นำและผู้ตาม สามารถทำงานเป็นทีมและสามารถแก้ไขข้อขัดแย้งและลำดับความสำคัญ
4) เคารพสิทธิและรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น รวมทั้งเคารพในคุณค่าและศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์
5) เคารพกฎระเบียบและข้อบังคับต่าง ๆ ขององค์กรและสังคม
* 6) สามารถวิเคราะห์ผลกระทบจากการใช้คอมพิวเตอร์ต่อบุคคลองค์กรและสังคม
7) มีจรรยาบรรณทางวิชาการและวิชาชีพ
2.ความรู้ (Knowledge development)
* 1) มีความรู้และความเข้าใจเกี่ยวกับหลักการและทฤษฎีที่สำคัญในเนื้อหาที่ศึกษา
* 2) สามารถวิเคราะห์ปัญหา เข้าใจและอธิบายความต้องการทางคอมพิวเตอร์ รวมทั้งประยุกต์ความรู้ ทักษะ และการใช้เครื่องมือที่เหมาะสมกับการแก้ไขปัญหา
* 3) สามารถวิเคราะห์ ออกแบบ ติดตั้ง ปรับปรุงระบบคอมพิวเตอร์ให้ตรงตามข้อกำหนด
4) สามารถติดตามความก้าวหน้าทางวิชาการและวิวัฒนาการคอมพิวเตอร์
5) รู้ เข้าใจและสนใจพัฒนาความรู้ ความชำนาญทางคอมพิวเตอร์อย่างต่อเนื่อง
6) มีความรู้ในแนวกว้างของสาขาวิชาที่ศึกษาเพื่อให้เล็งเห็นการเปลี่ยนแปลง และเข้าใจผลกระทบของเทคโนโลยีใหม่ๆ
7) มีประสบการณ์ในการพัฒนาและ/หรือการประยุกต์ซอฟต์แวร์ที่ใช้งานได้จริง
8) สามารถบูรณาการความรู้ในที่ศึกษากับความรู้ในศาสตร์อื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง
3.ทักษะทางปัญญา (Intellectual development)
* 1) คิดอย่างมีวิจารณญาณและอย่างเป็นระบบ
2) สามารถสืบค้น ตีความ และประเมินสารสนเทศ เพื่อใช้ในการแก้ไขปัญหาอย่างสร้างสรรค์
3) สามารถรวบรวม ศึกษา วิเคราะห์ และสรุปประเด็นปัญหาและความต้องการ
* 4) สามารถประยุกต์ความรู้และทักษะกับการแก้ไขปัญหาทางคอมพิวเตอร์ได้อย่างเหมาะสม
4.ทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ (Interpersonal relationship and responsibility)
1) สามารถสื่อสารกับกลุ่มคนหลากหลายและสามารถสนทนาทั้งภาษาไทยและภาษาต่างประเทศอย่างมีประสิทธิภาพ
2) สามารถให้ความช่วยเหลือและอำนวยความสะดวกแก่การแก้ปัญหาสถานการณ์ต่าง ๆในกลุ่มทั้งในบทบาทของผู้นำ หรือในบทบาทของผู้ร่วมทีมทำงาน
3) สามารถใช้ความรู้ในศาสตร์มาชี้นำสังคมในประเด็นที่เหมาะสม
4) มีความรับผิดชอบในการกระทำของตนเองและรับผิดชอบงานในกลุ่ม
5) สามารถเป็นผู้ริเริ่มแสดงประเด็นในการแก้ไขสถานการณ์ทั้งส่วนตัวและส่วนรวม รวมทั้งแสดงจุดยืนอย่างพอเหมาะทั้งของตนเองและของกลุ่ม
* 6) มีความรับผิดชอบการพัฒนาการเรียนรู้ทั้งของตนเองและทางวิชาชีพอย่างต่อเนื่อง
5.ทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสาร และเทคโนโลยีสารสนเทศ (Mathematical analytical thinking, communication skills, and information technology skills)
* 1) มีทักษะในการใช้เครื่องมือที่จำเป็นที่มีอยู่ในปัจจุบันต่อการทำงานที่เกี่ยวกับคอมพิวเตอร์
2) สามารถแนะนำประเด็นการแก้ไขปัญหาโดยใช้สารสนเทศทางคณิตศาสตร์หรือการแสดงสถิติประยุกต์ต่อปัญหาที่เกี่ยวข้องอย่างสร้างสรรค์
3) สามารถสื่อสารอย่างมีประสิทธิภาพทั้งปากเปล่าและการเขียน เลือกใช้รูปแบบของสื่อการนำเสนออย่างเหมาะสม
* 4) สามารถใช้สารสนเทศและเทคโนโลยีสื่อสารอย่างเหมาะสม
อ้างอิงจาก สกอ.
ภาพตัวอย่าง
เปรียบเทียบกับกรอบองค์ความรู้ 13 ด้าน (TQF)
เปรียบเทียบกับกรอบองค์ความรู้ 13 ด้าน
ตัวบ่งชี้ผลการดำเนินงาน
ตัวบ่งชี้ผลการดำเนินงาน
แผนที่แสดงการกระจายความรับผิดชอบ
แผนที่แสดงการกระจายความรับผิดชอบมาตาฐานผลการเรียนรู้จากหลักสูตรสู่รายวิชา
ตัวอย่าง มาตรฐานผลการเรียนรู้กลาง
กิจกรรมของอาจารย์มหาวิทยาลัย 5 ต.ค.56 กิจกรรมของอาจารย์มหาวิทยาลัย
เรียบเรียงกิจกรรมว่าในแต่ละปีการศึกษา
ครูอาจารย์มีกิจกรรม/โครงการอะไรบ้าง .. ในกรอบสกอ. และสมศ.
ที่เรียกว่างาน [routine] พบว่ามีเยอะอยู่ครับ
ลองยกร่างดูว่าก่อนเปลี่ยนรอบปีการศึกษาตามอาเซียนนั้น
ที่ผ่านมามีกิจกรรมอะไรบ้าง ที่ต้องทำในแต่ละรอบปีการศึกษา
thaiall.com/tqf/teacher_plan_2556.xlsx
เครื่องมือวัดและประเมินผลการเรียนรู้ระดับอุดมศึกษา qa mua catalog 14 มิ.ย.54 [#] เข้าอบรมเชิงปฏิบัติการ เรื่อง การสร้างเครื่องมือวัดและประเมินผลการเรียนรู้ระดับอุดมศึกษา มี อ.ดร.วิยดา เหล่มตระกูล และ อ.พงษ์วัชร ฟองกันทา เป็นวิทยากร มีเนื้อหาในการอบรม 4 เรื่อง ได้แก่ 1) หลักการวัดและประเมินผลการเรียนรู้ 2) การสร้างแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน 3) การสร้างเครื่องมือวัดด้านคุณลักษณะ 4) การสร้างเครื่องมือวัดภาคปฏิบัติ สอดรับกับ มคอ : กรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ (Thai Qualifications Framework for Higher Education, TQF:HEd)
งค์ประกอบของผลการเรียนรู้ตามแนวคิดและทฤษฎีของบลูม (Benjamin S. Bloom, 1956 อ้างอิงถึงใน ศิริชัย กาญจนวาสี, 2540) มีดังนี้ 1) ด้านพุทธพิสัย (Cognitive Domain) เป็นการเรียนรู้ด้านความรู้ความเข้าใจและความคิด เป็นความสามารถทางสถิปัญญา ซึ่งมี 6 ระดับ ดังนี้ (1) ความรู้ความจำ (Knowledge) (2) ความเข้าใจ (Comprehension) (3) การนำไปใช้ (Application) (4) การวิเคราะห์ (Analysis) (5) การสังเคราะห์ (Syntehsis) (6) การประเมินผล (Evaluation) 2) ด้านจิตพิสัย (Affective Domain) เป็นการเรียนรู้ด้านอารมณ์ ความรู้สึก ซึ่งมี 5 ระดับ ดังนี้ (1) การรับรู้หรือการใส่ใจต่อสิ่งเร้า (Receiving or Attending) (2) การตอบสนอง (Responding) (3) การเห็นคุณค่า (Valuing) (4) การจัดระบบค่านิยม (Organization) (5) การแสดงลักษณะตามค่านิยม (Characterization) 3) ด้านทักษะพิสัย (Psychomotor domain/skill Domain) เป็นการเรียนรู้ด้านความชำนาญ หรือทักษะในการปฏิบัติ ซึ่งมี 7 ระดับ ดังนี้ (1) การรับรู้ของระบบประสาทและกล้ามเนื้อ (Perception) (2) ความพร้อมที่จะปฏิบัติ (Set) (3) การปฏิบัติตามข้อแนะนำ (Guided Response) (4) การปฏิบัติจนเป็นนิสัย (Mechanism) (5) การปฏิบัติที่สลับซับซ้อน (Complex overt response) (6) การปรับเปลี่ยนการปฏิบัติ (Adaption) (7) การสร้างปฏิบัติการใหม่ (Origination)
มีโอกาสฝึกปฏิบัติสร้างเครื่องมือวัด แบ่งเป็น 3 ด้าน 1) ด้านพุทธพิสัย มีประเด็นวัดผล 6 ด้าน คือ (1) ความรู้ที่เกิดจากความจำ (knowledge) ซึ่งเป็นระดับล่างสุด (2) ความเข้าใจ (Comprehend) (3) การประยุกต์ (Application) (4) การวิเคราะห์ ( Analysis) สามารถแก้ปัญหา ตรวจสอบได้ (5) การสังเคราะห์ ( Synthesis) สามารถนำส่วนต่างๆ มาประกอบเป็นรูปแบบใหม่ได้ให้แตกต่างจากรูปเดิม เน้นโครงสร้างใหม่ (6) การประเมินค่า ( Evaluation) 2) ด้านจิตพิสัย จะมีองค์ประกอบที่ใช้วัด 3 ส่วน คือ เป้าหมาย (Target) ทิศทาง (Direction) และความเข้มข้น (Intensity) 3) ด้านทักษะพิสัย จะมีจุดประสงค์ปลายทางได้ 3 แบบ คือ การปฏิบัติ (performance) กระบวนการ (process) ผลผลิต (product) และวัดได้ 2 แบบ คือ วัดภาพรวม และ วัดองค์ประกอบ
หมายเหตุ. มีบทเรียนที่ได้จากการอบรมมากมาย แต่ขอสรุปสั้น ๆ ไว้เพียงเท่านี้ครับ
การทวนสอบ qa mua catalog 8 มิ.ย.56 การตรวจสอบ และการทวนสอบ (itinlife401) [#]
บคำว่า การทวนสอบในแบบฟอร์ม มคอ.3 หมวดที่ 7 การประเมินและปรับปรุงการดำเนินการของรายวิชา หัวข้อที่ 4 ใน กรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ ที่ทุกวิชาต้องจัดทำก่อนดำเนินการสอน และหัวข้อนี้เป็นแผนที่ต้องดำเนินการในการจัดการเรียนการสอนตามมาตรฐาน เมื่อดำเนินการแล้วเสร็จก็จะต้องจัดทำ มคอ.5 ที่เป็นรายงานผลการดำเนินการของรายวิชา เรื่องนี้สอดรับกับการตรวจสอบและยืนยันความถูกต้องของระบบงาน ซึ่งจำแนกได้ 2 ส่วนคือ การตรวจสอบ (Verification) และการยืนยันความถูกต้อง (Validation)
ารพิจารณางาน (Work) สามารถวิเคราะห์ได้หลายรูปแบบ และมีทฤษฎีให้เลือกใช้มากมาย การทำงานให้สำเร็จมักประกอบด้วยระบบและกลไก เมื่องานเสร็จแล้วก็สามารถดำเนินการตรวจสอบ และยืนยันความถูกต้องได้ หากจะแยกความต่างของ verification และ validation ก็อาจแยกที่ประเด็นการตรวจสอบว่า การพบผลการดำเนินการตามที่เขียนไว้ในแผน ทั้งแผนกลยุทธ์ แผนปฏิบัติการและตัวบ่งชี้ของแผน เป็นไปตามกิจกรรม/โครงการ ระยะเวลา กลุ่มเป้าหมาย งบประมาณ หากดำเนินการครบทุกรายการที่ตรวจสอบก็เรียกว่าผ่านการ verification โดยกิจกรรมนี้มักเป็นงานที่ดำเนินการโดยพนักงานเป็นประจำ เพื่อให้มั่นใจว่างานมีคุณภาพตามที่กำหนด
ส่วน Validation คือ การตรวจสอบว่ามีการสร้างระบบที่เกิดขึ้นอย่างถูกต้อง ตั้งแต่ก่อนสร้างระบบ ระหว่างสร้าง การใช้ระบบ การเลือกวิธีตรวจสอบ การนำผลการตรวจสอบไปใช้ และการเชื่อมโยงผลของงานเข้ากับผลการตรวจสอบว่ามีความสมเหตุสมผล ก็จะเป็นผลว่าระบบงานนั้นมีความถูกต้องเพียงใด การทวนสอบก็จะรวมความหมายทั้งการตรวจสอบ และการตรวจความถูกต้องว่าข้อสอบ กิจกรรมการเรียนการสอน หลักสูตร มาตรฐานการเรียนรู้ เอกลักษณ์ อัตลักษณ์ มีที่มาจากผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ทั้งผู้ประกอบการ ชุมชน ผู้ปกครอง นักศึกษา อาจารย์ และสถาบัน ว่ามีความครบถ้วน และเชื่อมโยงกันอย่างถูกต้อง ซึ่งผลการตรวจสอบก็จะนำไปใช้ปรับปรุงนโยบาย แผนกิจกรรม/โครงการ ทั้งในชั้นและนอกชั้น และแนวทางจัดการเรียนทั้งระดับสูงสุดไปถึงแต่ละวิชากันต่อไป
12 มี.ค.56 สุขวิทย์ โสภาพล ได้แบ่งปันผ่าน blog ของ ubu.ac.th
+ http://km.bus.ubu.ac.th/?p=831
ว่า การทวนสอบ หมายถึง ดำเนินการหาหลักฐานด้วยวิธีการใด ๆ เช่น การสังเกต การตรวจสอบ การประเมิน การสัมภาษณ์ เป็นต้น เพื่อพิสูจน์ว่าสิ่งที่กำหนดขึ้นนั้น ได้มีการดำเนินการ และบรรลุตามวัตถุประสงค์หรือไม่ โดยทั่วไปการทวนสอบมาตรฐานผลสัมฤทธิ์ของนักศึกษาในรายวิชา
มีกลยุทธ์ดังต่อไปนี้
1. การตรวจสอบการให้คะแนนจากกระดาษคำตอบข้อสอบและงานที่ได้รับมอบหมาย
2. การตรวจสอบการประเมินหลักสูตรโดยนักศึกษาและผู้สำเร็จการศึกษา
3. การตรวจสอบภาควิชาหรือสาขาวิชาและหลักสูตรโดยบุคคลภายนอก
4. การรายงานเกี่ยวกับทักษะของบัณฑิตโดยผู้ใช้บัณฑิต
ตัวบ่งชี้ผลการดำเนินงาน ของ หลักสูตร
qa mua catalog
ฉบับ ก.พ.2554
20 ก.ย.56 ใน คู่มือการประกันคุณภาพการศึกษาภายในสถานศึกษา ระดับอุดมศึกษา พ.ศ.2553 ของ สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา ภาคผนวก ก หน้า 159 กำหนด ตัวบ่งชี้ผลการดำเนินงานตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาไว้ 12 ตัวบ่งชี้ ดังนี้
ตัวบ่งชี้ผลการดำเนินงาน
(๑) อาจารย์ประจำหลักสูตรอย่างน้อยร้อยละ ๘๐ มีส่วนร่วมในการประชุมเพื่อวางแผน ติดตาม และทบทวนการดำเนินงานหลักสูตร
(๒) มีรายละเอียดของหลักสูตร ตามแบบ มคอ.๒ ที่สอดคล้องกับกรอบมาตรฐานคุณวุฒิแห่งชาติ หรือ มาตรฐานคุณวุฒิสาขา/สาขาวิชา (ถ้ามี)
(๓) มีรายละเอียดของรายวิชา และรายละเอียดของประสบการณ์ภาคสนาม (ถ้ามี) ตามแบบ มคอ.๓ และ มคอ.๔ อย่างน้อยก่อนการเปิดสอนในแต่ละภาคการศึกษาให้ครบทุกรายวิชา
(๔) จัดทำรายงานผลการดำเนินการของรายวิชา และรายงานผลการดำเนินการของประสบการณ์ภาคสนาม (ถ้ามี) ตามแบบ มคอ.๕ และ มคอ.๖ ภายใน ๓๐ วัน หลังสิ้นสุดภาคการศึกษาที่เปิดสอนให้ครบทุกรายวิชา
(๕) จัดทำรายงานผลการดำเนินการของหลักสูตร ตามแบบ มคอ.๗ ภายใน ๖๐ วัน หลังสิ้นสุดปีการศึกษา
(๖) มีการทวนสอบผลสัมฤทธิ์ของนักศึกษาตามมาตรฐานผลการเรียนรู้ ที่กำหนดใน มคอ.๓ และมคอ.๔ (ถ้ามี) อย่างน้อยร้อยละ ๒๕ ของรายวิชาที่เปิดสอนในแต่ละปีการศึกษา
(๗) มีการพัฒนา/ปรับปรุงการจัดการเรียนการสอน กลยุทธ์การสอน หรือ การประเมินผลการเรียนรู้ จากผลการประเมินการดำเนินงานที่รายงานใน มคอ.๗ ปีที่แล้ว
(๘) อาจารย์ใหม่ (ถ้ามี) ทุกคน ได้รับการปฐมนิเทศหรือคำแนะนำด้านการจัดการเรียนการสอน
(๙) อาจารย์ประจำทุกคนได้รับการพัฒนาทางวิชาการ และ/หรือวิชาชีพ อย่างน้อยปีละหนึ่งครั้ง
(๑๐) จำนวนบุคลากรสนับสนุนการเรียนการสอน (ถ้ามี) ได้รับการพัฒนาวิชาการ และ/หรือวิชาชีพ ไม่น้อยกว่าร้อยละ ๕๐ ต่อปี
(๑๑) ระดับความพึงพอใจของนักศึกษาปีสุดท้าย/บัณฑิตใหม่ที่มีต่อคุณภาพหลักสูตร เฉลี่ยไม่น้อยกว่า ๓.๕ จากคะแนนเต็ม ๕.๐
(๑๒) ระดับความพึงพอใจของผู้ใช้บัณฑิตที่มีต่อบัณฑิตใหม่ เฉลี่ยไม่น้อยกว่า ๓.๕ จากคะแนนเต็ม ๕.๐
รายละเอียดในข้อ 6 เรื่องการทวนสอบ ได้พบเอกสารของ eduservice.psu.ac.th # ได้ให้แนวทางไว้อย่างชัดเจน และเป็นตัวอย่างหนึ่งได้ โดยให้ตัวอย่างแบบฟอร์ม และแนวทางในการดำเนินงานไว้ 6 ข้อ ดังนี้
  1. คณะแต่งตั้งคณะกรรมการทวนสอบผลสัมฤทธิ์ของนักศึกษา
  2. หลักสูตรที่ดำเนินการตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิฯ แจ้งรายวิชาที่เปิดสอนทั้งหมดในปีการศึกษาไปยังคณะกรรมการ
  3. คณะกรรมการสุ่มรายวิชาอย่างน้อยร้อยละ 25 ของรายวิชาที่เปิดสอนในแต่ละปีการศึกษาของแต่ละหลักสูตร เพื่อดำเนินการทวนสอบ โดยมีหลักการในการทวนสอบว่า ดำเนินการเฉพาะรายวิชาที่เปิดสอน และไม่ทวนสอบรายวิชาเดิมหรือซ้ำซ้อน สำหรับการดำเนินการทวนสอบรายวิชาในรายวิชาศึกษาทั่วไป และรายวิชาพื้นฐาน มหาวิทยาลัยจะแจ้งให้ทราบต่อไป
  4. กระบวนการทวนสอบมีหลายวิธี เช่น การสังเกต การตรวจสอบ การประเมิน การสัมภาษณ์ ฯลฯ เพื่อยืนยันพิสูจณ์ว่าสิ่งที่กำหนดขึ้นนั้นได้มีการดำเนินการและบรรลุเป้าหมายตามวัตถุประสงค์ เพื่อสร้างความมั่นใจว่ามาตรฐานผลการเรียนรู้ที่คาดหวังเป็นที่เข้าใจตรงกันและมีการจัดการเรียนการสอนจนบรรลุผลสำเร็จ
  5. คณะกรรมการทวนสอบแจ้งผลการทวนสอบให้หลักสูตรทราบเพื่อพัฒนาปรับปรุงและแจ้งคณะกรรมการ ตามข้อ 2 ของวิธีการประเมินทราบและดำเนินการกำกับดูแลให้มีการพัฒนาตามผลการประเมิน
  6. คณะรายงานผลในภาพรวมของการทวนสอบไปยังมหาวิทยาลัย
เสนอ : ขั้นตอนการดำเนินการ ตามกรอบฯ
tqf3 diagram
ขั้นตอนการดำเนินการ ตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ
1. หลักสูตรได้รับอนุมัติแล้ว มี มคอ.2 และ 3 หรือ 4
2. แต่ละหลักสูตรส่ง มคอ.3 ก่อนเปิดภาคเรียน
3. ติดตามตรวจสอบ
4. สอบกลางภาค
5. สอบปลายภาค
6. การทวนสอบปลายภาค
7. สรุปผลการประเมินรายวิชา
8. ประเมินการจัดการเรียนการสอนรายปีการศึกษา
9. ประเมินหลักสูตรเมื่อครบ 4 ปีการศึกษา
10. ประเมินหลักสูตรทั้งหมด
สมรรถนะดิจิทัล (Literacy Digital)

ประกาศ สมรรถนะดิจิทัล
cmu.ac.th
nation.ac.th
ระกาศคณะกรรมการการอุดมศึกษา เรื่อง แนวทางการปฏิบัติตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ เกี่ยวกับสมรรถนะดิจิทัลสำหรับคุณวุฒิระดับปริญญาตรี .. ตามที่ได้มีประกาศคณะกรรมการการอุดมศึกษา เรื่อง แนวทางการปฏิบัติตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2552 ลงวันที่ 16 กรกฎาคม 2552 เพื่อเป็นแนวทางให้สถาบันอุดมศึกษาใช้ในการพัฒนาหรือปรับปรุงหลักสูตร การจัดการเรียนการสอน และพัฒนาคุณภาพการจัดการศึกษาให้สามารถผลิตบัณฑิตที่มีคุณภาพตามเจตนารมณ์ของประกาศกระทรวงศึกษาธิการ เรื่อง กรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2552 เพื่อให้สอดคล้องกับทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 แนวคิดการศึกษาไทย 4.0 และกรอบการผลิตและพัฒนากำลังคนเพื่อรองรับดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม ของคณะอนุกรรมการวางแผนการผลิตและพัฒนากำลังคนเพื่อรองรับดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม คณะกรรมการการอุดมศึกษา ในการประชุมครั้งที่ 13/2561 เมื่อวันที่ 12 ก.ย.2561 จึงกำหนดแนวทางในการจัดทำ "มาตรฐานผลการเรียนรู้ตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ" โดยนำ "สมรรถนะดิจิทัล" สำหรับคุณวุฒิระดับปริญญาตรีมาเป็นแนวทางในการกำหนดมาตรฐานผลการเรียนรู้ด้านที่ 5 "ด้านทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสาร และการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ"
สมรรถนะดิจิทัล (Digital literacy) สำหรับคุณวุฒิระดับปริญญาตรี มี 6 ด้าน
1. การสืบค้นและการใช้งาน
[ระดับที่จำเป็น]
1.1 สามารถใช้เครื่องมือต่าง ๆ เพื่อสืบค้นข้อมูลที่เกี่ยวข้อง รู้วิธีใช้ตัวกรองเพื่อจำกัดผลลัพธ์ (เช่น การค้นหารูปภาพ วิดีโอ หรือสื่อรูปแบบอื่น ๆ)
1.2 รู้วิธีการตรวจสอบความน่าเชื่อถือของแหล่งข้อมูลต่าง ๆ
1.3 รู้วิธีการจัดระบบ และแบ่งปันทรัพยากร (เช่น เครื่องมือ bookmarking) และตระหนักถึงประเด็นต่าง ๆ เรื่องลิขสิทธิ์และประเด็นการคัดลอกผลงาน
[ระดับสูง]
1.4 สามารถใช้เครื่องมือสืบค้นขั้นสูงสำหรับระบบห้องสมุดและแหล่งเก็บข้อมูลออนไลน์ได้อย่างชำนาญ และติดตามข้อมูลหรือทรัพยากรเฉพาะด้านได้ เข้าใจข้อจำกัดด้านลิขสิทธิ์ ตระหนักถึงสิทธิรูปแบบอื่น ๆ เช่น ครีเอทีฟคอมมอนส์ (Creative Commons) และสามารถ (หรือรู้วิธี) เผยแพร่ และแบ่งปันสิ่งต่าง ๆ ทางออนไลน์ได้อย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล
2. การสร้างสรรค์และนวัตกรรม
[ระดับที่จำเป็น]
2.1 สามารถผลิต (และได้ผลิต) สื่อดิจิทัล เช่น กราฟิก คลิปวีดีโอหรือคลิปเสียง และการบันทึกภาพหน้าจอ เป็นต้น
2.2 สามารถเรียนรู้หลักการพื้นฐานได้ตามคำแนะนำและสามารถทดลองทำได้
[ระดับสูง]
2.3 สามารถผลิต (และได้ผลิต) ทรัพยากรดิจิทัลและมัลติมีเดีย เพื่อวัตถุประสงค์ที่หลากหลาย รวมถึงการนำเสนอในรูปแบบอินโฟกราฟิก เสียง และวิดีโอ ฯลฯ รวมทั้งรู้แหล่งที่มาและปรับแต่ง อาทิ แหล่งทรัพยากรการศึกษาแบบเปิด (Open Education Resource (OER))
2.4 มีประสบการณ์การใช้เครื่องมือสร้างสรรค์ และแก้ไขสื่อแบบปฏิสัมพันธ์โต้ตอบ
3. เอกลักษณ์และคุณภาพชีวิต
[ระดับที่จำเป็น]
3.1 ตระหนักถึงประเด็นความปลอดภัยออนไลน์ รวมถึงการปกป้องข้อมูลและภาพลักษณ์ส่วนตน
3.2 ใช้คุณลักษณะด้านความปลอดภัย เช่น ซอฟต์แวร์ต้านไวรัส และการตั้งค่าความมั่นคงปลอดภัยบนอุปกรณ์ รวมทั้งข้อมูลส่วนตัวบนสื่อสังคมออนไลน์
3.3 รู้จักสิ่งจำเป็นพื้นฐานสำหรับการป้องกันข้อมูล
3.4 ระมัดระวังและไตร่ตรองในการแบ่งปันข้อมูลกับผู้อื่น และในการมีปฏิสัมพันธ์กับคนอื่น ๆ ทางออนไลน์
4. การสอนหรือการเรียนรู้
[ระดับที่จำเป็น]
4.1 สามารถใช้เทคโนโลยีที่หลากหลายอย่างสะดวกสบายในการเรียนรู้
4.2 สามารถติดตั้งและใช้ซอฟต์แวร์ รวมถึงแอพพลิเคชั่นที่เป็นประโยชน์บนอุปกรณ์ส่วนตัวทั้งโทรศัพท์มือถือหรือแท็บเล็ต เพื่อช่วยในการรวบรวมและจัดระเบียบบันทึกข้อมูลในการใช้งานส่วนตน
[ระดับสูง]
4.3 สามารถใช้เทคโนโลยีในการเรียนรู้ได้อย่างมั่นใจ รวมทั้งเครื่องมือสำหรับการอ้างอิง การผลิตงานนำเสนอ การเชื่อมโยงและการแบ่งปันความคิด และแหล่งทรัพยากรการเรียนรู้ สามารถใช้เทคโนโลยีช่วยทดสอบความก้าวหน้าในการเรียนรู้และความเข้าใจเรื่องที่ศึกษา
5. เครื่องมือและเทคโนโลยี
[ระดับที่จำเป็น]
5.1 สามารถใช้เทคโนโลยีดิจิทัลที่หลากหลายได้อย่างคุ้นเคย และใช้คำศัพท์เฉพาะได้พอสมควร
[ระดับสูง]
5.2 สามารถติดตามความก้าวหน้าของเทคโนโลยีอุบัติใหม่ อาทิ กรีนเทคโนโลยี (Green technology) เอนเนอจีเซฟวิ่ง (Energy saving) และสามารถนำมาใช้งานได้อย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล
6. การติดต่อสื่อสารและการประสานงาน
[ระดับที่จำเป็น]
6.1 สามารถใช้เครื่องมือที่หลากหลายได้อย่างสะดวกสบายเพื่อการสนทนาและทำงานร่วมกับผู้อื่นแบบออนไลน์ รวมถึงการแบ่งปันเอกสารและหรือข้อคิดเห็น การประชุมทางไกล (video-conferencing) และการเข้าร่วมสัมมนาผ่านเว็บไซต์ การสัมมนาผ่านเครื่องมือและช่องทางที่หลากหลาย
ระดับที่จำเป็น หมายถึง ทักษะพื้นฐานสำหรับคุณวุฒิระดับปริญญาตรีทุกหลักสูตร
ระดับสูง หมายถึง ทักษะเพิ่มเติมขั้นสูงที่เข้มข้นขึ้นสำหรับคุณวุฒิระดับปริญญาตรี
ระบบรับทราบหลักสูตร ของประเทศไทย

สืบค้นหลักสูตร
มคอ.2 NTU-CPSC
ค้นผ่าน mhesi.go.th
วนอ่านข้อมูลใน #ระบบรับทราบหลักสูตร ของประเทศไทย สามารถค้นตามชื่อหลักสูตร ชื่อคณะ หรือชื่อหน่วยงาน พบข้อมูลแบ่งเป็น 3 ส่วน ซึ่งเข้าถึงโดยไม่ต้อง login ข้อมูลเหล่านี้เผยแพร่ทั่วไปเป็นสาธารณะ เพื่อการศึกษา
ส่วนที่ 1 ข้อมูลหลัก ที่น่าสนใจคือจำนวนหน่วยกิตใน 1.3
1.1 รหัสและชื่อหลักสูตร
1.2 ชื่อปริญญาและสาขาวิชา
1.3 ข้อมูลประกอบ
ส่วนที 2 การอนุมัติ ที่น่าสนใจคือชื่ออาจารย์ผู้รับผิดชอบและอาจารย์ประจำหลักสูตร
1.4 สถานภาพหลักสูตรและการพิจารณาอนุมัติ/เห็นชอบหลักสูตร
1.5 ระบบจัดการศึกษา
ส่วนที่ 3 นอกจากแนบมคอ.2 ให้ดาวน์โหลดแล้ว ยังมี Program Learning Outcomes (PLO) แยกรายปี
1.6 ผลการพัฒนาการเรียนรู้แต่ละด้าน (ผลการเรียนรู้: Program Learning Outcomes)
1.7 คุณสมบัติผู้เรียน
1.8 จำนวนนิสิต
1.9 เกณฑ์การสำเร็จการศึกษาตามหลักสูตร
1.10 เอกสารแนบ
ตัวอย่างข้อมูลที่น่าสนใจ ของหลักสูตรหนึ่ง
1.6.3 ความคาดหวังของผลลัพธ์การเรียนรู้เมื่อสิ้นปีการศึกษา
ปีที่ 1 นิสิตได้ฝึกประสบการณ์ ในการปรับตัวให้เข้ากับสังคมและสิ่งแวดล้อมใหม่ มีความสัมพันธ์ที่ดีกับเพื่อน รุ่นพี่ และอาจารย์ มีระเบียบวินัย มีความรับผิดชอบต่อการเรียน ได้รับทักษะความรู้พื้นฐานในวิชาศึกษาทั่วไป และพื้นฐานวิชาทางด้านคอมพิวเตอร์ เพื่อเตรียมความพร้อมสำหรับทักษะ ศาสตร์วิชาที่สูงขึ้น
ปีที 2 มีความรู้และทักษะเกี่ยวกับวิทยาการคอมพิวเตอร์ที่เฉพาะเจาะจง มีทักษะด้านเทคโนโลยีและวิธีการทางซอฟ์ตแวร์ ได้ความรู้เกี่ยวกับเทคโนโลยีปัจจุบัน มีทักษะการใช้คอมพิวเตอร์เพื่อใช้ในงานด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและคอมพิวเตอร์ มีทักษะด้านฮาร์ดแวร์และสถาปัตยกรรมคอมพิวเตอร์
ปีที่ 3 มีทักษะทางด้านการใช้งานเครื่องมือทางคอมพิวเตอร์ที่สามารถนำไปประยุกต์ใช้ในการประกอบอาชีพ มีทักษะในศาสตร์วิชาที่สูงขึ้น ด้านองค์การและระบบสารสนเทศ ด้านเทคโนโลยีเพื่องานประยุกต์ ด้านเทคโนโลยีและวิธีการทางซอฟ์ตแวร์ และด้านโครงสร้างพื้นฐานของระบบ
ปีที่ 4 มีทักษะจากการฝึกประสบการณ์จริงในสถานประกอบการ สามารถปรับตัวและแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นในระหว่างการฝึกปฎิบัติงานได้ มีความสามารถในการบูรณาการความรู้ที่ได้มาประยุกต์ใช้ในการทำโครงงานวิทยาการคอมพิวเตอร์
ดาวน์โหลด - มคอ.2
ารเข้าถึงแฟ้ม มคอ.2 ของหลักสูตรต่าง ๆ ในประเทศไทย เริ่มจากเข้าไปที่ 202.44.139.57/checo/ เมื่อวันที่ 5 มีนาคม 2564 พบหัวข้อ "หลักสูตรที่ได้รับการพิจารณาความสอดคล้อง" มีทั้งสิ้น 5837 หลักสูตร เมื่อเข้าไปพบ ช่อง "Enter text to search..." และ คอลัม "ชื่อหลักสูตร" ที่สามารถคลิ๊กเข้าไปดูรายละเอียดได้ หรือกรอกชื่อหลักสูตรที่ต้องการ เช่น "บริหารธุรกิจบัณฑิต" พบ 496 items หรือ "บริหารธุรกิจบัณฑิต มหาวิทยาลัยxxx" เพื่อระบุให้ชัดเจนในหลักสูตรที่ต้องการ พบว่า มีรายละเอียดจากในเล่ม มคอ.2 ถูกแจกแจงเป็น 3 ส่วน คือ ส่วนที่ 1 ส่วนที่ 2 และส่วนที่ 3 พบว่า ในส่วนที่ 3 มีหัวข้อเอกสารแนบ พบแฟ้ม มคอ.2 ที่สามารถ download ได้ เช่น หลักสูตรบริหารธุรกิจบัณฑิต สาขาวิชาธุรกิจการบินและการขนส่งทางอากาศ หลักสูตรใหม่ พ.ศ.2562
ค้นข้อมูล หลักสูตรที่น่าสนใจ ดาวน์โหลด มคอ.2 มาอ่านกันได้
ภาพจาก checo
ะบบรับทราบหลักสูตร CHECO (Commission on Higher Education Curriculum Online) มีหลักสูตรที่ได้รับการพิจารณาความสอดคล้องแล้ว 8046 หลักสูตร (20 ก.ค.64) หากต้องการ มคอ.2 ของหลักสูตรที่น่าสนใจมาอ่าน โดยเข้า google แล้วค้น "Checo หลักสูตร" หรือคลิ๊ก http://202.44.139.57/checo พบข้อมูล 8053 รายการ ค้นหา พยาบาลศาสตร์ พบ 77 รายการ เมื่อคลิ๊กเข้า คณะพยาบาลศาสตร์ ของ มหาวิทยาลัยเนชั่น แล้วคลิ๊กเข้า "หลักสูตรพยาบาลศาสตรบัณฑิต หลักสูตรใหม่ (พ.ศ.2562)" พบข้อมูลแบ่งเป็น 3 ส่วน ได้แก่ 1) ข้อมูลพื้นฐานหลักสูตร 2) ข้อมูลอาจารย์ และผลงานของแต่ละท่านย้อนหลัง 5 ปี 3) เกณฑ์สำเร็จและค่าใช้จ่าย ซึ่งในหัวข้อสุดท้ายของส่วนที่ 3 พบหัวข้อ เอกสารแนบ ถ้าสนใจ Download มคอ.2 ทั้งเล่ม 100 หน้า ก็คลิ๊กดาวน์โหลดได้ที่นี่
มาตรฐานผลการเรียนรู้แต่ละด้านที่มุ่งหวัง - MBA หลักสูตรบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต - มาตรฐานผลการเรียนรู้แต่ละด้านที่มุ่งหวัง
1.คุณธรรม จริยธรรม
1.1 สามารถดำเนินชีวิตประจำวันและประกอบวิชาชีพบนพื้นฐานของความมีคุณธรรม จริยธรรม
1.2 สามารถเข้าใจในปัญหาเชิงจริยธรรมและหาแนวทางการแก้ปัญหาได้อย่างเหมาะสม
1.3 ซื่อสัตย์ มีวินัย ตรงต่อเวลา และมีความรับผิดชอบต่อตนเอง และสังคม
1.4 มีเจตคติที่ดีในการแสวงหาความรู้เพิ่มเติมทั้งทางด้านวิชาการและเทคโนโลยีที่ทันสมัย อันเป็นประโยชน์ต่อตนเอง ชุมชน และสังคม รวมทั้งใฝ่เรียนรู้อย่างต่อเนื่อง
2. ความรู้
2.1 มีความรู้ความเข้าใจในองค์ความรู้และศาสตร์ที่เกี่ยวข้องเพื่อการประกอบวิชาชีพ
2.2 สามารถสังเคราะห์ความรู้ที่ได้ศึกษาและนำไปประยุกต์ใช้ในได้อย่างเหมาะสม
2.3 มีความเข้าใจในการบริหารจัดการงานด้วยหลักธรรมาภิบาล
3. ทักษะทางปัญญา
3.1 สามารถพิจารณาปัญหาและอุปสรรคที่เกิดขึ้นจากการประกอบอาชีพได้ตรงประเด็นโดยการคิดอย่างมีวิจารณญาณ
3.2 สามารถแสวงหาแนวทางการแก้ไขปัญหาและอุปสรรคได้อย่างเหมาะสมกับสภาพการณ์ ด้วยการคิดเชิงสร้างสรรค์
3.3 มีปฏิภาณไหวพริบในการตัดสินใจด้วยการประยุกต์ใช้องค์ความรู้และศาสตร์ที่เกี่ยวข้องในการประกอบวิชาชีพ เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด
4. ทักษะด้านความ สัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ
4.1 มีปฏิสัมพันธ์เชิงสร้างสรรค์ระหว่างบุคคลกับกลุ่มคน มีมนุษยสัมพันธ์ที่ดีกับผู้ร่วมงานในองค์กรและบุคคลทั่วไปในสังคม
4.2 สามารถทำงานเป็นทีมในการให้บริการร่วมกับผู้อื่นได้อย่างมีประสิทธิภาพ แสดงออกซึ่งภาวะผู้นำได้อย่างเหมาะสมกับสถานการณ์
4.3 สามารถปรับตัวเข้ากับสถานการณ์การเปลี่ยนแปลงของสังคมและวัฒนธรรมองค์กรที่ไปปฏิบัติงานได้เป็นอย่างดี
4.4 มีความรับผิดชอบต่อบทบาทหน้าที่ที่ได้รับมอบหมาย รับผิดชอบต่อการพัฒนาตนเอง วิชาชีพ และสังคมอย่างต่อเนื่อง
5. ทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสารและการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ
5.1 สามารถใช้เทคนิคทางคณิตศาสตร์และสถิติในการวิเคราะห์ข้อมูลและแปลความหมายของข้อมูลทั้งเชิงปริมาณและคุณภาพ เพื่อการแก้ปัญหาในเชิงสร้างสรรค์
5.2 สามารถติดต่อสื่อสารภาษาไทยได้อย่างมีประสิทธิภาพทั้งทั้งการพูด การฟัง การอ่าน การเขียน และการนำเสนอ รวมทั้งสามารถอ่านวารสารและตำราภาอังกฤษได้ย่างเข้าใจ
5.3 มีความรู้ความสามารถและทักษะการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศที่ทันสมัยในชีวิตประจำวันและการประกอบวิชาชีพอย่างต่อเนื่อง
5.4 รู้จักการเลือกใช้รูปแบบการนำเสนอข้อมูลได้อย่างเหมาะสมกับสถานการณ์ บุคคล และกลุ่มคน
5.5 สามารถประยุกต์ใช้ผลการวิจัยในชีวิตประจำวันและการประกอบวิชาชีพ
มคอ.2
มาตรฐานผลการเรียนรู้แต่ละด้านที่มุ่งหวัง - MED หลักสูตรศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต - มาตรฐานผลการเรียนรู้แต่ละด้านที่มุ่งหวัง
1. ด้านคุณธรรม จริยธรรม
1.1 แสดงออกซึ่งพฤติกรรมด้านคุณธรรมจริยธรรม และจรรยาบรรณวิชาชีพครู คุณธรรมที่เสริมสร้างการพัฒนาที่ยั่งยืน มีความกล้าหาญทางจริยธรรม มีความเข้าใจผู้อื่น เข้าใจโลกมีจิตสาธารณะ เสียสละ และเป็นแบบอย่างที่ดี
1.2 สามารถจัดการและคิดแก้ปัญหาทางคุณธรรมจริยธรรม จรรยาบรรณวิชาชีพครูเชิงสัมพัทธ์โดยใช้ดุลพินิจทางค่านิยม ความรู้สึกของผู้อื่น และประโยชน์ของสังคมส่วนรวม
2. ด้านความรู้
2.1 มีความรอบรู้และความเข้าใจอย่างถ่องแท้ในทฤษฎี หลักการ วิธีการในสาขาวิชาชีพ
2.2 มีความตระหนักรู้หลักการและทฤษฎีในองค์ความรู้ที่เกี่ยวข้องอย่างบูรณาการทั้งการบูรณาการข้ามศาสตร์ และการบรูณาการกับโลกแห่งความเป็นจริง
2.3 มีความเข้าใจความก้าวหน้าของความรู้เฉพาะด้านในสาขาวิชาที่จะสอนอย่างลึกซึ้ง ตระหนักถึงความสําคัญของงานวิจัยและการวิจัยในการต่อยอดความรู้
2.4 มีความสามารถในการคิดวิเคราะห์ สังเคราะห์ และประเมินค่าองค์ความรู้ และสามารถนําไปประยุกต์ใช้ในการปฏิบัติงานอย่างมีประสิทธิภาพ
3. ด้านทักษะทางปัญญา
3.1 สามารถคิดค้นหาข้อเท็จจริง ทําความเข้าใจ และประเมินข้อมูลสารสนเทศและแนวคิด จากแหล่งข้อมูลที่หลากหลาย เพื่อใช้ในการปฏิบัติงาน การวินิจฉัยแก้ปัญหา และทําการวิจัยเพื่อพัฒนางานและพัฒนาองคืความรู้ได้ด้วยตนเอง
3.2 สามารถคิดแก้ปัญหาที่มีความสลับซับซ้อน เสนอทางออก และนําไปสู่การแก้ไขได้อย่างสร้างสรรค์ โดยคํานึงความรู้ทางภาคทฤษฎี ประสบการณ์ภาคปฏิบัติ และผลกระทบจากการตัดสินใจ
3.3 มีความเป็นผู้นําทางปัญญาในการคิดพัฒนางานอย่างสร้างสรรค์ มีวิสัยทัศน์ และการพัฒนาศาสตร์ทางครุศาสตร์/ศึกษาศาสตร์ รวมทั้งการพัฒนาทางวิชาชีพอย่างมีนวัตกรรม
4. ด้านทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ
4.1 มีความไวในการรับรู้สึกของผู้อื่น เข้าใจผู้อื่น มีมุมมองเชิงบวก มีวุฒิภาวะทางอารมณ์ และทางสังคม
4.2 มีความเอาใจใส่ช่วยเหลือและเอื้อต่อการแก้ปัญหาในกลุ่มและระหว่างกลุ่มได้อย่างสร้างสรรค์
4.3 มีภาวะผู้นําและผู้ตามที่ดี มีความสัมพันธ์ที่ดีกับผู้ร่วมงาน และมีความรับผิดชอบต่อส่วนรวมทั้งด้านเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม
5. ด้านทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสาร และการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ
5.1 มีความไวในการวิเคราะห์ข้อมูลข่าวสารทั้งที่เป็นตัวจริงเชิงสถิติ หรือคณิตศาสตร์ ภาษาพูด และภาษาเขียน อันมีผลให้สามารถเข้าใจองค์ความรู้ หรือประเด็นปัญหาได้อย่างรวดเร็ว
5.2 มีความสามารถในการใช้ดุลยพินิจที่ดีในการประมวลผล แปลความหมาย และเลือกใช้ข้อมูลสารสนเทศ โดยใช้เทคโนโลยีสารสนเทศได้อย่างสม่ําเสมอและต่อเนื่อง
5.3 มีความสามารถในการสื่อสารอย่างมีประสิทธิภาพทั้งการพูด การเขียน และนําเสนอด้วยรูปแบบที่เหมาะสมสําหรับบุคคลและกลุ่มที่มีความแตกต่างกัน
6. ด้านทักษะการจัดการเรียนรู้/การบริหารการศึกษา
6.1 มีความเชี่ยวชาญในการจัดการเรียนรู้การบริหารที่มีรูปแบบหลากหลาย ทั้งรูปแบบที่เป็นทางการ (Formal) รูปแบบกึ่งทางการ (Non-formal) อย่างสร้างสรรค์
6.2 มีความเชี่ยวชาญในการจัดการเรียนรู้การบริหารสําหรับผู้เรียนที่หลากหลาย ทั้งผู้เรียนที่มีความสามารถพิเศษ ผู้เรียนที่มีความสามารถปานกลาง และผู้เรียนที่มีความต้องการพิเศษอย่างมีนวัตกรรม
6.3 มีความเชี่ยวชาญในการจัดการเรียนรู้ในวิชาเอกที่จะสอนการบริหารอย่างบูรณาการ
มคอ.2
สมรรถนะดิจิทัล
มรรถนะดิจิทัล คือ ความรู้ ความสามารถ และทักษะการใช้ เข้าใจและสร้างสื่อดิจิทัลที่จำเป็นสำหรับ ทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 แนวคิดการศึกษาไทย 4.0 และกรอบการผลิตและพัฒนากำลังคนเพื่อรองรับดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม
อดคล้องกับ เกณฑ์คุณภาพระดับคณะ ตัวบ่งชี้ 1.6 กิจกรรมนักศึกษาระดับปริญญาตรี (หน้า 104 ตามคู่มือฯ 2557) ที่คณะต้องส่งเสริมให้มีการจัดกิจกรรมเสริมหลักสูตรอย่างเหมาะสม และครบถ้วนที่ดำเนินการสอดคล้องกับ คุณลักษณะบัณฑิตที่พึงประสงค์ ที่ประกอบด้วยมาตรฐานผลการเรียนรู้ตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิแห่งชาติ 5 ประการ ได้แก่ 1) ด้านคุณธรรม จริยธรรม 2) ด้านความรู้ 3) ด้านทักษะทางปัญญา 4) ทักษะด้านความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล และความรับผิดชอบ 5) ทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสาร และการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ
ลักษณะของข่าวปลอมในไทยและระดับความรู้เท่าทัน..Thaijo
ข้อแนะนำสังเกตุข่าวปลอมออนไลน์ ETDA
วิธีเช็คข่าวปลอม 3 จุด

ประกาศ สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา 27/12/2561
เรื่อง แนวทางการปฏิบัติตามมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ
เกี่ยวกับสมรรถนะดิจิทัลสำหรับคุณวุฒิระดับปริญญาตรี
ลสำรวจแรงงานไทยจากข้อมูลปี 2007 พบว่า ทักษะต่าง ๆ ด้อย ภาษาก็แย่ ไอทีก็หลงตัวเอง บวกลบก็ไม่เก่ง แล้วจะเอาอะไรไปสู้เขา (อ้างอิงจาก นสพ. The Nation 12 มี.ค.2555)
Thaiall.com