บล็อกดิต Blockdit
Hello World ใน บล็อกดิต Blockdit.com

Blockdit คือ Block + Edit
Block คือ การนำเสนอในรูปแบบของกล่องข้อความ (Block = กล่องข้อความ) ทำให้อ่านง่าย อ่านเรื่องยาว ๆ แล้วสนุก ส่วน Edit คือ การเปิดให้ทุกคนเขียน และแบ่งปันความรู้กันในสังคมได้
+ FAQs
ทุกคนย่อมต้องมีครั้งแรกกันทั้งนั้น ที่จะต้องกล่าวคำแรก
การเขียน block หรือ blog เริ่มไม่ใช่เรื่องใหม่ สำหรับนักเรียน นิสิต และนักศึกษาพันธ์ใหม่ แต่วันนี้ (21 พ.ย.62) เป็นครั้งแรกของผมที่ได้กล่าวคำว่า Hello World ใน blockdit.com/thaiall และตั้งใจเขียนเป็นตัวอย่างให้นิสิตได้เข้าไปเขียน หรือเลือกเขียนบอกเล่าเรื่องราวเป็นบล็อก (blog) ตามเว็บไซต์ต่าง ๆ
การสมัครสร้าง page ใน บล็อกดิต
ต้องยืนยันด้วยหมายเลขโทรศัพท์ หลังกรอกหมายเลขเสร็จ ระบบจะส่ง OTP ไปให้ แล้วนำรหัสที่ได้รับเป็น SMS ในโทรศัพท์ มากรอกในหน้า Setting ของ blockdit.com จึงจะสามารถ Create page ได้

กระบวนการจัดการความรู้
กระบวนการจัดการความรู้
สิ่งที่กำหนดก่อนเริ่ม คือ เป้าหมายเคเอ็ม และหน่วยที่วัดผลได้เป็นรูปธรรม
สิ่งที่มีในแต่ละกิจกรรม คือ ตัวบ่งชี้ของกิจกรรม และเป้าหมายของกิจกรรม

แบบที่ 1 ตามแนว กพร.
กระบวนการจัดการความรู้มี 7 กิจกรรม
ดังนี้ 1) การบ่งชี้ความรู้ คือ การระบุประเด็นความรู้ รูปแบบ และผู้รู้ที่สอดรับกับนโยบาย ขอบเขตและเป้าหมายขององค์กร 2) การสร้างและแสวงหาความรู้ คือ การรวบรวมความรู้ใหม่ รักษาความรู้เดิม และกรองความรู้ที่ไม่ใช้ออกจากแหล่งรวบรวม 3) การจัดความรู้ให้เป็นระบบ คือ การวิเคราะห์และคัดแยกความรู้เป็นกลุ่มประเด็นให้ง่ายต่อการเข้าถึงอย่างมีขั้นตอน 4) การประมวลและกลั่นกรองความรู้ คือ การปรับปรุงให้ความรู้มีรูปแบบมาตรฐาน ไม่ซ้ำซ้อน มีความสมบูรณ์ มีความถูกต้องและน่าเชื่อถือ 5) การเข้าถึงความรู้ คือ การสร้างแหล่งเผยแพร่ที่สามารถเข้าถึงได้ทุกที่ทุกเวลา 6) การแบ่งปันแลกเปลี่ยนความรู้ คือ การนำความรู้เข้าสู่เวทีแลกเปลี่ยนที่มีฐานความรู้หรือฐานข้อมูลรองรับให้ง่ายต่อการเข้าถึงและสืบค้น 7) การเรียนรู้ คือ การใช้ความรู้เป็นส่วนหนึ่งของงาน เป็นวงจรความรู้ที่มีการเรียนรู้และพัฒนาให้เกิดประสบการณ์ใหม่อยู่เสมอ # #

แบบที่ 2 ตามแนว ศ.นพ.วิจารณ์ พานิช
กระบวนการจัดการความรู้มี 6 กิจกรรม
ดังนี้ 1) การกำหนดความรู้หลักที่จำเป็นต่องานหรือกิจกรรมขององค์กร 2) การเสาะหาความรู้ที่ต้องการ 3) การปรับปรุง ดัดแปลง หรือสร้างความรู้บางส่วน ให้เหมาะต่อการใช้งาน 4) การประยุกต์ใช้ความรู้ในกิจการงานของตน 5) การนำประสบการณ์จากการใช้ความรู้มาแลกเปลี่ยนเรียนรู้มาบันทึกไว้ 6) การจดบันทึก ขุมความรู้ แก่นความรู้ สำหรับไว้ใช้งาน

แบบที่ 3 ตามแนว ดร.ณพศิษฏ์ จักรพิทักษ์
กระบวนการจัดการความรู้มี 6 กิจกรรม
ดังนี้ 1) การตรวจสอบและระบุหัวข้อความรู้ 2) การสร้างกรอบแนวคิดในการบริหาร 3) การวิเคราะห์และสังเคราะห์ความรู้ 4) การสร้างระบบสารสนเทศในการจัดการความรู้ 5) การจัดกิจกรรมในการจัดการความรู้ 6) การวัดประเมินผลการจัดการความรู้

(ลำดับ) นั้นสำคัญไฉน
เคยเห็นนักเขียนหลายท่านใส่ (ลำดับ) ต่อชื่อบันทึก เคยสงสัยว่าเขาใส่ไปทำไม ก็มาเข้าใจกับตัวเองหลังเขียนไปได้ประมาณ 20 บันทึก ในระบบบล็อกที่สร้างใช้เอง เพราะการเขียนบันทึกที่แยกตามกลุ่ม (Categories) ถ้าเป็นของ gotoknow.org ก็จะเรียกว่า blog การมี (ลำดับ) ก็เพื่อใช้อ้างอิง มีภาคต่อ สร้างกลุ่มย่อยผ่านชื่อบันทึก และทราบได้ทันทีว่ากลุ่มใดเขียนไปกี่เรื่อง และมีกลุ่มใดที่ยังทำหน้าที่บกพร่องไปบ้าง

ตัวอย่างนักเขียนใน gotoknow.org ที่มี (ลำดับ)
+ ศ.วิจารณ์ พาณิช (๑.) + วีรยุทธ สมป่าสัก (1.) + อรุณรัตน์ คำพีพงษ์(1.) + Dr.Phichet Banyati + สนง.สนับสนุน KM Dental + วัลลา ตันตโยทัย + นฤมล จันทรศรี + พนัส ปรีวาสนา

โดย กพร + สถาบันเพิ่มผลผลิตแห่งชาติ

gotoknow.org/blog/thaiall



article-thaiall.blogspot.com



thaiall.com/blog


blog.nation.ac.th
ที่มาของเว็บเพจหน้านี้
- อ.ดร.อติชาต หาญชาญชัย (หัวหน้าของผม) ได้เล่าให้ฟัง แบ่งปันประสบการณ์ หลักการ ความรู้ เกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ จากการที่ท่านเรียนต่อ ป.เอก ด้านนี้ที่ มช. จนเป็นผลให้ผมลงมือรวมรวมเรื่องราวเกี่ยวกับ การจัดการความรู้ ไว้ ณ เว็บเพจนี้ .. หากเกิดข้อผิดพลาดประการใดก็คงเป็นความบกพร่องของผมแต่เพียงผู้เดียวที่เข้าใจ KM ผิดเพี้ยนไป .. ก็จะเรียนรู้ และปรับปรุงเนื้อหาในเว็บเพจนี้ให้ทันสมัย เนือง ๆ ต่อไป