โครงการเรียนรู้ร่วมกันสรรค์สร้างชุมชน โดยอาจารย์นิเทศกลาง
เว็บเพจสำรอง (Backup Webpages) : http://www.thaiall.com/learntambon
ปรับปรุง : 2549-02-28 (ปี 2549 ไม่มีโครงการนี้แล้ว)
โครงการเรียนรู้ร่วมกันสรรค์สร้างชุมชน มี 8 กิจกรรม
แบ่งพื้นที่เป็น 2 ลักษณะคือ พื้นที่ขยายผล และพื้นที่ใหม่
ประกาศรายชื่อนักศึกษาที่เข้าโครงการปี 48 http://www.mua.go.th/Learning/choose48.htm
ประกาศรายชื่อนักศึกษาที่เข้าโครงการปี 47 http://www.mua.go.th/Learning/choose47.htm
กระผมเป็นอาจารย์นิเทศกลาง สำหรับกิจกรรมอินเทอร์เน็ตตำบล กลุ่มภาคเหนือ 1 (มหาวิทยาลัยเชียงใหม่) ปี 2547
เป็นตัวแทนของวิทยาลัยโยนก เป็นอาจารย์นิเทศกลางร่วมกับอาจารย์จาก ม.เชียงใหม่ ม.พายัพ และสถาบันราชมงคล
[ เอกสารประกอบการอบรม 2547 (learn47.doc) ]
ความสุขที่ยิ่งใหญ่ในชีวิต คือ อุทิศตัวเองให้แก่อุดมการณ์ที่ตนเองเห็นว่ามีความสำคัญที่สุด
..Georce Bernard Shaw, ค.ศ.1856-1950
จากหนังสือ คู่มือนิสิตนักศึกษา ในการปฏิบัติงาน
โครงการเรียนรู้ร่วมกัน สรรค์สร้างชุมชนปี 2547
สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา (สกอ.)
1. ความเป็นมา
    จาก : สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา
    จากการประชุมคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 25 ธันวาคม 2544 วันที่ 8, 15 และ 29 มกราคม 2545 ได้มีมติซึ่งสรุปสาระสำคัญได้ว่า ในช่วงปิดภาคการศึกษาประจำปีการศึกษาควรจะได้จัดให้มีโครงการเพื่อให้นิสิตนักศึกษา รวมถึงอาจารย์ได้กระทำกิจกรรมที่สร้างสรรค์ และใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์ ก่อเกิดรายได้หรือเพิ่มทักษะด้านอาชีพ มีการฝึกฝน และดำเนินการในฐานะผู้ประกอบการ รุ่นใหม่ (Young Entrepreneur) ในอนาคต โดยกำหนดกรอบและแนวทางโดยย่อ คือ
    - ให้นิสิตนักศึกษาได้เรียนรู้จากการปฏิบัติจริง (Activity Based Learning)
    - พัฒนาความเป็นผู้นำ (Leadership Development) มีความขยัน มานะ อดทน
    - มีงานทำ และได้ค่าตอบแทนจำนวนหนึ่งเพื่อแบ่งเบาภาระผู้ปกครอง
    - ได้รับประสบการณ์ รู้จักและเข้าใจสภาพความเป็นอยู่ที่แท้จริงของชาวชนบท
    - ได้เรียนรู้วัฒนธรรม ขนบธรรมเนียม และประเพณีท้องถิ่น
    - ให้นักศึกษาในสาขาวิชาต่างกันเข้าร่วมการดำเนินงานในลักษณะเป็นทีม สามารถนำความรู้ไปร่วมกันพัฒนาท้องถิ่นได้อย่างครบถ้วน รอบด้านและเป็นสหวิทยาการ (Inter- Disciplinary)
    - ใช้ภูมิปัญญาของนิสิตนักศึกษาและชุมชนร่วมกันพัฒนาท้องถิ่น สร้างความคิด สร้างสรรค์ มีนวัตกรรมสิ่งประดิษฐ์ใหม่ ๆ ที่สามารถเชื่อมโยงกับการใช้งานได้จริง ในชุมชน เป็นการเชื่อมโยงสถาบันการศึกษาไปสู่ชุมชน
    - หน่วยราชการ ชุมชน ได้รับรายงาน ข้อคิดเห็น ข้อเสนอแนะที่เป็นประโยชน์ ต่อการวางแผนพัฒนาชุมชนท้องถิ่น รวมถึงการกำหนดนโยบายในภาพรวมของประเทศ

2. นายกรัฐมนตรีมอบนโยบาย “รัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์”
    จาก : http://www.thaigov.go.th/news/press/thaksin/pr26mar46-1.htm
    ข่าวที่ 03/26-1 วันที่ 26 มีนาคม 2546
    5Es :e-Thailand : e-Government, e-Education, e-Society, e-Commerce และ e-Industry
    วันนี้ เวลา 09.00 น. ณ วิเทศสโมสร กระทรวงการต่างประเทศ พันตำรวจโท ทักษิณ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ได้เป็นประธานการสัมมนาเชิงปฏิบัติการ เรื่อง “รัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ (e-Government) จัดโดย กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร พร้อมมอบนโยบายและทิศทางการพัฒนารัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ของประเทศไทย ทั้งนี้เพื่อให้ รัฐมนตรี ผู้บริหารระดับสูงทุกกระทรวง รับทราบนโยบายและยุทธศาสตร์แผนแม่บทเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารของประเทศไทย ตลอดจนการแลกเปลี่ยนข้อคิดเห็นต่าง ๆ เพื่อร่วมกันหาทางปรับเปลี่ยนวิธีการ และรูปแบบในการดำเนินการพัฒนารัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ให้เกิดความสมบูรณ์ และประสบความสำเร็จร่วมกัน อันจะนำไปสู่การเพิ่มความโปร่งใสในกระบวนการทำงานของระบบราชการ และเพิ่มความเชื่อมั่นให้กับประชาชนในการรับบริการที่รวดเร็วและปลอดภัย
    คุณหญิงทิพาวดี เมฆสวรรค์ ปลัดกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร กล่าวรายงานว่า รัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ หรือ e-Government เป็นหนึ่งในห้ายุทธศาสตร์ของแผนแม่บทเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารของประเทศไทย ระหว่างปี 2545-2549 ที่กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารนำมาดำเนินการ เพื่อให้ประเทศไทยก้าวไปสู่สังคมอิเล็กทรอนิกส์อย่างเต็มภาคภูมิ โดยมีอีก 4 ยุทธศาสตร์ที่เหลือ คือ e-Education การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเพื่อการพัฒนาด้านการศึกษา e-Society การใข้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเพื่อการพัฒนาด้านสังคม e-Commerce การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเพื่อพัฒนาด้านพาณิชย์ และ e-Industry การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเพื่อการพัฒนาอุตสาหกรรม ซึ่งยุทธศาตร์ทั้ง 5 e จะสามารถนำประเทศไทยก้าวไปสู่ความเป็น e-Thailand ซึ่งหมายถึงสังคมที่พร้อมด้วยภูมิปัญญาและการเรียนรู้อย่างทั่วถึงและเท่าเทียมกัน นอกจากนี้การเรียนรู้และการทำความเข้าใจร่วมกันถึงความสำเร็จของผู้อื่นทั้งในและต่างประเทศ จะเป็นหนทางของการเรียนลัดที่จะทำให้สามารถนำแบบอย่างที่ดี และเกิดความสะดวกแล้วมาประยุกต์ใช้ เพื่อนำไปสู่การสร้างมิติใหม่ในการให้บริการประชาชน และการบริหารงานภายในองค์กร
    โอกาสนี้ นายกรัฐมนตรีได้กล่าวเปิดการสัมมนาและมอบนโยบาย “รัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์” ว่า วันนี้ถือเป็นวันสำคัญอีกวันหนึ่งของการเปลี่ยนแปลงระบบการบริหารราชการ หลังจากที่ได้มีการปฏิรูประบบราชการ ขณะนี้ทุกหน่วยงานราชการกำลังเร่งพัฒนาระบบการทำงานและระบบการให้บริการประชาชน ตามนโยบายของรัฐบาลที่ยึด “ประชาชนเป็นศูนย์กลาง” ดังนั้นหัวหน้าส่วนราชการต่าง ๆ จะต้องมีความตื่นตัวและมุ่งมั่นที่จะพัฒนาหน่วยงานของตนเองให้มีการเปลี่ยนแปลง และพัฒนาองค์กรไปสู่ระบบเทคโนโลยีที่มีความรวดเร็วและก้าวทันการเปลี่ยนแปลงของโลกในยุคปัจจุบันที่มีการแข่งขันในด้านต่าง ๆ สูงมาก
    อย่างไรก็ตาม นายกรัฐมนตรีได้กล่าวถึงประเทศไทยในปัจจุบันว่า ต้องการมีความรวดเร็วในการบริหารประเทศและพัฒนาองค์กรต่าง ๆ โดยเฉพาะการเชื่อมโยงข้อมูลกับหน่วยงานทั้งภาครัฐและเอกชน จึงจะต้องมีกระบวนการดำเนินการที่รวดเร็ว มีระบบส่งผ่านข้อมูลที่สามารถนำไปสู่การตัดสินใจที่ถูกต้องของผู้บริหาร ซึ่งรัฐบาลกำลังเร่งดำเนินการจัดทำ “รัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์” อย่างจริงจังและถือเป็นนโยบายสำคัญที่หน่วยงานภาครัฐจะต้องดำเนินการให้เป็นรูปธรรม กล่าวคือทุกหน่วยงานจะต้องมีเว็บไซด์เป็นของตนเอง ก่อนวันที่ 1 มกราคม 2547 โดยเฉพาะอย่างยิ่งหน่วยงานระดับกรมที่มีการกระจายการทำงานไปทั่วทุกภูมิภาคของประเทศ ต้องมีอินทราเน็ตที่เชื่อมโยงข้อมูลภายใน ส่วนระดับกระทรวงจะต้องมีระบบการเชื่อมโยงไปยังหน่วยงานราชการทุกแห่งให้เป็นรูปธรรมที่ชัดเจน เพราะสิ่งเหล่านี้ถือว่ามีความจำเป็นอย่างยิ่งต่อการค้นหาข้อมูลที่หลากหลาย ถูกต้อง รวดเร็ว และมีความน่าเชื่อถือต่อการตัดสินใจของระดับผู้บริหาร ที่มีมุมมองกว้างไกลมากยิ่งขึ้น
    ปัจจุบันโดยภาพรวมประเทศไทยค่อนข้างมีความล่าช้าต่อการเปลี่ยนแปลงของโลก ถึงเวลาที่ทุกฝ่ายจะต้องร่วมกันปรับเปลี่ยนระบบการพัฒนาประเทศในทุก ๆ ด้านให้ทันต่อความเร็วของโลก เพื่อรักษาสถานภาพเดิมของประเทศไทยไม่ให้เกิดความล้าหลัง ซึ่งรัฐบาลกำลังเร่งปรับความเร็วของประเทศให้ทันต่อความเปลี่ยนแปลงที่รวดเร็วของโลก ซึ่งคาดว่าภายใน 6 ปีข้างหน้าประเทศไทยจะต้องเร่งความเร็วได้ในทุกมิติ เพื่อให้มั่นใจว่าในอนาคตประเทศไทยจะอยู่ในตำแหน่งที่ดีของโลก เพราะฉะนั้นการทำระบบ “รัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์” จึงต้องทำควบคู่กับอัตราความเร็ว ตลอดจนมีความแม่นยำและทันต่อเวลา ซึ่งจะต้องพัฒนาไปพร้อม ๆ กัน เพื่อให้สำเร็จลุล่วงภายในสิ้นปีนี้ แต่หลังจากนั้นจะต้องมีการพัฒนาการอย่างต่อเนื่อง ด้วยการปรับปรุงและพัฒนาอยู่ตลอดเวลา โดยเฉพาะอย่างยิ่งหน่วยงานที่ให้บริการประชาชน จะต้องนำระบบอิเล็กทรอนิกส์มาใช้บริการประชาชน เช่น กรมสรรพากรที่ให้บริการประชาชนด้วยการจัดเก็บภาษีผ่านทางอินเตอร์เนต หรือมหาวิทยาลัยให้บริการนักศึกษาในการลงทะเบียนผ่านอินเตอร์เนต เป็นต้น
    สำหรับกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร จะทำหน้าที่เป็นผู้แทนของรัฐบาลในการประสานงานกับหน่วยงานต่าง ๆ และสามารถเชื่อมโยงข้อมูลกับภาคเอกชนได้ อันจะนำไปสู่การได้รับข้อมูลที่หลากหลาย และนำมาวิเคราะห์ ซึ่งจะทำให้เกิดความรู้ความเข้าใจในเรื่องต่าง ๆ ได้มากยิ่งขึ้น ทำให้เกิดความคิดที่รู้จริง อันจะนำไปสู่การตัดสินที่อยู่บนพื้นฐานของความถูกต้อง ซึ่งรัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์จะเป็นเครื่องมือที่มีความสำคัญ แต่ทั้งนี้จะต้องมีระบบการบริหารและการจัดการที่ดีในองค์กรมารองรับด้วย ถึงจะประสบความสำเร็จตามนโยบายที่วางไว้ และเพื่อพวกเราทุกคนจะได้มีองค์กรและมีประเทศที่เข้มแข็ง หากหน่วยงานใดมีปัญหาหรืออุปสรรคในการดำเนินการในเรื่องนี้ ไม่ว่าจะเป็นด้านงบประมาณ หรือการขาดแคลนอุปกรณ์ต่าง ๆ ขอให้แจ้งรัฐบาลทราบ เพื่อจะได้หาทางช่วยเหลือสนับสนุน พร้อมกันนี้นายกรัฐมนตรีได้ขอให้รัฐมนตรีทุกคนให้ความสำคัญและสนับสนุน “รัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์” พร้อมเอาใจใส่ต่อหน่วยงานที่รับผิดชอบ เพื่อให้การดำเนินการในเรื่องนี้ประสบความสำเร็จ อันจะนำไปสู่การทำงานที่มีประสิทธิภาพและสามารถแข่งขันกับประเทศอื่น ๆ ได้มากยิ่งขึ้นต่อไป
    ฝ่ายประชาสัมพันธ์และเผยแพร่ สำนักโฆษก ลัดดา /รายงาน ดวงฤดี/ตรวจ

3. อาจารย์นิเทศกลาง กิจกรรมอินเทอร์เน็ตตำบล : อ.บุรินทร์ รุจจนพันธุ์ burin@yonok.ac.th 0-1992-7223 จาก วิทยาลัยโยนก
click_to_enlarge
เธอคนนี้ชื่อ ศิริรุ่ง ช่วยดูแล อำนวยความสะดวกของอาจารย์นิเทศกลาง ระหว่างเดินทางเข้าพื้นที่ ซึ่งเป็นตัวแทนจากมช. ที่ได้รับมอบหมายจากทบวง ใต้ชื่อกลุ่มภาคเหนือ 1 ให้ดูแล 8 พื้นที่ แต่ละพื้นที่จะรับผิดชอบโดยสถาบันต่าง ๆ อีกทีหนึ่ง
- พร้าว น้ำแพร่ มช.
- เวียงแหง เชียงใหม่ มช.
- แม่สะเรียง,แม่ฮ่องสอน,สรภ.ชม
- แม่นาเติง,แม่ฮ่องสอน,นอร์ท ชม
- นิคมพัฒนา ลำปาง สรม.ลำปาง
- แจ้ซ้อน ลำปาง โยนก
- วรนคร น่าน ม.พายัพ
- ผาทอง น่าน สรม.น่าน
ภาพชุดนี้ถ่ายจากมุมมองของอาจารย์นิเทศกลาง ท่านหนึ่ง เพื่อเก็บเป็นที่ระลึก สิ่งที่ต้องการให้สังเกตคือ ลักษณะพื้นที่แต่และแห่งไม่เหมือนกัน บางตำบลต้องเข้าไปด้วย ถนนลูกรังกว่า 18 กม. แบบรถสวนไม่ได้เพราะข้างทางเป็นเหว ขับรถต้องระวังมาก เพราะบางช่วง มีน้ำกัดเซาะ ขับเร็วจะทำให้คนในรถเด้งไป เด้งมา การให้คำปรึกษาของอาจารย์นิเทศกลาง จะขึ้นอยู่ กับความพร้อมของนักศึกษา และชุมชน เพราะบางกลุ่มยังเขียนเว็บ หรือทำ Database ไม่ชำนาณ ส่วน อบต. หลายแห่งโทรศัพท์ก็ยังไม่เข้า ทำให้การพัฒนาเว็บไซต์ไม่เหมาะกับหลายพื้นที่ เพราะไม่มีคนดูแลต่อไป กิจกรรมที่เป็นไปได้และชัดเจนคือการอบรมชุมชนให้รู้จักคอมพิวเตอร์ internet e-Commerce ไว้บ้าง

4. รายชื่ออาจารย์นิเทศกลาง กลุ่มภาคเหนือ 1 ( 2546 - 2547 )
อ.ศักดิ์ รัตนชัย รศ.ดร.อุดม  ชัยทอง อ.วราภรณ์  สระมัจฉา
    1. หนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์
    - ดร.ประเสริฐ หาญเมืองใจ (47)
    - อ.ณงค์ณุช  นทีพายัพทิศ (46)
    - อ.เรืองยศ  ใจวัง (46)
      จาก วิทยาลัยนอร์ท-เชียงใหม่
    2. อินเทอร์เน็ตตำบล
    - อ.ชุติมา  ชวสินธุ์ (46) ?
      จาก วิทยาลัยนอร์ท-เชียงใหม่
    - อาจารย์บุรินทร์  รุจจนพันธุ์ (46, 47)
      จาก ราชภัฎลำปาง (วิทยาลัยโยนก)
    3. ผังเมือง/ชุมชน/หมู่บ้าน
    - อ.รัฎฐา ฤทธิศร (47)
    - อ.อัจฉรา  วัฒนภิญโญ (46)
    - อ.อิศรา  กันแตง (46)
    4. ทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อม
    - รศ.ดร.ถนอม คลอดเพ็ง (47)
    - ผศ.ดร.เสริมเกียรติ์  จอมจันทร์ยอง (46)
    - รศ.ดร.ดนัย  บุณยเกียรติ (46)
    
ผศ.ดร.สุรพล  นธการกิจกุล บุรินทร์ รุจจนพันธุ์ รศ.พาณี  ศิริสะอาด
    5. สุขภาพชุมชน/สาธารณสุข
    - อ.วราภรณ์  สระมัจฉา (45, 46, 47)
      จาก มหาวิทยาลัยพายัพ
    - อ.จิตนธี  เขนย (46)
    6. สมุนไพร/อาหารเสริม
    - รศ.พาณี  ศิริสะอาด (46, 47)
    - ผศ.ดร.สุรพล  นธการกิจกุล (46)
    7. ศิลปะ วัฒนธรรม และภูมิปัญญาท้องถิ่น
    - รศ.ดร.อุดม  ชัยทอง (45, 46, 47)
    - อ.ศักดิ์   รัตนชัย (46)
      จาก วิทยาลัยโยนก
    8. การท่องเที่ยว
    - อ.ชาญชัย เมฆศิริ (47)
      จาก มหาวิทยาลัยพายัพ
    - อ.ฉัตรแก้ว  สิมารักษ์ (46)
    - อ.มานพ  มานะแซม (46)
    

5. โครงการนี้มีกิจกรรม 8 ลักษณะ : (มีบางพื้นที่ไม่เหมาะที่จะทำบางกิจกรรม)
  1. หนึ่งตำบล หนึ่งผลิตภัณฑ์
  2. อินเทอร์เน็ตตำบล
  3. ผังเมือง/ชุมชน/หมู่บ้าน
  4. ทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อม
  5. สุขภาพชุมชน/สาธารณสุข
  6. สมุนไพร/อาหารเสริม
  7. ศิลปะ วัฒนธรรม และภูมิปัญญาท้องถิ่น
  8. การท่องเที่ยว

6. สรุปกิจกรรมอย่างไม่เป็นทางการ (เมื่อพิจารณาจากชื่อโครงการ)
  1. ไปเรียนรู้ เก็บข้อมูลว่าชุมชนเป็นอย่างไร ต้องการอะไร และกลุ่มจะทำอะไรได้บ้าง (ประมาณ 1 สัปดาห์)
  2. ทำกิจกรรม เพื่อช่วยเหลือ และสรรค์สร้างชุมชน ในสิ่งที่ชุมชนต้องการ (ขณะอยู่ในพื้นที่)
    EX: อบรมทุกระดับ, พัฒนาเว็บไซต์(กลุ่ม, e-Commerce, เว็บตำบลดอทคอม), information center, พัฒนาฐานข้อมูลชุมชน, จัดบอร์ดให้ความรู้ เป็นต้น
  3. ประเมิน สรุป และเสนอแนะ ต่อชุมชน เชิงสร้างสรรค์ (ประมาณสัปดาห์สุดท้าย)
  4. นำทุกอย่างมา เขียนเป็นรายงาน เสนอต่อทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง (1 เดือนที่สอง)

7. แนะนำกิจกรรมสำหรับกลุ่มอินเทอร์เน็ตตำบล เลือกทำกิจกรรม จากความเหมาะสมของชุมชนนั้น ๆ
  1. เก็บข้อมูลชุมชน เช่น บริการในชุมชน การสื่อสาร การศึกษา การมีงานทำ เป็นต้น โดยแยกแต่ละหมู่บ้านโดยชัดเจน
  2. สรุปข้อมูลเป็นตาราง กราฟ และภาพประกอบ จากการสำรวจ ในส่วนที่เกี่ยวกับเทคโนโลยี การสื่อสาร และการศึกษา เป็นต้น
  3. ทำแบบสอบถามความต้องการ ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ หรือ internet เพื่อนำไปวางแผนทำกิจกรรมต่อไป
  4. ทำกิจกรรมเพื่อชุมชน ให้เขียนโครงการที่ชัดเจนเสนอผู้เกี่ยวข้อง เช่น อบรม สัมมนา หรือประชุมกลุ่มย่อยในแต่ละชุมชน เป็นต้น
  5. ช่วยเหลือ หรือจัดโครงร่าง หรืออบรม การจัดทำ Website นำเสนอข้อมูลตำบล หรือ e-Commerce เป็นต้น
  6. ช่วยเหลือ หรือจัดโครงร่าง หรืออบรม การจัดทำ Website นำเสนอด้านการศึกษาของนักเรียนในตำบลที่สนใจเป็นพิเศษ e-Education เป็นต้น
  7. เป็นตัวแทนกลุ่ม นำเสนอข้อมูลที่ได้จากการเรียนรู้ เผยแพร่ใน website เพื่อเป็นประโยชน์ต่อชุมชน รุ่นน้อง และสถาบัน ในปีต่อไป
  8. วางแผน และช่วยเหลือกลุ่มอื่น ๆ ในการเก็บข้อมูลให้เป็นระเบียบ เพื่อเตรียมจัดทำรายงานเป็นรูปเล่ม รวมของทุกกลุ่ม
  9. รวบรวมปัญหา วิเคราะห์ หาข้อเสนอแนะ และแนวทางแก้ไข ต่อทุกฝ่าย

8. เสนอรูปแบบเพิ่มเติม จากในเล่มสีส้มประจำปี 46 (หน้า 23 เล่มสีส้ม)
    หัวข้อหลัก ในรายงานแยกกิจกรรม (พิจารณาความเหมาะสม เลือกเฉพาะเรื่องที่สำคัญลงรายงาน)
  1. คำนำ, สารบัญ, บทนำ
  2. สภาพทั่วไป เฉพาะที่น่าสนใจ และเกี่ยวข้องกับกิจกรรม ของแต่ละหมู่บ้าน
  3. ผลการศึกษาที่เกี่ยวกับกิจกรรม ในรูปแผนภาพ ทำให้เข้าใจง่าย
  4. การดำเนินกิจกรรม ผลการดำเนินงาน และผลที่ได้รับ ของแต่ละกิจกรรมย่อย หรือโครงการ
  5. วิเคราะห์ สังเคราะห์ ชี้ให้เห็นปัญหา และอุปสรรค์ แต่ละกิจกรรมย่อย หรือโครงการ
  6. โครงการพัฒนาต่าง ๆ ที่เสนอแนะต่อชุมชน เพื่อส่งเสริมให้เกิดการพัฒนาต่อไป
  7. ข้อเสนอแนะในด้านต่าง ๆ แยกทุกฝ่าย เป็นแต่ละหัวข้อที่ชัดเจน
  8. ภาคผนวก: ข้อมูลอ้างอิง ที่มา ข้อมูลดิบ และแบบสอบถาม
    หัวข้อย่อย ในแต่ละหัวข้อหลัก (พิจารณาความเหมาะสม และข้อมูลเป็นหลัก)
  1. โครงการ หรือกิจกรรมย่อย
  2. ชุมชนโดยรวม ประชากร พื้นที่ เป็นต้น
  3. ผู้นำชุมชน แต่ละฝ่าย แต่ละระดับ
  4. ทบวง หรือสถาบันที่ได้รับมอบหมายจากทบวง
  5. สถาบันผู้ประสานงาน
  6. นักศึกษารวมทุกกิจกรรม หรือเฉพาะกลุ่ม
    องค์ประกอบของรายงาน (เป็นเพียงข้อเสนอแนะ)
  1. ระบบหน้าคู่คี่ header footer มีเลขหน้า ชื่อพื้นที่ ชื่อโครงการ ชื่อสถาบันที่รับผิดชอบ ชื่อกิจกรรม เป็นต้น
  2. เชิงอรรถ บรรณานุกรม ขอขอบคุณ ที่อยู่และเบอร์โทรของผู้จัดทำ
  3. ภาพประกอบควรย่อขนาด และ crop เฉพาะที่สำคัญ เพื่อประหยัด และการจัดหน้าอย่างเหมาะสม
  4. ในรายงานควรมีภาพถ่ายของสมาชิก พร้อมหน้าที่ความรับผิดชอบ หรือกิจกรรมที่มอบหมายในกลุ่ม
  5. มี Gantt chart แสดงการทำกิจกรรมทั้งหมด โดยละเอียด
  6. ผลัดกันอ่านกับเพื่อนกิจกรรมอื่น เพราะหาข้อผิดพลาด หรือคำสะกดผิด
  7. อ่านเล่มสีส้มให้ละเอียดอีกครั้ง ว่ามีอะไรควรเพิ่มเติมในรายงาน หรือไม่
  8. ผู้จัดทำควรมีเก็บไว้กับตัวคนละชุด และสำเนาให้พื้นที่ตามความเหมาะสม
นักศึกษาในโครงการ
ลองชุดให้ดูซึ่งเป็น
สินค้า 1 ตำบล 1 ผลิตภัณฑ์

9. กิจกรรมเมื่ออาจารย์นิเทศเข้าไปยังพื้นที่ (แต่ละพื้นที่อาจแตกต่างกันไป)
  1. ประธานกลุ่ม ซึ่งเป็นตัวแทนจากนักศึกษาทั้งหมด กล่าวถึงสภาพทั่วไป และเป็นผู้ดำเนินการเรียกตัวแทนกิจกรรม ออกมารายงาน
  2. แต่ละกิจกรรมส่งตัวแทนมารายงานภายรวมของกิจกรรม ให้อาจารย์นิเทศทั้งคณะฟัง (กิจกรรมละไม่น่าเกิน 5 นาที)
  3. แต่ละกิจกรรมแยกตัวไปพบอาจารย์นิเทศแต่ละกิจกรรม (อาจใช้เวลาถึง 1 ชั่วโมง)

10. องค์ประกอบของ e-Commerce
  1. ผู้ซื้อ
  2. ผู้ขาย
  3. ระบบชำระเงิน
  4. ระบบขนส่ง
    ผมเขียนเรื่อง e-Commerce ไว้ที่ http://www.thaiall.com/article/ecommerce.htm

11. องค์ประกอบของ e-Learning
  1. ระบบจัดการการศึกษา (Management education system)
  2. เนื้อหาวิชา เป็นบท และเป็นขั้นตอน (Contents)
  3. การสื่อสารระหว่างผู้เรียน และผู้สอน (Communication)
  4. การวัดผลการเรียน (Evaluation)
    ผมเขียนเรื่อง e-Learning ไว้ที่ http://www.thaiall.com/e-learning รวมทั้งเรื่อง moodle

12. แนะนำเว็บไซต์ (Web guides)
  1. http://www.mua.go.th/Learning/learn.htm : ข้อมูลโครงการฯ อย่างเป็นทางการ ทบวงมหาวิทยาลัย
  2. http://www.activist.chiangmai.ac.th/ :: ข้อมูลโครงการฯ อย่างเป็นทางการ กองกิจการนักศึกษา มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
  3. http://www.activist.chiangmai.ac.th/html/congrad.html :: ผู้ประสานงาน
  4. http://www.siamvillage.net :: มีสินค้าโดยละเอียดทุกหมู่บ้าน
  5. http://www.citizenmall.com
  6. http://www.rakbankerd.com :: รักบ้านเกิด
  7. http://www.rink.ac.th/rink_university/5_11_45/runk.ppt
  8. http://kumis.cpc.ku.ac.th/~psdsad/activity-learning45.html
  9. http://www.snk.ricr.ac.th/learningProject/learningPic.html
  10. http://www.geocities.com/chianyai_internet
  11. http://www.srp.ac.th/~kitima/e-commerce
  12. http://www.tradepointthailand.com/village_product/nongchangkeun/project_1.html
  13. http://www.nongtum.rilp.ac.th
  14. http://www.geocities.com/inter_tambon/mean4
  15. http://tambon.khonthai.com
  16. http://www.payaftersale.com
  17. http://www.cookkoo.com
  18. http://www.jjshop.com
  19. http://www.tarad.com
  20. http://www.mua.go.th/Learning/choose47.htm
  21. http://www.mua.go.th/Learning/learn.htm
  22. http://www.thailocalgov.net = http://www.thailocaladmin.go.th/index.jsp กรมส่งเสริมการปกครองส่วนท้องถิ่น
  23. http://www.thaiall.com/learntambon
  24. ? http://www.local-gov.org :: ศูนย์ข้อมูลท้องถิ่น
  25. ? http://stu.rimc.ac.th/patiten/index.php

team01.jpg | team02.jpg | team03.jpg | team04.jpg | team05.jpg | team06.jpg | team07.jpg
team08.jpg | team09.jpg | team10.jpg | team11.jpg | team12.jpg | team14.jpg | team17.jpg

บุรินทร์ รุจจนพันธุ์
รองคณบดี และผู้ช่วยฝ่ายเทคโนโลยีสารสนเทศ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี วิทยาลัยโยนก
อาจารย์นิเทศเฉพาะพื้นที่วิทยาลัยโยนก กลุ่มอินเทอร์เน็ตตำบล 2545 และอาจารย์นิเทศกลางกลุ่มภาคเหนือ 1 2546, 2547, 2548
burin@yonok.ac.th Tel.0-1992-7223, 0-5422-3684

แนะนำเว็บใหม่ : ผลการจัดอันดับ
รักลำปาง : thcity.com : korattown.com : topsiam.com : มหาวิทยาลัยโยนก
ศูนย์สอบ : รวมบทความ : ไอทีในชีวิตประจำวัน : ดาวน์โหลด : yourname@thaiall.com
ติดต่อ ทีมงาน ชาวลำปาง มีฝันเพื่อการศึกษา Tel.08-1992-7223