รายงานการวิจัย (PDF)

free HitCounters

wat3m.com

FB : wat3m

ปักหมุดเมืองไทย

propagation/


Facebook : Video โดย จิราภรณ์ เครือสุวรรณ


 
 

 
การเผยแผ่พระพุทศาสนา
การส่งเสริมเกี่ยวกับด้านของเครื่องรางของขลัง
 
เรื่องเครื่องรางของขลังที่วัดไม่มีด้านนี้
แต่เราสร้างวัตถุมงคลเป็นของที่ระลึกมากกว่า
เวลามีกิจกรรม
เช่น งานบุญกฐิน ทอดผ้าป่า เป็นต้น
ที่ทางวัดเชิญชวนพุทธศาสนิกชนมาร่วมทำบุญ
เราจะทำวัตถุมงคลเป็นที่ระลึก
ไม่ได้ให้มาเช่าบูชา แต่เรามอบเป็นที่ระลึก
ว่าเป็นโอกาสหนึ่งที่ได้มาร่วมทำบุญที่วัด
ในการสร้างองค์พระเป็นที่ระลึก
ทำขึ้นเพื่อระดมทุนสร้างพระพุทธรูปใหญ่
คือ พระพุทธมิ่งมงคลมุนีศรีเขลางค์
หรือ พระเศรษฐีล้านนา
เชิญชวนมาเป็นเจ้าภาพสร้างพระองค์ใหญ่
จึงให้พระองค์เล็กกลับไปที่บ้าน ไว้สักการะบูชา
พอเห็นวัตถุมงคลชิ้นนี้ก็จะระลึกได้ว่า
โอกาสหนึ่งเคยไปทำบุญที่วัดมิ่งเมืองมูล
การส่งเสริมเกี่ยวกับด้านสาธารณสงเคราะห์
 
ในด้านสาธารณสงเคราะห์
ได้ทำร่วมกับชุมชน 2 เหตุการณ์
หนึ่ง ตามเทศกาล
เช่น ปีใหม่ไทย สงกรานต์
พระอาจารย์ ร่วมกับพระภิกษุสามเณร
ซื้อเครื่องนุ่งห่ม เครื่องกันหนาว
ไปมอบให้ผู้สูงอายุในชุมชน
ถือเป็นน้ำใจกลับให้ชุมชน
หลังชุมชนมีอุปการะคุณต่อทางวัด
ในช่วงเช้าหลังทำวัตรสวดมนแล้ว
กวาดทำความสะอาดวัดแล้ว
พระเณรก็จะออกรับบิณฑบาตร
ก็ไปรอบวัด รอบชุมชน
ผู้สูงอายุในชุมชนก็จะรอใส่บาตร
พระเณรก็จะมีความรู้สึกกตัญญูกตเวที
นำของไปมอบให้กับผู้สูงอายุ
วันเทศกาลสงกรานต์
เราก็นำดอกไม้ ของกินของใช้
ไปรดน้ำดำหัวผู้สูงอายุในชุมชน
สอง ก็เฉพาะกาล แบบฉุกเฉิน
เช่น คนในชุมชนเจ็บไข้ได้ป่วย
ก็เป็นโครงการพระเยี่ยมไข้
ผู้สูงอายุนอนติดเตียง ก็ไปเยี่ยม
ก็มีขนมนมเนยที่ไปรับบิณฑบาตรมา
มีด้ายผูกข้อแขน ก็ไปผูกข้อมือ
เชื่อไหมว่า ด้ายผูกข้อแขนเป็นยาวิเศษ
เขารักษากายด้วยยาจากโรงพยาบาล
หมอรักษากาย พระก็เป็นหมอรักษาใจ
มัดมือให้ สวดมนต์ให้ มีกำลังใจสู้โรคภัย
บางคนก็พื้นไข้เร็ว เป็นปกติ
ศาสนสงเคราะห์ เมื่อถึงแก่กรรม
ก็จะต้องทำบุญ เค้าก็นิมนต์พระไปสวด
คืนสุดท้ายของการสวดอภิธรรม
วัดจะไปเป็นเจ้าภาพถ้าไปนิมนต์พระที่อื่น
ถ้าเราไปสวดไปเทศเอง ปัจจัยที่ได้
เราก็มอบร่วมทำบุญกับเจ้าภาพทั้งหมด
เป็นโอกาสที่พระเณรได้ตอบแทน
ความมีบุญคุณที่ชุมชนมีต่อเรา
การส่งเสริมเกี่ยวกับด้านการส่งเสริมการศึกษา
ถ้ามองบทบาทของวัดต่อด้านการศึกษาสงเคราะห์
มองภายในวัด
พระอาจารย์มีนโยบายส่งเสริมพระเณร
ในบวรพระพุทธศาสนาที่มาจำพรรษาในวัด
ถ้าบวชแล้วต้องเรียน ส่งให้เรียนหนังสือด้วย
ทุกปี เราจะได้พระเณร เด็ก เยาวชนที่จบประถมศึกษา
โดยเฉพาะพ่อแม่ที่มีทุนทรัพย์น้อย
ไม่สามารถส่งลูกหลานให้ไปเรียนข้างนอกได้
เราก็รับเข้ามาบวชเรียน
เกี่ยวกับชุดนักเรียนก็ไม่ต้องเสีย ใช้จีวรอย่างเดียว
ทุกสถานการณ์ใช้ชุดนี้ หมดกังวลเรื่องชุด
จากวัดไปเรียนในเมืองก็ 10 กว่ากิโล
ที่มีค่าใช้จ่ายคือค่าเดินทาง
พระอาจารย์ก็เจียดจ่ายเงินที่ญาติโยมมาทำบุญ
เราใช้วิธีตั้งตู้รับบริจาคไว้
และญาติโยม หรือนักศึกษาที่อยู่ใกล้วัด
เวียนมาทำบุญวันเกิด ทำบุญอุทิศเป็นประจำ
ก็จะถวายสำรับ ปัจจัยที่ได้ก็ใส่ตู้บริจาคไว้
ถ้าเจ้าอาวาสไม่อยู่
พระเณรที่อยู่ในวัดและว่างก็มาให้พร
ปัจจัยที่ได้ก็ไม่ได้เป็นของใครคนใดคนหนึ่ง ใส่ตู้ไว้
พอสิ้นปี พระอาจารย์ก็ให้เณรเปิดตู้นับ
และเฉลี่ยแบ่งไปเป็นค่าใช้จ่าย
ถ้าสอบนักธรรมชั้นตรี โท เอก สอบได้
ก็ถวายเป็นทุนการศึกษาตามกำลัง
ส่วนภายนอก
ถ้ามีสถานศึกษาหรือโรงเรียน
มาขอสนับสนุนกิจกรรมวัดเด็กหรือทุนการศึกษา
หรือมหาวิทยาลัยเองก็มี
ที่วัดมีพระลูกวัดไปเรียนระดับอุดมศึกษา
พระอาจารย์ก็ออกค่าเทอมให้ทุกเทอม
เคยประกาศ เคยบอกภิกษุสามเณรในวันไปว่า
วัดสนับสนุนเต็มที่
ใครอยากเรียนต้องได้เรียนไม่ว่าระดับชั้นไหน
ให้สุดตามกำลังสติปัญญาของตนเอง
ให้ถึงปริญญาเอกเป็นดอกเตอร์ก็ได้
เรียนบาลีเป็นมหาเปรียญก็สนับสนุน
ทั้งนี้พระอาจารย์ก็ทำเป็นตัวอย่าง
ตอนนี้ก็กำลังศึกษาปริญญาเอกเป็นตัวอย่าง
มหาเปรียญก็สอบได้เปรียญธรรม 5 ประโยค
ก็ใช้วิธีทำ นำเป็นตัวอย่าง
การส่งเสริมเกี่ยวกับด้านการท่องเที่ยว
เรื่องการท่องเที่ยว จะพูดถึงด้านเศรษฐกิจไปด้วย
พระอาจารย์วางเป้าหมายไว้
ตั้งแต่เป็นเจ้าอาวาส มองว่าวัดอยู่ติดถนนพหลโยธิน
เรามองว่าเทศกาลต่าง ๆ ช่วงหยุดยาว
คนไทยเดินทางไปท่องเที่ยว ขับผ่านไปมามากมาย
วัดของเราไม่น่าเป็นวัดผ่าน
ลำปางไม่ใช่เป็นเมืองผ่าน
เราต้องทำให้ลำปางเป็นเมืองแวะ
จึงมีความคิดจะสร้างพระ
เพื่อเป็นพุทธานุสติ ทำอย่างไรให้ชะลอ
วัฒนธรรมของคนไทย เมื่อเห็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์ข้างทาง
ก็มักจะชะลอรถ จึงคิดสร้างพระพุทธรูป
ชื่อพระพุทธมิ่งมงคลมุนีศรีเขลางค์
บางคนเรียกว่าพระเศรษฐี หน้าตัก 8 เมตร
และทรงเครื่องล้านนา
เรียกตามพระไตรปิฎกว่าปางปราบพญาชมพูบดี
ทั้งนี้เพื่อเป็นพุทธานุสติ สองเพื่อให้คนแวะสักการะ
เริ่มได้กลิ่นอายของการท่องเที่ยว
นักท่องเที่ยวได้มาแวะวัดมิ่งเมืองมูล
ตอนนี้สร้างเสร็จแล้ว ก็เหลือแต่ตกแต่งอาคาร
ถ้าเสร็จแล้ว นักท่องเที่ยวก็จะแวะมาสักการะ
มามากเข้า
ก็จะเป็นที่ท่องเที่ยวอีกแห่งหนึ่งของจังหวัดลำปาง
และส่งผลถึงเศรษฐกิจในชุมชน
คนมามากขึ้น ชาวบ้านก็วางแผนคิดบริการ
มาค้าขายอะไรก็แล้วแต่
เป็นการส่งเสริมเศรษฐกิจชุมชน
ได้ลงมือสร้างถาวรวัตถุเพื่อการนี้
การส่งเสริมเกี่ยวกับด้านการส่งเสริมและเผยแพร่ธรรม
 
ที่วัดเรามีกิจกรรมทำวัดสวดมนต์
ทุกวันพระตลอดปี
เวลาทุ่มครึ่ง พอญาติโยมได้ยินเสียงเพลงสวดมนต์
เราจะเปิดก่อนเวลาประมาณ 45 นาที
เพื่อเป็นสัญญาณให้ชุมชนทราบว่าวันนี้วันพระ
เป็นวันที่จะมาทำวัตรสวดมนต์ร่วมกัน
พอสวดมนต์แล้ว เจริญจิตภาวนาแล้ว
ภายในประมาณ 1 ชั่วโมง
ก่อนที่จะกลับบ้าน จะมีการบรรยายธรรมะนิดหน่อย
ไม่นาน ก็ประมาณสิบถึงยี่สิบนาที
เพื่อให้ญาติโยมนำไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวัน
นี่ก็เป็นการเผยแผ่ธรรมะ
แล้วก็มียังมีการแสดงพระธรรมเทศนา
ในช่วงฤดูเข้าพรรษา เป็นเวลาช่วงทำนา
เราจะมีกิจกรรมเพิ่มอีกกิจกรรม
คือ ตอนเข้าก็จะมีพิธีทำบุญตักบาตรทุกวันพระ และฟังเทศ
เป็นการส่งเสริมอนุรักษ์วัฒนธรรมแบบล้านนา
แสดงธรรมแบบล้านนาที่มีทำนองแบบล้านนา
พอเทศเสร็จแล้วก็จะสรุปเนื้อหา
และถอดบทเรียนว่าเทศวันนี้ได้ธรรมะอะไร
เพื่อให้ญาติโยมเข้าใจและนำไปปฏิบัติ
แล้วเราก็ทำร่วมกับ อบต.
คือ หน่วยอบรมเยาวชนส่วนตำบล
ทุกช่วงเข้าพรรษาก็จะทำร่วมกันในเขตตำบล
ก็จะเป็นลักษณะของการเวียนธรรมะสัญจร
เช่น วันพระนี้เชิญชวนญาติโยมในแต่ละวัด
ไปฟังเทศที่วัดมิ่งเมืองมูล เราก็กำหนดเวลาช่วงบ่าย
แต่ละวัดก็จะพาญาติโยมเดินทางมาฟังเทศกัน
มีกิจกรรมเสริม เช่น จับรางวัล เป็นกุศโลบาย
เพื่อเชิญชวนญาติโยมเข้าวัด
วันพระต่อไปก็ไปอีกวัดหนึ่งในเขตตำบลเดียวกัน
ก็เป็นการเผยแผ่ธรรม
ดึงให้โยมเข้าวัด ได้อะไรติดไปด้วย
ได้ข้อคิดไปปฏิบัติในชีวิตประจำวัน
การส่งเสริมเกี่ยวกับด้านส่งเสริมศิลปะ ประเพณี และพิธีกรรม
 
เราทำกันหลายมิติ
ทำตลอดทั้งปี
โดยกำหนดดูตาม Timeline ประเพณี 12 เดือน
ของล้านนา และของไทยด้วย
เช่น เดือนมกราคม มีกิจกรรมเทศกาลอะไร
ขึ้นปีใหม่ใช่ไหม เราก็จัดกิจกรรมสวดมนต์ข้ามปี
เริ่มตั้งแต่คืนวันที่ 31 ธันวาคม
เริ่มตั้งแต่สี่ทุ่มเป็นต้นไป
ยกเอากิจกรรมวันพระ มาสวดมนต์ในคืนวันที่ 31
สวดไปเรื่อย ๆ
มีการเบรค จัดกิจกรรมสมนาคุณ
เลี้ยงข้าวต้ม กาแฟ โอวันติน
พอใกล้เที่ยวคืนก็สวดมนต์ข้ามปี
เป็นกุศโลบาย
แทนที่ญาติโยมจะไปฉลอง จัดปาร์ตี้ส่งท้ายปีเก่า
เคาท์ดาวน์อะไรต่าง ๆ
เราก็ชวนญาติโยมเข้ามาที่วัด
เป็นลักษณะที่ว่า สวดมนต์ข้ามปีอย่างมีสติ
แล้วเจริญชยมงคลคาถาเพื่อเป็นศิริมงคงให้กับตนเองและครอบครัว
แล้วก็ทำบุญตักบาตร
กิจกรรมเราทำเกือบทุกเดือน
เดือนถัดไปคือ วันวาเลนไทน์
แต่เรามองว่าเป็นวันสำคัญทางพุทธศาสนาวันหนึ่ง
เราก็จะทำบุญตักบาตร เป็นวันแห่งความรักของชาวพุทธ
พอเดือน 4 เหนือเป็ง หรือเดือนมกราคม
ก็จะมีประเพณีทานข้าวจี่ข้าวหลาม
ถวายข้าวเปลือก ข้าวสาร ข้าวจี่ ข้าวหลาม
เป็นธรรมเนียมของชาวพุทธที่เป็นชาวนา
เวลาทำนาเสร็จแล้ว เก็บเกี่ยวเรียบร้อยแล้ว
ชาวนาก็จะถวายข้าวใหม่ ประมาณเดือนมกราคม
ถือว่าข้าวที่เก็บผลผลิตมา ก่อนที่ตนเองจะกิน
ก็จะให้สิ่งสูงสุดคือพระรัตนตรัย
ได้ทานก่อน ได้ฉันก่อน
แล้วก็บรรพบุรุษต้องได้กินก่อน
ก็ได้นำข้าวไปต้มไปหุงก่อน และทำบุญอุทิศ
ให้บรรพบุรุษที่บุกเบิก
มอบที่นาให้ตนเอง ให้ลูกหลานได้ทำต่อ
เป็นประเพณีถวายข้าวใหม่
ชุมชนนี้ก็จะไม่เหมือนชุมชนโดยรอบ
คือ ทำนาไม่มากนัก
ชุมชนนี้ ก็จะมีหอพักกันมาก
ตั้งอยู่ใกล้มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล
แต่ประเพณีนี้ก็ยังไม่สูญหาย
เราก็รักษาประเพณีไว้
สงกรานต์ก็เทศกาลเข้าพรรษา
ช่วงเข้าพรรษาก็จะมีหลายประเพณี
เช่น ทำบุญเปตพลี หรือภาคกลางเรียกว่าวันสาร์ท
เป็นการทำบุญให้ผู้ล่วงลับ
ประเพณีเดือนยี่เป็ง ลอยกระทงที่วัด
ทางวัดเราก็จะพยายามรักษาขนบธรรมเนียบประเพณีอันดีงามไว้
ให้คนรุ่นเก่าแสดงสื่อให้คนรุ่นใหม่ได้เห็นและช่วยกันรักษาเอาไว้
เราในฐานะผู้อยู่ตรงกลางก็ช่วยรักษาของเก่าไว้
ให้คนรุ่นใหม่ได้สืบสาน
แล้วปฏิบัติต่อไปไม่ให้สูญหาย

 

 

 

วัดมิ่งเมืองมูล สังกัดคณะสงฆ์มหานิกาย
ที่อยู่ : เลขที่ 152 บ้านมิ่งมงคล หมู่ที่ 17 ตำบลพิชัย
อำเภอเมืองลำปาง จังหวัดลำปาง
พระครูสิริธรรมบัณฑิต, ผศ.ดร. เจ้าอาวาส โทร. 085-6181533