thaiall logomy background

กำแพงองค์กร คนในอยากออก คนนอกอยากเข้า โดย ผศ.ดร.กฤษฎา ตันเปาว์

my town
กฤษฎา ตันเปาว์ | จริยธรรมสำหรับผู้บริหาร | วิจัยคืออะไร | ศูนย์สอบ | KM | SWOT | คำสำคัญ
เลือกบทความ

61. กำแพงองค์กร คนในอยากออก คนนอกอยากเข้า

"กำแพงองค์กร" คนในอยากออก คนนอกอยากเข้า เพราะอะไร?
เราคงเคยได้ยินกันบ่อยๆ ว่าองค์กร หรือ บริษัทนั้น บริษัทนี้ดี น่าสนใจ น่าร่วมงาน หรือ แม้แต่นักลงทุน ที่อาจสนใจในการลงทุน/ ซื้อหุ้น หรือ องค์กรนั้นไม่ดี ไม่น่าเข้าไปทำงาน เป็นต้น
และ แน่นอนว่า คำพูดที่ว่า คนในอยากออก คนนอกอยากเข้า จะมีภาพ 2 ทาง คือ คนในมอง (Inside- out) ที่อาจเป็น "คนในอยากออก" เมื่อเทียบกับภายนอก ในขณะที่ คนนอกมอง (Outside-in) ที่กลายเป็น "คนนอกอยากเข้า" จากที่อยู่ภายนอก เหตุผลที่อาจเป็นเช่นนั้น แท้จริงแล้ว มีเส้นกั้นกลางที่คนมองต่างกัน คือ "กำแพงองค์กร" ที่คนอยู่คนละฝั่งมองต่างกัน คนกลุ่มนึงอยู่ด้านใน คนอีกกลุ่มอยู่ภายนอก
ดังนั้นอาจต้องมาพิจารณาก่อน ว่าปัจจัยใดบ้าง ที่มีผลให้คน อยากอยู่ ( หรือ ไม่อยากอยู่) กับองค์กรนั้นๆ ซึ่งได้แก่
1) องค์ประกอบขององค์กรไม่มีชีวิต
- กฎ ระเบียบ ข้อกำหนด นโยบาย
- ระบบงาน เกณฑ์การทำงาน
- วิสัยทัศน์ ขององค์กร
- รูปแบบ ลักษณะโครงสร้าง และ การจัดส่วนงาน
- อำนาจหน้าที่ตามตำแหน่ง/ ระบบมอบหมายงาน
- สภาพธุรกิจของกิจการ ในตลาด/ ในอุตสาหกรรม
- ทิศทางการเติบโต ( หรือ ถดถอย)
- สถานะทางการเงิน และ ทุนในการบริหารองค์กร
- อัตราค่าจ้าง ค่าเฉลี่ยผลตอบแทน ทั้งที่เป็นตัวเงิน/ ไม่เป็นตัวเงิน เมื่อเทียบ กับขนาดองค์กร และ / หรือ เทียบในอุตสาหกรรม
-โอกาสความก้าวหน้า อัตราการเติบโตตามลำดับขั้นขององค์กร
- เนื้องานของตำแหน่ง เชิงปริมาณ/ เชิงคุณภาพ ที่องค์กรกำหนด
- สภาพแวดล้อมการทำงาน บรรยากาศ อาคารสถานที่ สิ่งอำนวยความสะดวก และ เทคโนโลยีที่มีในองค์กร
- สวัสดิการ ที่มีให้ส่วนตัวระดับต่างๆ และ ส่วนรวมขององค์กร
- ทำเลที่ตั้ง/ ภูมิศาสตร์ขององค์กร / สถานที่ และ จำนวนสาขา ที่ทำงาน
- ธรรมาภบาล/ บรรษัทภิบาล ขององค์กร
2) องค์ประกอบขององค์กรที่มีชีวิต
- ผู้นำองค์กร ลักษณะ/ บุคลิกภาพ และ ภาวะผู้นำ ชื่อเสียง
- กลุ่มผู้ถือหุ้น/ กรรมการบริษัท /กลุ่มผู้บริหาร หรือ หัวหน้างาน
- เพื่อนร่วมงาน หรือ ทีมงานฝ่ายต่างๆ รวมถึงระบบทีมงาน /การทำงานเป็นทีม และ ศักยภาพของคนในองค์กร
- ขนาด/ จำนวนคนในองค์กร
- ลักษณะการสื่อสารกันในองค์กร ทั้งที่เป็นทางการ/ ไม่ทางการ
- ความเสมอภาค ให้โอกาส ระหว่างผู้ร่วมงาน
- รูปแบบการเปิดรับคนเก่า - คนใหม่ ขององค์กร
- ระดับการเมือง การแบ่งพรรคพวก หรือ ระดับของมิตรภาพในองค์กร
- วัฒนธรรมองค์กรด้านต่างๆ ทั้งเกี่ยวกับงาน และ การอยู่ร่วมกัน
- การควบคุมดูแลในการทำงาน ระหว่าง ผู้บังคับบัญชา - ผู้ใต้บังคับบัญชา
ทั้งนี้ แต่ละองค์กร/ ธุรกิจ / อุตสาหกรรม อาจมีปัจจัยเฉพาะต่างๆอีก ที่มีผลต่อความรู้สึก หรือ การพิจารณามององค์กรด้วย
โดยส่วนใหญ่แล้ว คนในจะมีภาพแห่งความเป็นจริง (Real) มากกว่า ส่วนคนนอก จะมีมโนภาพ (Ideal) มากกว่า อย่างไรก็ตามภาพ จะต่างมาก ต่างน้อย มุมมองระหว่าง คนใน คนนอก ที่มีระดับ และ ความเป็นไปได้ (ในภาพรวม)
1) คนในว่าดีมาก
คนนอกว่า ดีมาก ดีน้อย หรือ แย่น้อย แย่มาก
2) คนในว่าดีน้อย
คนนอกว่า ดีมาก ดีน้อย หรือ แย่น้อย แย่มาก
3)คนในว่าแย่น้อย
คนนอกว่า ดีมาก ดีน้อย หรือ แย่น้อย แย่มาก
4)คนในว่าแย่มาก
คนนอกว่า ดีมาก ดีน้อย หรือ แย่น้อย แย่มาก
ผลสรุปของคนในคนนอก อาจจะออกมาได้หลายๆรูปแบบ แต่ถ้าผลสรุปออกมาแล้วว่า
- คนภายในมองว่าดีกว่า/ บวกกว่าคนนอกมอง แสดงว่า ภาพแห่งความเป็นจริง (Real) รู้กันภายใน แต่ไม่มีการขยายผล ทำประชาสัมพันธ์ (PR) กิจกรรมเพื่อสังคม (CSR) หรือ ขาดการการสื่อสารองค์กรภาพที่ดี
- คนใน และ คนนอก ประเมินในลักษณะที่เท่ากัน (ดีกับดีเหมือนกัน หรือ แย่กับแย่เหมือนกันก็ได้) แสดงว่ามี "ดุลยภาพ (Equilibrium)" อย่างทั่วถึง
- คนในมองว่าแย่กว่าคนนอกมอง อาจแสดงถึง พลังของมโนภาพ (Ideal) จากมุมภายนอกมอง ทั้งที่อาจเกิดจากการสร้าง "ภาพลักษณ์ (Image)" ที่ชัดเจน หรือ ชื่อเสียงเด่นบางด้านขององค์กรที่คนนอกมองมา
อย่างไรก็ตาม "กำแพงองค์กร" ที่คนในอยากออก คนนอกอยากเข้า ( หรือ คนในไม่อยากออก คนนอกไม่อยากเข้า ก็ได้) นั้น ย่อมเป็นสิ่งที่ไม่มีใครตอบได้แท้จริง จนกว่าจะได้สัมผัส หาข้อมูล หรือ มีคนที่เป็นแหล่งข้อมูลที่เชื่อถือได้ ก่อนตัดสินใจใดๆ ในองค์ประกอบที่สำคัญสำหรับเรา ทั้งที่เป็นองค์ประกอบทั่วไป และ องค์ประกอบเกี่ยวกับคน (แต่แน่นอนว่า ไม่มีองค์กรใดจะดีทุกด้าน หรือ ที่ใดจะแย่ไปทุกข้อ)
ท่านล่ะ เป็น "คนในที่อยากออก" เพราะคิดว่าองค์กรที่อยู่ไม่ดี หรือ เป็น "คนนอกที่อยากเข้า" องค์กรแห่งใด หรือ ไม่ เพราะคิดว่าที่นั้นจะดี หรือ ว่ายังมีความสุขกับองค์กรที่ทำงานอยู่ในปัจจุบัน
ด้วยความปรารถนาดี
ผศ.ดร.กฤษฎา ตันเปาว์
11 กันยายน 2565

รวมบทความของ ผศ.ดร.กฤษฎา ตันเปาว์ จาก facebook.com
Kritsada Tunpow : ผศ.ดร.กฤษฎา ตันเปาว์ อธิการบดีมหาวิทยาลัยเนชั่น และกรรมการผู้จัดการ บริษัท ริช เรสเตอรองต์ จำกัด บริษัทจัดตั้งขึ้น เพื่อบริหารจัดการธุรกิจ โชคดีติ่มซำ และ โคขุนโพนยางคำ เป็นนักวิชาการอิสระ ผู้มีประสบการณ์ด้านการบริหารจัดการการตลาดมาอย่างมากมาย ได้จัดทำ คลิปวิดีโอ หลักสูตรการบริหารจัดการ เผยแพร่ผ่านช่อง Stepplus training และเขียนบทความแบ่งปันในเฟสบุ๊ค Kritsada Pop Tunpow อย่างต่อเนื่อง#
คลิกเปิดแบบ : พรีวิว หรือ ฉบับเต็ม
Dir : tec File : handbook_tec_63.txt Topic : kritsada_fb

Reset | Decode
คุณคิดอะไรอยู่
Thaiall.com