thaiall logomy background

คำสำคัญ : kritsada fb

my town
กฤษฎา ตันเปาว์ | จริยธรรมสำหรับผู้บริหาร | วิจัยคืออะไร | ศูนย์สอบ | KM | SWOT | คำสำคัญ
รวมบทความของ ผศ.ดร.กฤษฎา ตันเปาว์ จาก facebook.com
Kritsada Tunpow : ผศ.ดร.กฤษฎา ตันเปาว์ อธิการบดีมหาวิทยาลัยเนชั่น และกรรมการผู้จัดการ บริษัท ริช เรสเตอรองต์ จำกัด บริษัทจัดตั้งขึ้น เพื่อบริหารจัดการธุรกิจ โชคดีติ่มซำ และ โคขุนโพนยางคำ เป็นนักวิชาการอิสระ ผู้มีประสบการณ์ด้านการบริหารจัดการการตลาดมาอย่างมากมาย ได้จัดทำ คลิปวิดีโอ หลักสูตรการบริหารจัดการ เผยแพร่ผ่านช่อง Stepplus training และเขียนบทความแบ่งปันในเฟสบุ๊ค Kritsada Pop Tunpow อย่างต่อเนื่อง#
คลิกเปิดแบบ : พรีวิว หรือ ฉบับเต็ม
เลือกบทความ

1. กลไกป้องกันตนเอง (Self defense mechanism)

จิตวิทยาในการแก้ปัญหาของคนเราโดยการ "หลอกคนอื่น ที่เริ่มจากการหลอกตนเอง"
คนเรา เป็นสัตว์สังคม ทำให้อยู่ในกลุ่มสังคม ทั้งในชีวิตประจำวัน การงาน ครอบครัว ชมรม สมาคม เป็นต้น สิ่งที่ควบคุมเราใน "การวางตัว (Demeanor)" โดยภาพในจิตจะตัดสินใจ ถ้าตามใจตนเอง นิสัย ความต้องการ บุคลิกภาพของตนเอง 100% ไม่สนโลกเรียกว่ามากจากอิด ( Id) ในฝั่งตรงข้ามกัน คือ ตามกรอบของสังคม ศีลธรรมจรรยา จริยธรรม ศาสนา กฎระเบียบ กฎหมาย 100% เรียกว่า ซุปเปอร์อีโด้ (Superego)

2. ทางไม่หนี แต่ทีไล่

ด้วยกลยุทธ์การขยายธุรกิจเชิงบูรณาการ (Integrative Growth Strategy)
การดำเนินกิจการ หรือ ธุรกิจใด ๆ จำเป็นจะต้องมี "กลยุทธ์ระดับองค์กร (Corporate Strategic Plan)" ที่หมายถึง หางเสือ ให้องค์กรเดินไปแบบภาพกว้าง ที่จะต้องมีทั้งวิสัยทัศน์ (Vision) วัตถุประสงค์ (Objectives) และ แน่นอนคือ "จุดยืนของธุรกิจ (Business Positioning)" ว่าในการดำเนินกิจการอยู่ในสภาวะ/ สถานะใด ซึ่งมี 4 ทิศทางองค์กร ที่ต้องตัดสินใจต่อไป ได้แก่

3. Soft skill + Hard skill ทักษะของมนุษย์ทำงานในปัจจุบัน

ในยุคสมัยที่เปลี่ยนแปลงไป การทำงานของ "มนุษย์ทำงาน" ก็ต้องเปลี่ยนไปตามบริบทที่หมุนผันแปรไปตามพลวัตรของโลกที่ไม่หยุดนิ่ง ดังนั้น ไม่ว่าจะเป็นบุคลากรที่มีค่าเป็น "ทุนมนุษย์ (Human Capital)" ที่พึงประสงค์ขององค์กรก็ดี หรือ จะเริ่มต้นเป็นผู้ประกอบการใหม่ ก็ต้องมีทักษะที่จำเป็นในการทำงานยุคปัจจุบัน
ทักษะของมนุษย์ทำงาน สามารถแยกออกเป็น "ทักษะด้านความรู้ (Hard Skills)" และ "ทักษะด้านอารมณ์ (Soft Skills)" ดังนี้

4. ชีวิตวันนี้กับ 2 คำ มุมานะ และ มีวินัย Endeavor & Discipline

เมื่ออายุมากขึ้น ก็มักจะมีคนเอาเราไปเปรียบ ถ้าไม่เอาเป็นตัวอย่างที่ชื่นชม ก็เอาไว้เป็นบทเรียนที่ไม่ควรเลียนแบบ ผมเองก็เหมือนคนทั่วไป ในชีวิตมีทั้งดี และ ไม่ดี
แต่มีลูกศิษย์ และ คนรอบตัวที่บอกว่าเห็นเรา 2 เรื่อง คือ 1) การเรียน (บอกว่าเราเรียนเก่ง เพราะเห็นเราเรียนจบ ป.เอก ได้เกียรตินิยม) และ 2) การทำงาน (เพราะเห็นว่าเราเติบโตในตำแหน่งการงาน)

5. สมรรถนะองค์กร (Organization Competency)

แนวคิด Competency หรือ สมรรถนะ เป็นแนวคิดของ David McCleland ศาสตราจารย์แห่ง Harvard university ได้ทำวิจัยเรื่องคุณสมบัติ และ คุณลักษณะของนักธุรกิจ/ ผู้บริหารระดับสูงที่ประสบความสําเร็จใน องค์กรชั้นนําว่ามีคุณลักษณะเช่นไร ซึ่งได้สรุปจุดที่ทำให้คนเหล่านั้นประสบความสำเร็จ คือ "ทักษะการสื่อสาร และ ศิลปะการมีปฏิสัมพันธ์กับคนอื่น ๆ " แต่เชิงลึกแล้ว คนที่จะมีทักษะสื่อสารได้ดี และ ปฏิสัมพันธ์กับคนได้ดีนั้น ย่อมต้องมี "สมรรถนะ หรือ ศักยภาพ (Competency)" ที่เหลือกว่าคนอื่น
ลักษณะของการมีสมรรถนะ (Competency) ของคนเรา จะประกอบด้วย

6. ปฏิกิริยาลูกโซ่ในสรรพสิ่ง (Chain Reaction)

ม้าเร็วที่วิ่งส่งสาร .. ถ้าตะปูตอกเกือกม้าหลุด เกือกม้าก็จะหลุดจากเท้าม้า ม้าไม่มีเกือกม้าก็ไม่พร้อมวิ่ง ม้าวิ่งไม่ได้ก็ไปส่งข่าวสารไม่ได้ ข่าวสารไม่ถึง เมืองก็ไม่รู้ว่าข้าศึกจะมา ไม่รู้ว่าข้าศึกมาก็ไม่เตรียมรับศึก ไม่เตรียมรับศึกก็โดนโจมตีแพ้สงครามได้
ดังนั้น .. แม้เพียงตะปูตอกเกือกม้าหลุด ก็อาจพ่ายแพ้สงครามได้

7. คนเรามี "พฤติกรรม" เปลี่ยนแปลง เปลี่ยนไป เพราะอะไร?

พื้นฐานของคนเรา ที่จะเป็นตัวตน มีการคิดอ่าน และ มีพฤติกรรมแสดงออก มีพื้นฐานที่มาจาก 2 ส่วน คือ กรรมพันธุ์ และ สิ่งแวดล้อม
1) กรรมพันธุ์ (Heredity) ซึ่งถ่ายทอดมาจากพ่อแม่ ตามสายเลือดจากบรรพบุรุษ และ ส่งถึงตนผ่าน ยีน (Gene) และ โครโมโซม (Chromosome) ที่จะทำให้มี "ลักษณะเด่น" หรือ "ลักษณะด้อย" ในเรื่องต่าง ๆ และ ยังนับรวมถึง การเลี้ยงดูของครอบครัวมาอีกด้วย ซึ่งจะสะท้อนตัวตน เช่น สติปัญญา ความเฉลียวฉลาด การควบคุมอารมณ์ บุคลิกภาพ (มีผลมากตั้งแต่วัยเยาว์)

8. "จริต" ของคน กับพฤติกรรมในองค์กร

คนเรามี "พฤติกรรม" เปลี่ยนแปลง เปลี่ยนไป เพราะอะไร?
พื้นฐานของคนเรา ที่จะเป็นตัวตน มีการคิดอ่าน และ มีพฤติกรรมแสดงออก มีพื้นฐานที่มาจาก 2 ส่วน 1) กรรมพันธุ์ (Heredity) ซึ่งถ่ายทอดมาจากพ่อแม่ ตามสายเลือดจากบรรพบุรุษ และ ส่งถึงตนผ่าน ยีน (Gene) และ โครโมโซม (Chromosome) ที่จะทำให้มี "ลักษณะเด่น" หรือ "ลักษณะด้อย" ในเรื่องต่าง ๆ และ ยังนับรวมถึง การเลี้ยงดูของครอบครัวมาอีกด้วย ซึ่งจะสะท้อนตัวตน เช่น สติปัญญา ความเฉลียวฉลาด การควบคุมอารมณ์ บุคลิกภาพ (มีผลมากตั้งแต่วัยเยาว์) 2) สิ่งแวดล้อม (Environment) ที่เป็นสิ่งรอบตัว เช่น สังคม วัฒนธรรม กลุ่มคนรอบตัว เพื่อน ญาติ ชุมชน สถานศึกษา ชมรม กลุ่มต่าง ๆ ที่คนนั้น ๆ ได้เกี่ยวข้อง (มีผลมากขึ้นเรื่อย ๆ เมื่อเราโตขึ้น และ อยู่ในสังคม)

9. รู้แบบเป็ด หรือ เก่งแบบไก่ ดีกว่าในการทำงานยุคปัจจุบัน (Generalist VS Specialist)

ในปัจจุบัน โลกของการแข่งขันกันในชีวิตมีสูงมาก ตั้งแต่แข่งกันเรียน แข่งขันในการหางาน แข่งขันในเชิงธุรกิจ และ แข่งขันในวิถึชีวิตประจำวัน
คำถามโลกแตกที่ว่า "รู้กว้างทั่วไป" แบบเป็ด (Generalist) กับ "รู้แคบแต่ลึก" แบบไก่ (Specialist) อย่างใดดีกว่า จะเป็นเป็ด All in One หรือ ไก่ Best in One ดีกว่า ทุกวันนี้เป็นแบบไหนดี หรือ ในแวดวงการจัดการทรัพยากรมนุษย์ (HR) มองหาคนแบบไหนในการเข้าสู่งาน ขอแยกเป็น 3 ลักษณะใหญ่ ๆ ได้แก่

10. "หวานเป็นลม ขมเป็นยา" ในการทำงาน

สำนวนไทยที่คนไทยจำนวนไม่น้อยจะคิด และ พูดเมื่อทานของขม เช่น ผักขม ๆ ว่าทานแล้วดี "ขมเป็นยา" ซึ่งความเป็นจริงแล้ว เป็นการใช้ที่ไม่ถูกต้อง
ความหมายของสำนวนไทยนี้ที่ว่า "หวานเป็นลม ขมเป็นยา" ความจริงแล้ว ไม่ได้เกี่ยวข้องกับ "การกิน" แม้แต่น้อย เป็นคำเปรียบเปรยถึง "คำพูด" ของคนมากกว่า ที่คนอื่นพูดกับเรา ที่เราได้ยิน ได้ฟัง

11. กลศึกม้าเมืองทรอย (Trojan War) กับการเข้าใจ จุดแข็ง จุดอ่อน ในการแข่งขัน

กรีกทำศึกล้อมเมืองทรอยเพื่อจะชิงเมือง แต่รบกันร่วม 10 ปี ก็ยังไม่สามารถตีเข้าเมืองได้ เมืองทรอยไม่เคยกังวลเพราะในยุคสมัยนั้น ทรอยคือหนึ่งในเมืองที่แข็งแกร่งมีป้อมปราการ และ กำแพงที่แข็งแกร่งสูงตระหง่านที่สุดเมืองหนึ่งในโลก ในที่สุดกองทัพกรีกรู้ว่าทัพตนรบเก่งที่สุดในโลก ก็ไม่อาจเข้าตีความแข็งแกร่งของเมืองทรอยที่เป็นจุดแข็งเช่นกัน
ดังนั้นแม่ทัพกรีกจึงปรับกลยุทธ์ใหม่ โดยการทำอุบายเป็นโรค เจ็บป่วย แล้วเลิกทัพกลับไป แต่ทำม้าไม้ยักษ์ ซ่อนกลุ่มทหารชั้นยอดเพียงเล็กน้อยไว้ในตัวม้า ส่วนทัพใหญ่ถอยห่างไปจนสุดสายตา

12. มุมมอง Bottom up กับ Top down กับทุนมนุษย์ (Human Capital) ในองค์กร

ในการทำงานในองค์กรใด ๆ ก็ต้องมีระดับชั้น (Hierarchies) ในตำแหน่งชั้นต่าง ๆ ที่
เรามักจะได้เห็นมุมมองจากผู้ใต้บังคับบัญชา (Subordinates) ที่มองหัวหน้าเสมือนจากล่างขึ้นบน (Bottom up) เช่น อยากเห็นทิศทาง วิสัยทัศน์ การสอนงาน การวิเคราะห์แก้ปัญหางานให้ หรือ หัวหน้าเองก็มองจากบนลงล่าง (Top down) ที่คาดหวัง เช่น พร้อมในการทำงาน ตรงต่อเวลา และ ระเบียบวินัย เร็วในการนำเสนองาน และ หากมีปัญหาก็พร้อมเสนอแนวทางแก้ปัญหาให้ตัดสินใจได้ทันท่วงที เป็นต้น

13. 3 ทักษะสำคัญ เพื่อความก้าวหน้าในงาน (3 Attributes for Career Progress)

ในช่วงชีวิตคนเราในการทำงาน เราอาจจะเห็นคนที่มีความแตกต่างกันมากมายทั้งเชิงบวก และ เชิงลบ รอบตัวเรา เช่น เก่ง- ไม่เก่ง ขยัน-ขี้เกียจ ทุ่มเท-เอื่อยเฉื่อย มองก้าวหน้า-เช้าชามเย็นชาม เป็นต้น
ทั้งนี้ ขึ้นกับ "บุคลิกภาพ (Personality)" ของคนเรา ที่หมายถึง ภาพโดยรวมในคุณลักษณะ (Attibute)" ของคนเรา ที่มีการแสดงออกทางกาย ทางจิตใจ รวมถึงอุปนิสัย และ อารมณ์ของคนเรา ที่แสดงออกมาให้คนอื่นสามารถรับรู้ (Perception) ได้

14. การประเมินผลงาน กับผลตอบแทน

การประเมินผลงาน กับผลตอบแทน (Job Performance Appraisal & Compensation of Work)
เราคงเคยได้ยินกันเสมอ ๆ เกี่ยวกับ "งาน" และ "เงิน" ที่มักจะถูกเอามาผูกไว้ด้วยกัน เช่น "งานคือเงิน เงินคืองาน บันดาลสุข" เป็นคำขวัญในสมัยรัฐบาลจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ ที่กล่าวไว้

15. ว่าด้วยเรื่องความฝันกับความสำเร็จ

คุณเคยฝันถึงอะไรในชีวิต อาชีพอะไร ธุรกิจแบบไหน รายได้ หรือ กำไรในฝัน
ความฝันนั้นจะนำมาซึ่ง ความสำเร็จ ทำให้ได้มา ทรัพย์สิน สิ่งของ เช่น บ้านในฝัน หรือ สิ่งของที่อยากได้ต่าง ๆ เป็นต้น ส่วนความฝันอื่น ๆ เช่น คู่ชีวิต คนรัก หรือ ครอบครัวในฝัน สังคม สิ่งแวดล้อมในฝัน วิถีชีวิต และ งานอดิเรกในฝันนั้น ๆ จะแปรตามจากผลสัมฤทธิ์ที่เกิดจริงจากฝันนั้น สมการ ความฝัน กับความสุขนั้น ๆ เกิดจาก ทัศนคติ (Attitude) ซึ่งเกิดจากตัวเราเอง ที่ตั้งเป้า ตั้งเกณฑ์ ซึ่งฝันของแต่ละคน ใหญ่เล็กไม่เท่ากัน

16. สมรรถนะหลัก

สมรรถนะหลัก (Core Competency) : จุดยืนที่สำคัญแห่งความอยู่รอดยุคปัจจุบัน (ทรัพยากรบุคคล-ผลิตภัณฑ์-องค์กร)
เรื่องเล่า: กลุ่มเลขาที่พึ่งออกจากห้องประชุมกลุ่มผู้บริหารคุยกันว่า "ฉันนะ ไม่อยากเป็นประธานหรอก ปวดหัว สารพัดปัญหา"

17. เข้าใจมุมมองความคิดคน ด้วยคณิตศาสตร์เรื่องเซต

ในทุกวันนี้นับวัน โลกของเราหมุนเร็ว เดินไว ด้วยเทคโนโลยี และ ข้อมูลต่าง ๆ รอบตัวเรา โดยเฉพาะผ่านสื่อ Online และ Social Network รูปแบบต่าง ๆ แน่นอนว่า คนแต่ละคนย่อมได้ข้อมูลเรื่องใด ๆ ต่างกัน อีกทั้งคนทุกคนเข้าใจเรื่องใดเรื่องหนึ่ง หรือ "ตีความ" เรื่องนั้น ๆ ต่างกันแม้เห็น รับรู้ หรือ เรียนรู้ พร้อมกัน เพราะ "ทัศนคติ (Attitude)" ที่หมายถึง มุมมอง และ ฐานความคิด ค่านิยม ประสบการณ์ และ พันธุกรรม แตกต่างกัน ที่อาจรวมถึง เหตุผล (Rational) และ อารมณ์ (Emotion) ณ ขณะเวลานั้นของคน กลุ่มคน สังคม ประเทศชาติในเรื่องต่าง ๆ ที่มีเฉพาะตนเอง
ดังนั้น เรื่องใด ๆ ที่เห็นไม่ตรงกัน เช่น ความคิดเห็น ข้อเท็จจริง เหตุการณ์ สถานการณ์ งานที่ทำ การเมือง ศาสนา ความรัก เรื่องราวในชีวิตประจำวัน เป็นต้น ที่คนเราเห็นต่างไม่ตรงกัน จนบางครั้งมักมีคำพูดเล่นว่า "ความเห็นไม่ตรงกัน การพนันจึงเกิดขึ้น"

18. การต่อรอง (Bargaing) ในชีวิตจริง

ในทุกวัน คนเรามีเรื่องที่ต้องตัดสินใจมากมายอาจเป็นร้อยเป็นพันเรื่องในแต่ละวัน แม้แต่เป็นการตัดสินใจโดยสัญชาติญาณ เช่น การหยิบสิ่งของที่สมองตัดสินใจใช้มือไหนหยิบ จนถึงเรื่องที่ต้องตัดสินใจด้วยการคิดวิเคราะห์ เช่น ตัดสินใจงาน กิจกรรม ชีวิต ธุรกิจ ที่อาจต้องการข้อมูล แนวทางเลือก การแก้ปัญหา และ ทิศทางผลที่อาจจะเป็นไป
ดังนั้น ยิ่งเป็นเรื่องใหญ่ หรือ ที่มีความซับซ้อน ก็จะต้องมี คนอื่น ฝ่ายต่าง ๆ หรือ คนภายนอก กลุ่มนอกองค์กร เกี่ยวข้องด้วย และ แน่นอนที่ความคิดเห็นอาจมีความแตกต่างกัน จึงเป็นที่มาที่ต้องมี "การต่อรอง (Bargaining)" และ หรือ นำมาซึ่งจะต้องมี "การเจรจาต่อรอง (Negotiations)" ตามมา ที่จะต้องมีการวางแผน รายละเอียดเนื้อหาในการต่อรอง ผู้ทำหน้าที่ต่อรอง ผู้มีอิทธิพลในการตัดสินใจ แนวทางการสื่อสารข้อมูล แนวความเป็นไปได้ในการสรุปผล และ การจัดการผลลัพธ์ภายหลังการสรุปผล (ทั้งนี้ ในการต่อรอง บางครั้งอาจจะต้องมีการบริหารข้อโต้แย้ง (Conflict Management) ในการจัดการ เหตุผล (Argument Treating) และ การจัดการอารมณ์ (Emotional Control) ประกอบด้วย

19. "สิ่งแวดล้อมมนุษย์ (Human Environment)" รอบตัวของชีวิตเรา

ชีวิตคนเรามีสิ่งต่าง ๆ รอบตัวมากมาย สามารถจำแนกออกเป็น สิ่งแวดล้อมที่เกิดขึ้นเองโดยธรรมชาติ และ สิ่งแวดล้อมที่มนุษย์สร้างขึ้น
1) สิ่งแวดล้อมที่เกิดขึ้นเองโดยธรรมชาติ (Natural environment)

20. ความรัก ความพึงพอใจกับ สิ่งต่าง ๆ ในชีวิตคนเรา

เสียงเพลง "ถ้าเขาจะรัก (ยืนเฉย ๆ เขาก็รัก)" ดังขึ้นมา ........ เลยนึกขึ้นมาดังนี้ คนเราในช่วงชีวิต ที่จะมีความรัก ความพึงพอใจ ความปรารถนา ความสุข ที่เราเลือกกับสิ่งต่าง ๆ ที่แตกต่างกัน ( และ รวมถึงแม้แต่ตัวเราเองกับช่วงวัยที่เปลี่ยนตามกาลเวลาด้วย)
อย่างไรก็ตามสิ่งต่าง ๆ รอบตัวที่เรามักใช้ ตรรกะ (Logic) และ เหตุผล (Rational) ได้ดี เช่น งานนี้เหมาะกับเรา หรือ ไม่ คนที่พบเจอดีกับเรา หรือ ไม่ สิ่งของนี้มีประโยชน์กับเราแค่ไหน เป็นต้น เพราะเราจะมี "มาตรฐานตนเอง (Self standard)" ในการประเมิน ซึ่งส่วนใหญ่มาจากสมองซีกซ้าย (Left Hemisphere) ที่ทำหน้าที่ ใช้เหตุผล การคิด วิเคราะห์ คำนวณ เป็นสำคัญ

21. คุณสวมหมวกอะไรอยู่ กับ ทฤษฎีหมวก 6 ใบ (Six Thinking Hats)

เรามักจะได้ยินว่า "สวมหมวก" ที่แทนถึง ตำแหน่ง หน้าที่ ความรับผิดชอบ ในฐานะที่เราทำตรงนั้น
ทฤษฎีของศาสราจารย์ชาวอิตาลี Edward de Bono เป็นผู้ริเริ่มแนวความคิดเรื่อง Lateral Thinking (การคิดนอกกรอบ) และ เป็นคนพัฒนาเทคนิคการคิดริเริ่มสร้างสรรค์ และ ได้พัฒนาเป็นแนวคิดที่เรียกว่า "Six Thinking Hats" ซึ่งเป็นวิธีคิดที่มีมุมมองแบบ "รอบด้าน" ซึ่งจุดมุ่งหมายแต่เดิม ไว้ให้ผู้ใหญ่ พ่อแม่ ผู้ปกครอง หรือ ครูเพื่อสอนบุตรหลาน หรือ ลูกศิษย์ที่เป็นเด็ก ๆ ให้เรียนรู้ มองสิ่งต่าง ๆ "หลายมิติ" แต่ต่อมาในองค์กรต่าง ๆ ก็นำมาเป็นแนวทางพัฒนา "กิจกรรมกลุ่ม (Group Activity)" หรือ ให้พัฒนางาน โดยประเด็นสำคัญคือ ให้เปรียบเสมือน "การใส่หมวก" เพื่อสะท้อนให้นึกถึง "สิ่งที่ควรคิด" เมื่อเราต้องสวมหมวกนั้น

22. Win win มีจริง หรือ ?

ในชีวิตคนเรามีเรื่องต่าง ๆ มากมายในแต่ละวันของชีวิต ทั้งความคิด การพูด การกระทำ ของตนเอง หรือ เรื่องต่าง ๆ ที่ต้องตัดสินใจ เช่น อาชีพ เรื่องความชอบส่วนตัว ชีวิต กิจกรรม ความสนใจในสิ่งต่าง ๆ งานอดิเรก เป็นต้น และ หลาย ๆ เรื่อง ก็จะมีคนอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องด้วย โดยเฉพาะสมาชิกในครอบครัวในเรื่องชีวิตครอบครัว และ มี หัวหน้า ลูกน้อง ในเรื่องงานในองค์กร และ คนอื่น ๆ ที่มีส่วนเกี่ยวข้องสัมพันธ์จากภายนอกองค์กร และ โดยธรรมชาติ คนเรามีแนวโน้มที่จะมีความคิดเห็น การตัดสินใจเป็นของตนเอง ในทางกลับกันคนอื่น ๆ หรือ ฝ่ายอื่น อาจเห็นด้วย หรือ ไม่เห็นด้วยก็ได้ เพราะทุกคนเป็น "ปัจเจก (Individual)" ของตน
แน่นอนว่า ไม่ว่าเรื่องใดที่ต้องตัดสินความคิดเห็นที่อาจไม่ตรงกันนั้น ต่างก็ต้องการชนะ (win) เป็นตามต้องการ ถ้าไม่เบ็ดเสร็จก็ต้องการมากสุด เช่น ถ้าสมมติเป็นสัดส่วน 90:10 ที่เราต้องยอมน้อยสุด เป็นต้น

23. สื่อสารงานกันไม่เข้าใจ เพราะอะไร

ในโลกของการทำงาน องค์กรต่างก็ต้องการคน "เก่งงาน (Task Oriented)" เป็นสำคัญ โดยเฉพาะในยุคที่มีการเปลี่ยนแปลงปรับตัวเชิงเทคโนโลยี (Technology Disruption) ที่ทำให้ทุกคนต้องปรับตัวเองให้ทัน แต่การทำงานจริง ต่างก็จำเป็นจะต้องทำงานกับ "คน" ที่เป็น หัวหน้า เพื่อนร่วมงาน ผู้ใต้บังคับบัญชา คนในส่วนงานต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องในองค์กร และ อาจรวมถึงนอกองค์กรด้วย อย่างไรก็ดี หัวใจหลักในการเชื่อมคนให้เป็นคนที่ "เก่งคน (People Oriented)" นั้น ก็ด้วย "การสื่อสาร (Communications)" นั่นเอง
การสื่อสารสำคัญยิ่งต่อ กระบวนการบริหารงาน (Management Function) ได้แก่

24. พื้นที่แสนสบาย (Comfort Zone) กับการทำงาน มีจริง หรือ

เราคงเคยได้ยินคำพูดที่ว่า "ทำงานแบบที่คุ้นชิน" เหมือนอยู่ใน Comfort Zone พื้นที่แสนสบาย หรือ พื้นที่ปลอดภัย ที่มักจะมีกลิ่นอายของคำว่า "เดิม ๆ " แฝงมาด้วย
คนอยู่ใน Comfort zone มักถูกผูกไว้ว่าเป็นกลุ่ม "มนุษย์เงินเดือน (Salary Man)" ไม่ได้ทำฝัน หรือ กิจการของตนเอง ความจริงแล้วมุมมองนี้อาจไม่ถูกต้องนัก เพราะความจริง การที่อยู่ในพื้นที่แสนสบายนี้อาจเป็นทั้งมนุษย์เงินเดือน และ เจ้าของกิจการก็ได้ที่อยู่แบบเดิม ๆ นั้น โดยสามารถขยาย "พื้นที่ (Zoning)" 4 ลักษณะ ดังนี้

25. กรอบความคิด (Mindset) นั้น สำคัญไฉน

เราอาจจะเคยได้ยินว่า เราจะเดินไปได้ไกล ตราบเท่าที่เราใจเรากำหนด หรือ เราจะประสบความสำเร็จไม่ใหญ่ไปกว่าภาพที่เราวางแนวทางไว้
คำกล่าวข้างต้นนี้เป็นภาพโดยรวมของ "กรอบความคิด (Mindset)" ที่เกิดขึ้นโดยตัวเราเอง ที่มาจาก ทัศนคติ (Attitude) ค่านิยม (Values) การหล่อหลอมทางสังคม (Socialization) สิ่งแวดล้อม (Environment) และ ความรู้ (Knowledge) ได้ผลลัพธ์ออกมาเป็น "ลักษณะตัวตน (Self Identity)" ให้เป็นตัวเรา ที่จะมีความคิดอ่าน และ สร้าง "กรอบความคิด (Mindset)" ของเราออกมานั่นเอง ส่งผลลัพธ์ของตนให้มี วิสัยทัศน์ (Vision) ความเชื่อ (Belief) มุมมอง (Perspective) บุคลิกภาพ (Personality) ซึ่งจะทำให้เรามีลักษณะที่เป็นเราในความคิดอ่าน และ พฤติกรรม (Behavior) ของตัวเรา

26. ปรัชญาแห่งชัยชนะด้วย Mamba Mentality

หากคุณเชื่อว่า การที่จะเราทำสิ่งใดด้วยความรัก หลงใหล ทุ่มเท และ เอาใจลงไปเล่นกับงานนั้น ๆ ด้วย แบบสุดพลัง ย่อมนำมาซึ่งผลที่เป็นเลิศ ว่าเป็นจริง นั่นแสดงว่าคุณมาถูกทาง เพราะทุกสิ่งที่เราทำเกิดจาก "สภาพจิตใจ (Mentality)" เป็นที่ตั้ง
ดังนั้นหากพูดถึง "สภาพจิตใจ" ที่เต็มร้อย และ พร้อมที่จะทะยานไปในความท้าทายที่สูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยมีนักกีฬาบาสเกตบอลชื่อดังผู้ล่วงลับ ได้แต่งหนังสือ และ สรุปเป็นแนวทางไว้ชื่อ โคบี ไบรอันท์ (Kobe Bryant) นักกีฬาบาสเกตบอล NBA ที่ว่าประสบความสำเร็จสูงสุด 1 ใน 10 ของโลก ย่อมมีชื่อของเขารวมอยู่ด้วย ด้วยความรักที่มีต่อทีม LA Lakers ทีมเดียวเท่านั้น และ ร่วมคว้าแชมป์ถึง 5 สมัย และ ติดทีมยอดเยี่ยมประจำปี (All Star) ถึง 18 ปี จาก 20 ปีที่เล่น NBA ซึ่งยากยิ่ง แต่ด้วยที่พร้อมทำงานหนัก ฝึกหนักกว่าทุกคนในทีม มาก่อนคนอื่น 2 ชม และ กลับหลัง 2 ชม เพื่อฝึกฝนให้มีความพร้อมอยู่เสมอ พร้อมทุ่มเทเพื่อความสำเร็จแลกกับเวลา และ สิ่งอื่น ๆ ไป เพื่อที่จะเป็นตำนานที่มักถูกคนนำไปเทียบเคียงกับไมเคิล จอร์แดน ที่ว่าคือที่หนึ่งตลอดกาลของ NBA มากที่สุด

27. การฝึกอบรมพัฒนาบุคลากรนั้น สำคัญไฉน

องค์กรต่าง ๆ ไม่ว่าเล็ก หรือ ใหญ่ ถึงแม้ว่าการทำงานในปัจจุบัน ต่างก็ใช้เทคโนโลยี เพื่ออำนวยความสะดวก รวดเร็ว ลดความผิดพลาดแล้ว อย่างไรก็ตาม ก็ยังคงต้องมี "ทรัพยากรมนุษย์" หรือ "ทรัพยากรบุคคล" ที่ต้องตัดสินใจ บริหารงาน เพื่อการขับเคลื่อนที่เครื่องจักร กลไก เทคโนโลยี ไม่สามารถทำได้
การบริหารทรัพยากรมนุษย์ (Human Resource Management: HRM)

28. การจัดการสมัยใหม่ POLC ด้วยสังคหวัตถุ 4

ถ้าหากนึกถึงหน้าที่สำคัญของผู้บริหารในการจัดการองค์กร หนึ่งในทฤษฎีที่ได้รับการยอมรับอย่างมากคือ POLC Framework ซึ่งเป็นทฤษฎีของ Louis A. Allen ที่ปรึกษาด้านการจัดการชาวอเมริกัน เขียนหนังสือ Management and Organization ขึ้นในปี ค.ศ.1958 โดย POLC ถือว่าเป็นทฤษฎีการจัดการสมัยใหม่ที่ยังคงนิยมใช้มาจนถึงปัจจุบัน ด้วยความชัดเจน ง่าย และ ปฏิบัติได้จริง
และ แน่นอนว่า POLC ย่อมมีความสัมพันธ์กับการจัดการ "ทุนมนุษย์ (Huamn Capital)" ที่องค์กรมีอยู่ เพื่อให้ได้ ความรู้ ทักษะ ประสบการณ์ และ เพิ่มศักยภาพตนเอง ให้ก้าวหน้า เติบโต ต่อไปเป็นทรัพยากรที่สำคัญขององค์กรต่อไป ซึ่งจะดีไม่น้อยหากผู้บริหารนำหลักสังคหวัตถุ 4 (ทาน ปิยวาจา อัตถจริยา สมานัตตา) ควบคุม ควบคู่ ไปด้วย ดังนี้

29. การสรรหาคนเข้าทำงาน (HR Recruitment) กับคนดี VS คนเก่ง

ในโลกของธุรกิจ และ กิจการใด ๆ ล้วนจะต้องมีกระบวนการในการ "สรรหาคนเข้าทำงาน (Recruitment)" ด้วยพื้นฐาน "หาคนให้ตรงกับงาน (Put the right man into the right job)"
แน่นอนว่า การสรรหาก็มักจะเริ่มจาก การวางแผนกำลังคน การเปิดรับ สื่อสารกลุ่มเป้าหมายผ่านช่องทางต่าง ๆ รวบรวมผู้สมัคร รวมถึงการพิจารณาผู้สมัครด้วยการทดสอบ และ หรือ สัมภาษณ์ เพื่อให้ได้ "ตัวเลือกที่เหมาะสมที่สุด" ในการเข้าสู่ตำแหน่งงานนั้น ๆ

30. ความสุขสมหวังกับชีวิตด้วยทฤษฎีการเรียนรู้ตัวตน

ความสุขสมหวังกับชีวิตด้วย "ทฤษฎีการเรียนรู้ตัวตน (Self Theory)"
เป้าหมายชีวิตของคนเรา ที่มีต่อเป้าหมายที่จะพาตนเองไปสู่ "ความสำเร็จที่คาดหวัง" เพื่อให้ชีวิตมีความสุข เป็นสิ่งที่ผลักดันคนเราให้ก้าวเดินต่อไป แน่นอนว่าคนเราวาดฝันปลายทางชีวิตต่างกัน บางคนเห็นภาพอนาคตในการเป็นคนเก่งในสายอาชีพ บางคนมองภาพในการเป็นเจ้าของกิจการใหญ่โต ในขณะที่บางคนอาจจะมองอนาคตแบบวันต่อวัน และ แน่นอนในเรื่องความสำเร็จ หรือ ความสุขในชีวิตอาจจะหา "มาตราวัด" ที่แท้จริงไม่ง่าย เพราะเราจะรู้ได้อย่างไรว่า พนักงานกวาดถนน กับ เจ้าของกิจการมูลค่าพันล้าน ชีวิตใครสุขแท้กว่ากัน

31. เราทำงานก้าวหน้า หรือ ไม่ อยู่ที่อะไร

ในเวลาที่ผ่านไป คนเราจะมีความก้าวหน้าในงาน หรือ ย่ำอยู่กับที่ ล้วนมีที่มาจากปัจจัยต่าง ๆ ประกอบด้วย ตนเอง คนรอบตัว องค์กร และ สิ่งแวดล้อมมหภาคภายนอก
1) ตนเอง : ปัจจัยเริ่มต้นย่อมเกิดจากตนเองเป็นตัวตั้ง ที่จะทำตัวให้ก้าวหน้า หรือ ไม่ มีการเตรียมตัว พัฒนาตน และ ทิศทางเพื่อความก้าวหน้า หรือ ไม่ ได้แก่

32. ถึงยุคการตลาด 5.0

การตลาด คือ หนึ่งในศาสตร์ และ ศิลป์ในการวางกลยุทธ์เพื่อขับเคลื่อนสิ่งที่นำเสนอ ทั้งที่จับต้องได้ หรือ จับต้องไม่ได้ เช่น สินค้า บริการ ธุรกิจ องค์กร ชมรม สมาคม กลุ่มคน บุคคล สิ่งของ หรือ แม้กระทั่ง แนวคิด คำพูด สิทธิบัตร เป็นต้น
ในเชิงบริหารธุรกิจแล้ว การตลาดในยุคปัจจุบัน นับว่าโชคดีกว่าศาสตร์อื่น ๆ เช่น การจัดการ บุคคล การเงิน เพราะทฤษฎีการตลาดที่รู้จักกันดี เกิดจาก Professor Philip Kotler ดังนั้นยังเป็นช่วงที่โชคดีที่ได้เรียนรู้จากเจ้าของทฤษฎีที่ยังมีตัวตน ที่ปัจจุบันอายุครบ 90 ปีแล้ว และ ช่วงต้นปีนี้ก็ได้เปิดตัว Marketing 5.0 "Technology for Humanity" ออกมาล่าสุด ที่เมืองไทยยังรอการแปลไทยอยู่

33. รู้ตน รู้องค์กร ด้วย SWOT + TOWS

เครื่องมือที่ง่าย แต่มีความสำคัญอย่างมาก ในการเข้าใจตนเอง/ องค์กร เพื่อการปรับปรุงพัฒนาด้วย 2 เครื่องมือ ได้แก่ SWOT Analysis และ TOWS Matrix
1) SWOT Analysis คือ เครื่องมือวิเคราะห์ "สภาพความเป็นจริง" ของสิ่งที่วิเคราะห์ เช่น วิเคราะห์ตนเอง หรือ องค์กร ก็ได้ ประกอบด้วย

34. กลยุทธ์ระดับหน้าที่ด้านการจัดการ P - O - S - L - C

หากท่านเป็นผู้บริหาร/ นักจัดการ ไม่ว่าจะเป็นองค์กรใหญ่ หรือ เล็ก ในธุรกิจใด ๆ ก็ตาม มีคำถามเชิงกลยุทธ์ง่าย ๆ สำหรับตนเองว่าได้นำพาองค์กรไปสู่การมีประสิทธิภาพ (Efficiency) และ ประสิทธิผล (Effectiveness) แล้ว หรือ ยัง
โดยการมองภาพรวมว่ามี P - O - S - L C ครบแล้ว หรือ ยัง ได้แก่

35. ห่วงโซ่คุณค่า (Value Chain) กับ การจัดการภายในองค์กร

ห่วงโซ่คุณค่า (Value Chain) ที่พัฒนาแนวคิดโดย Michael Porter ได้มองภาพของ "การเชื่อม" ต่อเนื่องของ "งาน" หรือ "กิจกรรม" ที่มีการเชื่อมต่อกันไป จึงใช้คำว่า "โซ่ (Chain)" เพื่อมาอธิบายการทำงานภายในองค์กร เชื่อมกับภายนอก คือจาก "ฝั่งต้นน้ำ" หรือ ผู้ขายปัจจัยการผลิต กับ "ฝั่งปลายน้ำ" หรือ ผู้ซื้อ/ ผู้บริโภค นั่นเอง
ห่วงโซ่คุณค่าประกอบด้วย 2 กลุ่มงาน (กิจกรรม) ได้แก่

36. ชีวิต เกิดมาทำไม

ชีวิต เกิดมาทำไม .. เกี่ยวกับแรงจูงใจความต้องการตามทฤษฎีของ Maslow หรือ ไม่?
คำถามสำคัญของที่มาแห่งการมีชีวิตคนเรา อาจจะมีคำถาม 2 คำถามเกี่ยวเนื่องกัน

37. จุดยืนแข่งขันแบบใด ถึงโตได้ในธุรกิจ

จุดยืนแข่งขันแบบใด ถึงโตได้ในธุรกิจ (ด้วยกลยุทธ์แข่งขันของ Porter's Competitive Generic Strategies)
ว่ากันว่าโลกแห่งการแข่งขันทางธุรกิจ ย่อมจะต้องมีภาพใหญ่ในการคุมองค์กร ที่รวมถึง วิสัยทัศน์ (Vision) พันธกิจ (Mission) เป้าหมาย (Goals) และ วัตถุประสงค์ (Objectives) ในการคุมกลยุทธ์ รวมถึงความชัดเจนในการ "กำหนดกลุ่มลูกค้า/ ตลาดเป้าหมาย (Target Market)" ที่จะเป็นแม่บทในการกำหนด "กลยุทธ์การแข่งขัน (Competitive Strategy) ที่เหมาะสม

38. บุคลิกภาพ (Personality) ที่มาของภาพจำของคนรอบตัว

บุคลิกภาพ หรือ สิ่งที่แสดงออกของบุคคลที่เห็นได้ในลักษณะต่าง ๆ จาก การวางตัว การแต่งกาย คำพูด ความคิดเห็น กิริยา อาการ การแสดงออกที่มีต่อเหตุการณ์ สถานการณ์ การสื่อสาร โดยมีที่มาจาก
1) พันธุกรรม

39. การสื่อสารในงานกับ "มลพิษ (Noise)" ที่ทำให้ล้มเหลว

การสื่อสารระหว่างกัน ทั้งระดับส่วนบุคคล กลุ่มบุคคล หรือ ระหว่างองค์กรเพื่อให้เกิดการแลกเปลี่ยนข้อมูล หรือ ความเข้าใจระหว่างกันในด้านต่าง ๆ ที่อาจนำไปสู่กระบวนการบริหาร (Managerial Function) ที่รวมถึง การวางแผน (Planning) การจัดองค์กร (Organizing) การสั่งการ (Leading) และ การควบคุม (Controlling) ล้วนต้องมี "การสื่อสาร (Communication)" ที่มีวัตถุประสงค์อย่างใดอย่างหนึ่ง ได้แก่
- การแจ้งข้อมูลข่าวสาร (Informing)

40. สื่อสารอะไรกับใคร ต้องปรับให้เหมาะกับผู้รับ 4 ทิศ

ในทุกวันคนเรามี การสื่อสาร (Communication) ระหว่าง คน กลุ่มคน เพื่อการแลกเปลี่ยนข้อมูล หรือ การทำความเข้าใจระหว่างกันในด้านต่าง ๆ อาจมีทั้ง การใช้ถ้อยคำ (Verbal) คำเขียน (Written) หรือ การสื่อสารไม่ใช้ถ้อยคำ (Non-verbal) ที่หมายถึง สีหน้า แววตา น้ำเสียง ท่าทาง ภาษากาย การแสดงสัญลักษณ์ และ อาจรวมถึง การสื่อสารในยุคปัจจุบันที่ใช้เทคโนโลยี มาประกอบการสื่อสารด้วย ล้วนมีความสำคัญในการเชื่อม "คน ถึง คน" ที่ละเอียดอ่อน และ จะต้องพิจารณาว่าสื่อสารกับใคร
ทิศทางการสื่อสารในองค์กรจะมี 4 ทิศทาง ได้แก่

41. สมองคิด ปากพูด กายทำ ของคน 8 ลักษณะ ในงาน หรือ ชีวิตประจำวัน

คนเราจะมีประสาทสัมผัสทั้ง 5 เพื่อ "การรับรู้ (Perception)" ต่อสิ่งต่าง ๆ รอบตัวกับทั้ง คน เรื่องราว เหตุการณ์ สิ่งต่าง ๆ เป็นต้น โดยการประเมิน และ การรับรู้นั้นมาจากพื้นฐานข้อมูล ความรู้ ประสบการณ์ส่วนตนผ่านจากค่านิยม (Values) และ ทัศนคติ (Attitudes) ที่มีเฉพาะของแต่ละคน และ จะแสดงออกต่อสิ่งต่าง ๆ อย่างไรสำหรับตนเอง
ในแต่ละวันคนเรามีเรื่องราวมากมายหลายสิบหลายร้อยเรื่องที่คนจะตัดสินใจ "คิด พูด ทำ" กับงาน หรือ สิ่งต่าง ๆ ในแต่ละวัน ซึ่งแต่ละคนจะมีรูปแบบการแสดงออกต่างกันได้ 8 แบบที่เราพบเจอ

42. ใครทำ ใครได้ บุคลิกภาพของเรา และ การรับรู้ของคนอื่นในองค์กร

ใครทำ ใครได้ บุคลิกภาพของเรา และ การรับรู้ของคนอื่นในองค์กร (Self Personality to Perception of Others)
คนเราทุกคนล้วนมีบุคลิกภาพ (Personality) เป็นเฉพาะตน ที่หมายถึง บุคลิกภาพภายใน (Internal Personality) ได้แก่ ความรู้สึก นึกคิด มุมมอง ทัศนคติ พื้นฐานความรู้ และ บุคลิกภาพภายนอก (External Personality) ได้แก่ การวางตัว ท่าที การพูด การแสดงออก และ รวมถึง การแต่งกาย และ การเข้าสังคม ซึ่งบุคลิกภาพโดยรวมที่มาจาก พันธุกรรม สิ่งแวดล้อม และ สถานการณ์ ที่ทำให้คนนั้น ๆ มีบุคลิกภาพ อย่างใดอย่างหนึ่งออกมานั่นเอง

43. ฟันเฟืองมนุษย์ในองค์กร

ฟันเฟืองมนุษย์ในองค์กร (Human Gear in Organization)
ฟันเฟือง หนึ่งในเครื่องจักรกลที่พัฒนาโดย อาร์คีมีดีส (Archimedes) นักคณิตศาสตร์ และ ปราชญ์กรีกโบราณ เพื่อนำมาเป็นกลไกผ่อนแรงมนุษย์เพื่อใช้กับเครื่องสูบกังหันน้ำ เครื่องกลรถลากสำหรับการเกษตร เป็นต้น และ พัฒนาต่อมากับเครื่องมือ เครื่องจักร เครื่องยนต์กลไกต่าง ๆ จนถึงปัจจุบัน แม้กระทั่งฟันเฟืองเล็ก ๆ ในนาฬิกาข้อมือ

44. แนวคิด Makoto Marketing

การตลาดในการสื่อสารคุณค่าของสินค้า และ บริการออกสู่ตลาด ที่เป็นทั้งศาสตร์ และ ศิลป์ ในการสร้างโอกาส และ ผูกใจลูกค้าให้กิจการเติบโตได้นั้น หากในทางทฤษฎีส่วนประสมทางการตลาด (Marketing Mix) ที่หมายถึง 4 P's และ ส่วนประสมการตลาดบริการ (Service Marketing Mix) ที่มี 7P's เป็นองค์ประกอบ ได้แก่ Product Price Place Promotion People Process Physical Evidence
อย่างไรก็ตาม แนวคิดทางการตลาด เป็นเรื่องที่ต้องวิเคราะห์ และ หาแนวทางการทำกิจกรรมทางการตลาดที่แตกต่าง มีเอกลักษณ์ และ เหมาะสมแก่กิจการของตนเองได้ดี หนึ่งในแนวคิดแบบญี่ปุ่น จากหนังสือ "Makoto Marketing" ที่คำว่า Makoto สื่อถึง ความจริงแท้ ไม่ปรุงแต่ง จึงเปรียบเสมือนการตลาดที่มาจากใจเป็นสำคัญ

45. ความพอใจคนทำงาน กับ ความพอใจขององค์กร

ความพอใจคนทำงาน กับ ความพอใจขององค์กร (Job Satisfaction VS Organizational Satisfaction)
การเริ่มต้นของคนเราในการทำงาน ส่วนใหญ่จะเริ่มต้นจากพื้นฐานด้วย "การจูงใจ (Motivation)" ของชีวิต ซึ่งโดยภาพรวม เป็นการจูงใจใน 2 มิติ ได้แก่

46. การปรับภาพลักษณ์ด้วย ชื่อ หรือ ตรา กับการสร้างคุณค่าทางการตลาด

การทำธุรกิจ/กิจการใด ๆ ก็ตาม เมื่อการเติบโตที่ถึง "ขั้นอิ่มตัว (Maturity)" คือจุดที่การเติบโต เริ่มชะลอตัว อิ่มตัว อัตราการเติบโตแบบลดลง นั่นแสดงว่า กลยุทธ์การตลาด/ธุรกิจ ที่ทำให้เติบโตมาได้ถึงเวลาที่ "ไม่มีอะไรดึงดูด" หรือ "ไม่มีอะไรแปลกใหม่" ให้กับตลาด
ดังนั้นหนึ่งในกลยุทธ์การตลาดที่นิยมทำ คือ การปรับภาพลักษณ์ (Rebranding) ภาพรวมองค์กร ที่อาจรวมถึง สินค้าต่าง ๆ รูปแบบการบริการ ระดับราคาตัวต่างๆ ช่องทางการจำหน่ายใหม่ๆ การส่งเสริมการตลาดด้วยสื่อต่างๆใหม่ และ ที่สำคัญ "ตรายี่ห้อ (Brand)" เสียใหม่ ที่รวมถึง ชื่อ (Brand Name) ตราสินค้า (Brandmark) หรือ สัญลักษณ์ (Logo) เพื่อการทำตลาด

47. ผู้นำ : คนที่มีภาวะผู้นำกับผู้นำที่ยกระดับองค์กร

ผู้นำ : คนที่มีภาวะผู้นำ กับ ผู้นำที่ยกระดับ (องค์กร/ บุคลากร) (Leadership to Leadershift)
ผู้นำ (Leader) คือ ผู้ที่กำหนดทิศทางองค์กร วิสัยทัศน์ การวางแผน กำหนดทิศทาง เป้าหมายความสำเร็จ รวมถึงพัฒนาการในทุกมิติของคน และ องค์กร ซึ่งจะต้องมี "ภาวะผู้นำ (Leadership)" ที่หมายถึง ลักษณะพิเศษด้วยการใช้อิทธิพล ชี้นำให้บุคลากรมุ่งไปสู่เป้าหมาย และ ความสำเร็จตามวัตถุประสงค์ได้

48. มนุษย์เงินเดือนกับการเปลี่ยนงาน

ในโลกของธุรกิจ หรือ กิจการลักษณะต่าง ๆ ย่อมมีลักษณะพื้นฐานที่แตกต่างกัน ในขณะที่ผู้ประกอบการจะต้องบริหาร และ พัฒนาองค์กรอย่างเต็มที่ เพื่อความสำเร็จ การเติบโต และ ผลกำไรแก่ผู้ประกอบการ/ ผู้ถือหุ้น แน่นอนว่าพนักงาน หรือ มนุษย์เงินเดือนจะแตกต่างออกไป เพราะได้รับค่าตอบแทนเป็นเงินเดือน และ สวัสดิการเฉพาะตอนทำงานนั้น ๆ เท่านั้น ดังนั้นมนุษย์เงินเดือนอาจมีความเป็นไปได้ที่จะหาโอกาสในการเติบโต ทั้งเงินเดือน หรือ สวัสดิการที่จะได้จากการย้ายที่ทำงานใหม่
อย่างไรก็ตาม การเปลี่ยนงาน ก็มีปัจจัยที่ต้องพิจารณาเป็นขั้นตอน ดังนี้

49. นิสัยเพื่อนร่วมงาน ที่ควรอยู่ใกล้ และ ควรถอยห่าง

การทำงานของคนเรา มีทั้งที่ใกล้ชิดในสายงาน ทั้งที่เป็นระดับบนเรา ระดับเดียวกัน หรือ ผู้ใต้บังคับบัญชา หรือ คนสายงานอื่น ๆ ที่ห่างออกไปจากสายงาน แต่ก็อาจมีความสัมพันธ์ในงาน และ เรื่องทั่วไปได้ด้วยเช่นกัน อย่างไรก็ตามเราต้องรู้จัก "เลือกคบคน" และ "เลี่ยงคบคน" 10 ลักษณะดังนี้
เลือกคบ

50. การพัฒนาการตลาดแบบ "พันธมิตรตราสินค้า (Co - Branding)" เพื่อต่อยอดความสำเร็จ

โลกแห่งการแข่งขันของธุรกิจในปัจจุบัน ไม่ว่าผลิตภัณฑ์ (Product) นั้นจะเป็น "สินค้า" หรือ "บริการ" ที่นำเสนอสู่ตลาดก็ตาม ล้วนเผชิญการแข่งขันที่ดุเดือดไม่ว่าจะเป็นการทำผลิตภัณฑ์ในประเทศ หรือ ระดับโลกก็ตาม และ แน่นอนว่าผู้ประกอบการ ต้องเน้นทำตลาดในการสร้างตราสินค้า (Brand) ที่มีอยู่ให้เป็นที่ยอมรับในตลาดได้อย่างต่อเนื่อง เติบโต และ ไม่ล้มหายไปจากการยอมรับของลูกค้าในตลาด
หนึ่งในกลยุทธ์ตราผลิตภัณฑ์ (Branding Strategy) ในปัจจุบันที่นิยมคือ "การทำตราผลิตภัณฑ์ร่วม" หรือ "พันธมิตรตราสินค้า (Co - Branding)" ที่เกิดจากการทำงานของผู้ประกอบการ 2 เจ้า ทำข้อตกลงเป็นพันธมิตร และ เชื่อในศักยภาพของกัน และ กันในการสร้าง "ตราร่วม" นำเสนอสู่ตลาด ได้แก่

51. คุณคือ ค่าเฉลี่ย 5 คนรอบตัว จริง หรือ ?

มีคำกล่าวที่เป็นอมตะว่า "You are the average of 5 people you spend the most time with" หรือ "คุณคือ ค่าเฉลี่ยของคน 5 คน ที่คุณใช้เวลาอยู่ด้วยมากที่สุด" ที่เป็นคำพูดอมตะของ Jim Rohn อีกทั้งยังมีนักพฤติกรรมศาสตร์อีกหลายคนออกมาสนับสนุนแนวทางนี้กว่าครึ่งศตวรรษ และ นำไปใช้จูงใจบุคลากรในองค์กรต่าง ๆ เช่น อยากเป็นนักขายที่เก่ง จงหาตัวอย่างนักขายที่ดี 5 คน เพื่อเป็นตัวอย่าง หรือ อยากเป็นผู้นำที่ประสบความสำเร็จ ให้ดูตัวอย่างสุดยอดผู้นำ 5 คน เป็นต้น
แนวคิดนี้เชื่อได้ว่า คนเราโดยทั่วไปจะมีค่าเฉลี่ย (Mean) ค่ากลางอยู่ในกลุ่ม 5 คนรอบตัวที่อยู่ด้วยเป็นหลักใน 3 ประเด็นหลัก

52. องค์กรเปลี่ยนคน คนเปลี่ยนองค์กร

ในการทำงานของคนเรา เมื่อองค์กรใด ๆ มีการรับคนเข้าทำงาน ก็จะมีกระบวนการการจัดการทรัพยากรมนุษย์ (Human Resource Management: HRM) ซึ่งได้แก่การทำงานเกี่ยวกับคนในองค์กร ตั้งแต่ก่อนเข้าจนถึงสุดทางที่คนออกจากองค์กร ได้แก่
1. การกำหนดโครงสร้าง และ กำหนดแรงงานตามตำแหน่ง (Structure Setting and Staffing)

53. ภาวะหมดไฟในการทำงาน ของคนทำงาน

ภาวะหมดไฟในการทำงาน (Burnout Syndrome) ของคนทำงาน
ในการทำงานของคนเรา อาจมีทั้งสุข และ ทุกข์ปะปนกันไปตามช่วงเวลา และ อารมณ์ โดยมากถ้ามีเรื่องที่เป็นบวกต่อเรา ก็จะมีแนวโน้มแห่งความสุข และ รักงาน แต่ในทางตรงกันข้ามที่เป็นด้านลบ ก็จะนำมาซึ่งความไม่พอใจ เสียใจ หรือ เบื่อหน่ายได้ ถ้าเป็นแค่ช่วงระยะเวลาสั้น ๆ ผ่านไปแล้ว อารมณ์ความรู้สึกก็จะกลับมาเป็นปกติ หากแต่เป็นสิ่งที่ติดอยู่ในใจ หรือ สิ่งลบนั้นกลับมาวนอยู่ตลอด อาจนำซึ่งอาการ "หมดใจ หรือ หมดไฟ" หรือ "หมดไฟในการทำงาน (Occupational Phenomenon or Burnout Syndrome)" ของคนทำงานได้

54. การตลาดผ่านเรื่องเล่า "Story Marketing" ให้สัมฤทธิ์ผล กับ สินค้า บริการ ตัวบุคคล องค์กร

บางครั้งการทำตลาด ก็ต้องมีการ " สร้างเรื่อง " ให้กินใจแบบ "มีอารมณ์ร่วม (Emotional Connection)" ระหว่าง "ผู้สื่อสาร (Sender)" ที่เป็นนักการตลาด กับ "ผู้รับสาร (Receiver)" เพื่อจุดประสงค์หลักคือ คล้อยตาม ติดหู ติดใจ ติดปาก ติดตา และ จดจำได้ ฝังไปใน "จิตใต้สำนึก (Subconscious)" เช่น ทำไมเราถึงจำได้ว่า ยาสีฟันชนิดหนึ่ง .. เค็มแต่ดี คือ เน้นสร้างเรื่องเล่าจากคุณสมบัติ หรือ ไอ้ฤทธิกิน .. เหล้าชนิดหนึ่ง ที่เนื้อหาสื่อว่า คนธรรมดา ใคร ๆ ก็กินได้ เป็นต้น ที่ติดปากกันทั่วบ้านทั่วเมือง
การสร้าง Story Marketing ทำได้โดยมีขั้นตอน ดังนี้

55. ชุดคำถามก่อนจัดการงานด้วย 5W1H

หากเรามีชิ้นงานที่ต้องทำ โครงการ/ โครงงาน หรือ มีปัญหาที่ต้องแก้ไข หนึ่งในชุดคำถามที่เราอาจตั้งไว้ในใจก่อน คือ 5W1H ซึ่งมีที่มาจาก
5W ได้แก่

56. การประเมินผลงาน ของตนเอง และ ทีมงาน

การประเมินผลงาน (Job Performance Appraisal) ของตนเอง และ ทีมงาน
การทำงานใดๆ มีความจำเป็นจะต้องทราบผลงาน และ ผลของคนที่ทำงานนั้นๆ ซึ่งองค์กรมีวัตถุประสงค์ต้องการทราบ ผลงาน พฤติกรรม ในขณะที่ตนเองก็จะได้ทราบศักยภาพตนกับเกณฑ์ เพื่อการลดข้อผิดพลาด การต่อยอดส่วนที่ดี และ ความเหมาะสมต่อการเติบโตในองค์กรต่อไป

57. ปิระมิดแห่งการเรียนรู้ (Learning Pyramid)

วันนี้ตื่นเช้ามามหาวิทยาลัย เห็นกลุ่มนิสิตใหม่ เตรียมตัวเรียนเสริมพื้นฐาน ทำให้นึกถึง สิ่งที่เคยสอนเรื่อง "การเรียนรู้ (Learning)" ในวิชา พฤติกรรมองค์การ ว่าด้วย ปิระมิดแห่งการเรียนรู้ (Learning Pyramid) กับนิสิต MBA จำได้ว่าช่วงปี 2555 -2556 ก็ได้อ่าน Harvard Business Review 2011 (2554) ที่พึ่งตีพิมพ์ออกมาตอนนั้น และ นำมาใช้สอนใน PowerPoint ด้วย
ว่ากันว่า การเรียนรู้ของการเรียน หรือ การจัดการศึกษา บ้างก็ว่ารูปแบบโบราณ คือ ผู้สอนเป็นศูนย์กลาง (Lecturer-centered Learning) และ สมัยใหม่ คือ ผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง (Student-centered Learning) ซึ่งก็แล้วแต่ว่าการศึกษานั้นจะปรับแต่งให้เหมาะสมอย่างไรระหว่างผู้เรียนกับครูผู้สอน ซึ่งก็มีข้อถกเถียงว่าการเรียน - การสอน อย่างไรให้ได้ประโยชน์ หรือ มีประสิทธิภาพที่ดี แต่จากบทความวิจัยในเรื่องปิระมิดแห่งการเรียนรู้ ได้แสดงให้เห็นถึงประสิทธิภาพของ "ความจำจากการเรียน (Learned Memory)" ที่ได้ผ่านไป 24 ชม. ด้วยวิธีต่างๆ โดยไม่ได้ให้ทบทวนสิ่งที่เรียนไปก่อนการทดสอบ

58. ผู้นำที่พึงประสงค์

ผู้นำ (Leader) ที่หมายถึง ผู้ที่มีทักษะในการโน้มน้าวใจ หรือ มีอิทธิพลต่อคนอื่น ๆ ในการชี้นำ หรือ ให้ทำสิ่งใด ๆ อาจด้วย อำนาจ (Power) อำนาจหน้าที่ (Authority) ตำแหน่ง (Position) และ ภาวะผู้นำ (Leadership) ที่ส่งผลต่อความเคารพ นับถือ เกรงกลัว เชื่อฟัง และ ปฏิบัติตามที่ผู้นำต้องการ
อย่างไรก็ตาม ในองค์กร ที่จะมี หัวหน้างาน ส่วนงาน ฝ่ายงาน หรือ ผู้บริหารระดับองค์กรที่มีศักยภาพแห่งผู้นำจำเป็นจะต้องมี "คุณลักษณะ (Attributes)" และ "บทบาทหน้าที่ (Role)" ดังนี้

59. ผู้บริหารกับการประเมินบุคลากร : ปิดตา คลำช้าง

ผู้บริหารกับการประเมินบุคลากร : ปิดตา คลำช้าง? (Personel Appraisal)
เป็นเรื่องปกติที่การทำงาน ไม่ว่าองค์กรใหญ่ หรือ เล็ก จะอยู่ภาครัฐ หรือ เอกชน ต่างก็ต้องมีการประเมินบุคลากร เช่น รายปี รายไตรมาส ซึ่งผู้บริหารต่างก็ต้องมีการประเมินบุคลากร หรือ ทีมงานของตน หากแต่การประเมินนั้นเป็นการประเมินผู้ใต้บังคับบัญชาโดยตรงลงไปหนึ่งชั้นติดตัว (One-Down Subordinates) ที่ทำงานอยู่ด้วยกันตลอด ใกล้ชิดแทบตลอดเวลาของงาน ก็จะสามารถประเมินได้ แต่ถ้าผู้ใต้บังคับบัญชามีจำนวนมาก เช่น เป็นสิบคน เป็นร้อยคน การที่จะได้ติดตาม "ผลงานเฉพาะตน (Individual Work)" ก็จะทำได้ยากขึ้นตามลำดับ ตามขนาดทีมที่ต้องดูแล หรือ กรณีที่ผู้บริหารระดับองค์กร/ ผู้บริหารระดับสูง ที่มีผู้ใต้บังคับบัญชาสองชั้นลงไป หรือ มากกว่า (Two-Down Subordinates or More) ก็จะทำให้มีความห่างในการได้เห็นเพื่อพิจารณาผลงาน ยิ่งถ้าองค์กรขนาดใหญ่/ ระดับชาติ ก็จะทำให้ผู้บริหารระดับสูงมีโอกาสน้อยมากที่จะได้เห็นผลงานด้วยตนเอง ยิ่งห่างระดับ หรือ สถานที่ห่างกัน ก็จะยิ่งเป็นปัจจัยที่จะมีภาพประเมินบุคลากรคนนั้นได้อย่างแท้จริง เช่น เคยเจอเดือนละครั้ง ปีละครั้ง เป็นต้น

60. ฆ่าน้อง ฟ้องนาย ขายเพื่อน

"ฆ่าน้อง ฟ้องนาย ขายเพื่อน" กับทฤษฎีกลไกป้องกันตนเองของคนทำงานเชิงลบในทฤษฎี "พฤติกรรมองค์การ (Organizational Behavior)"
การทำงานของคนเราในชีวิตจริง จะเห็นได้ว่าจะมีการวัดที่ผลงานคนได้หลากหลายมิติ เช่น คนเก่งงาน (Task Oriented) หรือ คนเก่งคน (Relation Oriented) หรือ มองถึงทักษะการจัดการ เช่น การวางแผน (Planning) การจัดองค์กร (Organizing) การมีการทักษะนำ (Leading) และ การควบคุมดูแล (Controlling) หรือ อาจจะมองผลของงาน เช่น มีประสิทธิภาพ (Efficiency) หรือ ประสิทธิผล (Effectiveness) หรือ มิติการวัดผลลัพธ์ที่ได้ เช่น เชิงปริมาณ (Quantity) หรือ เชิงคุณภาพ (Quality) เป็นต้น

61. กำแพงองค์กร คนในอยากออก คนนอกอยากเข้า

"กำแพงองค์กร" คนในอยากออก คนนอกอยากเข้า เพราะอะไร?
เราคงเคยได้ยินกันบ่อยๆ ว่าองค์กร หรือ บริษัทนั้น บริษัทนี้ดี น่าสนใจ น่าร่วมงาน หรือ แม้แต่นักลงทุน ที่อาจสนใจในการลงทุน/ ซื้อหุ้น หรือ องค์กรนั้นไม่ดี ไม่น่าเข้าไปทำงาน เป็นต้น

62. คุณค่าของการจัดการเวลาในงาน

คุณค่าของการจัดการเวลาในงานกับ "การจัดการเวลาด้วย Eisenhower Box"
เวลา (Time) เป็นสิ่งที่จับต้องไม่ได้ แต่มีความสำคัญอย่างยิ่งในวิถีชีวิตของคน ตั้งแต่วันเกิดก็ยังดูเวลาตกฟากเป็นฤกษ์คุมชีวิต หรือ เวลาที่เหมาะสมของชีวิตในการทำกิจกรรมที่สำคัญ วันสำคัญต่างๆ หรือ การพิจารณาเวลาในแต่ละช่วงเวลาของวันในการทำสิ่งต่างๆ เป็นต้น

63. เก่งงานตน หรือ ช่วยเสริมงานส่วนอื่น จะก้าวหน้าในองค์กรกว่ากัน

คำถาม ก่อนเข้าเรื่อง: สมมติ พนักงานช่างคนที่ 1 มีทักษะในงานช่าง และ ซ่อมบำรุงสิ่งต่าง ๆ และ ไปช่วยงานภูมิทัศน์ด้วยในเวลาที่ไม่มีหน้าที่ช่าง ในขณะที่พนักงานช่างคนที่ 2 ที่ทำหน้าที่ในงานช่างอย่างเดียว ไม่ช่วยงานอื่น ถ้าท่านเป็นหัวหน้างาน จะมีเกณฑ์พิจารณาความดีความชอบระหว่าง 2 คน อย่างไร? (ลองพิจารณาก่อนเข้าเรื่อง)
โดยปกติแล้วจะเริ่มจากหน้าที่ของ "การจัดการทรัพยากรมนุษย์ (Human Resource Management: HRM)" ซึ่งเป็นกระบวนการพื้นฐานในการจัดการ "คน" ในองค์กร ได้แก่

64. ตรงจุด ธุรกิจบริการ ด้วย สามเหลี่ยมการตลาดบริการ

ตรงจุด "ธุรกิจบริการ" ด้วย "สามเหลี่ยมการตลาดบริการ (Service Marketing Triangle)"
ในภาพกว้างในการดำเนินธุรกิจของกิจการต่าง ๆ ไม่ว่าจะกิจการขนาดเล็ก กลาง ใหญ่ หรือ ธุรกิจข้ามชาติก็ตาม อาจมีการนำเสนอสู่ตลาด 3 ลักษณะ ได้แก่

65. ศิลปะแห่งการให้คำชม และ การตำหนิ ในที่ทำงาน

การทำงานใด ๆ ก็ตาม คนเราย่อมมีทั้งทำถูก ทำผิดพลาด ทำดีเป็นบวก และ ทำลบเป็นผิด ซึ่งเป็นเรื่องปกติของการทำงานของคนทำงาน ดังที่อาจจะเคยได้ยินเสมอ ๆ ว่า คนที่ไม่เคยทำงานผิด แสดงว่าเป็นไม่ทำงานนั่นเอง
ซึ่งผลของงานนั้นๆ หัวหน้างานอาจจะมีการประเมินงานผลตามแนวทางที่เรียกว่า การให้คุณ หรือ ให้โทษ (Reward and Punishment) กับบุคคลที่ทำงานเป็นบวก หรือ ลบนั้น แม้ว่าคนเราจะมีพื้นฐาน " อยากได้ยินสิ่งที่ตนเองต้องการ (People here what they want to hear) " ก็ตามที ดังนั้นหัวหน้างานควรมีศิลปะในการพูดคุย ดังนี้

66. สัมพันธภาพใน และ นอกเวลางาน พลังบวกที่ต่างมุมในการบริหารทีม

ท่านมีสัมพันธ์กับคนในที่ทำงานอย่างไรบ้าง? และ ท่านเคยไปทานข้าว หรือ กิจกรรมที่ไม่ใช่งานกับ หัวหน้า เพื่อนร่วมงาน ลูกน้อง หรือ ไม่? ปีละกี่ครั้ง?
โดยพื้นฐานแล้วมนุษย์เป็นสัตว์สังคม (Social Animal) ที่จะอยู่เป็นกลุ่มก้อน มีความผูกพัน และ สื่อสารสังคมระหว่างกัน ทั้งในชีวิตส่วนตัว ครอบครัว กลุ่มเพื่อน กลุ่มกิจกรรม และ รวมถึงในสถานที่ทำงานด้วย

67. ปฏิบัติการเผื่อแผ่ความรัก และ ปรารถนาดีระหว่างหัวหน้าที่มีต่อลูกน้อง

สัมพันธภาพที่ดี และ ความจริงใจระหว่างกันของคนเราในสังคม ย่อมทำให้เกิดการสร้างความเชื่อใจ สบายใจ สุขใจ ในการเป็นสังคมที่ดี และ การทำงานในองค์กรเป็นหนึ่งในการรวมกลุ่มคน ที่มีภาระหน้าที่ ความรับผิดชอบ และ ทำงาน หรือ กิจกรรมใดๆไปยังเป้าหมายที่ตั้งใจไว้ ดังนั้นการที่คนเราทำงานอยู่ร่วมกันในองค์กรใดๆก็ตามพลังเชิงบวกที่มีให้กับคนรอบข้างจึงสำคัญ ทั้งก่อให้เกิดผลดีต่อองค์กร และ ความสัมพันธ์ระหว่างกันที่ดีระยะยาว
สัมพันธภาพที่หัวหน้าพึงกระทำต่อลูกน้องดังนี้
Dir : tec File : handbook_tec_63.txt Topic : kritsada_fb

Reset | Decode
คุณคิดอะไรอยู่
Thaiall.com