thaiall logomy background

การพัฒนาการตลาดแบบ "พันธมิตรตราสินค้า (Co - Branding)" เพื่อต่อยอดความสำเร็จ โดย ผศ.ดร.กฤษฎา ตันเปาว์

my town
กฤษฎา ตันเปาว์ | จริยธรรมสำหรับผู้บริหาร | วิจัยคืออะไร | ศูนย์สอบ | KM | SWOT | คำสำคัญ
เลือกบทความ

50. การพัฒนาการตลาดแบบ "พันธมิตรตราสินค้า (Co - Branding)" เพื่อต่อยอดความสำเร็จ

โลกแห่งการแข่งขันของธุรกิจในปัจจุบัน ไม่ว่าผลิตภัณฑ์ (Product) นั้นจะเป็น "สินค้า" หรือ "บริการ" ที่นำเสนอสู่ตลาดก็ตาม ล้วนเผชิญการแข่งขันที่ดุเดือดไม่ว่าจะเป็นการทำผลิตภัณฑ์ในประเทศ หรือ ระดับโลกก็ตาม และ แน่นอนว่าผู้ประกอบการ ต้องเน้นทำตลาดในการสร้างตราสินค้า (Brand) ที่มีอยู่ให้เป็นที่ยอมรับในตลาดได้อย่างต่อเนื่อง เติบโต และ ไม่ล้มหายไปจากการยอมรับของลูกค้าในตลาด
หนึ่งในกลยุทธ์ตราผลิตภัณฑ์ (Branding Strategy) ในปัจจุบันที่นิยมคือ "การทำตราผลิตภัณฑ์ร่วม" หรือ "พันธมิตรตราสินค้า (Co - Branding)" ที่เกิดจากการทำงานของผู้ประกอบการ 2 เจ้า ทำข้อตกลงเป็นพันธมิตร และ เชื่อในศักยภาพของกัน และ กันในการสร้าง "ตราร่วม" นำเสนอสู่ตลาด ได้แก่
1) ผลิตภัณฑ์กับผลิตภัณฑ์ (Product- Product Co- Branding)
เป็นการสมาสกันระหว่างสินค้า/บริการ ของสองผู้ประกอบการร่วมกัน เช่น ไอศครีม Holanda (Wall' s) กับผลิตภัณฑ์คุกกี้ต่าง ๆ มาทำตราร่วม เช่น Oreo หรือ M&M's หรือ ตัวอย่างของรถยนต์ BMW ทำการตลาดร่วมกับเครื่องหนังระดับโลกในรถรุ่นพิเศษที่มาพร้อมกระเป๋า Louis Vuitton หรือ ปรากฏการณ์ใหม่ของนาฬิกาสองเจ้า Omega กับ Swatch ทำรุ่นพิเศษร่วมกันโดยแบบของ Omega และ การใช้วัสดุภัณฑ์ของ Swatch เป็นต้น
2) ผลิตภัณฑ์กับบุคคล (Product - Human Co- Branding)
เป็นการทำงานร่วมกันของผลิตภัณฑ์กับคน (ที่มีชื่อเสียง และ ภาพลักษณ์) เช่น รองเท้า Adidas ทำการตลาดกับนักร้องดังระดับโลก Kanye West แร็ปเปอร์ชื่อดังระดับโลกที่เก่งออกแบบ ออกรองเท้า "Adidas Yeezy" ที่ขายดีทั่วโลก และ มีเสื้อผ้าด้วยกันอีกด้วย หรือ ดีไซเนอร์ชื่อดังกับเสื้อผ้า Alexander Wang X H&M ที่ออกมาเปรี้ยงปร้างในตลาดแฟชั่น เป็นต้น
ในรูปแบบผลิตภัณฑ์กับบุคคลนี้ อาจมีลักษณะใกล้เคียงกับที่ผู้ประกอบการดึง "บุคคล" ที่มีภาพลักษณ์ดี แต่ไม่ได้มีผลประโยชน์ในการทำตลาดร่วม แต่นำมาเป็นการเสริมภาพลักษณ์ในรูปแบบของ "ทูตตราผลิตภัณฑ์ (Brand Ambassador)" ที่มีสัญญาในการใช้ หรือ บริโภคสินค้านั้น ๆ หรือ แค่เป็นนำมาเป็น "ผู้แนะนำสินค้า (Presenter)" ในการทำสื่อการตลาด เช่น เพื่อการโฆษณา หรือ จัดกิจกรรมการตลาดแนะนำสินค้า เป็นต้น ซึ่งก็เป็นรูปแบบย่อยลงมานั่นเอง
ทั้งนี้ การทำตลาดพันธมิตรตราสินค้า ก่อให้เกิดประโยชน์หลายด้าน ได้แก่
- การเสริมภาพลักษณ์ในการนำเสนอสู่ตลาดในการผสานชื่อเสียง
- ลดต้นทุนในการทำตลาดแยกของตนเองแต่ละผู้ประกอบการ
- เป็นการหาจุดยืนขายใหม่ (Re-Product Positioning) เพื่อสร้างจุดเล่นใหม่ในตลาด
- ลดความเสี่ยงในการทำตลาดในหน้าเดิมของตราสินค้าที่มีอยู่ และ การแข่งขันเฉพาะตน
- เป็นการเสริมแรงระหว่างตรา สร้างผลกระทบแบบเสริมแรงในตลาดระยะยาว
- เป็นการขยายฐานลูกค้าร่วมกัน ระหว่างกัน ให้เกิดความชื่นชอบ และ ความภักดีในตราสินค้า (Brand Loyalty) ไปควบคู่กัน
วันนี้กิจการของท่าน หรือ งานที่ท่านทำอยู่ ได้มีกลยุทธ์การทำตลาดแบบพันธมิตรตราสินค้าแล้ว หรือ ยัง ได้ผลดี หรือ ไม่ อย่างไร
ด้วยความปรารถนาดี
ผศ.ดร.กฤษฎา ตันเปาว์
6 เมษายน 2565

รวมบทความของ ผศ.ดร.กฤษฎา ตันเปาว์ จาก facebook.com
Kritsada Tunpow : ผศ.ดร.กฤษฎา ตันเปาว์ อธิการบดีมหาวิทยาลัยเนชั่น และกรรมการผู้จัดการ บริษัท ริช เรสเตอรองต์ จำกัด บริษัทจัดตั้งขึ้น เพื่อบริหารจัดการธุรกิจ โชคดีติ่มซำ และ โคขุนโพนยางคำ เป็นนักวิชาการอิสระ ผู้มีประสบการณ์ด้านการบริหารจัดการการตลาดมาอย่างมากมาย ได้จัดทำ คลิปวิดีโอ หลักสูตรการบริหารจัดการ เผยแพร่ผ่านช่อง Stepplus training และเขียนบทความแบ่งปันในเฟสบุ๊ค Kritsada Pop Tunpow อย่างต่อเนื่อง#
คลิกเปิดแบบ : พรีวิว หรือ ฉบับเต็ม
Dir : tec File : handbook_tec_63.txt Topic : kritsada_fb

Reset | Decode
คุณคิดอะไรอยู่
Thaiall.com