thaiall logomy background

การปรับภาพลักษณ์ด้วย ชื่อ หรือ ตรา กับการสร้างคุณค่าทางการตลาด โดย ผศ.ดร.กฤษฎา ตันเปาว์

my town
กฤษฎา ตันเปาว์ | จริยธรรมสำหรับผู้บริหาร | วิจัยคืออะไร | ศูนย์สอบ | KM | SWOT | คำสำคัญ
เลือกบทความ

46. การปรับภาพลักษณ์ด้วย ชื่อ หรือ ตรา กับการสร้างคุณค่าทางการตลาด

การทำธุรกิจ/กิจการใด ๆ ก็ตาม เมื่อการเติบโตที่ถึง "ขั้นอิ่มตัว (Maturity)" คือจุดที่การเติบโต เริ่มชะลอตัว อิ่มตัว อัตราการเติบโตแบบลดลง นั่นแสดงว่า กลยุทธ์การตลาด/ธุรกิจ ที่ทำให้เติบโตมาได้ถึงเวลาที่ "ไม่มีอะไรดึงดูด" หรือ "ไม่มีอะไรแปลกใหม่" ให้กับตลาด
ดังนั้นหนึ่งในกลยุทธ์การตลาดที่นิยมทำ คือ การปรับภาพลักษณ์ (Rebranding) ภาพรวมองค์กร ที่อาจรวมถึง สินค้าต่าง ๆ รูปแบบการบริการ ระดับราคาตัวต่างๆ ช่องทางการจำหน่ายใหม่ๆ การส่งเสริมการตลาดด้วยสื่อต่างๆใหม่ และ ที่สำคัญ "ตรายี่ห้อ (Brand)" เสียใหม่ ที่รวมถึง ชื่อ (Brand Name) ตราสินค้า (Brandmark) หรือ สัญลักษณ์ (Logo) เพื่อการทำตลาด
ดังนั้น หัวใจสำคัญ คือ เมื่อการทำตลาด อาจทำได้ ทั้ง สินค้า องค์ประกอบที่สำคัญของสินค้า รูปแบบการบริการ เทคนิค หรือ เทคโนโลยีใหม่ ๆ แม้แต่บุคคล หรือ สถานที่ ก็สามารถทำการตลาดได้ และ เมื่อถึงวาระที่อิ่มตัวในการยอมรับ ก็สามารถปรับภาพลักษณ์ (Rebranding) เปลี่ยนชื่อ หรือ ตรายี่ห้อ ในการสร้างภาพลักษณ์ คุณค่าใหม่ เพื่อปรับ "จุดยืนทางการตลาด (Positioning)" แต่ต้องมั่นใจว่าพร้อมในการ "ปรับใหญ่ (Major Change)" คือปรับส่วนสำคัญต่างๆทั้งองคาพยพ ให้เสมือนการเปลี่ยนโฉมเพื่อสร้าง "ภาพจำใหม่" จากการทำปรับภาพลักษณ์ (Rebranding) ในใจผู้บริโภค ได้จริง
หนึ่งในการสร้างภาพจำจากการปรับภาพลักษณ์นั้น หากมีการเปลี่ยน ชื่อ และ หรือ ตราสัญลักษณ์ ด้วย จะเป็นการสร้างภาพจำใหม่ได้ดีกับตลาด เช่น
LG = ที่เดิมเป็นผู้ประกอบการทำธุรกิจเครื่องใช้ไฟฟ้าในนาม Goldstar และ ทำธุรกิจร่วมกับบริษัท Lucky ที่เน้นการผลิตส่วนประกอบเครื่องใช้ไฟฟ้า มีการใช้ชื่อร่วมกันว่า Lucky Goldstar อยู่ช่วงหนึ่ง จนมีการควบรวมกิจการแบบสมบูรณ์แบบด้วยกัน ขยายการผลิตเครื่องใช้ไฟฟ้าครบวงจร ทำการตลาดทั่วโลก ปรับการบริหารองค์กรขนานใหญ่ และ เปลี่ยนชื่อเป็น LG และ ตราสินค้าต่าง ๆ ในครั้งนั้น
KFC = ร้านไก่ทอดที่โด่งดังในนาม Kentucky Fried Chicken ในรัฐเคนทักกี้ จากร้านเล็ก ๆ ของผู้พันแซนเดอส์ ที่มียอดขายที่ขายดี จนขยายตัวรวดเร็วจนต้องขายกิจการให้นักธุรกิจที่สามารถต่อยอดได้ จนขยายทั่วสหรัฐอเมริกา และ ในต่างประเทศบางประเทศ แล้วท้ายที่สุดเป็นกิจการของ Pepsi Co เพื่อดำเนินกิจการออกไปแบบทั้วโลก และ มีสูตรไก่ทอดแบบใหม่นอกเหนือจากสูตรดั้งเดิม และ มีกลุ่มอาหารทานเล่น และ แฮมเบอร์เกอร์หลากหลายเมนู เพื่อเป็นการสร้างตลาด กลุ่มใหม่ คนทำงาน และ วัยรุ่น และ ปรับชื่อเป็นอักษร KFC ในที่สุด
Meta/ Facebook = การปรับโฉมของพื้นฐานสื่อสังคมออนไลน์ระดับโลก ที่ก้าวเข้าสู่เทคโนโลยีอีกระบบ Platform ด้วย Metaverse ที่สื่อถึงรูปแบบการเข้าสู่ง "โลกเสมือนจริง" ด้วย Virtual Reality สำหรับโลกอนาคตอินเทอร์เน็ตขั้นสูง ที่รวมถึงการเปลี่ยนจุดยืนของบริษัท ทิศทางธุรกิจอนาคต การรองรับการทำเสมือนจริงของคนในสังคมออนไลน์แบบใหม่ และ รองรับโลกภาพยนตร์ การเชื่อมธุรกิจการค้าการรองรับธุรกรรมทางการเงินแบบ Virtual Reality การรองรับ VR -Gaming เป็นต้น การต่อยอดสร้าง Reality Labs เพื่อวิจัย และ พัฒนาต่อยอดในธุรกรรมหลากหลายมิติที่รองรับการเชื่อมระดับโลกทั้งของกิจการตนเอง และ พันธมิตรธุรกิจต่อไป ด้วยการปรับทั้งหมดนี้ จึงเป็นการสร้างความก้าวหน้าภายใต้ช่วงอิ่มตัวทางการตลาด และ ปรับชื่อเป็น Meta
นอกจากนี้บริษัทระดับโลก เมื่อเปลี่ยนผ่านช่วงสำคัญ หรือ ช่วงทศวรรษใหม่ และ มีการเติบโต ก็อาจจะมีการปรับโฉมให้มีภาพลักษณ์ที่ทันสมัยด้วยการเปลี่ยน ชื่อบริษัท โลโก้ หรือ สีสันประกอบด้วยเช่นกัน
ดังนั้นการเปลี่ยนที่อาจทำได้ทั้งสินค้า บริการ สถานที่ บุคคล หรือ สิ่งของ ต่างก็สามารถปรับภาพลักษณ์ด้วยชื่อ หรือ ตราได้ กรณีที่ประเทศไทยเรา โดยราชบัณฑิตฯ เปลี่ยนชื่อกรุงเทพฯ จากภาษาอังกฤษจาก Bangkok เป็น Krung Thep Maha Nakhon และ วันที่ 15 กุมภาพันธ์ 2565 ที่ประชุม ครม. มีมติเห็นชอบ ตามที่สำนักนายกรัฐมนตรีเสนอแล้ว โดยคนไทยชื่อคือเหมือนเดิม แต่ชาวต่างชาติจะเห็นจาก Bangkok เป็น Krung Thep Maha Nakhon แล้ว น่าจะใช้โอกาสที่เหมาะสมในการสร้างภาพลักษณ์ และ สร้างคุณค่าทางการตลาดระดับโลกมากขึ้นจึงจะดี เป็นเมืองที่มีการปรับโฉมใหม่ เช่น เมืองแห่งระบบสาธารณสุข และ ศูนย์กลางการแพทย์สุขภาพในภูมิภาค เมืองแห่งความทันสมัย แฟชั่น การค้า เมืองแห่งการกีฬาสันทนาการ เมืองศูนย์กลางอาหารระดับโลก เมืองท่องเที่ยวอันดับหนึ่งของโลก หรือ หาจุดเด่นใดๆที่เป็นบวก มีอภิมหาโปรเจ็คในการนำเสนอสู่โลก ที่จะ Rebranding เพื่อเห็นภาพ "Krung Thep Maha Nakhon" ที่เปลี่ยนผ่านยุคของบางกอก "Bangkok" ในปี 2022 ไปได้ด้วยภาพจำ และ จุดยืนใหม่ในตลาดโลก
ทุกท่านล่ะ คิดอย่างไรกับการปรับภาพลักษณ์ด้วย ชื่อ หรือ ตรา เพื่อการสร้างคุณค่าทางการตลาด
ด้วยความปรารถนาดี
ผศ.ดร.กฤษฎา ตันเปาว์
2 มีนาคม 2565

รวมบทความของ ผศ.ดร.กฤษฎา ตันเปาว์ จาก facebook.com
Kritsada Tunpow : ผศ.ดร.กฤษฎา ตันเปาว์ อธิการบดีมหาวิทยาลัยเนชั่น และกรรมการผู้จัดการ บริษัท ริช เรสเตอรองต์ จำกัด บริษัทจัดตั้งขึ้น เพื่อบริหารจัดการธุรกิจ โชคดีติ่มซำ และ โคขุนโพนยางคำ เป็นนักวิชาการอิสระ ผู้มีประสบการณ์ด้านการบริหารจัดการการตลาดมาอย่างมากมาย ได้จัดทำ คลิปวิดีโอ หลักสูตรการบริหารจัดการ เผยแพร่ผ่านช่อง Stepplus training และเขียนบทความแบ่งปันในเฟสบุ๊ค Kritsada Pop Tunpow อย่างต่อเนื่อง#
คลิกเปิดแบบ : พรีวิว หรือ ฉบับเต็ม
Dir : tec File : handbook_tec_63.txt Topic : kritsada_fb

Reset | Decode
คุณคิดอะไรอยู่
Thaiall.com