thaiall logomy background

ความสุขสมหวังกับชีวิตด้วยทฤษฎีการเรียนรู้ตัวตน โดย ผศ.ดร.กฤษฎา ตันเปาว์

my town
กฤษฎา ตันเปาว์ | จริยธรรมสำหรับผู้บริหาร | วิจัยคืออะไร | ศูนย์สอบ | KM | SWOT | คำสำคัญ
เลือกบทความ

30. ความสุขสมหวังกับชีวิตด้วยทฤษฎีการเรียนรู้ตัวตน

ความสุขสมหวังกับชีวิตด้วย "ทฤษฎีการเรียนรู้ตัวตน (Self Theory)"
เป้าหมายชีวิตของคนเรา ที่มีต่อเป้าหมายที่จะพาตนเองไปสู่ "ความสำเร็จที่คาดหวัง" เพื่อให้ชีวิตมีความสุข เป็นสิ่งที่ผลักดันคนเราให้ก้าวเดินต่อไป แน่นอนว่าคนเราวาดฝันปลายทางชีวิตต่างกัน บางคนเห็นภาพอนาคตในการเป็นคนเก่งในสายอาชีพ บางคนมองภาพในการเป็นเจ้าของกิจการใหญ่โต ในขณะที่บางคนอาจจะมองอนาคตแบบวันต่อวัน และ แน่นอนในเรื่องความสำเร็จ หรือ ความสุขในชีวิตอาจจะหา "มาตราวัด" ที่แท้จริงไม่ง่าย เพราะเราจะรู้ได้อย่างไรว่า พนักงานกวาดถนน กับ เจ้าของกิจการมูลค่าพันล้าน ชีวิตใครสุขแท้กว่ากัน
ถึงแม้ว่าไม่สามารถมีตัววัดความสุขสมหวังได้แน่ แต่หนึ่งในทฤษฎีที่ตอบโจทย์ "แนวทางแห่งที่มา" ของผลลัพธ์นั้นได้แก่
ทฤษฎีการเรียนรู้ของ คาร์ล โรเจอร์ (Roger's Self Theory) ผู้ที่เป็นนักจิตวิทยามนุษยนิยม บิดาของการแนะแนวแบบ Non-Directive เป็นผู้ให้ความสำคัญว่า "บุคคลจะมีความโน้มเอียงตามธรรมชาติที่จะพัฒนาตนเองทุก ๆ ด้าน เพื่อจะรักษา หรือ ครองไว้ ซึ่งความเป็นตัวของตัวเอง" และ พัฒนาให้ดีขึ้น เรียกว่าเป็น "แนวโน้มพัฒนาตน (Actualizing Tendency)" อยู่ตลอดเวลาของชีวิต
จากทฤษฎี ซึ่งฉายภาพของการวัด 2 ภาพใหญ่ ๆ ในความคิดตนระหว่าง
1) ภาพแห่งตัวตนที่แท้จริง (Real-self/ Self Imange)
ภาพว่าตอนนี้ ตนเองเห็นตนเองเป็นอย่างไร ในปัจจุบันที่กำลังเป็นไป และ มีส่วนเดินหน้าไปหาเป้าหมายที่ต้องการ
2) ภาพแห่งตนเองในอุดมคติ (Ideal-self)
ภาพที่ตนเองวาดฝันจะเป็น (ในอนาคต) ในด้านต่าง ๆ ที่เป็นเป้าหมายแห่งความสำเร็จ สุขสมหวัง ตามเป้าหมาย
ซึ่งภาพของ Real-self เทียบกับ Ideal-self อาจจะมีความต่าง หากมองเป็นภาพคณิตศาสตร์แบบ "เซ็ท (Set)" ก็จะมีความต่าง ถ้าต่างมาก (Incongruent) ชีวิตก็ยังไม่สุขสมหวัง ถ้าต่างน้อย (Congruent) ก็จะมีแนวโน้มแห่งความสุขสมหวังมากขึ้น จากภาพที่เป็น Ideal-self บางส่วนที่เริ่มเป็นจริง Real-self คือมีส่วน "ทับซ้อนกัน (Intersection)" และ คนเราก็จะพยายามไปสู่ "แนวโน้มพัฒนาตน (Actualizing Tendency)" ให้สองวงนี้ทับซ้อน กลืนทับกันให้มากที่สุดอย่างต่อเนื่อง ยิ่งวงทั้งสองมีส่วนทับซ้อนมากเท่าไหร่ ก็นำมาซึ่งความสุขสมหวังมากขึ้นตามมา (อย่าลืมว่า วันเวลาผ่านไป วงแห่ง Ideal-self อาจขยับหนีไป เพราะมีภาพแห่งอนาคตใหญ่ขึ้นหนีไปอีกด้วยได้)
วงดังกล่าวตามทฤษฎีการเรียนรู้ตัวตนนี้ หากมองในหลายเรื่องของชีวิตก็น่าจะได้ เช่น ภาพวงด้านการศึกษา ภาพวงของความก้าวหน้าในตำแหน่งหน้าที่ ภาพวงด้านอาชีพ/รายได้ ซึ่งอาจมีหลายอาชีพ หลายวงของรายได้ ภาพวงของธุรกิจ หลาย ๆ วงธุรกิจ หรือ ภาพวงเป้าหมายในชีวิตอื่น ๆ เป็นต้น
จากแนวพื้นฐานนี้ ตัวตนที่แท้จริง กับตัวตนในอุดมคติ ของแต่ละคนมีต่างกัน และ
ทุกคนมีพื้นฐานตนเอง ข้อดี ข้อเสีย พิจารณาจากศักยภาพ โอกาส จังหวะ ที่ไม่เหมือนกัน ดังนั้นคนที่จะตอบว่าพนักงานกวาดถนน กับเจ้าของธุรกิจพันล้าน ใครมีความสุขสมหวังกว่ากัน ไม่มีใครตอบได้ คือ คนนั้น ๆ ตอบเฉพาะตนเท่านั้น
คุณล่ะ วิเคราะห์ตนเองจากทฤษฎีของ Carl Rogers ได้วงภาพ Real-self กับ Ideal-self กี่ภาพที่นำมาซึ่ง "ความสุขสมหวัง" และ ความต่างระหว่างวงเป็นเช่นใด
ด้วยความปรารถนาดี
ผศ.ดร.กฤษฎา ตันเปาว์
16 พฤษภาคม 2564

รวมบทความของ ผศ.ดร.กฤษฎา ตันเปาว์ จาก facebook.com
Kritsada Tunpow : ผศ.ดร.กฤษฎา ตันเปาว์ อธิการบดีมหาวิทยาลัยเนชั่น และกรรมการผู้จัดการ บริษัท ริช เรสเตอรองต์ จำกัด บริษัทจัดตั้งขึ้น เพื่อบริหารจัดการธุรกิจ โชคดีติ่มซำ และ โคขุนโพนยางคำ เป็นนักวิชาการอิสระ ผู้มีประสบการณ์ด้านการบริหารจัดการการตลาดมาอย่างมากมาย ได้จัดทำ คลิปวิดีโอ หลักสูตรการบริหารจัดการ เผยแพร่ผ่านช่อง Stepplus training และเขียนบทความแบ่งปันในเฟสบุ๊ค Kritsada Pop Tunpow อย่างต่อเนื่อง#
คลิกเปิดแบบ : พรีวิว หรือ ฉบับเต็ม
Dir : tec File : handbook_tec_63.txt Topic : kritsada_fb

Reset | Decode
คุณคิดอะไรอยู่
Thaiall.com