thaiall logomy background

พื้นที่แสนสบาย (Comfort Zone) กับการทำงาน มีจริง หรือ โดย ผศ.ดร.กฤษฎา ตันเปาว์

my town
กฤษฎา ตันเปาว์ | จริยธรรมสำหรับผู้บริหาร | วิจัยคืออะไร | ศูนย์สอบ | KM | SWOT | คำสำคัญ
เลือกบทความ

24. พื้นที่แสนสบาย (Comfort Zone) กับการทำงาน มีจริง หรือ

เราคงเคยได้ยินคำพูดที่ว่า "ทำงานแบบที่คุ้นชิน" เหมือนอยู่ใน Comfort Zone พื้นที่แสนสบาย หรือ พื้นที่ปลอดภัย ที่มักจะมีกลิ่นอายของคำว่า "เดิม ๆ " แฝงมาด้วย
คนอยู่ใน Comfort zone มักถูกผูกไว้ว่าเป็นกลุ่ม "มนุษย์เงินเดือน (Salary Man)" ไม่ได้ทำฝัน หรือ กิจการของตนเอง ความจริงแล้วมุมมองนี้อาจไม่ถูกต้องนัก เพราะความจริง การที่อยู่ในพื้นที่แสนสบายนี้อาจเป็นทั้งมนุษย์เงินเดือน และ เจ้าของกิจการก็ได้ที่อยู่แบบเดิม ๆ นั้น โดยสามารถขยาย "พื้นที่ (Zoning)" 4 ลักษณะ ดังนี้
1) พื้นที่แสนสบาย (Comfort Zone)
มนุษย์เงินเดือน และ เจ้าของกิจการ ที่ชอบ สบาย คิดว่าปลอดภัย และ อยู่ในสถานะที่ดี ในตำแหน่ง หรือ ในการแข่งขันธุรกิจ ที่ยังดีอยู่ แต่ในโลกที่เปลี่ยนแปลงไป มี "พลวัตร (Dynamic)" ในเรื่องต่าง ๆ ที่คนทำงานก็ต้องพัฒนาตน ตามรูปแบบการทำงาน เทคโนโลยี หรือ ลักษณะองค์กรที่ต้องเปลี่ยนไป ธุรกิจเองก็ต้องปรับปรุง พัฒนา และ หาโอกาสธุรกิจเพิ่มเติม ถ้าไม่เปลี่ยน คือ หยุด ช้า จะมีคนแซง ตกขบวนรถในการหมุนไปของโลกนั่นเอง คนทำงานอาจตกงาน/ กิจการอาจต้องล้มเลิกกิจการไปได้เช่นกัน
2) พื้นที่แห่งความกลัว (Fear Zone)
เป็นพื้นที่ ถ้ามนุษย์เงินเดือน หรือ เจ้าของกิจการ อยากจะก้าวออกไปทำอะไรที่เป็น "สิ่งใหม่" จะมีความกลัว ลังเล ขาดความมั่นใจ ประวิงโดยหาข้ออ้าง และ ซ้ำร้ายสุดคือไปฟังความเห็นคนอื่นที่เป็นเชิงตรงข้ามกับสิ่งเราจะขยับไป มากกว่าเสียงในใจตนที่มีมุมก้าวไป ถ้าเราปล่อย "พลังต่อต้าน (Restrained Force)" นี้ให้มีน้ำหนักมากกว่าในใจเรา ก็จะถอยตนเองกลับไป Comfort Zone
3) พื้นที่การเรียนรู้ (Learning Zone)
ถ้าก้าวข้ามพื้นที่ความกลัวมาได้ มนุษย์เงินเดือนที่ต้องการก้าวหน้าในตำแหน่งที่สูงขึ้น หรือ ย้ายองค์กร และ เจ้าของกิจการที่ต้องการขยายธุรกิจ หรือ สร้างธุรกิจใหม่ ก็ต้องเร่ง หาความรู้ เรียนรู้ หาโอกาส เพิ่มทักษะใหม่ และ ท้าทายปัญหาที่ต้องเผชิญ วิธีการลงแรงลงทุนเพื่อหาแนวทางในการพัฒนาตนพัฒนากิจการเดินต่อไปได้นั่นเอง
4) พื้นที่การเติบโต (Growth Zone)
คือ เป้าหมายตนเอง หรือ องค์กร ที่ต้องการไปยืนให้ได้ ดังนั้นต้องมี วัตถุประสงค์ เป้าหมาย แรงบันดาลใจ ฝันที่ปลายทาง ก่อให้เกิด "แนวคิดรวบยอด (Mindset)" เพื่อให้มีกระบวนการเดินไปถึงจุดนั้นของตน หรือ องค์กรตามมา ที่ท้ายที่สุดแล้ว ก็จะกลายเป็น "พื้นที่แสนสบาย (Comfort Zone)" ต่อไปในอีกระดับที่ดีกว่าในอนาคต (ในระยะหนึ่ง)
ดังนั้นจะเห็นได้ว่า Comfort Zone เป็นเรื่องชั่วคราว ไม่มีจริง ถ้า "อยู่แบบเดิม ๆ " วันนึงก็ล้าหลัง ไม่ว่ามนุษย์เงินเดือน หรือ เจ้าของกิจการ ดังนั้นต้องพลวัตต่อไปเรื่อย ๆ นั่นเอง และ แน่นอนว่า จะต้องมีการทบทวนตน ทบทวนองค์กรแบบนี้อยู่เสมอ อาจเป็น รายปี รายเดือน รายวัน ก็สุดแล้วแต่ความเหมาะสมที่เรามีในความคิดรวบยอด (Mindset) อยู่นั่นเอง
ทางหนี Comfort Zone 10 ประการ
1. หาข้อมูลใหม่อยู่เสมอ (Get Informed)
2. หาเป้าหมายใหม่ (Set Goals)
3. สร้างกรอบแนวคิดบวก (Keep in Positive Mindset)
4. กระตุ้นเตือนตนเองเสมอ (Coach Yourself)
5. ทบทวนความสำเร็จที่มีอยู่ (Revisit self-accomplishment)
6. ท้าทายกิจวัตรรูปแบบใหม่ (Challenge own Routine)
7. สะกดจิตตนว่าสามารถทำได้ (Project the Successor)
8. ปรับตนเองให้พร้อมทางกายภาพ (Get Physical)
9. ผลักดันภาพสำเร็จให้เป็นนิสัย(Change Mindset to Habit)
10. พัฒนาตนต่อเนื่องในทุกอุปสรรค (Learn from Obstacles)
ท่านล่ะ วันนี้เป็นมนุษย์เงินเดือน หรือ เจ้าของกิจการที่อยู่ในพื้นที่แสนสบาย อยู่ หรือ เปล่า
ด้วยความปรารถนาดี
ผศ.ดร.กฤษฎา ตันเปาว์
11 มีนาคม 2564

รวมบทความของ ผศ.ดร.กฤษฎา ตันเปาว์ จาก facebook.com
Kritsada Tunpow : ผศ.ดร.กฤษฎา ตันเปาว์ อธิการบดีมหาวิทยาลัยเนชั่น และกรรมการผู้จัดการ บริษัท ริช เรสเตอรองต์ จำกัด บริษัทจัดตั้งขึ้น เพื่อบริหารจัดการธุรกิจ โชคดีติ่มซำ และ โคขุนโพนยางคำ เป็นนักวิชาการอิสระ ผู้มีประสบการณ์ด้านการบริหารจัดการการตลาดมาอย่างมากมาย ได้จัดทำ คลิปวิดีโอ หลักสูตรการบริหารจัดการ เผยแพร่ผ่านช่อง Stepplus training และเขียนบทความแบ่งปันในเฟสบุ๊ค Kritsada Pop Tunpow อย่างต่อเนื่อง#
คลิกเปิดแบบ : พรีวิว หรือ ฉบับเต็ม
Dir : tec File : handbook_tec_63.txt Topic : kritsada_fb

Reset | Decode
คุณคิดอะไรอยู่
Thaiall.com