thaiall logomy background

เข้าใจมุมมองความคิดคน ด้วยคณิตศาสตร์เรื่องเซต โดย ผศ.ดร.กฤษฎา ตันเปาว์

my town
กฤษฎา ตันเปาว์ | จริยธรรมสำหรับผู้บริหาร | วิจัยคืออะไร | ศูนย์สอบ | KM | SWOT | คำสำคัญ
เลือกบทความ

17. เข้าใจมุมมองความคิดคน ด้วยคณิตศาสตร์เรื่องเซต

ในทุกวันนี้นับวัน โลกของเราหมุนเร็ว เดินไว ด้วยเทคโนโลยี และ ข้อมูลต่าง ๆ รอบตัวเรา โดยเฉพาะผ่านสื่อ Online และ Social Network รูปแบบต่าง ๆ แน่นอนว่า คนแต่ละคนย่อมได้ข้อมูลเรื่องใด ๆ ต่างกัน อีกทั้งคนทุกคนเข้าใจเรื่องใดเรื่องหนึ่ง หรือ "ตีความ" เรื่องนั้น ๆ ต่างกันแม้เห็น รับรู้ หรือ เรียนรู้ พร้อมกัน เพราะ "ทัศนคติ (Attitude)" ที่หมายถึง มุมมอง และ ฐานความคิด ค่านิยม ประสบการณ์ และ พันธุกรรม แตกต่างกัน ที่อาจรวมถึง เหตุผล (Rational) และ อารมณ์ (Emotion) ณ ขณะเวลานั้นของคน กลุ่มคน สังคม ประเทศชาติในเรื่องต่าง ๆ ที่มีเฉพาะตนเอง
ดังนั้น เรื่องใด ๆ ที่เห็นไม่ตรงกัน เช่น ความคิดเห็น ข้อเท็จจริง เหตุการณ์ สถานการณ์ งานที่ทำ การเมือง ศาสนา ความรัก เรื่องราวในชีวิตประจำวัน เป็นต้น ที่คนเราเห็นต่างไม่ตรงกัน จนบางครั้งมักมีคำพูดเล่นว่า "ความเห็นไม่ตรงกัน การพนันจึงเกิดขึ้น"
คนเราจะคิดเหมือน คิดต่าง อธิบายง่าย ๆ ด้วย เซต (Set) ด้วยแผนภาพเวนน์-ออยเลอร์ (Venn- Euler Diagram) โดย ความรู้ ความคิดของคนเราก็เหมือนมีฐานข้อมูล ที่มีความรู้ ความคิดเห็น เรื่องใดเรื่องหนึ่ง เช่น งานที่ทำกันอยู่เป็นเรื่องที่พูดถึงเรื่องใดเรื่องหนึ่ง (ที่ศึกษา) เรียกว่า "เอกภพสัมพัทธ์ (Relative Universe)" คือ เซตที่กำหนดขอบเขตของสิ่งที่ต้องการศึกษา เป็นเซตจำกัด (Finite Set) เป็นเซ็ทของตนเอง โดยเรามีเซต A ที่มีความรู้ ความคิดเห็นเป็น 1 2 3 4 5 (ตามภาพ) แต่เพื่อนเราคือ B มีความรู้ ความคิดเป็น 3 5 6 7 8 นั่นหมายถึง ในเรื่องงานนี้มีภาพรวม หรือ "ยูเนียน (Union) " = A ? B คือ ความคิดเห็นเรื่องงานนี้รวมทั้งหมดระหว่างกัน คือ 1 - 8 แต่ที่เห็นตรงกัน คือ 3 กับ 5 เท่านั้น เรียกว่าส่วนที่ตรง และ ซ้ำทับกัน คิดเหมือนกัน เรียกว่า "อินเตอร์เซกชัน (Intersection)" หรือ A ? B ดังนั้นในส่วนต่างก็ต้องประชุมพูดคุยทำความเข้าใจระหว่างกันต่อไป และ แน่นอนว่าในโลกความเป็นจริง คนเรามีพื้นฐานข้อมูลเซ็ตแตกต่างกันได้มาก ยิ่งหลายเรื่องก็ยิ่งมีความต่าง และ ยิ่งถ้า 3 คน โอกาสที่จะมีความรู้ ความคิดเห็นที่จะ อินเตอร์เซกชันกันก็ยากขึ้น ดังนั้นยิ่งเป็นกลุ่มคน องค์กร ชุม สังคม ประเทศ ในวงกว้างออกไป ก็จะยิ่งต่างกันด้วยทัศนคติที่อาจไม่มีช่วงที่อินเตอร์เซกชันกันเลยก็ได้ เรียกว่าเป็น "เซทไม่มีข้อมูลร่วม (Disjointed Set)" กันได้
ในขณะที่ทุกคนเป็น "ปัจเจก (Individual)" ดังนั้น สิ่งที่จะทำให้เกิดความเข้าใจตรงกัน เพิ่มสัดส่วนในอินเตอร์เซกชัน คือ การให้ข้อมูล การศึกษา อบรมพัฒนา และ แบ่งปัน ถึงแม้ว่าอาจจะไม่ได้ดังหวังทั้งหมด และ หากไม่สามารถมีความรู้ ความคิดเห็นที่ตรงกันได้ เราก็ต้องพยายามเข้าใจความต่างของทัศนคติของเขานั่นเอง
"ต่างคนต่างความคิด ต่างจิตต่างใจ อย่าตำหนิติดตียนใคร หากเขาคิดอะไร ไม่ตรงกับเรา"
ด้วยความปรารถนาดี
ผศ.ดร.กฤษฎา ตันเปาว์
16 สิงหาคม 2563

รวมบทความของ ผศ.ดร.กฤษฎา ตันเปาว์ จาก facebook.com
Kritsada Tunpow : ผศ.ดร.กฤษฎา ตันเปาว์ อธิการบดีมหาวิทยาลัยเนชั่น และกรรมการผู้จัดการ บริษัท ริช เรสเตอรองต์ จำกัด บริษัทจัดตั้งขึ้น เพื่อบริหารจัดการธุรกิจ โชคดีติ่มซำ และ โคขุนโพนยางคำ เป็นนักวิชาการอิสระ ผู้มีประสบการณ์ด้านการบริหารจัดการการตลาดมาอย่างมากมาย ได้จัดทำ คลิปวิดีโอ หลักสูตรการบริหารจัดการ เผยแพร่ผ่านช่อง Stepplus training และเขียนบทความแบ่งปันในเฟสบุ๊ค Kritsada Pop Tunpow อย่างต่อเนื่อง#
คลิกเปิดแบบ : พรีวิว หรือ ฉบับเต็ม
Dir : tec File : handbook_tec_63.txt Topic : kritsada_fb

Reset | Decode
คุณคิดอะไรอยู่
Thaiall.com