thaiall logomy background ระบบฐานความรู้
my town
ระบบฐานความรู้

ระบบฐานความรู้

ระบบฐานความรู้ คือ ความพยายามนำความรู้ของคนมารวบรวม ประมวลผล จัดเก็บ และนำไปใช้อย่างเป็นระบบ ซึ่งต้องอาศัยการจัดการความรู้ ระบบผู้เชี่ยวชาญ ปัญญาประดิษฐ์ และนวัตกรรม ล้วนเป็นการพัฒนาด้านเทคโนโลยีที่ท้าทาย
11. ระบบฐานความรู้
วัตถุประสงค์
- เพื่อให้เข้าใจความหมายของการจัดการความรู้
- เพื่อให้เข้าใจขอบเขตของปัญญาประดิษฐ์
ประเด็นที่น่าสนใจ
การจัดการความรู้
Printer Port
playlist 49 clips : MIS 2555
playlist เฉลย office 150 ข้อ
term.csv
บทความ : บริหารธุรกิจ
KM & AI
การจัดการความรู้ ระบบผู้เชี่ยวชาญ ปัญญาประดิษฐ์ และนวัตกรรม ล้วนเป็นการพัฒนาด้านเทคโนโลยีที่ท้าทาย
1
2
3
4
5
6
7
8
9
10
11
12
13
14
15
16
17
18
19
20
21
22
ทุกองค์การต้องมีระบบฐานความรู้ เพื่อที่จะ ได้นำความรู้จากที่สะสม ที่ผ่านการกลั่นกรองโดยผู้เชี่ยวชาญ มาใช้เป็นข้อมูลประกอบการตัดสินใจที่ถูกต้อง ซึ่งปัญญาประดิษฐ์เป็นเครื่องมือที่จะสนับสนุนสารสนเทศ หรือช่วยตัดสินใจในเรื่องที่ยากได้อย่างมีประสิทธิภาพ การตัดสินใจใดที่ดำเนินการโดยปัญญาประดิษฐ์ย่อมมีความน่าเชื่อถือ เพราะผ่านการพัฒนาอย่างเป็นระบบและผ่านการไตร่ตรองจากผู้เชี่ยวชาญมาแล้ว แต่ยังต้องพัฒนาต่อไป
ความหมาย การจัดการความรู้ คือ เครื่องมือ เพื่อการบรรลุเป้าหมายอย่างน้อย 4 ประการไปพร้อมกัน ได้แก่ 1) บรรลุเป้าหมายของงาน 2) บรรลุเป้าหมายการพัฒนาคน 3) บรรลุเป้าหมายการพัฒนาองค์กรไปเป็นองค์กรเรียนรู้ และ 4) บรรลุความเป็นชุมชน เป็นหมู่คณะ ความเอื้ออาทรระหว่างกันในที่ทำงาน
ปัญญาประดิษฐ์ (Artificial intelligence : AI) หมายถึง การทำให้คอมพิวเตอร์สามารถคิดหาเหตุผลได้ เรียนรู้ได้ ทำงานได้เหมือนสมองมนุษย์ เช่น หุ่นยนต์ เป็นต้น
นวัตกรรมการศึกษา (Educational Innovation) หมายถึง เทคนิคที่ช่วยให้การศึกษา และการเรียนการสอนมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น ผู้เรียนเรียนรู้ได้อย่างมีประสิทธิผลกว่าเดิม เกิดแรงจูงใจในการเรียน และประหยัดเวลา
ปัจจุบันมีการใช้นวัตกรรมการศึกษาที่หลากหลาย อาทิ การเรียนการสอนที่ใช้คอมพิวเตอร์ช่วยสอน (Computer Aids Instruction) ระบบอีเลินนิ่ง (E-Learning System) การใช้แผ่นวิดีทัศน์เชิงโต้ตอบ (Interactive Video) สื่อหลายมิติ ( Multimedia ) และอินเทอร์เน็ต (Internet)
ประเภทของความรู้ 1. ความรู้ที่ฝังอยู่ในคน (Tacit Knowledge) คือ ความรู้ที่ได้จากประสบการณ์ พรสวรรค์หรือสัญชาติญาณของแต่ละบุคคลในการทำความเข้าใจในสิ่งต่าง ๆ เป็นความรู้ที่ไม่สามารถถ่ายทอดออกมาเป็นคำพูดหรือลายลักษณ์อักษรได้โดยง่าย เช่น ทักษะในการทำงาน งานฝีมือ หรือการคิดเชิงวิเคราะห์ บางครั้ง จึงเรียกว่าเป็นความรู้แบบนามธรรม
2. ความรู้ที่ชัดแจ้ง (Explicit Knowledge) คือ ความรู้ที่สามารถรวบรวม ถ่ายทอดได้ โดยผ่านวิธีต่าง ๆ เช่น การบันทึกเป็นลายลักษณ์อักษร ทฤษฎี คู่มือต่าง ๆ และบางครั้งเรียกว่าเป็นความรู้แบบรูปธรรม
กระบวนการจัดการความรู้ ตามแนว กพร.
1. การบ่งชี้ความรู้
2. การสร้างและแสวงหาความรู้
3. การจัดความรู้ให้เป็นระบบ
4. การประมวลและกลั่นกรองความรู้
5. การเข้าถึงความรู้
6. การแบ่งปันแลกเปลี่ยนความรู้
7. การเรียนรู้
เครื่องมือจัดการความรู้ 1. ชุมชนนักปฏิบัติ (Community of practice : CoP)
2. การศึกษาดูงาน (Study tour)
3. การทบทวนหลังปฏิบัติการหรือการถอดบทเรียน (After action review : AAR)
4. การเรียนรู้ร่วมกันหลังงานสำเร็จ (Retrospect)
5. เรื่องเล่าเร้าพลัง (Springboard Storytelling)
6. การค้นหาสิ่งดีรอบตัว หรือสุนทรียสาธก (Appreciative Inquiring)
7. เวทีเสวนา หรือสุนทรียสนทนา (Dialogue)
8. เพื่อนช่วยเพื่อน (Peer Assist)
9. การเรียนรู้โดยการปฏิบัติ (Action Learning)
10. มาตรฐานเปรียบเทียบ (Benchmarking)
11. การสอนงาน (Coaching)
12. การเป็นพี่เลี้ยง (Mentoring)
13. ฟอรัม ถาม – ตอบ (Forum)
14. บทเรียนจากความผิดพลาด (Lesson Learning)
15. เวทีกลุ่มเฉพาะ (Focus Group)
โครงสร้างของระบบผู้เชี่ยวชาญ 1. ดึงความรู้ (Knowledge Acquisition)
2. ฐานความรู้ (Knowledge Base)
3. กลไกการวินิจฉัย และถ่ายทอดความรู้ (Inference Engine)
4. เชื่อมต่อกับผู้ใช้ (User Interface)
ประโยชน์ของระบบผู้เชี่ยวชาญ 1. ช่วยรักษาความรู้ที่อาจสูญหาย เมื่อผู้เชี่ยวชาญลาออก
2. ช่วยทำให้ข้อมูลมีคุณภาพ ที่จะนำไปใช้งาน
3. ช่วยทำให้เกิดความคิดสร้างสรรค์แปลกใหม่
4. ช่วยแก้ปัญหาความไม่มีเสถียรภาพของมนุษย์ เช่น ความเมื่อยล้า ความสับสนหรืออารมณ์
5. ช่วยเป็นแหล่งสารสนเทศกับงานด้านการตลาด การลดต้นทุน และการปรับปรุงพัฒนาสินค้า
การนำระบบผู้เชี่ยวชาญไปใช้งาน 1. การผลิต (Production)
2. การตรวจสอบ (Inspection)
3. การประกอบชิ้นส่วน (Assembly)
4. การบริการ (Field Service)
5. การซ่อมแซมอุปกรณ์ (Equipment Repair)
6. การตรวจสอบบัญชี (Auditing)
7. การคำนวณภาษี (Tax Accounting)
8. การวางแผนด้านการเงิน (Financial Planning)
9. การลงทุน (Investments)
10. งานบุคคล (Personnel)
11. การตลาด และการขาย (Marketing and Sales)
12. การอนุมัติสินเชื่อ (Credit Authorization)
13. การบริการของรัฐ (Human Services Agency)
14. การทำนายทางการแพทย์ (Medical Prognosis)
ระบบการได้มาซึ่งนวัตกรรม 1. การตรวจหาความจริง (Investigation)
2. การตระเตรียม (Preparation)
3. การบ่มเพาะ (Incubation)
4. การทำให้ส่องสว่าง (Illumination)
5. การตรวจสอบยืนยัน (Verification)
6. การนำไปใช้ (Application)
นวัตกรรม แบบฟอร์มนำเสนอผลงานนวัตกรรม โรงพยาบาลกรุงเทพ
ใบนำส่งเอกสารและสิ่งของในการเสนอผลงานประดิษฐ์คิดค้น โรงพยาบาลราชวิถี
งานวิจัยเรื่อง ระบบจัดการความรู้ 3 เรื่อง ลงานวิจัยการค้นคว้าแบบอิสระ ของ โกวิทย์ เจนครองธรรม เรื่อง การพัฒนาระบบจัดการความรู้ของฝ่ายพัฒนาซอฟท์แวร์ บริษัท ไอโซแคร์ ซิสเตมส์ จำกัด ที่เป็นลิขสิทธิ์ของมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ พบบริการฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์อิเล็กทรอนิกส์ (e-theses) ที่ https://library.cmu.ac.th/digital_collection/etheses/ เมื่อค้นด้วยคำว่า "การพัฒนาระบบจัดการความรู้" พบ บทคัดย่อ สารบาญ บทที่ 1 บทที่ 2 บทที่ 3 บทที่ 4 บทที่ 5 บรรณานุกรม ที่ดาวน์โหลดแฟ้มแบบ pdf มาอ่านได้ พบว่า บทที่ 2 แนวคิด ทฤษฎี และงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง มีเนื้อหาน่าสนใจ 1. การจัดการความรู้ (Knowledge Management) ประกอบด้วย 1) ความหมายการจัดการความรู้ 2) กระบวนการจัดการความรู้ (Knowledge Management Process) 3) โมเดลการจัดการความรู้ (Knowledge Management Model) 4) องค์ประกอบสำคัญของการจัดการความรู้ 5) เครื่องมือจัดการความรู้ (Knowledge Management Tools) 6) ประโยชน์ของการจัดการความรู้ 2. ระบบการจัดการความรู้ (Knowledge Management System : KMS) ประกอบด้วย 1) ความสำคัญและความเกี่ยวเนื่องของเทคโนโลยีสารสนเทศกับการจัดการความรู้ 2) โปรแกรมประยุกต์(ซอฟท์แวร์) ที่ใช้ในการจัดการความรู้
ล้วยังพบผลงานที่น่าสนใจอีก 2 เรื่อง ของ ชัยวัฒน์ พันธ์หงษ์ เรื่อง การพัฒนาระบบจัดการความรู้การซ่อมบำรุงเครื่องคอมพิวเตอร์โรงเรียนลำปางพาณิชยการและเทคโนโลยี ของมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และ ลาวัลย์ สุขยิ่ง ศึกษาเรื่อง การจัดการความรู้ในองค์กร กรณีศึกษา หน่วยงานธุรกิจ CDMA บริษัท กสท โทรคมนาคม จํากัด (มหาชน) ซึ่งเป็นรายงานฉบับสมบูรณ์ในห้องสมุดของ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ ที่ดาวน์โหลดได้จาก library1.nida.ac.th
/km_research
ขอบเขตของปัญญาประดิษฐ์ (Scope of Artificial Intelligence) 1. ระบบผู้เชี่ยวชาญ (Expert Systems)
โปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่แสดงความสามารถได้เหมือนกับผู้เชี่ยวชาญในสาขาต่าง ๆ หรือในงานเฉพาะอย่าง
2. ภาษาธรรมชาติ (Natural Languages)
ภาษาที่เกี่ยวกับการติดต่อสื่อสารโดยตรงกับคอมพิวเตอร์ ทั้งคอมพิวเตอร์เข้าใจภาษามนุษย์ และมนุษย์เข้าใจการรับรู้ของคอมพิวเตอร์
3. ระบบจับภาพ (Vision Systems)
การที่คอมพิวเตอร์สามารถทำงานได้โดยอาศัยการมอง และการจดจำรูปแบบ เช่นการตรวจหาชิ้นส่วนที่บกพร่อง การให้คอมพิวเตอร์แข่งเตะบอล เป็นต้น
4. ศาสตร์ด้านหุ่นยนต์ (Robotics)
เกี่ยวกับการออกแบบ การสร้าง และการนำไปใช้งาน ให้เคลื่อนไหวได้คล้ายมนุษย์ โดยเฉพาะใช้งานที่เสี่ยงอันตรายแทนมนุษย์
5. เครือข่ายเส้นประสาท (Neural Networks)
ระบบที่อาศัยความรู้เป็นพื้นฐาน สร้างเรียนแบบเส้นใยประสาทของมนุษย์ เป็นการทำกิจกรรมแบบขนานที่ทำงานพร้อมกัน เพื่อให้ได้คำตอบเดียว
อื่น ๆ อาทิ การเรียนรู้ (Learning systems)
jubjang-mis.blogspot.com
en.wikipedia.org gotoknow.org
ปัญญาประดิษฐ์ และการจัดการความรู้
พื้นที่การเรียนรู้ Learning Space หรือ Learning City คือ พื้นที่การเรียนรู้ ที่มีผู้มีความรู้ได้จัดกระบวนการเรียนรู้ในหลากหลายรูปแบบ ตามวัตถุประสงค์ของกิจกรรมโครงการที่ถูกออกแบบในแต่ละครั้ง ซึ่ง "ความอยากรู้อยากเห็น" จะบรรลุผลของความอยากนั้นได้ ต้องถูกตอบสนองจนพอใจตามแผนที่กำหนด เพื่อทำให้เกิดการเรียนรู้และได้ผลลัพธ์สุดท้าย คือ "การได้รู้ได้เห็น" แต่ความอยากรู้อยากเห็นจะเกิดขึ้นได้ต้องอาศัยการกระตุ้นที่มากพอ ซึ่งผู้จัดกระบวนการเรียนรู้จะมีหน้าที่เป็นผู้สร้างแรงกระตุ้นเหล่านั้นขึ้นมา เช่น ภาพยนตร์ที่มีแรงกระตุ้นมาจากทุกช่องทางวัดผลลัพธ์จากรายได้ค่าตั๋วหนัง หรือ แบบสอบถามที่นักวิจัยขอความร่วมมือจากกลุ่มเป้าหมายแล้วมีของที่ระลึกเป็นสิ่งตอบแทนที่ได้ให้ความร่วมมือ หากมีแต่เพียงรอยยิ้มเป็นสิ่งตอบแทนอาจได้รับความร่วมมือต่ำกว่าเป้าหมายที่ตั้งไว้
#อยากเห็นบ้านหลุยส์ #ส่งเสริมการเรียนรู้ #วัฒนธรรมชุมชน
ปัญญาประดิษฐ์
ปัญญาประดิษฐ์ (Artificial Intelligence) เป็นศาสตร์แขนงหนึ่งของวิทยาการคอมพิวเตอร์
ที่ต้องการพัฒนาเครื่องจักรกลต่าง ๆ เช่น เครื่องคอมพิวเตอร์ หรือหุ่นยนต์ เป็นต้น 
ให้มีความสามารถทางด้านความคิด การตัดสินใจ และพฤติกรรมที่คล้ายกับมนุษย์มากที่สุด 
เพื่อการแก้ปัญหาหรือหาเหตุผลจากข้อมูล หรือองค์ความรู้ที่มีอยู่แล้ว
นำมาวิเคราะห์ และแปลความหมายให้ได้ผลสรุปหรือผลลัพธ์ที่ถูกต้อง
และมีความใกล้เคียงกับการตัดสินใจด้วยมนุษย์ 

ปัญญาประดิษฐ์เป็นศาสตร์ที่ช่วยสนับสนุนระบบงานที่อาศัยการทำงานของเครื่องจักร หรือเครื่องคอมพิวเตอร์ได้เป็นอย่างดี 
เมื่อมีการพัฒนาปัญญาประดิษฐ์ที่มีประสิทธิภาพการทำงานต่าง ๆ จะเกิดข้อผิดพลาดน้อย 
มีการแก้ไขปัญหาและตัดสินใจที่เร็วกว่าการใช้สมองมนุษย์ เนื่องจากมนุษย์ยังต้องอาศัยพื้นฐานทางกายภาพหรือร่างกาย 
ทำให้การทำงานอาจเกิดความผิดพลาดขึ้นได้เสมอ

ปัญญาประดิษฐ์แบ่งนิยามการเรียนรู้ได้ 4 กลุ่ม
1. การกระทำคล้ายมนุษย์ (Acting Humanly)
2. การคิดคล้ายมนุษย์ (Thinking Humanly)
3. คิดอย่างมีเหตุผล (Thinking Rationally)
4. กระทำอย่างมีเหตุผล (Acting Rationally)
http://choopanr.staff.kmutnb.ac.th/files/course/common/AI.pdf

ความสามารถของปัญญาประดิษฐ์ ที่เทียบเคียงกับมนุษย์
1. ความสามารถในการเรียนรู้และทำความเข้าใจประสบการณ์ที่ผ่านมา
2. ความสามารถในการทำความเข้าใจกับเนื้อหา และข้อมูลที่คลุมเครือ หรือมีความขัดแย้ง
3. ความสามารถในการใช้หลักของเหตุและผล โดยนำมาใช้แก้ปัญหาต่าง ๆ พร้อมทั้งแนะนำ วิธีการ หรือ แนวทางได้อย่างมีประสิทธิภาพ
4. ความสามารถในการทำความเข้าใจปัญหาที่มีความซับซ้อน และวินิจฉัยเพื่อหาข้อสรุปที่เหมาะสมที่สุดได้
5. ความสามารถในการนำองค์ความรู้มาประยุกต์ใช้ได้อย่างเหมาะสมกับสถานการณ์ และสภาพแวดล้อมแบบต่าง ๆ
6. ความสามารถในการจำแนกความสำคัญของข้อมูล ปัญหา หรือองค์ประกอบที่แตกต่างกันตามสถานการณ์ได้
7. ความสามารถในการรตอบสนองที่รวดเร็ว ถูกต้อง และแม่นยำ

Cogitive Science ศึกษาว่าสมองของมนุษย์ทำงานอย่างไร มนุษย์คิดและเรียนรู้อย่างไร
- ระบบผู้เชี่ยวชาญ (Expert Systems) 
คือ ความพยายามลอกเลียนแบบความสามารถของผู้เชี่ยวชาญที่เป็นมนุษย์ในการแก้ปัญหา
- ระบบเครือข่ายนิวรอน (Neural Network) 
คือ การออกแบบให้เหมือนสมองมนุษย์ จะเรียนรู้แบบแพทเทิร์น (pattern) และความสัมพันธ์ของข้อมูลต่าง ๆ
- ระบบแบ๊บแน็ต (Papnet) 
คือ ระบบที่ใช้ในการแยกความแตกต่าง เช่น แยกความแตกต่างของเซลล์มนุษย์
- ฟัสซี่โลจิก (Fuzzy Logic) 
คือ ระบบที่เกี่ยวข้องกับการใช้กฎพื้นฐาน ทำงานกับข้อมูลที่ไม่สมบูรณ์ หรือกำกวม หรือค่าไม่เที่ยงตรง หรือไม่แน่นอนได้ จะพยายามหาคำตอบให้กับปัญหาที่ไม่มีโครงสร้าง
- เจนเนติกอัลกอริทึม หรือ หรืออัลกอริทึมพันธุกรรม (Genetic Algorithm) 
คือ การใช้หลักการด้านพันธุกรรมของชาร์ล ดาร์วิน การสุ่ม และฟังก์ชันทางคณิตศาสตร์ในการสร้างกระบวนการวิวัฒนาการด้วยตนเอง
ในการหาคำตอบที่ดียิ่งขึ้น โดยใช้แนวทางการแก้ปัญหาแนวเดียวกับที่สิ่งมีชีวิตปรับตัวเองให้เข้ากับสภาพแวดล้อม
เป็นซอฟต์แวร์ของระบบปัญญาประดิษฐ์ที่เลียนแบบกระบวนการวิวัฒนาการของสิ่งมีชีวิต
- เอเยนต์ชาญฉลาด (Intelligent Agents)
คือ ระบบผู้เชี่ยวชาญหรือเทคนิคของปัญญาประดิษฐ์อื่น เพื่อพัฒนาเป็นโปรแกรมประยุกต์ให้กับผู้ใช้ปลายทาง
- ระบบการเรียนรู้ (Learning Systems)
คือ ระบบที่สามารถพัฒนาพฤติกรรมของระบบเองด้วยการพัฒนาจากข้อมูลที่ระบบได้รับในระหว่างการประมวลผล
http://informationcomedu.blogspot.com/p/blog-page_8.html

ตัวอย่างการนำระบบผู้เชี่ยวชาญไปใช้งาน (Putting expert systems to work)
1. การผลิต (Production)
2. การตรวจสอบ (Inspection)
3. การประกอบชิ้นส่วน (Assembly)
4. การบริการ (Field service)
5. การซ่อมแซมโทรศัพท์ (Telephone repair)
6. การตรวจสอบบัญชี (Auditing)
7. การคิดภาษี (Tax accounting)
8. การวางแผนด้านการเงิน (Financial planning)
9. การลงทุน (Investments)
10. งานทรัพยากรบุคคล (Personnel)
11. การตลาด และการขาย (Marketing and sales)
12. การอนุมัติสินเชื่อ (Credit authorization)
13. การบริการของรัฐ (Human services agency)
14. การทำนายทางการแพทย์ (Medical prognosis) 
https://eiu.thaieei.com/box/News/2536/20210817%20%E0%B8%9B%E0%B8%B1%E0%B8%8D%E0%B8%8D%E0%B8%B2%E0%B8%9B%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%94%E0%B8%B4%E0%B8%A9%E0%B8%90%E0%B9%8C%20AI%20%E0%B8%89%E0%B8%9A%E0%B8%B1%E0%B8%9A%E0%B8%AA%E0%B8%A1%E0%B8%9A%E0%B8%B9%E0%B8%A3%E0%B8%93%E0%B9%8C.pdf

ประโยชน์ของปัญญาประดิษฐ์
1. ช่วยให้กระบวนการแก้ไขปัญหาทำได้อย่างรวดเร็ว และมีความสอดคล้องกันมากขึ้น
2. ช่วยแก้ไขปัญหาต่าง ๆ ในกรณีที่ยากเกินความสามารถของมนุษย์ และเครื่องคอมพิวเตอร์ทั่วไป
3. รองรับข้อมูลและองค์ความรู้จำนวนมากได้
4. สามารถจัดเก็บข้อมูล และองค์ความรู้ได้แบบถาวร
5. การเผยแพร่องค์ความรู้ภายในองค์กรทำได้ง่ายและทั่วถึง
6. การวิเคราะห์ปัญหาทำได้ละเอียดรอบคอบ 
7. มีความยืดหยุ่นต่อสถานการณ์และตอบสนองได้อย่างมีประสิทธิภาพ
8. การควบคุมเครื่องจักรกลและเครื่องคอมพิวเตอร์ทำได้ง่ายขึ้น
ทฤษฎีการจัดการความรู้
ประเภทของความรู้
1. ความรู้ฝังลึก หรือความรู้โดยนัย (Tacit Knowledge)
2. ความรู้ชัดแจ้ง หรือความรู้ที่ปรากฏ (Explicit Knowledge)

ระดับของความรู้ (Levels of Knowledge)
ระดับที่ 1 รู้ว่าคืออะไร (Know - What)
ระดับที่ 2 รู้ว่าเป็นอย่างไร/รู้วิธีการ (Know - How)
ระดับที่ 3 รู้ว่าทำไม/รู้เหตุผล (Know - Why)
ระดับที่ 4 ใส่ใจกับเหตุผล (Care – Why)

ปัจจัยหลักของการจัดการความรู้ โดย Elias, A. & Hasson, G. (2004)
1. คน (People , Workforce)
2. เทคโนโลยี (Technology)
3. กระบวนการและองค์การ (Organization , process)

องค์ประกอบของการจัดการความรู้ของ Turban
1. การสร้างความรู้ (Create)
2. การเสาะหาจัดเก็บความรู้ (Capture/Store)
3. การเลือกความรู้ (Refine)
4. การแบ่งปันความรู้ (Distribute)
5. การใช้ความรู้ (Use)
6. การประเมินความรู้ (Monitor)

กระบวนการจัดการความรู้ แบบที่ 1 ตามแนว กพร.
กระบวนการจัดการความรู้มี 7 กิจกรรม ดังนี้ 
1. การบ่งชี้ความรู้ คือ การระบุประเด็นความรู้ รูปแบบ และผู้รู้ที่สอดรับกับนโยบาย ขอบเขตและเป้าหมายขององค์กร 
2. การสร้างและแสวงหาความรู้ คือ การรวบรวมความรู้ใหม่ รักษาความรู้เดิม และกรองความรู้ที่ไม่ใช้ออกจากแหล่งรวบรวม 
3. การจัดความรู้ให้เป็นระบบ คือ การวิเคราะห์และคัดแยกความรู้เป็นกลุ่มประเด็นให้ง่ายต่อการเข้าถึงอย่างมีขั้นตอน 
4. การประมวลและกลั่นกรองความรู้ คือ การปรับปรุงให้ความรู้มีรูปแบบมาตรฐาน ไม่ซ้ำซ้อน มีความสมบูรณ์ มีความถูกต้องและน่าเชื่อถือ 
5. การเข้าถึงความรู้ คือ การสร้างแหล่งเผยแพร่ที่สามารถเข้าถึงได้ทุกที่ทุกเวลา 
6. การแบ่งปันแลกเปลี่ยนความรู้ คือ การนำความรู้เข้าสู่เวทีแลกเปลี่ยนที่มีฐานความรู้หรือฐานข้อมูลรองรับให้ง่ายต่อการเข้าถึงและสืบค้น 
7. การเรียนรู้ คือ การใช้ความรู้เป็นส่วนหนึ่งของงาน เป็นวงจรความรู้ที่มีการเรียนรู้และพัฒนาให้เกิดประสบการณ์ใหม่อยู่เสมอ

กระบวนการจัดการความรู้ แบบที่ 2 ตามแนว ศ.นพ.วิจารณ์ พานิช
กระบวนการจัดการความรู้มี 6 กิจกรรม ดังนี้ 
1. การกำหนดความรู้หลักที่จำเป็นต่องานหรือกิจกรรมขององค์กร 
2. การเสาะหาความรู้ที่ต้องการ 
3. การปรับปรุง ดัดแปลง หรือสร้างความรู้บางส่วน ให้เหมาะต่อการใช้งาน 
4. การประยุกต์ใช้ความรู้ในกิจการงานของตน 
5. การนำประสบการณ์จากการใช้ความรู้มาแลกเปลี่ยนเรียนรู้มาบันทึกไว้ 6) การจดบันทึก ขุมความรู้ แก่นความรู้ สำหรับไว้ใช้งาน

กระบวนการจัดการความรู้ แบบที่ 3 ตามแนว ดร.ณพศิษฏ์ จักรพิทักษ์
กระบวนการจัดการความรู้มี 6 กิจกรรม ดังนี้ 
1. การตรวจสอบและระบุหัวข้อความรู้ 
2. การสร้างกรอบแนวคิดในการบริหาร 
3. การวิเคราะห์และสังเคราะห์ความรู้ 
4. การสร้างระบบสารสนเทศในการจัดการความรู้ 
5. การจัดกิจกรรมในการจัดการความรู้ 
6. การวัดประเมินผลการจัดการความรู้

ประโยชน์ของการจัดการความรู้ (วิจารณ์ พานิช, 2547 : ออนไลน์)
การจัดการความรู้ คือ เครื่องมือเพื่อการบรรลุเป้าหมายอย่างน้อย 4 ประการ 
1. บรรลุเป้าหมายของงาน
2. บรรลุเป้าหมายการพัฒนาคน
3. บรรลุเป้าหมายการพัฒนาองค์กรไปเป็นองค์กรเรียนรู้
4. บรรลุความเป็นชุมชนเป็นหมู่คณะ ความเอื้ออาทรระหว่างกันในที่ทำงาน

ประโยชน์ของการจัดการความรู้ไว้ 8 ประการ นฤมล พฤกษศิลป์ และพัชรา หาญเจริญกิจ (2543:65)
1. ป้องกันความรู้สูญหาย
2. เพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน
3. ความสามารถในการปรับตัวและมีความยืดหยุ่น
4. ความได้เปรียบในการแข่งขัน
5. การพัฒนาทรัพยฺ์สิน
6. การยกระดับผลิตภัณฑ์การนำการจัดการความรู้มาใช้เป็นการเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน
7. การบริการลูกค้า
8. การลงทุนทางทรัพยากรบุคคล

รูปแบบการจัดการความรู้ของบริษัท Xerox Corporation
1. การจัดการเปลี่ยนแปลงและพฤติกรรม (Transition and behavior management)
2. การสื่อสาร (Communication)
3. กระบวนการและเครื่องมือ (Process and tools)
4. เรียนรู้ (Training and learning)
5. การวัดผล (Measurements)
6. การยกย่องชมเชยและให้รางวัล (Recognition and Rewards)

กลยุทธ์การจัดการความรู้ (Knowledge Management Strategy)
1. Codification strategy เป็นกลยุทธ์ที่เน้นให้ความสําคัญกับการใช้ประโยชน์จากความรู้แบบชัดแจ้ง (Explicit Knowledge) 
2. Personalization Strategy เป็นกลยุทธ์ที่เน้นการใช้ประโยชน์จากความรู้แฝงที่อยู่ในตัวบุคคล

ปัจจัยที่เอื้อให้การจัดการความรู้ประสบความสําเร็จ
 Davenport, T. H & De Long, et al. (1998)
1. องค์กรต้องมีวัฒนธรรมที่ยืดหยุ่นในการจัดการความรู้
2. มีจุดประสงค์และประโยชน์ต่อองค์กรชัดเจน
3. ผู้นำด้านความรู้เป็นคนที่ผลักดันโครงการจัดการความรู้ให้เป็นจริง
4. มีกระบวนการจัดการความรู้ที่เป็นระบบ
5. ได้รับการสนับสนุนจากผู้บริหารอาวุโส 
6. มีการใช้โครงสร้างพื้นฐานด้านเทคโนโลยี
7. โครงสร้างองค์กรสนับสนุนการจัดการความรู้
8. บุคคลภายในองค์กรมีทัศนคติเชิงบวกกับการสร้าง การใช้ และการแบ่งปันความรู้

เทคโนโลยีสารสนเทศที่เกี่ยวข้องและมีบทบาทในการจัดการความรู้
1. เทคโนโลยีการสื่อสาร (Communication Technologies)
2. เทคโนโลยีสนับสนุนการทํางานร่วมกัน (Collaboration Technologies)
3. เทคโนโลยีในการจัดเก็บ (Storage และ Retrieval Technologies)

ศรีไพร ศักดิ์รุ่งพงศากุล และเจษฎาพร ยุทธนวิบูลย์ชัย. (2549) 
อธิบายว่า เทคโนโลยีสารสนเทศเป็นเครื่องมือที่สนับสนุนการจัดการความรู้ 
ตัวอย่างเช่น
1. ระบบจัดการเอกสารอิเล็กทรอนิกส์ (Document and Content Management Systems)
2. ระบบสืบค้นข้อมูลข่าวสาร (Search Engines)
3. ระบบการเรียนรู้ทางอิเล็กทรอนิกส์ (E-Learning)
4. ระบบประชุมอิเล็กทรอนิกส์ (Electronics Meeting Systems and VDO Conference)
5. การเผยแพร่สื่อผ่านระบบเครือข่าย (E-Broadcasting)
6. การระดมความคิดผ่านระบบเครือข่าย (Web Board หรือ E-Discussion)
7. ซอฟต์แวร์สนับสนุนการทํางานร่วมกันเป็นทีม (Groupware)
8. บล็อก (Blog หรือ Weblog)

เครื่องมือจัดการความรู้ (Knowledge Management Tools)
ถูกสร้างขึ้นมาเพื่อนำไปใช้ในการถ่ายทอดและแลกเปลี่ยนความรู้ (บดินทร์ วิจารณ์, 2547)
1. ชุมชนนักปฏิบัติ (Community of Practice : CoP)
2. การใช้ที่ปรึกษาหรือพี่เลี้ยง (Mentoring)
3. การทบทวนหลังปฏิบัติการหรือการถอดบทเรียน (After Action Review : AAR)
4. การเสวนา (Dialogue)
5. ฐานความรู้บทเรียน และความสำเร็จ (Lesson Learning)
6. แหล่งผู้รู้ในองค์กร (Center of Excellence : CoE)
7. การเล่าเรื่อง (Story Telling)
8. เพื่อนช่วยเพื่อน (Peer Assist) 
9. เวทีถาม-ตอบ (Forum)

สมชาย นําประเสริฐชัย (2552) ได้กล่าวว่า ระบบการจัดการความรู้ประกอบด้วย
กลุ่มของเทคโนโลยี 3 กลุ่ม 
1. กลุ่มเทคโนโลยีด้านการสื่อสาร (Communication Technologies) 
2. กลุ่มเทคโนโลยีที่ใช้ร่วมกัน (Collaboration Technologies) 
3. กลุ่มเทคโนโลยีด้านหน่วยเก็บและค้นคืนข้อมูล (Storage และ Retrieval Technologies)

หลัก 5 ประการของการเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้และบุคคลเรียนรู้ โดย Senge (1990)
1. บุคคลรอบรู้ (Personal Mastery) 
2. แบบแผนทางความคิด (Mental Model) 
3. การมีวิสัยทัศน์ร่วม (Shared Vision)
4. การเรียนรู้ร่วมกันเป็นทีม (Team Learning)
5. การคิดอย่างเป็นระบบ (System Thinking)

องค์กรที่มีการเรียนรู้จะต้องมีการเรียนรู้ เกิดขึ้น 3 ระดับ
1. การเรียนรู้ระดับบุคคล ใช้กระบวนการ การตีความ (Interpreting)
2. การเรียนรู้ระดับกลุ่ม ใช้กระบวนการ การรวบรวมแนวความคิด (Integrating)
3. การเรียนรู้ระดับองค์กร ใช้กระบวนการ การปลูกฝังและการปฏิบัติ (Institutionalizing) 

การพัฒนาระบบแบบน้ำตก (Waterfall model)
1. การกําหนดและเลือกโครงการ (System Identification and Selection)
2. การเริ่มต้นและวางแผนโครงการ (System Initiation and Planning) 
3. การวิเคราะห์ระบบ (System Analysis)
4. การออกแบบระบบ (System Design)
5. การพัฒนาและติดตั้งระบบ (System Implementation)
6. การบํารุงรักษาระบบ (System Maintenance)

การพัฒนาระบบอย่างรวดเร็ว (Rapid Application Development) 
1. การวางแผนความต้องการ (Requirements Planning)
2. การออกแบบการใช้งาน  (User Design)
3. การสร้างระบบ (Construction)
4. การใช้งานระบบ (Cutover)
อ่านเพิ่มเติม
รวมเว็บไซต์ วิทยานิพนธ์ งานวิจัย
รวมเว็บไซต์ วิทยานิพนธ์ งานวิจัย สำหรับนักศึกษาหรือผู้ทำวิจัยที่ต้องการแหล่งข้อมูลอ้างอิง
1. DOAJ (Directory of Open Access Journals)
https://library.cm.mahidol.ac.th/librarybak/index.php/training/online-databases/catalog
2. JSTOR
https://about.jstor.org/oa-and-free/
3. Dissertations.se
https://www.dissertations.se/
4. EThOS e-theses Online Service
https://ethos.bl.uk/Home.do
5. Oxford Open
https://academic.oup.com/journals/pages/open_access
6. Project MUSE
https://muse.jhu.edu/search?action=oa_browse
7. Emerald Insight
https://www.emerald.com/insight/content/open-access
8. Cambridge University Press
https://www.cambridge.org/core/what-we-publish/open-access
9. Springer Open
https://library.cm.mahidol.ac.th/librarybak/index.php/training/online-databases/catalog
10. SAGE Journals
https://login.ejournal.mahidol.ac.th/login?qurl=https://journals.sagepub.com%2f
11. Taylor & Francis Group
https://www.tandfonline.com/openaccess/openjournals
12. World Scientific
https://www.worldscientific.com/page/open#Open-Access-Journals
13. OhioLINK: Electronic Theses & Dissertations Center
https://etd.ohiolink.edu/apexprod/rws_olink/r/1501/1
14. Thailand Digital Collection (TDC)
https://tdc.thailis.or.th/tdc/basic.php
https://library.cm.mahidol.ac.th/librarybak/index.php/8-general-information/66-thesis
15. Dart-Europe E-theses Portal
https://www.dart-europe.org/basic-search.php
16. Thai Journals Online (ThaiJO)
https://www.tci-thaijo.org/
17. IEEE
https://open.ieee.org/
18. NDLTD: Global ETD Search
http://www.ndltd.org/
19. ScienceDirect
https://www.elsevier.com/open-access/open-access-journals
รับสมัคร ผู้อำนวยการสำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจสร้างสรรค์
recruitment
ประกาศคณะอนุกรรมการสรรหาผู้อำนวยการสำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจสร้างสรรค์ เรื่อง รับสมัครบุคคลเข้ารับการคัดเลือกเพื่อดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการสำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจสร้างสรรค์ (องค์การมหาชน) มีกำหนดการรับสมัครตั้งแต่วันที่ 17 กุมภาพันธ์ – 18 มีนาคม 2565 เวลา 09.30 – 17.30 น. สอบด้วยการเข้ารับการสัมภาษณ์และแสดงวิสัยทัศน์ แผนการดำเนินงานที่สำคัญด้านการบริหารจัดการและการพัฒนา และแนวทางการหารายได้ของสำนักงานฯ" เอกสารที่ต้องยื่น เช่น ประวัติการศึกษา หรือสำเนาเอกสารคุณวุฒิการศึกษา โดยไม่พบว่ามีการระบุวุฒิการศึกษาขั้นต่ำ และเอกสารแสดงวิสัยทัศน์ไม่เกิน 2 หน้า หรือ เอกสารนำเสนอด้วย Power point หรือในรูป คลิปวิดีโอความยาวไม่เกิน 3 นาที โดยคุณสมบัติที่พึงประสงค์ มีดังนี้ 1) มีความสามารถด้านการบริหารจัดการ 2) มีคุณลักษณะการเป็นผู้นำ 3) มีความสามารถด้านภาษาต่างประเทศ สำหรับตำแหน่งนี้มีกฎหมายที่เกี่ยวข้อง คือ พระราชกฤษฎีกาจัดตั้งสำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจสร้างสรรค์ (องค์การมหาชน) พ.ศ.2561
ระเด็นที่น่าสนใจอยู่หน้า 7 พบ หัวข้อ 2 เป้าหมาย มี 4 ข้อ ประกอบด้วย คือ 1) มูลค่าทางเศรษฐกิจจากการจัดกิจกรรมกระตุ้นพื้นที่เศรษฐกิจสร้างสรรค์ 2) ผู้ประกอบการที่ได้รับการพัฒนาศักยภาพเพื่อเข้าสู่ตลาดยุคใหม่ 3) ผู้ใช้บริการเข้าถึงแหล่งบ่มเพาะธุรกิจสร้างสรรค์ทั้งส่วนกลางและส่วนภูมิภาค 4) ผู้รับบริการได้รับประโยชน์และความพึงพอใจจากแหล่งบ่มเพาะธุรกิจสร้างสรรค์ ส่วนหัวข้อ 3 ตัวชี้วัด จะมีหัวข้อ 3.1 และ 3.2 เป็นตัวชี้วัด 2 กลุ่มที่ต้องบรรลุในแต่ละปี กลุ่มแรก ตัวชี้วัดตามแผนปฏิบัติการสำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจสร้างสรรค์ ซึ่งปีแรกต้องบรรลุร้อยละ 85 ปีต่อไปร้อยละ 90 กลุ่มสอง ตัวชี้วัดตามกรอบการประเมินองค์การมหาชน ประจำปี ตามแนวทางที่สำนักงาน ก.พ.ร. กำหนด หัวข้อ 4 ผลผลิต คือ ผู้ประกอบการ SME ธุรกิจสร้างสรรค์ วิสาหกิจเริ่มต้น และผู้ประกอบการใหม่ มีรายได้เฉลี่ยเพิ่มขึ้นภายหลังได้รับการพัฒนาศักยภาพและนำความรู้ไปพัฒนาธุรกิจ
หนึ่งภาพอาจสื่อความหมายได้ดีกว่าคำนับพัน
อัลบั้ม - 01-06 : 07-12 : 13-19 : 49 คลิ๊ป
เอกสารอ้างอิง เอกสารอ้างอิง
[1] เจษฎาพร ยุทธนวิบูลย์ชัย และศรีไพร ศักดิ์รุ่งพงศากุล, "ระบบสารสนเทศและเทคโนโลยีการจัดการความรู้", บริษัท ซีเอ็ดยูเคชั่น จำกัด, กรุงเทพฯ, 2549.
[2] ประสงค์ ปราณีตพลกรัง และคณะ, "ระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการ และกรณีศึกษา", บริษัท ธนรัชการพิมพ์ จำกัด, กรุงเทพฯ, 2543.
[3] พนิดา พานิชกุล, "จริยธรรมทางเทคโนโลยีสารสนเทศ", บริษัท เคทีพี คอมพ์ แอนด์ คอนซัลท์ จำกัด, กรุงเทพฯ, 2553.
[4] ศ.ดร.เรวัตร์ ชาตรีวิศิษฎ์ และคณะ, "การจัดการเชิงกลยุทธ์", บริษัท อักษรเงินดี จำกัด, กรุงเทพฯ, 2553.
[5] ผศ.ดร.พรรณี สวนเพลง, "ระบบสารสนเทศเชิงกลยุทธ์", บริษัท ซีเอ็ดยูเคชั่น จำกัด, กรุงเทพฯ, 2555.
[6] ผศ.ดร.ณัฏฐพันธ์ เขจรนันทน์ และ ผศ.ดร.ไพบูลย์ เกียรติโกมล, "ระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการ", บริษัท ซีเอ็ดยูเคชั่น จำกัด, กรุงเทพฯ, 2545.
[7] ภาควิชาเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร, "3901-2119 การวิเคราะห์และออกแบบระบบ", วิทยาลัยเทคนิคหาดใหญ่, สงขลา.
Thaiall.com