thaiall logomy background

จรรยาบรรณวิชาชีพครูด้วยสุจริตไทย กับคำถามครูสวมชุดว่ายน้ำ และประกวดนางงาม

my town
ธรรมะ | ครู | สื่อ | ผู้บริหาร | พยาบาล | สาธารณสุข | เทคนิคการแพทย์ | ทันตแพทย์ | กฎหมายไอที | ศีล 5 | งานมอบหมาย
จรรยาบรรณวิชาชีพครู คืออะไร รรยาบรรณวิชาชีพครู คือ แนวปฏิบัติหรือกฎเกณฑ์แห่งความประพฤติสำหรับบุคลากรทางการศึกษาผู้มีอาชีพครู โดยมีองค์กรหรือตัวแทนผู้ประกอบวิชาชีพครูร่วมกันบัญญัติขึ้นมา เพื่อใช้เป็นแนวปฏิบัติสำหรับสมาชิกที่ต้องยึดถือร่วมกัน หากฝ่าฝืนจะถือว่ากระทำผิดจรรยาบรรณวิชาชีพครู
จรรยาบรรณวิชาชีพครู เรียบเรียงโดย ผศ.ดร.พฤทธิ์ ศิริบรรณพิทักษ์ ครูย่อมพัฒนาตนเองทั้งทางด้านวิชาชีพ ด้านบุคลิกภาพ และวิสัยทัศน์ ให้ทันต่อการพัฒนาทางวิทยาการ เศรษฐกิจ สังคม และการเมืองอยู่เสมอ รรยาบรรณวิชาชีพครู หมายถึง ประมวลความประพฤติ หรือกิริยาอาการที่ประกอบวิชาชีพครู ควรประพฤติปฏิบัติเพื่อรักษา ส่งเสริมเกียรติคุณ ชื่อเสียง และฐานะของความเป็นครู (ยนต์ ชุมจิต. 2531 : 131)
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ ได้เชิญผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 74 ท่าน เพื่อร่างจรรยาบรรณวิชาชีพครู ในระหว่างวันที่ 8-10 เมษายน 2524 ผลการประชุม ที่ประชุมเห็นชอบ ให้แบ่งจรรยาบรรณวิชาชีพครู เป็น 4 หมวด (คณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ. 2524 : 3) ดังนี้
หมวดที่ 1 ว่าด้วยอุดมการณ์ครู ซึ่งเป็นหัวใจของการเป็นครู
หมวดที่ 2 ว่าด้วยเอกลักษณ์ของครู โดยเน้นให้เห็นลักษณะเฉพาะของครูที่แตกต่างจากบุคคลในอาชีพอื่น
หมวดที่ 3 ว่าด้วยการรักษาวินัยแห่งวิชาชีพครู
หมวดที่ 4 ว่าด้วยบทบาทของครูต่อบุคคล และสังคม
หมวดที่ 1 อุดมการณ์ครู ซึ่งเป็นหัวใจของการเป็นครู ประกอบด้วยคุณลักษณะ ดังนี้
1. ศรัทธาในอาชีพครูอุทิศตนเพื่อศิษย์และการศึกษา
2. ธำรงและส่งเสริมเกียรติแห่งวิชาชีพครู
3. บำเพ็ญตนเพื่อประโยชน์ส่วนรวมมากกว่าส่วนตน
4. ยึดมั่นในคุณธรรม มีใจรักและเมตตาต่อศิษย์
5. มีจิตใจเป็นประชาธิปไตย
6. ยึดมั่นในศาสนา พระมหากษัตริย์
หมวดที่ 2 เอกลักษณ์ของครู โดยเน้นให้เห็นลักษณะเฉพาะของครูที่แตกต่างจากบุคคลในอาชีพอื่น ประกอบด้วยคุณลักษณะ ดังนี้
1. ดำรงตนอย่างเรียบง่าย ประหยัด เหมาะสมกับอาชีพครู
2. มีอารมณ์มั่นคง และสามารถควบคุมอารมณ์ทั้งในและนอกเวลาที่สอน
3. มีสัจจะความจริงในความรับผิดชอบต่อหน้าที่ครู และต่อตนเอง สามารถร่วมงานเป็นหมู่คณะได้
4. เป็นผู้มีวัฒนธรรม มีศีลธรรมตามศาสนาที่ตนนับถือ และเป็นตัวอย่างที่ดีของศิษย์
5. เป็นคนตรงเวลา ประพฤติตนสม่ำเสมอ
6. เป็นผู้มีวาจาสุภาพอ่อนโยนและแต่งกายเรียบร้อยเหมาะสม
7. ใฝ่หาความรู้ สำรวจและปรับปรุงแก้ไขตนเองและงานสอนอยู่เสมอ
8. กระตือรือร้น ขยันหมั่นเพียรและตั้งใจใช้กลวิธีสอนให้ศิษย์ เกิดความรู้จนเป็นแบบอย่างการสอนที่ดี
9. มีความคิดริเริ่มและนำสิ่งใหม่ ๆ มาใช้สอนศิษย์
10. รู้จักผ่อนปรนต่อปัญหาต่าง ๆ ที่เกี่ยวกับงานครู และหาทางแก้ไขโดยสันติวิธี เป็นพลเมืองดี
12. ให้เกียรติโดยไม่เลือกเชื้อชาติ ศาสนา ฐานะครอบครัว เพศและวัย
13. เป็นผู้มีใจกว้ าง และมีน้ำใจนักกีฬารับฟังความคิดเห็นของศิษย์ และเปิดโอกาสให้ศิษย์ ได้ปรึกษาหารืออย่างสม่ำเสมอ
14. เอาใจใส่ต่อการเรียน ความประพฤติ และความเป็นอยู่ของศิษย์อยู่เสมอ
15. เข้าใจถึงความแตกต่างระหว่างบุคคลของศิษย์
16. เป็นผู้เห็นศิษย์มีความสำคัญ และพิจารณาคุณค่าของศิษย์แต่ละคนด้วยเหตุผล
17. เป็นผู้ที่น่าเคารพรัก และทำให้ศิษย์เกิดความอบอุ่นใจ
18. มีความยุติธรรม และตัดสินใจหรือลงโทษศิษย์อย่างมีเหตุผล
19. เป็นผู้ควรแก่การยกย่อง นับถือในเชิงภูมิปัญญา และเชาว์ไหวพริบในด้านการอบรมสั่งสอน
20. สามารถอรรถาธิบายเรื่องยากให้เข้าใจง่าย
หมวดที่ 3 ว่าด้วยการรักษาวินัยแห่งวิชาชีพครู ประกอบด้วยคุณลักษณะ ดังนี้
1. รักษาความลับของศิษย์ เพื่อนร่วมงานและสถานศึกษา
2. ไม่แสดงอาการอาฆาตพยาบาทต่อศิษย์
3. เข้าสอนโดยสม่ำเสมอ ไม่ปิดบังหรือบิดเบือน เนื้อหาสาระทางวิชาการ
4. สุภาพเรียบร้อย เชื่อฟัง และไม่แสดงความกระด้างกระเดื่องต่อผู้บังคับบัญชา ซึ่งสั่งในหน้าที่การงานโดยชอบด้วยกฎหมาย และระเบียบแบบแผนของสถานศึกษา
5. ต้องถือและปฏิบัติตามแบบธรรมเนียมที่ดีของสถานศึกษา
6. ตั้งใจปฏิบัติหน้าที่ของตนให้เกิดผลดีด้วยการเอาใจใส่ ระมัดระวังรักษา ผลประโยชน์ของสถานศึกษา
7. ไม่ละทิ้งหน้าที่ด้านการสอนและงานที่ได้รับมอบหมาย ตลอดจนอุทิศเวลาของตนให้กับสถานศึกษา
8. รักษาความสามัคคี ชื่อเสียงของคณะและสถานศึกษาที่สังกัดอยู่
9. ปฏิบัติหน้าที่อย่างจริงจัง ด้วยความรับผิดชอบและเสียสละ
10. ให้เกียรติแก่เพื่อนร่วมอาชีพ และบุคคลทั่วไป
11. ไม่ลบหลู่ดูหมิ่นศาสนา
12. รักษาความลับของเพื่อนร่วมงาน และสถานศึกษา
13. รักษาและส่งเสริมความสามัคคีของหมู่คณะ
14. ไม่นำหรือยอมให้นำผลงานทางวิชาการของตนไปใช้ในทางทุจริต หรือเป็นภัยต่อมนุษยชาติ
15. ไม่นำผลงานของผู้อื่นมาแอบอ้างเป็นผลงานของตน
16. รักษาชื่อเสียงมิให้ขึ้นชื่อว่าประพฤติชั่ว
17. ประพฤติตนและปฏิบัติหน้าที่ด้วยความซื่อสัตย์และเที่ยงธรรม โดยไม่เห็นแก่ประโยชน์อันมิชอบ
หมวดที่ 4 ว่าด้วยบทบาทของครูต่อบุคคล และสังคม ประกอบด้วยคุณลักษณะ ดังนี้
1. ยึดมั่นในชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์
2. ส่งเสริมกิจกรรมในระบอบประชาธิปไตย
3. ส่งเสริมความสัมพันธ์ระหว่างสถาบันด้วยกันและระหว่างสถาบันและชุมชน
4. สร้างและส่งเสริมความสามัคคีอันดีระหว่างครูและผู้ปกครอง
5. ดำรงชีวิตและการปฏิบัติตนเป็นตัวอย่างที่ดีชุมชน
6. รับใช้สังคมด้วยการสร้างสรรค์ผลงานทางวิชาการ
7. โอบอ้อมอารีมีน้ำใจต่อผู้อื่น

นปี พ.ศ. 2526 คุรุสภาได้มีการปรับปรุงจรรยาบรรณวิชาชีพครูขึ้นใหม่ เรียกว่า "ระเบียบคุรุสภาว่าด้วยจรรยามารยาทและวินัยตามระเบียบประเพณีครู" (คุรุสภา. 2526 : 2-3) ซึ่งมีรายละเอียดดังนี้
ครูต้องมีจรรยามารยาทและวินัยตามระเบียบประเพณีของครู ดังต่อไปนี้
1. เลื่อมใสการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุขด้วยความบริสุทธิ์ใจ
2. ยึดมั่นในศาสนาที่ตนนับถือ ไม่ลบหลู่ดูหมิ่นศาสนาอื่น
3. ตั้งใจสอนศิษย์และปฏิบัติหน้าที่ของตนให้เกิดผลดี ด้วยความเอาใจใส่ อุทิศเวลาของตน ให้แก่ศิษย์ จะละทิ้งหรือทอดทิ้งหน้าที่การงานมิได้
4. รักษาชื่อเสียงของตนมิให้ชื่อว่าประพฤติชั่ว ไม่ประพฤติการอันใดจะทำให้เสียชื่อเสียง และเกียรติของความเป็นครู
5. ถือปฏิบัติตามระเบียบ และแบบธรรมเนียมอันดีงามของสถานศึกษา
6. ถ่ายทอดความรู้โดยไม่ปิดบังอำพราง ไม่นำหรือยอมให้นำผลงานทางวิชาการของตนไปใช้ในทางทุจริต หรือเป็นภัยต่อมนุษยชาติ
7. ให้เกียรติผู้อื่นทางวิชาการ โดยไม่นำผลงานของผู้ใดมาแอบอ้างเป็นผลงานของตนและไม่เบียดบังใช้แรงงาน หรือนำผลงานของผู้อื่นไปเพื่อประโยชน์ส่วนตน
8. ประพฤติอยู่ในความซื่อสัตย์สุจริต และปฏิบัติหน้าที่ของตนด้วยความเที่ยงธรรม ไม่แสวงหาประโยชน์ตนเองหรือผู้อื่นโดยมิชอบ
9. สุภาพเรียบร้อย ประพฤติตนเป็นแบบอย่างที่ดีแก่ศิษย์ รักษาความลับของศิษย์ ของผู้ร่วมงาน และสถานศึกษา
10. รักษาความสามัคคีของครู และช่วยเหลือกันในหน้าที่การงาน

คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้จัดการสัมมนาทางวิชาการ เรื่อง "คุณธรรม สำหรับผู้ประกอบวิชาชีพครู" เมื่อวันที่ 25 มกราคม 2529 และได้กำหนดขอบเขตจรรยาบรรณของวิชาชีพครู ไว้ดังนี้ (คุรุสภา, 2529 : 5-7 )
1. ตั้งใจสอนศิษย์ อุทิศเวลาในการปฏิบัติหน้าที่ให้เกิดผลดี ไม่ละทิ้งหน้าที่การงาน
2. ถ่ายทอดวิชาความรู้โดยไม่ปิดบังอำพราง ไม่นำผลงานทางวิชาการไปใช้ในทางที่ทุจริต หรือเป็นภัยต่อมนุษย์ชาติ
3. ประพฤติตนเป็นแบบอย่างที่ดีแก่ศิษย์ ผู้ร่วมงาน และสถานศึกษา
4. ไม่แอบอ้างผลงานทางทางวิชาการของผู้อื่นมาเป็นของตน และไม่ใช้แรงงานหรือนำผลงานของผู้อื่นไปใช้เพื่อประโยชน์ส่วนตัว
5. รักษาชื่อเสียงของตนมิให้ได้ชื่อว่าประพฤติชั่ว อันจะทำให้เสื่อมเสียเกียรติของครู
กล่าวโดยสรุป หัวใจสำคัญของจรรยาบรรณครูมี 3 ประการ คือ ต้องมีความซื่อสัตย์ รักและปรารถนาดีต่อศิษย์อย่างจริงใจ วางตนให้เป็นที่นับถือของผู้อื่น การที่ครูผู้ใดจะมีคุณธรรมดังกล่าวได้ จะต้องรู้จัก และตีความวิชาชีพครูให้ชัดเจนก่อน

คุณลักษณะที่ดีของครู
คุณลักษณะของครูที่ดีนั้นมีผู้กล่าวไว้หลายท่าน ในหลายโอกาส พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช ทรงมีพระราชดำรัสพระราชทานแก่ครูอาวุโส ประจำปี พ.ศ. 2522 ซึ่งมีข้อความที่แสดงถึงคุณลักษณะที่ดีของครูที่ดี ไว้ดังนี้ "ครูที่แท้นั้นเป็นผู้กระทำแต่ความดี คือ ต้องขยันและอุตสาหะพากเพียร เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ และเสียสละ ต้องหนักแน่น อดกลั้น และอดทน ต้องรักษาวินัย สำรวมระวังความประพฤติ และปฏิบัติตนให้อยู่ในระเบียบแบบแผนที่ดีงาม ต้องปลีกตัวปลีกใจจากความสะดวกสบาย และความสนุกรื่นเริงที่ไม่สมควรแก่เกียรติภูมิของตน ต้องมั่นใจให้มั่นคงและแน่วแน่ ต้องซื่อสัตย์ รักษา ความจริงใจ ต้องเมตตา หวังดี ต้องวางใจเป็นกลาง ไม่ปล่อยไปตามอำนาจอคติ ต้องอบรมปัญญา ให้เพิ่มพูนสมบูรณ์ขึ้น ทั้งในด้านวิทยาการ และความฉลาด รอบรู้ในเหตุและผล" (คุรุสภา, 2524 : 3)
พระพุทธทาสภิกขุ ( 2530 : 1-27 ) ได้บรรยายเรื่องธรรมะสำหรับครูระหว่าง วันที่ 4-9 กันยายน 2527 ณ สวนโมกขพลาราม จังหวัดสุราษฎร์ธานี ซึ่งมีความบางตอนแสดงถึง คุณลักษณะของครูที่ดี ไว้ดังนี้ "ครูในฐานะที่ได้รับการยกย่องว่าเป็นปูชนียบุคคล ควรกอร์ปด้วยคุณธรรมของครู คือ เปิดประตูทางวิญญาณของโลกที่ปิดด้วยอวิชชาให้ออกมาสู่แสงสว่าง และอิสรภาพทางจิต มีลักษณะสูงส่งในแง่คุณธรรม มีหน้าที่พัฒนามนุษย์ให้เป็นในทางที่ถูกทุกวิถีทาง มีจิตใจเปี่ยมด้วยเมตตา กรุณาและปัญญา ทำบุญคุณและมีประโยชน์แก่โลกอย่างมหาศาลโดยได้รับประโยชน์ตอบแทน เพียงเลี้ยวชีวิตได้ ครูต้องสร้างเด็กให้มีสติปัญญา มีเหตุผล ช่วยให้เขาหลุดพ้นจากสัญชาติญาณ อย่างสัตว์ สามารถสร้างบ้านสร้างชาติและสังคมโลก เป็นพุทธมามกะที่สมบูรณ์ รู้จักรับผิดชอบชั่ว ดี เชื่อฟังบิดามารดา และให้เขารู้จักว่า "ไท" (อิสระจากกิเลส) "มัชฌิม" (ทางสายกลางอริยมรรค) "โชคดี" (ทำดีทางกาย วาจา ใจ) "เกียรติ" (รู้ว่าตนเองได้ทำดีถูกต้อง มี คุณค่า ควรแก่การ ภาคภูมิใจ)"
พระราชนันทมุนี (2525 : 3-4) ได้นำหลักธรรมในพุทธศาสนาเกี่ยวกับพระกรุณาธิคุณของพระพุทธเจ้า ซึ่งแสดงถึงคุณลักษณะของผู้อบรมสั่งสอนที่เป็นเลิศ ดังนี้ "พระพุทธศาสนา ถือว่าความสัมพันธ์ระหว่างผู้สอนและผู้เรียนนั้น อยู่ในฐานะเป็นกัลยาณมิตร คือ เป็นผู้ช่วยเหลือ แนะนำผู้เรียนให้ดำเนินก้าวหน้าไปในมรรคแห่งการฝึกอบรม ซึ่งมี ลักษณะ 7 ประการ ดังนี้ คือ ปิโย คือ กระทำตนให้เป็นที่น่ารัก เป็นที่น่าไว้วางใจ ครุ คือ น่าเคารพทำให้ศิษย์เกิดความอบอุ่น ภาวนิโย คือ น่ายกย่อง ทรงคุณความรู้ ภูมิปัญญาอย่างแท้จริง วัตตา คือ รู้จักระเบียบแบบแผน ทั้งกายและวาจา วัจนักนโม คือ อดทนต่อพฤติกรรมของศิษย์ คัมภีรันญกะถังกัตตา คือ มีความสามารถชี้แจงเรื่องต่าง ๆ ที่ลึกซึ้งได้ โนจัตถาเน นิโยชะเย คือ ไม่ชักจูงศิษย์ไปในทางที่เสื่อมเสีย"

คณะกรรมการข้าราชการครู (2529 : 12) จัดประชุมสัมมนา เรื่อง การปฏิรูปการฝึกหัดครู ตามโครงการพัฒนาศึกษาอาเซี่ยน เมื่อวันที่ 24-27 ธันวาคม 2524 และได้สรุปลักษณะของครูที่พึงประสงค์ ไว้ดังนี้
1. มีความเป็นครู คือ ทำตนเองเป็นตัวอย่างที่ดี มีเมตตาปราณี รักอาชีพครู ใฝ่รู้ โลก ทัศน์กว้าง รับผิดชอบต่อหน้าที่ยอมรับการเปลี่ยนแปลง มีวุฒิภาวะ ยุติธรรม มีชีวิตที่สงบ และ เรียบง่าย มีบทบาทในการช่วยเหลือชุมชนมากขึ้น
2. มีความรู้ในด้านต่อไปนี้ คือ
2.1 วิชาเฉพาะอย่างลึกซึ้งเหมาะสมกับระดับการศึกษาที่จะสอน
2.2 วิชาครู วิทยาการการจัดการ จิตวิทยา ที่เกี่ยวข้องกับการเรียนการสอน การวิจัย การประเมินผล
2.3 ความรู้ทั่วไป โดยเฉพาะเรื่องการส่งเสริมศิลปะวัฒนธรรม และการอนุรักษ์ ธรรมชาติ
3. มีความสามารถในวิธีสอน วิธีอบรมและการพัฒนาการเป็นผู้นำ ผู้ตาม และ ผู้ประสานงานที่ดีโดยได้รับการฝึกปฏิบัติเหมาะสมจนเกิดเป็นทักษะ

ฝ่ายพัฒนาข้าราชการครู กองวิชาการบริหารงานบุคคล คณะกรรมการข้าราชการครู (2529 : 1) ได้กำหนดคุณลักษณะของครูที่สามารถปฏิบัติงานได้อย่างมีประสิทธิภาพไว้ดังนี้ คือ "สอนดี มีระเบียบ เพียบคุณธรรม นำสังคม" พร้อมกับการกำหนดคุณลักษณะดังกล่าว เพื่อพัฒนาวินัย และจริยธรรมสำหรับข้าราชการครู 6 เรื่อง คือ
1. การปฏิบัติการสอนที่มีคุณภาพ : ตรงเวลา
2. การปฏิบัติการสอนที่มีคุณภาพ : การแสดงหาทางใหม่ ๆ ในการเรียนการสอน
3. การปฏิบัติการสอนที่มีคุณภาพ : การคำนึงถึงผลที่จะเกิดกับผู้เรียน
4. การปฏิบัติตามระเบียบของทางราชการ
5. การประพฤติเป็นแบบอย่างที่ ดี
6. การมุ่งมั่นในการทำประโยชน์แก่สังคม

คณะอนุกรรมการส่งเสริมวิชาชีพครู (คุรุสภา. 2532 : 1) ได้ประกาศเกณฑ์มาตรฐาน วิชาชีพครูเมื่อเดือนสิงหาคม 2532 โดยกำหนดว่า ครูควรมีคุณลักษณะพื้นฐานอย่างน้อย 4 ประการคือ
1. รอบรู้ คือ จะต้องมีความรู้เกี่ยวกับสภาพเศรษฐกิจสังคมโดยทั่วไป และรอบรู้เรื่องราว เกี่ยวกับอาชีพของตน
2. สอนดี คือ สามารถทำการสอนได้อย่างมีประสิทธิภาพ
3. มีคุณธรรม จรรยาบรรณ คือ มีศรัทธาในอาชีพของตน ตั้งใจใช้ความรู้ความสามารถ ในอาชีพ เพื่อเยาวชนและสังคมมีความซื่อสัตย์ มีความรับผิดชอบต่ออาชีพ และมีความรักษา ปรารถนาดีต่อเยาวชน ตลอดจนอุทิศเวลาให้กับศิษย์
4. มุ่งมั่นพัฒนา คือ ปรับปรุงตนเอง ใฝ่ศึกษาหาความรู้ คิดค้นหาความรู้ที่ทันสมัยอยู่เสมอ

จากการศึกษา พระบรมราโชวาทของพระบาทสมเด็กพระเจ้าอยู่หัว ทัศนะของผู้ทรงคุณวุฒิ ตลอดจนจรรยาบรรณครูและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง นำมาสรุปจะได้คุณลักษณะทาง จริยธรรมครู รวม 6 ด้าน ดังนี้ 1) ความซื่อสัตย์ 2) ความรับผิดชอบ 3) ความเมตตากรุณา 4) ความเสียสละ 5) ความยุติธรรม 6) การรักษาระเบียบวินัย ซึ่ง คุณลักษณะทางจริยธรรมทั้ง 6 ด้าน โกวิท ประวาลพฤกษ์ (2528 : 582 - 592) ได้ให้ความหมายไว้ ดังนี้
1. ความซื่อสัตย์ หมายถึง การประพฤติปฏิบัติอย่างเหมาะสมและตรงต่อความเป็นจริง ประพฤติปฏิบัติอย่างตรงไปตรงมา ทั้งกาย วาจา ใจ ต่อตนเอง และต่อผู้อื่น แสดงออกเป็น พฤติกรรมได้ดังต่อไปนี้
1.1 ถ่ายทอดความรู้โดยไม่ปิดบังอำพราง
1.2 ไม่เบียดบังแรงงานหรือนำผลงานขอผู้อื่นมาเป็นของตน
1.3 ไม่เบียดบังทรัพย์สินส่วนรวม หรือส่วนราชการไปใช้เพื่อประโยชน์ส่วนตน หรือพวกพ้อง
1.4 ไม่อวดอ้างความสามารถเกินความจริง
1.5 ไม่นำ หรือยอมให้นำผลงานทางวิชาการของตนไปใช้ในทางทุจริต หรือเป็นภัยต่อ มนุษยชาติ
1.6 ใช้เวลาราชการเพื่อประโยชน์ทางราชการอย่างเต็มที่
1.7 ไม่ชักชวนศิษย์กระทำในสิ่งที่เสื่อมเสีย
1.8 เข้าสอน และเลิกสอนตามเวลาที่กำหนด
1.9 ไม่ประจบ สอพลอผู้บังคับบัญชาเพื่อประโยชน์ส่วนตน
1.10 ปฏิบัติหน้าที่อย่างดี ทั้งต่อหน้าและลับหลังผู้บังคับบัญชา
1.11 เป็นบุคคลรักษาคำมั่นสัญญา
2. ความรับผิดชอบ หมายถึง ความมุ่งมั่น ตั้งใจปฏิบัติหน้าที่ด้วยความผูกพัน พากเพียร และละเอียดรอบคอบ ยอมรับผลกระทำในการปฏิบัติหน้าที่เพื่อให้บรรลุผลสำเร็จตามความมุ่งหมาย ทั้งพยายามที่จะปรับปรุงการปฏิบัติหน้าที่ ให้ดียิ่งขึ้น แสดงออกเป็นพฤติกรรม ดังนี้
2.1 เตรียมการสอนอย่างดี
2.2 ดูแลซ่อมแซม ปรับปรุง อุปกรณ์ และสถานที่ของทางราชการอยู่เสมอ
2.3 แสวงหาแนวทางวิธีการปรับปรุงในงานที่รับผิดชอบอยู่เสมอ
2.4 ค้นคว้าหาความรู้ใหม่อยู่เสมอ
2.5 ไม่เพิกเฉยในเหตุการณ์ที่จะทำให้เกิดผลเสียต่องานราชการ
2.7 มีความละเอียด รอบคอบในการทำงาน
2.8 อดทนต่อปัญหาต่าง ๆ ในการทำงาน โดยไม่ละทิ้งและท้อถอยโดยง่าย
2.9 อดทนต่อพฤติกรรมที่ยั่วยุของศิษย์ ไม่แสดงความโกรธโดยง่าย
2.10 ยอมรับผลการกระทำของตน
2.11 รู้จักหน้าที่และปฏิบัติหน้าที่อย่างเต็มกำลังความสามารถ
2.12 ให้ความร่วมมือในกิจการของสถาบันเป็นอย่างดี
2.13 ผ่อนปรนต่อปัญหาต่าง ๆ และหาทางแก้ไขโดยวิธีทางปัญญาและสันติวิธี
2.14 ใช้ทรัพย์สินราชการอย่างประหยัด
3. ความเมตตา กรุณา เมตตา หมายถึง ความรักใคร่ ปรารถนาจะให้ผู้อื่นเป็นสุข กรุณา หมายถึง ความสงสารคิดจะช่วยให้ผู้อื่นพ้นทุกข์ แสดงออกเป็นพฤติกรรมได้ ดังต่อไปนี้
3.1 สนใจ เอาใจใส่ศิษย์ที่มีปัญหาอย่างสม่ำเสมอ
3.2 ชักนำให้ศิษย์ประพฤติแต่สิ่งที่ดีงาม
3.3 ให้โอกาสกับศิษย์ได้แก้ตัวต่อการกระทำที่ผิดพลาด
3.4 ให้กำลังใจแก่ศิษย์โดยเฉพาะศิษย์ที่มีปัญหา
3.5 ให้ความอนุเคราะห์กับศิษย์และบุคคลทั่วไปตามสมควรกับฐานะ
3.6 ไม่ใช้ถ้อยคำหรือแสดงกริยาข่มขู่ศิษย์และผู้อื่น
3.7 ไม่ใช้ถ้อยคำหรือแสดงกริยาดูหมิ่นเสียดเสียศิษย์ และผู้อื่น
3.8 ไม่แสดงกริยาอาฆาตพยาบาทต่อศิษย์และผู้อื่น
3.9 มีบุคลิกภาพยิ้มแย้มแจ่มใสอยู่เสมอ
3.10 ให้ความเป็นกันเองกับศิษย์และผู้อื่นอยู่เสมอ
4. ความเสียสละ หมายถึง การละความเห็นแก่ตัว การให้ปันแก่คนที่ควรให้ ด้วยกำลัง กาย กำลังทรัพย์ กำลังสติปัญญา รวมทั้งการรู้จักสลัดทิ้งอารมณ์ร้ายในตนเองด้วย แสดงออกเป็นพฤติกรรมได้ ดังต่อไปนี้
4.1 ร่วมกิจกรรมที่ก่อให้เกิดการพัฒนาทางการศึกษากับศิษย์ทั้งในและนอกเวลาราชการอยู่เสมอ
4.2 ให้คำปรึกษากับศิษย์ในปัญหาต่าง ๆ ทั้งในและนอกเวลาราชการอยู่เสมอ
4.3 แบ่งปันทรัพย์สินตามสมควร เพื่อให้กิจการของศิษย์หรือสถาบันประสบความสำเร็จ
4.4 ช่วยเจรจาเป็นธุระในกิจการของศิษย์และสถาบันให้สำเร็จประโยชน์
4.5 ให้อภัยผู้อื่น ไม่แสดงการอาฆาตพยาบาท
4.6 ใจกว้าง รับฟังความคิดเห็นผู้อื่น
4.7 มีเหตุผล ไม่งมงายในความเชื่อของตน
5. ความยุติธรรม หมายถึง การปฏิบัติด้วยความเที่ยงตรง สอดคล้องกับความเป็นจริง และเหตุผล ไม่มีความลำเอียง แสดงออกเป็นพฤติกรรมได้ ดังต่อไปนี้
5.1 ให้ความรู้และการบริการต่าง ๆ แก่ศิษย์โดยไม่แบ่งเชื้อชาติ ศาสนา เพศ หรือ ความสัมพันธ์ส่วนตัว
5.2 ตรวจผลงานและให้คะแนนตามความเป็นจริงด้วยความเที่ยงธรรมและมีเหตุผล
5.3 ใช้หลักวิชาที่ถูกต้องในการประเมินผลการศึกษาอย่างสม่ำเสมอ
6. การรักษาวินัย หมายถึง การควบคุมความประพฤติปฏิบัติให้ถูกต้องและเหมาะสมกับ จรรยามารยาท ข้อบังคับ ข้อตกลง กฎหมาย และศีลธรรม แสดงออกเป็นพฤติกรรมได้ ดังต่อไปนี้
6.1 แต่งกายเหมาะสมกับอาชีพครู
6.2 วาจาสุภาพ
6.3 รักษาความลับของศิษย์ เพื่อร่วมงาน และสถานศึกษา
6.4 ตรงต่อเวลา
6.5 ดูแล จัดอุปกรณ์ทางการศึกษา และสถานที่ทำงาน สะอาดเป็นระเบียบเรียบร้อย
6.6 ไม่สูบบุหรี่
6.7 ไม่ดื่มสุรา
6.8 ไม่เล่นการพนัน
6.9 ไม่ประพฤติผิดทางเพศ
6.10 ให้ความร่วมมือกับกิจกรรมของสถานศึกษาเป็นอย่างดี

จรรยาบรรณครูวิทยาลัยในสังกัดกระทรวงสาธารณสุข
1. ครูพึงปฏิบัติตนตามแนวทางพระราชดำรัสของสมเด็จพระราชบิดาที่ว่า “ขอให้ถือประโยชน์ส่วนตนเป็นกิจที่สอง ประโยชน์ของเพื่อนมนุษย์เป็นกิจที่หนึ่ง”
2. ครูต้องเป็นคนดีตามแนวทางพระราชดำรัสของสมเด็จย่า ที่ว่า “ไม่พูดปด ไม่สอพลอ ไม่อิจฉาริษยา ไม่คดโกงและพยายามทำหน้าที่ของตนเองให้ดีในขอบเขตศีลธรรม”
3. ครูพึงปฏิบัติตนเป็นพลเมืองที่ดีของสังคมและระบอบการปกครองแบบประชาธิปไตย โดยมุ่งเสริมความมั่นคงของชาติศาสนาและสถาบันกษัตริย์
4. ครูพึงประพฤติปฏิบัติตนเป็นผู้นำในการอนุรักษ์ และพัฒนาภูมิปัญญา และวัฒนธรรมไทย พึงช่วยเหลือเกื้อกูลชุมชนในทางสร้างสรรค์ สนับสนุนกิจกรรมที่ก่อให้เกิดสันติสุข และยกระดับคุณภาพชีวิต
5. ครูพึงร่วมมือและเป็นเครือข่ายกับสมาชิกด้านสุขภาพอนามัยและบุคคลอื่น ๆ ในสังคม เพื่อส่งเสริมชุมชนและสนองตอบความต้องการด้านสุขภาพอนามัยของสังคม
6. ครูพึงปฏิบัติงานด้วยความมีสติ ตระหนักในคุณค่าและศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์ ปฏิบัติต่อประชาชนด้วยความเสมอภาคตามสิทธิมนุษยชน โดยไม่คำนึงถึงเชื้อชาติ ศาสนา และสถานภาพของบุคคล
7. ครูต้องรักและเมตตาศิษย์ โดยให้ความเอาใจใส่ช่วยเหลืออบรม สั่งสอน สร้างเสริม ความรู้ ฝึกฝน ทักษะและนิสัยที่ถูกต้องดีงาม ส่งเสริมให้กำลังใจในการศึกษาเล่าเรียนแก่ศิษย์โดยเสมอหน้า ให้เกิดแก่ศิษย์อย่างเต็มความสามารถด้วยความบริสุทธิ์ใจ
8. ครูต้องประพฤติปฏิบัติตนเป็นแบบอย่างที่ดีแก่ศิษย์ทั้งทางกาย วาจา และจิตใจ
9. ครูต้องไม่กระทำตนเป็นปฏิปักษ์ต่อความเจริญทางกาย สติปัญญา จิตใจ อารมณ์และสังคมของศิษย์
10. ครูต้องไม่แสวงหาประโยชน์อันเป็นอามิสสินจ้างจากศิษย์ในการปฏิบัติหน้าที่
11. ครูย่อมพัฒนาตนเองทั้งในด้านวิชาชีพ ด้านบุคลิกภาพ และวิสัยทัศน์ให้ทันต่อการพัฒนาทางวิทยาการ เศรษฐกิจ สังคม และการเมืองอยู่เสมอ
12. ครูย่อมรักและศรัทธาในวิชาชีพครูและเป็นสมาชิกที่ดีของสถาบันและองค์กรวิชาชีพ
จรรยาบรรณวิชาชีพครู (Code of Ethics of Teaching Profession) เรียบเรียงโดย ผศ. ดร.พฤทธิ์ ศิริบรรณพิทักษ์ (PDF)
ข้อบังคับคุรุสภา ว่าด้วยจรรยาบรรณของวิชาชีพ พ.ศ. ๒๕๕๖ (PDF)
ข้อบังคับคุรุสภา ว่าด้วยมาตรฐานวิชาชีพและจรรยาบรรณของวิชาชีพ พ.ศ.๒๕๔๘ (PDF)
สุจริตไทย

Chrome browser
aboutus.mhtml
สุจริต หมายถึง ความประพฤติดี ความประพฤติตามคลองธรรม ความประพฤติซื่อตรงต่อหน้าที่ ซึ่งคำว่า "สุจริตไทย" พบการเล่าในเฟสบุ๊คอย่างต่อเนื่อง โดย ดร.วิริยะ ฤาชัยพาณิชย์ เป็นการเล่าเรื่อง #ความสุจริต สลับกับ #คิดสร้างสรรค์ ที่แสดงออกอย่างหลากหลาย เน้นไปด้านคิดบวก และมีความสุข ชื่นชมพฤติกรรมที่ดีของผู้คนในสังคมที่นำมาเป็นต้นแบบสุจริตได้
นวทางการจัดทำหลักสูตร "สุจริตไทย" ใช้งานวิจัยทางจิตวิทยา และบทความทางวิชาการ ที่เกี่ยวข้องกับเรื่องทุจริตและงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับการจัดทำหลักสูตรแบบ E-Learning ที่มีมาตรฐานทางวิชาการ ซึ่งผู้วิจัยและออกแบบหลักสูตร คือ ดร.วิริยะ ฤาชัยพาณิชย์ และทีมงานอาจารย์ นักวิจัยจากมหาวิทยาลัยต่าง ๆ โดยการวิจัยและเก็บรวบรวมข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับพฤติกรรมของคนไทย ด้านการคอร์รับชัน เพื่อนำมาพัฒนาเนื้อหาหลักสูตรให้สอดคล้องกับสภาวะทางสังคม ทั้งนี้ หลักสูตร "สุจริตไทย" ได้รับการสนับสนุนจาก มูลนิธิเพื่อคนไทย และ กองทุนรวมคนไทยใจดี (BKIND) โดยสำนักงานใหญ่ของ บริษัทสุจริตไทย จำกัด ตั้งอยู่ที่อาคารเซ็นทรัลพลาซาลาดพร้าว กทม.
ข่าวเรื่องจรรยาบรรณวิชาชีพครู กับชุดว่ายน้ำ บข่าวหลายสำนัก ที่กล่าวถึงประเด็นที่ชี้ชวนให้แสดงความคิดเห็นต่อ จรรยาบรรณวิชาชีพครู ที่ได้รับความสนใจอย่างมาก ผมพบเนื้อหานี้ในเพจของ Wiriyah Eduzones หลังโพสต์ได้ 14 นาที มี like=878 comment=205 share=80 จากนั้น 1 ชั่วโมง มี like=2971 comment=913 share=833 และหลังจากนั้น 5 ชั่วโมง มี like=8955 comment=3859 share=6943
รูสวมชุดว่ายน้ำ หมายถึง ชุดสำหรับสวมว่ายน้ำในสระว่ายน้ำ หรือเล่นน้ำริมทะเล เพื่อพักผ่อนหย่อนใจ แล้วมีคำถามขึ้นมาว่า ครูรุ่นใหม่ถ่ายรูปชุดว่ายน้ำ แล้วอัพโหลดลงเฟสบุ๊ค ได้หรือไม่ กลายเป็นประเด็นปัญหาให้ขบคิดในสังคมไทย คำถาม คือ ครูสวมชุดว่ายน้ำอัพโหลดลงเฟสบุ๊คได้หรือไม่ ซึ่งคำตอบที่ทุกคนเห็นตรงกัน คือ เป็นเรื่องส่วนตัว และเป็นที่มาของการสืบค้นจรรยาบรรณวิชาชีพครู ทำให้ครูรุ่นใหม่ สนใจอ่านแนวปฏิบัติกันมากขึ้น และใช้เป็นข้อมูลไว้เตือนใจ ไม่ให้ปฏิบัตินอกลู่นอกทางที่เสี่ยงจะก่อให้เกิดความเสียหายได้
ครูมิกกี้ ระบายเอกสาร SDQ ชี้ทำให้ครูโรงเรียนรัฐไม่มีเวลาสอนหนังสือ
Vote - ไม่พอใจการทำงานของกระทรวงศึกษาธิการ
ระดมสมอง คิดเชิงตรรกะ (ครู กับ นักเรียน) รรกะ คือ ความตรึก ความคิดอย่างใช้เหตุผล การคิดแบบมีเหตุมีผล เช่น ผมพยายามใช้ตรรกะและความรู้ของตัวเองให้มากที่สุดเพื่อตอบคำถามนี้ มีคำถามเป็นเหตุการณ์สมมติ ว่า ถ้าคุณแม่ขอคุณลูกให้ไปซื้อเครื่องทำขนมจีนน้ำยาป่ามาทำอาหาร แล้วคุณลูกหิ้วเครื่องทำขนมจีนน้ำเงี้ยวกลับมาแทน และให้เหตุผลว่า "ง่าย" ? ... เชิญคิด ... ?
ข่าวตัดสิทธิครูประกวด MUT ติดตามข่าว ผอ.ขอความชัดเจน ครูประกวดนางงามไม่ได้ ชี้เป็นโอกาสสร้างชื่อ แสดงความสามารถ และพบการพูดคุยแลกเปลี่ยนในเฟซบุ๊กของ Thairath online หลังเรื่องครูจุ๊บแจงที่ได้เข้ารอบ 30 คนสุดท้าย MUT 2022 (Miss Universe Thailand) แล้วสละสิทธิ์ เหตุเป็นครูประกวดไม่ได้ ถูกโพสต์ไปได้เพียง 6 ชั่วโมง พบว่า มีกดไลก์ 9,569 คลิ๊ก กดแลกเปลี่ยน 615 ความคิดเห็น และกดแชร์ 96 ครั้ง ซึ่งความเห็นก็จะแบ่งเป็น 2 ฝ่าย คือ ฝ่ายที่พูดถึงสิทธิมนุษย์ และ ฝ่ายที่พูดถึงหน้าที่ครูในห้องเรียน ส่วน เลขาฯ สพฐ. ขอว่า อย่าขัดต่อ จรรยาบรรณวิชาชีพครู เท่านั้น
จรรยาบรรณของวิชาชีพ (ข้อบังคับคุรุสภา) 2562 ประกาศ ณ วันที่ 20 มีนาคม พ.ศ. 2562
ต่อไปบทนิยาม ให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
“มาตรฐานความรู้และประสบการณ์วิชาชีพ หมายความว่า ข้อกำหนดเกี่ยวกับความรู้และประสบการณ์ในการจัดการเรียนรู้ หรือการจัดการศึกษา ซึ่งผู้ประกอบวิชาชีพทางการศึกษา รวมทั้งผู้ต้องการประกอบวิชาชีพทางการศึกษา ต้องมีเพียงพอที่สามารถนำไปใช้ในการประกอบวิชาชีพได้”
“มาตรฐานการปฏิบัติงาน หมายความว่า ข้อกำหนดเกี่ยวกับคุณลักษณะ หรือการแสดงพฤติกรรมการปฏิบัติงานและการพัฒนางาน ซึ่งผู้ประกอบวิชาชีพทางการศึกษา รวมทั้งผู้ต้องการประกอบวิชาชีพทางการศึกษา ต้องปฏิบัติตาม เพื่อให้เกิดผลตามวัตถุประสงค์ และเป้าหมายการเรียนรู้หรือการจัดการศึกษา รวมทั้งต้องฝึกฝนพัฒนาตนเองให้มีทักษะ หรือความชำนาญสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง”
“มาตรฐานการปฏิบัติตน หมายความว่า จรรยาบรรณของวิชาชีพที่กำหนดขึ้นเป็นแบบแผนในการประพฤติปฏิบัติตน ซึ่งผู้ประกอบวิชาชีพทางการศึกษา รวมทั้งผู้ต้องการประกอบวิชาชีพทางการศึกษา ต้องยึดถือปฏิบัติตาม เพื่อรักษาและส่งเสริมเกียรติคุณชื่อเสียง และฐานะของผู้ประกอบวิชาชีพทางการศึกษาให้เป็นที่เชื่อถือศรัทธาแก่ผู้รับบริการและสังคม อันจะนำมาซึ่งเกียรติ และศักดิ์ศรีแห่งวิชาชีพ” “ข้อ ๖ ผู้ประกอบวิชาชีพครู ต้องมีคุณวุฒิไม่ต่ำกว่าปริญญาตรีทางการศึกษาหรือเทียบเท่า หรือมีคุณวุฒิอื่นที่คุรุสภารับรอง โดยมีมาตรฐานความรู้และประสบการณ์วิชาชีพ ดังต่อไปนี้
(ก) มาตรฐานความรู้ ต้องมีความรอบรู้และเข้าใจในเรื่อง ดังต่อไปนี้
(1) การเปลี่ยนแปลงบริบทของโลก สังคม และแนวคิดของปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง
(2) จิตวิทยาพัฒนาการ จิตวิทยาการศึกษา และจิตวิทยาให้คำปรึกษาในการวิเคราะห์และพัฒนาผู้เรียนตามศักยภาพ
(3) เนื้อหาวิชาที่สอน หลักสูตร ศาสตร์การสอน และเทคโนโลยีดิจิทัลในการจัดการเรียนรู้
(4) การวัด ประเมินผลการเรียนรู้ และการวิจัยเพื่อแก้ปัญหาและพัฒนาผู้เรียน
(5) การใช้ภาษาไทย ภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสาร และการใช้เทคโนโลยีดิจิทัลเพื่อการศึกษา
(6) การออกแบบและการดำเนินการเกี่ยวกับงานประกันคุณภาพการศึกษา (ข) มาตรฐานประสบการณ์วิชาชีพ ผ่านการปฏิบัติการสอนในสถานศึกษาตามหลักสูตรปริญญาทางการศึกษาเป็นเวลาไม่น้อยกว่าหนึ่งปี และผ่านเกณฑ์การประเมินปฏิบัติ การสอนตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่คณะกรรมการคุรุสภากำหนด ดังต่อไปนี้
(1) การฝึกปฏิบัติวิชาชีพระหว่างเรียน
(2) การปฏิบัติการสอนในสถานศึกษาในสาขาวิชาเฉพาะ
ข้อ 11 ผู้ประกอบวิชาชีพครู ต้องมีมาตรฐานการปฏิบัติงาน ดังนี้
(ก) การปฏิบัติหน้าที่ครู
(1) มุ่งมั่นพัฒนาผู้เรียน ด้วยจิตวิญญาณความเป็นครู
(2) ประพฤติตนเป็นแบบอย่างที่ดี มีคุณธรรม จริยธรรม และมีความเป็นพลเมืองที่เข้มแข็ง
(3) ส่งเสริมการเรียนรู้ เอาใจใส่ และยอมรับความแตกต่างของผู้เรียนแต่ละบุคคล
(4) สร้างแรงบันดาลใจผู้เรียนให้เป็นผู้ใฝ่เรียนรู้ และผู้สร้างนวัตกรรม
(5) พัฒนาตนเองให้มีความรอบรู้ ทันสมัย และทันต่อการเปลี่ยนแปลง
(ข) การจัดการเรียนรู้
(1) พัฒนาหลักสูตรสถานศึกษา การจัดการเรียนรู้ สื่อ การวัดและประเมินผลการเรียนรู้
(2) บูรณาการความรู้และศาสตร์การสอนในการวางแผนและจัดการเรียนรู้ที่สามารถพัฒนาผู้เรียนให้มีปัญญารู้คิด และมีความเป็นนวัตกร
(3) ดูแล ช่วยเหลือ และพัฒนาผู้เรียนเป็นรายบุคคลตามศักยภาพ สามารถ รายงานผลการพัฒนาคุณภาพผู้เรียนได้อย่างเป็นระบบ
(4) จัดกิจกรรมและสร้างบรรยากาศการเรียนรู้ให้ผู้เรียนมีความสุขในการเรียน โดยตระหนักถึงสุขภาวะของผู้เรียน
(5) วิจัย สร้างนวัตกรรม และประยุกต์ใช้เทคโนโลยีดิจิทัลให้เกิดประโยชน์ต่อการเรียนรู้ของผู้เรียน
(6) ปฏิบัติงานร่วมกับผู้อื่นอย่างสร้างสรรค์และมีส่วนร่วมในกิจกรรมการพัฒนาวิชาชีพ
(ค) ความสัมพันธ์กับผู้ปกครองและชุมชน
(1) ร่วมมือกับผู้ปกครองในการพัฒนาและแก้ปัญหาผู้เรียนให้มีคุณลักษณะที่พึงประสงค์
(2) สร้างเครือข่ายความร่วมมือกับผู้ปกครองและชุมชน เพื่อสนับสนุนการเรียนรู้ที่มีคุณภาพของผู้เรียน
(3) ศึกษา เข้าถึงบริบทของชุมชน และสามารถอยู่ร่วมกันบนพื้นฐานความแตกต่างทางวัฒนธรรม
(4) ส่งเสริม อนุรักษ์วัฒนธรรม และภูมิปัญญาท้องถิ่น
ข้อบังคับคุรุสภาฯ 2562
ข้อบังคับคุรุสภา ว่าด้วยจรรยาบรรณของวิชาชีพ พ.ศ.2556 อ่านฉบับเต็ม : ข้อบังคับคุรุสภา ว่าด้วยจรรยาบรรณของวิชาชีพ พ.ศ. ๒๕๕๖
ประกาศ ณ วันที่ ๑๙ กันยายน พ.ศ. ๒๕๕๖
ให้ยกเลิกข้อบังคับคุรุสภา ว่าด้วย มาตรฐานวิชาชีพและจรรยาบรรณของวิชาชีพ พ.ศ.๒๕๔๘
ผู้ประกอบวิชาชีพทางการศึกษา” หมายความว่า ครู ผู้บริหารสถานศึกษา ผู้บริหารการศึกษา และบุคลากรทางการศึกษาอื่น ซึ่งได้รับใบอนุญาตเป็นผู้ประกอบวิชาชีพตามพระราชบัญญัติสภาครู และบุคลากรทางการศึกษา พ.ศ. ๒๕๔๖
ครู” หมายความว่า บุคคลซึ่งประกอบวิชาชีพหลักทางด้านการเรียนการสอนและการส่งเสริมการเรียนรู้ของผู้เรียนด้วยวิธีการต่าง ๆ ในสถานศึกษาปฐมวัย ขั้นพื้นฐาน และอุดมศึกษาที่ต่ํากว่าปริญญาทั้งของรัฐและเอกชน
จรรยาบรรณของวิชาชีพ” หมายความว่า มาตรฐานการปฏิบัติตนที่กําหนดขึ้นเป็นแบบแผนในการประพฤติตน ซึ่งผู้ประกอบวิชาชีพทางการศึกษาต้องปฏิบัติตาม เพื่อรักษาและส่งเสริมเกียรติคุณชื่อเสียง และฐานะของผู้ประกอบวิชาชีพทางการศึกษาให้เป็นที่เชื่อถือศรัทธาแก่ผู้รับบริการและสังคม อันจะนํามาซึ่งเกียรติและศักดิ์ศรีแห่งวิชาชีพ
หมวด ๑ จรรยาบรรณต่อตนเอง
ข้อ ๗ ผู้ประกอบวิชาชีพทางการศึกษา ต้องมีวินัยในตนเอง พัฒนาตนเองด้านวิชาชีพ บุคลิกภาพ และวิสัยทัศน์ ให้ทันต่อการพัฒนาทางวิทยาการ เศรษฐกิจ สังคม และการเมืองอยู่เสมอ
หมวด ๒ จรรยาบรรณต่อวิชาชีพ
ข้อ ๘ ผู้ประกอบวิชาชีพทางการศึกษา ต้องรัก ศรัทธา ซื่อสัตย์สุจริต รับผิดชอบต่อวิชาชีพ และเป็นสมาชิกที่ดีขององค์กรวิชาชีพ
หมวด ๓ จรรยาบรรณต่อผู้รับบริการ
ข้อ ๙ ผู้ประกอบวิชาชีพทางการศึกษา ต้องรัก เมตตา เอาใจใส่ ช่วยเหลือ ส่งเสริม ให้กําลังใจแก่ศิษย์ และผู้รับบริการ ตามบทบาทหน้าที่โดยเสมอหน้า
ข้อ ๑๐ ผู้ประกอบวิชาชีพทางการศึกษา ต้องส่งเสริมให้เกิดการเรียนรู้ ทักษะ และนิสัย ที่ถูกต้องดีงามแก่ศิษย์ และผู้รับบริการ ตามบทบาทหน้าที่อย่างเต็มความสามารถ ด้วยความบริสุทธิ์ใจ
ข้อ ๑๑ ผู้ประกอบวิชาชีพทางการศึกษา ต้องประพฤติปฏิบัติตนเป็นแบบอย่างที่ดี ทั้งทางกาย วาจา และจิตใจ
ข้อ ๑๒ ผู้ประกอบวิชาชีพทางการศึกษา ต้องไม่กระทําตนเป็นปฏิปักษ์ต่อความเจริญทางกาย สติปัญญา จิตใจ อารมณ์ และสังคมของศิษย์ และผู้รับบริการ
ข้อ ๑๓ ผู้ประกอบวิชาชีพทางการศึกษา ต้องให้บริการด้วยความจริงใจและเสมอภาค โดยไม่เรียกรับ หรือยอมรับผลประโยชน์จากการใช้ตําแหน่งหน้าที่โดยมิชอบ
หมวด ๔ จรรยาบรรณต่อผู้ร่วมประกอบวิชาชีพ
ข้อ ๑๔ ผู้ประกอบวิชาชีพทางการศึกษา พึงช่วยเหลือเกื้อกูลซึ่งกันและกันอย่างสร้างสรรค์ โดยยึดมั่นในระบบคุณธรรม สร้างความสามัคคีในหมู่คณะ
หมวด ๕ จรรยาบรรณต่อสังคม
ข้อ ๑๕ ผู้ประกอบวิชาชีพทางการศึกษา พึงประพฤติปฏิบัติตนเป็นผู้นําในการอนุรักษ์ และพัฒนาเศรษฐกิจ สังคม ศาสนา ศิลปวัฒนธรรม ภูมิปัญญา สิ่งแวดล้อม รักษาผลประโยชน์ ของส่วนรวม และยึดมั่นในการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข
ข้อบังคับคุรุสภาฯ 2556
จรรยาบรรณครู พ.ศ.2539 [หมู่บ้านครู] 1. ครูต้องรักและเมตตาศิษย์ โดยให้ความเอาใจใส่ช่วยเหลือส่งเสริม ให้กำลังใจในการศึกษาเล่าเรียนแก่ศิษย์โดยเสมอหน้า
2. ครูต้องอบรม สั่งสอน ฝึกฝน สร้างเสริมความรู้ ทักษะและนิสัย ที่ถูกต้องดีงาม ให้เกิดแก่ศิษย์ อย่างเต็มความสามารถ ด้วยความบริสุทธิ์ใจ
3. ครูต้องประพฤติ ปฏิบัติตนเป็นแบบอย่างที่ดีแก่ศิษย์ทั้งทางกาย วาจา และจิตใจ
4. ครูต้องไม่กระทำตนเป็นปฏิปักษ์ต่อความเจริญทางกาย สติปัญญา จิตใจ อารมณ์และสังคมของศิษย์
5. ครูต้องไม่แสวงหาประโยชน์อันเป็นอามิสสินจ้างจากศิษย์ ในการปฏิบัติหน้าที่ตามปกติ และไม่ใช้ให้ศิษย์ กระทำการใด ๆ อันเป็นการหาผลประโยชน์ ให้แก่ตนโดยมิชอบ
6. ครูย่อมพัฒนาตนเองทั้งทางด้านวิชาชีพ ด้านบุคลิกภาพ และวิสัยทัศน์ให้ทันต่อการพัฒนาทางวิทยาการ เศรษฐกิจ สังคม และการเมืองอยู่เสมอ
7. ครูย่อมรักและศรัทธาในวิชาชีพครูและเป็นสมาชิกที่ดีต่อองค์กรวิชาชีพครู
8. ครูพึงช่วยเหลือเกื้อกูลครูและชุมชนในทางสร้างสรรค์
9. ครูพึงประพฤติ ปฏิบัติตน เป็นผู้นำในการอนุรักษ์ และพัฒนาภูมิปัญญา และวัฒนธรรมไทย
thaiall.com/learn/toremember.htm
mju.ac.th/data_silo/jarya/..go0.pdf (PDF)
จรรยาบรรณของอาจารย์ที่ปรึกษา
จรรยาบรรณของอาจารย์ที่ปรึกษา ในคู่มืออาจารย์ที่ปรึกษา
(Advisor handbook of yonok university) ของมหาวิทยาลัยโยนก มีดังนี้
1. อาจารย์ที่ปรึกษาต้องคำนึงถึงสวัสดิภาพและสิทธิประโยชน์ของนักศึกษา โดยจะต้องไม่กระทำการใด ๆ ที่จะก่อให้เกิดผลเสียหายแก่นักศึกษาอย่างไม่เป็นธรรม
2. อาจารย์ที่ปรึกษาต้องรักษาข้อมูลต่าง ๆ เกี่ยวกับเรื่องส่วนตัวของนักศึกษาในความดูแลให้เป็นความลับ
3. อาจารย์ที่ปรึกษาต้องพยายามช่วยเหลือนักศึกษาจนสุดความสามารถ หากมีปัญหาใดที่เกินความสามารถ ที่จะช่วยเหลือได้ก็ควรดำเนินการส่งนักศึกษาไปรับบริการจากผู้เชี่ยวชาญโดยตรง
4. อาจารย์ที่ปรึกษาไม่ควรวิพากษ์วิจารณ์บุคคลหรือมหาวิทยาลัยให้นักศึกษาฟังในทางที่ก่อให้เกิดความเสื่อมเสียแก่บุคคลหรือมหาวิทยาลัย
5. อาจารย์ที่ปรึกษาต้องเป็นผู้มีความประพฤติที่เหมาะสมตามจรรยาแห่งวิชาชีพ และมีศีลธรรมจรรยาที่ดีงาม เพื่อเป็นตัวอย่างที่ดีแก่นักศึกษา
6. อาจารย์ที่ปรึกษาต้องปฏิบัติหน้าที่ในการให้คำปรึกษาวิชาการแก่นักศึกษาในความดูแลทุกคนด้วยความเสมอภาค
7. อาจารย์ที่ปรึกษาต้องปฏิบัติตนด้วยความรับผิดชอบต่อตนเอง ผู้อื่น สังคม และประเทศชาติ
thaiall.com/blog/burin/6207/
วินัยข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา คู่มือการดำเนินงานเกี่ยวกับวินัยและนิติการสำหรับข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา (29 หน้า) มีเนื้อหาเรื่อง วินัยข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา กำหนดไว้ใน มาตรา 82 ถึง มาตรา 97 หมวดที่ 6 วินัยและการรักษาวินัย พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา พ.ศ. 2547 และแก้ไขเพิ่มเติม(ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2551 โดย โทษทางวินัย มี 5 สถาน ตามมาตรา 96 แห่ง พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา พ.ศ. 2547 ดังนี้
ข่าวคุณครูในสังคม
ครูจอมทรัพย์ 2548
ดร.วันชัย 2559
ครูปรีชา 2560
ผอ.กอล์ฟ 2563
พี่เลี้ยงจุ๋ม 2563

วินัยไม่ร้ายแรง ได้แก่
1. ภาคทัณฑ์
2. ตัดเงินเดือน
3. ลดขั้นเงินเดือน
วินัยร้ายแรง ได้แก่
1. ปลดออก (โดยผู้ถูกลงโทษให้ปลดออก มีสิทธิได้รับบำเหน็จบำนาญ เสมือนลาออก)
2. ไล่ออก
** การสั่งให้ออกจากราชการ ไม่ใช่โทษทางวินัย **
คู่มือการดำเนินงานเกี่ยวกับวินัยและนิติการฯ
จรรยาบรรณวิชาชีพใน สุจริตไทย พจ สุจริตไทย "สร้างสังคมโปร่งในและเป็นธรรม" มีเว็บไซต์ที่ Thaihonesty . org ซึ่งดูแลองค์กรที่มีการทำงานเป็นระบบ คือ บริษัทสุจริตไทย จำกัด และมี Profile ชื่อ Sujarit Thai แชร์ความรู้ที่มีประโยชน์เรื่อง "ครูตีเด็ก ถูกสั่งพักใช้ใบอนุญาตประกอบวิชาชีพครูเนื่องจากประพฤติผิดจรรยาบรรณ" เมื่อวันที่ 18 ก.ค.66 แล้วพบว่า ดร.วิริยะ ฤาชัยพาณิชย์ แชร์การตอบคำถามเชิงสร้างสรรค์เรื่อง "คุณครูพูดถึงการนินทาว่าร้ายในกลุ่มไลน์" พบว่าเสนอให้อ่านจรรยาบรรณวิชาชีพครูปี 2556 ที่ระบุว่า "พึงช่วยเหลือเกื้อกูลซึ่งกันและกันอย่างสร้างสรรค์ โดยยึดมั่นในระบบคุณธรรม สร้างความสามัคคีในหมู่คณะ" แล้วให้ข้อคิดเรื่อง ครูเปิดโรงเรียนกวดวิชา หรือเป็นติวเตอร์ผิดไหม คำตอบ คือ ผิด หากมีพฤติกรรม ดังนี้ 1) ถ้าครูสอนไม่เต็มที่ 2) ถ้าครูลำเอียง 3) ถ้าหลอกล่อชักจูง หรือ มีคำถามว่า ครูเปิดอบรม ว PA แล้ว มีการเก็บค่าใช้จ่าย ผิดไหม พบว่า ดร.วิริยะ ฤาชัยพาณิชย์ แสดงความคิดเห็น (Opinion) ว่า "ความเห็นผมโดยยึดหลักการของกฏระเบียบข้าราชการครู และจรรยาบรรณ" ถ้าไม่ผิดกฎข้อไหนที่เขียนระบุไว้ ก็ไม่ผิดครับ
ร้อง 7 ประเด็นร้อนในชุมชนผู้ประกอบวิชาชีพครู สายด่วนการศึกษา ชุมชนผู้ประกอบวิชาชีพครูที่ท้าทายจรรยาบรรณครู มีประเด็นที่น่าสนใจใน 7 กลุ่มประเด็น ประกอบด้วย 1) สุข 2) สาร 3) สั่ง 4) สอบ 5) สมรรถนะ 6) สุจริต และ 7) เกษียณ เสนอให้ใช้คำค้นต่อไปนี้ในกูเกิลจะพบเรื่องราวที่เกี่ยวข้องมากมาย ได้แก่ ครูไม่มีความสุข ครูทำงานเอกสาร สั่งครูมิชอบ สอบไม่ตรงที่สอน ฐานสมรรถนะเชิงรุก ครูสุจริต ผอสุจริต และ บังคับครูงานเกษียณ พบว่า ประเด็นข้างต้นมีหลายชุมชนได้หยิบยก หรือจุดประเด็นในสื่อสังคม และมีหลายช่องทางที่แจ้งข้อมูลร้องเรียนได้ สำหรับช่องทางที่ไม่เป็นทางการ คือ สื่อสังคม หรือสื่อสิ่งพิมพ์ทุกสำนักที่เปิดช่องทางสื่อสารทั้งเฟซบุ๊ก อินสตาแกรม ไลน์ โทรศัพท์ อีเมล หรือไปรษณีย์ เช่น พบเรื่องไม่สุจริตในเชิงคอรัปชัน หรือ พบระบบใดที่ดำเนินการล่าช้าต้องการให้ติดตามสอบถามให้ มีเพจด้านการศึกษา รับช่วยเป็นผู้แทนติดตามสอบถามแทนผู้ได้รับผลกระทบ
ส่วนช่องทางที่เป็นทางการ ได้แก่
สายด่วนการศึกษา 1579 หรือ http://1579.moe.go.th/
พบสถิติการใช้บริการ สายด่วนการศึกษา 1579 ประจำปีงบประมาณ 2565 ระหว่าง ต.ค.2564 - ก.ย.2565 รวมรายการติดต่อทั้งสิ้น 15,450 รายการ แบ่งได้ 5 ประเภท 1) ติดต่อเจ้าหน้าที่ 14,256 รายการ 2) แจ้งเด็กหนีเรียน/พฤติกรรมไม่เหมาะสม 608 รายการ 3) รับฟังข้อมูลทั่วไป 362 รายการ 4) ฝากข้อความ/แสดงความเห็น 143 รายการ 5) ขอเอกสารทางโทรสาร 81 รายการ ซึ่งสรุปภาพรวมพบประเด็นที่ประชาชนให้ความสนใจสอบถามข้อมูลและแจ้งเรื่องร้องเรียนจำนวนมาก มี 7 เรื่อง ดังนี้ 1) ร้องเรียน เสนอแนะความคิดเห็น และขอความช่วยเหลือเกี่ยวกับโรงเรียนเรียกเก็บค่าธรรมเนียมการศึกษา ค่าบำรุงการศึกษา ไม่เหมาะสม และขอคืนค่าธรรมเนียมการศึกษา 2) สอบถามหลักเกณฑ์การป้องกันความเสี่ยงจากโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ของกระทรวงศึกษาธิการ และมาตรการโรคมือ เป้า ปาก ในเด็กเล็ก 3) สอบถามเรื่องการฉีดวัคซีนนักเรียนในสถานศึกษา 4) กรณี นักเรียนสอบถามและร้องเรียนเกี่ยวกับทรงผมนักเรียน ตามระเบียบกระทรวงศึกษาธิการว่าด้วยการไว้ทรงผมนักเรียน พ.ศ.2563 และกรณีครูละเมิดสิทธิโดยการตัดผมนักเรียน บังคับตัดผมสั้นเกรียนขัดระเบียบ 5) ร้องเรียนพฤติกรรมประพฤติมิชอบของข้าราชการ ครู และบุคลากรทางการศึกษา และความไม่ปลอดภัยในสถานศึกษา เช่น ครูทำโทษนักเรียนเกินกว่าเหตุ และนักเรียนทำร้ายร่างกายกันในโรงเรียน 6) ร้องเรียนโรงเรียนออกระเบียบยึดโทรศัพท์ไม่เหมาะสม เมื่อผู้ปกครองไปขอรับคืนก็ไม่คืนให้ผู้ปกครอง 7) สอบถามการช่วยเหลือโครงการหนี้สินครู เมื่อประเมินความพึงพอใจจากคะแนนเต็ม 5.00 โดยผู้ใช้บริการ สอบถามทั้งหมด 5 เรื่อง พบว่า ระดับมากที่สุดมี 2 เรื่อง คือ 1) ระยะเวลาในการให้บริการ - 4.65 และ 2) การให้บริการตามที่ขอ ถูกต้อง สะดวก รวดเร็ว - 4.57 ระดับมากมี 3 เรื่อง คือ 3) การให้บริการตามลำดับก่อนหลัง - 4.50 4) การติดต่อประสานงานมีความรวดเร็ว - 4.32 และ 5) มีการจัดขั้นตอน/กระบวนการการให้บริการอย่างชัดเจนไม่ซ้ำซ้อน - 4.25
ประเภทเรื่องร้องเรียน
ร้องเรียน ร้องทุกข์ กล่าวโทษบุคลากร / สถานศึกษา / สถาบันการศึกษา
ร้องเรียนที่ให้พิจารณาเกี่ยวกับกฎ ระเบียบ และมาตรการต่าง ๆ ของ ศธ.
ขอความอนุเคราะห์ ขอความเป็นธรรม
เสนอแนะข้อคิดเห็น
แจ้งเบาะแสต่าง ๆ เกี่ยวกับการศึกษา เช่น ยาในโรงเรียน วุฒิปลอม
สวัสดิการ ขอทุนการศึกษา
ติดตามเรื่องร้องเรียน ***
สำนักงานผู้ตรวจการแผ่นดินรัฐสภาสายด่วน 1676
ศูนย์บริการข้อมูลภาครัฐเพื่อประชาชน GCC สายด่วน 1111 หรืออีเมล contact_1111@gcc.go.th
ศูนย์บริการประชาชน สำนักงานปลัดกระทรวงสำนักนายกรัฐมนตรี โทรศัพท์ 022831270-84 หรืออีเมล ccc@opm.go.th
สำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคสายด่วน 1166
เว็บไซต์ระบบร้องทุกข์ผู้บริโภคออนไลน์ https://complaint.ocpb.go.th/
ศูนย์ดำรงธรรม กระทรวงมหาดไทยสายด่วน 1567 โทรศัพท์ 02-222-1141-55
สำนักงานคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติสายด่วน 1166 โทรศัพท์ 02-141-3800 อีเมล info@nhrc.or.th
สำนักงานรัฐมนตรี กระทรวงศึกษาธิการ ที่ตั้ง 19 อาคารราชวัลลภ ชั้น 2 ถ.ราชดำเนินนอก เขตดุสิต กรุงเทพฯ 10300
คำถาม ทำไมอยากเป็นครู ใน hotcourses.in.th
เขียนโดย Jiraprapha Saithanoo เมื่อ 31 มกราคม 2563
ให้ข้อมูลว่า สมาคมครูและอาจารย์แห่งสหราชอาณาจักร ได้ทำการสำรวจครูฝึกสอนและครูที่เพิ่งได้รับบรรจุใหม่
เรื่อง 5 เหตุผลหลักที่ทำให้คนอยากเป็นครู
1. ได้ทำงานกับเด็กนักเรียนและสร้างความเปลี่ยนแปลง
2. ความหลากหลายของเนื้องาน
3. การสอนเป็นเรื่องสนุก
4. มีครูผู้เป็นแรงบันดาลใจ
5. อยากสอนวิชาโปรด
ใน careerlink.co.th
เรื่อง 13 เหตุผล ที่ทำให้คุณอยากทำงานครู
1. เราสามารถสร้างการเปลี่ยนแปลงได้ แบบเห็นผลชัดเจน
2. เราคือผู้สร้างอนาคต
3. สร้างผลกระทบอย่างรุนแรง
4. เป็นบุคคลสำคัญ
5. ดูเด็กกว่าอายุจริง
6. รายได้มั่นคง
7. เป็นที่เคารพ
8. ได้พัฒนาตัวเองอยู่เสมอ
9. ได้เป็นแบบอย่างที่ดี
10. มีโอกาสแก้ตัวใหม่ได้
11. รู้รอบ
12. มีวันปิดเทอม
13. เราจะมีบุคลิกที่ดี
ใน blogspot.com ของ เกียรติขจร
เรื่อง เหตุผลที่เลือกเรียนวิชาชีพครู เมื่อ 7 มกราคม 2556
การเรียนสายครูมีข้อดี
1. เมื่อเรียนจบไปมีงานทำที่มั่นคง
2. เบิกค่ารักษาพยาบาลของตนเองและพ่อแม่ได้
3. ทำให้เป็นผู้ที่มีความรับผิดชอบต่อหน้าที่มาก
4. การทำงานมีความมั่นคง
5. เป็นอาชีพที่ทุกคนให้ความเคารพ
6. เป็นแบบอย่างที่ดี
ใน intrend.trueid.net
เรื่อง 5 ข้อดีของอาชีพข้าราชการครูที่ชาวออฟฟิศยังไม่รู้
โดย pollypploy เมื่อ 2 มีนาคม 2563
1. เงินเดือนขึ้นทุกปี ปีละ 2 ครั้ง
2. มีวันหยุดที่มากกว่าพนักงานเอกชนทั่วไป
3. มีสวัสดิการค่ารักษาพยาบาลให้ตัวเอง คู่สมรส บุตร พ่อแม่ และเบิกค่าเล่าเรียนบุตรได้
4. มีความมั่นคงและเข้าถึงแหล่งเงินกู้ได้ง่าย
5. มีบำนาญและได้เงินจากกองทุน ก.บ.ข เมื่อเกษียณอายุ
ใน themaster.co
เรื่อง ภาระงานล้น แต่เงินน้อย สรุปปัญหา #ทำไมครูไทยอยากลาออก เมื่อครูถูกผลักให้เป็นผู้เสียสละ
โดย Jiratchaya Chaichumkhun เมื่อ 16 พฤศจิกายน 2564
คำถาม : ผู้บริหารไม่ต้องย้ายบ่อยแบบต่างประเทศดีไหม รื่อง ผู้บริหารย้ายโรงเรียนบ่อย พบว่า โรงเรียนไทยมีผู้บริหารย้ายโรงเรียนบ่อย แต่โรงเรียนในต่างประเทศมีผู้บริหารย้ายไม่บ่อย ซึ่งอ้างอิงผลจากงานวิจัย แล้วคิดอย่างไรกับข้อค้นพบนี้อย่างไร ทำแบบไหนดีในความคิดของเรา
มคิดว่า เรื่องนี้ต้องถามผู้บริหาร ถ้าผู้บริหารเลือกที่จะอยู่ไม่นาน หรืออยู่ตลอดไป เมื่อผู้บริหารเลือกแบบใดที่ทำให้มีความสุขแล้ว ผู้บริหารก็จะพัฒนาโรงเรียนได้อย่างมีความสุข ส่งเสริมสนับสนุนให้คุณครูได้สอนนักเรียนอย่างมีความสุข ส่งผลให้เด็กไทยมีความสุข ตั้งใจเรียน ประสบความสำเร็จตามเป้าหมายที่กำหนดไว้ สามารถใช้ชีวิตในสังคม และประกอบอาชีพได้อย่างมีความสุข
เอกสารอ้างอิง # [1] ดุจเดือน พันธุนาวิน, "รายงานการสังเคราะห์งานวิจัยเกี่ยวกับคุณธรรมจริยธรรมในประเทศไทยและต่างประเทศ", ศูนย์ส่งเสริมและพัฒนาพลังแผ่นดินเชิงคุณธรรม, 2550.
[2] พนิดา พานิชกุล, "จริยธรรมทางเทคโนโลยีสารสนเทศ", บริษัทเคทีพี คอมพ์ แอนด์ คอนซัลท์ จำกัด, กรุงเทพฯ, 2553.
[3] สิทธิชัย ประสานวงศ์, "คอมพิวเตอร์และสารสนเทศเพื่องานอาชีพ", สำนักพิมพ์ซอฟท์เพรส, กรุงเทพฯ, 2556.
[4] สมชัย อักษรารักษ์ และอศินา พรวศิน, "Being e-Citizen by e-Government โฉมหน้าบริการอิเล็กทรอนิกส์ภาครัฐเพื่อคนไทย", บริษัท ซีเอ็ดยูเคชั่น จำกัด (มหาชน), 2547.
[5] บุญสืบ โพธิ์ศรี และอุทัยวรรณ ฉัตรสุวรรณ, "จริยธรรมในอาชีพคอมพิวเตอร์", สำนักพิมพ์ ศูนย์ส่งเสริมอาชีวะ, 2547.
[6] ศิริพร เสริตานนท์, "ทักษะการคิดกับการแก้ปัญหาชีวิตประจำวัน", คณะสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเนชั่น, 2556.
[7] ศรีไพร ศักดิ์รุ่งพงศากุล, "ระบบสารสนเทศและเทคโนโลยีการจัดการความรู้", บริษัท ซีเอ็ดยูเคชั่น จำกัด., กรุงเทพฯ, 2549.
[8] กิ่งดาว จินดาเทวิน, "จริยธรรมทางธุรกิจ", อุตรดิตถ์: คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏ, 2555.
[9] ชัยวัฒน์ อัตพัฒน์, "จริยศาสตร์", สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยรามคำแหง, 2540.
[10] ภรณี หลาวทอง, "จริยธรรมทางธุรกิจ", คณะเทคโนโลยีการจัดการ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน วิทยาเขตสุรินทร์, 2562.
Thaiall.com