ลงทะเบียนออนไลน์ร่วมกิจกรรม (itinlife530)

สิทธิความเป็นส่วนตัว (privacy)
สิทธิความเป็นส่วนตัว (privacy)

ประชาชนในประเทศไทยสามารถเข้าถึงเทคโนโลยีได้มากกว่าร้อยละ 80 เช่น อินเทอร์เน็ต หรือโทรศัพท์ ยิ่งเข้าถึงมากก็ยิ่งมีปัญหามาก จนภาครัฐต้องออกกฎหมายหลายฉบับเพื่อกำหนดบทลงโทษผู้กระทำผิด เช่น พรบ.ว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ เป็นต้น เทคโนโลยีอาจมีเพื่อการค้า บันเทิง  การศึกษา และการสื่อสาร การจัดกิจกรรมของหน่วยงานทั้งภาครัฐ เอกชนต่างก็หันมาใช้เว็บไซต์ เฟสบุ๊ค ทวิตเตอร์ ไอจี ยูทูป หรือไลน์ เพื่อสร้างความสัมพันธ์กับลูกค้า เก็บข้อมูลจากผู้ใช้ บางท่านอาจมองข้อมูลที่มีปริมาณมากเป็นเสมือนเหมืองข้อมูล (Data mining) ดังที่อาจารย์อนุชิต เคยกล่าวว่า การศึกษาข้อมูลจากอดีตนั้น มีวัตถุประสงค์เพื่อทำนายรูปแบบในอนาคต

มีกิจกรรมมากมายทั้งระดับองค์กร จังหวัด หรือประเทศที่เปิดให้บุคคลลงทะเบียนออนไลน์ มีการสอบถามข้อมูลทั้งเลขที่บัตรประชาชน ชื่อ สกุล ที่อยู่ วันเดือนปีเกิด อายุ เบอร์โทรศัพท์ อีเมล หรือขนาดเสื้อ เพื่อนำข้อมูลไปใช้งานตามวัตถุประสงค์ เช่น ใช้จำกัดจำนวนผู้เข้าร่วมกิจกรรม ใช้เตรียมของสมนาคุณ ใช้เลือกผู้ที่มีคุณสมบัติเหมาะสม ใช้เพื่อให้ฝ่ายขายติดต่อไป หรือนำข้อมูลที่ได้ไปใช้ในธุรกิจที่เกี่ยวข้อง จนมีการร้องเรียนเรื่องสิทธิความเป็นส่วนตัว (Privacy) ประเด็นนี้เยาวชนไทยให้ความสำคัญกับการปกป้องความเป็นส่วนตัวของตนน้อย ดังที่ อ.ดร.อติชาต หาญชาญชัย ได้นำเสนอบทความเรื่อง Information Ethics and Behaviors of Upper Secondary Students Regarding the Use of Computers แล้วได้ผลการทดสอบสมมติฐานว่านักเรียนมัธยมปลายในลำปางให้ความสำคัญกับความเป็นส่วนตัวในการใช้คอมพิวเตอร์และอินเทอร์เน็ตน้อยกว่าจริยธรรมสารสนเทศในด้านอื่น

ได้เห็นหน่วยงานบางแห่งจัดกิจกรรมสอบถามข้อมูลของผู้เข้ามาร่วมกิจกรรม ได้นำไปเปิดเผยในหลายลักษณะ ทั้งผ่านอินเทอร์เน็ต หรือพิมพ์ติดไว้ตามบอร์ดประชาสัมพันธ์ เชื่อได้ว่ามีเจตนาดี แต่พบว่าข้อมูลหลายรายการควรเป็นความลับที่ผู้เข้าร่วมกิจกรรมอาจไม่ประสงค์ที่จะเปิดเผย เพราะอาจถูกผู้ไม่หวังดีนำไปใช้ในทางมิชอบ หากไม่มีใครทักท้วงก็จะเกิดการทำซ้ำ เป็นความเคยชินให้เห็นต่อไป หากท่านตระหนักถึงปัญหา และเกี่ยวข้องในการเผยแพร่ก็เสนอให้พูดคุยกับผู้เกี่ยวข้องทำความเข้าใจ เพื่อจะได้หยุดการเผยแพร่ข้อมูลส่วนบุคคลของผู้อื่นในที่สาธารณะโดยไม่มีวัตถุประสงค์ที่ชัดเจน เช่น วันเดือนปีเกิด เบอร์โทรศัพท์ หรืออีเมล สรุปว่าการเผยแพร่สามารถทำได้แต่ต้องมีการควบคุมด้วยความเข้าใจ เพราะสิทธิความเป็นส่วนตัวเป็นประเด็นจริยธรรมสารสนเทศหนึ่งที่ต้องให้ความสำคัญ

Continue reading “ลงทะเบียนออนไลน์ร่วมกิจกรรม (itinlife530)”

วู้ดดี้ กับแจ็คแฟนฉัน พิธีกรคู่ผิดจรรยาบรรณ ติดคุก ไม่รอลงอาญา

วู้ดดี กับแจ็คแฟนฉัน
วู้ดดี กับแจ็คแฟนฉัน

เป็นพิธีกรก็ลำบากใจ และกาย ได้เหมือนกันนะ
จากกรณีที่พิธีกรนำเสนอข่าวอย่างไม่เป็นกลาง ถือว่าผิดจรรยาบรรณ
ศาลพิพากษาจำคุก นายวุฒิธร หรือวู้ดดี้ และ นายเฉลิมพล หรือแจ๊ค แฟนฉัน ในฐานะพิธีกร และพิธีกรร่วม
คนละ 1 ปี โดยไม่รอลงอาญา เพราะ ไปคดีหมิ่นไฮโซแชมป์ เมื่อปี 2556
ในรายการเช้าดูวู้ดดี้ ที่ช่องโมเดิร์นไนน์ทีวี

ผมว่าเป็นคดีประวัติศาสตร์อีกคดี ที่พิธีกรชื่อดัง
ระดับประเทศที่ใคร ๆ ก็รู้จัก .. ติดคุก
เพราะผู้ร่วมรายการไปว่าร้ายคนอื่น แล้วตัวเองต้องรับโทษไปด้วย
นึกถึงพิธีกรบางคน .. ไม่เห็นสาหัสขนาดนี้เลย
http://news.voicetv.co.th/thailand/182892.html
http://www.thairath.co.th/content/488546

คนไม่เหมือนคอมย่อมลำเอียงได้ (itinlife474)

โยกับบี ยามรักน้ำต้มผักก็ว่าหวาน
โยกับบี ยามรักน้ำต้มผักก็ว่าหวาน

น้ำต้มผัก ไม่มีน้ำตาล ถ้าบอกว่าหวาน แสดงว่าใช้ความรู้สึก

นั่งอ่านสื่อสิ่งพิมพ์หลายฉบับ ได้เห็นความเหมือนและความต่างอย่างชัดเจน ทั้งสื่อท้องถิ่นและสื่อส่วนกลางต่างก็มีแนวโน้มเลือกข้างหรือลำเอียงไปทางผู้ให้การสนับสนุน โดยเฉพาะสื่อท้องถิ่นที่มีค่าสนับสนุนต่ำทำให้ต้องรับผู้ให้การสนับสนุนมากขึ้น และทุกฉบับก็จะมีเนื้อหาเอนไปทางผู้ให้การสนับสนุน จนเหลือพื้นที่ให้กับข้อมูลข่าวสารลดลง ซึ่งมองได้ว่ามีความลำเอียง (Bias) ต่อสารที่สื่อออกไป อาจถือเป็นเรื่องปกติของสื่อที่อยู่ได้ด้วยการสนับสนุนจากองค์กรหรือหน่วยงาน การลำเอียงอาจเกิดขึ้นน้อยกับสื่อที่มีทุนสนับสนุน หรืออยู่ได้ด้วยตนเอง

เครื่องคอมพิวเตอร์ไม่ใช่มนุษย์จึงไม่มีความรู้สึก ทำให้นำเสนอข้อมูลอย่างตรงไปตรงมา ไม่มีลำเอียง หรือไม่มีปัจจัยทางเศรษฐกิจมาควบคุมจะปฏิบัติตามภารกิจที่กำหนด เช่นภาพยนตร์เรื่อง  Transcendence ที่คอมพิวเตอร์สมองมนุษย์ตั้งใจจะช่วยเหลือโลก แต่มนุษย์เป็นฝ่ายที่ตั้งข้อสงสัย และไม่ไว้ใจตามประสบการณ์ที่ผ่านมา มนุษย์เราบางครั้งกำหนดเป้าหมายไว้ทางหนึ่ง ทำแผนไว้ทางหนึ่ง ดำเนินการไปอีกทางหนึ่ง แล้วก็ไปสรุปผลอีกทางหนึ่ง ก็สามารถพบเห็นได้ เพราะความเชื่อเป็นปัจจัยให้มีพฤติกรรมเอนเอียงไม่สนใจความจริง ซึ่งอาศัยความพึงพอใจ และอารมณ์เป็นตัวกำหนดพฤติกรรม ถ้าชอบก็จะหาเหตุผลมาแก้ต่างให้รอดพ้นจากการถูกวิพากษ์อยู่เสมอ

การลำเอียงเป็นเรื่องปกติ เพราะทำให้มนุษย์มีสังคม มีพรรคพวก มีกลุ่มอาชีพ ร่วมกันคิดแลกเปลี่ยนเรียนรู้ และตัดสินใจร่วมกันตามมติของกลุ่ม ไม่ขัดแย้งกันในกลุ่มแต่เอนเอียงการตัดสินใจไปทางเสียงข้างมาก ทำให้เกิดพลังในการต่อรองกับสังคมภายนอก ร่วมเผชิญศึกเพื่อผลประโยชน์ของกลุ่ม ต่างกับเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ไม่ลำเอียง ไม่รู้จักการผสมผสานความเชื่อ ถูกหรือผิดมีเพียงสองเงื่อนไขตามตรรกะตัดสินใจ แต่มนุษย์สามารถมองข้ามความผิดพลาดว่าเกิดได้ ทุจริตได้บ้าง โหดร้ายตอนที่หิวก็ได้ เช่นการเบียดเบียนชีวิตสัตว์อื่น ยอมรับได้ถ้าตนเองได้ประโยชน์ หรือทำให้ตนเองอยู่รอด ซึ่งความอยู่รอดไม่ใช่เงื่อนไขที่คอมพิวเตอร์ต้องคำนึงถึง แต่สำหรับมนุษย์แล้วความอยู่รอดเป็นสิ่งที่สำคัญที่สุด จึงทำให้การเลือกข้างกลายเป็นเรื่องธรรมดาสำหรับมนุษย์

http://gossipstar.mthai.com/gossip-content/42157

สังคมก้มหน้า (itinlife468)

สังคมก้มหน้า (social ignore)
สังคมก้มหน้า (social ignore)

http://www.oh-i-see.com/blog/2013/02/11/technology-in-everyday-life-plug-away-or-pull-the-plug/

มนุษย์เราถูกยอมรับว่าเป็นสัตว์สังคมมานาน มีการรวมกลุ่มทำกิจกรรมหาอาหาร เพาะปลูก เลี้ยงสัตว์ สร้างบ้านเมือง แลกเปลี่ยนสินค้า โดยเฉพาะสังคมครอบครัวของไทย ถือเป็นสังคมที่เหนียวแน่นที่เคยอยู่รวมกันทั้งปู่ ย่า ตา ยาย ลูก หลาน เหลน จนเมื่อไม่นานมานี้ มนุษย์พัฒนาตนเองให้มีความเจริญขึ้น เกิดการแยกตัวระหว่างสังคมเมือง และสังคมชนบทอย่างชัดเจน เป็นผลให้ครอบครัวไทยมีการแยกตัวผ่านกลไกทางการศึกษา เด็กมักต้องไปเรียนหนังสือในเมือง เมื่อมีความรู้สูงขึ้นก็จะเข้าไปทำงานในเมือง ทำให้สังคมครอบครัวมีขนาดเล็กลงเหลือเพียงพ่อแม่ลูกและอาศัยในบ้านขนาดเล็กลงตามหัวเมืองใหญ่

ความเจริญของเทคโนโลยีการสื่อสาร ทำให้เกิดพฤติกรรมใหม่ที่เรียกว่า สังคมก้มหน้า (Social ignore) คือ การเพกเฉยต่อสังคมรอบตัว แต่ให้ความสำคัญกับสังคมเสมือนจริงมากกว่า ในอดีตเรามักสื่อสารโต้ตอบกับคนใกล้ตัวโดยไม่ต้องอาศัยเครื่องมือทางเทคโนโลยีก็สามารถพูดคุย แสดงกิริยา หรือสัมผัสกันได้โดยตรง เมื่อสังคมเสมือนจริงเข้ามาเป็นที่นิยม ช่วยให้การสื่อสารได้สะดวกทั้งระหว่างบุคคล เป็นกลุ่ม หรือสาธารณะก็ทำได้ในทุกที่ทุกเวลา ทำให้ความสัมพันธ์ในสังคมกับคนรอบตัวเปลี่ยนไป เพราะเวลามีจำกัด แต่ละเสี้ยวเวลาก็จะทำได้เพียงกิจกรรมเดียว หากติดอยู่กับกิจกรรมหนึ่งก็อาจเพิกเฉยต่ออีกกิจกรรมหนึ่งโดยไม่รู้ตัว

เคยดูคลิ๊ป disconnect to connect ของ dtac ที่แสดงให้เห็นชัดว่าปัจจุบันพ่อแม่กับลูก เริ่มมีความสัมพันธ์ที่ถอยห่าง แม้อยู่ด้วยกัน ทานข้าวด้วยกัน แต่ก็ก้มหน้าก้มตาคุยกับคนในสังคมเสมือนจริง ในสังคมคนทำงานที่ประชุมร่วมกับเพื่อน หรืออยู่กับแฟน ก็ยังแยกตัวเองไปอยู่ในสังคมเสมือนจริง เช่น อัพเฟส (update facebook status) หรือส่งไลน์สติกเกอร์ (line sticker) หรือทวีต (tweet) หรือดูคลิ๊ปในยูทูป ทั้งที่เวลานั้นมีกิจกรรมที่ต้องทำร่วมกับคนใกล้ตัว ถือเป็นการเพิกเฉย (ignore) ต่อการทำกิจกรรมร่วมกัน แม้ยังไม่ใช่ปัญหาสังคมที่รุนแรง แต่สะท้อนถึงมารยาท หรือจริยธรรมของคนในสังคมที่เสพติดสังคมเสมือนจริง ที่ให้ความสำคัญต่อคนใกล้ตัวน้อยกว่า ปัญหาทั้งหมดแก้ได้ด้วยการทำให้ผู้คนรักษามารยาทที่มีต่อครอบครัว เพื่อน และความตระหนักถึงประโยชน์ที่แท้จริงของการสื่อสาร มิใช่เลือกที่จะสื่อสารเพื่อความบันเทิงส่วนตัวอย่างเดียว

http://anusornkob.blogspot.com/2013/03/social-ignore.html

จริยธรรมที่ควรปกปิดหรือเปิดเผย (itinlife437)

fish
fish

ลองค้นคำว่านักเรียนตบกันแย่งผู้ชาย พบ 289,000 รายการ น่าแปลกใจว่าทำไมจึงได้มีมากมาย เมื่อเข้าไปอ่านข่าวหนึ่งใน dailynews.co.th เล่าเหตุการณ์ที่นักเรียนหญิงทะเลาะกันนอกโรงเรียนได้ละเอียดเหมือนอยู่ในที่เกิดเหตุ ก็เพราะมีเพื่อนในกลุ่มถ่ายคลิ๊ปไว้นั่นเอง เรื่องนี้ผู้บริหารโรงเรียนคิดว่าโรงเรียนเสียหาย จึงทำทัณฑ์บนกับผู้ก่อเหตุ เตรียมดำเนินการฟ้องร้อง และดำเนินคดีตามกฎหมายกับผู้นำคลิปไปโพสต์ ผู้บริหารโรงเรียนก็เห็นแก่ชื่อเสียงของโรงเรียน ไม่ต้องการให้ใครรู้มากไปกว่าเดิมว่านักเรียนในความปกครองมีความประพฤติหรือมีจริยธรรมไม่งามตามที่ปรากฎในคลิ๊ป

นักเรียนในปัจจุบันกลายเป็นเหยื่อของสื่อที่ไม่เหมาะสม ถ้าเอ่ยชื่อนักแสดงนำฝ่ายหญิงในละครที่ชื่อลำยอง หรือมุนินกับมุตา ก็คาดว่าหลายคนคงรู้จัก หรือการ์ตูนญี่ปุ่นก็จะมีพระเอกนางเอกอายุน้อยนิด การแต่งตัวและต่อสู้ช่วงชิงเพศตรงข้ามกลายเป็นธรรมชาติที่ล้วนเป็นแบบอย่างที่ไม่งาม  เมื่อนักเรียนประพฤติตัวคล้ายตัวละครในสื่อ เช่น ตบตี แต่งตัว หรือคบหากันอย่างชู้สาวก่อนวัยอันควร กลับเป็นความผิดของเด็กไปทั้งหมด ทั้งที่แบบอย่างเหล่านั้นมาจากสื่อที่เราท่านพบเห็นกันอยู่ทุกวัน บางโรงเรียนอาจมีบทลงโทษที่รุนแรง และมีมาตรการห้ามนักเรียนพูดเรื่องการผิดจริยธรรมของเพื่อนให้ใครฟัง เพื่อรักษาภาพพจน์ของโรงเรียนสืบต่อไป

โบราณว่า ปลาเน่าตัวเดียวเหม็นทั้งข้อง ก็เหมือนเหตุการณ์นี้ที่นักเรียนคนใดทำผิดจริยธรรมก็ถูกผู้รับสารตีความไปว่า นักเรียนทั้งโรงเรียนมีพฤติกรรมทำนองนั้นทั้งหมด จึงเป็นความชอบธรรมที่ทุกองค์กรจะปกปิดความผิดพลาดที่เกิดขึ้นในองค์กร ไม่ยอมปล่อยข่าวเชิงลบออกไปสู่สังคม แต่ถ้าเป็นข่าวนักเรียนได้รางวัลก็จะพยายามเผยแพร่ข่าวสารให้ทราบทั่วกัน เพื่อให้เพื่อนร่วมโรงเรียนมีความมุ่งมั่น แข่งขันกันเพื่อความเป็นเลิศ และเชื่อว่าผู้รับสารทั่วไปจะตีความว่านักเรียนทั้งโรงเรียนมีลักษณะเช่นนั้น และเป็นความภูมิใจของทั้งโรงเรียน นี่เป็นเพียงประเด็นหนึ่งที่น่าขบคิดและต้องยอมรับว่ามีค่านิยมแบบนี้จริง ทั้งเด็กเลียนแบบสื่อ นิยมการแข่งขันเพื่อรางวัล และนิยมปกปิดความผิด เพื่อรักษาประโยชน์ของกลุ่ม

http://www.dailynews.co.th/Content/regional/178223/

http://funtales4u.blogspot.com/2011/06/blog-post.html

ข้อกำหนดพฤติกรรมด้านคุณธรรม จริยธรรม

ข้อกำหนดพฤติกรรม
ข้อกำหนดพฤติกรรม

ประกาศเรื่อง ข้อกำหนดพฤติกรรมด้านคุณธรรม จริยธรรม สำหรับ นักศึกษามหาวิทยาลัยเนชั่น
1. มีความซื่อสัตย์ สุจริต
2. มีความกตัญญู
3. มีความเพียร ใฝ่รู้ ใฝ่เรียน มุ่งมั่นพัฒนาตนเองอย่างเต็มศักยภาพ
4. มีระเบียบวินัย
5. คิดเป็น ทำเป็น มีจิตอาสา และเสียสละ
6. มีความศรัทธาการปกครองในระบบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข
7. เคารพในศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์
ประกาศ 10 ตุลาคม 2554