thaiall logomy background

ระบบปฏิบัติการวินโดวส์ (Windows)

my town
สารบัญ :: #1 :: #2 :: #3 :: #4 :: #5 :: #6 :: #7 :: #8 :: #9 :: #10 :: #11 :: #12 :: Linux
ระบบปฏิบัติการวินโดวส์
สาระการเรียนรู้
1. ประวัติความเป็นมา (History)
2. หลักการออกแบบ (Design)
3. โครงสร้างระบบ (Structure System)
4. ระบบแฟ้ม (File System)
5. ระบบ DOS
6. โปรแกรมประยุกต์
จุดประสงค์การสอน
1. เข้าใจประวัติความเป็นมา (History)
2. เข้าใจหลักการออกแบบ
3. เข้าใจโครงสร้างระบบ (Structure System)
4. เข้าใจระบบแฟ้ม (File System)
5. สามารถใช้งานระบบ DOS ได้
6. สามารถเลือกใช้โปรแกรมประยุกต์ให้เหมาะกับงานได้
7. สามารถติดตั้ง และเปิดบริการต่าง ๆ ได้

แนะนำบทเรียน
จากประวัติของ Steve Jobs ผู้ร่วมก่อตั้งบริษัท Apple ทำให้รู้ว่าการติดต่อกับผู้ใช้แบบกราฟฟิก (GUI = Graphic User Interface) ถูกริเริ่มโดยบริษัท Xerox ซึ่งผลิตเครื่อง Xerox PARC ขึ้นมา แล้วก็นำมาเป็นแนวคิดในการพัฒนา GUI ของบริษัท จนทำให้เครื่อง Macintosh ได้รับความนิยมสูง และ Bill Gates ก็นำมาเป็นแนวคิดในการพัฒนาระบบปฏิบัติการวินโดวส์ ของบริษัท Microsoft จนกลายเป็นระบบปฏิบัติการที่มีคนใช้มากที่สุดในโลกไปแล้ว

บทนำ นื่องจากความยากในการใช้งานดอส (DOS = Disk Operating System) ทำให้บริษัทไมโครซอฟต์ได้มีการพัฒนาซอฟต์แวร์ที่เรียกว่า วินโดวส์ (Windows) ที่มีลักษณะเป็น GUI (Graphic-User Interface) ใกล้เคียงกับแมคอินทอชโอเอส เพื่อให้การใช้งานดอสทำได้ง่ายขึ้น แต่ในช่วงแรกนั้น โปรแกรมวินโดวส์จะยังไม่ใช่ระบบปฏิบัติการจริง ๆ เนื่องจากมันจะทำงานอยู่ภายใต้การควบคุมของดอสอีกที นั่นคือต้องมีการติดตั้งดอสก่อนที่จะติดตั้งระบบปฏิบัติการวินโดวส์ แล้วผู้ใช้จะสามารถเรียกใช้คำสั่งต่าง ๆ ที่มีอยู่ในดอสได้โดยผ่านทางวินโดวส์ ซึ่งจะง่ายกว่าการออกคำสั่งโดยพิมพ์จากแป้นพิมพ์โดยตรง ในเวลาต่อมาได้พัฒนาให้โปรแกรมไมโครซอฟต์วินโดวส์เป็นระบบปฏิบัติการที่สมบูรณ์ดังที่ปรากฎในปัจจุบัน
Microsoft เป็นบริษัทมูลค่ากิจการสูงสุดในโลกอันดับ 2 แซง Amazon ตาม Apple ไปติด ๆ
12.1 ประวัติความเป็นมา (History)
วินโดวส์ (Windows) คือ ระบบปฏิบัติการ ที่ถูกพัฒนาโดยไมโครซอฟต์ ในรุ่นแรก ๆ จะใช้กับเครื่องไอบีเอ็ม และไอบีเอ็มคอมแพททิเบิล ที่มีซีพียูเบอร์ 80286, 80386 และ 80486 และในปี 1990 ไมโครซอฟต์ได้ออกวินโดวส์เวอร์ชัน 3.0 ออกมา เพื่อทำการโปรโมทผู้ใช้ไม่ให้หันไปนิยมใช้แมคอินทอชโอเอสแทนดอส อย่างไรก็ตามถึงแม้ว่าวินโดวส์จะง่ายต่อการใช้งานมากกว่าดอส แต่ในเวอร์ชันแรก ๆ การใช้งานก็ยังไม่ง่ายเท่าของแมคโอเอส และนอกจากนี้การติดตั้งอุปกรณ์รอบข้างอื่น ๆ ก็ยังทำได้ยาก
วินโดวส์ได้มีการพัฒนามาอย่างต่อเนื่อง จากวินโดวส์ 3 มาเป็นวินโดวส์ 4 วินโดวส์ 95 และวินโดวส์ 98 ในปัจจุบัน วินโดวส์ 95 และ วินโดวส์ 98 ถือว่าเป็นระบบปฏิบัติการอย่างแท้จริง เนื่องจากมันไม่ต้องอยู่ภายใต้ การควบคุมของดอส การติดตั้งจะแยกออกจากดอสอย่างเด็ดขาดไม่จำเป็นต้องติดตั้งดอสก่อน นอกจากความง่ายและสะดวกต่อการใช้งานแล้ว วินโดวส์เวอร์ชันใหม่นี้ยังรวมซอฟต์แวร์ที่ทำให้ผู้ใช้สามารถติดตั้งเครื่องคอมพิวเตอร์ของตนเองเข้ากับระบบเครือข่ายได้ง่าย โดยเฉพาะอย่างยิ่งเครือข่ายอินเตอร์เน็ตและยังเอื้ออำนวยความสะดวกในการโอนถ่ายซอฟต์แวร์หรือที่เรียกว่าดาวน์โหลด (Download) โปรแกรมเป็นอย่างมาก นอกจากนี้วินโดวส์เวอร์ชันใหม่ยังมีความสามารถทางด้าน Plug–and-Play ซึ่งเป็นการเปิดโอกาสให้ผู้ใช้สามารถนำอุปกรณ์ มาตรฐานต่าง ๆ เช่น ซีดีรอมไดรฟ์ ซาวน์การ์ด โมเด็ม ฮาร์ดดิสก์ไดรฟ์ ฯลฯ ที่สนับสนุน Plug-and-Play มาต่อเข้ากับเครื่องคอมพิวเตอร์ได้ เมื่อเปิดเครื่องคอมพิวเตอร์อีกครั้งระบบปฏิบัติการวินโดวส์ 95 หรือ 98 จะทำหน้าที่ตรวจสอบและติดตั้งอุปกรณ์ที่เพิ่มเข้ามาใหม่เหล่านั้น และทำให้เครื่องคอมพิวเตอร์รู้จักอุปกรณ์ โดยที่ผู้ใช้ไม่ต้องทำอะไร
นปัจจุบันตลาดพีซีเกือบทั้งหมดถูกครอบครองโดยระบบปฏิบัติการวินโดวส์ รวมทั้งมีการผลิตซอฟต์แวร์ที่ประมวลผลบนระบบปฏิบัติการประเภทนี้ออกมาสู่ตลาดอย่างมากมาย ดังนั้นจึงมีผู้ใช้เป็นจำนวนมากที่นิยมใช้งานระบบปฏิบัติการวินโดวส์โดยเฉพาะอย่างยิ่ง วินโดวส์ 95 และ วินโดวส์ 98
Microsoft Windows ตั้งแต่อดีต - ปัจจุบัน
เดือน - ปี รายละเอียด
ตุลาคม 2524 IBM เปิดตัวเครื่องคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลครั้งแรก พร้อมด้วยระบบปฏิบัติการ PC-DOS 1.0 ของไมโครซอฟท์
มีนาคม 2526 ไมโครซอฟท์เปิดตัว MS-DOS 2.0 ที่สนับสนุนการใช้งานฮาร์ดดิสก์และระบบจัดการไฟล์แบบใหม่
พฤศจิกายน 2526 ไมโครซอฟท์แนะนำระบบปฏิบัติการ Windows ที่ทำงานบน MS-DOS โดยเริ่มแรกที่ใช้ชื่อว่า Interface Manager
พฤศจิกายน 2528 ไมโครซอฟท์เปิดตัวระบบปฏิบัติการ Windows1.0
เมษายน 2530 IBM และไมโครซอฟท์ร่วมกันเปิดตัว OS/2 1.0 ระบบปฏิบัติการยุคใหม่ที่มีระบบการทำงานตามคำสั่งคอมมานต์ไลน์เหมือนกับ DOS
ธันวาคม 2530 ไมโครซอฟท์จำหน่ายระบบปฏิบัติการ Windows 2.0 ที่หน้าต่างสามารถวางซ้อนทับกันได้ และทำงานได้กับไมโครโปรเซสเซอร์ 80286 ของอินเทล
ธันวาคม 2530 ไมโครซอฟท์เปิดตัวระบบปฏิบัติการ Windows/386 ซึ่งอาศัยคุณสมบัติ Virtual Machine ของไมโครโปรเซสเซอร์ 80386 ซึ่งสามารถเรียกใช้งานโปรแกรม DOS ได้แบบหลายงานพร้อมกัน (Multitasking)
มิถุนายน 2531 ไมโครซอฟท์จำหน่ายระบบปฏิบัติการ Windows 2.0 Version 2 มีชื่อว่า Windows-286
ตุลาคม 2531 IBM และไมโครซอฟท์ร่วมกันพัฒนาและออก OS/2 1.1 ซึ่งมีหน้าตาแบบกราฟฟิคคล้ายกับวินโดวส์ โดยมีชื่อว่า Presentation Manager ต่อมาภายหลังภายหลังทั้งสองบริษัทได้หยุดความร่วมมือในการพัฒนา OS/2
พฤศจิกายน 2531 เปิดตัว MS-DOS 4.1 ออกสู่ตลาด
พฤษภาคม 2533 ไมโครซอฟท์เปิดตัวระบบปฏิบัติการ Windows 3.0 และได้รับการตอบรับอย่างดี โดยในช่วงปลายปี ไมโครซอฟท์ขยายซอฟต์แวร์ Windows ได้มากกว่า 1 ล้านชุดต่อเดือน
เมษายน 2534 ไมโครซอฟท์เปิดตัวระบบปฏิบัติการ Windows 3.1ด้วยเทคโนโลยีแสดงตัวอักษรแบบใหม่ และแก้ปัญหาบั๊กต่าง ๆ
มิถุนายน 2534 เปิดตัว MS-DOS 5.0 ออกสู่ตลาด
ตุลาคม 2534 ไมโครซอฟท์เปิดตัวระบบปฏิบัติการ Windows for Workgroup 3.1 โดยความสามารถด้านเครือข่าย
มีนาคม 2535 เปิดตัว MS-DOS 6.0 ออกสู่ตลาด
พฤษภาคม 2535 ไมโครซอฟท์เปิดตัวระบบปฏิบัติการ Windows NT 3.1 เวอร์ชั่นของสายผลิตภัณฑ์ Windows NT ซึ่งมองโดยรวมแล้วมีลักษณะคล้าย Windows 3.1 แต่ทำงานบนเครื่อง 32 บิต
พฤศจิกายน 2536 ไมโครซอฟท์เปิดตัวระบบปฏิบัติการ Windows for Workgroup 3.11 พร้อมกับ MS-DOS 6.2
มีนาคม 2537 เปิดตัว MS-DOS 6.21 ออกสู่ตลาด
พฤษภาคม 2537 เวอร์ชันสุดท้ายของ DOS ออกสู่ตลาด คือ MS-DOS 6.22 ด้วยความสามารถในการบีบอัดข้อมูลบนฮาร์ดดิสก์ DriveSpace
กันยายน 2537 ไมโครซอฟท์เปิดตัวระบบปฏิบัติการ Windows NT เวอร์ชัน 2 ออกสู่ตลาด (Windows NT 3.5)
มิถุนายน 2538 ไมโครซอฟท์เปิดตัวระบบปฏิบัติการ Windows NT3.51
สิงหาคม 2538 ไมโครซอฟท์เปิดตัวระบบปฏิบัติการ Windows 95 (Windows 4.0) ออกสู่ตลาด ด้วยความสำเร็จสูงสุดในประวัติศาสตร์ของอุตสาหกรรมคอมพิวเตอร์ Windows 95 สนับสนุนชื่อไฟล์แบบยาว แอพพลิเคชัน 32 บิต และมีคุณสมบัติ Plug and Play พร้อมกับหน้าจออินเทอร์เฟซใหม่ ที่มีการใช้ปุ่ม Start Menu เป็นครั้งแรก
กรกฎาคม 2539 ไมโครซอฟท์เปิดตัวระบบปฏิบัติการ Windows NT 4.0 ซึ่งมีหน้าจออินเทอร์เฟซแบบเดียวกับ Windows 95 และเป็นระบบปฏิบัติการสาย NT ตัวแรกที่ประสบผลสำเร็จ
ตุลาคม 2539 ไมโครซอฟท์เปิดตัวระบบปฏิบัติการ OEM Service Release 2 ของ Windows 95 หรือที่เรียกว่า OSR2 และเป็นผลิตภัณฑ์ตัวแรกของ Windows 95 ที่สนับสนุนการใช้งานระบบไฟล์แบบ FAT32
มิถุนายน 2540 ไมโครซอฟท์เปิดตัวระบบปฏิบัติการ Windows 95 OSR2.1 ซึ่งสนับสนุนตัวประมวลผลทางด้านกราฟฟิค AGP และพอร์ต USB
มิถุนายน 2541 ไมโครซอฟท์เปิดตัวระบบปฏิบัติการ Windows 98 ออกสู่ตลาด พร้อมด้วย Internet Explorer 4.0 ไดร์เวอร์ฮาร์แวร์ใหม่ ระบบจัดการพลังงานด้วย ACPI นับเป็นวินโดวส์อีกรุ่นที่ประสบความสำเร็จ
พฤษภาคม 2542 ไมโครซอฟท์เปิดตัวระบบปฏิบัติการ Windows 98 Second Edition (SE) ออกสู่ตลาด พร้อมด้วย Internet Explorer 5.0 และ Internet Connection Sharing (ICS)
กุมภาพันธุ์ 2543 ไมโครซอฟท์เปิดตัวระบบปฏิบัติการ Windows 2000 (Windows NT 5.0) โดยสนับสนุนคุณสมบัติ Plug and Play, DirectX, USB และเทคโนโลยีอื่น ๆ ที่มีอยู่ใน Windows 9x
กันยายน 2543 ไมโครซอฟท์เปิดตัวระบบปฏิบัติการ Windows Millenium Edition (Me) ซึ่งถือเป็นผลิตภัณฑ์สุดท้ายในสายผลิตภัณฑ์ Windows 9x
ตุลาคม 2544 ไมโครซอฟท์เปิดตัวระบบปฏิบัติการ Windows eXPerience หรือ Windows XP ซึ่งถือเป็นผลิตภัณฑ์ที่รวมสายผลิตภัณฑ์ Windows 9x และWindows NT/2000 เข้าไว้ด้วยกัน และสนับสนุนงานทางด้าน Multimedia
Windows 95 เป็นระบบปฏิบัติการอย่างแท้จริง สร้างขึ้นมาเพื่อแทน DOS และ Windows 3.1 เลข 95 บอกถึงปีที่ออกจำหน่าย (ค.ศ. 1995) ส่วน Windows 98 ออกจำหน่าย ค.ศ. 1998 เป็นเพียงการปรับปรุง Windows 95 ไม่ใช่ระบบปฏิบัติการใหม่
Windows NT พัฒนาขึ้นมาต่างหากจาก Windows 95 กล่าวคือไม่ได้ใช้ Windows 95 เป็นฐาน ถือได้ว่าเป็นระบบปฏิบัติการคนละอย่างกับ Windows 95 ถึงแม้จะมีหน้าตาเหมือนกัน มีวิธีใช้อย่างเดียวกัน คำว่า NT ย่อมาจาก New Technology เมื่อบริษัทไมโครซอฟท์คิดสร้าง OS ตระกูลนี้ขึ้นมา ก็เพราะต้องการจะแยกระหว่าง OS ที่ใช้ในสำนักงานซึ่งโยงกันเป็นเครือข่ายประเภทที่มีแม่ข่าย กับ OS ที่ใช้ในคอมพิวเตอร์ที่ใช้ตามบ้านซึ่งไม่เชื่อมต่อกับเครือข่ายแบบ LAN ไมโครซอฟท์ตั้งใจให้ใช้ระบบปฏิบัติการนี้ในระบบเครือข่ายในวงการธุรกิจ Windows NT แบ่งเป็น Windows NT Server ใช้ในเครื่องที่เป็นแม่ข่าย และ Windows NT Client ใช้ในเครื่องที่เป็นลูกข่าย เราสามารถใช้ Windows NT Client เดี่ยว ๆ แทน Windows 95/98 ก็ได้ แต่เนื่องจากต้องการทรัพยากรของเครื่องมากกว่า จึงอาจจะไม่เหมาะสม
Windows 2000 สืบเชื้อสายจาก Windows NT ไม่ใช่จาก Windows 95/98 ก่อนที่จะมีรุ่นนี้ Windows NT พัฒนามาถึง Windows NT 4 แต่แทนที่จะเรียกรุ่นต่อไปว่า Windows NT 5 กลับเปลี่ยนชื่อเป็น Windows 2000 ใช้ปี ค.ศ. ที่ออกจำหน่ายเป็นชื่อ ทำให้เกิดความเข้าใจผิดกันว่า สืบเชื้อสายจาก Windows 95/98 อนึ่ง Windows 2000 ที่ใช้ในเครื่องที่เป็นลูกข่าย ใช้ชื่อว่า Windows 2000 Professional ไม่ใช่ Windows 2000 Client
Windows Millennium เป็นชื่อที่ชวนให้สับสนมากที่สุด เนื่องจากคำว่า Millennium บอกถึงสหัสวรรษใหม่ คนจำนวนมากจึงคิดว่าเป็นอีกชื่อหนึ่งของ Windows 2000 (ซึ่งเป็นผลมาจากการที่มักเข้าใจผิดกันว่าปี 2000 คือปีแรกของสหัสวรรษใหม่) แต่ที่จริง Windows Millennium คือวินโดวส์ตระกูล Windows 95/98 รุ่นสุดท้าย หลังจากนี้บริษัทไมโครซอฟท์เลิกพัฒนาวินโดวส์ตระกูลนี้
Windows XP เป็นวินโดวส์สายพันธุ์ Windows NT แต่เพิ่มฉบับที่สำหรับให้ใช้ตามบ้านได้ด้วย เรียกว่า Windows XP Home Edition ซึ่งมาใช้แทนสายพันธุ์ Windows 95
การสิ้นสุดการสนับสนุน Windows XP คืออะไร
Microsoft ได้จัดหาการสนับสนุนสำหรับ Windows XP ในช่วง 12 ปีที่ผ่านมา แต่ตอนนี้ถึงเวลาแล้วที่เรา รวมถึงคู่ค้าที่เป็นผู้ผลิตฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์ จะลงทุนทรัพยากรของเราไปกับการสนับสนุนเทคโนโลยีที่ใหม่กว่า เพื่อให้เราสามารถนำเสนอประสบการณ์ใหม่ ๆ ที่ยอดเยี่ยมได้อย่างต่อเนื่อง ด้วยเหตุนี้ ความช่วยเหลือด้านเทคนิคสำหรับ Windows XP จึงไม่ได้ให้บริการอีกต่อไป รวมถึงอัปเดตอัตโนมัติที่จะช่วยปกป้องพีซีของคุณ
นอกจากนี้ Microsoft ยังได้ยุติการจัดหา Microsoft Security Essentials สำหรับดาวน์โหลดบน Windows XP แล้ว หากคุณติดตั้ง Microsoft Security Essentials เอาไว้แล้ว คุณจะยังคงได้รับอัปเดตฐานข้อมูลป้องกันมัลแวร์ในช่วงเวลาที่จำกัด อย่างไรก็ตาม โปรดทราบว่า Microsoft Security Essentials (หรือซอฟต์แวร์ป้องกันไวรัสอื่นใด) จะมีประสิทธิผลที่จำกัดบนพีซีที่ไม่มีอัปเดตด้านการรักษาความปลอดภัยรุ่นล่าสุด ดังนั้นพีซีที่ใช้ Windows XP จะไม่ปลอดภัยและยังคงเสี่ยงต่อการติดเชื้อ
จะเกิดอะไรขึ้นหากฉันยังคงใช้ Windows XP ต่อไป
หากคุณยังคงใช้ Windows XP ต่อไปหลังจากที่การสนับสนุนได้สิ้นสุดลง คอมพิวเตอร์ของคุณจะยังคงใช้การได้ แต่อาจมีความเสี่ยงมากขึ้นต่อปัญหาด้านความปลอดภัยและไวรัส Internet Explorer 8 ไม่ได้รับการสนับสนุนอีกต่อไป ดังนั้นหากพีซี Windows XP ของคุณเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ต และคุณใช้ Internet Explorer 8 เพื่อท่องเว็บหลังจากที่การสนับสนุนสิ้นสุดลง พีซีของคุณอาจเสี่ยงต่อภัยคุกคามเพิ่มเติม ปัจจุบัน ผู้ผลิตซอฟต์แวร์และฮาร์ดแวร์หันมาปรับแต่งผลิตภัณฑ์ของตนสำหรับการใช้งานร่วมกับ Windows รุ่นใหม่กันมากขึ้น ดังนั้นคุณจะพบว่าแอปและอุปกรณ์มากมายไม่สามารถใช้งานร่วมกับ Windows XP ได้
+ https://support.microsoft.com
12.2 หลักการออกแบบ
! u-aizu.ac.jp

Modern Operating Systems,
Andrew S. Tanenbaum, p 763-854
Architecture : slide 5 of 24
1. ฮาร์ดแวร์ (Hardware)
2. โหมดเคอแนล (Kernel Mode)
- บริการระบบ (System services)
- ตัวจัดการไอโอ (I/O manager)
- ตัวจัดการวัตถุ (Object manager)
- ตัวเฝ้าตรวจความมั่นคง (Security Reference monitor)
- ตัวจัดการกระบวนการ (Process manager)
- การอำนวยความสะดวกในการเรียกกระบวนการ (Local procedure call facility)
- ตัวจัดการหน่วยความจำเสมือน (Virtual memory manager)
- แก่นของระบบ (Kernel Mode)
- ชั้นจัดการเชื่อมต่อฮาร์ดแวร์ และซอฟต์แวร์ (HAL = Hardware Abstraction Layer)
3. โหมดของผู้ใช้ (User Mode)
- ระบบย่อยความมั่นคง (Security subsystem)
- ระบบย่อย OS/2 (OS/2 subsystem)
- ระบบย่อย Win32 (Win32 subsystem)
- ระบบย่อย POSIX (POSIX subsystem)
4. โปรแกรมประยุกต์ (Application)
- เข้าระบบ (Logon Process)
- ลูก OS/2 (OS/2 client)
- ลูก Win32 (Win32 client)
- ลูก POSIX (POSIX client)
12.3 โครงสร้างระบบ (Structure System) When the original IBM PC was launched in 1981, it came equipped with a 16-bit real-mode, single-user, command-line oriented operating system called MS-DOS 1.0. This operating system consisted of 8 KB of memory resident code. Two years later, a much more powerful 24-KB system, MS-DOS 2.0, appeared. It contained a command line processor (shell), with a number of features borrowed from UNIX. When IBM released the 286-based PC/AT in 1984, it came equipped with MS-DOS 3.0, by now 36 KB. Over the years, MS-DOS continued to acquire new features, but it was still a command-line oriented system.
Inspired by the success of the Apple Macintosh, Microsoft decided to give MS-DOS a graphical user interface that it called Windows. The first three versions of Windows, culminating in Windows 3.x, were not true operating systems, but graphical user interfaces on top of MS-DOS, which was still in control of the machine. All programs ran in the same address space and a bug in anyone of them could bring the whole system to a grinding halt.
The release of Windows 95 in 1995 still did not eliminate MS-DOS, although it introduced a new version, 7.0. Together, Windows 95 and MS-DOS 7.0 contained most of the features of a full-blown operating system, including virtual memory, process management, and multiprogramming. However, Windows 95 was not a full 32-bit program. It contained large chunks of old 16-bit code (as well as some 32-bit code) and still used the MS-DOS file system, with nearly all its limitations. The only major change to the file system was the addition of long file names in place of the 8 + 3 character file names allowed in MS-DOS.
Even with the release of Windows 98 in 1998, MS-DOS was still there (now called version 7.1) and running 16-bit code. Although a bit more functionality migrated from the MS-DOS part to the Windows part, and a disk layout suitable for larger disks was now standard, under the hood, Windows 98 was not very different from Windows 95. The main difference was the user interface, which integrated the desktop, the Internet, and television more closely. It was precisely this integration that attracted the attention of the U.S. Dept. of Justice, which then sued Microsoft claiming that it was an illegal monopoly.
While all these developments were going on, Microsoft was also busy with a completely new 32-bit operating system being written from the ground up. This new system was called Windows New Technology, or Windows NT. It was initially hyped as the replacement for all other operating systems for Intel-based PCs, but it was somewhat slow to catch on and was later redirected to the upper end of the market, where it found a niche. It is gradually becoming more popular at the low end as well.
NT is sold in two versions: server and workstation. These two versions are nearly identical and are generated from the same source code. The server version is intended for machines that run as LAN-based file and print servers and has more elaborate management features than the workstation version, which is intended for desktop computing for a single user. The server version has a variant (enterprise) intended for large sites. The various versions are tuned differently, each one optimized for its expected environment. Other than these minor differences, all the versions are essentially the same. In fact, nearly all the executable files are identical for all versions. NT itself discovers which version it is by looking at a variable in an internal data structure (the registry). Users are forbidden by the license from changing this variable and thus converting the (inexpensive) workstation version into the (much more expensive) server or enterprise versions. We will not make any further distinction between these versions.
MS-DOS and all previous versions of Windows were single-user systems. NT, however, supports multiprogramming, so several users can work on the same machine at the same time. For example, a network server may have multiple users logged in simultaneously over a network, each accessing its own files in a protected way.
NT is a true 32-bit multiprogramming operating system. It supports multiple user processes, each of which has a full 32-bit demand-paged virtual address space. In addition, the system itself is written as 32-bit code everywhere.
One of NT's original improvements over Windows 95 was its modular structure. It consisted of a moderately small kernel that ran in kernel mode, plus a number of server processes that ran in user mode. User processes interacted with the server processes using the client-server model: a client sent a request message to a server, and the server did the work and returned the result to the client via a second message. This modular structure made it easier to port it to several computers besides the Intel line, including the DEC Alpha, IBM PowerPC, and SGI MIPS. However, for performance reasons, starting with NT 4.0, pretty much all of the system was put back into the kernel.
One could go on for a long time both about how NT is structured internally and what its system call interface is like. Since our primary interest here is the virtual machine presented by various operating systems (i.e., the system calls), we will give a brief summary of the system structure and then move on to the system call interface. ข้อมูลจาก : Andrew S. Tanenbaum, Structured Computer Organization, Fourth Ed., Prentice-Hall, 1999. (ISBN 0-13-095990-1)
ItemWindows 95/98NT
Win32 API?YesYes
Full 32-bit system?NoYes
Security?NoYes
Protected file mappings?NoYes
Private address space for each MS-DOS program? NoYes
Plug and play?YesYes
Unicode?NoYes
Runs onIntel 80x8680x86, Alpha
Multiprocessor support?NoYes
Re-entrant code inside aS?NoYes
Some critical as data writable by user?YesNo
12.4 ระบบแฟ้ม (File System) แฟ้ม หรือไฟล์ (File)
หมายถึง กลุ่มของสารสนเทศที่สัมพันธ์กัน ซึ่งความสัมพันธ์เหล่านั้นกำหนดโดยผู้สร้างแฟ้ม และอาจใช้เก็บอะไรก็ได้
หมายถึง กลุ่มของระเบียนที่สัมพันธ์กัน เป็นเรื่องเดียวกัน
หมายถึง สิ่งที่บรรจุข้อมูลต่าง ๆ ไว้ในที่เดียวกัน
หมายถึง A named collection of related information that is recorded on secondary storage.
หมายถึง A collection of bytes stored as an individual entity. All data on disk is stored as a file with an assigned file name that is unique within the folder (directory) it resides in. To the computer, a file is nothing more than a string of bytes. The structure of a file is known to the software that manipulates it. For example, database files are made up of a series of records. Word processing files contain a continuous flow of text. [techweb.com]
ระบบแฟ้ม (File system)
หมายถึง สิ่งที่ผู้ใช้พบเห็นมากที่สุด เพราะเป็นที่เก็บทั้งโปรแกรม และข้อมูล ของระบบปฏิบัติการ ที่ผู้ใช้ทุกคนต้องพบ ระบบแฟ้มประกอบด้วย 2 ส่วน คือ Collection of files ซึ่งเก็บข้อมูลที่สัมพันธ์กัน และ Directory structure สำหรับจัดการ และให้ข้อมูลแฟ้มทั้งหมดในระบบ บางระบบปฏิบัติการมีส่วนที่ 3 คือ Partitions ซึ่งแยก Physically หรือ Logically ของระบบ directory โดยเนื้อหาในบทนี้จะกล่าวถึงแฟ้ม และโครงสร้างไดเรกทรอรี่ รวมถึงการป้องกันแฟ้ม จากการเข้าถึงในระบบ Multiple users และระบบ File sharing
12.5 ระบบ DOS DOSคือ ระบบปฏิบัติการสำหรับ Personal comptuer ในยุคแรก ต่อมาคอมพิวเตอร์มีพัฒนาการด้าน hardware อย่างรวดเร็ว ในคอมพิวเตอร์รุ่น 80286 สามารถใช้ Windows ได้ ทำให้บทบาทของ DOS ลดลงเป็นลำดับ
คำสั่งภายใน(internal command) และคำสั่งภายนอก(External command)
1. เกี่ยวกับ disk และ file
dir : แสดงรายชื่อแฟ้มใน directory
rename : เปลี่ยนชื่อแฟ้ม
copy : คัดลอกแฟ้ม
xcopy : คัดลอก directory
diskcopy : คัดลอกดิสก์
chkdsk : เช็คดิสก์
attrib : จัดการเกี่ยวกับ attibute ของแฟ้ม
label : เปลี่ยน label
2. เกี่ยวกับ directory structure
cd : เปลี่ยน directory
md : สร้าง directory
rd : ลบ directory
tree : แสดงโครงสร้าง directory
path : กำหนดเส้นทาง
3. เกี่ยวกับ batch processing
call : เรียก batch file อื่น
echo : แสดงข้อความ
if : เลือกทำตามเงื่อนไข
goto : ไปยัง label
rem : หมายเหตุ
pause : หยุดรอ
for : ทำซ้ำ
shift : เลื่อนสำหรับ %0 ถึง %9
4. ทั่วไป
date : ตั้งวันที่
time : ตั้งเวลา
prompt : ตั้งเครื่องหมาย prompt ใหม่
cls : ลบจอภาพ
type : แสดงข้อมูลใน text file
set : กำหนดตัวแปร
ver : แสดงเลขรุ่นของระบบปฏิบัติการ
thaiall.com/assembly/internalcmd.htm
12.6 โปรแกรมประยุกต์ Microsoft Office
Microsoft's primary desktop applications for Windows and Mac. Depending on the package, it includes some combination of Word, Excel, PowerPoint, Access and Outlook along with a host of Internet and other related utilities. The applications share common functions such as spell checking and graphing, and objects can be dragged and dropped between applications. Microsoft Office is the leading application suite on the market.
Microsoft Office 2003, introduced in late 2003, provides extensive support for XML and data collaboration. Office files can be saved as native XML for easier integration with other applications, and Microsoft's SharePoint portal turns Office into a groupware system that is administered on a Web server. Designed to be a front end to Microsoft's .NET initiative, Office 2003 applications run under XP and 2000 only. Microsoft no longer refers to Office as a "suite," rather it became the Microsoft Office System.
Office XP, introduced in 2001, added document sharing over the Web, a significant document recovery feature and also integrated Microsoft's Web-based Hotmail e-mail service.
Office 2000 was a major upgrade with numerous enhancements and changes. More integrated with the Web, it added collaboration features and support for opening and saving HTML documents, even doubling as an HTML editor.
Office 2000 is a software suite that consists of different applications that complete different activities. MS Office 2000 is by far the most widely recognized software suite in the world.
Office 95 was the first 32-bit version of Office, followed by Office 97, which added Internet integration and Outlook. The formats in Excel 97, PowerPoint 97 and Word 97 were changed, but files could be saved in a dual 95/97 format for backward compatibility. Access 97 files were not backward compatible. The last 16-bit versions of Office were Office 4.x.
  1. Microsoft word is the word processing program of the Microsoft Office suite that allows you to create documents and reports.
    Microsoft Word 2000 provides powerful tools for creating and sharing professional word processing documents. Click here for help on Microsoft Word. Take a Virtual Tour on Microsoft's website by clicking Microsoft Word 2000 Virtual Tour.
  2. Microsoft Excel lets you develop spreadsheets that display data in various tabular and visual formats.
    Microsoft Excel 2000 With Microsoft Excel 2000, you can create detailed spreadsheets for viewing and collaboration. Create customized formulas for your data and analyze it with the easy to construct charts. Click here for help on Microsoft Excel. Take a Virtual Tour on Microsoft's website by clicking Microsoft Excel 2000 Virtual Tour.
  3. Microsoft PowerPoint creates multimedia presentations to display information in a graphical format.
    Microsoft PowerPoint 2000 provides a complete set of tools for creating powerful presentations. Organize and format your material easily, illustrate your points with your own images or clip art, and even broadcast your presentations over the web. Click here for help on Microsoft PowerPoint. Take a Virtual Tour on Microsoft's website by clicking Microsoft PowerPoint 2000 Virtual Tour.
  4. Microsoft Access is a database program that stores information that can be manipulated, sorted, and filtered to meet your specific needs.
    Microsoft Access 2000 gives you powerful new tools for managing your databases. Share your database with co-workers over a network, find and retrieve information quickly, and take advantage of automated, pre-packaged wizards and solutions to quickly create databases. Click here for help on Microsoft Access. Take a Virtual Tour on Microsoft's website by clicking Microsoft Access 2000 Virtual Tour.
  5. Microsoft Frontpage allows you to create professional-looking web pages for the Internet.
  6. Microsoft Publlisher
    Microsoft Publisher 2000 helps you easily create, customize, and publish materials such as newsletters, brochures, flyers, catalogs, and Web sites. Publish easily on your desktop printer. Click here for help on Microsoft Publisher. Take a Virtual Tour on Microsoft's website by clicking Microsoft Publisher 2000 Virtual Tour.
  7. Microsoft Outlook
  8. Microsoft Internet Explorer
  9. Microsoft Paint
Microsoft Office
ไมโครซอฟท์ออฟฟิศ (Microsoft Office) #
เป็นชุดโปรแกรมสำนักงาน พัฒนาโดยไมโครซอฟท์ ซึ่งสามารถใช้งานได้ในระบบปฏิบัติการไมโครซอฟท์ วินโดวส์ และแอปเปิล แม็คอินทอช ไมโครซอฟท์ออฟฟิศยังมีการส่งเสริมให้ใช้บริการผ่านระบบเครื่องแม่ข่าย (Server) และ บริการผ่านหน้าเว็บ (Web Based) ในรุ่นใหม่ ๆ ของไมโครซอฟท์ ออฟฟิศ เราจะเรียกมันว่า ระบบสำนักงาน (Office system) แทนแบบเก่าคือ ชุดโปรแกรมสำนักงาน (Office Suite) ซึ่งการเรียกว่า ระบบสำนักงานจะรวมการทำงานกับเครื่องแม่ข่ายเอาไว้ด้วย ในวันที่ 16 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 2006 ที่ผ่านมา ไมโครซอฟท์ได้ประกาศเรื่อง "ไมโครซอฟท์ ออฟฟิศ 2007" ที่จะเปลี่ยนแปลงหน้าจอการใช้งาน (User Interface) และ รูปแบบไฟล์แบบ XML เป็นหลัก รุ่นเสถียรล่าสุด คือไมโครซอฟท์ ออฟฟิศ 2007 ซึ่งออกจำหน่ายในวันที่ 30 มกราคม พ.ศ. 2550
Office Editions
- Access
- Excel
- FrontPage
- InfoPath
- OneNote
- Outlook
- PowerPoint
- Project
- Visio
- Word
+ /education/products/office/
ประเภท Windows 10 License?
1. Windows 10 OEM แบบ Preload จากโรงงาน : (เครื่องใหม่)
Origianl Equipment Manufacturer (OEM)
เป็นประเภทถูกที่สุด มากับเครื่อง เช่น ซื้อ PC แล้วได้มาพร้อมกันจากโรงงาน แต่ละยี่ห้อจะแตกต่างกัน แค่ว่าบางยี่ห้อจะให้แผ่น เช่น Lenovo จะไม่ให้แผ่นมา ต้องสร้าง Recovery DVD เอง ส่วน DELL จะให้แผ่น Recovery มาด้วยจากโรงงาน ปัจจุบันจะเป็น Windows 10 Pro Recovery ส่วนจะ Upgrade ก็ Online ได้
2. Windows 10 OEM แบบแผ่น : (เครื่องใหม่)
เป็นประเภทได้แผ่น พร้อม Key มาเพื่อติดตั้ง จะสามารถติดตั้งแบบเลือกพาดิชั่นได้เหมือนลงคอมพิวเตอร์ปรกติ
3. Windows 10 Open GGWA : (เครื่องเก่า)
Get Genuine Windows Agreement (GGWA)
เป็นประเภท Open License สามารถย้ายเครื่องได้ จริง ๆ แล้ว Windows 10 ไม่มีแบบ Open ย้ายเครื่องได้ เพราะแบบ Open License นั้นจะลงเครื่องไหนก็ได้ แล้วไม่สามารถรับรู้ได้ว่าเครื่องเก่า หรือ เครื่องใหม่ ดังนั้นแบบ Open/Volume License จึงมีแบบเดียวคือ GGWA
4. Windows 10 FPP : (เครื่องเก่า,เครื่องใหม่)
Full Package Product (FPP)
เป็นประเภทที่ย้ายเครื่องได้ สิทธิจะติดกับกล่อง และ USB และทุกอย่างที่ได้ไปตอนซื้อ หากกล่องหาย ลิขสิทธิ์หาย ซื้อ 10 เครื่องก็มี 10 USB 10 Key ข้อดีคือ จะไม่มี Windows 11,12,13 จะมีการ Upgrade ไปได้เรื่อย ๆ บน Windows 10 ดังนั้น FPP จึงเป็น Version เดียวที่เหมือนซื้อ Windows ครั้งเดียวแล้วใช้ไปได้ตลอด และตัว FPP เป็น License ที่แพงที่สุดของ Windows 10 Pro
+ https://www.2beshop.com/How-To-Buy-Windows10.php
Windows 10 Insider Preview Build 18963 (20H1) มีการปรับปรุง UI ของหน้าตัวเลือก Optional Features ที่ให้เราติดตั้งฟีเจอร์บางส่วนของ Windows เพิ่มเอง (เช่น Windows Media Player, IE11, หรือชุดภาษา) ซึ่งถือเป็นการปรับปรุง UI ให้ใช้งานง่ายขึ้น แล้วพบว่าหน้า Optional Features มี "ฟีเจอร์" ใหม่ถูกเพิ่มเข้ามาด้วย คือ โปรแกรม Microsoft Paint และ WordPad ที่ตอนนี้ยังกดติดตั้งไม่ได้ แสดงว่าในอนาคต สองโปรแกรมนี้จะไม่ถูกติดตั้งมาเป็นดีฟอลต์ และเปิดให้ผู้ใช้ติดตั้งเองได้เหมือน Windows Media Player
การกู้คืนแฟ้มข้อมูล (Data recovery) มื่อลบแฟ้ม หรือ format อุปกรณ์เก็บข้อมูลไปแล้ว และนานแล้ว แต่ภายหลังต้องการแฟ้มเหล่านั้นกลับคืนมาใช้ประโยชน์ สามารถใช้โปรแกรมประเภท Data recovery ช่วยกู้คืนแฟ้มที่เคยลบทิ้งให้กลับมาใช้งานได้ เหมือนกรณีภาพหลุดของดารา ที่นำอุปกรณ์ส่งซ่อม แล้วร้านใช้โปรแกรมกู้ข้อมูลก็พบแฟ้มคลิปเก่า ๆ ที่ไม่ได้ใช้แล้ว ประโยชน์ของโปรแกรมคือ กู้แฟ้มที่เคยหายไป ให้กลับมาอีกครั้ง
recoverit
12.7 ปฏิบัติการฝึกใช้ติดตั้ง และใช้งาน - ฝึกติดตั้งระบบปฏิบัติการ windows และให้บริการแบบต่าง ๆ
- ฝึกติดตั้งระบบปฏิบัติการ windows 2 ระบบในเครื่องเดียวกัน
- ค้นคว้าข้อมูลเกี่ยวกับ ระบบปฏิบัติการ Windows จากอินเทอร์เน็ต แล้วทำรายงาน และส่งตัวแทนนำเสนอหน้าชั้น
Command line เป็น emulator บน web browser

jamesfriend.com.au

bellard.org

dosbox.com
มีบริการให้ใช้งาน shell ของ DOS และ Linux ผ่าน browser โดยใช้ javascript เป็นตัวพัฒนา เหมาะกับผู้ที่ต้องการเรียนรู้ และทดสอบคำสั่งพื้นฐาน 1) ถ้าต้องการใช้ DOS shell หรือ command line ผ่าน online emulator เข้าใช้ที่ jamesfriend.com.au 2) ถ้าต้องการใช้ Linux shell ผ่าน online emulator เข้าใช้ที่ bellard.org มีตัวอย่างคำสั่ง linux ที่ /isinthai 3) ถ้าจะ DOS Shell บน windows ก็จะมี DOSBOX เป็น x86 emulator Downoad : dosbox.com แล้วก็ติดตั้ง ผมเคยเขียนตัวอย่างการใช้งาน DOSBOX ที่ thaiall.com
Start menu (Right click)
1. Apps and features คือ อินเตอร์เฟชแบบใหม่ที่มาแทน Programs and Features ใน Control Panel บริการติดตั้ง ถอนการติดตั้ง หรือปรับปรุง ทำให้ทราบว่ามี Application อะไรบ้างที่ติดตั้งอยู่ในระบบปฏิบัติการ แต่ยังเข้าไปที่ Programs and Features ได้ และเลือก Turn Windows features on or off ได้เช่นเดิม
2. Power options คือ ตัวเลือกเกี่ยวกับการประหยัดพลังงาน ที่สามารถสั่งหยุดการทำงาน (Turn off) เมื่อไม่ได้ใช้งานเป็นเวลานานตามที่กำหนด หรือพักการทำงานหากไม่ได้ใช้งาน เพื่อลดการใช้พลังงานของเครื่องคอมพิวเตอร์ และประหยัดไฟ (Sleep)
3. Event Viewer คือ เครื่องมือที่ใช้แสดงข้อมูลโดยละเอียดเกี่ยวกับเหตุการณ์ ดูรายการเหตุการณ์ หรือปัญหาที่เกิดจากการทำงานใน Windows Logs หรือ Applications and Services Logs มักถูกใช้งานเมื่อพบว่าระบบไม่ทำงานตามปกติ
4. System คือ การแสดงข้อมูลละเอียดเกี่ยวกับอุปกรณ์ และระบบปฏิบัติการ รวมถึงเครื่องมือที่รายงานการเฝ้าตรวจ การป้องกัน (Protection) และความปลอดภัย (Security) โดยแสดงข้อมูลของระบบเบื้องต้น เช่น Processor, RAM, Windows Edition, Installed date
5. Device manager คือ เครื่องมือจัดการรายการอุปกรณ์ภายในเครื่อง และซอฟต์แวร์ตัวขับที่ทำหน้าที่ดูแลอุปกรณ์ ช่วยให้ตรวจสอบรายการอุปกรณ์ ถอดถอน ติดตั้งเพิ่ม หรือเปลี่ยน driver ของอุปกรณ์ในกรณีที่ติดตั้งไม่ถูกต้อง
6. Network Connections คือ เครื่องมือควบคุมการเลือกอุปกรณ์เครือข่าย การเลือกเชื่อมต่อเครือข่าย หรือตัดการเชื่อมต่อทั้งแบบไร้สาย และใช้สาย การเลือก Change adapter options จะทำให้ทราบว่ามีอุปกรณ์ Ethernet ใดกำลังทำงานอยู่ หรือ Disabled ไว้
7. Disk management คือ เครื่องมือเพื่อกำหนดค่าพื้นฐานของดิสก์ พาร์ทิชัน และระบบแฟ้ม เช่น FAT, FAT32 หรือ NTFS ทำให้ทราบสถานะของแต่ละ Drive ว่า Free ร้อยละเท่าใดของพื้นที่ทั้งหมด เมื่อเลือก Properties ของ Drive สามารถเลือก Error checking หรือ Optimize and defragment drive หรือ share drive ได้
8. Computer Management คือ ชุดเครื่องมือเพื่อเรียกใช้งานบนระบบปฏิบัติการ เช่น ตารางงาน (Task Scheduler) ดูรายการเหตุการณ์ (Event Viewer) การแชร์แฟ้ม (Shared Folder) จัดการรายชื่อผู้ใช้และกลุ่มผู้ใช้ (Local Users and Groups) ประสิทธิภาพ (Performance) การจัดการดิสก์ (Device Manager) รวมถึง Services ที่สั่งเปิดได้โดยตรงผ่าน C:\> services.msc
9. Windows PowerShell คือ Command interpreter หรือ Command Shell แบบใหม่จาก Microsoft เหมือน Unix Shell ที่รองรับ Scripting Language และ .NET Framework แล้วยังสามารถเข้าถึง COM และ WMI บนระบบปฏิบัติการ Windows ได้โดยตรง ดังนั้นผู้ดูแลระบบสามารถสั่งงานได้มากกว่า DOS Command แบบเดิม ซึ่งมีรูปแบบคำสั่งสำเร็จรูปที่เรียกว่า cmdlets (Command-Let) เริ่มพัฒนาและเปิดใช้ Version 1.0 เมื่อพฤศจิกายน 2006 ตัวอย่างคำสั่ง C:\> powershell PS C:\> format-hex tmp.txt
10. Task manager คือ เครื่องมือติดตาม และแสดงรายละเอียดเกี่ยวกับโปรเซส (Process) ประสิทธิภาพของงาน (Performance) ประกอบด้วย หน่วยประมวลผล (CPU) หน่วยความจำ (Memory) ดิสก์ (Disk) เครือข่าย (Wi-Fi หรือ Ethernet) การใช้ประโยชน์ ควบคุมระดับความสำคัญของโปรเซส บังคับหยุดโปรเซส สั่งให้โปรแกรมทำงาน จัดการ Startup, Users, Process Details หรือ Services ได้
11. Settings คือ ศูนย์รวมของการตั้งค่าทุกอย่างบนระบบปฏิบัติการ เช่น ระบบ (System) อุปกรณ์ (Devices) เครือข่าย (Network & Internet) แอพพลิเคชั่น (Apps) บัญชี (Accounts) ภาษาและเวลา (Time & Language) ความเป็นส่วนตัว (Privacy)
12. File explorer, windows explore, edge คือ เครื่องมืออรรถประโยชน์ในการจัดการแฟ้ม เช่น แสดงรายการแฟ้มในระบบ แสดงข้อมูลในแฟ้มแบบพรีวิวของแฟ้ม สั่งเปิดแฟ้ม ลบแฟ้ม แก้ไขแฟ้ม พิมพ์แฟ้ม คัดลอก ย้าย เปลี่ยนชื่อ ส่งแฟ้มออก ปรับแก้คุณสมบัติของแฟ้ม และจัดการโฟรเดอร์ สั่งผ่าน DOS ด้วย C:\> explorer
13. Search คือ เครื่องมือค้นหาแฟ้มเอกสาร โปรแกรมภายในเครื่องคอมพิวเตอร์ หรือข้อมูลในเว็บผ่าน Edge ช่วยให้ค้นหาแฟ้มเอกสารภายในเครื่องคอมพิวเตอร์ได้อย่างรวดเร็ว
14. Run คือ การรับคำสั่งผ่านกล่องข้อความ เพื่อเรียกใช้โปรแกรม หรือแฟ้มตามตำแหน่งที่กำหนด หรือการเรียกโปรแกรมที่พร้อมทำงานผ่านชื่อโปรแกรม เช่น notepad / cmd / mspaint / powershell / explorer / services.msc
15. Shut down or sign out คือ การสั่งปิดเครื่อง หรือสั่งเริ่มต้นใหม่ หรือออกจากบัญชีผู้ใช้ มีตัวเลือกให้บริการ ดังนี้ Sign out / Sleep / Shut down / Restart
16. Desktop คือ การแสดงหน้าจอเดสท๊อป โดยปิดหน้าต่างทั้งหมดลง เมื่อคลิ๊กอีกครั้งจะกลับมาโปรแกรมเดิม มีผลการทำงานเช่นเดียวกับ Aero peek ที่อยู่มุมล่างขวาของ Desktop
ถาม - ตอบ
ถามWindows 1.0 เปิดตัวเมื่อใด
ตอบพ.ศ.2528 หรือ ค.ศ.1985
ถามMacintosh เปิดตัวเมื่อใด
ตอบ24 มกราคม พ.ศ.2528 หรือ ค.ศ.1984
แนะนำเว็บไซต์ (Website guide) http://www.thaiall.com/os/dualboot.htm
http://www.thaiall.com/assembly/internalcmd.htm
คลิปโฆษณาของ Macintosh ในปี 1984
บริการประมวลผลออนไลน์
แปลง word เป็น pdf
เมื่อเปิด word ในเครื่องอื่น อาจมีรูปแบบต่างไป จึงนิยมแปลงเป็น pdf ให้รูปแบบคงที่ ทั้งฟอนต์และตำแหน่งเดิม
เพิ่มเลขหน้าให้ pdf
การนำ pdf หลายแฟ้มมาต่อกัน หรือแฟ้มเดิมไม่มีเลขหน้า เมื่อต้องการใส่เลขหน้าชุดใหม่ จึงได้สั่งเพิ่มเลขหน้า
ปลดล็อกรหัสแฟ้ม pdf
แฟ้มที่ถูกป้องกันด้วยการใส่รหัสผ่าน เพื่อจำกัดการเปิดหรือแก้ไข ในกรณีที่เราใส่รหัสล็อก แต่ลืมก็สั่งปลดล็อกได้
ลดขนาดแฟ้มให้เล็กลง
ภาพที่เรามีมักเป็นภาพต้นฉบับที่มีความละเอียดสูง มีขนาดใหญ่ มักต้องลดขนาด เพื่อให้เหมาะสมกับรูปแบบเว็บ
ลบภาพพื้นหลัง
ภาพถ่ายที่มีสองส่วน คือ ภาพพื้นหลัง และภาพคน/สิ่งของ หากลบภาพฉากได้ก็เปลี่ยนฉากแล้วได้ภาพใหม่ที่ต่างไป
จำลองตัวแปลภาษา
ตัวแปลภาษามักต้องติดตั้งในเครื่องผู้ใช้ แต่มีบริการจำลอง ทำให้เขียนโค้ดแล้วส่งไปประมวลผล เพื่อทดสอบดูผลได้
จำลองฐานข้อมูลใช้ SQL
บริการจำลองระบบฐานข้อมูล เพื่อใช้คำสั่ง SQL ทดลองสั่งจัดการข้อมูล ด้วยคำสั่งเพิ่ม ลบ แก้ไข เรียกข้อมูลตามเงื่อนไข
จำลองระบบลีนุกซ์
การติดตั้งลีนุกซ์ด้วยตนเอง เพื่อใช้ Shell แต่มีอีกทางเลือกคือใช้ Shell จากผู้บริการระบบจำลอง เพื่อลองใช้คำสั่ง
เข้ารหัสถอดรหัส base64
การแปลงแฟ้มไบนารี่ เช่น jpg, ttf เป็น text ด้วยการเข้ารหัส base64 แล้วเก็บในโค้ด เมื่อใช้จะถอดรหัสไปใช้งาน
จัดเรียงข้อมูลตัวอักษร
หนึ่งในการประมวลผลที่พบบ่อยคือการจัดเรียงข้อมูล ซึ่งข้อมูลแบบตัวอักษรสามารถใช้ editor หรือบริการออนไลน์
แปลงแฟ้มภาพเป็น webp
แฟ้ม webp เป็นมาตรฐานภาพของ chrome เริ่มถูกยอมรับ จุดเด่นคือเล็ก มีบริการแปลงภาพแบบอื่นให้เป็นแบบนี้
แปลงแฟ้ม pdf เป็น png
แฟ้ม png เป็นมาตรฐานภาพที่รองรับภาพได้หลากหลาย เช่น มากสี น้อยสี หรือมีเลเยอร์จาก Fireworks จึงเป็นที่นิยม
thaiall.com/tec/online_service.htm
/*
แปลงแฟ้ม word เป็น pdf
	https://www.sodapdf.com/word-to-pdf/
เพิ่มเลขหน้าให้ pdf
	https://www.ilovepdf.com/add_pdf_page_number
ปลดล๊อกรหัสแฟ้ม pdf
	https://smallpdf.com/unlock-pdf/
ลดขนาดแฟ้มให้เล็กลง
	https://www.reduceimages.com/
ลบภาพพื้นหลัง
	https://www.remove.bg/
จำลองตัวแปลภาษาคอมพิวเตอร์ (playground, simulator)
	https://www.tutorialspoint.com/compile_java_online.php
จำลองฐานข้อมูลให้ใช้คำสั่ง SQL 
	https://www.w3schools.com/sql/
จำลองการทำงานของระบบปฏิบัติการลีนุกซ์
	https://bellard.org/jslinux/
เข้ารหัสถอดรหัส base64
	https://rawgit.com/MrRio/jsPDF/master/fontconverter/fontconverter.html
จัดเรียงข้อมูลตัวอักษร
	https://codebeautify.org/sort-text-lines
แปลงแฟ้มภาพเป็น webp
	https://convertio.co/png-webp/
แปลงแฟ้ม pdf เป็น png
	https://pdf2png.com/
*/
Windows 10 Windows 10 - ระบบปฏิบัติการเวอร์ชั่นล่าสุดจากทางไมโครซอฟท์ ใช้สถาปัตยกรรม Windows NT วางจำหน่ายครั้งแรกวันที่ 29 กรกฎาคม 2558 วินโดวส์ 10 มีแนวทางการออกแบบถอดมาจาก Windows 8 โดยมีหน้าต่างแบบจอสัมผัส และแบบดั้งเดิมที่ใช้เมาส์คีย์บอร์ด สถาปัตยกรรมของระบบเอื้อให้สามารถใช้ได้ทั้งโน๊ตบุ๊ค คอมตั้งโต๊ะ แท็บเล็ต โดยสามารถโหลดแอพพลิเคชั่นเพิ่มได้จากร้านค้าไมโครซอฟท์หรือไมโครซอฟท์สโตร์ มีวิธีการลงที่ไม่ยากสามารถลงวินโดว์เองง่าย ๆ เพียงแค่มีอินเทอร์เน็ตและแฟลชไดร์ฟ หลังจากลงวินโดว์เรียบร้อยก็ควร Activate ด้วยคีย์ให้เรียบร้อย เพื่อการใช้งานที่ลื่นไหลไม่มีสะดุด และไม่มีลายน้ำของวินโดว์มากวนตา
รู้เวลา ตรงเวลา ตั้งเวลา วลา ถือเป็นทรัพยากรที่มีค่า และเป็นสิ่งที่ทุกคนมีเท่ากัน ดังนั้นการรู้เวลา ตรงเวลา ตั้งเวลา จึงควรเป็นทักษะที่จำเป็น เพื่อใช้เวลาให้คุ้มค่า รู้ว่าเวลาไหน ควรทำอะไร ไม่ควรทำอะไร ตรงเวลา ไม่ช้า ไม่เร็ว พอดีตามเหตุตามผล ตั้งเวลา คือ กำหนดฤกษ์ยาม จะได้ไม่ผลัดวัน สำหรับระบบปฏิบัติการวินโดว์ มีการตั้งเวลาไว้ในเครื่องคอมพิวเตอร์ และเชื่อมโยงกับเครื่องบริการเวลา ถ้าเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตแล้ว แม้ battery จะหมด เมื่อเปิดเครื่องคอมพิวเตอร์ขึ้นมาใหม่ ก็จะสอบถามเวลาจากเครื่องบริการเวลา แล้วปรับปรุงให้ถูกต้องอัตโนมัติ (Synchronization) สอดคล้องกับ time zone ที่กำหนดไว้ ดยปกติแล้ว ที่มุมขวาของ task bar มีเวลาปรากฎอยู่ สามารถตั้งค่าได้ด้วยการคลิ๊กบนเวลาที่ปรากฎ พบ Change date and time settings แล้วคลิ๊ก จากนั้นจะพบ "Date and Time" window แล้วคลิ๊ก "Internet Time" tab แล้วคลิ๊ก "Change settings..." ถ้าเวลาไม่ประสานกัน (Synchronize) อัตโนมัติ ให้คลิ๊ก Update now
windows screen
เอกสารอ้างอิง (Reference) [1] Abraham silverschatz, Peter baer galvin, "Operating system concept", John wiley & Sons, New York, 2003.
[2] Milan Milenkovic, "Operating systems: concepts and design", McGraw-Hill inc., New York, 1992.
[3] William stallings, "Operating system", Prentice hall, New York, 1999.
[4] ไพศาล โมลิสกุลมงคล และคณะ, "ระบบปฏิบัติการ", สำนักพิมพ์ดวงกมลสมัย, กรุงเทพฯ, 2545.
[5] พิเชษฐ์ ศิริรัตนไพศาลกุล, "ระบบปฏิบัติการ (Operating system)", บริษัท ซีเอ็ดยูเคชั่น จำกัด., กรุงเทพฯ, 2546.
[6] ดร.ยรรยง เต็งอำนวย, "ระบบปฏิบัติการ (Operating system)", บริษัท ซีเอ็ดยูเคชั่น จำกัด., กรุงเทพฯ, 2541.
[7] ประชา พฤกษ์ประเสริฐ, "ระบบปฏิบัติการ", บริษัท ซัคเซส มีเดีย จำกัด., กรุงเทพฯ, 2549.
[8] วศิน เพิ่มทรัพย์, "คู่มือ MS-DOS", พี.เอ็น.การพิมพ์, กรุงเทพฯ, 2545.
[9] ชนินทร์ เชาวมิตร, "คู่มือยูนิกซ์เดสก์ทอป", บริษัท ซีเอ็ดยูเคชั่น จำกัด., กรุงเทพฯ, 2538.
[10] รศ.ดร.กฤษดา ขันกสิกรรม, "ระบบปฏิบัติการ (Operating Systems)", อาง้วนการพิมพ์, นครสวรรค์, 2555.
[11] ผศ.ดร.สุชาติ คุ้มมะณี, "พื้นฐานระบบปฏิบัติการยูนิกซ์", [ออนไลน์], เข้าถึงได้จาก : http://goo.gl/14xVey (วันที่ค้นข้อมูล 15 ตุลาคม 2558)
Thaiall.com