thaiall logomy background

กระดานแสดงความคิดเห็น

my town
597 ช่องว่างระหว่างสองฝ่าย
597 ช่องว่างระหว่างสองฝ่าย

การสื่อสารทางคอมพิวเตอร์มีสองฝ่าย คือ ไม่มีสัญญาณ และมีสัญญาณ มักเทียบเคียงให้เป็นค่าเท็จ และจริง หรือ 0 และ 1 โดยสองค่านี้ต่างกันอย่างชัดเจน มีการเปลี่ยนระบบการสื่อสารในปัจจุบันจากระบบอนาล็อก (Analog System) เป็นระบบดิจิทัล (Digital System) ที่ใช้การรับส่งข้อมูลเชิงดิจิทัล คือ 0 และ 1 เมื่อส่งข้อมูลแล้วเกิดข้อสงสัยว่าผู้รับได้ข้อมูลที่ถูกต้องหรือไม่ ก็อาจใช้ Parity Bit ช่วยป้องกันความผิดพลาด หรือ การปรับเพิ่มวงจรตรรกะสำหรับวงจรที่อาจกำกวมเป็น Hazard Logic แต่โลกแห่งความเป็นจริง เรามักพบความขัดแย้งระหว่างสองฝ่าย และมักมีฐานคิดที่แตกต่างกัน เพราะการให้เหตุผลที่ต่างกันทำให้เกิดช่องว่างระหว่างประเด็นค่อนข้างมากจนยากจะฟันธงไปได้ว่าฝ่ายใดผิดหรือฝ่ายใดถูก หรืออาจผิดด้วยกันทั้งสองฝ่าย

มีประเด็นความขัดแย้งมากมายในสังคม ที่มีฐานคิดแตกต่างกัน หรือเป็นเพียงกระแสที่โหนกันไปในสังคม ก็ต้องเลือกโหนให้ถูกฝั่ง สามารถพบเห็นได้ในสื่อสังคม (Social Media) เมื่อมีเรื่องราวที่ผู้คนสนใจกันมาก กดไลท์ กดแชร์ หรือวิจารณ์อย่างสนุกสนาน สื่อก็จะนำไปรายงานลงหนังสือพิมพ์หรือทีวี ผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง หรือนักวิชาการก็จะให้ความสำคัญ บางครั้งมีหลักความปลอดภัย ขัดแย้งกับความสะดวกของประชาชน เรื่องรถกระบะที่กลายเป็นกระแสต่อต้าน การยืนฝั่งใดฝั่งหนึ่งอาจถูกฝั่งอื่น หรือช่องว่างระหว่างสองฝั่งโจมตี เพราะเป็นการยากที่จะตัดสินได้ว่าฝั่งใดถูกกว่า เนื่องจากมีฐานคิดกันคนละแบบ

ในอดีตมีความขัดแย้งระหว่างหลักนิติศาสตร์ และหลักรัฐศาสตร์ที่แบ่งประเทศออกเป็นสองฝ่าย หลายครอบครัวต้องแตกแยก ทั้งสองหลักต่างมีเหตุผล แต่การประกาศว่าเลือกยืนฝั่งใดฝั่งหนึ่งกลับทำให้เกิดความขัดแย้งที่หาข้อยุติไม่ได้ บางครั้งสื่อสังคมจะนำเสนอความขัดแข้งระหว่างหลักเมตตากรุณา กับหลักนิติศาสตร์ อาทิ การที่พระสงฆ์เลี้ยงสุนัขไว้ช่วยบิณฑบาตเคยเป็นเรื่องที่ผู้คนชื่นชมสุนัข ต่อมามีกฎหมายคุ้มครองสัตว์ แล้วการกระทำนี้กลับกลายเป็นความผิด หรือ การที่มนุษย์ปกป้องตนเองจากสุนัข กลับมีความผิดฐานทำร้ายสุนัขจนต้องไปตัดสินกันในชั้นศาล เดี๋ยวนี้อย่าแน่ใจว่าการทำร้ายสุนัขที่วิ่งเข้าไปกัดเป็นความชอบธรรม เพราะอาจลงเอยด้วยคำว่าเกินกว่าเหตุ


จากคุณ : บุรินทร์ .
03:35am (8/04/17)
ทความเกี่ยวกับไอทีในชีวิตประจำวัน (Information Technology in Life) ถูกเขียนลงในหนังสือพิมพ์ฅนเมืองเหนือ เป็นหนังสือพิมพ์รายสัปดาห์ เริ่มเขียนปลายปีพ.ศ. 2549 จนถึงมิถุนายน พ.ศ.2560 รวมได้ 611 บทความมีโฮมเพจอยู่ที่ http://www.thaiall.com/itinlife และ http://www.thaiall.com/opinion เพื่อเป็นแหล่งแบ่งปันเรื่องราวที่ได้พบ ได้อ่าน ได้ปฏิบัติ แล้วนำมาเรียบเรียงแบ่งปันแก่เพื่อนชาวไทย และส่งให้กองบรรณาธิการนำไปตีพิมพ์ลงในหนังสือพิมพ์ท้องถิ่นของจังหวัดลำปาง
Opinion แปลว่า ความคิดเห็น วาทะ ความเชื่อ ที่สามารถสะท้อนออกมาให้อยู่ในรูปของวรรณกรรม หรืองานเขียน ที่เรื่องราวจะถูกร้อยเรียงเป็นตัวอักษร ไล่เรียงตามลำดับให้ได้รู้และเข้าใจความคิดความเห็น ที่ไม่เลือนหายไปตามเวลาเหมือนความทรงจำ
version 1.3 (15 ตุลาคม 2566)
Thaiall.com
Thaiall.com