NTU Fan Club
บทความของ ผศ.ดร.กฤษฎา ตันเปาว์

30. ความสุขสมหวังกับชีวิตด้วยทฤษฎีการเรียนรู้ตัวตน


ถึงแม้ว่าไม่สามารถมีตัววัดความสุขสมหวังได้แน่ แต่ึ่งในทฤษฎีที่ตอบโจทย์ แนวทางแห่งที่มา ของผลลัพธ์นั้นได้แก่
จากทฤษฎี ซึ่งฉายภาพของการวัด 2 ภาพใหญ่ ๆ ในความคิดตนระหว่าง
   1) ภาพแห่งตัวตนที่แท้จริง (Real-self/ Self Imange)
ภาพว่าตอนนี้ ตนเองเห็นตนเองเป็นอย่างไร ในปัจจุบันที่กำลังเป็นไป และมีส่วนเดินหน้าไปหาเป้าหมายที่ต้องการ
   2) ภาพแห่งตนเองในอุดมคติ (Ideal-self)
ภาพที่ตนเองวาดฝันจะเป็น (ในอนาคต) ในด้านต่าง ๆ ที่เป็นเป้าหมายแห่งความสำเร็จ สุขสมหวัง ตามเป้าหมาย
ซึ่งภาพของ    Real-self เทียบกับ    Ideal-self อาจจะมีความต่าง หากมองเป็นภาพคณิตศาสตร์แบบ เซ็ท (Set) ก็จะมีความต่าง ถ้าต่างมาก (Incongruent) ชีวิตก็ยังไม่สุขสมหวัง ถ้าต่างน้อย (Congruent) ก็จะมีแนวโน้มแห่งความสุขสมหวังมากขึ้น จากภาพที่เป็น Ideal-self บางส่วนที่เริ่มเป็นจรeal-self คือมีส่วน ทับซ้อนกัน (Intersection) และคนเราก็จะพยายามไปสู่ แนวโน้มพัฒนาตน (Actualizing Tendency) ให้สองวงนี้ทับซ้อน กลืนทับกันให้มากที่สุดอย่างต่อเนื่อง ยิ่งวงทั้งสองมีส่วนทับซ้อนมากเท่าไหร่ ก็นำมาซึ่งความสุขสมหวังมากขึ้นตามมา (   อย่าลืมว่า วันเวลาผ่านไป วงแห่ง Ideal-self อาจขยับหนีไป เพราะมีภาพแห่งอนาคตใหญ่ขึ้นหนีไปอีกด้วยได้)
วงดังกล่าวตามทฤษฎีการเรียนรู้ตัวตนนี้ หากมองในหลายเรื่องของชีวิตก็น่าจะได้ เช่น    ภาพวงด้านการศึกษา ภาพวงของความก้าวหน้าในตำแหน่งหน้าที่ ภาพวงด้านอาชีพ/รายได้ ซึ่งอาจมีหลายอาชีพ หลายวงของรายได้ ภาพวงของธุรกิจ หลาย ๆ วงธุรกิจ หรือ ภาพวงเป้าหมายในชีวิตอื่น ๆ เป็นต้น
จากแนวพื้นฐานนี้ ตัวตนที่แท้จริง กับตัวตนในอุดมคติ ของแต่ละคนมีต่างกัน และ
ทุกคนมีพื้นฐานตนเอง ข้อดี ข้อเสีย พิจารณาจากศักยภาพ โอกาส จังหวะ ที่ไม่เหมือนกัน ดังนั้นคนที่จะตอบว่าพนักงานกวาดถนน กับเจ้าของธุรกิจพันล้าน ใครมีความสุขสมหวังกว่ากัน ไม่มีใครตอบได้ คือ คนนั้น ๆ ตอบเฉพาะตนเท่านั้น
   คุณล่ะ วิเคราะห์ตนเองจากทฤษฎีของ Carl Rogers ได้วงภาพ Real-self กับ Ideal-self กี่ภที่นำมาซึ่ง ความสุขสมหวัง และความต่างระหว่างวงเป็นเช่นใด
ด้วยความปรารถนาดี
ผศ.ดร.กฤษฎา ตันเปาว์
แลกเปลี่ยนกัน
Fan of Nation University