thaiall logomy background การประมวลผลรายการ
my town
การประมวลผลรายการ

การประมวลผลรายการ

การประมวลผลรายการ คือ ระบบสำหรับการเปลี่ยนข้อมูลดิบให้ไปอยู่ในรูปที่สามารถบันทึกไว้ในระบบ แล้วสามารถเรียกคืน ประมวลผล และนำไปจัดทำรายงานได้ เช่น Point of sale, ATM, Banking
9. การประมวลผลรายการ
วัตถุประสงค์
- เพื่อให้เข้าใจระบบประมวลผลรายการ
- เพื่อให้เข้าใจวงจรการประมวลผลรายการ
- เพื่อให้เข้าใจปฏิบัติการด้านการประมวลผล
ประเด็นที่น่าสนใจ
playlist 49 clips : MIS 2555
playlist เฉลย office 150 ข้อ
term.csv
บทความ : บริหารธุรกิจ
Processing
การประมวลผลรายการ เป็นการเปลี่ยนข้อมูลดิบให้อยู่ในรูปที่นำมาบันทึกไว้ เรียกคืน ประมวลผล และทำรายงาน
1
2
3
4
5
6
7
8
9
10
11
12
13
14
15
16
17
18
19
20
21
22
ทุกองค์การต้องมีความเข้าใจในการประมวลผลรายการ เพื่อที่จะ ได้สารสนเทศที่มีประสิทธิภาพ จะต้องมีการเก็บข้อมูลรายการที่ถูกต้อง ทันเวลา และสอดคล้อง ก่อนนำข้อมูลไปประมวลผล เพื่อสนับสนุนการตัดสินใจของทุกหน่วยงาน บางสารสนเทศใช้ทั่วทั้งองค์การ บางข้อมูลเป็นความลับ จะถูกใช้โดยคนที่มีสิทธิ์เข้าถึงเท่านั้น ซึ่งการประมวลผลจะมีทั้งแบบทันทีทันใด หรือใช้เวลานานด้วยหลายปัจจัยที่เกี่ยวข้อง
ประวัติของระบบประมวลผลรายการ ระบบประมวลผลรายการ (Transaction Processing Systems) หรือ ระบบปฏิบัติงานทางธุรกิจ เกิดขึ้นตั้งแต่ 1950 โดยเครื่อง IBM ขององค์การขนาดใหญ่ เพราะราคาสูง และใช้ผู้ชำนาญทางคอมพิวเตอร์ที่ทำงานเต็มเวลา ผู้วิเคราะห์ระบบ และนักเขียนโปรแกรม ต้องเป็นผู้ดูแลระบบเครื่อง เขียนโปรแกรม และสนับสนุนหน่วยงาน
ในอดีตมีปัญหาเรื่องการวางระบบ เนื่องจากผู้ใช้ไม่เข้าใจคอมพิวเตอร์ และผู้วางระบบไม่เข้าใจธุรกิจ จึงเกิดข้อผิดพลาด ทำให้รายงานออกมาในรูปการประมวลผลรายการ มิใช่รายงานเพื่อช่วยผู้บริหาร ปัจจุบันผู้ผลิต และผู้ใช้ติดต่อสื่อสารกันใกล้ชิด ทำให้ผู้ผลิตตอบสนองความต้องการของผู้ใช้ ทำให้แนวคิดการประมวลผลรายการเปลี่ยนไป ทำให้ได้เปรียบในการแข่งขันมากขึ้น
หน้าที่การประมวลผลรายการ - การทำบัญชี (Book Keeping)
เช่น บันทึกข้อมูลรายการทางธุรกิจ
- การออกเอกสาร (Document Issuance)
เช่น ออกใบรับส่งสินค้า ออกเช็ค ออกใบเสร็จรับเงิน
- การควบคุมรายงาน (Control Reporting)
เช่น ออกรายงานเงินเดือน ออกรายงานสิ่งที่เกิดขึ้นในแต่ละวัน
ปัญหาจากระบบมือ (Manual Problem) - การผิดพลาด (Error Level)
- การสูญหายของข้อมูล (Loss of Data)
- การเพิ่มแรงงาน (Labor Intensity)
- การตอบสนองที่ไม่ดี (Poor Response)
วงจรการประมวลผลรายการ หรือระบบปฏิบัติงานทางธุรกิจ 1. การป้อนข้อมูล (Data Entry)
2. การประมวลผลรายการ (Transaction Processing)
- แบบครั้งต่อครั้ง (Batch)
- แบบตามเวลาที่เกิดขึ้นจริง (Realtime)
- แบบตามตาราง (Schedule)
3. การปรับปรุงฐานข้อมูล (Database Processing)
4. การสร้างรายงาน (Document Generation)
- เอกสารที่เกี่ยวกับสารสนเทศ (Information Document)
- เอกสารการปฏิบัติการ (Action Document)
- เอกสารหมุนเวียน (Circulating Document)
5. การให้บริการสอบถาม (Inquiry Processing) [6]p.63
ประเภทของงานสำนักงาน - การตัดสินใจ (Decision Making)
- การจัดการเอกสาร (Document Handling)
- การเก็บรักษา (Storage)
- การจัดเตรียมข้อมูล (Data Manipulation)
- การติดต่อสื่อสาร (Communication)
ระบบของการประมวลผล - ประมวลผลทันที (Initial/Ad hoc Process)
- ประมวลผลตามที่ตกลงไว้ (Commited Process)
- ประมวลผลมุ่งตอบเป้าหมายองค์การ (Established Focused Process)
- ประมวลผลเพื่อปรับปรุง/จัดการ (Improved/Managed Process)
- ประมวลผลให้บรรลุสิ่งที่ดีที่สุด (Optimized Process)
ประเภทของรายงาน - รายงานที่ออกตามกำหนด (Periodic หรือ Schedule Report) คือ รายงานที่ถูกสร้างเป็นประจำตามกำหนด
- รายงานที่ออกในกรณีพิเศษ (Exception Report) คือ รายงานที่สร้างเป็นกรณีพิเศษ มักไม่ร้องขออีก
- รายงานที่ออกตามความต้องการ (Ad Hoc หรือ Demand Report) คือ รายงานที่สร้างทันทีเมื่อถูกร้องขอ
- รายงานที่ออกเพื่อพยากรณ์ (Predictive Report) คือ รายงานที่ผู้บริหารร้องขอ ไปประกอบการตัดสินใจ
รูปแบบของเอกสาร และการสร้างรายงาน - เอกสารสารสนเทศ (Information Document)
เช่น ใบยืนยันการสั่งซื้อ
- เอกสารการส่งคืน (Turnaround Document)
เช่น ใบเสร็จที่ต้องส่งคืนผู้ขาย
- เอกสารที่ใช้ปฏิบัติ (Action Document)
เช่น การจ่ายเช็ค หรือใบสั่งซื้อ
- รายการทางบัญชี (Accounting Statement)
เช่น เดบิต เครดิต
- การควบคุมรายการ (Control Listing)
เช่น รายการจ่ายเงินเดือน
- รายงานการแก้ไข (Edit Reports)
เช่น การอธิบายถึงสิ่งผิดพลาด
ข้อมูลสำหรับการประมวลผลรายการ - ข้อมูลการพยากรณ์ภายใน (Internal forecast Data)
- ข้อมูลเกี่ยวกับกองทุน (Funding Data)
- ข้อมูลเกี่ยวกับการลงทุน (Porfolio Data)
- ข้อมูลการตรวจสอบของรัฐ (Government Regulations)
- ข้อมูลสภาพแวดล้อมภายนอก (External Environment Data)
ระบบย่อยของการประมวลผลรายการ - ระบบจ่ายเงินเดือน (Payroll System)
- ระบบสินค้าคงคลัง (Inventory System)
- ระบบสั่งซื้อสินค้า (Purchasing System)
- ระบบรับสินค้า (Receiving System)
- ระบบบันทึกคำสั่งซื้อ (Order Entry System)
- ระบบใบกำกับสินค้า (Invoicing System) ส่งให้ลูกค้า
- ระบบส่งสินค้า (Shipping System)
- ระบบบัญชีลูกหนี้ (Account Receivable System)
- ระบบบัญชีเจ้าหนี้ (Account Payable System)
- ระบบบัญชีแยกประเภททั่วไป (General Ledger System)
อ่านเพิ่มเติม
ระบบสารสนเทศและเทคโนโลยีการจัดการความรู้
บทนำ: ระบบสารสนเทศ เป็นระบบที่ผสมผสานเทคโนโลยีสารสนเทศ และการทำงานของบุคลากรทุกระดับในองค์การ เพื่อให้เกิดความคล่องตัวในการทำงาน และการให้บริการที่รวดเร็ว ตลอดจนใช้เป็นเครื่องมือในการช่วยตัดสินใจดำเนินงานธุรกิจต่าง ๆ ระบบสารสนเทศจึงเป็นเรื่องที่ท้าทายสำหรับผู้บริหาร
หัวข้อในหนังสือ [ISBN: 978-974-212-209-6]
โดย เจษฎาพร ยุทธนวิบูลย์ชัย และศรีไพร ศักดิ์รุ่งพงศากุล
บทที่ 1 แนวคิดเกี่ยวกับระบบสารสนเทศ
บทที่ 2 การบริหารทรัพยากรคอมพิวเตอร์ฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์
บทที่ 3 ฐานข้อมูล และคลังข้อมูล
บทที่ 4 การสื่อสารข้อมูล และเครือข่ายคอมพิวเตอร์
บทที่ 5 อินเทอร์เน็ต และพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์
บทที่ 6 บทบาทของระบบสารสนเทศในองค์การ
บทที่ 7 ระบบสนับสนุนการตัดสินใจ
บทที่ 8 ระบบสารสนเทศสำหรับผู้บริหารระดับสูง
บทที่ 9 ปัญญาประดิษฐ์ ระบบผู้เชี่ยวชาญ และระบบสารสนเทศทางภูมิศาสตร์
บทที่ 10 ระบบสารสนเทศเชิงกลยุทธ์
บทที่ 11 ระบบการวางแผนทรัพยากรองค์การ
บทที่ 12 การพัฒนาระบบสารสนเทศ
บทที่ 13 เทคโนโลยีและการจัดการความรู้ #
บทที่ 14 จริยธรรมและการรักษาความปลอดภัยของระบบสนเทศ
ตัวอย่างหนังสือ 28 หน้าจากทั้งหมด 384 หน้า
ความสัมพันธ์ของระบบต่าง ๆ 1. ระบบประมวลผลรายการ (TPS = Transaction Processing System)
2. ระบบสารสนเทศสำนักงาน (OIS = Office Information System)
3. ระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการ (MIS = Managment Information System)
4. ระบบสนับสนุนการตัดสินใจ (DSS = Decision Support System)
5. ระบบสนับสนุนการบริหาร (ESS = Executive Support System)
หนึ่งภาพอาจสื่อความหมายได้ดีกว่าคำนับพัน
อัลบั้ม - 01-06 : 07-12 : 13-19 : 49 คลิ๊ป
เอกสารอ้างอิง เอกสารอ้างอิง
[1] เจษฎาพร ยุทธนวิบูลย์ชัย และศรีไพร ศักดิ์รุ่งพงศากุล, "ระบบสารสนเทศและเทคโนโลยีการจัดการความรู้", บริษัท ซีเอ็ดยูเคชั่น จำกัด, กรุงเทพฯ, 2549.
[2] ประสงค์ ปราณีตพลกรัง และคณะ, "ระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการ และกรณีศึกษา", บริษัท ธนรัชการพิมพ์ จำกัด, กรุงเทพฯ, 2543.
[3] พนิดา พานิชกุล, "จริยธรรมทางเทคโนโลยีสารสนเทศ", บริษัท เคทีพี คอมพ์ แอนด์ คอนซัลท์ จำกัด, กรุงเทพฯ, 2553.
[4] ศ.ดร.เรวัตร์ ชาตรีวิศิษฎ์ และคณะ, "การจัดการเชิงกลยุทธ์", บริษัท อักษรเงินดี จำกัด, กรุงเทพฯ, 2553.
[5] ผศ.ดร.พรรณี สวนเพลง, "ระบบสารสนเทศเชิงกลยุทธ์", บริษัท ซีเอ็ดยูเคชั่น จำกัด, กรุงเทพฯ, 2555.
[6] ผศ.ดร.ณัฏฐพันธ์ เขจรนันทน์ และ ผศ.ดร.ไพบูลย์ เกียรติโกมล, "ระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการ", บริษัท ซีเอ็ดยูเคชั่น จำกัด, กรุงเทพฯ, 2545.
[7] ภาควิชาเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร, "3901-2119 การวิเคราะห์และออกแบบระบบ", วิทยาลัยเทคนิคหาดใหญ่, สงขลา.
Thaiall.com