กระดานข่าวสาร และกระดานแสดงความคิดเห็น
ที่ท่องเที่ยวในลำปาง
โดย: burin@yonok.ac.th (202.29.78.76 ) [ans] 10053 Byte
สร้าง: 6/1/2548 เวลา: 18:8:18



ศาลเจ้าพ่อหลักเมือง ตั้งอยู่บริเวณหน้าศาลากลางจังหวัดลำปางด้านตะวันตกเฉียงใต้ หลักเมืองทำด้วยไม้สัก สันนิษฐานว่าสร้างขึ้นเมื่อร้อยกว่าปีมาแล้ว โดยหลักที่หนึ่งสร้างเมื่อประมาณปี พ.ศ. 2400 หลักที่สอง พ.ศ. 2416 และหลักที่สาม พ.ศ. 2429 ต่อมาในปี พ.ศ. 2440 เมื่อสร้างศาลากลางจังหวัดขึ้น ได้นำหลักเมืองมาไว
้ที่บริเวณหน้าศาลากลาง และได้มีการสร้างมณฑปครอบหลักเมืองทั้งสามในปี พ.ศ. 2511 เปิดทุกวันเวลา 06.00 - 18.00 น.

บ้านเสานัก เลขที่ 86 ถนนป่าไม้ เป็นบ้านไม้ที่มีเสาไม้สักมากถึง 116 ต้น จึงเรียกว่าบ้านเสานัก (ตามภาษาพื้นเมือง นัก มีความหมายว่า มาก) สร้างขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2438 โดยหม่องจันโอง ต้นตระกูลจันทรวิโรจน์ ลักษณะศิลปะพม่าผสมล้านนา ประกอบด้วยเรือนใหญ่ ซึ่งเป็นเรือนหมู่ มีเสาไม้สักรองรับน้ำหนักบ้านถึง 116 ต
้น หน้าบ้านมีต้นสารภี อายุ 133 ปี แต่เดิมบ้านเสานักเป็นสถานที่ต้อนรับแขกบ้านแขกเมือง ปัจจุบันเปิดให้เข้าชมบ้านและของสะสมต่างๆ และใช้เป็นสถานที่จัดขันโตกและงานพิธีมงคล ให้เข้าชมได้ทุกวัน เวลา 09.00 - 17.00 น. ค่าเข้าชมพร้อมเครื่องดื่ม 30 บาท สอบถามได้ที่ โทร. 0 5422 7653, 0 5422 4636

สถานปฏิบัติธรรม-มณฑป หลวงพ่อเกษม เขมโก สำนักสุสานไตรลักษณ์ ตั้งอยู่ชานเมืองลำปาง ตามทางสายลำปาง - แจ้ห่มประมาณ 1 กิโลเมตร ไปเส้นทางเดียวกับวัดเจดีย์ซาวหลัง แต่ถึงก่อนประมาณ 500 เมตร เมื่อไปถึงจะพบรูปปั้นหลวงพ่อเกษมขนาดใหญ่ที่สังเกตเห็นได้จากถนน ภายในบริเวณมีมณฑปลักษณะเป็นอาคารทรงไทยประยุกต์ มีรูปปั้
นหุ่นขี้ผึ้งของหลวงพ่อเกษม เขมโก เกจิอาจารย์ซึ่งมีผู้เคารพนับถือเป็นจำนวนมาก นั่งขัดสมาธิขนาดเท่ารูปจริง เพื่อให้ประชาชนเคารพสักการะ และบริเวณหน้ามณฑปมีสถานที่เช่าพระเครื่อง ส่วนกุฏิของหลวงพ่อเกษมอยู่ด้านข้างมณฑป

ตลาดรัษฎา หรือตลาดหัวขัว อยู่ตีนสะพานรัษฎา เป็นตลาดเช้าที่คึกคักและใหญ่ที่สุดในลำปาง ติดตลาดกันแต่เช้ามืดจนถึงเก้าโมงเช้า มีของขายมากมายทั้งกับข้าวพื้นเมือง ขนมพื้นบ้าน ผลไม้ ของสดตามฤดูกาล เช่น ผักแปลกๆ แมลง เห็ด รวมทั้งของฝากไม่ว่าจะเป็นไส้อั่ว ข้าวแต๋น แคบหมู หมูยอ ตอนเย็นจะมีร้านมาขายบ้าง ส่
วนใหญ่เป็นขนม และกับข้าวสำเร็จรูป

วัดประตูป่อง ตั้งอยู่ที่ ถนนป่าไม้ ตำบลเวียงเหนือ เจดีย์วิหารสร้างเมื่อ พ.ศ. 2409 โดยเจ้าญาณรังษี ผู้ครองนครลำปาง โบสถ์เป็นฝีมือช่างสิบสองปันนา มีลายจีนผสม วัดนี้มีสิ่งสำคัญทางประวัติศาสตร์ คือ ประตูเมืองโบราณ (ประตูป่อง) มีซากหอรบสมัยพระยากาวิละครองนครลำปาง เป็นปราการต่อสู้ทัพพม่าครั้งสำคัญ เมื่อพ.
ศ.2330 ในฝั่งเมืองด้านเหนือนี้เป็นที่ตั้งค่ายพม่าที่ยกพลมาล้อมเมือง ห่างจากที่ตั้งเมืองประมาณ 8 กิโลเมตร

วัดม่อนพระยาแช่ ตั้งอยู่ที่ ตำบลพิชัย บนเส้นทางสายลำปาง - งาว จากตัวเมืองไปตามทางหลวงหมายเลข 1 และเลี้ยวขวาตรงหลักกิโลเมตรที่ 605 ประมาณ 5 กิโลเมตร มีพระเจดีย์ตั้งอยู่บนเนินเขาที่สามารถมองเห็นทิวทัศน์ของจังหวัดลำปางได้อย่างชัดเจน ทางวัดได้พัฒนาเป็นสถานที่พักผ่อนหย่อนใจและร่วมกับสำนักงานป่าไม้เขตลำปา
งจัดให้เป็นวนอุทยานม่อนพระยาแช่ เลยวัดขึ้นไปจนถึงที่ตั้งที่ทำการวนอุทยานเป็นจุดชมวิว และเพื่อเป็นการส่งเสริมการท่องเที่ยวทางอุทยานได้จัดให้มีเส้นทางศึกษาธรรมชาติบริเวณรอบอ่างเก็บน้ำห้วยโจ้ และสามารถพักแรมได้ แต่ต้องไปเป็นหมู่คณะ โดยติดต่อล่วงหน้าที่ โทร 0 5422 6828

วัดพระธาตุเสด็จ อยู่ห่างจากตัวเมืองไปตามเส้นทางลำปาง - งาว ประมาณ 19 กิโลเมตร แยกซ้ายตรงกิโลเมตรที่ 617 เข้าไปประมาณ 1.5 กิโลเมตร วัดพระธาตุเสด็จเป็นโบราณสถานอีกแห่งหนึ่งของจังหวัดลำปาง มีตำนานกล่าวว่าสร้างขึ้นในสมัยพระนางจามเทวี อุโบสถและวิหารต่างๆ ซึ่งเป็นโบราณสถานที่เก่าแก่ ได้รับการบูรณะใหม่ทั้ง
หมดแต่ยังคงสภาพศิลปะโบราณให้เห็นได้อยู่จนปัจจุบัน กรมศิลปากรได้ขึ้นทะเบียนไว้เป็นโบราณสถานของชาติแล้ว

เขื่อนกิ่วลม อยู่ห่างจากตัวเมืองไป 38 กิโลเมตร ตามเส้นทางสายลำปาง - งาว โดยแยกซ้ายตรงหลักกิโลเมตรที่ 623 - 624 เข้าไปอีก 14 กิโลเมตร เขื่อนกิ่วลมอยู่ในพื้นที่อุทยานแห่งชาติถ้ำผาไท แต่อยู่ภายใต้การดูแลของกรมชลประทาน บริเวณเหนือเขื่อนเป็นอ่างเก็บน้ำเหมาะแก่การล่องเรือหรือแพ เพราะมีทัศนียภาพสวยงาม การล
่องแพใช้เวลาอย่างน้อยครึ่งวัน มีสถานที่น่าสนใจ เช่น แหลมชาวเขื่อน ผาเกี๋ยง ผางาม ทะเลสาบสบพุ หมู่บ้านชาวประมงบ้านสา ฯลฯ ติดต่อบริการล่องแพได้ที่บริเวณเขื่อน

สวนสาธารณะหนองกระทิง ตั้งอยู่ที่ตำบลบ่อแฮ้ว จากตัวเมืองข้ามลำน้ำวังไปตามเส้นทางสายลำปาง - ห้างฉัตร ประมาณ 3 กิโลเมตร เป็นสถานที่พักผ่อนหย่อนใจที่ใกล้ตัวเมือง ชาวลำปางนิยมมาทำกิจกรรมต่างๆ เช่น ว่ายน้ำ เล่นเรือถีบ และมีสวนหย่อมสำหรับพักผ่อน มีร้านอาหารและเครื่องดื่มบริการ

อ่างเก็บน้ำวังเฮือ อยู่ห่างจากตัวเมือง ๑๘ กิโลเมตร บนถนนสายลำปาง-เด่นชัย แล้วเลี้ยวขวาตามถนนเข้าตัวเมืองอีกราว ๓๐๐ เมตร อ่างเก็บน้ำอยู่ริมถนน เหมาะแก่การแวะพักผ่อนหย่อนใจ ริมอ่างเก็บน้ำเป็นทิวเขา มีทิวทัศน์สวยงามโดยเฉพาะยามพระอาทิตย์ตกดิน

วัดศรีรองเมือง ตั้งอยู่ที่ บ้านท่าคร่าวน้อย ตำบลสบตุ๋ย ในเขตเทศบาลเมืองด้านทิศตะวันตก เป็นวัดพม่าที่สร้างขึ้นในสมัยรัชกาลที่ 5 โดยคหบดีที่ร่ำรวยจากการทำไม้สมัยที่ลำปางเป็นศูนย์กลางการค้าขายและการทำป่าไม้ สถาปัตยกรรมที่สำคัญได้แก่ วิหารไม้ซึ่งมีหลังคาจั่วซ้อนกันเป็นชั้นเล็กชั้นน้อย มียอดแหลม 9 ยอด แบ
บศิลปะพม่า เพดานเป็นลายไม้แกะสลัก และเสากลมใหญ่จำหลักลวดลายประดับด้วยกระจกสี ฝีมือประณีต วิจิตรสวยงาม

สะพานรัษฎาภิเศก หรือ สะพานขาว ตั้งอยู่ที่ถนนรัษฎา เจ้าผู้ครองนครเป็นผู้ที่ตั้งชื่อจากพิธีเฉลิมฉลองรัษฎาภิเศก สมัยรัชกาลที่ 5 สะพานรัษฎาเป็นสะพานร่วมสมัยกับยุคอารยธรรมรถไฟมีอายุผ่านสงครามโลกครั้งที่ 1 และ 2 มาแล้ว และรอดพ้นจากการโจมตีทิ้งระเบิดของฝ่ายสัมพันธมิตรมาได้ด้วยการทาสีพรางตา และด้วยการอ้างว่
าสะพานแห่งนี้ไม่มีประโยชน์ทางยุทธศาสตร์ของนางลูซี สคาร์ลิง อดีตผู้อำนวยการโรงเรียนวิชชานารี ซึ่งเป็นที่ปรึกษาของกองทัพสัมพันธมิตรในขณะนั้น เป็นสะพานไม้เสริมเหล็กที่ชำรุดผุพัง จึงมีการก่อสร้างใหม่เมื่อเดือนมีนาคม 2460 เป็นสะพานคอนกรีตเสริมเหล็กที่มีความคงทนมากกว่าสะพานรุ่นเดียวกันที่ไม่เหลืออยู่แล้วใ
นปัจจุบัน ที่บริเวณสะพานมีเครื่องหมายไก่ขาว และครุฑหลวงประดับไว้ตรงหัวสะพาน



วัดพระแก้วดอนเต้าสุชาดาราม ตั้งอยู่ที่ ถนนสุชาดา ตำบลเวียงเหนือ เป็นวัดเก่าแก่และสวยงาม มีอายุนับพันปี เคยเป็นที่ประดิษฐานพระพุทธมหามณีรัตนปฏิมากร (พระแก้วมรกต) ตั้งแต่ปี พ.ศ. 1979 เป็นเวลานานถึง 32 ปี เหตุที่วัดนี้ได้ชื่อว่าวัดพระแก้วดอนเต้า มีตำนานกล่าวว่า พระมหาเถระแห่งวัดนี้ได้พบแก้วมรกตในแตงโม
(ภาษาเหนือเรียกว่า หมากเต้า) และนำมาแกะสลักเป็นพระพุทธรูป แต่ต่อมาจึงได้อัญเชิญไปประดิษฐานที่วัดพระธาตุลำปางหลวงจนถึงปัจจุบัน






วัดพระธาตุลำปางหลวง เป็นวัดคู่บ้านคู่เมืองลำปางมาแต่โบราณ ตามตำนานกล่าวว่ามีมาตั้งแต่สมัยพระนางจามเทวี ในราวพุทธศตวรรษที่ 20 ตอนปลาย เป็นวัดไม้ที่สมบูรณ์ที่สุดแห่งหนึ่งของไทย งดงามด้วยสถาปัตยกรรมเก่าแก่มากมายได้แก่ พระธาตุลำปางหลวง, วิหารหลวง, วิหารพระพุทธ, ซุ้มพระบาท, กุฏิพระแก้ว, วิหารพระเจ้าศิลา
และพิพิธภัณฑ์





ศูนย์อนุรักษ์ช้างไทย และ สวนป่าทุ่งเกวียน อยู่ในความดูแลของฝ่ายอุตสาหกรรมป่าไม้ภาคเหนือ องค์การอุตสาหกรรมป่าไม้ (ออป.) แต่เดิม ออป. มีศูนย์ฝึกลูกช้างซึ่งเป็นแห่งเดียวในประเทศไทย อยู่ที่บ้านปางหละ อำเภองาว โดยเริ่มดำเนินการมาตั้งแต่ พ.ศ. 2512 เป็นสถานที่เลี้ยงและฝึกลูกช้างเพื่อให้เชื่อฟังคำสั่งและมีค
วามชำนาญในการทำไม้ขณะที่แม่ช้างไปทำงานในป่า และเนื่องจากมีนโยบายปิดป่าซึ่งทำให้ช้างต้องว่างงาน ศูนย์ฝึกลูกช้างจึงถูกปรับมาเป็นสถานที่ดูแลช้างแก่และเจ็บป่วย






วัดเจดีย์ซาวหลัง ตั้งอยู่ที่ตำบลต้นธงชัย ห่างจากตัวเมือง 1.5 กิโลเมตร ตามถนนสายลำปาง - แจ้ห่ม คำว่า ซาว แปลว่า ยี่สิบ คำว่า หลัง แปลว่า องค์ ฉะนั้น วัดเจดีย์ซาวหลัง จึงแปลได้ว่าวัดที่มีเจดีย์ 20 องค์ จากหลักฐานการขุดพบพระเครื่องสมัยหริภุญไชยที่องค์พระเจดีย์ ทำให้สันนิษฐานได้ว่าวัดนี้สร้างมานานกว่าพั
นปี


จุดเด่นของวัดคือ องค์พระธาตุเจดีย์ซาว ที่มีศิลปะล้านนาผสมศิลปะพม่า เชื่อกันว่าหากใครนับได้ครบ 20 องค์ถือว่าเป็นคนมีบุญ ข้างหมู่พระเจดีย์มีวิหารหลังเล็ก ประดิษฐานพระพุทธรูปสำริดปางสมาธิ ศิลปะเชียงแสน ชาวบ้านเรียกว่า พระพุทธรูปทันใจ พระอุโบสถหลังใหญ่ ซึ่งประดิษฐานพระประธานเป็นพระพุทธรูปปางมารวิชัยที่ม
ีพุทธลักษณะงดงาม บานประตูทั้งสามเป็นของโบราณ เขียนลวดลายรดน้ำละเอียดสวยงาม เสาซุ้มประตูหน้าต่างประดับลวดลายกระจกสีเป็นลักษณะศิลปะสมัยใหม่ และที่ศาลาการเปรียญเรือนไม้ชั้นเดียว ด้านหลังพระอุโบสถเป็นพิพิธภัณฑสถานเขลางค์นครแสดงโบราณวัตถุที่ชาวบ้านนำมาถวาย เมื่อปี พ.ศ. 2526 ชาวบ้านได้ขุดพบพระพุทธรูปทองคำ
บริสุทธิ์หนัก 100 บาทสองสลึง มามอบให้แก่ทางวัดซึ่งพระพุทธรูปองค์นี้ชื่อว่า พระแสนแซ่ทองคำ เป็นพระพุทธรูปปางมารวิชัย ศิลปะสมัยล้านนา อายุราวพุทธศตวรรษที่ 21 ขนาดหน้าตักกว้าง 9 นิ้วครึ่ง สูง 15 นิ้ว เป็นพระพุทธรูปทองคำองค์แรกที่ขึ้นทะเบียนเป็นโบราณวัตถุแห่งชาติ


วัดศรีชุม เป็นวัดพม่าที่ใหญ่ที่สุดในบรรดาวัดพม่าที่มีอยู่ในประเทศไทยทั้งหมด 31 วัด สร้างในปี พ.ศ. 2433 โดยคหบดีพม่าชื่อ อูโย ซึ่งติดตามชาวอังกฤษเข้ามาทำงานป่าไม้ในประเทศไทย เมื่อตนเองมีฐานะดีขึ้นจึงต้องการทำบุญโดยสร้างวัดศรีชุมขึ้นในเขตตำบลสวนดอก

จุดเด่นของวัดนี้เดิมอยู่ที่ พระวิหาร ซึ่งเป็นอาคารครึ่งตึกครึ่งไม้ที่มีศิลปะการตกแต่งแบบล้านนาและพม่า หลังคาเครื่องไม้ยอดแหลมแกะสลักเป็นลวดลายสวยงามมาก แต่เป็นที่น่าเสียดายว่าได้เกิดเหตุเพลิงไหม้พระวิหารทั้งหลัง เมื่อตอนเช้าตรู่ของวันที่ 16 มกราคม 2535 คงเหลือเพียงไม้แกะสลักตรงซุ้มประตูทางขึ้นวิหารเ
ท่านั้น เป็นลวดลายพรรณพฤกษาฉลุโปร่ง ปัจจุบันวัดได้รับการบูรณะขึ้นใหม่และยังมีชิ้นส่วนเครื่องประดับอาคารที่ถูกไฟไหม้ไปจัดแสดงไว้ด้านหลังวิหาร วัดศรีชุมได้รับการจดทะเบียนเป็นโบราณสถานเมื่อปี พ.ศ. 2524

ชมเมืองบนรถม้า นับเวลาย้อนหลังไปช่วง 80 ปีที่แล้ว สมัยของเจ้าบุญวาทย์วงศ์มานิตซึ่งตรงกับสมัยรัชกาลที่ 5 การคมนาคมขนส่งทางรถยนต์ยังพัฒนาไม่ถึงนครลำปาง รถม้าเป็นพาหนะชนิดเดียวที่ได้รับความนิยมในการเดินทางสูงสุดและสามารถใช้บรรทุกของหรือสินค้า รถม้าคันแรกได้ถูกซื้อมาจากกรุงเทพฯ ขณะนั้นทางกรุงเทพฯ มีรถยน
ต์ใช้มากขึ้น บทบาทของรถม้าลากในกรุงเทพฯ จึงลดน้อยลง รถม้าจึงได้ถูกนำมาใช้ที่นครลำปางและยังได้กระจายไปสู่เมืองหลักของภาคต่างๆได้แก่ นครราชสีมาของอีสาน นครศรีธรรมราชของภาคใต้ นครเชียงใหม่ เมืองเชียงราย เมืองแพร่ เมืองน่าน เมืองแม่ฮ่องสอนของทางภาคเหนือ แต่ด้วยเหตุใดไม่ปรากฏ ผู้ประกอบการรถม้าในเมืองดังก
ล่าวจึงเลิกกิจการไป คงเหลือแต่เฉพาะจังหวัดลำปางแห่งเดียวที่ยังคงใช้รถม้าอยู่ตราบจนกระทั่งทุกวันนี้

อุทยานแห่งชาติแจ้ซ้อน มีพื้นที่ครอบคลุมอยู่ในท้องที่อำเภอเมืองปาน อำเภอแจ้ห่มและอำเภอเมืองจังหวัดลำปาง มีสภาพป่าอันอุดมสมบูรณ์และเป็นแหล่งต้นน้ำลำธาร มีเนื้อที่ประมาณ 592 ตารางกิโลเมตร ได้รับการประกาศเป็นอุทยานแห่งชาติเมื่อวันที่ 28 กรกฎาคม 2531 เป็นแนวแบ่งเขตระหว่างลำปางและเชียงใหม่ ฤดูที่เ
หมาะสำหรับการท่องเที่ยวและมีอากาศเย็นสบาย คือช่วงเดือน พฤศจิกายน - กุมภาพันธ์

บ่อน้ำร้อนแจ้ซ้อน มีหลายบ่อตั้งอยู่รวมกันในพื้นที่ประมาณ ๓ ไร่ บริเวณที่ทำการอุทยานฯ สภาพในบ่อน้ำร้อนเต็มไปด้วยโขดหินน้อยใหญ่ น้ำพุร้อนมีกลิ่นกำมะถันอ่อน ๆ อุณหภูมิเฉลี่ย ๗๓ องศาเซลเซียส มีบริการห้องอาบน้ำแร่ ๑๑ หลัง ตกแต่งด้วยพันธุ์ไม้ต่าง ๆ อย่างสวยงาม
น้ำตกแจ้ซ้อน อยู่ถัดจากบ่อน้ำร้อนขึ้นไป ๑ กิโลเมตร เป็นธารน้ำตกที่มีแอ่งน้ำรองรับอยู่ตลอดสายมีทั้งสิ้น ๖ ชั้น กำเนิดจากขุนห้วยแม่มอญ ไหลผ่านหุบเขาสูงชัน และยังมีน้ำตกอีก ๒ แห่ง คือน้ำตกแม่มอญและน้ำตกแม่ขุน
ตอบกะทู้นี้
หัวเรื่อง
Your E-Mail ICQ

E-mail: webmaster@thaiall.com Version: 6.02july
กลับ กระดานข่าวหน้าแรก