สุวรรณ เกษณา ผู้อำนวยการ โรงเรียนบ้านไหล่หิน
เว็บเพจสำรอง (Backup Webpages) : thaiall.com | thaiabc.com
ปรับปรุง : 2551-08-23 (ครูนักวิจัย)

ผอ.สุวรรณ เกษณา
VDO
o ประเด็นเปลี่ยนกันสวดเป็นเงิน : กัณฑ์เทศน์ กัณฑ์สวด
อีกประเด็นที่สำคัญและมีการพูดถึงคือเรื่องของ กัณฑ์เทศน์ กัณฑ์สวด โดย ผอ.สุวรรณ เกษณา นักวิจัย ได้ชวนวิเคราะห์ไว้ว่า การถวายทานสิ่งของหรือปัจจัยให้แก่พระภิกษุสงฆ์เป็นพิธีกรรมหรือองค์ประกอบหนึ่งของพิธีกรรมทางศาสนาพุทธที่พุทธศาสนิกชนได้ถือปฏิบัติมาช้านานตั้งแต่พุทธกาล โดยมาความเชื่อและวัตถุประสงค์ที่คล้ายกันหรือเหมือนกัน
การถวายทานมีวัตถุประสงค์หลักใหญ่ๆ 2 ประการคือ
"เพื่อให้พระภิกษุสงฆ์ได้รับสิ่งของปัจจัยที่สามารถนำไปใช้ให้เกิดประโยชน์ต่อตนเองและพิธีกรรมทางศาสนา ตามคุณสมบัติของสิ่งของปัจจัยนั้นๆ
"เพื่ออุทิศส่วนบุญส่วนกุศลให้กับผู้ล่วงลับ หรือเจ้ากรรมนายเวรตามความเชื่อที่สืบทอดกันมา
การจัดสิ่งของสำหรับถวายนั้นเป็นตามยุคสมัย ในสมัยก่อนนิยมทำกันคือ การจัดหาวัตถุสิ่งของ ปัจจัย ตามท้องถิ่น มีการประกอบ ปรุงอาหารคาวหวานด้วยตนเอง โดยหาภาชนะใส่ตามความเหมาะสมและสะดวก ข้อเสียก็คือ สิ่งของที่เป็นอาหารประเภทคาวหวาน จะเก็บไว้ได้ไม่นานจะบูดเน่าเสีย การถวายทานเพื่ออุทิศส่วนบุญส่วนกุศลให้กับผู้ที่ล่วงลับนั้นมีความเชื่อวาน สิ่งของต่างๆที่จัดทำนานให้นั้นผู้ล่วงลับหรือดวงวิญญาณจะได้รับ ซึ่งเป็นผลที่เป็นนามธรรม แต่ก็ทำให้เกิดเป็นรูปธรรมได้ คือความสุข ความอิ่มเอิบใจ สบายใจ ให้แก่ผู้ถวายทานนั้น
การถวายทานสามารถทำได้ทุกขณะเวลา และทำได้ทั้งงานมงคลและงายอวมงคล วันสำคัญทางศาสนา ประเพณีทางศาสนา แม้กระทั่งวันเกิด หรือวันสำคัญอื่นๆ สำหรับการถวายทานในงานอวมงคลหรืองานศพ ของถวายทานที่ชาวบ้านเรียกว่า สำรับหรือสังฆทาน ส่วนหนึ่งเป็นสำรับที่เจ้าภาพได้จัดซื้อไว้ถวายทานในวันฌาปนกิจศพหรือวันเสียวันเผาตามความเหมาะสมและความต้องการของเจ้าภาพ หรือการจัดหาซื้อมาถวายทานทุกวันที่ตั้งศพบำเพ็ญกุศล หากไม่มีผู้ใดร่วมถวายสำรับ แต่ปัจจุบันในวันปกติที่ตั้งศพบำเพ็ญกุศลนั้น ส่วนใหญ่จะมีผู้มีจิตศรัทธาร่วมถวายเป็นเจ้าภาพสำรับ เพื่อเป็นกัณฑ์เทศน์กัณฑ์สวดพระอภิธรรม
จำนวนสำรับหรือสังฆทานในแต่ละศพ จะมีมากน้อยไม่เท่ากันขึ้นอยู่กับฐานะของผู้ล่วงลับหรือฐานะของกลุ่มเครือญาติ เช่น ฐานะทางเศรษฐกิจ ฐานะทางสังคม และฐานะทางเครือญาติ หรือแม้กระทั่งฐานะทางตำแหน่งหน้าที่การงาน ผู้ล่วงลับใดหากมีความพร้อมทางฐานะดังกล่าวมากๆ ก็จะทำให้สำรับนั้นมากตามไปด้วย อีกลักษณะหนึ่งของผู้ที่มาร่วมทำบุญบริจาคสำรับเพื่อร่วมเป็นเจ้าภาพกัณฑ์เทศน์กัณฑ์สวด นอกจากจะเป็นกลุ่มเครือญาติคนสนิท รู้จักกันแล้วยิ่งเป็นลักษณะของการตอบแทน ซึ่งครั้งหนึ่งผู้ล่วงลับหรือกลุ่มญาติของผู้ล่วงลับได้นำสำรับมาร่วมบริจาค เมื่อครั้งตนเองเป็นเจ้าภาพงานศพซึ่งเป็นการกระทำเพื่อเป็นการตอบแทน โดยเจ้าภาพแต่ละศพจะมีบัญชีที่จดไว้ หากมีใครตายในหมู่บ้าน หรือตำบล คนที่เคยเป็นเจ้าภาพก็จะตรวจสอบบัญชีว่ามีใครนำสำรับมาร่วมบ้าง
การได้มาของสำรับที่ให้เป็นกัณฑ์เทศน์กัณฑ์สวดนั้นส่วนใหญ่จะมีอยู่ 2 ทางคือ
"หากการซื้อตามร้านค้าที่ทำสำเร็จรูป ซึ่งมีหลายขนาด หลายราคาขึ้นอยู่กับจำนวนสิ่งของและมูลค่าจองภาชนะที่บรรจุ เช่น ถังน้ำพลาสติก ขันน้ำ ชาม กระติกน้ำ พานเงินพานทอง เป็นต้น ข้อดีคือ มีความใหม่สด ผู้ที่นิยมซื้อคือผู้ที่มีความเชื่อว่าการถวายทานต้องเป็นสิ่งของใหม่ และมีกำลังซื้อได้ ข้อเสียคือ แพงสำหรับผู้ที่ไม่มีกำลังซื้อ
"จากการซื้อหรือที่ชาวบ้านเรียกว่า ปูจา คืนจากพระที่ได้นับทานมา ในราคาสำรับละ 20 บาท เวียนใช้อยู่หลายศพ ข้อดีคือ เหมาะสำหรับที่มีเงินน้อย แต่อยากจะร่วมทำบุญเนื่องจากการถวายสำรับมิใช่เพียงสำรับอย่างเดียว ต้องใส่ซองปัจจัยเป็นเงินอีก ซึ้งต้องใช้เงินมากพอสมควรสำหรับผู้ที่มีรายได้น้อย ข้อเสียคือ สิ่งของที่บรรจุอยู่ในภาชนะนั้นมีอายุนาน ทำให้เกิดการเสีย เน่า บูด ไม่มีคุณภาพ เช่น นมกล่อง
จากการที่คณะวิจัยโครงการวิจัยรูปแบบการจัดงานศพ โดยยึดหลักเศรษฐกิจพอเพียง บ้านไหล่หิน ต.ไหล่หิน อ.เกาะคา จ.ลำปาง ได้เกิดประเด็นแนวคิดที่ว่าในสภาพสังคมเศรษฐกิจปัจจุบันที่ประชาชนมีค่าใช้จ่ายในการครองชีพสูง โดยเฉพาะการจัดงานศพที่เจ้าภาพไม่ได้เตรียมตัวไว้ อีกทั้งได้ใช้จ่ายในการรักษาเยียวยาผู้ป่วยที่ตาย เป็นเงินมากพอสมควร การจัดงานศพที่มีกิจกรรม พิธีกรรมมากมาย และมีค่าใช้จ่ายในการจัดสูง เพื่อให้สอดคล้องกับปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว จึงหาแนวทางที่จะช่วยให้เจ้าภาพที่จัดงานศพ
ได้ลดค่าใช้จ่ายโดยการศึกษาสภาพปัจจุบันปัญหาในส่วนที่เป็นภาระค่าใช้จ่าย และสามารถที่จะดำเนินการในการลดปรับได้ ซึ่งก็ได้ประเด็นที่ควรจะดำเนินการเพื่อให้เกิดการลดค่าใช้จ่าย และมีเงินเหลือจากการจัดงานศพ ได้หลายประเด็น แต่ละประเด็นมีผลการสำรวจที่ต้องการและเห็นด้วยคิดเป็นร้อยละที่สูง ซึ่งพอสรุปได้ว่าเป็นความต้องการของชุมชนอย่างแท้จริง
ในประเด็นที่เปลี่ยนสำรับเป็นเงิน เป็นประเด็นหนึ่งที่คณะวิจัยได้นำเสนอและมีผลสำรวจถึงความต้องการและเห็นด้วยคิดเป็นร้อยละที่สูงพอสมควร โดยในเบื้องต้นคณะผู้วิจัยได้มองและพิจารณา จากสภาพที่เป็นจริงในปัจจุบันถึงจำนวนสำรับที่มีมากในงานศพ โดยพิจารณาว่า หากเปลี่ยนสำรับนั้นเป็นเงินแล้วจะทำให้เจ้าภาพได้เงินเพิ่ม ซึ่งเป็นแนวคิดพื้นฐานที่สมเหตุสมผล
ในทางปฏิบัติที่ชุมชนได้ดำเนินการปัจจุบันตามสภาพจริง สำรับเป็นตัวนำเงินจำนวนมากพอสมควร กล่าวคือ เมื่อมีผู้มีจิตศรัทธา จะร่วมทำบุญบริจาคสำรับเพื่อเป็นเจ้าภาพกัณฑ์เทศน์กัณฑ์สวดในงานศพ มักจะมีกลุ่มญาติใกล้เคียงของผู้ร่วมบริจาค มีจิตศรัทธาร่วมบริจาคเงินเพื่อใช้เป็นยอดปัจจัยประกอบสำรับที่เจ้าภาพสามารถนำไปบริหารจัดการเป็นยอดปัจจัยถวายพระสงฆ์ได้ตามความเหมาะสม และถ้าอยากมองประเด็นที่เกี่ยวกับสำรับแล้วตัวสำรับไม่ได้เป็นค่าใช้จ่ายหรือเป็นภาระของเจ้าภาพมากมายอะไร เนื่องจากสำรับเป็นรายได้ของเจ้าภาพซึ่งเจ้าภาพคอยรับอยู่แล้วไม่เกิดค่าใช้จ่ายต่อเจ้าภาพ
หากเปลี่ยนสำรับเป็นเงินแล้วประเด็นที่ควรพิจารณา คือ
+ จะทำให้คนที่มาร่วมทำบุญโดยถือสำรับพร้อมกับเงินปัจจัยที่ผู้มีจิตศรัทธารวบรวมกันมา จะหายไปหรือไม่รายได้จะลดลงหรือไม่
+ ในระยะเริ่มแรกดำเนินการ หากความเข้าใจคลาดเคลื่อนผิดพลาดโดยคิดและเข้าใจว่าเงินที่ร่วมบริจาคโดยปกติทำกันอยู่แล้ว เป็นการบริจาคในการร่วมเป็นเจ้าภาพกัณฑ์เทศน์กัณฑ์สวด หากเปลี่ยนเป็นเงินจะเป็นภาระค่าใช้จ่ายให้เจ้าภาพเพิ่มหรือไม่ เพราะเจ้าภาพต้องไปซื้อมาหลายทานในการบำเพ็ญกุศลทุกคืน และต้องซื้อของใหม่ที่มีราคาแพง
+ เมื่อเปลี่ยนสำรับเป็นเงินแล้ว มูลค่าที่เป็นเงินแทนสำรับนั้นควรเป็นเงินเท่าไหร่ ซึ่งปกติผู้คนมักจะใช้สำรับเวียนที่ซื้อหรือปูจา มาจากพระทีมีราคาเพียง 2 0บาท เท่านั้น ในเรื่องนี้ต้องมีการบริหารจัดการ และกำหนดให้เป็นที่เข้าใจตรงกัน
ประเด็นของการเปลี่ยนสำรับเป็นเงิน จึงเป็นประเด็นที่น่าคิดพิจารณา ทบทวนให้ละเอียดถี่ถ้วน เพราะผลที่จะเกิดขึ้นมีทั้งผลบอกและผลลบ
ผลในทางบวก คือ เจ้าภาพจะมีเงินรับมากขึ้นหากทุกคนเข้าใจและมีเกณฑ์หรือกติกาที่ต้องปฏิบัติเหมือนกัน เช่น คนที่จะเป็นเจ้าภาพกัณฑ์เทศน์กัณฑ์สวดต้องร่วมบริจาคเป็นเงินเท่านั้น เท่านี้เป็นต้น
ผลในทางลบ คือ ทั้งตัวคน ตัวสำรับ ตัวเงิน ที่รวบรวมกันมาเหมือนก่อนๆ จะลดลงหรือหายไปหรือไม่ เนื่องจากทุกคนที่ร่วมบริจาคเงินคนละ 10 บาท 20 บาท 50 บาท หรือมากกว่านั้นในแต่ละวัน แต่ละคืน ก็คือการร่วมเป็นเจ้าภาพกัณฑ์เทศน์กัณฑ์สวดอยู่แล้ว เพียงแต่ไม่ได้คือสำรับเท่านั้น
ประเด็นการเปลี่ยนสำรับเป็นเงินเป็นประเด็นที่ยากในการปฏิบัติพอสมควร เพราะเป็นกติกาที่ยากต่อการควบคุม ซึ่งการร่วมทำบุญโดยการบริจาคถวายสังฆทานมิใช่เป็นเพียงเป็นการช่วยเหลือเจ้าภาพ หากยังเป็นความต้องการและเป็นความเชื่อโดยพื้นฐาน ที่ว่า หากได้ร่วมทำบุญโดยถวายสังฆทานและวจะทำให้เกิดผลบุญ ถวายสังฆทานอุทิศส่วนบุญส่วนกุศลให้กับผู้ล่วงลับนั้นไม่สามารถควบคุมกำกับให้เข้าเปลี่ยนเป็นเงินได้ ประเด็นจึงติดกับความเชื่อ อีกส่วนหนึ่ง ซึ่งเป็นเรื่องละเอียดอ่อน ของความรูสึกนึกคิดของแต่ละคน
โดยสรุปในประเด็นเปลี่ยนสำรับเป็นเงิน นั้นน่าจะเป็นการกระทำโดนค่อยๆเป็นค่อยๆไป และใช้คำว่า ควรเปลี่ยนสำรับเป็นเงิน และขยายผลไปสู่ความตระหนักของประชาชน ให้เกิดความเข้าใจว่า เจตนาของประเด็นนี้เพื่อต้องกี่อะไร มีเป้าหมายหรือวัตถุประสงค์อย่างไร
รูปแบบการจัดงานศพโดยยึดหลักเศรษฐกิจพอเพียงมิใช่ให้เกิดความพอเพียง ในส่วนของเจ้าภาพแต่ฝ่ายเดียว ขณะเดียวกันประชาชนต้องมีความพอเพียงในการร่วมทำบุญเช่นกัน

แนะนำเว็บใหม่ : ผลการจัดอันดับ
รักลำปาง : thcity.com : korattown.com : topsiam.com : มหาวิทยาลัยโยนก
ศูนย์สอบ : รวมบทความ : ไอทีในชีวิตประจำวัน : ดาวน์โหลด : yourname@thaiall.com
ติดต่อ ทีมงาน ชาวลำปาง มีฝันเพื่อการศึกษา Tel.08-1992-7223