thaiall logomy background

เทคโนโลยีเพื่อการจัดการความรู้ ใน หลักสูตรศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา

my town
เส้นทางสู่ ผอ. โรงเรียน | เทคโนโลยีเพื่อการจัดการความรู้ | มีเหตุมีผล | การจัดการความรู้ | ห้องเรียนแห่งอนาคต | แนวปฏิบัติที่ดี | แนวทางของ กพร. | ฐานสมรรถนะ | มีเหตุมีผล | แฟนเพจ | ทักษะไอที | เกณฑ์วิทยฐานะ | ศีล 5 | การสร้างข้อสอบ | Loy academy | wordwall | genially |
หลักสูตรศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา หลักสูตรศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา ลักสูตรศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา คือ หลักสูตรสำหรับบุคลากรทางการศึกษาที่สำคัญสำหรับผู้ที่มุ่งจะเป็นผู้บริหารสถานศึกษา สืบเนื่องจากการปฏิรูปการศึกษาตามพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 และแก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2545 กำหนดให้ผู้บริหารสถานศึกษาจะต้องมีวุฒิทางการบริหารการศึกษา คือ ใบอนุญาตประกอบวิชาชีพผู้บริหารสถานศึกษา จึงจะมีคุณสมบัติในการเข้าสู่ตำแหน่ง นอกจากนี้ในมาตรา 53 ได้กำหนดให้องค์การวิชาชีพครูมีอำนาจหน้าที่กำหนดมาตรฐานวิชาชีพ ออกและเพิกถอนในอนุญาตประกอบวิชาชีพ กำกับดูแลการปฏิบัติตามมาตรฐานและจรรยาบรรณวิชาชีพ รวมทั้งพัฒนาวิชาชีพครู ผู้บริหารการศึกษาและผู้บริหารสถานศึกษา ซึ่งพระราชบัญญัติสภาครูและบุคลากรจากการศึกษา พ.ศ. 2546 มาตรา 9 กำหนดให้คุรุสภามีอำนาจหน้าที่กำหนดมาตรฐานวิชาชีพและจรรยาบรรณของวิชาชีพ ควบคุมความประพฤติและการดำเนินงานของผู้ประกอบวิชาชีพทางการศึกษาให้เป็นไปตามมาตรฐานวิชาชีพและจรรยาบรรณของวิชาชีพ รวมทั้งการพัฒนาวิชาชีพ
ทคโนโลยีเพื่อการจัดการความรู้ ใน หลักสูตรศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา คือ การศึกษาทฤษฎีการจัดการความรู้ การประยุกต์เทคโนโลยีเพื่อการศึกษาแบบในระบบ นอกระบบ และการศึกษาตามอัธยาศัย การสร้างเครือข่ายเพื่อพัฒนาแหล่งการเรียนรู้ ประยุกต์หลักการจัดการความรู้สู่เทคโนโลยีที่เหมาะสม โดยมีการติดตาม ตรวจสอบ และประเมินประสิทธิภาพการใช้เทคโนโลยีเพื่อการศึกษา
หลักสูตรศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา
M.Ed. มรภ.ลำปาง M.Ed. ม.นเรศวร M.Ed. ม.เชียงใหม่ M.Ed. ม.เนชั่น
ชื่อหลักสูตร
ภาษาไทย: หลักสูตรศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา
ภาษาอังกฤษ: Master of Education Program in Educational Administration
ชื่อปริญญา
ชื่อเต็ม (ภาษาไทย) : ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต (การบริหารการศึกษา)
ชื่อย่อ (ภาษาไทย) : ศษ.ม.(การบริหารการศึกษา)
ชื่อเต็ม (ภาษาอังกฤษ) : Master of Education (Educational Administration)
ชื่อย่อ (ภาษาอังกฤษ) : M.Ed. (Educational Administration)
จำนวนหน่วยกิตที่เรียนตลอดหลักสูตร
จำนวนหน่วยกิต ตลอดหลักสูตร 42 หน่วยกิต
จำนวนหน่วยกิตรวมตลอดหลักสูตร แยกตามแผนการศึกษา ดังนี้
แผน ก แบบ ก (2) จำนวน 42 หน่วยกิต
แผน ข (ไม่มีวิทยานิพนธ์) 42 หน่วยกิต
โครงสร้างหลักสูตร
1. หมวดวิชาพื้นฐานทางการศึกษา แผน ก แบบ ก 2 และ แผน ข (6 หน่วยกิต)
EDUA 511 วิเคราะห์การเปลี่ยนแปลงของ เศรษฐกิจ สังคม การเมืองและวัฒนธรรมของประเทศไทยและสังคมโลก3(3-0-6)
EDUA 512 ระเบียบวิธีการวิจัยทางการศึกษา 3(3-0-6)
2. หมวดวิชาเอกบังคับ แผน ก แบบ ก 2 และ แผน ข (15 หน่วยกิต)
EDUA 521 หลักการบริหารและการจัดองค์การทางการศึกษา 3(3-0-6)
EDUA 522 ผู้นำทางการศึกษายุคใหม่ 3(3-0-6)
EDUA 523 การบริหารการประกันคุณภาพทางการศึกษา 3(3-0-6)
EDUA 524 จรรยาบรรณวิชาชีพสำหรับผู้บริหารการศึกษาและผู้บริหารสถานศึกษา 3(3-0-6)
EDUA 581 สัมมนาการบริหารการศึกษา 3(3-0-6)
3. หมวดวิชาเอกเลือก แผน ก แบบ ก 2 6 หน่วยกิต และแผน ข (12 หน่วยกิต)
EDUA 531 การบริหารหลักสูตร การจัดการเรียนรู้ และการประเมินผลทางการศึกษา 3(3-0-6)
EDUA 532 การบริหารงานบริการการศึกษาและกิจกรรมนักเรียน 3(3-0-6)
EDUA 533 เทคโนโลยีเพื่อการจัดการความรู้ทางการบริหารการศึกษา 3(3-0-6)
EDUA 534 การนิเทศการศึกษา 3(3-0-6)
EDUA 541 การบริหารการเงินและพัสดุ 3(3-0-6)
EDUA 542 การบริหารและการพัฒนาทรัพยากรบุคคลทางการศึกษา 3(3-0-6)
EDUA 543 นโยบายและการวางแผนพัฒนาคุณภาพการศึกษา 3(3-0-6)
EDUA 544 การบริหารการประชาสัมพันธ์และความสัมพันธ์ชุมชน 3(3-0-6)
EDUA 551 กฎหมายการศึกษาสำหรับผู้บริหาร 3(3-0-6)
EDUA 552 การจัดการศึกษาในศตวรรษที่ 21 3(3-0-6)
EDUA 553 การประเมินโครงการ 3(3-0-6)
EDUA 554 การวิจัยเพื่อพัฒนาท้องถิ่น 3(0-9-9)
EDUA 555 การวิจัยองค์กร 3(0-9-9)
4. ฝึกงาน
EDUA 591 การฝึกประสบการณ์วิชาชีพผู้บริหาร 3(0-9-9)
5. การค้นคว้าอิสระ แผน ข
EDUA 589 การค้นคว้าอิสระ 6 หน่วยกิต
6. วิทยานิพนธ์ แผน ก แบบ ก 2
EDUA 599 วิทยานิพนธ์ 12 หน่วยกิต
หลักสูตรศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยเนชั่น
ความหมายของความรู้
Embed from Getty Images
เด็กยุค metaverse
วามรู้ (Knowledge) หมายถึง การเรียนรู้ที่เน้นถึงการจำ และการระลึกได้ถึงความคิด วัตถุ และปรากฏการณ์ ซึ่งเป็นความจำที่เริ่มจากสิ่งที่ง่าย ที่เป็นอิสระแก่กัน ไปจนถึงความจำในสิ่งที่ซับซ้อนและมีความสัมพันธ์ระหว่างกัน [wiki]
ความหมายของ KM : นพ.วิจารณ์ พานิช ได้ให้ความหมายของ “การจัดการความรู้” ไว้ว่าสำหรับนักปฏิบัติ การจัดการความรู้ คือ เครื่องมือ เพื่อการบรรลุเป้าหมายอย่างน้อย 4 ประการไปพร้อมกัน ได้แก่ 1) บรรลุเป้าหมายของงาน 2) บรรลุเป้าหมายการพัฒนาคน 3) บรรลุเป้าหมายการพัฒนาองค์กรไปเป็นองค์กรเรียนรู้ และ 4) บรรลุความเป็นชุมชน เป็นหมู่คณะ ความเอื้ออาทรระหว่างกันในที่ทำงาน
ระบบสารสนเทศและเทคโนโลยีการจัดการความรู้
บทนำ: ระบบสารสนเทศ เป็นระบบที่ผสมผสานเทคโนโลยีสารสนเทศ และการทำงานของบุคลากรทุกระดับในองค์การ เพื่อให้เกิดความคล่องตัวในการทำงาน และการให้บริการที่รวดเร็ว ตลอดจนใช้เป็นเครื่องมือในการช่วยตัดสินใจดำเนินงานธุรกิจต่าง ๆ ระบบสารสนเทศจึงเป็นเรื่องที่ท้าทายสำหรับผู้บริหาร
หัวข้อในหนังสือ [ISBN: 978-974-212-209-6]
โดย เจษฎาพร ยุทธนวิบูลย์ชัย และศรีไพร ศักดิ์รุ่งพงศากุล
บทที่ 1 แนวคิดเกี่ยวกับระบบสารสนเทศ
บทที่ 2 การบริหารทรัพยากรคอมพิวเตอร์ฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์
บทที่ 3 ฐานข้อมูล และคลังข้อมูล
บทที่ 4 การสื่อสารข้อมูล และเครือข่ายคอมพิวเตอร์
บทที่ 5 อินเทอร์เน็ต และพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์
บทที่ 6 บทบาทของระบบสารสนเทศในองค์การ
บทที่ 7 ระบบสนับสนุนการตัดสินใจ
บทที่ 8 ระบบสารสนเทศสำหรับผู้บริหารระดับสูง
บทที่ 9 ปัญญาประดิษฐ์ ระบบผู้เชี่ยวชาญ และระบบสารสนเทศทางภูมิศาสตร์
บทที่ 10 ระบบสารสนเทศเชิงกลยุทธ์
บทที่ 11 ระบบการวางแผนทรัพยากรองค์การ
บทที่ 12 การพัฒนาระบบสารสนเทศ
บทที่ 13 เทคโนโลยีและการจัดการความรู้ #
บทที่ 14 จริยธรรมและการรักษาความปลอดภัยของระบบสนเทศ
ตัวอย่างหนังสือ 28 หน้าจากทั้งหมด 384 หน้า
เครื่องมือหรือเทคนิคในการจัดการความรู้
อกสารประกอบการสัมมนาคณะทำงานขับเคลื่อนการจัดการความรู้ ของ ทบ. โดย พ.ท.หญิงดร.มลฤดี โภคศิริ เมื่อวันที่ 1 ธ.ค.59 นำเสนอด้วยสไลด์ 57 หน้า เนื้อหาแน่นมาก และในหน้าที่ 3 ได้ให้นิยามว่า การเรียนรู้ หมายถึง การได้รับความรู้ พฤติกรรม ทักษะ คุณค่า หรือความพึงใจ ที่เป็นสิ่งแปลกใหม่หรือปรับปรุงสิ่งที่มีอยู่ และอาจเกี่ยวข้องกับการสังเคราะห์สารสนเทศชนิดต่าง ๆ ผู้ประมวลทักษะของการเรียนรู้เป็นได้ทั้งมนุษย์ สัตว์ และเครื่องจักรบางชนิด ความก้าวหน้าในการเรียนรู้เมื่อเทียบกับเวลามีแนวโน้มเป็นเส้นโค้งแห่งการเรียนรู้ (Learning curve)
ครื่องมือการจัดการความรู้ (KM TOOLS) ประกอบด้วย 1) ชุมชนนักปฏิบัติ (Communities of Practice หรือ CoP) 2) ทีมข้ามสายงาน (Cross-Functional Team) 3) การทบทวนสรุปบทเรียน (After action review หรือ AAR) 4) เวทีเสวนา (Dialogue หรือ สุนทรียสนทนา) 5) เพื่อนช่วยเพื่อน (Peer Assist) 6) การเรียนรู้โดยการปฏิบัติ (Action Learning) 7) การสอนงาน (Coaching) 8) พี่เลี้ยง (Mentoring) 9) การเรียนรู้จากบทเรียนที่ผ่านมา (Lesson Learned) 10) แฟ้มงานเพื่อการพัฒนา (Portfolio) 11) การถ่ายทอดความรู้โดยการเล่าเรื่อง (Storytelling) 12) การศึกษาดูงาน (Study tour) 13) เวทีสำหรับการแลกเปลี่ยนความรู้ (Knowledge Forum) 14) แหล่งผู้รู้ในองค์กร (Center of Excellence-CoE) 15) ฐานความรู้ (Knowledge Bases) 16) Intranet, Web 17) Webblog 18) IQCs (Innovation & Quality Circles) 19) สภากาแฟ (Knowledge Café) 20) การสับเปลี่ยนงาน (Job Rotation) 21) วิธีการปฏิบัติที่เป็นเลิศ (Best Practice)
การจัดการเรียนรู้โดยใช้วิจัยเป็นฐาน (Research-based learning)
ารจัดการเรียนรู้โดยใช้วิจัยเป็นฐาน (research-based learning) การจัดการเรียนการสอนที่เน้นการวิจัย (research-based approach) หรือการสอนแบบการวิจัยเป็นฐาน (research-based instruction) เป็นเทคนิคหนึ่ง ในการสอนเชิงสร้างสรรค์ที่เน้นการพัฒนาผู้เรียนให้มีลักษณะเชิงสร้างสรรค์มากยิ่งขึ้น (ไพฑูรย์ สินลารัตน์, 2557) เนื่องจากการวิจัยเป็นกระบวนการพัฒนาคน โดยเฉพาะอย่างยิ่งพัฒนาตัวผู้วิจัย ทำให้ผู้วิจัยกล้าซักถาม ตั้งคำถามเป็น ใฝ่รู้มีความคิดสร้างสรรค์ เนื่องด้วยการวิจัยเป็นการแสวงหาความรู้หรือการแก้ปัญหา ผู้วิจัยต้องมีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ในการพิจารณาประเด็นหรือข้อมูลต่าง ๆ ผลจากการกระทำเช่นนี้ทำให้ผู้วิจัยมีความใฝ่รู้ มีความกระตือรือร้น มีเหตุมีผล เป็นผู้ทำให้เกิดความก้าวหน้าทางวิชาการ เพราะผลของการวิจัยหรือข้อความรู้ที่ได้ทำให้สามารถเข้าใจ ทำนาย หรือควบคุมปรากฏการณ์ได้ และเป็นการเพิ่มความสามารถในการแก้ปัญหา (สมหวัง พิธิยานุวัฒน์ และทัศนีย์ บุญเติม, 2537) ดังนั้น การจัดการเรียนรู้โดยใช้วิจัยเป็นฐาน จึงเป็นการจัดการเรียนรู้ที่ให้ผู้เรียนได้เรียนรู้และลงมือปฏิบัติกระบวนการแสวงหาความรู้อย่างเป็นระบบและมีขั้นตอนทำให้ผู้เรียนค้นพบความรู้ได้ด้วยตนเอง หรืออีกลักษณะหนึ่งเป็นกระบวนการเรียนการสอนที่ใช้กระบวนการวิจัยมาเป็นกระบวนการสอน มีการจัดสภาพการณ์ของการเรียนการสอนที่ให้ผู้เรียนใช้กระบวนการวิจัยหรือผลการวิจัย เป็นเครื่องมือในการเรียนรู้เนื้อหาสาระ อาจใช้การประมวลผลงานวิจัยมาประกอบการสอนเนื้อหาสาระ ใช้ผลการวิจัยมาเป็นเนื้อหาสาระในการเรียนรู้ ใช้กระบวนการวิจัยในการศึกษาเนื้อหาสาระ หรือให้ผู้เรียนลงมือทำวิจัยโดยตรง หรือช่วยฝึกฝนทักษะการวิจัยให้แก่ผู้เรียน (ทิศนา แขมมณี, 2555; ไพฑูรย์ สินลารัตน์, 2557) เป็นการสอนเพื่อให้ผู้เรียนทำการวิจัยเองได้ ให้ผู้เรียนรู้จักแก้ปัญหา รู้จักคิดวิเคราะห์ ตลอดจนทักษะการแสวงหาความรู้ด้วยตนเอง เป็นวิธีการเรียนรู้ที่สนับสนุนแนวคิดของการเรียนการสอนที่ยึดผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง เน้นให้ผู้เรียนแสวงหาความรู้ด้วยตนเองและค้นพบข้อความรู้ด้วยตนเองโดยตรง (ไพฑูรย์ สินลารัตน์, 2557)
พวงผกา ปวีณบำเพ็ญ. (2560). การจัดการเรียนรู้โดยใช้วิจัยเป็นฐาน. ศึกษาศาสตร์สาร มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, 1(2), 62-71.
ารเขียนหลักการและเหตุผลใน โครงการเพื่อแก้ปัญหา เป้าหมายการเขียน เพื่อ แสดงให้เห็นที่มา และความจำเป็นของโครงการ ประกอบด้วย 1) ข้อมูลสถานการณ์ หรือสถานภาพที่เป็นอยู่อันเป็นที่มาและเหตุผลที่ต้องมีข้อเสนอโครงการ 2) อธิบายสภาพปัญหาที่เป็นอยู่ให้ชัดเจน ให้ข้อมูลเรื่องขนาด ความรุนแรง มีข้อเท็จจริง หรือข้อมูลทางสถิติ และผลกระทบทั้งระยะสั้น ระยะยาว 3) ระบุแนวทาง หรือวิธีการแก้ปัญหา การเลือกวิธีแก้ปัญหาที่เหมาะสมด้วยวิธีการใด 4) ประเมิน หรือคาดหมายล่วงหน้าว่าถ้าดำเนินการแล้วจะเกิดผลเป็นรูปธรรมอย่างไร
ารเขียนหลักการและเหตุผลใน โครงการเพื่อพัฒนา เป้าหมายการเขียน เพื่อ แสดงให้เห็นที่มา และความจำเป็นของโครงการ ประกอบด้วย 1) ข้อมูลที่แสดงให้เห็นถึงการตอบสนองต่อนโยบาย แผน แผนงาน หรือกลยุทธ์ขององค์กร 2) อธิบายทางเลือกที่เป็นไปได้ และเหตุผลของการเลือกวิธีการหนึ่งอันเป็นที่มาของโครงการ 3) ประเมิน หรือคาดหมายล่วงหน้าว่าถ้าดำเนินการแล้วจะเกิดผลเป็นรูปธรรมอย่างไร 4) สรุปหลักการและความจำเป็นของโครงการที่เชื่อมโยงกับนโยบายและแผนพัฒนาให้ผู้มีอำนาจอนุมัติเห็นประโยชน์
ลักษณะข้อเสนอแนะต่อบทความวิจัยจากผู้ทรงคุณวุฒิ
ชื่องานวิจัยที่น่าสนใจ คือ การทบทวนวรรณกรรม
ผลการจัดอันดับมหาวิทยาลัยโดย THE
การจัดการเรียนรู้โดยใช้โครงงานเป็นฐาน (Project-based learning)
Back to school
suthinan.com
kruachieve.com
ThaiJO
ThaiLIS
Conference
APA style
การสอนแบบโครงงาน (Project-based learning) ฉบับบ้านปลาดาว (Starfish)
1. หาหัวข้อที่สนใจ โดยสำรวจรอบโรงเรียน/ทัศนศึกษา
2. เลือกหัวข้อตามผลการประเมิน
3. สืบค้นข้อมูล มีครูเอื้ออำนวย และบูรณาการ STEM หรือ ศตวรรษที่ 21
4. ดำเนินการ และมีผลงาน
5. สรุป อภิปราย และข้อเสนอแนะ
แบบฟอร์มเขียนเค้าโครงโครงงาน
ชื่อโครงงาน ... สาขาของงาน ...
ชื่อผู้ทำโครงงาน ... ชื่ออาจารย์ที่ปรึกษา ... ระยะเวลาดำเนินงาน ...
รายละเอียดเกี่ยวกับโครงงาน
1. แนวคิด ที่มา และความสำคัญ ...
2. วัตถุประสงค์ ...
3. หลักการและทฤษฎี ...
4. คำนิยามศัพท์เฉพาะ ...
5. ขั้นตอนการดำเนินงาน ...
6. แผนปฏิบัติงาน ...
7. ผลที่คาดว่าจะได้รับ ...
8. เอกสารอ้างอิง ...
เกณฑ์ประเมินโครงงาน
1. ความถูกต้อง ...
2. ผลงานเสร็จทันตามกำหนดเวลา ...
3. ความครบถ้วนของเนื้อหา ...
4. ผลการแสดงถึงการนำความรู้ที่ได้มาประยุกต์ใช้ ...
5. ผลงานมีความเป็นระเบียบเรียบร้อย ...
การประชุมวิชาการ / วารสาร / TCI และแบบฟอร์ม TCI-2 วารสารวิจัยมหาวิทยาลัยเวสเทิร์น มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ / แบบฟอร์มบทความวิจัย
TCI-2 วารสารวิทยาการจัดการปริทัศน์ (สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา) / แบบฟอร์มบทความวิจัย
TCI-1 วารสารวิจัยและพัฒนาหลักสูตรบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ / แบบประเมินบทความวิจัย ***
TCI-1 วารสารมหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์ / รายละเอียด / แบบประเมินบทความวิจัย ***
แบบฟอร์ม สรุปรายละเอียดการแก้ไขบทความวิจัย (ใช้ในกรณีที่ต้องแก้ไข และส่งใหม่)
การประเมินคุณภาพบทความวิจัยในการประชุมสัมมนาวิชาการการนำเสนอผลงานวิจัยระดับชาติ เครือข่ายบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏภาคเหนือ ครั้งที่ 17 #
การประเมินคุณภาพวารสารวิชาการที่อยู่ในฐานข้อมูล TCI รอบที่ 4 (2563-2567) / เกณฑ์เชิงคุณภาพ รอบ 4
มัลลิกา ธรรมจริยาวัฒน์ และ จำเนียร จวงตระกูล. (2563). ระบบการประเมินบทความก่อนการตีพิมพ์ในวารสารวิชาการในประเทศไทย : ปัญหาและกลยุทธในการแก้ไข. วารสารชุมชนวิจัย มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา, 14(3), 1-14.
เทคโนโลยีเพื่อการจัดการความรู้ ทางการบริหารการศึกษา
เทคโนโลยีเพื่อการจัดการความรู้ ทางการบริหารการศึกษา (Technology for Knowledge Management in Educational Administration)
ศึกษาทฤษฎีการจัดการความรู้ การประยุกต์เทคโนโลยีเพื่อการศึกษาแบบในระบบ นอกระบบ และการศึกษาตามอัธยาศัย การสร้างเครือข่ายเพื่อพัฒนาแหล่งการเรียนรู้ ประยุกต์หลักการจัดการความรู้สู่เทคโนโลยีที่เหมาะสม โดยมีการติดตาม ตรวจสอบ และประเมินประสิทธิภาพการใช้เทคโนโลยีเพื่อการศึกษา
Study of knowledge management with application of educational technology for formal, non-formal and informal education in order to set up learning development networks, an application of a suitable knowledge managment by monitoring, checking and assessing an efficiency of technology in education.
จำแนกคำอธิบายรายวิชา : EDUA 533
ทฤษฎีการจัดการความรู้
การประยุกต์เทคโนโลยีเพื่อการศึกษา
การสร้างเครือข่ายเพื่อพัฒนาแหล่งการเรียนรู้
ประยุกต์หลักการจัดการความรู้สู่เทคโนโลยีที่เหมาะสม
ติดตาม ตรวจสอบการใช้เทคโนโลยีเพื่อการศึกษา
ประเมินประสิทธิภาพการใช้เทคโนโลยีเพื่อการศึกษา
/km/education.htm
FBG - EDUA533_64_KMED
/md/kmed_all
15 หัวข้อ
1. เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการศึกษา
2. ฮาร์ดแวร์ ซอฟต์แวร์ และฐานข้อมูล
3. ระบบสารสนเทศสำนักงาน
4. หลักการจัดเก็บข้อมูลและประมวลผล
5. การวิเคราะห์ระบบข้อมูล และการพัฒนาระบบข้อมูล
6. การจัดหา ติดตั้ง และบำรุงรักษา
7. การเรียนการสอนออนไลน์
8. ทฤษฎีการจัดการความรู้
9. การสร้างเครือข่ายเพื่อพัฒนาแหล่งการเรียนรู้
10. ประยุกต์หลักการจัดการความรู้สู่เทคโนโลยีที่เหมาะสม
11. การประยุกต์เทคโนโลยีเพื่อการศึกษา
12. ประสิทธิภาพการใช้เทคโนโลยีเพื่อการศึกษา
13. ระบบผู้เชี่ยวชาญ
14. ระบบปัญญาประดิษฐ์
15. กฎหมายและจริยธรรมด้านเทคโนโลยี
สื่อและเทคโนโลยีสารสนเทศ
[1]
สารสนเทศและทรัพยากรสารสนเทศ
[2]
การรู้เท่าทันสื่อและสารสนเทศ
[3]
เทคโนโลยีสารสนเทศ
[4]
เทคโนโลยีการสื่อสาร
[5]
เทคโนโลยีเพื่อการศึกษา
[6]
ระบบเครือข่าย
[7]
การใช้งานอินเทอร์เน็ต
[8]
อีคอมเมิร์ซ และอีเลินนิ่ง
[9]
การสืบค้นข้อมูล
[10]
ระบบสารสนเทศ
[11]
ระบบฐานข้อมูล
[12]
การจัดการข้อมูล และการพัฒนาระบบ
[13]
ระบบสำนักงานอัตโนมัติ
[14]
คุณธรรมจริยธรรม
[15]
กฎหมาย และภัยคุกคาม
คอมพิวเตอร์สารสนเทศขั้นพื้นฐาน NU
[1]
คอมพิวเตอร์เทคโนโลยี
[2]
คอมพิวเตอร์ฮาร์ดแวร์
[3]
คอมพิวเตอร์ซอฟต์แวร์
[4]
ระบบจำนวนและรหัสข้อมูล
[5]
วิธีการทำงานคอมพิวเตอร์
[6]
พื้นฐานระบบเครือข่าย
[7]
เครือข่ายและการประยุกต์ใช้
[8]
ความเสี่ยงการใช้คอมพิวเตอร์
[9]
ข้อมูลและการจัดการข้อมูล
[10]
ระบบสารสนเทศ
[11]
สื่อมัลติมีเดีย
[12]
ไอทีกับสังคมของมน
รวมบริการ ระบบอีเลินนิ่ง
ข้อดีของระบบอีเลินนิ่ง (e-learning system) คือ เป็นเครื่องมือที่สมบูรณ์แบบ สามารถรองรับผู้เรียนได้จำนวนมากพร้อมกันหลายร้อยคน มีระบบจัดการสมาชิก ระบบคลิปวิดีโอบทเรียน ระบบเอกสาร ระบบมอบหมายงาน ระบบสอบ และระบบคะแนน เช่น Moodle , Classstart.org , Thaicyberu.go.th , Thaimooc.org , Chula MOOC , Classcentral.com , Edx.org , Coursera.org , Blackboard.com , Google classroom
MOOC - เรียนฟรีและดี มีจริงในโลก
บประกาศจากแฟนเพจ Thai-MOOC ว่า "หากโครงการมหาวิทยาลัยไซเบอร์ไทย พบว่ามีการจ้างวานให้เรียน เรียนแทนผู้อื่นหรือกระทำการใด ๆ โดยมิชอบในแพลตฟอร์ม Thai MOOC เช่น นำเฉลยข้อสอบไปเผยแพร่ในสื่อสังคมออนไลน์ ฯลฯ โครงการมหาวิทยาลัยไซเบอร์ไทย ขอสงวนสิทธิ์ที่จะหยุดการให้บริการแก่ผู้กระทำและดำเนินการทางกฎหมายต่อไป"
ทความวิชาการระดับนานาชาติ เรื่อง Empowering Future Life-Long Education with Thai MOOC : National Credit Bank System โดย รศ.ดร.อนุชัย ธีระเรืองไชยศรี รศ.ดร.ฐาปนีย์ ธรรมเมธา ดร.วรสรวง ดวงจินดา และ ศ.ดร.จินตวีร์ คล้ายสังข์ เผยแพร่โดย ASEAN Cyber University (ACU) Project, The Korea Education and Research Information Service (KERIS) Ministry of Education, Republic of Korea ในวารสาร 2021 Trend Report of Higher Education & e-Learning of ASEAN, Vol. 2 (หน้า 42)
สไลด์ pps จากหนังสือ

วิโรจน์ ชัยมูล, และสุพรรษา ยวงทอง. (2557).
ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีสารสนเทศ (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: โปรวิชั่น. [13]


01 ความรู้เบื้องต้น
#

02 องค์ประกอบ

03 ซอฟต์แวร์

04 ฮาร์ดแวร์

05 ระบบปฏิบัติการ

06 การจัดการข้อมูล

07 วิเคราะห์

08 การเขียนผังงาน

09 ระบบเครือข่าย

10 อินเทอร์เน็ต

11 สารสนเทศ

12 พาณิชย์อิเล็กฯ

13 จริยธรรม
เทคโนโลยีเพื่อการจัดการความรู้ทางการบริหารการศึกษา
1. เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการศึกษา
1.1 สารสนเทศและทรัพยากรสารสนเทศ
1.2 การรู้เท่าทันสื่อและสารสนเทศเพื่อการศึกษา
1.3 ห้องเรียนแห่งอนาคต
กิจกรรม
การสร้าง Poster 8 นิ้ว * 18 นิ้ว
ค้น Fullpaper จาก Thaijo
แบบสอบถาม
คลิปนำเสนอผลงาน
2. ฮาร์ดแวร์ ซอฟต์แวร์ และฐานข้อมูล
2.1 ฮาร์ดแวร์
2.2 ซอฟต์แวร์
2.3 การจัดการฐานข้อมูล
กิจกรรม
นำเสนอตนเองผ่านบล็อก
คลิปแนะนำเทคโนโลยี
3. ระบบสารสนเทศสำนักงาน
3.1 ระบบสารสนเทศสำนักงาน
3.2 ระบบสำนักงานอัตโนมัติ
กิจกรรม
ถ่ายภาพส่งเสริมการอ่าน
บริการดาวน์โหลดภาพฟรี [23.]
ใช้ PPT Templates
โบรชัวร์ A4 พับ 3
โบรชัวร์ท่องเที่ยว
4. หลักการจัดเก็บข้อมูลและประมวลผล
4.1 ระบบฐานข้อมูล
4.2 การประมวลผลรายการ
กิจกรรม
จัดการแฟ้ม PDF บน Smart Phone
ส่งเอกสาร Form:641-M01 #
5. การวิเคราะห์ระบบข้อมูล และการพัฒนาระบบข้อมูล
5.1 การวิเคราะห์ความต้องการ
5.2 การออกแบบระบบ
5.3 การจัดการข้อมูล และการพัฒนาระบบ
กิจกรรม
บทเรียน สตอรี่บอร์ด
การสร้าง Story board
ตัวอย่าง Story board
6. การจัดหา ติดตั้ง และบำรุงรักษา
6.1 การจัดหา การติดตั้ง
6.2 การบำรุงรักษาระบบ
กิจกรรม
การสร้างห้องเรียนและ KPI
ข้อเสนอแนะของผู้ทรงคุณวุฒิ
การเลือกใช้เว็บเซิร์ฟเวอร์
สร้างไซต์ด้วยเวิร์ดเพรส
7. การเรียนการสอนออนไลน์
7.1 อีเลินนิ่ง
7.2 การสอนออนไลน์
กิจกรรม
ข้อสอบออนไลน์ Kahoot
แบบสอบถาม Google Form
ประชุมออนไลน์ Google Meet
8. ทฤษฎีการจัดการความรู้
8.1 การจัดการความรู้
8.2 แผนที่ความคิด
การจัดการความรู้คืออะไร
- http://ks.rmutsv.ac.th/th/whatiskm
- โมเดลเซกิ (SECI Model)
- วงจรชีวิตของการพัฒนาซอฟต์แวร์ ด้วยตัวแบบก้นหอย (Spiral Model) หรือ วงจรชีวิตแบบก้นหอย (Spiral life cycle model)
- แผนผังก้างปลา (Fish Bone Diagram)
โมเดล และทฤษฎีที่สำคัญ #
- ทฤษฎีการจัดการความรู้ ของ Peter M. Senge's
- ทฤษฎีการจัดการความรู้ ของ Garvin
- ทฤษฎีการจัดการความรู้ ของมาควอส (Marquardt)

ทฤษฎี (theory) คือ สมมติฐานที่ได้รับการตรวจสอบและทดลองหลายครั้ง จนสามารถอธิบายข้อเท็จจริง สามารถคาดคะเน ทำนายเหตุการณ์ทั่วไป ที่เกี่ยวข้องกับปรากฏการณ์นั้นอย่างถูกต้อง และมีเหตุผลเป็นที่ยอมรับของคนทั่วไป จึงเป็นผลให้สมมติฐานกลายเป็นทฤษฎี เช่น ทฤษฏีวิวัฒนาการ (the evolution theory) เป็นต้น แต่บางสมมติฐานที่ไม่ได้รับการยอมรับ และเป็นเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นเฉพาะกลุ่ม ไม่ถูกเรียกว่าทฤษฎี เช่น ฟ้าทะลายโจร
กิจกรรม
ผลลัพธ์การเรียนรู้ที่ท้าทาย - วPA
สร้างชั้นเรียน Classstart
แผนที่ความคิด Mindmap
9. การสร้างเครือข่ายเพื่อพัฒนาแหล่งการเรียนรู้
9.1 สื่อสังคม
9.2 การสืบค้นข้อมูล
กิจกรรม
สื่อสังคมด้วยเฟซบุ๊ก
ค้าขาย - อีคอมเมิร์ซ
กลุ่ม Line
10. ประยุกต์หลักการจัดการความรู้สู่เทคโนโลยีที่เหมาะสม
10.1 การจัดการศึกษา
10.2 การจัดการความรู้สู่เทคโนโลยีที่เหมาะสม
กิจกรรม
ร.ร.ต้นแบบมีหลายแบบ
Google Classroom
เครื่องมือการจัดการความรู้
11. การประยุกต์เทคโนโลยีเพื่อการศึกษา
11.1 เทคโนโลยีเพื่อการศึกษา
11.2 สมรรถนะดิจิทัล
เทคโนโลยีเพื่อการศึกษา หมายถึง เทคโนโลยีดิจิทัล โครงสร้างพื้นฐานด้านดิจิทัล รวมถึงระบบและเครื่องมือดิจิทัลอื่นใดที่สามารถนํามาสนับสนุน ส่งเสริมกระบวนการเรียนรู้ สร้างสื่อความรู้ เพื่อการศึกษาและการเรียนรู้ตลอดชีวิต หรือสนับสนุนการบริหารจัดการระบบการศึกษาได้อย่างมีประสิทธิภาพ
กองทุนพัฒนาเทคโนโลยีเพื่อการศึกษา
กิจกรรม
สมรรถนะดิจิทัล
กรณี Breaking News English
12. ประสิทธิภาพการใช้เทคโนโลยีเพื่อการศึกษา
12.1 ติดตาม ตรวจสอบ
12.2 ประเมินประสิทธิภาพการใช้เทคโนโลยี
กิจกรรม
กรณีศึกษา หลักสูตร 97 บาท
Moodle
MOOC
13. ระบบผู้เชี่ยวชาญ
13.1 ระบบผู้เชี่ยวชาญ
13.2 เกณฑ์วิทยฐานะครู
ขั้นของวิทยฐานะครู
- ครูผู้ช่วย
- ครู
- ครูชำนาญการ
- ครูชำนาญการพิเศษ
- ครูเชี่ยวชาญ
- ครูเชี่ยวชาญพิเศษ
ครู / คุณวุฒิ / วัยวุฒิ / วิทยฐานะครู
กิจกรรม
ห้องเรียนแบบ วPA
Online service
หลักสูตรฐานสมรรถนะ
ข่าว คุณวุฒิ วัยวุฒิ อาชีพและกฎเกณฑ์
ครูจอมทรัพย์ 2548
ดร.วันชัย 2559
ครูปรีชา 2560
ผอ.กอล์ฟ 2563
พี่เลี้ยงจุ๋ม 2563
พรบ.คอมพิวเตอร์ พ.ศ.๒๕๕๐
14. ระบบปัญญาประดิษฐ์
14.1 ปัญญาประดิษฐ์
14.2 ระบบฐานความรู้
กิจกรรม
ฟอร์มรับข้อเสนอแนะจากเพื่อน
กล่องรับความคิดเห็น @gmail
15. กฎหมายและจริยธรรมด้านเทคโนโลยี
15.1 คุณธรรมจริยธรรม
15.2 จริยธรรมสำหรับผู้บริหาร
15.3 กฎหมาย และภัยคุกคาม
กิจกรรม
งานคลิปวิดีโอโครงงาน และเอกสารนำเสนอ
1. ปัญหาที่พบ
2. บทนำและวัตถุประสงค์
3. วิธีการเพื่อแก้ปัญหา
4. เครื่องมือที่ใช้
5. ผลการศึกษาและสรุปผล
6. เสนอคลิป >5 นาที พร้อมเอกสาร
ประเด็นชวนพูดคุยแลกเปลี่ยน
การประเมินตนเองของสถานศึกษา
ปี 2561 รายงาน 3 มาตรฐาน
ายงานการประเมินตนเองของสถานศึกษา (Self-Assessment Report) ของ โรงเรียนดอนเมืองทหารอากาศบำรุง ปีการศึกษา 2560 พบว่า มีผลการประเมินตนเองของสถานศึกษาใน 4 มาตรฐาน คือ มาตรฐานที่ 1 คุณภาพของผู้เรียน มาตรฐานที่ 2 กระบวนการบริหารและการจัดการ มาตรฐานที่ 3 กระบวนการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ มาตรฐานที่ 4 ระบบประกันคุณภาพภายในที่มีประสิทธิภาพ ที่ดำเนินการตาม คู่มือการประเมินคุณภาพตามมาตรฐานการศึกษาขั้นพื้นฐาน เพื่อการประกันคุณภาพภายในของสถานศึกษา และ แนวทางการเขียนรายงานการประเมินตนเองของสถานศึกษา
รายงานของโรงเรียนในแต่ละปี และเอกสารที่น่าสนใจ
โรงเรียนสารวิทยา ปีการศึกษา 2563
โรงเรียนเทพศิรินทร์ พุแค ปีการศึกษา 2562
โรงเรียนบ้านศรีไพศาล ปีการศึกษา 2562
โรงเรียนพิมานพิทยาสรรค์ ปีการศึกษา 2561
ศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอเมืองตราด ปีการศึกษา 2560
คู่มือการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา ระดับการศึกษาปฐมวัย และระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น กระทรวงมหาดไทย (ฉบับปรับปรุงสำหรับปีการศึกษา 2562 เป็นต้นไป)
คู่มือการประเมินคุณภาพตามมาตรฐานการศึกษาขั้นพื้นฐานเพื่อการประกันคุณภาพภายในของสถานศึกษา (พิมพ์ปี 2559)
แนวทางการประเมินคุณภาพตามมาตรฐานการศึกษา ระดับปฐมวัย ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน และระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานศูนย์การศึกษาพิเศษ (พิมพ์ปี 2561)
เกณฑ์การประเมินคุณภาพภายนอกรอบสาม มีตัวบ่งชี้ 3 กลุ่ม
กลุ่มตัวบ่งชี้พื้นฐาน
ตัวบ่งชี้ที่ 1 ผู้เรียนมีสุขภาพกายและสุขภาพจิตที่ดี
ตัวบ่งชี้ที่ 2 ผู้เรียนมีคุณธรรมจริยธรรมและค่านิยมที่พึงประสงค์
ตัวบ่งชี้ที่ 3 ผู้เรียนมีความใฝ่รู้และเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง
ตัวบ่งชี้ที่ 4 ผู้เรียนคิดเป็น ทำเป็น
ตัวบ่งชี้ที่ 5 ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของผู้เรียน
ตัวบ่งชี้ที่ 6 ประสิทธิผลของการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ
ตัวบ่งชี้ที่ 7 ประสิทธิภาพของการบริหารจัดการและการพัฒนาสถานศึกษา
ตัวบ่งชี้ที่ 8 พัฒนาการของการประกันคุณภาพภายในของสถานศึกษาและต้นสังกัด
กลุ่มตัวบ่งชี้อัตลักษณ์
ตัวบ่งชี้ที่ 9 ผลการพัฒนาให้บรรลุตามปรัชญา ปณิธาน พันธกิจ และวัตถุประสงค์ของการจัดตั้งสถานศึกษา
ตัวบ่งชี้ที่ 10 ผลการพัฒนาตามจุดเน้นและจุดเด่นที่ส่งผลสะท้อนเป็นเอกลักษณ์ของสถานศึกษา
กลุ่มตัวบ่งชี้มาตรการส่งแสริม
ตัวบ่งชี้ที่ 11 ผลการดำเนินงานโครงการพิเศษเพื่อส่งเสริมบทบาทของสถานศึกษา
ตัวบ่งชี้ที่ 12 ผลการส่งเสริมพัฒนาสถานศึกษาเพื่อยกระดับมาตรฐาน รักษามาตรฐานและพัฒนาสู่ความเป็นเลิศที่สอดคล้องกับแนวทางการปฏิรูปการศึกษา การประเมินตนเองของสถานศึกษา ระดับปฐมวัย ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน และศูนย์การศึกษาพิเศษ
การอ้างอิงในวารสารศึกษาศาสตร์ และวารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์
ราสามารถค้นชื่อเรื่อง บทคัดย่อ หรือชื่อผู้แต่ง จากฐานข้อมูลวารสาร tci-thaijo.org ซึ่งแต่ละวารสารจะรับบทความวิชาการ หรือบทความวิจัย ที่ตรงกับสาขาของตนเอง ที่กำหนดรูปแบบในการเขียน และมีการเขียนอ้างอิงในแบบที่วารสารกำหนด บางฉบับเชื่อมกับ ตัวระบุวัตถุดิจิทัล หรือ ตัวบ่งชี้วัตถุดิจิทัล DOI (Digital Object Identifier) เป็นระบบสากลที่ใช้ระบุตัวเอกสารอิเล็กทรอนิกส์ โดยไม่ขึ้นกับตำแหน่งที่อยู่ของเอกสารนั้น
ตัวอย่างการอ้างอิงแบบ APA จาก Thaijo บน วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร ปีที่ 23 ฉบับที่ 4 (2564): ตุลาคม-ธันวาคม (TCI กลุ่ม 1) ซึ่งในบทความได้กำหนดให้เขียนเอกสารอ้างอิงเป็น ภาษาอังกฤษ แบบ APA
เอกสารอ้างอิง (วารสาร)

Lertdechapat, K., & Promratana, P. L. (2021). EFFECTS OF COLLABORATIVE INQUIRY ON COLLABORATIVE PROBLEM SOLVING ABILITY OF LOWER SECONDARY SCHOOL STUDENTS. JOURNAL OF EDUCATION NARESUAN UNIVERSITY, 23(4), 1-14. Retrieved from https://so06.tci-thaijo.org/index.php/edujournal_nu/article/view/187189

Tasikhaow, K., Phibanchan, S., & Sirisawat, C. (2021). THE EFFECT OF 5E INQUIRY APPROACH AND ANALYTICAL QUESTIONS TO PROMOTE ANALYTICAL THINKING AND LEARNING ACHIEVEMENT ON LINEAR MOTION IN PHYSICS OF 10TH GRADE STUDENTS : ผลการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ 5 ขั้น ร่วมกับคำถามเชิงวิเคราะห์เพื่อพัฒนาการคิดวิเคราะห์และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาฟิสิกส์ เรื่อง การเคลื่อนที่แนวตรง ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4. JOURNAL OF EDUCATION NARESUAN UNIVERSITY, 23(4), 58-68. Retrieved from https://so06.tci-thaijo.org/index.php/edujournal_nu/article/view/152251

Bualar, K., & Bhanthumnavin, D. (2021). STUDY OF FACTORS AS CORRELATES OF STUDY ENGAGEMENT BEHAVIOR OF THE FIRST-GENERATION UNIVERSITY STUDENTS: การศึกษาปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับพฤติกรรมมุ่งมั่นในการเรียนของนักศึกษาระดับปริญญาตรีที่เป็นรุ่นแรกของครอบครัว. JOURNAL OF EDUCATION NARESUAN UNIVERSITY, 23(4), 86-106. Retrieved from https://so06.tci-thaijo.org/index.php/edujournal_nu/article/view/190234

Chueapanya, J., Chaiprasert, P., Thongsorn, P., Sangkarn, P., & Detsri, C. (2021). A STUDY OF SCIENCE ACHIEVEMENT AND ATTITUDE TOWARD SCIENCE OF EIGHTH GRADE STUDENTS USING COOPERATIVE LEARNING TEAM GAME TOURNAMENT TECHNIQUE: การศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาวิทยาศาสตร์และเจตคติต่อวิชาวิทยาศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ที่ได้รับการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือโดยเทคนิคกลุ่มเกมแข่งขัน. JOURNAL OF EDUCATION NARESUAN UNIVERSITY, 23(4), 134-145. Retrieved from https://so06.tci-thaijo.org/index.php/edujournal_nu/article/view/171657

Presertsuk, N., Kerdnaimongkol, U., & Kaewkaewpan, W. (2021). THE STUDY OF GUIDELINE TO PROMOTE SCHOOL’S GUIDANCE OPERATION IN 21ST CENTURY: การศึกษาแนวทางส่งเสริมการดำเนินงานแนะแนวของสถานศึกษาในศตวรรษที่ 21. JOURNAL OF EDUCATION NARESUAN UNIVERSITY, 23(4), 226-239. Retrieved from https://so06.tci-thaijo.org/index.php/edujournal_nu/article/view/241839


ตัวอย่างการอ้างอิงแบบ APA จาก Thaijo บน วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม ปีที่ 15 ฉบับที่ 2 (2564): กรกฎาคม-ธันวาคม (TCI กลุ่ม 1) ซึ่งในบทความได้กำหนดให้เขียนเอกสารอ้างอิงเป็น ภาษาอังกฤษ แบบ APA
เอกสารอ้างอิง (วารสาร)

ฐิติมา ญาณะวงษา, สมเกียรติ อินทสิงห์, สุนีย์ เงินยวง, และน้ำผึ้ง อินทะเนตร. (2564). หลักสูตรที่เน้นผลลัพธ์: แนวทางใหม่สำหรับหลักสูตรอุดมศึกษา. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม, 15(2), 279-291.

ปรีชา ตั้งสุขขีย์ศิริ และเพชรศรี นนท์ศิริ. (2564). การธำรงรักษาพนักงานรุ่นใหม่ของธุรกิจโรงแรมในประเทศไทย. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม, 15(2), 305-316.

สถิรพร เชาวน์ชัย. (2564). ภาวะผู้นำเชิงกลยุทธ์และแนวทางการพัฒนาภาวะผู้นำเชิงกลยุทธ์ของผู้บริหารโรงเรียนมัธยมศึกษา สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 39. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม, 15(2), 374-384.

ชัญญา ชาตพิทยากุล. (2564). ผลของบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนภาษาโดยใช้แนวคิดการสร้างวินัย สำหรับผู้นำสี่แบบที่มีต่อความสามารถทางการทดสอบภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารในระดับนานาชาติของนักศึกษาวิชาชีพครู. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม, 15(2), 399-416.

Srisook, T., Hiranwijitporn, N., & Kaewtem, S. (2563). Value Chain Concept of Processed Agricultural Products for Development Ability in Marketing Skills of Farmers in Lampang Province to Support Smart Farmer Project. Humanities and Social Sciences Journal of Pibulsongkram Rajabhat University, 14(2), 505-521. Retrieved from https://so01.tci-thaijo.org/index.php/GraduatePSRU/article/view/239537

พระราชบัญญัติให้ใช้ประมวลกฎหมายอาญา พ.ศ.2499
พระราชบัญญัติให้ใช้ประมวลกฎหมายอาญา พ.ศ.2499
หมวด 3 ความผิดเกี่ยวกับเอกสาร

าตรา 264 ผู้ใดทำเอกสารปลอมขึ้นทั้งฉบับหรือแต่ส่วนหนึ่งส่วนใด เติมหรือตัดทอนข้อความ หรือแก้ไขด้วยประการใด ๆ ในเอกสารที่แท้จริง หรือประทับตราปลอม หรือลงลายมือชื่อปลอมในเอกสาร โดยประการที่น่าจะเกิดความเสียหายแก่ผู้อื่นหรือประชาชน ถ้าได้กระทำเพื่อให้ผู้หนึ่งผู้ใดหลงเชื่อว่าเป็นเอกสารที่แท้จริง ผู้นั้นกระทำความผิดฐานปลอมเอกสาร ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสามปี หรือปรับไม่เกินหกหมื่นบาทหรือทั้งจำทั้งปรับ ผู้ใดกรอกข้อความลงในแผ่นกระดาษหรือวัตถุอื่นใด ซึ่งมีลายมือชื่อของผู้อื่นโดยไม่ได้รับความยินยอม หรือโดยฝ่าฝืนคำสั่งของผู้อื่นนั้น ถ้าได้กระทำเพื่อนำเอาเอกสารนั้นไปใช้ในกิจการที่อาจเกิดเสียหายแก่ผู้หนึ่งผู้ใดหรือประชาชน ให้ถือว่าผู้นั้นปลอมเอกสาร ต้องระวางโทษเช่นเดียวกัน
krisdika.go.th
หลักสูตรฐานสมรรถนะ มีการทำประชาพิจารณ์
ฟนเพจ Wiriyah Eduzones ได้แชร์โพสต์ ในทำนองว่า จากการได้คุยกับคุณครู และทำประชาพิจารณ์ในชุมชนออนไลน์ที่นี่ ซึ่งมีสมาชิกกว่า 200,000 คน เชื่อว่ามีคุณครูที่เห็นด้วย และเห็นต่างกับหลักสูตรสมรรถนะ เชื่อว่าปัจจุบัน มีคุณครูที่เบื่อตัวชี้วัดสองสามพันตัว เบื่อการประกวด เบื่อการประเมิน เบื่อเจ้านายโบราณบ้าอำนาจ
มื่อไปค้นข้อมูล และอ่านเพิ่มเติมถึงเหตุผล พบตามข่าว “องค์กรครู”จี้“อัมพร”รับผิดชอบ! จ่อฟ้องศาลปล่อย กพฐ.อนุมัติหลักสูตรสมรรถนะ มีความตอนหนึ่งว่า ยังมีเสียงวิพากษ์วิจารณ์ใน สพฐ. ว่าการจัดทำ (ร่าง) หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐานฯ นี้ อาจจะถือว่าส่อเข้าข่ายเป็นการกระทำที่ขัดต่อ พ.ร.บ.การศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2542 หรือไม่ ? และส่อถือเป็นโมฆะ ไม่มีผลในทางกฎหมายหรือไม่? เนื่องจากคณะกรรมการ กพฐ.ไม่ได้เป็นจุดเริ่มต้นในการดำเนินการปรับเปลี่ยนหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐานเองแต่อย่างใด โดย นายสานิตย์ พลศรี นายกสมาคมครูชนบทจังหวัดชัยภูมิ กล่าวด้วยว่า หากยังมีการเคลื่อนไหวผลักดันให้คณะกรรมการ กพฐ.พิจารณาให้ความเห็นชอบร่างหลักสูตรฐานสมรรถนะ ตนอาจจะยื่นฟ้องต่อศาลปกครองให้พิพากษาว่า เป็นการกระทำที่ผิด พ.ร.บ.การศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2542 มาตรา 27 หรือไม่? ส่วนเรื่องการ kick-off นำร่อง หลักสูตรฐานสมรรถนะ ในพื้นที่นวัตกรรมการศึกษา 8 จังหวัด 265 โรงเรียน พบว่า ขออนุญาตทดลองใช้รวม 247 โรงเรียน แต่มีเพียง 5 โรงเรียนในจังหวัดเชียงใหม่ ที่มีการทดลองใช้ร่างหลักสูตรฐานสมรรถนะ และทดลองใช้เพียง 5 สมรรถนะจาก 6 สมรรถนะ ส่วนอีก 242 โรงเรียน พบว่าไม่มีการทดลองใช้ แต่ยังเดินหน้าใช้หลักสูตรในปัจจุบัน คือ หลักสูตรแกนกลางการศึกษาพื้นฐาน พ.ศ.2551 (หลักสูตรอิงมาตรฐาน) และมีการปรับการจัดการเรียนรู้ให้อิงสมรรถนะผู้เรียน (แต่ไม่ใช่หลักสูตรฐานสมรรถนะ)
าม พ.ร.บ.การศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2542 มาตรา 27 บัญญัติไว้ว่า “ให้คณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานกำหนดหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐานเพื่อความเป็นไทย ความเป็นพลเมืองที่ดีของชาติ การดำรงชีวิต และการประกอบอาชีพ ตลอดจนเพื่อการศึกษาต่อ ให้สถานศึกษาขั้นพื้นฐานมีหน้าที่จัดทำสาระของหลักสูตรตามวัตถุประสงค์ในวรรคหนึ่ง ในส่วนที่เกี่ยวกับสภาพปัญหาในชุมชนและสังคม ภูมิปัญญาท้องถิ่น คุณลักษณะอันพึงประสงค์เพื่อเป็นสมาชิกที่ดีของครอบครัว ชุมชน สังคม และประเทศชาติ
พฐ.ไม่เคาะเปลี่ยนหลักสูตรแกนกลาง “ศ.บัณฑิต”ชี้!ของเดิมเน้นสมรรถนะได้ ตามข่าวมีความตอนหนึ่งว่า ประธาน กพฐ.กล่าวด้วยว่า ในส่วนของหลักสูตรฐานสมรรถนะ ที่แม้เราจะเห็นพ้องต้องกันว่า การเน้นสมรรถนะเป็นเรื่องที่เหมาะสม เข้ากับยุคสมัย แต่ในขณะนี้ยังเป็นเพียงแค่ (ร่าง) หลักสูตรฯที่ยังอยู่ในขั้นการทดลองใช้ในโรงเรียนในเขตพื้นที่นวัตกรรมการศึกษา ซึ่งทาง สพฐ.ก็ได้นำเรียนความคืบหน้าว่า มีการดำเนินการอย่างไรบ้าง และในที่ประชุม กพฐ.ก็ได้มีการอภิปราย ตั้งข้อสังเกต และให้คำแนะนำ "เช่น เห็นว่าหากโรงเรียนใดที่มีความพร้อมต้องการทดลองใช้หลักสูตร เราก็จะเปิดโอกาสโดยให้ สพฐ.ไปทำแผนนำเสนอมายังที่ประชุม กพฐ. แล้วจะพิจารณาต่อไป แต่ทั้งนี้ ยืนยันว่าการจะนำหลักสูตรใดมาใช้ทั้งหมดแบบทันทีทันใด ก็อาจจะยังไม่มีความพร้อม"
เกณฑ์ 5 ด้านของ THE (การสอน การวิจัย และการนำไปใช้)

30 + 30 + 30 + 7.5 + 2.5 = 100
Times Higher Education World University Rankings ของประเทศสเปน ได้ออกรายงานเป็นประจำทุกปี โดยคุณภาพของมหาวิทยาลัยไม่ได้มีเฉพาะพันธกิจ 4 ด้านของมหาวิทยาลัยในประเทศไทย (การผลิตบัณฑิต การวิจัย การบริการวิชาการแก่สังคม และการทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม) ซึ่งเกณฑ์การพิจารณาอันดับมหาวิทยาลัยแบ่งได้ 5 กลุ่มตัวบ่งชี้ ดังนี้
1. Teaching (the learning environment - 30%) คือ คุณภาพการสอน สภาพแวดล้อมในการเรียนรู้ของผู้เรียน
2. Research (volume, income and reputation - 30%) คือ คุณภาพงานวิจัย ปริมาณ รายได้ และชื่อเสียงของงานวิจัย
3. Citations (research influence - 30%) คือ การอ้างอิงในงานวิจัย การนำงานวิจัยของสถาบันไปใช้อ้างอิง
4. International outlook (staff, students and research - 7.5%) คือ ความเป็นนานาชาติจากสายตาภายนอก เจ้าหน้าที่ นักศึกษาและงานวิจัยนานาชาติ
5. Industry income (knowledge transfer - 2.5%) คือ รายได้ทางอุตสาหกรรม นวัตกรรมที่เป็นสิ่งใหม่ในวงวิชาการที่มหาวิทยาลัยได้คิดค้นขึ้น
ผลการจัดอันดับมหาวิทยาลัยโดย THE
แหล่งทุนสำหรับครูยุคใหม่ - กองทุนพัฒนาเทคโนโลยีเพื่อการศึกษา (EDTech Fund)
องทุนพัฒนาเทคโนโลยีเพื่อการศึกษาจัดตั้งขึ้นตามมาตรา 68 แห่งพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2542 โดยมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 20 กรกฎาคม 2553 มีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมและสนับสนุนการผลิต การวิจัย และพัฒนา และการใช้เทคโนโลยีเพื่อการศึกษา ทั้งนี้เพื่อสร้างโอกาสทางการศึกษาและการเรียนรู้ตลอดชีวิตที่ทั่วถึง เท่าเทียม และมีคุณภาพ โดย กองทุนมีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นทุนหมุนเวียนสำหรับการส่งเสริม และสนับสนุนการผลิต การวิจัย การพัฒนา และการใช้เทคโนโลยีเพื่อการศึกษา โดยมุ่งหวังเพื่อสร้างโอกาสทางการศึกษา และการเรียนรู้ตลอดชีวิตที่ทั่วถึง เท่าเทียม และมีคุณภาพ
องทุนพัฒนาเทคโนโลยีเพื่อการศึกษา (EDTech Fund) มีประกาศเรื่อง การเปิดรับโครงการขอรับการจัดสรรเงินกองทุนพัฒนาเทคโนโลยีเพื่อการศึกษา อย่างต่อเนื่อง พ.ศ.2563 # พ.ศ.2564 # พ.ศ.2565 # แล้วพบเอกสารเผยแพร่ในรูปของ แผ่นพับ # # ที่บอกเล่าถึงประวัติความเป็นมา วัตถุประสงค์ วิสัยทัศน์ พันธกิจ และหน้าที่ของคณะกรรมการบริหาร รวมถึงมีรายชื่อผลงานและลิขสิทธิ์ของกองทุนพัฒนาเทคโนโลยีเพื่อการศึกษาถึง 15 เรื่อง แล้วพบ แผนยุทธศาสตร์กองทุนพัฒนาเทคโนโลยีเพื่อการศึกษา พ.ศ.2563 - 2565 # และ แผนปฏิบัติการ กองทุนพัฒนาเทคโนโลยีเพื่อการศึกษา ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2563 -2565
คู่มือกองทุนพัฒนาเทคโนโลยีเพื่อการศึกษา (กันยายน 2562)
แหล่งทุนสำหรับครูยุคใหม่ (EDTech Fund)
กลุ่มคุณครู
คุณครู คือ กลุ่มคนที่สร้างเครือข่ายได้ทรงพลังที่สุด เพราะมีสังกัดเดียวกัน ทำงานใต้ระบบเดียวกัน และเป้าหมายเดียวกัน นับเป็นประชากรไทยประมาณ 1% ที่ทำงานอยู่ในโรงเรียน จำนวน 35,202 โรงเรียน ในปี 2563 มีจำนวนครูทุกสังกัดรวมกัน 665,420 คน ดูแลนักเรียน 9,874,293 คน คิดเป็นอัตราส่วนนักเรียน 14.84 คนต่อครูหนึ่งคน

Thaijo - 1140
  1. แบ่งปันสื่อการเรียนรู้ By Kru Netto
    251.0K
  2. ปันสื่อการสอน By Kru Jay
    210.5K
  3. ห้องแบ่งปันสื่อการเรียนการสอน
    159.5K
  4. กลุ่ม ร่วมแลกเปลี่ยนวิทยฐานะ ว.23,ว.21,ว.17 สู่ ว.PA by ครูมนตรี นันไชย
    135.0K
  5. กลุ่มเพื่อนครูปฐมวัย
    117.8K
  6. ชมรมครูภาษาไทย ป.1-ป.3
    113.7K
  7. สื่อปฐมวัย by ครูหญิง
    97.6K
  8. ครูSTORY เรื่องราวของครูเล่าสู่กันฟัง
    88.3K
  9. VIP ห้องสื่อครูคอม
    81.9K
  10. บ้านสื่อเพื่อนครูปฐมวัย
    71.6K
  11. ย้ายสับเปลี่ยนข้าราชการครู
    66.7K
  12. แหล่งรวมสื่อทำมือสร้างสรรค์
    54.9K
  13. โปรแกรมสำหรับครู [App4Teacher]
    54.2K
  14. ห้องสื่อครูบาส (ตัวอย่างสื่อ) สำเร็จ
    50.9K
  15. แบ่งปันสื่อ ใบงานภาษาอังกฤษครูจีจี้
    50.2K
  16. PLC ครูภาษาอังกฤษ
    41.4K
  17. ครูปล่อยของ (เพื่อนพลเรียน)
    37.3K
  18. ห้องสือครูพิมพ์_VIP
    33.6K
  19. ชมรมครูสังกัดกรุงเทพมหานครออนไลน์
    33.0K
  20. ครูอภิวัฒน์"สอนสร้างสื่อ"
    29.7K
  21. แบ่งปันแผนการสอน สื่อสังคมศึกษา
    27.5K
  22. สื่อดนตรี-นาฏศิลป์
    21.5K
  23. สื่อการสอน ข่าวการศึกษา แบบทดสอบออนไลน์ เลื่อนวิทยฐานะ By ครูมาแล้ว
    20.8K
  24. ครูนอกกรอบ
    19.2K
  25. ส่งต่อชุดทำงานคุณครูมือสอง
    12.5K
  26. Dek อยากเป็นครู แชร์ข้อสอบ TCAS PAT5
    5.3K
  27. ครูแนะแนว - Eduzones.com
    2.0K
ปรับปรุง 21 ธ.ค.64
โบรชัวร์ : ท่องเที่ยว

tourlampang
virtual tour
ารเดินทางท่องเที่ยว หรือพานักเรียนไปทัศนศึกษาดูงานต่างจังหวัด หลายวันหลายคืน ก็ต้องมีการวางแผนการเดินทาง และค่าใช้จ่าย ที่ลูกทัวร์ นักเรียน หรือผู้ร่วมเดินทางต้องมีข้อมูลเส้นทางและจุดหมายปลายทางที่ต้องใช้ระหว่างการเดินทาง เอกสารที่บริษัททัวร์หรือผู้จัดทริปเดินทางมักใช้ คือ โบรชัวร์หรือแผ่นพับ ที่พกพาสะดวก บริษัทมักจัดทำ video ขายทัวร์และรายละเอียดที่พบได้ตามห้างสรรพสินค้า ส่วน โปสเตอร์ หรือป้ายไวนิล อาจใช้ในกรณีต้องการประชาสัมพันธ์กิจกรรมในที่สาธารณะ หรือหน้ารถบัส อาจใช้โปรแกรมจัดการสำนักงาน เช่น ms word หรือ ms powerpoint หรือ canva app เป็นเครื่องมือช่วยในการออกแบบจัดทำซึ่งการสื่อสารระหว่างลูกทัวร์อาจใช้ กลุ่มเฟสบุ๊ค หรือกลุ่มไลน์ เป็นสื่อกลางในการแลกเปลี่ยน และแบ่งปัน เนื่องจากมีบริการครบ และได้รับความนิยมในกลุ่มคนทำงาน นักเรียน นักศึกษา การวาดแผนผังแบบ vector เช่น เส้นทาง หรือแผนที่ ช่วยเพิ่มความน่าสนใจ ที่ใช้ร่วมกับภาพถ่ายแบบ raster ได้ การสร้างชาร์ทด้วยโปรแกรม excel แสดงแผนภาพ แผนการเดินทาง และตารางค่าใช้จ่ายช่วยให้การเปรียบเทียบข้อมูลด้วยแผนภาพ ทั้ง pie หรือ bar หรือ gantt chart ให้เข้าใจข้อมูลเชิงตัวเลขได้เป็นอย่างดี และแผนที่จาก google map ช่วยทำให้เห็นสภาพภูมิประเทศ และเส้นทางจริง
ารจัดทำแผนการเดินทาง ต้องค้นข้อมูลมากมาย ตรวจสอบเที่ยวบินจาก สนามบิน ตรวจสอบเที่ยวรถบัสจาก BusOnlineTicket ตรวจสอบเที่ยวรถไฟจาก การรถไฟแห่งประเทศไทย ต้องการเช่า รถเก๋ง หรือ รถบัส ก็ต้องศึกษาเปรียบเทียบข้อมูล ซึ่งการเดินทางมีความเสี่ยง ผู้จัดมักเลือกซื้อประกันอุบัติเหตุรายวันกับ บริษัทประกัน ติดต่อ จองโรงแรมที่พัก จองร้านอาหารที่รองรับคณะทัวร์ได้ ติดต่อสถานที่หรือเป้าหมายปลายทางแต่ละแห่งอย่างรัดกุม ทั้งไกด์ที่รู้ทาง ระยะเวลา การเดินทาง ค่าผ่านประตู และการยืนยันกับผู้ประสานงานแต่ละแห่ง เตรียมของที่ระลึก ชุดปฐมพยาบาล น้ำดื่ม และเสื้อทีมเพื่อให้ติดตามได้ง่าย
ต่ถ้าต้องการท่องเที่ยวแบบเสมือนจริง (Virtual Tours) เค้าก็บริการผ่านเว็บไซต์ของ การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย หรือ เกียวโตทัวร์เสมือนจริง 360 องศา หรือ เที่ยวปารีสหรือนิวยอร์กขณะอยู่บนเครื่องบินเสมือนจริง พร้อมเสิร์ฟอาหาร โดย บริษัท First Airlines ในกรุงโตเกียว ที่ผู้โดยสารจะสวมแว่นตา VR ตลอดการเดินทาง ที่เสมือนอยู่ในโลก Metaverse
คนที่สุจริต ย่อมให้ความสำคัญกับ "การป้องกันการทุจริต" ตั้งแต่ ป.1 ถึง ม.6 ด็กไทยควรได้รับการศึกษาจนมีความรู้ความเข้าใจ เกี่ยวกับ การป้องกันการทุจริต จึงควร "ศึกษาเกี่ยวกับการแยกแยะระหว่างผลประโยชน์ส่วนตน กับผลประโยชน์ส่วนรวม ความละอายและความไม่ทนต่อการทุจริต STRONG / จิตพอเพียงต่อต้านการทุจริต รู้หน้าที่ของพลเมืองและรับผิดชอบต่อสังคมในการต่อต้านการทุจริต โดยใช้กระบวนการคิด วิเคราะห์ จำแนก แยกแยะ การฝึกปฏิบัติจริง การทำโครงงาน กระบวนการเรียนรู้ 5 ขั้นตอน (5 STEPs) การอภิปราย การสืบสอบ การแก้ปัญหา ทักษะการอ่าน และการเขียน เพื่อให้มีความตระหนักและเห็นความสำคัญของการต่อต้านและการป้องกันการทุจริต" ที่เป็นการเรียนรู้อย่างต่อเนื่องตลอด 12 ปี ตั้งแต่ชั้น ป.1 ถึง ม.6 ซึ่งประกอบด้วย 4 ชุดวิชา ได้แก่
ชุดวิชาที่ 1 การคิดแยกแยะระหว่างผลประโยชน์ส่วนตนกับผลประโยชน์ส่วนรวม
ชุดวิชาที่ 2 ความละอายและความไม่ทนต่อการทุจริต
ชุดวิชาที่ 3 STRONG / จิตพอเพียงต่อต้านการทุจริต
ชุดวิชาที 4 พลเมืองกับความรับผิดชอบต่อสังคม
โดยความหมายของคำว่า "STRONG : จิตพอเพียงต้านทุจริต" มาจากอักษร 6 ตัว ได้แก่ 1) S (sufficient) : ความพอเพียง 2) T (transparent) : ความโปร่งใส 3) R (realize) : ความตื่นรู้ 4) O (onward) : มุ่งไปข้างหน้า 5) N (knowledge) : ความรู้ และ 6) G (generosity) : ความเอื้ออาทร
เพลง เก่งแต่เรื่องคนอื่น (EXPERT)
นเนื้อเพลง เก่งแต่เรื่องคนอื่น มีข้อความชวนให้เรียนรู้ตอนหนึ่งว่า "เก่งเหลือเกิน เก่งแต่เรื่องคนอื่น เก่งเหลือเกิน ไปเรียนมาจากไหน เก่งเหลือเกินไปสอนความรักให้ใคร แต่เรื่องตัวเองไม่รอดสักที" เพลงนี้ร้องโดยนักร้องที่ชื่อ INK WARUNTORN และ Feat.SPRITE ของค่ายเพลง BOXX MUSIC ซึ่งในทาง เทคโนโลยีเพื่อการจัดการความรู้ นั้นต้องอาศัยความรู้ที่ได้จาก การฟัง การรับรู้ การเรียนรู้ การแลกเปลี่ยน แล้วนำมาปรับใช้ให้เหมาะสมกับตนเอง
คลิปฉบับเต็มเพลงบน youtube
ภาพประชาสัมพันธ์ใน twitter
ประวัตินักร้องและผู้แต่ง บน website
ท่าเต้นท่อนเด่น คลิปใน youtube
StepPlus Training

google..speech
drive.google.com
นยุคที่สังคมยอมรับการเรียนผ่านคลิปวิดีโอ หรือสอนออนไลน์ พบว่า มีคลิปวิดีโอที่น่าสนใจมากมายใน youtube.com หนึ่งในนั้น คือ หลักสูตรการบริหารจัดการ ตอน 1) จุดตายในการบริหารองค์กร ของผู้บริหาร [EP1] โดย ผศ.ดร.กฤษฎา ตันเปาว์ มีรวมในหลักสูตรนี้ทั้งหมด 9 ตอน ได้แก่ 2) Know How & Know Who กับความสำเร็จในงาน 3) การตัดสินใจ หัวใจความสำเร็จของผู้จัดการ 4) งานไม่ยุ่ง แต่ยุ่งคน ศึกษาพฤติกรรมคนในองค์กร 5) อิทธิพลของกระบวนการฝูงชนในองค์กร 6) เข้าใจคน เพื่อชนะใจคนในองค์กร 7) การพัฒนาตนเองด้วย PDCA 8) การบริหารเงิน เพื่อความมั่นคงของชีวิต 9) บริหาร EGO ในตนเอง เพื่อความก้าวหน้าในการงาน และ แนะนำตัว เผยแพร่ในช่อง StepPlus Training คือ สถาบันฝึกอบรม ที่มุ่งเน้นพัฒนา "คน" ให้เป็นมืออาชีพ ด้วยเครื่องมือ สื่อการเรียนรู้ ที่เป็นลิขสิทธิ์จากต่างประเทศ สามารถจัดอบรมได้ทั้งในองค์กร และจัดอบรมแบบ Public
รวมบทความ ของ ผศ.ดร.กฤษฎา ตันเปาว์
งานมอบหมาย : นิสิตเลือกดูคลิปที่ชอบมา 2 เรื่อง แล้วนำเสนอประเด็นที่ได้เรียนรู้
ปัญญาประดิษฐ์ (AI)
ปัญญาประดิษฐ์ filetype:pdf ที่ค้นผ่าน google.com พบเอกสารน่าสนใจ หนึ่งในนั้น คือ e-book ของ ศูนย์ศึกษายุทธศาสตร์ สถาบันวิชาการป้องกันประเทศ กองบัญชาการกองทัพไทย เอกสารศึกษาเฉพาะกรณี (Case study) เรื่อง ปัญญาประดิษฐ์ (Artificial Intelligence: AI) กับจุดเปลี่ยนของสงครามในอนาคต พิมพ์ครั้งที่ 1 จำนวน 400 เล่ม มี 110 หน้า และได้รวบรวมความหมายของปัญญาประดิษฐ์ที่ปรากฎในส่วนที่ 2 หน้า 11 ดังนี้
ปัญญาประดิษฐ์ (AI) หมายถึง ความสามารถของเครื่องจักรในการแสดงออกถึงสติปัญญาเหมือนมนุษย์ เช่น ความสามารถในการแก้ไขปัญหาโดยไม่ต้องอาศัยซอฟต์แวร์ที่ถูกเขียนขึ้นอย่างละเอียด แต่เรียนรู้จากการแก้ไขปัญหาจากการหารูปแบบภายใต้ข้อมูลจำนวนมาก เป็นต้น โดย McKinsey
ปัญญาประดิษฐ์ (AI) หมายถึง เทคโนโลยีที่เลียนแบบการทำงานของมนุษย์จากการเรียนรู้ สรุปผล การดำเนินงานด้วยตนเอง แสดงให้เห็นถึงความเข้าใจบริบทที่มีความซับซ้อน สื่อสารกับมนุษย์ อย่างเป็นธรรมชาติ เสริมสร้างความสามารถทางด้านการรู้คิด (Cognitive Performance) ของมนุษย์ หรือทำงานแทนมนุษย์ในงานที่ไม่เป็นกิจวัตร โดย Gartner
ปัญญาประดิษฐ์ (AI) หมายถึง ความสามารถของสิ่งประดิษฐ์ เช่น คอมพิวเตอร์ หุ่นยนต์ เครื่องอิเล็กทรอนิกส์ ในการแสดงปฏิกิริยา หรือกระทำการใด ๆ ในสถานการณ์อย่างหนึ่งอย่างใดด้วยตนเองเสมือนการทำงานของสมองมนุษย์ โดยความสามารถนี้เกิดจากคำสั่งหรือชุดคำสั่งที่สร้างขึ้น มิใช่เพียงเพื่อให้คอมพิวเตอร์ ทำงานให้เกิดผลอย่างใดอย่างหนึ่งที่แน่นอน แต่ให้คอมพิวเตอร์สามารถรวบรวมข้อมูล วิเคราะห์ และประมวลผลข้อมูลแล้วสั่งให้หุ่นยนต์ เครื่องอิเล็กทรอนิกส์ กระทำการหรือไม่กระทำการ อย่างหนึ่งอย่างใดหรือหลายอย่าง เพื่อให้เกิดหรือระงับซึ่งผลอย่างหนึ่งอย่างใดหรือหลายอย่าง โดยปราศจากการสั่งการเพิ่มเติมของมนุษย์หรือร่วมกับการควบคุมของมนุษย์ โดย ราชบัณฑิตยสภา
lawforasean.krisdika.go.th
waa.inter.nstda.or.th
www.niems.go.th
apheit.bu.ac.th
การศึกษาไทยมีข้อจำกัดด้านงบประมาณ
ข่าวเมื่อ 16 พ.ย.2564 ใน ไทยรัฐ และ เดลินิวส์ พบว่า คุณครูพรพิมล เป็นข้าราชการครูคนเดียวในโรงเรียนประถมศึกษาที่บรรจุได้หนึ่งปี มีนักเรียนทั้งหมดประมาณ 40 คน ได้รับหนังสือ เรื่อง แต่งตั้งและมอบหมายการปฏิบัติหน้าที่ราชการของบุคลากร ภาคเรียนที่ 2/2564 มีหน้าที่ถึง 4 ตำแหน่ง และรักษาการผู้อำนวยการโรงเรียน ประกอบด้วย 1) หัวหน้ากลุ่มบริหารงานบุคคล 2) หัวหน้ากลุ่มบริหารงานวิชาการ 3) หัวหน้ากลุ่มบริหารงานงบประมาณ 4) หัวหน้ากลุ่มบริหารงาน 5) รักษาการผู้อำนวยการโรงเรียน ซึ่ง 4 ตำแหน่งแรก คุณครูเป็นผู้เซ็นอนุมัติคำสั่งแต่งตั้งตนเอง สะท้อนได้ว่า การศึกษาไทยมีข้อจำกัดด้านงบประมาณ หรือ ข่าวประกาศรับสมัครบุคคลเพื่อคัดเลือกเป็นลูกจ้างชั่วคราว ตำแหน่ง ครูจ้างสอน วิชาเอกทั่วไป เงินเดือน 6000 บาท ที่สะท้อนเรื่องข้อจำกัดด้านงบประมาณเช่นกัน
ต่อมาคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (กพฐ.) ได้เปิดเผยถึงกรณีดังกล่าวว่า ปัญหาดังกล่าวจะเกิดขึ้นกับโรงเรียนขนาดเล็ก เพราะโรงเรียนขนาดเล็กติดปัญหามาตรการ ที่คณะกรรมการปรับปรุงกำลังคนภาครัฐ (คปร.) กำหนดไว้ว่า หากสถานศึกษาใดที่มีนักเรียนต่ำกว่า 120 คน จะไม่สามารถเพิ่มจำนวนครูได้ เมื่อมีครู หรือผู้อำนวยการเกษียณอายุราชการ จะไม่จัดสรรอัตราเกษียณคืนให้ ทำให้โรงเรียนขนาดเล็กทุกแห่งในประเทศมีปัญหาขาดแคลนครู ซึ่งขณะนี้สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) มีโรงเรียนขนาดเล็กกว่า 15,000 แห่ง ซึ่งถือเป็นครึ่งหนึ่งของโรงเรียนในสังกัด สพฐ.
ปัญหาที่ ว่าที่ร้อยตรี ธนุ วงษ์จินดา รองเลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (กพฐ.) ได้เปิดเผยมานี้ น่าสนใจ
ห้องเรียนแห่งอนาคต หนังสือ ห้องเรียนแห่งอนาคต เปลี่ยนครูให้เป็นโค้ช (ดร.วิริยะ ฤาชัยพาณิชย์ และ ครูกมลรัตน์ ฉิมพาลี)
เปิดโมเดล ห้องเรียนแห่งอนาคต (Praornpit Katchwattana - 22 มิ.ย.62)
‘ห้องเรียนแห่งอนาคต’ หมดยุคหน้าตรงเข้ากระดาน ผสานการเรียนศาสนาแนวใหม่ (8 มี.ค.61)
14 Predictions For The Future Of Classroom Technology
14 Predictions For The Future Of Classroom Technology 14 technology
1. วิดีโอการสอน (Video Lectures)
2. ประสบการณ์จากการหลอมรวมความจริงเสมือน (Immersive Mixed-Reality Experiences)
3. การทดลองเสมือนจริง (Virtual Reality Experiments)
4. การรวมกันของระบบปฏิบัติการโครม (Incorporation Of Chrome OS)
5. การวิเคราะห์เชิงทำนาย (Predictive Analytics)
6. ประสบการณ์การเรียนรู้ของนักเรียนเจาะลึกอย่างลึกซึ้ง (Deeper Insight Into Each Student’s Learning Experience)
7. การท่องเที่ยวนานาชาติผสมผสานความจริง (AR-Powered International Field Trips)
8. ความผูกพันธ์โลกดิจิทัลแบบเวลาจริง (Real-Time Digital Engagement)
9. ตอบสนองทันทีสำหรับนักเรียน (Instant Feedback For Students)
10. ใช้เทคโนโลยีเป็นระบบสนับสนุนสำนักงาน (Back-Office Tech)
11. การพัฒนาแอปแบบไม่เขียนโค้ดช่วยการสอน (Teaching Low-Code App Development)
12. สื่อส่งเสริมการเรียนรู้และสาระบันเทิง (Transmedia Edutainment)
13. ใช้ทรัพยากรที่มีอยู่ให้ดีขึ้น (Better Use Of Existing Resources)
14. การพัฒนาการศึกษาที่ไม่ใช่แบบดั่งเดิม (Developments In Nontraditional Education)
การจัดการความรู้ต้องมาก่อน หรือไม่
#การบริหารการศึกษา
มักใช้เทคโนโลยีเพื่อการจัดการความรู้ แล้วพัฒนาเป็นแนวปฏิบัติที่ดี มีหัวข้อชวนให้มีการจัดการมากมาย อย่างสร้างสรรค์ และพร้อมรับการพัฒนา
เพราะ #คุณครูต้องมาก่อน
/ajWiriya/posts
#เทคโนโลยีเพื่อการจัดการความรู้
จะช่วยให้ผู้บริหารการศึกษา เข้าใจการบริหารการศึกษา จุดแข็ง จุดอ่อน คน และสามารถใช้เครื่องมือได้อย่างสร้างสรรค์
เพราะ #คนฐานรากต้องมาก่อน
youtube.com ออมสิน
เกณฑ์ วิทยฐานะครู หรือ วPA
ระเมินตำแหน่งและวิทยฐานะข้าราชการครู - วPA มาจาก Peformance Agreement และ Performance Appraisal 1) Performance แปลว่า สมรรถนะ สมรรถภาพ การกระทำ พฤติกรรม 2) Agreement แปลว่า การเห็นด้วย การเห็นชอบร่วมกัน การยอมรับร่วมกัน ข้อตกลง ความตกลง 3) Appraisal แปลว่า การประเมิน การตีค่า การประเมินค่า การหาค่า
ข้อตกลงในการพัฒนางาน หรือ PA ตามหลักเกณฑ์ใหม่ ประกอบด้วย 2 ส่วน
ส่วนที่ 1 ข้อตกลงในการพัฒนางานตามมาตรฐานตำแหน่และมาตรฐานวิทยฐานะ
ประกอบด้วย
(1) ภาระงาน จะมีภาระงานเป็นไปตามที่ ก.ค.ศ. กําหนด
(2) งานที่จะปฏิบัติตามมาตรฐานตําแหน่งครู
ส่วนที่ 2 ข้อตกลงในการพัฒนางานที่เป็นประเด็นท้าทายในการพัฒนาผลลัพธ์การเรียนรู้ของผู้เรียน
(1) ประเด็นที่ท้าทายเรื่อง ..
(2) สภาพปัญหาการจัดการเรียนรู้และคุณภาพการเรียนรู้ของผู้เรียน
(3) วิธีการดำเนินการให้บรรลุ
(4) ผลลัพธ์การพัฒนาที่คาดหวัง เชิงปริมาณ และเชิงคุณภาพ
ผลการประเมินใช้ประโยชน์ เพื่อ
(1) เลื่อนเงินเดือน
(2) คงวิทยฐานะ
(3) เลื่อนวิทยฐานะ
ครูมาแล้ว / แบบข้อตกลง - pa
การศึกษาไทย.com/วิทยฐานะ/วpaคืออะไร
อ่านเพิ่มเติม คู่มือการดำเนินการตามหลักเกณฑ์และวิธีการประเมินตำแหน่ง และวิทยฐานะข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาตำแหน่งครู
ผู้บริหารการศึกษาที่สุจริตจะสนใจประมวลกฎหมายอาญา
นอนาคต ทั้งผู้บริหารการศึกษา ครู และนักเรียน จะได้เรียนรู้และเข้าใจประมวลกฎหมายอาญา ทุกคนจะมีความสุจริต และทราบว่าหากพบผู้ใดทำ หรือผู้ให้ทำเอกสารปลอม ที่เข้าข่ายผิดกฎหมาย ก็สามารถแจ้งความได้ ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 265 ผู้ใดปลอมเอกสารสิทธิ หรือเอกสารราชการต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่หกเดือนถึงห้าปี และปรับตั้งแต่หนึ่งพันบาทถึงหนึ่งหมื่นบาท
อ่านเพิ่มเติม ข้อกฎหมายจากเว็บไซต์ของกระทรวงการต่างประเทศ
ลดภาระงาน ลดเอกสาร ไม่ปลอม จัดทำ วPA
วPA ไม่ใช้วุฒิบัตร ไม่ต้องหาซื้อวุฒิบัตรแล้ว
ถอดถอน ผศ . รศ. 43ราย
โล่ก็ไม่ใช่ รางวัลก็ไม่ใช่ เอกสารก็ไม่ใช่ กับ ข้อตกลงในการพัฒนางาน (PA = Performance Agreement)
ความรู้ ยังต้องการอีก 2 ส่วน ถึงจะทำได้สำเร็จ Competency Iceberg ของ ด็อกเตอร์ เดวิด แมกเคลเเลนด์ (David McClelland) นักจิตวิทยาชาวอเมริกันได้นิยามของทฤษฎีนี้ว่า โมเดลน้ำแข็ง หรือ สมรรถนะ (Competency Iceberg) ในปี 1973 เป็นโมเดลที่ใช้ดูลักษณะของคน เพื่อมองถึงสมรรถนะของแต่ละบุคคล โมเดลน้ำแข็งจะแยกออกเป็นสองสมรรถนะ คือ 1) สิ่งที่เรามองเห็นตัวตนได้เหนือน้ำ และ 2) สิ่งที่มองเห็นได้ยากอยู่ใต้น้ำ
ส่วนที่มองเห็น คือ ส่วนที่พัฒนาได้ง่าย
1. ความรู้ (Knowledge) คือ การเรียนรู้และการนำเข้าข้อมูลใหม่
2. ทักษะ (Skill) คือ ประสบการณ์ และการฝึกฝนที่มากพอ
ส่วนที่มองไม่เห็น คือ ส่วนที่เปลี่ยนแปลงและพัฒนาได้ยาก
3. ทัศนคติ (Attitude) คือ ส่วนที่ยากจะเปลี่ยนแปลง
แต่เปลี่ยนได้ ถ้าพร้อมที่จะเรียนรู้และได้รับการพัฒนา
ซึ่งมีเนื้อหาสอดคล้องกับบทความที่ 12 ของ ผศ.ดร.กฤษฎา ตันเปาว์ เรื่อง "ทุนมนุษย์ (Human Capital) ในองค์กร" ที่กล่าวถึงสิ่งที่คนเราต้องมีเป็นพื้นฐาน 3 อย่างที่แตกต่างกัน คือ การเรียนรู้ (Learning) ประสบการณ์ (Experiences) และทัศนคติ (Attitude)
จากแฟนเพจ ไปให้ถึง 100 ล้าน
งานวิจัยเรื่อง ระบบจัดการความรู้ 3 เรื่อง ลงานวิจัยการค้นคว้าแบบอิสระ ของ โกวิทย์ เจนครองธรรม เรื่อง การพัฒนาระบบจัดการความรู้ของฝ่ายพัฒนาซอฟต์แวร์ บริษัท ไอโซแคร์ ซิสเตมส์ จำกัด ที่เป็นลิขสิทธิ์ของมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ พบบริการ ฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์อิเล็กทรอนิกส์ (e-theses) ที่ library.cmu/etheses เมื่อค้นด้วยคำว่า "การพัฒนาระบบจัดการความรู้" พบ บทคัดย่อ สารบาญ บทที่ 1 บทที่ 2 บทที่ 3 บทที่ 4 บทที่ 5 บรรณานุกรม ที่ดาวน์โหลดแฟ้มแบบ pdf มาอ่านได้ พบว่า บทที่ 2 แนวคิด ทฤษฎี และงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง มีเนื้อหาน่าสนใจ
1. การจัดการความรู้ (Knowledge Management) ประกอบด้วย 1) ความหมายการจัดการความรู้ 2) กระบวนการจัดการความรู้ (Knowledge Management Process) 3) โมเดลการจัดการความรู้ (Knowledge Management Model) 4) องค์ประกอบสำคัญของการจัดการความรู้ 5) เครื่องมือจัดการความรู้ (Knowledge Management Tools) 6) ประโยชน์ของการจัดการความรู้
2. ระบบการจัดการความรู้ (Knowledge Management System : KMS) ประกอบด้วย 1) ความสำคัญและความเกี่ยวเนื่องของเทคโนโลยีสารสนเทศกับการจัดการความรู้ 2) โปรแกรมประยุกต์(ซอฟต์แวร์) ที่ใช้ในการจัดการความรู้
ล้วยังพบผลงานที่น่าสนใจอีก 2 เรื่อง ของ ชัยวัฒน์ พันธ์หงษ์ ศึกษาเรื่อง การพัฒนาระบบจัดการความรู้การซ่อมบำรุงเครื่องคอมพิวเตอร์โรงเรียนลำปางพาณิชยการและเทคโนโลยี ของมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และ ลาวัลย์ สุขยิ่ง ศึกษาเรื่อง การจัดการความรู้ในองค์กร กรณีศึกษา หน่วยงานธุรกิจ CDMA บริษัท กสท โทรคมนาคม จํากัด (มหาชน) ซึ่งเป็นรายงานฉบับสมบูรณ์ในห้องสมุดของ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ ที่ดาวน์โหลดได้จาก library1.nida.ac.th
/km_research
/km/education.htm
การเรียนรูปแบบปกติจึงสำคัญและจำเป็นที่สุด ารเรียนออนไลน์ กลายเป็นภาระหน้าที่ใหม่ของผู้ปกครองไปแล้ว เนื่องจากต้องมีส่วนร่วมกับครูผู้สอนเพื่อช่วยให้เด็กตั้งใจและจดจ่อกับบทเรียนได้ หรือบางครั้งก็ต้องช่วยสอนการบ้านเมื่อลูกไม่เข้าใจ เพราะช่องว่างทางการสื่อสารระหว่างครูผู้สอนกับเด็กนักเรียนไม่ได้ใกล้ชิดกันเหมือนก่อน ส่งผลให้เด็กนักเรียนหลายคนเกิดปัญหาตามเนื้อหาบทเรียนไม่ทันหรือตามเพื่อนไม่ทัน อีกทั้งประสบกับอุปสรรคทางการเรียนเมื่อนักเรียนต้องเรียนที่บ้าน
ากผลการสำรวจ พบว่า หลายครัวเรือนมีรายได้เฉลี่ยลดลงจากผลกระทบของโควิด-19 ซึ่งก็ต้องยอมรับว่าเป็นเรื่องที่ต้องให้ความสำคัญ เพราะบางครอบครัวก็ไม่สามารถให้ความร่วมมือกับการเรียนได้มากนักด้วยข้อจำกัดต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น พ่อแม่เกิดความเครียดเพราะต้องทำงานหนักขึ้น จากการแบกรับรายจ่ายที่เพิ่มมากขึ้น รวมไปถึงค่าอินเทอร์เน็ต ค่าอุปกรณ์การเรียน หรือสภาพแวดล้อมที่ไม่ได้เอื้ออำนวยต่อการเรียนมากนัก
ระธานกรรมการปฏิรูปประเทศด้านการศึกษา รศ.ดร.วรากรณ์ สามโกเศศ ได้เสนอแนะว่า ความไม่พร้อมของกลุ่มเด็กในครอบครัวที่มีปัญหาด้านรายได้ ครูในโรงเรียนขนาดเล็กที่ไม่มีประสบการณ์การสอนออนไลน์ รวมถึงพ่อแม่ที่ไม่สามารถมีส่วนร่วมกับลูก เหล่านี้ถือเป็นอุปสรรคใหญ่ที่สำคัญที่จะต้องให้ความสำคัญ เพราะไม่ว่าสถานศึกษาหรือครูผู้สอนจะปรับตัวต่อรูปแบบการสอนออนไลน์ได้ดีแค่ไหน แต่ธรรมชาติการเรียนรู้ของเด็กจำเป็นต้องได้รับโอกาสของการพัฒนาทักษะการเข้าสังคม การเรียนรูปแบบปกติจึงสำคัญและจำเป็นที่สุด นอกจากนี้ ยังต้องเร่งหาแนวทางการเติมเต็มการเรียนรู้ที่ขาดช่วงไปตลอดระยะเวลาเกือบสองปีของเด็ก รวมถึงให้ความสำคัญกับการพัฒนาทักษะการสอนของครูทั้งรูปแบบออนไลน์และออนไซต์ เพื่อรองรับรูปแบบการเรียนการสอนที่หลากหลายในอนาคต
#คณะกรรมการปฏิรูปประเทศด้านการศึกษา
#สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
#กองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา
#NESDC #thaiedreform #EEF
บทที่ 13 เทคโนโลยีและการจัดการความรู้ หัวข้อในหนังสือ ระบบสารสนเทศและเทคโนโลยีการจัดการความรู้ [ISBN: 978-974-212-209-6]
โดย เจษฎาพร ยุทธนวิบูลย์ชัย และศรีไพร ศักดิ์รุ่งพงศากุล
บทที่ 13 เทคโนโลยีและการจัดการความรู้
- ความหมายของความรู้
- ประเภทของความรู้
- ความหมายของการจัดการความรู้
- ประโยชน์ของการจัดการความรู้
- รูปแบบการจัดการความรู้
- การจัดการความรู้ในโรงพยาบาลศิริราช #
- บทบาทของเทคโนโลยีสารสนเทศต่อการจัดการความรู้ในองค์การ
- ปัจจัยที่เอื้อต่อความสำเร็จ
เลือกประกอบอาชีพหรือศึกษาต่อ
มีคำถามเพื่อชวนคิดสร้างสรรค์ว่า ถ้าท่านเป็นคนไทย แล้วได้อ่าน พ.ร.บ.การศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2542 มาตรา 27 บัญญัติไว้ว่า “ให้คณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานกำหนดหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐานเพื่อความเป็นไทย ความเป็นพลเมืองที่ดีของชาติ การดำรงชีวิต และการประกอบอาชีพ ตลอดจนเพื่อการศึกษาต่อ ให้สถานศึกษาขั้นพื้นฐานมีหน้าที่จัดทำสาระของหลักสูตรตามวัตถุประสงค์ในวรรคหนึ่ง ในส่วนที่เกี่ยวกับสภาพปัญหาในชุมชนและสังคม ภูมิปัญญาท้องถิ่น คุณลักษณะอันพึงประสงค์เพื่อเป็นสมาชิกที่ดีของครอบครัว ชุมชน สังคม และประเทศชาติ”
บว่า วัตถุประสงค์มีหลายข้อ ถ้าต้องเลือกมุ่งเน้น ระหว่าง 1) ประกอบอาชีพ กับ 2) ศึกษาต่อ โปรดให้ความคิดเห็นในมุมมองและบทบาทของท่าน การศึกษาขั้นพื้นฐานควรมุ่งเน้นเรื่องใดเพียงเรื่องเดียว ถ้ามีข้อจำกัดเรื่องเวลา เพื่อให้การจัดการศึกษาเกิดผลสัมฤทธิ์ที่ชัดเจนที่สุด
ปล. ถามคำหนึ่ง แต่ใครจะเป็นคนตอบ มีใครบ้างไหมวานบอก ตอบจริงไม่ใช่แกล้งตอบ ตอบตรงให้เหมือนดังใจ
คุณสมบัติของ google form ที่ถูกกำหนด
เลือก Allow response editing
เลือก Limit to 1 response (sign in required)
เลือก Presentation, View results summary
เลือก Theme options, Header, Image uploaded
เลือก Shorten URL : forms.gle/ffFaEk7kdMJ1Uno58
ในโหมดไม่ระบุตัวตน ดูผลแบบ guest ได้ google.com/forms
เอกสารอ้างอิง เอกสารอ้างอิง #
[1] เจษฎาพร ยุทธนวิบูลย์ชัย และศรีไพร ศักดิ์รุ่งพงศากุล, "ระบบสารสนเทศและเทคโนโลยีการจัดการความรู้", บริษัท ซีเอ็ดยูเคชั่น จำกัด, กรุงเทพฯ, 2549.
[2] ประสงค์ ปราณีตพลกรัง และคณะ, "ระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการ และกรณีศึกษา", บริษัท ธนรัชการพิมพ์ จำกัด, กรุงเทพฯ, 2543.
[3] พนิดา พานิชกุล, "จริยธรรมทางเทคโนโลยีสารสนเทศ", บริษัท เคทีพี คอมพ์ แอนด์ คอนซัลท์ จำกัด, กรุงเทพฯ, 2553.
[4] ศ.ดร.เรวัตร์ ชาตรีวิศิษฎ์ และคณะ, "การจัดการเชิงกลยุทธ์", บริษัท อักษรเงินดี จำกัด, กรุงเทพฯ, 2553.
[5] ผศ.ดร.พรรณี สวนเพลง, "ระบบสารสนเทศเชิงกลยุทธ์", บริษัท ซีเอ็ดยูเคชั่น จำกัด, กรุงเทพฯ, 2555.
[6] ผศ.ดร.ณัฏฐพันธ์ เขจรนันทน์ และ ผศ.ดร.ไพบูลย์ เกียรติโกมล, "ระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการ", บริษัท ซีเอ็ดยูเคชั่น จำกัด, กรุงเทพฯ, 2545.
[7] การวิเคราะห์และออกแบบระบบ
Thaiall.com